คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ณรงค์ศักดิ์ วิจิตรสาระวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 524 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7285/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจอดรถในที่มืดโดยประมาทและการหลบหนีหลังเกิดอุบัติเหตุ ไม่ผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก แต่ยังคงมีความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (4) และมาตรา 78 วรรคหนึ่ง ประสงค์ที่จะลงโทษผู้ขับขี่ซึ่งขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน และลงโทษผู้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นแล้วไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตามสมควร และพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที หาใช่กรณีผู้ขับรถที่จอดรถอยู่ไม่
จำเลยกระทำโดยประมาทจอดรถยนต์บนถนนในที่มืดโดยไม่เปิดสัญญาณไฟและไม่ทำสัญญาณแสดงว่ามี รถยนต์จอดอยู่ เป็นเหตุให้ผู้ตายทั้งสองซึ่งขับรถจักรยานยนต์นั่งซ้อนท้ายกันมาชนท้ายรถยนต์ของจำเลย แล้วจำเลยหลบหนีไป การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (4), 78 วรรคหนึ่ง ตามที่โจทก์ฟ้อง แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7285/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจอดรถในที่มืดโดยไม่เปิดสัญญาณไฟ และหลบหนีหลังเกิดเหตุ ไม่ผิดตาม พ.ร.บ.จราจร แต่ยังคงมีความผิดฐานประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(4) และมาตรา 78 วรรคหนึ่ง ประสงค์ที่จะลงโทษผู้ขับขี่ขณะขับรถมิใช่กรณีจอดรถอยู่ การที่จำเลยกระทำโดยประมาทจอดรถยนต์บนถนนในมืดโดยไม่เปิดสัญญาไฟและไม่ทำสัญญาณแสดงว่ามีรถยนต์จอดอยู่ เป็นเหตุให้ผู้ตายซึ่งขับรถจักรยานยนต์ซ้อนท้ายกันมาชนท้ายรถยนต์ของจำเลย แล้วจำเลยหลบหนีไป จึงไม่เป็นความผิดตาม มาตรา 43(4),78 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7269/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการซื้อขายสินสมรส: จำเลยที่ 2 รู้ว่าที่ดินเป็นสินสมรสหรือไม่
ที่ดินพิพาทมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ แต่ที่ดินดังกล่าวเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 หลังจากโจทก์และจำเลยที่ 1 จดทะเบียนหย่ากันแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม แต่จำเลยที่ 2 รู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 มาก่อน โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ในส่วนของโจทก์ครึ่งหนึ่งได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6402/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การขอคืนภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเช่า และการงดเบี้ยปรับ
โจทก์ปลูกสร้างอาคารสรรพสินค้าด้วยสัมภาระของโจทก์บนที่ดินที่โจทก์ทำสัญญาเช่าจากกรมการศาสนา โดยโจทก์ตกลงยอมยกกรรมสิทธิ์สิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างบนที่ดินดังกล่าวให้ตกเป็นของกรมการศาสนาทันที ดังนั้น การที่กรมการศาสนาได้กรรมสิทธิ์ในบรรดาสิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างก็เนื่องมาจากข้อตกลงในสัญญาเช่า โดยผู้เช่าแสดงเจตนาไว้ชัดแจ้งถึงการยกกรรมสิทธิ์ให้ทันทีเพื่อให้สิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างเป็นทรัพย์สินส่วนควบติดกับที่เช่าตลอดไป จึงเป็นการแสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในอาคารสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งสิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างในสถานที่เช่า ซึ่งหากโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์แล้ว โจทก์ย่อมไม่อาจจะตกลงให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่เจ้าของที่ดินในทันทีได้ ฉะนั้น อาคารสรรพสินค้าและบรรดาสิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างในสถานที่เช่า จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมการศาสนาโดยนิติกรรม หาใช่โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมไม่กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์ได้จำหน่าย จ่าย โอนอาคารสรรพสินค้าและบรรดาสิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างในสถานที่เช่า อันเป็นการ "ขาย"ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 91/1(4) ที่ได้ให้คำนิยามว่า "ขาย"หมายความว่า จำหน่าย จ่าย โอน ไม่ว่าจะมีประโยชน์ตอบแทนหรือไม่
กรณีของโจทก์เป็นการขายอาคารสรรพสินค้าและบรรดาสิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างในสถานที่เช่าจากกรมการศาสนาและเป็นการขายภายในกำหนด 3 ปี นับแต่เดือนที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ดังนั้น ภาษีซื้อที่เกิดจากค่าก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นบนที่ดินที่เช่าจากกรมการศาสนาเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเป็นภาษีซื้อที่ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงไม่สามารถนำภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารสรรพสินค้าบนที่ดินที่เช่าจากกรมการศาสนามาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6402/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอาคารบนที่ดินเช่าและผลกระทบต่อการหักภาษีซื้อมูลค่าเพิ่ม
โจทก์ประกอบกิจการห้างสรรพสินค้าและให้เช่าพื้นที่อาคารของห้างสรรพสินค้า โจทก์ได้ปลูกสร้างอาคารสรรพสินค้าด้วยสัมภาระของโจทก์บนที่ดินที่โจทก์ทำสัญญาเช่าจากกรมการศาสนา โดยโจทก์ตกลงยอมยกกรรมสิทธิ์สิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างบนที่ดินดังกล่าวให้ตกเป็นของกรมการศาสนาทันทีเพื่อให้เป็นทรัพย์สินส่วนควบตามสัญญาเช่า บรรดาสิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างในสถานที่ที่เช่าหาได้ตกเป็นส่วนควบของที่ดินที่โจทก์เช่าจากกรมศาสนาไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 ดังนั้น กรมการศาสนาย่อมไม่มีกรรมสิทธิ์ในบรรดาสิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างในสถานที่ที่เช่า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 144 วรรคสอง แต่การที่กรมการศาสนาได้กรรมสิทธิ์ในบรรดาสิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างก็เนื่องมาจากข้อตกลงในสัญญาเช่า โดยโจทก์ผู้เช่าแสดงเจตนาไว้ชัดแจ้งถึงการยกกรรมสิทธิ์ให้ทันที เพื่อให้สิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างเป็นทรัพย์สินส่วนควบติดกับที่เช่าตลอดไป อันเป็นการแสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในอาคารสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งสิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างในสถานที่เช่า ซึ่งหากโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์แล้ว โจทก์ย่อมไม่อาจจะตกลงให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่เจ้าของที่ดินในทันทีได้ ฉะนั้น อาคารสรรพสินค้าและบรรดาสิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างในสถานที่เช่า จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมการศาสนาโดยนิติกรรม หาใช่โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมไม่ กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์ได้จำหน่าย จ่าย โอนอาคารสรรพสินค้าและบรรดาสิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างในสถานที่เช่า อันเป็นการ "ขาย" ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (4) ที่ได้ให้คำนิยามว่า "ขาย" หมายความว่า จำหน่าย จ่าย โอน ไม่ว่าจะมีประโยชน์ตอบแทนหรือไม่
กรณีของโจทก์เป็นการขายอาคารสรรพสินค้าและบรรดาสิ่งที่นำมาปรับปรุงปลูกสร้างในสถานที่เช่าจากกรมการศาสนาและเป็นการขายภายในกำหนด 3 ปี นับแต่เดือนที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ดังนั้น ภาษีซื้อที่เกิดจากค่าก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นบนที่ดินที่เช่าจากกรมการศาสนาเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเป็นภาษีซื้อที่ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/3 ทั้งนี้ตามมาตรา 82/5 (6) ประกอบด้วยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5 (6) แห่ง ป.รัษฎากร ข้อ 2 (4) โจทก์จึงไม่สามารถนำภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารสรรพสินค้าบนที่ดินที่เช่าจากกรมการศาสนามาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6331/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม: เบี้ยปรับตามมาตรา 89(4) และ (10) ต้องพิจารณาความถูกต้องของการยื่นแบบแสดงรายการ
การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องอันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีขายในเดือนภาษีตุลาคม2536 คลาดเคลื่อนไปจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีขายที่แสดงไว้ขาดไปตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 89(4) และการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว มิใช่เป็นการมิได้ทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนดหรือรายงานอื่นตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 87/1 หรือมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ อันจะทำให้ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของเงินภาษีซึ่งคำนวณจากฐานภาษีที่มิได้ทำรายงานหรือมิได้ลงรายการในรายงานให้ถูกต้องตามมาตรา 89(10) ดังที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ทำการประเมิน ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับเพียงหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีขายที่แสดงไว้ขาดไปตามมาตรา 89(4) เท่านั้น
ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) และมาตรา 246 การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในส่วนนี้จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6331/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับภาษี: การประเมินเบี้ยปรับตามมาตรา 89(4) และ (10) แห่งประมวลรัษฎากร การยื่นแบบแสดงรายการภาษีไม่ถูกต้อง
จำเลยยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องเป็นเหตุให้จำนวนภาษีขายคลาดเคลื่อนไป จำเลยจึงต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีขายที่แสดงไว้ขาดไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 (4) และการกระทำของจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการมิได้ทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนดหรือรายงานอื่นตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 87/1 หรือมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ อันจะทำให้ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของเงินภาษีซึ่งคำนวณจากฐานภาษีที่มิได้ทำรายงานหรือมิได้ลงรายการในรายงานให้ถูกต้องตามมาตรา 89 (10)
การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เคยให้เช่าเข้าข่ายเป็นการค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
การขายที่ดินและอาคารที่โจทก์ให้บุคคลอื่นเช่า ถือว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์มีไว้ในการประกอบกิจการอันเข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 3(5) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244)พ.ศ. 2534 ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เคยให้เช่าถือเป็นการค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
โจทก์ให้เช่าที่ดินและตึกแถวเป็นระยะเวลานานถึง 15 ปีเศษ และผู้เช่าต้องชำระเงินกินเปล่าให้โจทก์ตลอดอายุสัญญาเช่าอีกเป็นเงินถึง 1,800,000 บาท แสดงให้เห็นว่าโจทก์ได้ประกอบกิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์แล้ว แม้จะมีการบอกเลิกสัญญาเช่าแล้วก่อนที่จะมีการขายที่ดิน 4 เดือน แต่โจทก์ได้จดทะเบียนเลิกการเช่ากับผู้เช่าและขายที่ดิน พร้อมอาคารตึกแถวแก่ผู้ซื้อในวันเดียวกัน การที่โจทก์ขายที่ดินและอาคารตึกแถวที่โจทก์ให้บุคคลอื่นเช่าถือว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่โจทกมีไว้ในการประกอบกิจการอันเข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือ หากำไรตามมาตรา 3 (5) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2745/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินเพิ่มค่าภาษีอากรคิดจากค่าอากรจริงเท่านั้น ไม่คิดจากเงินเพิ่มที่ค้างชำระ
เงินเพิ่มตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวาเป็นเงินที่เรียกเก็บจากค่าอากรที่แท้จริงเท่านั้น มิได้เรียกเก็บจากเงินเพิ่มซึ่งถือเป็นเงินอากรด้วย ดังนั้น เมื่อจำเลยนำเงินค่าอากรและค่าภาษีมาชำระครบถ้วนแล้ว แม้จะยังชำระเงินเพิ่มไม่ครบถ้วน กรมศุลกากรโจทก์ก็ไม่อาจคิดเงินเพิ่มได้อีกต่อไป
of 53