พบผลลัพธ์ทั้งหมด 524 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8853/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาชำระภาษีสรรพสามิตน้ำมัน: นับจากสิ้นสุดการสูบจ่ายรายวัน ไม่ใช่กระบวนการทั้งหมด
ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 10(1)(ก)ที่บัญญัติว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษี กรณีสินค้าอยู่ในโรงอุตสาหกรรม ให้ถือว่าความรับผิดในอันที่จะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นในเวลาที่นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม และตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาชำระภาษีสรรพสามิตลงวันที่ 30 ธันวาคม 2534 ข้อ 2(1) กรณีความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นในเวลาที่นำสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บน ให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชำระภายใน 10 วัน นับแต่วันที่นำน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันนั้นออกจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บน จากข้อความในบทบัญญัติและประกาศดังกล่าวเห็นได้ชัดเจนว่า กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชำระภาษีภายใน 10 วันนับแต่วันที่นำน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันนั้นออกจากโรงอุตสาหกรรม วันที่นำน้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมนั้น หมายถึงแต่ละวันหรือระยะเวลาตั้งแต่ 00.00 นาฬิกาถึง 24 นาฬิกาของแต่ละวัน ดังนั้น ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีต้องถือตามปริมาณน้ำมันที่นำออกพ้นไปจากโรงอุตสาหกรรม ณ เวลา24 นาฬิกาของแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีภายใน 10 วันนับแต่วันนั้นโดยไม่จำต้องคำนึงว่าการสูบจ่ายน้ำมันทางท่อแบบวงจรต่อเนื่องจะเสร็จสิ้นกระบวนการทุกขั้นตอนเมื่อใด
การที่โจทก์นำปริมาณน้ำมันตั้งแต่เริ่มต้นสูบจ่ายน้ำมันทางท่อพ้นไปจากโรงอุตสาหกรรมก่อนเวลา 24 นาฬิกาของวันหนึ่ง ไปรวมเพื่อชำระภาษีพร้อมกับปริมาณน้ำมันที่สูบจ่ายพ้นไปจากโรงอุตสาหกรรมจนถึงวันเสร็จสิ้นกระบวนการสูบจ่ายน้ำมันหลังจากพ้นเวลา 24 นาฬิกา ไปยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีในคราวเดียวพร้อมกันในกำหนด 10 วันนับแต่วันเสร็จสิ้นกระบวนการสั่งจ่ายน้ำมันจึงไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะอ้างว่าปฏิบัติตามระเบียบกรมสรรพสามิตว่าด้วยการควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมทำน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2507 แต่ระเบียบดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์ทางปฏิบัติเพื่อควบคุมการตรวจสอบการนำน้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมให้อยู่ในความรู้เห็นและยินยอมของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมโรงงานเพื่อทราบปริมาณน้ำมันที่สูบจ่ายออกไปทั้งหมดเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบกับจำนวนภาษีที่โจทก์ชำระ ไม่เกี่ยวกับกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษี โจทก์ไม่อาจอ้างระเบียบดังกล่าวมาลบล้างกำหนดเวลาในการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีได้
การที่โจทก์นำปริมาณน้ำมันตั้งแต่เริ่มต้นสูบจ่ายน้ำมันทางท่อพ้นไปจากโรงอุตสาหกรรมก่อนเวลา 24 นาฬิกาของวันหนึ่ง ไปรวมเพื่อชำระภาษีพร้อมกับปริมาณน้ำมันที่สูบจ่ายพ้นไปจากโรงอุตสาหกรรมจนถึงวันเสร็จสิ้นกระบวนการสูบจ่ายน้ำมันหลังจากพ้นเวลา 24 นาฬิกา ไปยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีในคราวเดียวพร้อมกันในกำหนด 10 วันนับแต่วันเสร็จสิ้นกระบวนการสั่งจ่ายน้ำมันจึงไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะอ้างว่าปฏิบัติตามระเบียบกรมสรรพสามิตว่าด้วยการควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมทำน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2507 แต่ระเบียบดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์ทางปฏิบัติเพื่อควบคุมการตรวจสอบการนำน้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมให้อยู่ในความรู้เห็นและยินยอมของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมโรงงานเพื่อทราบปริมาณน้ำมันที่สูบจ่ายออกไปทั้งหมดเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบกับจำนวนภาษีที่โจทก์ชำระ ไม่เกี่ยวกับกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษี โจทก์ไม่อาจอ้างระเบียบดังกล่าวมาลบล้างกำหนดเวลาในการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8852/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักลดหย่อนภาษี: การเลือกวิธีหักค่าใช้จ่าย และการลดเบี้ยปรับกรณีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8 วรรคสอง ได้บัญญัติให้ผู้มีเงินได้จากกิจการดังกล่าวสามารถหักค่าใช้จ่าย ได้ 2 วิธี คือหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา หรือหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร หากผู้มีเงินได้ใช้สิทธิเลือก หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรแล้วก็จะกลับไปขอใช้วิธีหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาอีกไม่ได้ เมื่อโจทก์ได้เลือกหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร แต่โจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของโจทก์ได้ตาม ที่ต้องการ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิกลับไปใช้วิธีหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้อีก
แม้พฤติการณ์ของโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจพิจารณาลดเบี้ยปรับลงได้ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 37/2534 เรื่อง ระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89 และ ภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ 2 (3) (ก) เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์เกิดขึ้นภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน กรณีมีเหตุสมควรที่จะลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ตามคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าว
แม้พฤติการณ์ของโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจพิจารณาลดเบี้ยปรับลงได้ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 37/2534 เรื่อง ระเบียบการงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 89 และ ภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ข้อ 2 (3) (ก) เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์เกิดขึ้นภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน กรณีมีเหตุสมควรที่จะลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ตามคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8685/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย: การประเมินถูกต้อง แม้ไม่ต้องออกหมายเรียก & ผู้จ่ายภาษีร่วมรับผิดชอบ
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8)แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้จ่ายเงินได้ต้องหักไว้ตามจำนวนที่กำหนดไว้แน่นอนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50(5) แล้วนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลรัษฎากรมาตรา 52 วรรคสอง เมื่อมาตรา 50(5) ได้กำหนดจำนวนไว้แน่นอนว่าจะต้องหักไว้เท่าใดแล้ว จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองผู้มีหน้าที่หักเงินต้องนำส่งโดยมิพักต้องมีการประเมินโดยเจ้าพนักงาน และการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศกระทรวงการคลัง (ฉบับที่ 10)ก็เพื่อประเมินภาษีเงินได้ของผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ในการขายอสังหาริมทรัพย์ อันจะต้องมีการจัดเก็บ หาใช่เป็นการประเมินต่อโจทก์ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ไม่ ดังนั้น การที่ต่อมาจำเลยที่ 2 ซึ่งจัดเป็นเจ้าพนักงานประเมินตามกฎหมายได้ประเมินให้โจทก์ทั้งสองชำระภาษีณ ที่จ่ายเพิ่มเนื่องจากเพราะโจทก์ทั้งสองนำส่งไว้ไม่ถูกต้องตามฟ้องจึงเป็นการประเมินภาษีอากรโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 52 ประกอบมาตรา 54 แห่งประมวลรัษฎากร จำเลยที่ 2 ย่อมกระทำได้โดยมิต้องออกหมายเรียกโจทก์ทั้งสองเพื่อตรวจสอบไต่สวนตามมาตรา 19แห่งประมวลรัษฎากร เพราะมิใช่เป็นการประเมินภาษีอากรที่เป็นการแก้ไขจำนวนเงินที่ประเมินไว้หรือที่ยื่นรายการไว้เดิมตามประมวลรัษฎากรมาตรา 20 และเมื่อไม่ต้องออกหมายเรียกตามมาตรา 19 กรณีจึงไม่ต้องคำนึงถึงกำหนดระยะเวลา 5 ปี ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 ด้วยเช่นกัน
ประมวลรัษฎากร มาตรา 54 กำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ที่หักภาษีหรือนำส่งไว้ไม่ครบถ้วนต้องร่วมรับผิดกับผู้มีเงินได้ในจำนวนภาษีที่ต้องชำระให้ครบถ้วนด้วย ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบว่าโจทก์ทั้งสองหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน เจ้าพนักงานประเมินจึงมีสิทธิเรียกเก็บเงินภาษีที่ขาดไปนั้นจากโจทก์ทั้งสองได้ โดยมิต้องเรียกอ. ผู้มีเงินได้มาตรวจสอบไต่สวนก่อน เพราะกรณีเป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีที่ขาดอยู่จากโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงมีหน้าที่แสดงพยานหลักฐานพิสูจน์ว่า อ. ชำระภาษีดังกล่าวไว้ครบถ้วนแล้ว
ประมวลรัษฎากร มาตรา 54 กำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ที่หักภาษีหรือนำส่งไว้ไม่ครบถ้วนต้องร่วมรับผิดกับผู้มีเงินได้ในจำนวนภาษีที่ต้องชำระให้ครบถ้วนด้วย ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบว่าโจทก์ทั้งสองหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน เจ้าพนักงานประเมินจึงมีสิทธิเรียกเก็บเงินภาษีที่ขาดไปนั้นจากโจทก์ทั้งสองได้ โดยมิต้องเรียกอ. ผู้มีเงินได้มาตรวจสอบไต่สวนก่อน เพราะกรณีเป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีที่ขาดอยู่จากโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงมีหน้าที่แสดงพยานหลักฐานพิสูจน์ว่า อ. ชำระภาษีดังกล่าวไว้ครบถ้วนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8685/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากการขายอสังหาริมทรัพย์ และอำนาจการประเมินของเจ้าพนักงาน
เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามจำนวนที่กำหนดไว้แน่นอน ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 50 (5) แล้วนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตาม ป.รัษฎากร มาตรา 52 วรรคสอง จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองผู้จ่ายเงินได้ดังกล่าวที่จะต้องหักเงินและนำส่งโดยมิพักต้องมีการประเมินโดยเจ้าพนักงาน
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศกระทรวง การคลัง (ฉบับที่ 10) ก็เพื่อประเมินภาษีเงินได้ของผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นผู้มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ หาใช่ประเมินต่อโจทก์ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ไม่ การที่เจ้าพนักงานประเมินตามกฎหมายได้ประเมินให้โจทก์ทั้งสองชำระภาษีหัก ณ ที่จ่ายเพิ่มเนื่องจากโจทก์ทั้งสองนำส่งไว้ไม่ถูกต้อง จึงเป็นการประเมินภาษีอากรโดยอาศัยอำนาจ ตามมาตรา 52 ประกอบมาตรา 54 แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งกระทำได้โดยมิต้องออกหมายเรียกโจทก์ทั้งสองเพื่อตรวจสอบไต่สวนตามมาตรา 19 แห่ง ป.รัษฎากร เพราะมิใช่เป็นการประเมินภาษีอากรที่เป็นการแก้ไขจำนวนเงินที่ประเมินไว้หรือที่ยื่นรายการไว้เดิมตาม ป.รัษฎากร มาตรา 20 และเมื่อไม่ต้องออกหมายเรียก กรณีจึงไม่ต้องคำนึงถึงกำหนดระยะเวลา 5 ปี ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19
ป.รัษฎากร มาตรา 54 กำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ที่หักภาษีหรือนำส่งไว้ไม่ครบถ้วนต้องร่วมรับผิดกับผู้มีเงินได้ในจำนวนภาษีที่ต้องชำระให้ครบถ้วนด้วย เมื่อเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบว่าโจทก์ทั้งสองหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและ นำส่งไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน เจ้าพนักงานประเมินจึงมีสิทธิเรียกเก็บเงินภาษีที่ขาดไปนั้นจากโจทก์ทั้งสองได้ โดยมิต้อง เรียกผู้มีเงินได้มาตรวจสอบไต่สวนก่อนเพราะกรณีเป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีที่ขาดอยู่จากโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสอง มีหน้าที่แสดงพยานหลักฐานพิสูจน์ว่าผู้มีเงินได้ชำระภาษีดังกล่าวไว้ครบถ้วนแล้ว
ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้น โจทก์ทั้งสองอ้างว่าโจทก์ทั้งสองหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งไว้ครบถ้วนถูกต้องแล้ว จึงเท่ากับโจทก์ทั้งสองได้อุทธรณ์ว่าโจทก์ทั้งสองไม่ต้องรับผิดตามหนังสือแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองได้อุทธรณ์คัดค้านในประเด็นเรื่องการประเมินไม่ชอบไว้แล้ว ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างในคำฟ้องไว้ว่าในส่วนของการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ต้อง แบ่งเงินได้เป็น 2 ส่วน เนื่องจากผู้ขายถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน 2 ฐานะ คือในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. แต่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่ต้องหักและนำส่งสูงกว่าความเป็นจริง จึงเป็น การกล่าวอ้างในเรื่องเดียวกันกับที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว โจทก์ทั้งสองย่อมยกขึ้นกล่าวอ้างในฟ้องได้และศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย
การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินภาษีเพื่อเรียกเก็บจากประชาชนย่อมเป็นการกระทบกระเทือนถึงสิทธิของประชาชนโดยตรง ปัญหาว่าการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่เจ้าพนักงานประเมินดำเนินการเป็นการถูกต้อง หรือไม่ จึงเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชาน ซึ่งศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศกระทรวง การคลัง (ฉบับที่ 10) ก็เพื่อประเมินภาษีเงินได้ของผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นผู้มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ หาใช่ประเมินต่อโจทก์ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ไม่ การที่เจ้าพนักงานประเมินตามกฎหมายได้ประเมินให้โจทก์ทั้งสองชำระภาษีหัก ณ ที่จ่ายเพิ่มเนื่องจากโจทก์ทั้งสองนำส่งไว้ไม่ถูกต้อง จึงเป็นการประเมินภาษีอากรโดยอาศัยอำนาจ ตามมาตรา 52 ประกอบมาตรา 54 แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งกระทำได้โดยมิต้องออกหมายเรียกโจทก์ทั้งสองเพื่อตรวจสอบไต่สวนตามมาตรา 19 แห่ง ป.รัษฎากร เพราะมิใช่เป็นการประเมินภาษีอากรที่เป็นการแก้ไขจำนวนเงินที่ประเมินไว้หรือที่ยื่นรายการไว้เดิมตาม ป.รัษฎากร มาตรา 20 และเมื่อไม่ต้องออกหมายเรียก กรณีจึงไม่ต้องคำนึงถึงกำหนดระยะเวลา 5 ปี ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19
ป.รัษฎากร มาตรา 54 กำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ที่หักภาษีหรือนำส่งไว้ไม่ครบถ้วนต้องร่วมรับผิดกับผู้มีเงินได้ในจำนวนภาษีที่ต้องชำระให้ครบถ้วนด้วย เมื่อเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบว่าโจทก์ทั้งสองหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและ นำส่งไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน เจ้าพนักงานประเมินจึงมีสิทธิเรียกเก็บเงินภาษีที่ขาดไปนั้นจากโจทก์ทั้งสองได้ โดยมิต้อง เรียกผู้มีเงินได้มาตรวจสอบไต่สวนก่อนเพราะกรณีเป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีที่ขาดอยู่จากโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสอง มีหน้าที่แสดงพยานหลักฐานพิสูจน์ว่าผู้มีเงินได้ชำระภาษีดังกล่าวไว้ครบถ้วนแล้ว
ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้น โจทก์ทั้งสองอ้างว่าโจทก์ทั้งสองหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งไว้ครบถ้วนถูกต้องแล้ว จึงเท่ากับโจทก์ทั้งสองได้อุทธรณ์ว่าโจทก์ทั้งสองไม่ต้องรับผิดตามหนังสือแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองได้อุทธรณ์คัดค้านในประเด็นเรื่องการประเมินไม่ชอบไว้แล้ว ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างในคำฟ้องไว้ว่าในส่วนของการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ต้อง แบ่งเงินได้เป็น 2 ส่วน เนื่องจากผู้ขายถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน 2 ฐานะ คือในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. แต่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่ต้องหักและนำส่งสูงกว่าความเป็นจริง จึงเป็น การกล่าวอ้างในเรื่องเดียวกันกับที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว โจทก์ทั้งสองย่อมยกขึ้นกล่าวอ้างในฟ้องได้และศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย
การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินภาษีเพื่อเรียกเก็บจากประชาชนย่อมเป็นการกระทบกระเทือนถึงสิทธิของประชาชนโดยตรง ปัญหาว่าการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่เจ้าพนักงานประเมินดำเนินการเป็นการถูกต้อง หรือไม่ จึงเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชาน ซึ่งศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8129/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำวินิจฉัยทางไปรษณีย์ และการนับระยะเวลาอุทธรณ์ตามกฎหมายภาษีอากร โดยการส่งให้ผู้แทนผู้รับถือว่าเป็นการนำจ่ายแล้ว
ตามไปรษณีย์นิเทศฯ การสื่อสารแห่งประเทศไทยอาจจัดส่งไปรษณีย์ให้แก่ผู้แทนของผู้รับก็ได้ และเมื่อจ่ายให้แก่ผู้แทนของผู้รับแล้ว ให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่เวลาที่นำจ่าย ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทยได้นำเอกสารคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไปส่งยังภูมิลำเนาของโจทก์ โดยมีพนักงานรักษาความปลอดภัยเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับไว้เมื่อวันที่ 7สิงหาคม 2541 ถือได้ว่ามีการนำจ่ายทางไปรษณีย์ให้แก่ผู้แทนของผู้รับและถือว่าโจทก์ได้รับคำวินิจฉัยตั้งแต่วันดังกล่าวแล้ว โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2541 อันล่วงเลยกำหนดระยะเวลา 30 วันแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7826/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี การประมาณการรายได้ และเบี้ยปรับตามมาตรา 67 ทวิ และ 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
การที่จำเลยไม่มาพบและส่งบัญชีเอกสารสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ทำให้เจ้าพนักงานของโจทก์ไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวได้ เจ้าพนักงานประเมินจึงอาศัยอำนาจตาม ป. รัษฎากรมาตรา 71 (1) ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่ากัน นอกจากนี้เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม ป. รัษฎากร มาตรา 67 ทวิ จำเลยจึงต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตาม ป. รัษฎากร มาตรา 67 ตรี
ข้อความในมาตรา 67 ทวิ แห่ง ป. รัษฎากร มีความหมายชัดเจนว่า บทมาตรานี้บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการตามมาตรา 68 จึงให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดทำประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี แล้วยื่นรายการเพื่อชำระภาษีจากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยให้ยื่นชำระภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว และหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควร ก็จะต้องรับผิดตามมาตรา 67 ตรี ซึ่งกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ (1) หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาดแล้วแต่กรณี ดังนั้น การฝ่าฝืนมาตรา 67 ทวิ ได้มีบทบัญญัติกำหนดความรับผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 เจ้าพนักงานประเมินอาจประเมินให้ชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่มได้ทันทีเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ หรือเมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นยื่นชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามแบบ ภ.ง.ด. 50 เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่จำต้องออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนตรวจสอบดังที่บัญญัติไว้ใน ป. รัษฎากร มาตรา 19 และมาตรา 23 แต่ประการใด เมื่อกรณีตามฟ้องมิใช่เรื่องการไม่ยื่นรายการและมีการออกหมายเรียกไต่สวนตรวจสอบแล้วจึงประเมินภาษีเพิ่มตามที่ตรวจสอบ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 และมาตรา 24 เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้จำเลยเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 26
ตามคำฟ้องเป็นกรณีที่จำเลยรายเดียวถูกประเมินภาษีหลายคราวแล้วโจทก์รวมฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีมาเป็นคดีเดียว แม้กรณีจะได้ความว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหลายหนหลายคราว แต่การประเมินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ซึ่งมีทั้งการประเมินครึ่งปีกับเต็มปี จำนวนเงินภาษีของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 จึงมียอดเงินภาษีของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 (ครึ่งปี) และรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 (เต็มปี) อันเป็นจำนวนเดียวกัน จึงเป็นข้อหาเดียวเกี่ยวข้องกัน ส่วนการประเมินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งเป็นภาษีอากรประเมิน ป. รัษฎากรว่าด้วยการเก็บภาษีจากบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มาตรา 65 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลว่าให้เสียเป็นรอบระยะเวลาบัญชี ดังนั้น ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยซึ่งเป็นบริษัทจำกัดตามฟ้องของโจทก์จึงมี 2 รอบระยะเวลาบัญชี คือรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 และรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 ซึ่งในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีจำเลยดำเนินกิจการและมีผลประกอบการแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีในกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีจึงมีสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับแตกต่างกัน สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกจากกันได้ การที่โจทก์รวมภาษีทั้งสองรอบระยะเวลาบัญชีมาเป็นจำนวนเดียว และเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดเพียงจำนวนเดียวจึงไม่ถูกต้อง
ข้อความในมาตรา 67 ทวิ แห่ง ป. รัษฎากร มีความหมายชัดเจนว่า บทมาตรานี้บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการตามมาตรา 68 จึงให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดทำประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี แล้วยื่นรายการเพื่อชำระภาษีจากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยให้ยื่นชำระภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว และหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควร ก็จะต้องรับผิดตามมาตรา 67 ตรี ซึ่งกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ (1) หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาดแล้วแต่กรณี ดังนั้น การฝ่าฝืนมาตรา 67 ทวิ ได้มีบทบัญญัติกำหนดความรับผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 เจ้าพนักงานประเมินอาจประเมินให้ชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่มได้ทันทีเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ หรือเมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นยื่นชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามแบบ ภ.ง.ด. 50 เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่จำต้องออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนตรวจสอบดังที่บัญญัติไว้ใน ป. รัษฎากร มาตรา 19 และมาตรา 23 แต่ประการใด เมื่อกรณีตามฟ้องมิใช่เรื่องการไม่ยื่นรายการและมีการออกหมายเรียกไต่สวนตรวจสอบแล้วจึงประเมินภาษีเพิ่มตามที่ตรวจสอบ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 และมาตรา 24 เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้จำเลยเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 26
ตามคำฟ้องเป็นกรณีที่จำเลยรายเดียวถูกประเมินภาษีหลายคราวแล้วโจทก์รวมฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีมาเป็นคดีเดียว แม้กรณีจะได้ความว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหลายหนหลายคราว แต่การประเมินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ซึ่งมีทั้งการประเมินครึ่งปีกับเต็มปี จำนวนเงินภาษีของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 จึงมียอดเงินภาษีของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 (ครึ่งปี) และรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 (เต็มปี) อันเป็นจำนวนเดียวกัน จึงเป็นข้อหาเดียวเกี่ยวข้องกัน ส่วนการประเมินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งเป็นภาษีอากรประเมิน ป. รัษฎากรว่าด้วยการเก็บภาษีจากบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มาตรา 65 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลว่าให้เสียเป็นรอบระยะเวลาบัญชี ดังนั้น ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยซึ่งเป็นบริษัทจำกัดตามฟ้องของโจทก์จึงมี 2 รอบระยะเวลาบัญชี คือรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 และรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 ซึ่งในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีจำเลยดำเนินกิจการและมีผลประกอบการแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีในกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีจึงมีสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับแตกต่างกัน สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกจากกันได้ การที่โจทก์รวมภาษีทั้งสองรอบระยะเวลาบัญชีมาเป็นจำนวนเดียว และเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดเพียงจำนวนเดียวจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7765/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การให้บริการอาหารแก่พนักงาน/ผู้บริหาร และการเลี้ยงรับรองบุคคลภายนอก มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมาย
โจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่าค่าอาหารเลี้ยงรับรองบุคคลภายนอกโจทก์ยินดีที่จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติม แต่ขอให้พิจารณางดเบี้ยปรับและลดเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ด้วย และในตอนท้ายก็มีคำขอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชี้ขาดสำหรับค่ารับรองของบุคคลภายนอกโดยงดเบี้ยปรับและลดเงินเพิ่ม คำอุทธรณ์ของโจทก์ไม่มีข้อโต้แย้งคัดค้านการประเมินและไม่มีคำขอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยยกเลิก การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารเลี้ยงรับรองบุคคลภายนอก ถือว่าโจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในปัญหาว่าค่าอาหารเลี้ยงรับรองบุคคลภายนอกของโจทก์อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจนำปัญหานี้มาฟ้องต่อศาล
การที่โจทก์ให้พนักงานและผู้บริหารโรงแรมและภัตตาคารของโจทก์รับประทานอาหารโดยไม่คิดมูลค่า เป็นการให้บริการตามความหมายในมาตรา 77/1 (10) แห่ง ป. รัษฎากร เพราะเป็นการกระทำอันอาจหาประโยชน์ อันมีมูลค่า ซึ่งมิใช่การขายสินค้าและถือเป็นการใช้บริการจากกิจการของตนเองโดยเฉพาะการให้พนักงานและ ผู้บริหารรับประทานอาหารไม่ใช่การนำบริการไปใช้ในการบริหารงานของกิจการโดยตรง จะถือเป็นการนำบริการไปใช้ในการบริหารงานของกิจการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) ไม่ได้โจทก์ จึงเป็นผู้ประกอบการและได้ให้บริการอันอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงต้องนำราคาค่าอาหารดังกล่าวมาเป็น มูลค่าของการให้บริการของโจทก์
แม้การให้บริการของโจทก์จะเข้าเงื่อนไขที่จะไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 78) เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่ง ป. รัษฎากร แต่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2541 ส่วนภาระภาษีของโจทก์ตามการประเมินในคดีนี้เป็นภาษีของเดือนสิงหาคม 2540 ถึงเดือนมีนาคม 2541 ประกาศดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับใช้กับคดีนี้ เพราะประมวลรัษฎากรเป็นกฎหมายที่กำหนดให้ใช้ในแต่ละปีภาษีหากมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายมาตราใดก็จะมีผลใช้บังคับนับแต่วันที่ระบุให้มีผลใช้เป็นต้นไป ไม่มีผลบังคับย้อนหลังไปในปีภาษี หรือเดือนภาษีที่ล่วงมาแล้ว ดังนั้นแม้โจทก์เพียงได้รับแจ้งการประเมินและยังไม่มีการชำระภาษีตามการประเมินโจทก์ก็ไม่ได้รับ ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์ยอมรับที่จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารเลี้ยงรับรองบุคคลภายนอก แต่ขอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์งดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกรณีดังกล่าวนี้ ส่วนกรณีภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารสวัสดิการพนักงานและผู้บริหารของโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ว่าการให้พนักงานของโจทก์รับประทานอาหารเป็นเรื่องสวัสดิการปกติของธุรกิจโรงแรมทุกแห่ง ไม่เข้าลักษณะคำนิยามคำว่า "ขาย" ตามประมวลรัษฎากร ขอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชี้ขาดยกเลิกการประเมินการให้พนักงานของโจทก์รับประทานอาหารเป็น ยอดขายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ว่าตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ปรากฏว่าโจทก์อุทธรณ์ขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารดังกล่าวก็ตาม แต่การที่โจทก์ขอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยกเลิกการประเมินที่ถือว่าการให้พนักงานของโจทก์รับประทานอาหารเป็นยอดขายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการที่โจทก์ให้พนักงานและผู้บริหารของโจทก์รับประทานอาหารรวมถึงเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมายด้วย เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดยืนตามการประเมินของ เจ้าพนักงานประเมินและพิจารณาลดเบี้ยปรับลง โจทก์ไม่พอใจ จึงอุทธรณ์ต่อศาล ขอให้เพิกถอนการประเมินของ เจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และขอให้ศาลพิจารณางดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารทุกกรณี ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ในเรื่องเบี้ยปรับกรณีภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารสวัสดิการพนักงานและผู้บริหารของโจทก์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณางดเบี้ยปรับให้ แก่โจทก์ได้
โจทก์ลงบัญชีโดยเปิดเผย ไม่มีเจตนาหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีอากร แต่เป็นปัญหา ข้อกฎหมายที่มีความเห็นไม่ตรงกันว่าโจทก์ควรต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารสวัสดิการพนักงาน ผู้บริหารและค่าอาหารเลี้ยงรับรองบุคคลภายนอกของโจทก์หรือไม่เท่านั้น ทั้งโจทก์ให้ความร่วมมือต่อเจ้าพนักงานในการ ตรวจสอบภาษีเป็นอย่างดี ที่ศาลภาษีอากรกลางพิจารณางดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารทุกกรณีให้แก่โจทก์เป็นการเหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การที่โจทก์ให้พนักงานและผู้บริหารโรงแรมและภัตตาคารของโจทก์รับประทานอาหารโดยไม่คิดมูลค่า เป็นการให้บริการตามความหมายในมาตรา 77/1 (10) แห่ง ป. รัษฎากร เพราะเป็นการกระทำอันอาจหาประโยชน์ อันมีมูลค่า ซึ่งมิใช่การขายสินค้าและถือเป็นการใช้บริการจากกิจการของตนเองโดยเฉพาะการให้พนักงานและ ผู้บริหารรับประทานอาหารไม่ใช่การนำบริการไปใช้ในการบริหารงานของกิจการโดยตรง จะถือเป็นการนำบริการไปใช้ในการบริหารงานของกิจการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) ไม่ได้โจทก์ จึงเป็นผู้ประกอบการและได้ให้บริการอันอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงต้องนำราคาค่าอาหารดังกล่าวมาเป็น มูลค่าของการให้บริการของโจทก์
แม้การให้บริการของโจทก์จะเข้าเงื่อนไขที่จะไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 78) เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 (4) แห่ง ป. รัษฎากร แต่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2541 ส่วนภาระภาษีของโจทก์ตามการประเมินในคดีนี้เป็นภาษีของเดือนสิงหาคม 2540 ถึงเดือนมีนาคม 2541 ประกาศดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับใช้กับคดีนี้ เพราะประมวลรัษฎากรเป็นกฎหมายที่กำหนดให้ใช้ในแต่ละปีภาษีหากมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายมาตราใดก็จะมีผลใช้บังคับนับแต่วันที่ระบุให้มีผลใช้เป็นต้นไป ไม่มีผลบังคับย้อนหลังไปในปีภาษี หรือเดือนภาษีที่ล่วงมาแล้ว ดังนั้นแม้โจทก์เพียงได้รับแจ้งการประเมินและยังไม่มีการชำระภาษีตามการประเมินโจทก์ก็ไม่ได้รับ ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์ยอมรับที่จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารเลี้ยงรับรองบุคคลภายนอก แต่ขอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์งดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกรณีดังกล่าวนี้ ส่วนกรณีภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารสวัสดิการพนักงานและผู้บริหารของโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ว่าการให้พนักงานของโจทก์รับประทานอาหารเป็นเรื่องสวัสดิการปกติของธุรกิจโรงแรมทุกแห่ง ไม่เข้าลักษณะคำนิยามคำว่า "ขาย" ตามประมวลรัษฎากร ขอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชี้ขาดยกเลิกการประเมินการให้พนักงานของโจทก์รับประทานอาหารเป็น ยอดขายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ว่าตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ปรากฏว่าโจทก์อุทธรณ์ขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารดังกล่าวก็ตาม แต่การที่โจทก์ขอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยกเลิกการประเมินที่ถือว่าการให้พนักงานของโจทก์รับประทานอาหารเป็นยอดขายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการที่โจทก์ให้พนักงานและผู้บริหารของโจทก์รับประทานอาหารรวมถึงเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมายด้วย เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดยืนตามการประเมินของ เจ้าพนักงานประเมินและพิจารณาลดเบี้ยปรับลง โจทก์ไม่พอใจ จึงอุทธรณ์ต่อศาล ขอให้เพิกถอนการประเมินของ เจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และขอให้ศาลพิจารณางดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารทุกกรณี ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ในเรื่องเบี้ยปรับกรณีภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารสวัสดิการพนักงานและผู้บริหารของโจทก์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณางดเบี้ยปรับให้ แก่โจทก์ได้
โจทก์ลงบัญชีโดยเปิดเผย ไม่มีเจตนาหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีอากร แต่เป็นปัญหา ข้อกฎหมายที่มีความเห็นไม่ตรงกันว่าโจทก์ควรต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารสวัสดิการพนักงาน ผู้บริหารและค่าอาหารเลี้ยงรับรองบุคคลภายนอกของโจทก์หรือไม่เท่านั้น ทั้งโจทก์ให้ความร่วมมือต่อเจ้าพนักงานในการ ตรวจสอบภาษีเป็นอย่างดี ที่ศาลภาษีอากรกลางพิจารณางดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าอาหารทุกกรณีให้แก่โจทก์เป็นการเหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7604/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอล่าช้าต้องแสดงเหตุละเอียดชัดเจนและมีเหตุผลที่ศาลอาจเปลี่ยนแปลงคำพิพากษา หากไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ศาลยกคำร้องได้
คำขอให้พิจารณาใหม่นั้น คู่ความจะต้องกล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงเหตุที่ขาดนัดข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาล และเหตุแห่งการยื่นคำขอล่าช้าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคท้าย (เดิม)
คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยกล่าวแต่เพียงว่า จำเลยเพิ่งพบคำบังคับ โดยไม่ทราบมาก่อนว่าถูกฟ้อง สอบถามคนในบ้านได้ความว่าเก็บคำบังคับแล้วลืมนำมาให้จำเลย ส่วนหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่มีผู้ใดทราบ หากทราบจำเลยจะต้องยื่นคำให้การต่อสู้คดี จำเลยมีทางชนะคดีโจทก์ได้ เนื่องจากจำเลยมิได้ผิดนัดชำระหนี้ต่อโจทก์ข้อความในคำขอดังกล่าวไม่ได้กล่าวแสดงเหตุละเอียดและชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องในส่วนใดอย่างไร ทั้งไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิงที่จะแสดงให้เห็นได้ชัดแจ้งว่า หากพิจารณาใหม่แล้ว ศาลอาจพิพากษาให้ผิดแผกแตกต่างจากที่ได้พิพากษาไปแล้วจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคท้าย (เดิม)
คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคท้าย (เดิม) กรณีต้องยกคำร้องอยู่แล้ว แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยฎีกาของจำเลยให้ก็ไม่เป็นประโยชน์แก่คดี ฎีกาของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยกล่าวแต่เพียงว่า จำเลยเพิ่งพบคำบังคับ โดยไม่ทราบมาก่อนว่าถูกฟ้อง สอบถามคนในบ้านได้ความว่าเก็บคำบังคับแล้วลืมนำมาให้จำเลย ส่วนหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่มีผู้ใดทราบ หากทราบจำเลยจะต้องยื่นคำให้การต่อสู้คดี จำเลยมีทางชนะคดีโจทก์ได้ เนื่องจากจำเลยมิได้ผิดนัดชำระหนี้ต่อโจทก์ข้อความในคำขอดังกล่าวไม่ได้กล่าวแสดงเหตุละเอียดและชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องในส่วนใดอย่างไร ทั้งไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิงที่จะแสดงให้เห็นได้ชัดแจ้งว่า หากพิจารณาใหม่แล้ว ศาลอาจพิพากษาให้ผิดแผกแตกต่างจากที่ได้พิพากษาไปแล้วจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคท้าย (เดิม)
คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคท้าย (เดิม) กรณีต้องยกคำร้องอยู่แล้ว แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยฎีกาของจำเลยให้ก็ไม่เป็นประโยชน์แก่คดี ฎีกาของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7604/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอพิจารณาใหม่ต้องแสดงเหตุขาดนัดชัดเจนและเหตุผลที่ศาลอาจเปลี่ยนแปลงคำพิพากษา
คำขอให้พิจารณาใหม่นั้น คู่ความจะต้องกล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงเหตุที่ขาดนัดข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาล และเหตุแห่งการยื่นคำขอล่าช้าตามป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคท้าย (เดิม)
คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยกล่าวแต่เพียงว่า จำเลยเพิ่งพบคำบังคับ โดยไม่ทราบมาก่อนว่าถูกฟ้อง สอบถามคนในบ้านได้ความว่าเก็บคำบังคับแล้วลืมนำมาให้จำเลย ส่วนหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่มีผู้ใดทราบ หากทราบจำเลยจะต้องยื่นคำให้การต่อสู้คดี จำเลยมีทางชนะคดีโจทก์ได้ เนื่องจากจำเลยมิได้ผิดนัดชำระหนี้ต่อโจทก์ ข้อความในคำขอดังกล่าวไม่ได้กล่าวแสดงเหตุละเอียดและชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องในส่วนใดอย่างไร ทั้งไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิงที่จะแสดงให้เห็นได้ชัดแจ้งว่า หากพิจารณาใหม่แล้ว ศาลอาจพิพากษาให้ผิดแผกแตกต่างจากที่ได้พิพากษาไปแล้ว จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคท้าย (เดิม)
คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา208 วรรคท้าย (เดิม) กรณีต้องยกคำร้องอยู่แล้ว แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยฎีกาของจำเลยให้ก็ไม่เป็นประโยชน์แก่คดี ฎีกาของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249
คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยกล่าวแต่เพียงว่า จำเลยเพิ่งพบคำบังคับ โดยไม่ทราบมาก่อนว่าถูกฟ้อง สอบถามคนในบ้านได้ความว่าเก็บคำบังคับแล้วลืมนำมาให้จำเลย ส่วนหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่มีผู้ใดทราบ หากทราบจำเลยจะต้องยื่นคำให้การต่อสู้คดี จำเลยมีทางชนะคดีโจทก์ได้ เนื่องจากจำเลยมิได้ผิดนัดชำระหนี้ต่อโจทก์ ข้อความในคำขอดังกล่าวไม่ได้กล่าวแสดงเหตุละเอียดและชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องในส่วนใดอย่างไร ทั้งไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิงที่จะแสดงให้เห็นได้ชัดแจ้งว่า หากพิจารณาใหม่แล้ว ศาลอาจพิพากษาให้ผิดแผกแตกต่างจากที่ได้พิพากษาไปแล้ว จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคท้าย (เดิม)
คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา208 วรรคท้าย (เดิม) กรณีต้องยกคำร้องอยู่แล้ว แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยฎีกาของจำเลยให้ก็ไม่เป็นประโยชน์แก่คดี ฎีกาของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7472/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอาคารชุด คำมั่นสัญญาในโฆษณาเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา แม้ไม่มีข้อความระบุชัดเจน
ตามคำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า การที่โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสาธารณูปโภคต่าง ๆ ตามสิทธิของเจ้าของร่วมในโครงการอาคารชุด อาทิ สระว่ายน้ำ สนามเทนนิส สนามบาสเกตบอล และที่จอดรถ ทำให้โจทก์ต้องหา สถานที่ออกกำลังกายและที่จอดรถแห่งใหม่ ต้องเสียค่าใช้จ่าย เป็นเรื่องที่โจทก์คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นว่าโจทก์ต้องเสียหายคิดเป็นเงินได้เท่าใด ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์อาศัยหลักเกณฑ์และวิธีใดในการคำนวณค่าเสียหายเป็นเรื่องรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ คำฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้องแล้ว
ตามใบโฆษณาขายปรากฏใจความและรูปภาพอาคารชุดสยามคอนโดมิเนียมที่จำเลยโฆษณาขายแก่บุคคลทั่วไป โดยเฉพาะมีรูปภาพสระว่ายน้ำ สนามเทนนิส สนามบาสเกตบอล และอาคารจอดรถสูง 4 ชั้น และมีข้อความระบุไว้ด้วยว่า "สยามคอนโดมิเนียม อาคารชุดพักอาศัยที่ทันสมัยและสุนทรี? สถานที่ที่รวมความสุข สะดวกสบาย และความร่มรื่นสดชื่นใจทุกประการไว้ภายในบริเวณอาคารที่มีพร้อมทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นสระว่ายน้ำ สนามเทนนิส สนามบาสเกตบอล สนามเด็กเล่น? ตลอดจนมีที่จอดรถกว้างขวางให้ท่านและแขกเหรื่อของท่านจอดได้สบาย ๆ ถึง 600 คัน?" กรณีจึงเป็นที่เห็นได้ว่าการกระทำของจำเลยมีลักษณะเป็นการให้คำมั่นสัญญาต่อบุคคลทั่วไปหรือลูกค้า ว่าจำเลยจะดำเนินการให้มีสิ่งก่อสร้างดังกล่าวด้วยตามที่จำเลยออกโฆษณาขาย แม้ในหนังสือสัญญาขายห้องชุดระหว่างโจทก์กับจำเลยจะไม่ปรากฏข้อความตามใบโฆษณาขายหรือข้อความให้ถือเอาโฆษณาขายเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาก็ตาม การที่ต่อมาจำเลยได้จัดสร้างสระว่ายน้ำ สนามเทนนิส และสนามบาสเกตบอลตามที่ออกโฆษณาในใบโฆษณาขาย ย่อมเป็นพฤติการณ์ทำให้ฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยได้ตกลงให้ถือเอาใบโฆษณาขายเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือสัญญาขายโดยปริยาย เมื่อจำเลยไม่ได้ก่อสร้างอาคารจอดรถสูง 4 ชั้น จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่จำเลยนำออกโฆษณาตามใบโฆษณา กรณีถือได้ว่าจำเลยได้ประพฤติผิดคำมั่นสัญญาต่อโจทก์
ตามใบโฆษณาขายปรากฏใจความและรูปภาพอาคารชุดสยามคอนโดมิเนียมที่จำเลยโฆษณาขายแก่บุคคลทั่วไป โดยเฉพาะมีรูปภาพสระว่ายน้ำ สนามเทนนิส สนามบาสเกตบอล และอาคารจอดรถสูง 4 ชั้น และมีข้อความระบุไว้ด้วยว่า "สยามคอนโดมิเนียม อาคารชุดพักอาศัยที่ทันสมัยและสุนทรี? สถานที่ที่รวมความสุข สะดวกสบาย และความร่มรื่นสดชื่นใจทุกประการไว้ภายในบริเวณอาคารที่มีพร้อมทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นสระว่ายน้ำ สนามเทนนิส สนามบาสเกตบอล สนามเด็กเล่น? ตลอดจนมีที่จอดรถกว้างขวางให้ท่านและแขกเหรื่อของท่านจอดได้สบาย ๆ ถึง 600 คัน?" กรณีจึงเป็นที่เห็นได้ว่าการกระทำของจำเลยมีลักษณะเป็นการให้คำมั่นสัญญาต่อบุคคลทั่วไปหรือลูกค้า ว่าจำเลยจะดำเนินการให้มีสิ่งก่อสร้างดังกล่าวด้วยตามที่จำเลยออกโฆษณาขาย แม้ในหนังสือสัญญาขายห้องชุดระหว่างโจทก์กับจำเลยจะไม่ปรากฏข้อความตามใบโฆษณาขายหรือข้อความให้ถือเอาโฆษณาขายเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาก็ตาม การที่ต่อมาจำเลยได้จัดสร้างสระว่ายน้ำ สนามเทนนิส และสนามบาสเกตบอลตามที่ออกโฆษณาในใบโฆษณาขาย ย่อมเป็นพฤติการณ์ทำให้ฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยได้ตกลงให้ถือเอาใบโฆษณาขายเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือสัญญาขายโดยปริยาย เมื่อจำเลยไม่ได้ก่อสร้างอาคารจอดรถสูง 4 ชั้น จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่จำเลยนำออกโฆษณาตามใบโฆษณา กรณีถือได้ว่าจำเลยได้ประพฤติผิดคำมั่นสัญญาต่อโจทก์