คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิชิน สุขนทีธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 111 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีรื้อบ้านและการกักขังลูกหนี้และบริวารที่ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา
โจทก์มีหน้าที่ต้องปฎิบัติตามคำพิพากษาที่พิพากษาให้โจทก์รื้อบ้านและออกไปจากที่ดินของจำเลยตราบใดที่โจทก์ยังไม่รื้อบ้านดังกล่าวออกไปจากที่ดินของจำเลยจำเลยชอบที่จะขอให้ศาลออกหมายจับเพื่อจับกุมโจทก์มากักขังไว้จนกว่าจะรื้อบ้านออกไปจากที่ดินของจำเลยเมื่อผู้รับมอบอำนาจโจทก์ยังคงอยู่ในบ้านที่ถูกบังคับให้ต้องรื้อไปตามคำพิพากษาแต่ไม่ปรากฎว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์แสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในแปดวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ปิดประกาศดังนี้จำเลยย่อมขอให้ศาลออกหมายจับกุมผู้รับมอบอำนาจโจทก์มากักขังได้เช่นเดียวกันเพราะกฎหมายถือว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นบริวารของโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์แพ้คดีและถูกบังคับให้ต้องรื้อบ้านออกไปจากที่ดินของจำเลยตามฟ้องแย้งแล้วกลับมาอ้างในชั้นบังคับคดีว่าโจทก์มิใช่เจ้าของบ้านดังกล่าวจึงไม่อาจปฎิบัติตามคำพิพากษาได้นั้นเป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์กล่าวอ้างขึ้นเพื่อประสงค์ให้การบังคับคดีของจำเลยถูกประวิงให้ล่าช้าออกไปเท่านั้นและการที่โจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์และผู้รับมอบอำนาจโจทก์ย้ายออกจากบ้านดังกล่าวไปอยู่ที่อื่นแล้วก็ดีหรือบุคคลที่ยังอยู่ในบ้านมิใช่บริวารของโจทก์ก็ดีหาเป็นเหตุให้โจทก์และบริวารพ้นจากความรับผิดในอันที่จะถูกจับกุมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีรื้อถอนบ้านและการกักขังบริวารลูกหนี้ ผู้รับมอบอำนาจไม่แสดงอำนาจพิเศษ
โจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาที่พิพากษาให้โจทก์รื้อบ้านและออกไปจากที่ดินของจำเลย ตราบใดที่โจทก์ยังไม่รื้อบ้านดังกล่าวออกไปจากที่ดินของจำเลย จำเลยชอบที่จะขอให้ศาลออกหมายจับเพื่อจับกุมโจทก์มากักขังไว้จนกว่าจะรื้อบ้านออกไปจากที่ดินของจำเลย เมื่อผู้รับมอบอำนาจโจทก์ยังคงอยู่ในบ้านที่ถูกบังคับให้ต้องรื้อไปตามคำพิพากษา แต่ไม่ปรากฏว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์แสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในแปดวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ปิดประกาศ ดังนี้ จำเลยย่อมขอให้ศาลออกหมายจับกุมผู้รับมอบอำนาจโจทก์มากักขังได้เช่นเดียวกัน เพราะกฎหมายถือว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นบริวารของโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา
โจทก์แพ้คดีและถูกบังคับให้ต้องรื้อบ้านออกไปจากที่ดินของจำเลยตามฟ้องแย้งแล้ว กลับมาอ้างในชั้นบังคับคดีว่าโจทก์มิใช่เจ้าของบ้านดังกล่าวจึงไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาได้นั้น เป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์กล่าวอ้างขึ้นเพื่อประสงค์ให้การบังคับคดีของจำเลยถูกประวิงให้ล่าช้าออกไปเท่านั้น และการที่โจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์และผู้รับมอบอำนาจโจทก์ย้ายออกจากบ้านดังกล่าวไปอยู่ที่อื่นแล้วก็ดี หรือบุคคลที่ยังอยู่ในบ้านมิใช่บริวารของโจทก์ก็ดี หาเป็นเหตุให้โจทก์และบริวารพ้นจากความรับผิดในอันที่จะถูกจับกุมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีรื้อถอนบ้านและการกักขังลูกหนี้และบริวารที่ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา
โจทก์มีหน้าที่ต้องปฎิบัติตามคำพิพากษาที่พิพากษาให้โจทก์รื้อบ้านและออกไปจากที่ดินของจำเลย ตราบใดที่โจทก์ยังไม่รื้อบ้านดังกล่าวออกไปจากที่ดินของจำเลย จำเลยชอบที่จะขอให้ศาลออกหมายจับเพื่อจับกุมโจทก์มากักขังไว้จนกว่าจะรื้อบ้านออกไปจากที่ดินของจำเลย เมื่อผู้รับมอบอำนาจโจทก์ยังคงอยู่ในบ้านที่ถูกบังคับให้ต้องรื้อไปตามคำพิพากษาแต่ไม่ปรากฎว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์แสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในแปดวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ปิดประกาศดังนี้ จำเลยย่อมขอให้ศาลออกหมายจับกุมผู้รับมอบอำนาจโจทก์มากักขังได้เช่นเดียวกัน เพราะกฎหมายถือว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นบริวารของโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์แพ้คดีและถูกบังคับให้ต้องรื้อบ้านออกไปจากที่ดินของจำเลยตามฟ้องแย้งแล้ว กลับมาอ้างในชั้นบังคับคดีว่าโจทก์มิใช่เจ้าของบ้านดังกล่าวจึงไม่อาจปฎิบัติตามคำพิพากษาได้นั้น เป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์กล่าวอ้างขึ้นเพื่อประสงค์ให้การบังคับคดีของจำเลยถูกประวิงให้ล่าช้าออกไปเท่านั้นและการที่โจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์และผู้รับมอบอำนาจโจทก์ย้ายออกจากบ้านดังกล่าวไปอยู่ที่อื่นแล้วก็ดี หรือบุคคลที่ยังอยู่ในบ้านมิใช่บริวารของโจทก์ก็ดี หาเป็นเหตุให้โจทก์และบริวารพ้นจากความรับผิดในอันที่จะถูกจับกุมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2122/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาว่าจ้างซ่อมรถยนต์: ผู้ว่าจ้างคือโจทก์ จำเลยรับภาระแทนลูกหนี้ โจทก์ไม่ต้องชำระหนี้
ม.ขับรถยนต์โดยประมาทชนรถยนต์ของโจทก์ได้รับความเสียหายโดย ม.ยอมรับผิดต่อโจทก์ ต่อมาโจทก์และ ม.มาพบจำเลยที่อู่ของจำเลย เพื่อให้จำเลยประเมินค่าซ่อมรถยนต์ของโจทก์ จำเลยประเมินราคาค่าซ่อมและค่าอะไหล่รวม 100,000 บาท โจทก์และ ม.ตกลงค่าซ่อมและค่าอะไหล่ 70,000 บาทจำเลยตกลงรับจ้างซ่อมให้ ข้อตกลงระหว่างโจทก์และ ม.มีเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในสัญญาว่า ม.ชำระค่าซ่อมในวันทำสัญญา 30,000 บาท ส่วนที่เหลือ 40,000 บาทจะนำมาชำระที่อู่ของจำเลยภายในวันที่ 30 มีนาคม 2536 หากผิดนัดยอมชำระค่าซ่อมและค่าอะไหล่ 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด โดยมีโจทก์และ ม.ลงชื่อเป็นคู่สัญญา จำเลยกับ พ.ภริยาจำเลยลงชื่อเป็นพยาน ในวันเดียวกันนั้นโจทก์และจำเลยทำสัญญาว่า อู่ของจำเลยจะซ่อมรถยนต์ของโจทก์ให้เสร็จประมาณวันที่ 5มีนาคม 2536 ได้รับชำระหนี้ล่วงหน้าแล้ว 30,000 บาท ส่วนที่เหลือ 40,000 บาทผู้ซ่อมจะเรียกเก็บจาก ม.โดยค่าซ่อมส่วนนี้โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย โจทก์ลงชื่อในฐานะผู้ให้ซ่อม จำเลยลงชื่อในฐานะผู้ซ่อม แม้ตามสัญญาจะมิได้ระบุชัดว่าโจทก์หรือม.เป็นผู้ว่าจ้างจำเลย คงมีเงื่อนไขในข้อตกลงของโจทก์และ ม.ว่า ม.จะนำค่าซ่อมส่วนที่เหลือดังกล่าวแก่จำเลย เนื่องจากจำเลยเป็นเจ้าของอู่และยังเป็นเจ้าหนี้ในค่าซ่อมส่วนที่เหลือดังกล่าวด้วย แต่เงื่อนไขดังกล่าวยังไม่พอฟังว่า ม.ว่าจ้างจำเลยซ่อมเพราะตามสัญญาดังกล่าวยังมิได้กำหนดเวลาซ่อมเสร็จอันเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญาว่าจ้างซ่อม ทั้งเป็นเรื่องระหว่างโจทก์และ ม.ซึ่งเป็นคู่สัญญา จำเลยมิได้เป็นคู่สัญญาด้วย แต่กำหนดเวลาซ่อมแล้วเสร็จมาระบุในสัญญาเอกสารหมาย จ.5 โดยมีโจทก์และจำเลยเป็นคู่สัญญา ทั้งการลงชื่อในสัญญาก็ได้ระบุว่าโจทก์ในฐานะผู้ให้ซ่อมจำเลยในฐานะผู้ซ่อม โจทก์จึงเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยซ่อมรถยนต์ของโจทก์ หาใช่ ม.ไม่
เมื่อจำเลยซ่อมรถยนต์ของโจทก์เสร็จ และ ม.ผิดนัด ไม่นำเงินค่าซ่อมส่วนที่เหลือมาชำระแก่จำเลยตามที่ตกลงกับโจทก์ใน โจทก์ก็ต้องเป็นผู้ชำระค่าซ่อมดังกล่าวแก่จำเลย แต่เมื่อจำเลยตกลงกับโจทก์ว่าจำเลยจะเป็นผู้เรียกเก็บค่าซ่อมส่วนที่เหลือ 40,000 บาท จาก ม.เองโดยโจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับค่าซ่อมดังกล่าว แสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในค่าซ่อมดังกล่าวตกลงรับภาระแทนโจทก์ โดยจะเรียกเก็บค่าซ่อมส่วนที่เหลือจาก ม.ตามที่ ม.ตกลงกับโจทก์ไว้โดยโจทก์ไม่ต้องชำระค่าซ่อมแก่จำเลย ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาอย่างหนึ่งผูกพันจำเลยต้องปฏิบัติตาม เมื่อจำเลยไม่อาจเรียกค่าซ่อมจาก ม.ได้เนื่องจาก ม.ไม่ยอมชำระ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิย้อนกลับมาฟ้องเรียกค่าซ่อมส่วนที่เหลือดังกล่าวจากโจทก์อีกเพราะขัดต่อสัญญาที่จำเลยตกลงทำกับโจทก์ไว้โดยจำเลยรู้อยู่ก่อนแล้วว่า ม.ต้องชำระค่าซ่อมแทนโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องชำระค่าซ่อมดังกล่าวแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2122/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซ่อมรถ: ผู้ว่าจ้างจริงคือโจทก์ จำเลยตกลงรับภาระแทนโจทก์จากผู้ผิดนัด โจทก์ไม่ต้องชำระค่าซ่อม
ม.ขับรถยนต์โดยประมาทชนรถยนต์ของโจทก์ได้รับความเสียหายโดยม. ยอมรับผิดต่อโจทก์ต่อมาโจทก์และม.มาพบจำเลยที่อู่ของจำเลยเพื่อให้จำเลยประเมินค่าซ่อมรถยนต์ของโจทก์จำเลยประเมินราคาค่าซ่อมและค่าอะไหล่รวม100,000บาทโจทก์และม.ตกลงค่าซ่อมและค่าอะไหล่70,000บาทจำเลยตกลงรับจ้างซ่อมให้ข้อตกลงระหว่างโจทก์และม.มีเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในสัญญาว่าม.ชำระค่าซ่อมในวันทำสัญญา30,000บาทส่วนที่เหลือ40,000บาทจะนำมาชำระที่อู่ของจำเลยภายในวันที่30มีนาคม2536หากผิดนัดยอมชำระค่าซ่อมและค่าอะไหล่100,000บาทพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดโดยมีโจทก์และม. ลงชื่อเป็นคู่สัญญาจำเลยกับพ.ภริยาจำเลยลงชื่อเป็นพยานในวันเดียวกันนั้นโจทก์และจำเลยทำสัญญาว่าอู่ของจำเลยจะซ่อมรถยนต์ของโจทก์ให้เสร็จประมาณวันที่5มีนาคม2536ได้รับชำระหนี้ล่วงหน้าแล้ว30,000บาทส่วนที่เหลือ40,000บาทผู้ซ่อมจะเรียกเก็บจากม. โดยค่าซ่อมส่วนนี้โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยโจทก์ลงชื่อในฐานะผู้ให้ซ่อมจำเลยลงชื่อในฐานะผู้ซ่อมแม้ตามสัญญาจะมิได้ระบุชัดว่าโจทก์หรือม.เป็นผู้ว่าจ้างจำเลยคงมีเงื่อนไขในข้อตกลงของโจทก์และม.ว่าม. จะนำค่าซ่อมส่วนที่เหลือดังกล่าวแก่จำเลยเนื่องจากจำเลยเป็นเจ้าของอู่และยังเป็นเจ้าหนี้ในค่าซ่อมส่วนที่เหลือดังกล่าวด้วยแต่เงื่อนไขดังกล่าวยังไม่พอฟังว่าม.ว่าจ้างจำเลยซ่อมเพราะตามสัญญาดังกล่าวยังมิได้กำหนดเวลาซ่อมเสร็จอันเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญาว่าจ้างซ่อมทั้งเป็นเรื่องระหว่างโจทก์และม.ซึ่งเป็นคู่สัญญาจำเลยมิได้เป็นคู่สัญญาด้วยแต่กำหนดเวลาซ่อมแล้วเสร็จมาระบุในสัญญาเอกสารหมายจ.5โดยมีโจทก์และจำเลยเป็นคู่สัญญาทั้งการลงชื่อในสัญญาก็ได้ระบุว่าโจทก์ในฐานะผู้ให้ซ่อมจำเลยในฐานะผู้ซ่อมโจทก์จึงเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยซ่อมรถยนต์ของโจทก์หาใช่ม. ไม่ เมื่อจำเลยซ่อมรถยนต์ของโจทก์เสร็จและม. ผิดนัดไม่นำเงินค่าซ่อมส่วนที่เหลือมาชำระแก่จำเลยตามที่ตกลงกับโจทก์ในโจทก์ก็ต้องเป็นผู้ชำระค่าซ่อมดังกล่าวแก่จำเลยแต่เมื่อจำเลยตกลงกับโจทก์ว่าจำเลยจะเป็นผู้เรียกเก็บค่าซ่อมส่วนที่เหลือ40,000บาทจากม. เองโดยโจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับค่าซ่อมดังกล่าวแสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในค่าซ่อมดังกล่าวตกลงรับภาระแทนโจทก์โดยจะเรียกเก็บค่าซ่อมส่วนที่เหลือจากม. ตามที่ม.ตกลงกับโจทก์ไว้โดยโจทก์ไม่ต้องชำระค่าซ่อมแก่จำเลยข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาอย่างหนึ่งผูกพันจำเลยต้องปฏิบัติตามเมื่อจำเลยไม่อาจเรียกค่าซ่อมจากม. ได้เนื่องจากม.ไม่ยอมชำระจำเลยย่อมไม่มีสิทธิย้อนกลับมาฟ้องเรียกค่าซ่อมส่วนที่เหลือดังกล่าวจากโจทก์อีกเพราะขัดต่อสัญญาที่จำเลยตกลงทำกับโจทก์ไว้โดยจำเลยรู้อยู่ก่อนแล้วว่าม. ต้องชำระค่าซ่อมแทนโจทก์โจทก์จึงไม่ต้องชำระค่าซ่อมดังกล่าวแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2122/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาว่าจ้างซ่อมรถยนต์: สิทธิหน้าที่คู่สัญญา, การรับภาระแทนกัน, และผลของการผิดสัญญา
ม.ขับรถยนต์โดยประมาทชนรถยนต์ของโจทก์ได้รับความเสียหายโดย ม. ยอมรับผิดต่อโจทก์ ต่อมาโจทก์และม.มาพบจำเลยที่อู่ของจำเลย เพื่อให้จำเลยประเมินค่าซ่อมรถยนต์ของโจทก์ จำเลยประเมินราคาค่าซ่อมและค่าอะไหล่รวม 100,000 บาท โจทก์และม.ตกลงค่าซ่อมและค่าอะไหล่ 70,000 บาทจำเลยตกลงรับจ้างซ่อมให้ข้อตกลงระหว่างโจทก์และม.มีเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในสัญญาว่า ม.ชำระค่าซ่อมในวันทำสัญญา 30,000 บาท ส่วนที่เหลือ 40,000 บาทจะนำมาชำระที่อู่ของจำเลยภายในวันที่ 30 มีนาคม 2536 หากผิดนัดยอมชำระค่าซ่อมและค่าอะไหล่ 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด โดยมีโจทก์และ ม. ลงชื่อเป็นคู่สัญญา จำเลยกับพ.ภริยาจำเลยลงชื่อเป็นพยาน ในวันเดียวกันนั้นโจทก์และจำเลยทำสัญญาว่าอู่ของจำเลยจะซ่อมรถยนต์ของโจทก์ให้เสร็จประมาณวันที่5 มีนาคม 2536 ได้รับชำระหนี้ล่วงหน้าแล้ว 30,000 บาทส่วนที่เหลือ 40,000 บาทผู้ซ่อมจะเรียกเก็บจาก ม. โดยค่าซ่อมส่วนนี้โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย โจทก์ลงชื่อในฐานะผู้ให้ซ่อมจำเลยลงชื่อในฐานะผู้ซ่อม แม้ตามสัญญาจะมิได้ระบุชัดว่าโจทก์หรือม.เป็นผู้ว่าจ้างจำเลย คงมีเงื่อนไขในข้อตกลงของโจทก์และม.ว่า ม. จะนำค่าซ่อมส่วนที่เหลือดังกล่าวแก่จำเลย เนื่องจากจำเลยเป็นเจ้าของอู่และยังเป็นเจ้าหนี้ในค่าซ่อมส่วนที่เหลือดังกล่าวด้วยแต่เงื่อนไขดังกล่าวยังไม่พอฟังว่าม.ว่าจ้างจำเลยซ่อมเพราะตามสัญญาดังกล่าวยังมิได้กำหนดเวลาซ่อมเสร็จอันเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญาว่าจ้างซ่อม ทั้งเป็นเรื่องระหว่างโจทก์และ ม.ซึ่งเป็นคู่สัญญา จำเลยมิได้เป็นคู่สัญญาด้วย แต่กำหนดเวลาซ่อมแล้วเสร็จมาระบุในสัญญาเอกสารหมาย จ.5 โดยมีโจทก์และจำเลยเป็นคู่สัญญาทั้งการลงชื่อในสัญญาก็ได้ระบุว่าโจทก์ในฐานะผู้ให้ซ่อมจำเลยในฐานะผู้ซ่อม โจทก์จึงเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยซ่อมรถยนต์ของโจทก์หาใช่ ม. ไม่ เมื่อจำเลยซ่อมรถยนต์ของโจทก์เสร็จ และม. ผิดนัด ไม่นำเงินค่าซ่อมส่วนที่เหลือมาชำระแก่จำเลยตามที่ตกลงกับโจทก์ใน โจทก์ก็ต้องเป็นผู้ชำระค่าซ่อมดังกล่าวแก่จำเลย แต่เมื่อจำเลยตกลงกับโจทก์ว่าจำเลยจะเป็นผู้เรียกเก็บค่าซ่อมส่วนที่เหลือ 40,000 บาทจาก ม. เองโดยโจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับค่าซ่อมดังกล่าวแสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในค่าซ่อมดังกล่าวตกลงรับภาระแทนโจทก์โดยจะเรียกเก็บค่าซ่อมส่วนที่เหลือจาก ม. ตามที่ม.ตกลงกับโจทก์ไว้โดยโจทก์ไม่ต้องชำระค่าซ่อมแก่จำเลย ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาอย่างหนึ่งผูกพันจำเลยต้องปฏิบัติตาม เมื่อจำเลยไม่อาจเรียกค่าซ่อมจาก ม. ได้เนื่องจาก ม.ไม่ยอมชำระ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิย้อนกลับมาฟ้องเรียกค่าซ่อมส่วนที่เหลือดังกล่าวจากโจทก์อีกเพราะขัดต่อสัญญาที่จำเลยตกลงทำกับโจทก์ไว้โดยจำเลยรู้อยู่ก่อนแล้วว่า ม. ต้องชำระค่าซ่อมแทนโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องชำระค่าซ่อมดังกล่าวแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1693/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยข้อเท็จจริงและดุลพินิจศาลชั้นต้น/อุทธรณ์ ห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยรวม 11 กระทงจำคุกกระทงละไม่เกิน 2 ปี การวินิจฉัยฎีกาของจำเลยในปัญหาว่า จำเลยให้การรับสารภาพโดยสมัครใจหรือไม่ และคดีมีเหตุรอการลงโทษหรือไม่นั้นจำต้องอาศัยข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีตลอดจนดุลพินิจของศาลล่างทั้งสองเป็นข้อชี้ขาดตัดสินฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา218 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1693/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จำเป็นต้องอาศัยดุลพินิจของศาลล่าง
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยรวม11กระทงจำคุกกระทงละไม่เกิน2ปีการวินิจฉัยฎีกาของจำเลยในปัญหาว่าจำเลยให้การรับสารภาพโดยสมัครใจหรือไม่และคดีมีเหตุรอการลงโทษหรือไม่นั้นจำต้องอาศัยข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีตลอดจนดุลพินิจของศาลล่างทั้งสองเป็นข้อชี้ขาดตัดสินฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1693/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 218 วรรคแรก: การวินิจฉัยข้อเท็จจริงและดุลพินิจของศาลล่าง
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยรวม 11 กระทงจำคุกกระทงละไม่เกิน 2 ปี การวินิจฉัยฎีกาของจำเลยในปัญหาว่าจำเลยให้การรับสารภาพโดยสมัครใจหรือไม่ และคดีมีเหตุรอการลงโทษหรือไม่นั้นจำต้องอาศัยข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีตลอดจนดุลพินิจของศาลล่างทั้งสองเป็นข้อชี้ขาดตัดสินฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสัญญากู้ไปโดยไม่คืน ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 เนื่องจากทำให้ผู้เสียหายขาดหลักฐานในการฟ้องร้อง
สัญญากู้14ฉบับผู้เสียหายในฐานะผู้ให้กู้และจำเลยในฐานะผู้กู้ได้ลงลายมือชื่อไว้ในสัญญามีข้อความระบุว่าจำเลยได้กู้เงินผู้เสียหายไปจำนวน1,100,000บาทมีพยานรับรองถูกต้องจึงเป็นสัญญากู้ที่สมบูรณ์เป็นเอกสารที่สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานฟ้องร้องบังคับคดีให้ชำระเงินกู้จำนวนดังกล่าวได้การที่จำเลยนำเอกสารสัญญากู้ดังกล่าวไปโดยมิได้นำมาคืนให้แก่ผู้เสียหายไม่ว่าจะนำไปทำลายหรือทำให้สูญหายหรือเอาไปด้วยประการใดๆเป็นการกระทำที่ทำให้ผู้เสียหายขาดหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีจึงเป็นการกระทำโดยประการที่น่าก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา188
of 12