คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 43

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2397/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตเงินบำเหน็จ, ค่าจ้าง, ค่าชดเชย, และสิทธิการหักเงินบำเหน็จในกรณีเกษียณอายุ
ข้อบังคับเกี่ยวกับโครงการเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงานของจำเลยกำหนดจำนวนเงินบำเหน็จในกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุว่า'..........จำนวนเงินบำเหน็จจะเท่ากับเงินเดือนมูลฐานครั้งสุดท้ายทั้งเดือนคูณด้วยจำนวนปีของการเป็นลูกจ้างในบริษัท'คำว่าเงินเดือนมูลฐานมีความหมายจำกัดลงมาเฉพาะเงินเดือนที่แท้จริงค่านำร่องพิเศษหาใช่เงินเดือนมูลฐานอันจะนำมาคำนวณจำนวนเงินบำเหน็จไม่ต่างกับเรื่องค่าจ้างที่จะนำค่านำร่องพิเศษมาเป็นฐานคำนวณค่าชดเชย. ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยหมวดวินัยและโทษทางวินัยระบุว่าการเตือนด้วยวาจาและการเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นโทษทางวินัยโดยหัวหน้าฝ่ายเป็นผู้มีอำนาจลงโทษสองสถานนี้ได้และหมวดการยื่นคำร้องทุกข์และข้อเสนอแนะกำหนดให้นายเรือมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายด้วยโจทก์ซึ่งเป็นกัปตันหรือนายเรือจึงเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการลงโทษโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ43และ36(1). ตามข้อบังคับเกี่ยวกับโครงการเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงานของจำเลยข้อ9(ค)ให้สิทธิแก่จำเลยที่จะหักเงินจำนวนเท่าค่าชดเชยออกจากเงินบำเหน็จได้จำเลยได้ใช้สิทธินำค่าชดเชยส่วนอื่นไปหักจากเงินบำเหน็จตามที่แจ้งให้โจทก์ไปรับแล้วการที่มิได้นำค่าชดเชยในเงินค่าเบี้ยเลี้ยงไปหักออกด้วยก็เพราะจำเลยเข้าใจว่าเบี้ยเลี้ยงมิใช่ค่าจ้างเมื่อเบี้ยเลี้ยงเป็นค่าจ้างทั้งจำเลยก็ได้แสดงเจตนาขอหักมาในคำให้การแล้วจึงชอบที่จะหักเงินค่าชดเชยที่เพิ่มขึ้นออกจากเงินบำเหน็จที่จำเลยจะต้องจ่ายได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2397/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการคำนวณเงินบำเหน็จ, ค่าชดเชย, และสิทธิในการรับค่าทำงานในวันหยุดของลูกจ้าง
ข้อบังคับเกี่ยวกับโครงการเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงานของจำเลยกำหนดจำนวนเงินบำเหน็จในกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุว่า'..........จำนวนเงินบำเหน็จจะเท่ากับเงินเดือนมูลฐานครั้งสุดท้ายทั้งเดือนคูณด้วยจำนวนปีของการเป็นลูกจ้างในบริษัท'คำว่าเงินเดือนมูลฐานมีความหมายจำกัดลงมาเฉพาะเงินเดือนที่แท้จริงค่านำร่องพิเศษหาใช่เงินเดือนมูลฐานอันจะนำมาคำนวณจำนวนเงินบำเหน็จไม่ต่างกับเรื่องค่าจ้างที่จะนำค่านำร่องพิเศษมาเป็นฐานคำนวณค่าชดเชย. ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยหมวดวินัยและโทษทางวินัยระบุว่าการเตือนด้วยวาจาและการเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นโทษทางวินัยโดยหัวหน้าฝ่ายเป็นผู้มีอำนาจลงโทษสองสถานนี้ได้และหมวดการยื่นคำร้องทุกข์และข้อเสนอแนะกำหนดให้นายเรือมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายด้วยโจทก์ซึ่งเป็นกัปตันหรือนายเรือจึงเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการลงโทษโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ43และ36(1). ตามข้อบังคับเกี่ยวกับโครงการเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงานของจำเลยข้อ9(ค)ให้สิทธิแก่จำเลยที่จะหักเงินจำนวนเท่าค่าชดเชยออกจากเงินบำเหน็จได้จำเลยได้ใช้สิทธินำค่าชดเชยส่วนอื่นไปหักจากเงินบำเหน็จตามที่แจ้งให้โจทก์ไปรับแล้วการที่มิได้นำค่าชดเชยในเงินค่าเบี้ยเลี้ยงไปหักออกด้วยก็เพราะจำเลยเข้าใจว่าเบี้ยเลี้ยงมิใช่ค่าจ้างเมื่อเบี้ยเลี้ยงเป็นค่าจ้างทั้งจำเลยก็ได้แสดงเจตนาขอหักมาในคำให้การแล้วจึงชอบที่จะหักเงินค่าชดเชยที่เพิ่มขึ้นออกจากเงินบำเหน็จที่จำเลยจะต้องจ่ายได้.