พบผลลัพธ์ทั้งหมด 111 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3859/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: ราคาต่ำกว่าราคาจริง & ข้อตกลงงดขายที่ไม่ผูกพันเจ้าพนักงานบังคับคดี
ก่อนวันขายทอดตลาด 1 วัน จำเลยนำเงินไปชำระหนี้ตาคำพิพากษาบางส่วนแก่ น. ภริยาโจทก์ที่บ้าน และ น. ตกลงกับจำเลยว่าจะงดการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ยึดไว้ซึ่งกำหนดจะขายในวันรุ่งขึ้น แม้โจทก์มิได้ขอให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ น. ดังกล่าว ไม่เกี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ถูกยึดกรณีจึงเป็นเรื่องที่ น. ผิดข้อตกลงกับจำเลย ย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งได้ขายทอดตลาดตามวันเวลาที่ได้กำหนดไว้ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศให้ทราบทั่วกันล่วงหน้าก่อนแล้วการขายทอดตลาดดังกล่าวของเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงมิเสียไป
จำเลยยื่นคำร้องว่า ที่ดินและบ้าน 2 ชั้น ของจำเลยที่ถูกยึดมีราคาจริงถึง1,500,000 บาท แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวให้แก่ ธ.ผู้ซื้อในราคาเพียง 500,000 บาท ต่ำกว่าราคาจริงหลายเท่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบที่จะถอนทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 หากเป็นความจริงก็อาจถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 308 ที่บังคับให้การขายทอดตลาดต้องดำเนินไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการขายทอดตลาด จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจึงชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยโดยยังมิได้ทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ
จำเลยยื่นคำร้องว่า ที่ดินและบ้าน 2 ชั้น ของจำเลยที่ถูกยึดมีราคาจริงถึง1,500,000 บาท แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวให้แก่ ธ.ผู้ซื้อในราคาเพียง 500,000 บาท ต่ำกว่าราคาจริงหลายเท่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบที่จะถอนทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 หากเป็นความจริงก็อาจถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 308 ที่บังคับให้การขายทอดตลาดต้องดำเนินไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการขายทอดตลาด จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจึงชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยโดยยังมิได้ทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3775/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีขายทอดตลาดต้องพิจารณาราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม โดยเทียบกับราคาประเมินและสภาพทรัพย์
ที่ดินของจำเลยที่โจทก์นำยึดมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้นสำนักงานที่ดินจังหวัดได้ประเมินราคาไว้เพื่อเป็นทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินรวมทั้งแปลงราคา 493,400 บาท การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาที่ดินไว้ในขณะยึดเพียง30,837.50 บาท เป็นการประเมินที่ต่ำกว่าราคาจริงมาก เมื่อผู้ซื้อทรัพย์ให้ราคาสูงสุด 38,000 บาท ถือว่าเป็นราคา ที่ยังไม่เพียงพอกับราคาทรัพย์ที่ขายอีกมาก ชอบที่ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะถอนทรัพย์สินนั้นออกจากการขายทอดตลาด ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกลับอนุมัติให้ขายในราคาที่ไม่ถูกต้องแก่ผู้ซื้อ จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการ บังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 308 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 513 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะคัดค้านราคาขายและขอให้เพิกถอนการอนุมัติขายนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ที่ดินที่ขายทอดตลาดสำนักงานที่ดินจังหวัดประเมินราคากลางไว้ถึง 493,400 บาท เจ้าพนักงานบังคับคดีขายไปในราคาเพียง38,000 บาท โดยมีผู้ซื้อทรัพย์ที่เข้าประมูลเพียงรายเดียวทั้งเป็นในการขายทอดตลาดครั้งแรก ซึ่งเป็นการขายในราคาที่ต่ำกว่าราคาประเมินของทางราชการประมาณ 13 เท่า เห็นได้ชัดแจ้งว่า ราคาที่ขายนั้นจะถูกต้องสมควรไปมิได้ ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้เพิกถอนเสีย แล้วให้ดำเนินการขายใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย แม้ผู้ตายมีโรคประจำตัว การกระทำของผู้กระทำผิดเป็นเหตุโดยตรงให้ถึงแก่ความตาย
ผู้ตายเข้าชกต่อยกับจำเลยจนเป็นเหตุให้ทั้งสองฝ่ายล้มลงบนพื้นผู้ตายหมดสติแน่นิ่งไปโดยมิได้ลุกขึ้นมาอีกจำเลยลุกขึ้นมาได้ก็เข้าทุบที่ขมับผู้ตายอีก 3 ถึง 4 ที่ มีผู้นำผู้ตายส่งโรงพยาบาล แต่ผู้ตายตายก่อนจะถึงโรงพยาบาลแสดงว่าผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากถูกจำเลยทำร้ายแม้ได้ความว่าผู้ตายมีโรคหัวใจและความดันโลหิตอยู่ก่อนและมีเพียงแผลถลอกที่ศอกขวา เข่าขวาและขาซ้าย ก็ไม่เป็นเหตุให้รับฟังว่า ผู้ตายถึงแก่ความตายโดยมิใช่เกิดจากการทำร้ายของจำเลย เพราะการทำร้ายของจำเลยเป็นผลให้เกิดการกระทบกระเทือนร่างกายและจิตใจของผู้ตายอย่างรุนแรง เป็นเหตุให้ระบบการหมุนเวียนโลหิตล้มเหลวขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจอย่างเฉียบพลัน ความตายจึงเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย ความเชื่อมโยงของการทำร้ายกับภาวะสุขภาพเดิมของผู้ตาย
คืนเกิดเหตุจำเลยเมาสุราขว้างปาเศษอาหารในร้านที่เกิดเหตุและไม่ยอมชำระค่าสุราอาหาร เป็นเหตุให้มีการพูดจาระหว่าง ส.เจ้าของร้านกับจำเลย ผู้ตายเข้ามาในร้านขณะการพูดจาเรื่องที่จำเลยไม่ยอมชำระค่าสุราอาหารยุติไปแล้ว เมื่อผู้ตายทราบเรื่องจาก ส.แล้วผู้ตายพูดว่าคนทำมาหากินไม่น่าทำอย่างนี้ซึ่งเป็นการวิจารณ์ความประพฤติอันไม่สมควรของจำเลย จำเลยทราบดีถึงความประพฤติที่ไม่ถูกต้องสมควรของตนอยู่แล้ว จึงโกรธที่ผู้ตายซึ่งเป็นคนนอกมาวิจารณ์การกระทำของตน จำเลยจึงด่าผู้ตายว่า อ้ายเหี้ยอ้วนเป็นคนเสือก เป็นเหตุให้จำเลยเข้าทำร้ายโดยกระโดดถีบท้องผู้ตาย ดังนี้ ถือว่าจำเลยจึงเป็นผู้ก่อเหตุทำร้ายผู้ตายก่อน
ผู้ตายเข้าชกต่อยกับจำเลยจนเป็นเหตุให้ทั้งสองฝ่ายล้มลงบนพื้นผู้ตายหมดสติแน่นิ่งไปโดยมิได้ลุกขึ้นมาอีก จำเลยลุกขึ้นมาได้ก็เข้าทุบที่ขมับผู้ตายอีก3 ถึง 4 ที มีผู้นำผู้ตายส่งโรงพยาบาล แต่ผู้ตายตายก่อนจะถึงโรงพยาบาล แสดงว่าผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากถูกจำเลยทำร้าย แม้ได้ความว่าผู้ตายมีโรคหัวใจและความดันโลหิตอยู่ก่อนและมีเพียงแผลถลอกที่ศอกขวา เข่าขวา และขาซ้าย ก็ไม่เป็นเหตุให้รับฟังว่า ผู้ตายถึงแก่ความตายโดยมิใช่เกิดจากการทำร้ายของจำเลย เพราะการทำร้ายของจำเลยเป็นผลให้เกิดการกระทบกระเทือนร่างกายและจิตใจของผู้ตายอย่างรุนแรง เป็นเหตุให้ระบบการหมุนเวียนโลหิตล้มเหลวขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจอย่างเฉียบพลัน ความตายจึงเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลย
ผู้ตายเข้าชกต่อยกับจำเลยจนเป็นเหตุให้ทั้งสองฝ่ายล้มลงบนพื้นผู้ตายหมดสติแน่นิ่งไปโดยมิได้ลุกขึ้นมาอีก จำเลยลุกขึ้นมาได้ก็เข้าทุบที่ขมับผู้ตายอีก3 ถึง 4 ที มีผู้นำผู้ตายส่งโรงพยาบาล แต่ผู้ตายตายก่อนจะถึงโรงพยาบาล แสดงว่าผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากถูกจำเลยทำร้าย แม้ได้ความว่าผู้ตายมีโรคหัวใจและความดันโลหิตอยู่ก่อนและมีเพียงแผลถลอกที่ศอกขวา เข่าขวา และขาซ้าย ก็ไม่เป็นเหตุให้รับฟังว่า ผู้ตายถึงแก่ความตายโดยมิใช่เกิดจากการทำร้ายของจำเลย เพราะการทำร้ายของจำเลยเป็นผลให้เกิดการกระทบกระเทือนร่างกายและจิตใจของผู้ตายอย่างรุนแรง เป็นเหตุให้ระบบการหมุนเวียนโลหิตล้มเหลวขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจอย่างเฉียบพลัน ความตายจึงเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3341/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับกรณีฝ่าฝืนพ.ร.บ.ยาสูบ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าต้องลงโทษปรับแต่ละคนตามสัดส่วนค่าแสตมป์
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยอ้างว่าต้องลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเรียงตามรายตัว ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยทั้งสองมิได้หยิบยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ แต่ก็เป็นปัญหา ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยทั้งสองจึงยก ขึ้นฎีกาได้ ตามพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 50 บัญญัติว่าผู้ฝ่าฝืนมาตรา 24 ต้องระวางโทษปรับสิบห้าเท่าของค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิดหรือที่ยังขาดอยู่ แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยบาทนั้น หมายความว่า จำเลยแต่ละคนจะต้องถูกลงโทษปรับเป็นจำนวนสิบห้าเท่าของค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิด จำเลยทั้งสองร่วมกันมีไว้เพื่อขายซึ่งบุหรี่ซิกาแรตต่างประเทศอันเป็นยาสูบตามกฎหมาย และเป็นยาสูบที่มิได้ปิดอากรแสตมป์ยาสูบ คิดเป็นค่าแสตมป์ที่จะต้องปิดเป็นเงินทั้งสิ้น 12,138 บาท ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยทั้งสองรวมกันมาเป็นเงิน 182,070 บาท จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 50 จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบา ส่วนโจทก์ก็มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษจำเลยทั้งสอง แม้จำเลยทั้งสองฎีกาขึ้นมาอ้างว่าศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาก็จะเปลี่ยนแปลงโทษให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยทั้งสองหาได้ไม่และหากศาลจะลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเรียงตามรายตัวตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 31 คนละ 45,517.50 บาท ตามที่ จำเลยทั้งสองฎีกามา ก็จะเป็นการลงโทษปรับที่ต่ำกว่าโทษที่ กำหนดตามบทกฎหมายมาตราดังกล่าว ศาลฎีกาไม่อาจเปลี่ยนแปลง แก้ไขโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดมาได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3341/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับตาม พ.ร.บ.ยาสูบ: จำเลยต้องถูกลงโทษปรับแยกตามสัดส่วนค่าแสตมป์ยาสูบที่ต้องปิด
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยอ้างว่าต้องลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเรียงตามรายตัว ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยทั้งสองมิได้หยิบยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยทั้งสองจึงยกขึ้นฎีกาได้
ตาม พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 มาตรา 50 บัญญัติว่า ผู้ฝ่าฝืนมาตรา 24 ต้องระวางโทษปรับสิบห้าเท่าของค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิดหรือที่ยังขาดอยู่ แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยบาทนั้น หมายความว่า จำเลยแต่ละคนจะต้องถูกลงโทษปรับเป็นจำนวนสิบห้าเท่าของค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิด
จำเลยทั้งสองร่วมกันมีไว้เพื่อขายซึ่งบุหรี่ซิกาแรตต่างประเทศอันเป็นยาสูบตามกฎหมาย และเป็นยาสูบที่มิได้ปิดอากรแสตมป์ยาสูบ คิดเป็นค่าแสตมป์ที่จะต้องปิดเป็นเงินทั้งสิ้น 12,138 บาท ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยทั้งสองรวมกันมาเป็นเงิน 182,070 บาท จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 มาตรา50 จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบา ส่วนโจทก์ก็มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษจำเลยทั้งสอง แม้จำเลยทั้งสองฎีกาขึ้นมาอ้างว่าศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาก็จะเปลี่ยนแปลงโทษให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยทั้งสองหาได้ไม่ และหากศาลจะลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเรียงตามรายตัวตาม ป.อ.มาตรา 31 คนละ 45,517.50 บาท ตามที่จำเลยทั้งสองฎีกามา ก็จะเป็นการลงโทษปรับที่ต่ำกว่าโทษที่กำหนดตามบทกฎหมายมาตราดังกล่าว ศาลฎีกาไม่อาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดมาได้เช่นกัน
ตาม พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 มาตรา 50 บัญญัติว่า ผู้ฝ่าฝืนมาตรา 24 ต้องระวางโทษปรับสิบห้าเท่าของค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิดหรือที่ยังขาดอยู่ แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยบาทนั้น หมายความว่า จำเลยแต่ละคนจะต้องถูกลงโทษปรับเป็นจำนวนสิบห้าเท่าของค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิด
จำเลยทั้งสองร่วมกันมีไว้เพื่อขายซึ่งบุหรี่ซิกาแรตต่างประเทศอันเป็นยาสูบตามกฎหมาย และเป็นยาสูบที่มิได้ปิดอากรแสตมป์ยาสูบ คิดเป็นค่าแสตมป์ที่จะต้องปิดเป็นเงินทั้งสิ้น 12,138 บาท ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยทั้งสองรวมกันมาเป็นเงิน 182,070 บาท จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 มาตรา50 จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบา ส่วนโจทก์ก็มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษจำเลยทั้งสอง แม้จำเลยทั้งสองฎีกาขึ้นมาอ้างว่าศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาก็จะเปลี่ยนแปลงโทษให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยทั้งสองหาได้ไม่ และหากศาลจะลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเรียงตามรายตัวตาม ป.อ.มาตรา 31 คนละ 45,517.50 บาท ตามที่จำเลยทั้งสองฎีกามา ก็จะเป็นการลงโทษปรับที่ต่ำกว่าโทษที่กำหนดตามบทกฎหมายมาตราดังกล่าว ศาลฎีกาไม่อาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดมาได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2719/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำรงชีพจากรายได้หญิงค้าประเวณี: ต้องมีปัจจัยอื่นไม่พอเพียงจึงจะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 286
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 286 นอกจากผู้กระทำความผิดต้องมีอายุเกินกว่าสิบหกปีแล้วยังต้องได้ความว่า ผู้นั้นดำรงชีพอยู่ได้โดยอาศัยรายได้ทั้งหมดหรือบางส่วนจากหญิงค้าประเวณี ส่วนกรณีใดที่กฎหมายถือว่าเป็นผู้ดำรงชีพอยู่จากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณีต้องเป็นไปตามกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 286 วรรคสอง จำเลยเป็นเจ้าของสถานค้าประเวณีโดยมีสุราอาหารและเครื่องดื่มบริการขายแก่ลูกค้าด้วย และมีหญิงค้าประเวณีประมาณ 8 คน กินอยู่หลับนอนกับจำเลยในสถานที่ดังกล่าวแม้พึงคาดหมายได้ว่าจำเลยจะต้องได้รับเงินเป็นผลกำไรจาก การค้าประเวณีเช่นว่านั้น ก็เป็นไปในลักษณะที่จำเลยหารายได้จากการดำเนินกิจการค้าประเวณีซึ่งมีหญิงโสเภณีเป็นองค์ประกอบในการดำเนินกิจการของจำเลย รายได้ ของจำเลยจึงได้จากลูกค้าหรือแขกที่มาเที่ยวหาใช่ได้จากหญิงซึ่งค้าประเวณีโดยตรงไม่ และแม้จำเลยจะไม่มีรายได้ จากกิจการค้าประเวณีแต่จำเลยก็ยังสามารถดำรงชีพอยู่ได้ด้วยการอาศัยสามีหรือบุตรได้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยไม่มีปัจจัยอื่นหรือไม่มีปัจจัยอันพอเพียงสำหรับดำรงชีพ การที่ มีหญิงซึ่งค้าประเวณีมาอาศัยกินอยู่หลับนอนในสถานค้าประเวณีของจำเลย แม้จำเลยจะกินอยู่หลับนอนในสถานดังกล่าวด้วยจำเลยก็ไม่ใช่เป็นผู้กินอยู่หลับนอนหรือรับเงินหรือประโยชน์อื่นโดยหญิงซึ่งค้าประเวณีเป็นผู้จัดให้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 286 วรรคสอง(2) การกระทำของจำเลยจึงถือไม่ได้ว่า จำเลยดำรงชีพอยู่แม้เพียงบางส่วนจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 286
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2719/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำรงชีพจากรายได้จากการค้าประเวณี: จำเลยต้องได้ประโยชน์โดยตรงจากรายได้ของหญิงค้าประเวณี
ความผิดตาม ป.อ.มาตรา 286 นอกจากผู้กระทำความผิดต้องมีอายุเกินกว่าสิบหกปีแล้วยังต้องได้ความว่า ผู้นั้นดำรงชีพอยู่ได้โดยอาศัยรายได้ทั้งหมดหรือบางส่วนจากหญิงค้าประเวณี ส่วนกรณีใดที่กฎหมายถือว่าเป็นผู้ดำรงชีพอยู่จากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณี ต้องเป็นไปตามกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 286วรรคสอง
จำเลยเป็นเจ้าของสถานค้าประเวณีโดยมีสุราอาหารและเครื่องดื่มบริการขายแก่ลูกค้าด้วย และมีหญิงค้าประเวณีประมาณ 8 คน กินอยู่หลับนอนกับจำเลยในสถานที่ดังกล่าว แม้พึงคาดหมายได้ว่าจำเลยจะต้องได้รับเงินเป็นผลกำไรจากการค้าประเวณีเช่นว่านั้น ก็เป็นไปในลักษณะที่จำเลยหารายได้จากการดำเนินกิจการค้าประเวณีซึ่งมีหญิงโสเภณีเป็นองค์ประกอบในการดำเนินกิจการของจำเลย รายได้ของจำเลยจึงได้จากลูกค้าหรือแขกที่มาเที่ยวหาใช่ได้จากหญิงซึ่งค้าประเวณีโดยตรงไม่ และแม้จำเลยจะไม่มีรายได้จากกิจการค้าประเวณีแต่จำเลยก็ยังสามารถดำรงชีพอยู่ได้ด้วยการอาศัยสามีหรือบุตรได้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยไม่มีปัจจัยอื่นหรือไม่มีปัจจัยอันพอเพียงสำหรับดำรงชีพ การที่มีหญิงซึ่งค้าประเวณีมาอาศัยกินอยู่หลับนอนในสถานค้าประเวณีของจำเลย แม้จำเลยจะกินอยู่หลับนอนในสถานดังกล่าวด้วย จำเลยก็ไม่ใช่เป็นผู้กินอยู่หลับนอนหรือรับเงินหรือประโยชน์อื่นโดยหญิงซึ่งค้าประเวณีเป็นผู้จัดให้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 286วรรคสอง (2) การกระทำของจำเลยจึงถือไม่ได้ว่า จำเลยดำรงชีพอยู่แม้เพียงบางส่วนจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณีตาม ป.อ.มาตรา 286
จำเลยเป็นเจ้าของสถานค้าประเวณีโดยมีสุราอาหารและเครื่องดื่มบริการขายแก่ลูกค้าด้วย และมีหญิงค้าประเวณีประมาณ 8 คน กินอยู่หลับนอนกับจำเลยในสถานที่ดังกล่าว แม้พึงคาดหมายได้ว่าจำเลยจะต้องได้รับเงินเป็นผลกำไรจากการค้าประเวณีเช่นว่านั้น ก็เป็นไปในลักษณะที่จำเลยหารายได้จากการดำเนินกิจการค้าประเวณีซึ่งมีหญิงโสเภณีเป็นองค์ประกอบในการดำเนินกิจการของจำเลย รายได้ของจำเลยจึงได้จากลูกค้าหรือแขกที่มาเที่ยวหาใช่ได้จากหญิงซึ่งค้าประเวณีโดยตรงไม่ และแม้จำเลยจะไม่มีรายได้จากกิจการค้าประเวณีแต่จำเลยก็ยังสามารถดำรงชีพอยู่ได้ด้วยการอาศัยสามีหรือบุตรได้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยไม่มีปัจจัยอื่นหรือไม่มีปัจจัยอันพอเพียงสำหรับดำรงชีพ การที่มีหญิงซึ่งค้าประเวณีมาอาศัยกินอยู่หลับนอนในสถานค้าประเวณีของจำเลย แม้จำเลยจะกินอยู่หลับนอนในสถานดังกล่าวด้วย จำเลยก็ไม่ใช่เป็นผู้กินอยู่หลับนอนหรือรับเงินหรือประโยชน์อื่นโดยหญิงซึ่งค้าประเวณีเป็นผู้จัดให้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 286วรรคสอง (2) การกระทำของจำเลยจึงถือไม่ได้ว่า จำเลยดำรงชีพอยู่แม้เพียงบางส่วนจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณีตาม ป.อ.มาตรา 286
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2652/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: ผู้แจ้งการครอบครองแต่ไม่ยึดถือ ไม่มีสิทธิ, การครอบครองเพื่อตนเอง ไม่ใช่เพื่อผู้อื่น
จำเลยเป็นผู้แจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทแต่ไม่เคยเข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทมาก่อน จึงไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ส่วนบิดา-โจทก์ทั้งสองยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตน มิได้ยึดถือเพื่อจำเลย บิดาโจทก์ทั้งสองเป็นคนต่างด้าวจะได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตามกฎหมายหรือไม่ก็เป็นเรื่องของบิดาโจทก์ทั้งสองไม่เกี่ยวกับจำเลย และไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อโจทก์ทั้งสองในการรับโอนการครอบครองมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2652/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การครอบครองเพื่อตนเอง vs. ครอบครองแทนเจ้าของที่ดิน สิทธิย่อมตกแก่ผู้ครอบครองจริง
จำเลยเป็นผู้แจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทแต่ไม่เคยเข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทมาก่อนจึงไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ส่วนบิดาโจทก์ทั้งสองยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตน มิได้ยึดถือเพื่อจำเลยบิดาโจทก์ทั้งสองเป็นคนต่างด้าวจะได้ไปซึ่ง สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตามกฎหมายหรือไม่ก็ เป็นเรื่องของบิดาโจทก์ทั้งสองไม่เกี่ยวกับจำเลย และไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อโจทก์ทั้งสองในการ รับโอนการครอบครองมา