คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ณรงค์ศักดิ์ วิจิตรสาระวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 524 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6511/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินมือเปล่าซื้อขายได้ แต่โอนได้เฉพาะสิทธิครอบครอง ไม่ตกเป็นโมฆะ
ที่จำเลยฎีกาว่า สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะเสียเปล่าตั้งแต่วันทำสัญญาเพราะเป็นที่ดินมือเปล่าซึ่งไม่มีคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว อีกทั้งข้อความที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขาย ไม่มีข้อความใดที่ระบุว่าจะไปทำการโอนที่ดินกันเมื่อไร จึงตกเป็นโมฆะตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 9จำเลยได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์แล้วซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้จึงไม่ชอบ
แม้ที่ดินพิพาทตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นที่ดินมือเปล่า ยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้วไม่อาจโอนกันได้ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ. 2497 มาตรา 9 ก็ตาม แต่ย่อมโอนไปซึ่งการครอบครองได้ โดยการส่งมอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378 สัญญาซื้อขายจึงไม่ตกเป็นโมฆะ โจทก์มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6511/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินมือเปล่า: โอนการครอบครองได้แม้ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้
ที่จำเลยฎีกาว่า สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะเสียเปล่าตั้งแต่วันทำสัญญาเพราะเป็นที่ดินมือเปล่าซึ่งไม่มีคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว อีกทั้งข้อความที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขาย ไม่มีข้อความใดที่ระบุว่าจะไปทำการโอนที่ดินกันเมื่อใด จึงตกเป็นโมฆะตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ. 2497 มาตรา 9 จำเลยได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์แล้ว ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่วินิจฉัยให้จึงไม่ชอบ
แม้ที่ดินพิพาทตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยจะเป็นที่ดินมือเปล่า ยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว ไม่อาจโอนกันได้ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 9 ก็ตาม แต่ย่อมโอนไปซึ่งการครอบครองได้โดยการส่งมอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378 สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจึงไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6511/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินมือเปล่า: โอนการครอบครองได้ แม้ตกเป็นโมฆะ
ที่จำเลยฎีกาว่า สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะเสียเปล่าตั้งแต่วันทำสัญญาเพราะเป็นที่ดินมือเปล่าซึ่งไม่มีคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว อีกทั้งข้อความที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขาย ไม่มีข้อความใดที่ระบุว่าจะไปทำการโอนที่ดินกันเมื่อใด จึงตกเป็นโมฆะตาม พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดินพ.ศ.2497 มาตรา 9 จำเลยได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์แล้ว ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3ไม่วินิจฉัยให้จึงไม่ชอบ
แม้ที่ดินพิพาทตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยจะเป็นที่ดินมือเปล่า ยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว ไม่อาจโอนกันได้ตาม พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 9 ก็ตาม แต่ย่อมโอนไปซึ่งการครอบครองได้โดยการส่งมอบตาม ป.พ.พ.มาตรา 1378 สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจึงไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5873/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคำฟ้องหลายข้อหา และการคำนวณรายได้จากเงินปันผลหลังการขายหุ้น
การเรียกค่าขึ้นศาลต้องดูว่าคำฟ้องที่เสนอต่อศาลมีกี่ข้อหา แต่ละข้อหาเกี่ยวข้องกันหรือแยกจากกันได้ ในกรณีที่คำฟ้องมีหลายข้อหา ย่อมสามารถคิดค่าขึ้นศาลเป็นรายข้อหาไปได้ โดยต้องพิจารณาถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับของโจทก์ในคำฟ้องนั้นเป็นแต่ละข้อหาไป โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินที่ให้โจทก์ชำระภาษีการค้า ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งเป็นภาษีคนละประเภทและแต่ละประเภทมีจำนวนเงินแยกต่างหากออกจากกันได้ โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามฟ้องและจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลตามฟ้องอุทธรณ์ทุกข้อหาแยกต่างหากจากกัน
การโอนหุ้นจะใช้ยันบุคคลภายนอกไม่ได้ จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนชื่อและสำนักของผู้รับโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสาม เมื่อโจทก์รับว่าการโอนหุ้นให้แก่ ม. มิได้จดแจ้งการโอนต่อนายทะเบียนผู้ถือหุ้นของ ป. ในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงยังคงปรากฏชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นอยู่โจทก์จึงไม่อาจอ้างเหตุว่ามีการโอนหุ้นไปแล้วยันจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ โจทก์ต้องนำเงินปันผลจากหุ้นของ ป. มาคำนวณรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5873/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: การประเมินราคาที่ดิน, รายได้จากการขายหุ้น, และการหลีกเลี่ยงภาษี
ในวันนัดสืบพยานจำเลย โจทก์ขอเลื่อนคดีมาแล้วครั้งหนึ่งอ้างว่าทนายความคนก่อนขอถอนตัวยังไม่ได้แต่งตั้งทนายความคนใหม่ จำเลยแถลงคัดค้านว่าได้เตรียมพยานมาพร้อมแล้วไม่ควรให้เลื่อน ศาลภาษีอากรกลางให้เลื่อนสืบพยานจำเลยไปวันที่ 6 พฤศจิกายน 2541 ครั้นถึงวันนัด โจทก์ขอเลื่อนคดีอีก อ้างว่าโจทก์เพิ่งแต่งตั้งทนายความคนใหม่แทนทนายความคนก่อนที่ถอนตัว คดีมีเอกสารมาก ทนายความคนใหม่ไม่สามารถซักค้านพยานจำเลยได้ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์มีเจตนาหน่วงเหนี่ยวให้คดีชักช้าโดยปราศจากเหตุอันสมควร ทั้ง ๆ ที่ศาลภาษีอากรกลางได้ให้โอกาสโจทก์เลื่อนคดีมาครั้งหนึ่งแล้ว แม้โจทก์จะแต่งตั้งทนายความใหม่ก็ชอบที่ทนายความคนใหม่เตรียมคดีให้พร้อมก่อนวันนัด หาใช่นำเอาเหตุแห่งการแต่งตั้งทนายความคนใหม่มาเป็นข้ออ้างเพื่อไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลภาษีอากรกลาง พฤติการณ์ของโจทก์ จึงเป็นการประวิงคดี ทั้งคดีได้ความว่าทนายความคนใหม่ก็ได้ซักค้านพยานจำเลยทุกปากที่สืบไปครบถ้วนแล้ว ที่ศาลภาษีอากรกลางไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจึงชอบแล้วตาม ป.วิ.พ.และตารางหนึ่งท้าย ป.วิ.พ.หาได้มีบทบังคับว่าในคำฟ้องฉบับเดียวกันนั้นต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200,000 บาท เท่านั้นไม่ แม้ว่ามีข้อหาหลายข้อหาด้วยกัน ดังนั้น ในการพิจารณาว่าคดีใด จะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใด จำต้องพิจารณาคำฟ้องเป็นเกณฑ์
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินที่ให้โจทก์ชำระภาษีการค้า ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ส่วนจำเลยอุทธรณ์ขอให้โจทก์ชำระภาษีการค้าและภาษีเงินได้นิติบุคคลพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งเป็นภาษีคนละประเภทและแต่ละประเภทมีจำนวนเงินแยกต่างหากออกจากกันได้จึงเป็นคำฟ้องและฟ้องอุทธรณ์หลายข้อหาซึ่งแต่ละข้อหาสามารถคิดคำนวณจำนวนเงินที่ขอให้เพิกถอนการประเมินแยกต่างหากออกจากกันได้ การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษี และจำเลยอุทธรณ์ขอให้โจทก์ชำระภาษีดังกล่าวรวมกันมาจำนวนเดียวและเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดครั้งเดียว โดยมิได้แยกทุนทรัพย์แต่ละข้อหาเป็นการหลีกเลี่ยงค่าขึ้นศาล โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามฟ้องและจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลตามฟ้อง อุทธรณ์ทุกข้อหาแยกต่างหากจากกัน
โจทก์ซื้อที่ดินจำนวน 66 โฉนด รวมเนื้องที่ 1128 ตารางวาและซื้อที่ดินอีกส่วนหนึ่งของโฉนดเลขที่ 1051 เนื้อที่ 189 ตารางวาจากบริษัท ส.แล้วเข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวเป็นเวลานานถึง 9 ปี และลงทุนเป็นจำนวนเงินกว่า51,000,000 บาท ก่อสร้างอาคารประกอบกิจการศูนย์อาหาร และต่อมาประสงค์จะขายต่อเอากำไร ส่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์ซื้อที่ดินมาแล้วขายไปโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้าต้องเสียภาษีการค้าจากการขายที่ดินดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 และ 78 ประกอบด้วยบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เพราะการซื้อที่ดินมาเพื่อจะขายหากำไร แม้จะกระทำเพียงครั้งเดียวก็ถือได้ว่าเป็นการขายโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรแล้ว
โจทก์ขายที่ดินตามฟ้องไปในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับดังกล่าวตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 78 วรรคหนึ่งบัญญัติไว้ แต่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้า โดยมิได้นำรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ไปรวมคำนวณเสียภาษีการค้าด้วย ทั้ง ๆ ที่โจทก์เองก็รู้ดีว่า โจทก์ขายที่ดินไปในทางการค้าหรือหากำไร แสดงให้เห็นว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีการค้า แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นว่า สาเหตุที่โจทก์ไม่ยื่นชำระภาษีการค้าเนื่องจากไม่เข้าใจข้อกฎหมายดีพอเชื่อได้ว่าไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร และได้ให้ความร่วมมือในชั้นตรวจสอบด้วยดีจึงมีเหตุอันควรผ่อนผันลดเบี้ยปรับภาษีการค้าลงคงเหลือเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50ของเบี้ยปรับตามกฎหมายก็ดี ก็เป็นความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หามีผลผูกพันให้ศาลต้องถือตามไม่ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีการค้าของโจทก์ได้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2)
การประเมินภาษีการค้าเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดราคาทรัพย์สินตามราคาตลาดในวันโอน เมื่อการโอนนั้นมีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ (6) สำหรับค่าตอบแทนการโอนที่ดินที่โจทก์อ้างว่าเท่ากับราคาตารางวาละ 25,000 บาท นั้นเป็นการคิดคำนวณจากราคาที่ดินที่โจทก์ซื้อจากบริษัท ส.บวกด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ12 ต่อปี นับแต่วันที่บริษัท ส.ได้รับเงินไป ค่าตอบแทนดังกล่าวจึงไม่ใช่ราคาตลาดของที่ดิน และเป็นการขายทรัพย์สินในราคาต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควรแต่ที่เจ้าพนักงานประเมินได้กำหนดราคาที่ดินตารางวาละ 160,000 บาท โดยเทียบเคียงกับราคาที่ดินซึ่งมีทำเลที่แตกต่างจากที่ดินตามฟ้องเป็นอย่างมาก และนำเอาจำนวนมูลค่าการลงทุนในศูนย์อาหารของโจทก์ ซึ่งต่อมาได้มีการรื้อถอนทิ้งรวมเข้าไปในการคำนวณด้วย ก็เป็นการไม่ถูกต้องเพราะไม่ใช่ราคาตลาด
การโอนหุ้นจะใช้ยันบุคคลภายนอกไม่ได้ จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักของผู้รับโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1129วรรคสาม เมื่อโจทก์ขายหุ้นแล้วมิได้จดแจ้งการโอนต่อนายทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทปูนซิเมนต์นครหลวง จำกัด ในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงยังคงปรากฏชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นอยู่โจทก์จึงไม่อาจอ้างเหตุว่าได้มีการโอนหุ้นไปแล้ว เพื่อใช้ยันจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ โจทก์จึงต้องนำเงินปันผลจากหุ้นของบริษัทปูนซิเมนต์นครหลวง จำกัด มาคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5871/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าต้องต่อเมื่อมีการส่งมอบสินค้าให้ผู้นำเข้าออกจากอารักขาของศุลกากรแล้ว
ผู้นำของเข้าจะต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระโดยไม่คิดทบต้นนับแต่วันที่ได้ส่งมอบจนถึงวันที่นำเงินมาชำระตามมาตรา 112 จัตวา แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ต่อเมื่อกรมศุลกากรโจทก์ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยผู้นำเข้านำสินค้าออกไปจากอารักขาของศุลกากรแล้วเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบสินค้ารถยนต์ให้จำเลยนำออกไปจากอารักขาของศุลกากรแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่จำเลยต้องนำมาชำระตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5871/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้า ต้องมีการส่งมอบสินค้าให้ผู้นำเข้าก่อน จึงจะมีผลบังคับใช้
ผู้นำของเข้าจะต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระโดยไม่คิดทบต้นนับแต่วันที่ได้ส่งมอบจนถึงวันที่นำเงินมาชำระตามมาตรา 112 จัตวา แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ต่อเมื่อกรมศุลกากรโจทก์ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยผู้นำเข้านำสินค้าออกไปจากอารักขาของศุลกากรแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบสินค้ารถยนต์ให้จำเลยนำออกไปจากอารักขาของศุลกากรแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่จำเลยต้องนำมาชำระตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5755/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดนัดเป็นเบี้ยปรับ ศาลมีอำนาจลดได้เฉพาะส่วนเกินจากอัตราดอกเบี้ยในสัญญา
++ เรื่อง ยืม จำนอง ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ก่อนพิมพ์จริง++
++
++ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง
++ ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว คดีมีปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์โจทก์ว่า ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่โจทก์คิดขณะจำเลยทั้งสองผิดนัดเป็นเบี้ยปรับทั้งหมดและศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดจากอัตราร้อยละ 21ต่อปี ลงเหลือร้อยละ 15 ต่อปี หรือไม่
++ ในปัญหาดังกล่าวตามสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.3 ข้อ 2 ได้ระบุดอกเบี้ยไว้ในอัตราร้อยละ 15.5 ต่อปีและระบุด้วยว่า จำเลยทั้งสองตกลงให้โจทก์ขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยตามความเหมาะสมโดยไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตได้ทันที โดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบและถือว่าจำเลยทั้งสองได้ยินยอมต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าแล้ว แต่การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ15.5 ต่อปี เป็นร้อยละ 21 ต่อปี นั้น แม้เป็นอัตราตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์เอกสารหมาย จ.7 ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกเก็บจากลูกค้าในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี แต่ก็ปรากฏว่าโจทก์ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดชำระหนี้ ดังปรากฏตามคำเบิกความของนายณัฐคม สุขสาคร ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ว่า จำเลยผิดนัดชำระตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2540 โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยอย่างลูกหนี้ผิดนัดในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงมิใช่ปรับขึ้นหรือปรับปรุงตามความเหมาะสมตามที่ระบุในสัญญา การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของโจทก์จึงเห็นเจตนาได้ว่าประสงค์จะให้เป็นค่าเสียหาย โดยกำหนดไว้ล่วงหน้าในรูปของดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้นจากเดิม ดังนั้น เฉพาะดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้นจากที่ระบุในสัญญากู้เงินนี้จึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ที่ศาลจะลดลงได้ตามมาตรา 383 มิใช่เป็นเบี้ยปรับทั้งหมด ศาลจึงใช้ดุลพินิจลดดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราร้อยละ 15.5ต่อปี ตามที่ระบุในสัญญากู้เงินไม่ได้
++ การที่ศาลชั้นต้นลดอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 15 ต่อปี จึงไม่ชอบ แต่ที่โจทก์ฎีกาขอดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปีศาลฎีกาเห็นว่ายังสูงเกินส่วน เห็นควรกำหนดลดลงเป็นอัตราร้อยละ18 ต่อปี
++ พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 466,580.97 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 463,909.97 บาท นับแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2540และดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ของต้นเงินจำนวน 2,671 บาทนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5615/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: นำยาเสพติดเข้าบริเวณศาล และการหลบหนีหลังถูกตรวจพบ
ผู้ถูกกล่าวหานำเมทแอมเฟตามีนเข้าไปที่หน้าห้องควบคุมตัวผู้ต้องขังของศาลซึ่งอยู่ในบริเวณศาลอันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1),33 ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5555/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีซื้อบริภัณฑ์ในสัญญาเช่าสถานีบริการน้ำมัน: การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและข้อจำกัดในการหักลดหย่อน
ตามสัญญาเช่าดำเนินกิจการสถานีบริการและยืมบริภัณฑ์ โจทก์ให้เช่าสถานีบริการน้ำมันตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ ส่วนบริภัณฑ์นั้นโจทก์ให้ผู้เช่ายืมใช้เพื่อประโยชน์ในการจำหน่ายน้ำมันของผู้เช่า โดยมีเงื่อนไขว่าผู้เช่าต้องซื้อผลิตภัณฑ์จากโจทก์โดยตรงเท่านั้น บริภัณฑ์ที่โจทก์ให้ผู้เช่ายืมจึงเป็นส่วนสำคัญของการให้เช่าสถานีบริการน้ำมัน เมื่อการให้เช่าดำเนินการสถานีบริการน้ำมันเป็นการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อ "บริภัณฑ์" จึงเป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องกับกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งต้องห้ามมิให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
of 53