คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิชิน สุขนทีธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 111 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ในการละเมิด เพราะไม่มีส่วนร่วมในการตกลงใจหรือรับประโยชน์โดยตรง
จำเลยที่ 2 ได้ไปปรึกษาจำเลยที่ 3 เกี่ยวกับเรื่องจะว่าจ้างทนายความในการดำเนินการขายที่ดิน จำเลยที่ 3 ได้พาไปหา ส. ซึ่งเป็นญาติทำงานอยู่ที่สำนักงานทนายความ แล้วจึงได้มีการจ้างทนายความที่สำนักงานทนายความนั้นให้เขียนสัญญาซื้อขายและจำเลยที่ 3 เป็นเพียงพยานในสัญญาซื้อขายเท่านั้นส่วนการดำเนินการขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 กับทนายความของจำเลยที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการ เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ได้เป็นผู้ออกอุบายและร่วมตกลงใจให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการดังกล่าว แต่เป็นเรื่องที่เป็นการกระทำอันเกิดแต่เจตนาของจำเลยที่ 2 เองมาตั้งแต่แรก เพียงแต่ไม่ทราบว่าจะทำอย่างใดจึงต้องให้ทนายความช่วยดำเนินการให้ ส่วนการที่จำเลยที่ 3 ไปรับเงินจากโจทก์ที่ 3มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ไปรับเงินเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 3 เอง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลุงใช้ให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหลานช่วยไปรับเงินแทนเท่านั้นดังนี้ แม้จำเลยที่ 2 จะกระทำละเมิดต่อโจทก์ก็จะฟังว่าจำเลยที่ 3 มีส่วนร่วมในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ด้วยไม่ได้
ค่าเสียหายจากการขาดกำไรในการขายที่ดินพิพาทที่โจทก์เรียกร้องมาเป็นเรื่องอนาคตยังไม่แน่นอน โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกระทำละเมิดและค่าเสียหายจากการขายที่ดิน: การพิสูจน์เจตนาและการเรียกร้องค่าเสียหายในอนาคต
จำเลยที่2ได้ไปปรึกษาจำเลยที่3เกี่ยวกับเรื่องจะว่าจ้างทนายความในการดำเนินการขายที่ดินจำเลยที่3ได้พาไปหาส. ซึ่งเป็นญาติทำงานอยู่ที่สำนักงานทนายความแล้วจึงได้มีการจ้างทนายความที่สำนักงานทนายความนั้นให้เขียนสัญญาซื้อขายและจำเลยที่3เป็นเพียงพยานในสัญญาซื้อขายเท่านั้นส่วนการดำเนินการขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นเรื่องที่จำเลยที่2กับทนายความของจำเลยที่2เป็นผู้ดำเนินการเมื่อจำเลยที่3ไม่ได้เป็นผู้ออกอุบายและร่วมตกลงใจให้จำเลยที่2ดำเนินการดังกล่าวแต่เป็นเรื่องที่เป็นการกระทำอันเกิดแต่เจตนาของจำเลยที่2เองมาตั้งแต่แรกเพียงแต่ไม่ทราบว่าจะทำอย่างใดจึงต้องให้ทนายความช่วยดำเนินการให้ส่วนการที่จำเลยที่3ไปรับเงินจากโจทก์ที่3มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่3ไปรับเงินเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่3เองแต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่2ซึ่งเป็นลุงใช้ให้จำเลยที่3ซึ่งเป็นหลานช่วยไปรับเงินแทนเท่านั้นดังนี้แม้จำเลยที่2จะกระทำละเมิดต่อโจทก์ก็จะฟังว่าจำเลยที่3มีส่วนร่วมในการกระทำละเมิดของจำเลยที่2ด้วยไม่ได้ ค่าเสียหายจากการขาดกำไรในการขายที่ดินพิพาทที่โจทก์เรียกร้องมาเป็นเรื่องอนาคตยังไม่แน่นอนโจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันกระทำละเมิดและขอบเขตความรับผิดของจำเลยร่วม การประเมินค่าเสียหายจากผลกำไรที่ไม่แน่นอน
จำเลยที่ 2 ได้ไปปรึกษาจำเลยที่ 3 เกี่ยวกับเรื่องจะว่าจ้างทนายความในการดำเนินการขายที่ดิน จำเลยที่ 3ได้พาไปหา ส. ซึ่งเป็นญาติทำงานอยู่ที่สำนักงานทนายความแล้วจึงได้มีการจ้างทนายความที่สำนักงานทนายความนั้นให้เขียนสัญญาซื้อขายและจำเลยที่ 3 เป็นเพียงพยานในสัญญาซื้อขายเท่านั้นส่วนการดำเนินการขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2กับทนายความของจำเลยที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการ เมื่อจำเลยที่ 3ไม่ได้เป็นผู้ออกอุบายและร่วมตกลงใจให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการดังกล่าว แต่เป็นเรื่องที่เป็นการกระทำอันเกิดแต่เจตนาของจำเลยที่ 2 เองมาตั้งแต่แรก เพียงแต่ไม่ทราบว่าจะทำอย่างใดจึงต้องให้ทนายความช่วยดำเนินการให้ ส่วนการที่จำเลยที่ 3ไปรับเงินจากโจทก์ที่ 3 มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ไปรับเงินเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 3 เอง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นลุงใช้ให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหลานช่วยไปรับเงินแทนเท่านั้นดังนี้ แม้จำเลยที่ 2 จะกระทำละเมิดต่อโจทก์ก็จะฟังว่าจำเลยที่ 3มีส่วนร่วมในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ด้วยไม่ได้ ค่าเสียหายจากการขาดกำไรในการขายที่ดินพิพาทที่โจทก์เรียกร้องมาเป็นเรื่องอนาคตยังไม่แน่นอน โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3067/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลไม่รับอุทธรณ์บางส่วนมีผลถึงที่สุด ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยเฉพาะส่วนที่รับอุทธรณ์ ฟ้องไม่เคลือบคลุมเมื่อบรรยายลักษณะสัญญาและเหตุผิดสัญญาชัดเจน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยในข้อใด หากจำเลยไม่เห็นด้วยก็ต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์เพื่อให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งรับอุทธรณ์ในข้อที่ไม่รับนั้นได้ เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์ ต้องถือว่าคำสั่งศาลชั้นต้นถึงที่สุดศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ของจำเลยตามประเด็นข้อที่ศาลชั้นต้นสั่งรับไว้เท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้อง โจทก์เข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับจำเลยตามคำพรรณนาโจทก์หลงเชื่อทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและผ่อนชำระเงินมัดจำแก่จำเลย รวมเป็นเงิน630,000 บาท เวลาล่วงเลยมานานประมาณ 5 ปี จำเลยยังไม่จัดทำโครงการตามที่ได้พรรณนาไว้ อันเป็นการผิดสัญญา โจทก์จึงได้บอกเลิกสัญญา ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ ฟ้องโจทก์ดังกล่าวไม่ขัดกันจึงไม่เคลือบคลุม ทั้งไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าโจทก์ถูกหลอกลวงถึงขนาดหรือไม่เพียงใดเพราะโจทก์มิได้ฟ้องขอให้สัญญาจะซื้อจะขายเป็นโมฆะอันเนื่องมาจากการบอกล้างสัญญาที่เกิดจากกลฉ้อฉล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2907/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมาททางจราจร: การเลี้ยวขวาที่สี่แยกต้องรอสัญญาณไฟลูกศรหรือไฟแดงก่อนจึงปลอดภัย
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 51 ข้อ 2(จ) ใช้บังคับแก่ผู้ขับขี่ในทางเดินรถโดยทั่วไปที่ทางเดินรถนั้นไม่มีสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรปรากฏอยู่ข้างหน้า เมื่อตรงสี่แยกที่เกิดเหตุขณะเกิดเหตุมีสัญญาณไฟจราจรเปิดอยู่ การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าไม่มีสัญญาณไฟจราจรที่สี่แยกเกิดเหตุอันเป็นการขัดต่อพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบในสำนวนและนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาปรับกับบทบัญญัติมาตรา 51 ข้อ 2(จ) อันเป็นการปรับบทกฎหมายที่มิชอบและเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่แล้วชี้ขาดตัดสินคดีไปตามนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(3)(ก) ประกอบมาตรา 247
สี่แยกที่เกิดเหตุมีสัญญาณไฟจราจรเปิดอยู่ เมื่อไม่มีสัญญาณจราจรไฟลูกศรสีเขียวชี้ให้เลี้ยวขวาในขณะเกิดเหตุจำเลยจึงไม่อาจเลี้ยวขวาได้ทันที โดยจำเลยจะต้องรอให้สัญญาณไฟจราจรทางตรงเป็นไฟแดงเสียก่อนแล้วเลี้ยวไปจึงจะปลอดภัยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 22(4) การที่จำเลยขับรถเลี้ยวขวาตัดหน้ารถยนต์ที่ จ. ขับในระยะกระชั้นชิดขณะที่ จ. ขับสวนทางมาในทางตรงตามสัญญาณไฟจราจรสีเขียวและชนกับรถยนต์ที่ จ. ขับ จำเลยจึงเป็นฝ่ายประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2890/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค่าทนายที่กำหนดค่าตอบแทนเป็นส่วนแบ่งทรัพย์สินจากการฟ้องร้อง ถือเป็นโมฆะตามกฎหมายทนายความ
ตามสัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายข้อ 2 มีว่า จ.ผู้ว่าจ้างตกลงให้ค่าว่าจ้างเป็นค่าทนายตอบแทนแก่โจทก์ผู้รับจ้างเป็นเงินทั้งสิ้น 6,000,000 บาท แต่เนื่องจากจ. ยากจนไม่มีเงินชำระให้แก่โจทก์ได้ จึงประสงค์ขอยกที่ดินพิพาทตามสัญญาว่าจ้างทนาย ข้อ 1 ชำระแทน โดยขอยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์จำนวน 40 ส่วนของที่ดินและตึกแถวทั้งหมด และหากได้เงินจากคดีดังกล่าวมาเป็นจำนวนเท่าใดจ. ขอแบ่งส่วนได้ให้แก่โจทก์เป็นจำนวนร้อยละ 40เช่นเดียวกันอีกด้วย ซึ่งที่ดินที่จะแบ่งให้ตามสัญญาข้อ 1เป็นที่ดินที่ จ. จะได้มาจากการฟ้องร้องคดี จึงเป็นข้อสัญญารับจ้างว่าความโดยวิธีทำสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ จ. ลูกความเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ. 2508 มาตรา 41 ประกอบพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ. 2477 มาตรา 12(2) ซึ่งใช้บังคับในขณะทำสัญญา จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เดิมที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญา แม้ต่อมาจะได้มีพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ. 2528 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2508 แล้วและตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมีบทเฉพาะกาล มาตรา 86กำหนดให้คณะกรรมการออกข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความมาตรา 53 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยที่ข้อบังคับดังกล่าวมิได้กำหนดเรื่องค่าจ้างว่าความไว้ก็ตามก็ไม่ทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่เป็นโมฆะมาแต่แรกแล้วกลับสมบูรณ์ขึ้นมาได้ สัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายมีนิติกรรมเพียงอย่างเดียวคือให้นำที่ดินสิ่งปลูกสร้าง และเงินจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทที่จะได้จากการชนะคดีจำนวนร้อยละ40 มาแบ่งให้แก่โจทก์เป็นค่าจ้างว่าความซึ่งเป็นโมฆะ และไม่มีนิติกรรมส่วนอื่นที่ไม่เป็นโมฆะที่จะแยกออกมาจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ที่แก้ไขใหม่การที่กองมรดกของ จ. ได้รับเงินจากการขายทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทหลังจากพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528ใช้บังคับแล้วหาใช่เป็นนิติกรรมที่ใช้ได้แยกออกต่างหากจากสัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายซึ่งเป็นโมฆะไม่ และกรณีไม่เข้าลักษณะที่เป็นนิติกรรมอย่างอื่นที่ไม่เป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 174 ที่แก้ไขใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2890/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค่าทนายที่ขัดต่อกฎหมายทนายความเป็นโมฆะ แม้ภายหลังมีกฎหมายใหม่ สัญญาเดิมก็ยังไม่สมบูรณ์
ตามสัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายข้อ2มีว่าจ.ผู้ว่าจ้างตกลงให้ค่าว่าจ้างเป็นค่าทนายตอบแทนแก่โจทก์ผู้รับจ้างเป็นเงินทั้งสิ้น6,000,000บาทแต่เนื่องจากจ. ยากจนไม่มีเงินชำระให้แก่โจทก์ได้จึงประสงค์ขอยกที่ดินพิพาทตามสัญญาว่าจ้างทนายข้อ1ชำระแทนโดยขอยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์จำนวน40ส่วนของที่ดินและตึกแถวทั้งหมดและหากได้เงินจากคดีดังกล่าวมาเป็นจำนวนเท่าใดจ. ขอแบ่งส่วนได้ให้แก่โจทก์เป็นจำนวนร้อยละ40เช่นเดียวกันอีกด้วยซึ่งที่ดินที่จะแบ่งให้ตามสัญญาข้อ1เป็นที่ดินที่จ. จะได้มาจากการฟ้องร้องคดีจึงเป็นข้อสัญญารับจ้างว่าความโดยวิธีทำสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่จ. ลูกความเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2508มาตรา41ประกอบพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2477มาตรา12(2)ซึ่งใช้บังคับในขณะทำสัญญาจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113เดิมที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญาแม้ต่อมาจะได้มีพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2528ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2508แล้วและตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมีบทเฉพาะกาลมาตรา86กำหนดให้คณะกรรมการออกข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความมาตรา53ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาโดยที่ข้อบังคับดังกล่าวมิได้กำหนดเรื่องค่าจ้างว่าความไว้ก็ตามก็ไม่ทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่เป็นโมฆะมาแต่แรกแล้วกลับสมบูรณ์ขึ้นมาได้ สัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายมีนิติกรรมเพียงอย่างเดียวคือให้นำที่ดินสิ่งปลูกสร้างและเงินจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทที่จะได้จากการชนะคดีจำนวนร้อยละ40มาแบ่งให้แก่โจทก์เป็นค่าจ้างว่าความซึ่งเป็นโมฆะและไม่มีนิติกรรมส่วนอื่นที่ไม่เป็นโมฆะที่จะแยกออกมาจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา173ที่แก้ไขใหม่การที่กองมรดกของจ. ได้รับเงินจากการขายทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทหลังจากพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2528ใช้บังคับแล้วหาใช่เป็นนิติกรรมที่ใช้ได้แยกออกต่างหากจากสัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายซึ่งเป็นโมฆะไม่และกรณีไม่เข้าลักษณะที่เป็นนิติกรรมอย่างอื่นที่ไม่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา174ที่แก้ไขใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2890/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค่าทนายที่ใช้ที่ดินและเงินจากคดีชำระค่าตอบแทนเป็นโมฆะ
ตามสัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายข้อ 2 มีว่า จ.ผู้ว่าจ้างตกลงให้ค่าว่าจ้างเป็นค่าทนายตอบแทนแก่โจทก์ผู้รับจ้างเป็นเงินทั้งสิ้น 6,000,000 บาทแต่เนื่องจาก จ.ยากจนไม่มีเงินชำระให้แก่โจทก์ได้ จึงประสงค์ขอยกที่ดินพิพาทตามสัญญาว่าจ้างทนาย ข้อ 1 ชำระแทน โดยขอยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์จำนวน 40 ส่วนของที่ดินและตึกแถวทั้งหมด และหากได้เงินจากคดีดังกล่าวมาเป็นจำนวนเท่าใด จ.ขอแบ่งส่วนได้ให้แก่โจทก์เป็นจำนวนร้อยละ 40 เช่นเดียวกันอีกด้วย ซึ่งที่ดินที่จะแบ่งให้ตามสัญญาข้อ 1 เป็นที่ดินที่ จ.จะได้มาจากการฟ้องร้องคดี จึงเป็นข้อสัญญารับจ้างว่าความโดยวิธีทำสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ จ.ลูกความ เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2508 มาตรา 41 ประกอบ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2477มาตรา 12 (2) ซึ่งใช้บังคับในขณะทำสัญญา จึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา113 เดิม ที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญา แม้ต่อมาจะได้มี พ.ร.บ.ทนายความพ.ศ.2528 ให้ยกเลิก พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2508 แล้ว และตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวมีบทเฉพาะกาล มาตรา 86 กำหนดให้คณะกรรมการออกข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความ มาตรา 53 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยที่ข้อบังคับดังกล่าวมิได้กำหนดเรื่องค่าจ้างว่าความไว้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่เป็นโมฆะมาแต่แรกแล้วกลับสมบูรณ์ขึ้นมาได้
สัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายมีนิติกรรมเพียงอย่างเดียวคือให้นำที่ดินสิ่งปลูกสร้าง และเงินจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทที่จะได้จากการชนะคดีจำนวนร้อยละ 40 มาแบ่งให้แก่โจทก์เป็นค่าจ้างว่าความซึ่งเป็นโมฆะ และไม่มีนิติกรรมส่วนอื่นที่ไม่เป็นโมฆะที่จะแยกออกมาจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา173 ที่แก้ไขใหม่ การที่กองมรดกของ จ.ได้รับเงินจากการขายทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทหลังจาก พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 ใช้บังคับแล้วหาใช่เป็นนิติกรรมที่ใช้ได้แยกออกต่างหากจากสัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายซึ่งเป็นโมฆะไม่ และกรณีไม่เข้าลักษณะที่เป็นนิติกรรมอย่างอื่นที่ไม่เป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 174ที่แก้ไขใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์จากการซื้อที่ดินหลุดจำนอง การฟ้องขับไล่ผู้ครอบครอง
ตามคำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลยคู่ความรับกันข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินและบ้านของจำเลยถูกบังคับคดีโดยนำออกขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินและบ้านของจำเลยจากการขายทอดตลาดดังกล่าวโดยมีคำโต้แย้งคัดค้านของจำเลยว่าการบังคับคดีกระทำโดยมิชอบขอให้เพิกถอนอันเป็นข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะนำมาวินิจฉัยชี้ขาดตามประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้ว่าโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินและบ้านที่โจทก์ซื้อมาได้หรือไม่หากวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยไม่ได้ศาลย่อมต้องพิพากษายกฟ้องหากวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยได้ศาลย่อมต้องวินิจฉัยในประเด็นต่อไปว่าโจทก์เสียหายเพียงใดซึ่งค่าเสียหายในกรณีเช่นนี้ย่อมอยู่ในอำนาจของศาลที่จะกำหนดให้ตามความเหมาะสมแก่รูปคดีเนื่องจากโจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์เสียหายเดือนละ30,000บาทโดยโจทก์คาดว่าหากนำที่ดินและบ้านออกให้เช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ30,000บาทและจำเลยให้การว่าโจทก์ไม่เสียหายหากเสียหายจริงก็ไม่เกินเดือนละ5,000บาทโดยต่างฝ่ายต่างมิได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่แน่นอนขึ้นสนับสนุนข้ออ้างและข้อเถียงของฝ่ายตนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยนั้นชอบแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเข้าสู้ราคาจนเป็นผู้ซื้อทอดตลาดได้ในขณะที่ยังไม่มีข้อคัดค้านของจำเลยว่าการบังคับคดีดังกล่าวไม่ชอบต้องถือว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านโดยชอบแล้วเมื่อโจทก์ไม่อาจเข้าครอบครองหรือใช้ประโยชน์ในที่ดินพร้อมบ้านเนื่องจากจำเลยและบริวารยังคงอยู่ในที่ดินพร้อมบ้านดังกล่าวอันเป็นการขัดขวางโต้แย้งการใช้สิทธิของโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกไปจากที่ดินและบ้านได้แม้ภายหลังจะปรากฏว่าจำเลยยื่นคำร้องคัดค้านการบังคับคดีดังกล่าวว่าไม่ชอบและขอให้เพิกถอนก็ตามแต่ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องนำสืบพิสูจน์ข้อกล่าวอ้างคัดค้านของตนในคดีเดิมจนปรากฏเป็นความจริงและศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีดังกล่าวแล้วจึงจะมีผลให้การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านจากการขายทอดตลาดของโจทก์ถูกเพิกถอนไปด้วยตราบใดที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีถึงที่สุดการที่จำเลยและบริวารยังอยู่ในที่ดินและบ้านหลังจากโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านจากการขายทอดตลาดแล้วถือได้ว่าจำเลยอยู่โดยละเมิดโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ คดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆออกจากอสังหาริมทรัพย์เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้เดือนละ5,000บาทโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้เถียงประเด็นนี้จึงถือว่าทรัพย์พิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ5,000บาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์จากการซื้อทอดตลาด การฟ้องขับไล่ และค่าเสียหายจากการอยู่อาศัยโดยละเมิด
ตามคำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลย คู่ความรับกันข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินและบ้านของจำเลยถูกบังคับคดีโดยนำออกขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินและบ้านของจำเลยจากการขายทอดตลาดดังกล่าวโดยมีคำโต้แย้งคัดค้านของจำเลยว่าการบังคับคดีกระทำโดยมิชอบ ขอให้เพิกถอน อันเป็นข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะนำมาวินิจฉัยชี้ขาดตามประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้ว่า โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินและบ้านที่โจทก์ซื้อมาได้หรือไม่ หากวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยไม่ได้ ศาลย่อมต้องพิพากษายกฟ้อง หากวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยได้ ศาลย่อมต้องวินิจฉัยในประเด็นต่อไปว่าโจทก์เสียหายเพียงใด ซึ่งค่าเสียหายในกรณีเช่นนี้ย่อมอยู่ในอำนาจของศาลที่จะกำหนดให้ตามความเหมาะสมแก่รูปคดี เนื่องจากโจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์เสียหายเดือนละ 30,000 บาท โดยโจทก์คาดว่าหากนำที่ดินและบ้านออกให้เช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ 30,000 บาท และจำเลยให้การว่า โจทก์ไม่เสียหาย หากเสียหายจริงก็ไม่เกินเดือนละ 5,000 บาทโดยต่างฝ่ายต่างมิได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่แน่นอนขึ้นสนับสนุนข้ออ้างและข้อเถียงของฝ่ายตน คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยนั้นชอบแล้ว
โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเข้าสู้ราคาจนเป็นผู้ซื้อทอดตลาดได้ในขณะที่ยังไม่มีข้อคัดค้านของจำเลยว่าการบังคับคดีดังกล่าวไม่ชอบ ต้องถือว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านโดยชอบแล้ว เมื่อโจทก์ไม่อาจเข้าครอบครองหรือใช้ประโยชน์ในที่ดินพร้อมบ้านเนื่องจากจำเลยและบริวารยังคงอยู่ในที่ดินพร้อมบ้านดังกล่าว อันเป็นการขัดขวางโต้แย้งการใช้สิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกไปจากที่ดินและบ้านได้ แม้ภายหลังจะปรากฏว่าจำเลยยื่นคำร้องคัดค้านการบังคับคดีดังกล่าวว่าไม่ชอบและขอให้เพิกถอนก็ตามแต่ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องนำสืบพิสูจน์ข้อกล่าวอ้างคัดค้านของตนในคดีเดิมจนปรากฏเป็นความจริงและศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีดังกล่าวแล้วจึงจะมีผลให้การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านจากการขายทอดตลาดของโจทก์ถูกเพิกถอนไปด้วย ตราบใดที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีถึงที่สุด การที่จำเลยและบริวารยังอยู่ในที่ดินและบ้านหลังจากโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านจากการขายทอดตลาดแล้ว ถือได้ว่าจำเลยอยู่โดยละเมิดโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้เดือนละ 5,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้เถียงประเด็นนี้ จึงถือว่าทรัพย์พิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 5,000 บาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคสอง
of 12