คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 354

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 89 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกทุจริตและเบียดบังทรัพย์สินของผู้อื่น
โจทก์และจำเลยทั้งสามต่างเป็นทายาทโดยธรรมของ ส. เจ้ามรดกมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ตามคำสั่งศาล จำเลยทั้งสามทราบอยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ส. ด้วย การที่จำเลยนำที่ดินเหล่านั้นมาแบ่งปันกันโดยไม่แบ่งให้โจทก์หรือกันส่วนของโจทก์ไว้ จึงเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เป็นการร่วมกันเบียดบังที่ดินที่เป็นส่วนของโจทก์โดยทุจริต โดยเฉพาะจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกโดยทุจริตเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของโจทก์ด้วย จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 353 ประกอบด้วยมาตรา 354 ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ 3ไม่ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นหรือทรัพย์สินซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ทั้งมิได้เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล คงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกเงินเช่าซื้อ: หุ้นส่วนผู้จัดการไม่ผิดฐานยักยอกหากไม่ได้เอาเงินไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว ความรับผิดชอบอยู่ที่ตัวแทน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เป็นตัวแทนของโจทก์ร่วมในการเก็บเงินจากลูกค้าที่เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ร่วม เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้เบียดบังเอาเงินของโจทก์ร่วมไปเป็นประโยชน์ของจำเลยเองหรือของบุคคลที่ สาม แม้จำเลยจะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยยักยอกเงินของโจทก์ร่วม การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มิได้ส่งเงินที่เก็บจากลูกค้าให้แก่โจทก์ร่วม ก็เป็นเรื่องผิดสัญญาที่โจทก์ร่วมจะต้องเรียกร้องเอาจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ในทางแพ่ง จำเลยไม่มีความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการสหกรณ์เบียดบังเงิน: ความผิดฐานใดที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ผู้จัดการสหกรณ์มิใช่ผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการสหกรณ์ไม่เป็นผู้มีอาชีพ/ธุรกิจที่น่าไว้วางใจตามประมวลกฎหมายอาญา
ผู้จัดการสหกรณ์มิใช่ผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการสหกรณ์เบียดบังเงิน ยุติว่าอยู่ในความครอบครอง จึงมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์
ผู้จัดการสหกรณ์มิใช่ผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2481/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกรอกเอกสารที่มีลายมือชื่อผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอม ไม่เป็นความผิดฐานปลอมแปลงเอกสาร หากไม่มีเจตนาทุจริตและไม่เกิดความเสียหาย
การกรอกข้อความลงในเอกสารซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมหรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อื่น จะถือว่าเป็นการปลอมเอกสารก็ต่อเมื่อได้กระทำเพื่อนำเอาเอกสารนั้นไปใช้ในกิจการที่อาจเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชนการที่จำเลยกรอกข้อความในตราสารการโอนหุ้นซึ่งโจทก์ลงลายมือชื่อไว้แล้ว โดยไม่ได้รับคำสั่งหรือความยินยอมของโจทก์ และโอนหุ้นของโจทก์ที่มิได้สั่งขายไปเป็นของบุคคลอื่น เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของโจทก์และโจทก์มิได้เสียหายทั้งไม่ปรากฏว่าอาจเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชน การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิหรือใช้เอกสารสิทธิปลอม จำเลยทำตราสารการโอนหุ้นขึ้นเองทั้งฉบับโอนขายหุ้นของโจทก์ไปโดยโจทก์มิได้เสียหาย ถึงแม้โจทก์จะมิได้สั่ง หรือให้ความยินยอม จำเลยก็มิได้ทำปลอมเอกสารของผู้ใด การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม โจทก์สั่งให้จำเลยซื้อหุ้น 2,000 หุ้น ต่อมาจำเลยขายหุ้นนั้น 1,000 หุ้นตามคำสั่งของโจทก์ ที่ปรากฏในทะเบียนผู้ถือหุ้นว่ามีการขายหุ้นของโจทก์ไป 2,000 หุ้น เป็นเรื่องทางปฏิบัติในการซื้อขายหุ้นโดยจำเลยจะนำหุ้นของโจทก์ไปโอนให้แก่บุคคลอื่นก่อน เมื่อโอนแล้วจำเลยก็ได้รับรองหุ้นของโจทก์ที่เหลืออยู่ทั้งต่อมาโจทก์ก็ได้รับหุ้น 1,000 หุ้นไปจากจำเลยแล้ว จำเลยไม่มีเจตนาทุจริต แม้จะดำเนินการโอนหุ้นไปโดยพลการก็ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวง: คดีอาญาหลายบท หากมีบทหนักเกินอำนาจ ศาลต้องถือว่าคดีเกินอำนาจ แม้บทเบาอยู่ในอำนาจ
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกิน 3 ปีเมื่อฟ้องของโจทก์เป็นการขอให้ลงโทษจำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352,354 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุก ไม่เกิน 3 ปีและ 5 ปีตามลำดับ และเป็นกรณีที่ กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมาย หลายบทด้วยกัน ซึ่งหากพิจารณา ได้ข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ แล้วศาลก็ต้องใช้มาตรา 354 ซึ่งเป็นบทหนักมาเป็นบทลงโทษจำเลย จึงเกินอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาแม้ความผิดตามบทกฎหมายที่เบากว่าจะอยู่ในอำนาจศาลแขวงแต่เมื่อความผิดตามบทหนักเกินอำนาจศาลแขวงแล้ว ก็ต้องถือว่าคดีนี้เป็นคดีเกินอำนาจศาลแขวงเพราะคำฟ้องของโจทก์กล่าวหาจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวไม่อาจแบ่งแยกข้อหาตามมาตรา 352 และมาตรา 354 ออกจากกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงจำกัดเฉพาะบทลงโทษไม่เกิน 3 ปี แม้มีบทหนักกว่า หากฟ้องรวมกันถือเป็นคดีนอกอำนาจ
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญา ที่มีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกิน 3 ปีเมื่อฟ้องของโจทก์เป็นการขอให้ลงโทษจำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352, 354 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุก ไม่เกิน 3 ปี และ 5 ปีตามลำดับและ เป็นกรณีที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิด กรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทด้วยกัน ซึ่งหากพิจารณา ได้ข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์แล้ว ศาลก็ต้องใช้มาตรา 354 ซึ่งเป็นบทหนักมาเป็นบทลงโทษจำเลยจึงเกินอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาแม้ความผิดตามบทกฎหมายที่เบากว่าจะอยู่ในอำนาจศาลแขวง แต่เมื่อความผิดตามบทหนักเกินอำนาจศาลแขวงแล้ว ก็ต้องถือว่าคดีนี้เป็นคดีเกินอำนาจศาลแขวงเพราะคำฟ้องของโจทก์กล่าวหาจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวไม่อาจแบ่งแยกข้อหาตามมาตรา 352 และมาตรา 354 ออกจากกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2689/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดตลาดหลักทรัพย์: การขายหุ้นลูกค้าโดยไม่ได้รับคำสั่ง และความรับผิดของกรรมการ/ผู้บริหาร
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทธุรกิจเงินทุนและค้าหลักทรัพย์ เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เป็นกรรมการบริหาร และจำเลยที่ 5 ที่ 6 เป็นเจ้าหน้าที่บริหาร จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นผู้บริหารและเกี่ยวข้องโดยตรงกับการซื้อขายหลักทรัพย์และจดทะเบียนหลักทรัพย์ในนามของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เอาหุ้นของโจทก์ซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลยที่ 1 ไปขายโดยไม่ได้รับคำสั่งจากโจทก์โจทก์ย่อมเป็นผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยทั้งหก โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) ฟ้องจำเลยทั้งหกในความผิดตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพ.ศ. 2517 มาตรา 21, 42 วรรคสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2689/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดตลาดหลักทรัพย์: การขายหุ้นลูกค้าโดยไม่ได้รับคำสั่ง และความรับผิดของกรรมการ/ผู้บริหาร
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทธุรกิจเงินทุนและค้าหลักทรัพย์ เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เป็นกรรมการบริหาร และจำเลยที่ 5 ที่ 6 เป็นเจ้าหน้าที่บริหาร จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นผู้บริหารและเกี่ยวข้องโดยตรงกับการซื้อขายหลักทรัพย์และจดทะเบียนหลักทรัพย์ในนามของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เอาหุ้นของโจทก์ซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลยที่ 1 ไปขายโดยไม่ได้รับคำสั่งจากโจทก์โจทก์ย่อมเป็นผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยทั้งหก โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) ฟ้องจำเลยทั้งหกในความผิดตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพ.ศ. 2517 มาตรา 21,42 วรรคสองได้
of 9