พบผลลัพธ์ทั้งหมด 111 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์จากการขายทอดตลาด: สิทธิของโจทก์ในการขับไล่จำเลยออกจากที่ดิน
ตามคำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลย คู่ความรับกันข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินและบ้านของจำเลยถูกบังคับคดีโดยนำออกขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินและบ้านของจำเลยจากการขายทอดตลาดดังกล่าวโดยมีคำโต้แย้งคัดค้านของจำเลยว่าการบังคับคดีกระทำโดยมิชอบ ขอให้เพิกถอน อันเป็นข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะนำมาวินิจฉัยชี้ขาดตามประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้ว่า โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินและบ้านที่โจทก์ซื้อมาได้หรือไม่ หากวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยไม่ได้ ศาลย่อมต้องพิพากษายกฟ้อง หากวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยได้ ศาลย่อมต้องวินิจฉัยในประเด็นต่อไปว่าโจทก์เสียหายเพียงใด ซึ่งค่าเสียหายในกรณีเช่นนี้ย่อมอยู่ในอำนาจของศาลที่จะกำหนดให้ตามความเหมาะสมแก่รูปคดี เนื่องจากโจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์เสียหายเดือนละ30,000 บาท โดยโจทก์คาดว่าหากนำที่ดินและบ้านออกให้เช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ 30,000 บาท และจำเลยให้การว่า โจทก์ไม่เสียหายหากเสียหายจริงก็ไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท โดยต่างฝ่ายต่างมิได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่แน่นอนขึ้นสนับสนุนข้ออ้างและข้อเถียงของฝ่ายตน คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยนั้นชอบแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเข้าสู้ราคาจนเป็นผู้ซื้อทอดตลาดได้ ในขณะที่ยังไม่มีข้อคัดค้านของจำเลยว่าการบังคับคดีดังกล่าวไม่ชอบ ต้องถือว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านโดยชอบแล้วเมื่อโจทก์ไม่อาจเข้าครอบครองหรือใช้ประโยชน์ในที่ดินพร้อมบ้านเนื่องจากจำเลยและบริวารยังคงอยู่ในที่ดินพร้อมบ้านดังกล่าวอันเป็นการขัดขวางโต้แย้งการใช้สิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกไปจากที่ดินและบ้านได้ แม้ภายหลังจะปรากฏว่าจำเลยยื่นคำร้องคัดค้านการบังคับคดีดังกล่าวว่าไม่ชอบและขอให้เพิกถอนก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องนำสืบพิสูจน์ข้อกล่าวอ้างคัดค้านของตนในคดีเดิมจนปรากฏเป็นความจริงและศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีดังกล่าวแล้วจึงจะมีผลให้การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านจากการขายทอดตลาดของโจทก์ถูกเพิกถอนไปด้วย ตราบใดที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีถึงที่สุด การที่จำเลยและบริวารยังอยู่ในที่ดินและบ้านหลังจากโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านจากการขายทอดตลาดแล้ว ถือได้ว่าจำเลยอยู่โดยละเมิดโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ คดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้เดือนละ 5,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้เถียงประเด็นนี้ จึงถือว่าทรัพย์พิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขาดประโยชน์รถยนต์: ความรับผิดของผู้รับประกันภัยแยกจากเหตุการณ์ยึดหน่วงรถยนต์
แม้ว่าตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ3.7.5ระบุว่าการประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความเสียหายอันเกิดจากการขาดการใช้รถยนต์ซึ่งหมายความว่าจำเลยที่1ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในความเสียหายส่วนที่เกิดแก่โจทก์ผู้เอาประกันภัยที่ไม่อาจใช้ประโยชน์จากรถยนต์ที่ประกันภัยเนื่องจากอุบัติเหตุจนรถยนต์เสียหายใช้การไม่ได้กล่าวคือค่าขาดประโยชน์ส่วนนี้เริ่มนับแต่รถยนต์ที่ประกันภัยเกิดอุบัติเหตุเสียหายใช้การไม่ได้จนกระทั่งซ่อมเสร็จใช้การได้ตามปกติโจทก์จะเรียกร้องค่าขาดประโยชน์ส่วนนี้จากจำเลยที่1ไม่ได้เพราะเข้ายกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ3.7.5ดังกล่าวก็ตามแต่ความเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ของโจทก์ตามฟ้องเป็นค่าขาดประโยชน์ที่เกิดขึ้นหลังจากซ่อมรถยนต์ของโจทก์เสร็จแล้วและเกิดจากเหตุที่จำเลยที่1ไม่ยอมชำระค่าซ่อมครบถ้วนแก่ผู้ซ่อมทำให้ผู้ซ่อมใช้สิทธิยึดหน่วงรถยนต์ของโจทก์ไว้ทำให้โจทก์ขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ของโจทก์ดังกล่าวเป็นคนละส่วนกับค่าขาดประโยชน์ที่จำเลยที่1ไม่ต้องรับผิดตามกรมธรรม์ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกันเพราะเกิดจากคนละเหตุโจทก์จึงเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ส่วนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขาดประโยชน์จากรถยนต์: ความเสียหายหลังซ่อม กับ การไม่ชำระค่าซ่อม
แม้ว่าตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 3.7.5 ระบุว่า การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความเสียหายอันเกิดจากการขาดการใช้รถยนต์ ซึ่งหมายความว่า จำเลยที่ 1 ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในความเสียหายส่วนที่เกิดแก่โจทก์ผู้เอาประกันภัยที่ไม่อาจใช้ประโยชน์จากรถยนต์ที่ประกันภัย เนื่องจากอุบัติเหตุจนรถยนต์เสียหายใช้การไม่ได้ กล่าวคือ ค่าขาดประโยชน์ส่วนนี้เริ่มนับแต่รถยนต์ที่ประกันภัยเกิดอุบัติเหตุเสียหายใช้การไม่ได้จนกระทั่งซ่อมเสร็จใช้การได้ตามปกติ โจทก์จะเรียกร้องค่าขาดประโยชน์ส่วนนี้จากจำเลยที่ 1 ไม่ได้ เพราะเข้ายกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 3.7.5 ดังกล่าวก็ตาม แต่ความเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ของโจทก์ตามฟ้อง เป็นค่าขาดประโยชน์ที่เกิดขึ้นหลังจากซ่อมรถยนต์ของโจทก์เสร็จแล้วและเกิดจากเหตุที่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมชำระค่าซ่อมครบถ้วนแก่ผู้ซ่อม ทำให้ผู้ซ่อมใช้สิทธิยึดหน่วงรถยนต์ของโจทก์ไว้ ทำให้โจทก์ขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ของโจทก์ดังกล่าว เป็นคนละส่วนกับค่าขาดประโยชน์ที่จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดตามกรมธรรม์ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกันเพราะเกิดจากคนละเหตุ โจทก์จึงเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ส่วนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขาดประโยชน์จากรถยนต์: ความรับผิดของผู้รับประกันภัยแยกต่างหากจากเหตุชำระค่าซ่อมไม่ครบ
แม้ว่าตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 3.7.5 ระบุว่า การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความเสียหายอันเกิดจากการขาดการใช้รถยนต์ซึ่งหมายความว่า จำเลยที่ 1 ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในความเสียหายส่วนที่เกิดแก่โจทก์ผู้เอาประกันภัยที่ไม่อาจใช้ประโยชน์จากรถยนต์ที่ประกันภัย เนื่องจากอุบัติเหตุจนรถยนต์เสียหายใช้การไม่ได้ กล่าวคือ ค่าขาดประโยชน์ส่วนนี้เริ่มนับแต่รถยนต์ที่ประกันภัยเกิดอุบัติเหตุเสียหายใช้การไม่ได้จนกระทั่งซ่อมเสร็จใช้การได้ตามปกติ โจทก์จะเรียกร้องค่าขาดประโยชน์ส่วนนี้จากจำเลยที่ 1 ไม่ได้ เพราะเข้ายกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 3.7.5 ดังกล่าวก็ตาม แต่ความเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ของโจทก์ตามฟ้อง เป็นค่าขาดประโยชน์ที่เกิดขึ้นหลังจากซ่อมรถยนต์ของโจทก์เสร็จแล้วและเกิดจากเหตุที่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมชำระค่าซ่อมครบถ้วนแก่ผู้ซ่อม ทำให้ผู้ซ่อมใช้สิทธิยึดหน่วงรถยนต์ของโจทก์ไว้ ทำให้โจทก์ขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ของโจทก์ดังกล่าว เป็นคนละส่วนกับค่าขาดประโยชน์ที่จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดตามกรมธรรม์ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกันเพราะเกิดจากคนละเหตุ โจทก์จึงเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ส่วนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2676/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ สัญญาเกิดขึ้นเมื่อตกลงและลงมือทำงาน แม้ไม่มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรก็ผูกพัน
สัญญาจ้างทำของไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือเพียงแต่จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์และโจทก์ตกลงรับจ้างตามที่จำเลยว่าจ้าง สัญญาจ้างย่อมเกิดขึ้นผูกพันคู่สัญญาต้องปฏิบัติตามนั้น
ผู้รับจ้างฟ้องเรียกค่าจ้างหรือค่าตอบแทนรวมทั้งเงินทดรองที่ผู้รับจ้างจ่ายแทนผู้ว่าจ้างไปก่อนตามสัญญาจ้างทำของมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)
ผู้รับจ้างฟ้องเรียกค่าจ้างหรือค่าตอบแทนรวมทั้งเงินทดรองที่ผู้รับจ้างจ่ายแทนผู้ว่าจ้างไปก่อนตามสัญญาจ้างทำของมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2522/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตรา, สัญญากู้, ชำระหนี้, โมฆะเฉพาะส่วน, สิทธิเรียกร้อง
เอกสารระบุว่าโจทก์และจำเลยเป็นคู่สัญญา โจทก์จะนำเงินของผู้ใดมาให้จำเลยกู้ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะกระทำได้ ไม่ทำให้สัญญากู้และสัญญาจำนองเสียไปแต่ประการใด
จำเลยกู้เงินโจทก์ 500,000 บาท ตกลงดอกเบี้ยอัตราร้อยละ30 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพ.ศ.2475 ตกเป็นโมฆะ เท่ากับการกู้เงินรายนี้มิได้มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยไว้ แต่เนื่องจากเป็นหนี้เงินโจทก์บอกกล่าวทวงถามแล้วจำเลยผิดนัด โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
จำเลยชำระเงิน 150,000 บาท แก่โจทก์เป็นการชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 30 ต่อปี ของต้นเงิน 500,000 บาท ด้วยความสมัครใจของจำเลยตามที่ตกลงกับโจทก์ไว้เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ จำเลยจะเรียกคืนหรือนำมาหักกับต้นเงิน 500,000 บาท มิได้ จำเลยจึงยังคงเป็นหนี้โจทก์อยู่ 500,000 บาท
การกู้เงินโดยคิดดอกเบี้ยเกินอัตราตกเป็นโมฆะเฉพาะดอกเบี้ยเกินอัตราเท่านั้น ไม่ทำให้การกู้เงินตกเป็นโมฆะไปด้วย สัญญากู้ส่วนที่มีการกู้เงินกันจริงยังคงมีผลผูกพันคู่สัญญากันอยู่ จำเลยจึงฟ้องแย้งขอให้ยกเลิกสัญญามิได้ ทั้งไม่มีเหตุให้เพิกถอนสัญญาจำนองอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้เงินดังกล่าว
จำเลยกู้เงินโจทก์ 500,000 บาท ตกลงดอกเบี้ยอัตราร้อยละ30 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพ.ศ.2475 ตกเป็นโมฆะ เท่ากับการกู้เงินรายนี้มิได้มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยไว้ แต่เนื่องจากเป็นหนี้เงินโจทก์บอกกล่าวทวงถามแล้วจำเลยผิดนัด โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
จำเลยชำระเงิน 150,000 บาท แก่โจทก์เป็นการชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 30 ต่อปี ของต้นเงิน 500,000 บาท ด้วยความสมัครใจของจำเลยตามที่ตกลงกับโจทก์ไว้เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ จำเลยจะเรียกคืนหรือนำมาหักกับต้นเงิน 500,000 บาท มิได้ จำเลยจึงยังคงเป็นหนี้โจทก์อยู่ 500,000 บาท
การกู้เงินโดยคิดดอกเบี้ยเกินอัตราตกเป็นโมฆะเฉพาะดอกเบี้ยเกินอัตราเท่านั้น ไม่ทำให้การกู้เงินตกเป็นโมฆะไปด้วย สัญญากู้ส่วนที่มีการกู้เงินกันจริงยังคงมีผลผูกพันคู่สัญญากันอยู่ จำเลยจึงฟ้องแย้งขอให้ยกเลิกสัญญามิได้ ทั้งไม่มีเหตุให้เพิกถอนสัญญาจำนองอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้เงินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอาญาเช็คต้องระบุหนี้ที่ชัดเจน การขาดรายละเอียดทำให้ฟ้องไม่ถูกต้อง
การที่ผู้ออกเช็คจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 นั้น คำฟ้องโจทก์ต้องบรรยายแสดงถึงการกระทำของจำเลยอันเป็นองค์ประกอบความผิดสำคัญเบื้องต้นว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อคำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายข้อความดังกล่าวไว้ให้ครบถ้วนชัดแจ้ง คงบรรยายฟ้องมีสาระสำคัญเพียงว่า จำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้แต่มิได้ระบุให้ชัดว่าเป็นหนี้อะไร บังคับตามกฎหมายได้หรือไม่เพียงใด ทั้งไม่ปรากฏว่ามีสัญญากู้ระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสี่แนบท้ายฟ้องแต่ประการใด จึงเป็นคำฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดไม่อาจฟังว่าจำเลยกระทำความผิดตามที่โจทก์ขอให้ลงโทษ ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3จะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจฟังลงโทษตามฟ้องได้ ต้องยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2385/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์มรดกยังไม่แบ่ง - สิทธิใช้ประโยชน์ - อายุความ - อำนาจฟ้อง - การบังคับคดี
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งจำเลยมีสิทธิใช้ทรัพย์ดังกล่าวในฐานะเจ้าของรวมได้จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวว่าที่พิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกและคดีขาดอายุความแล้ว ดังนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คำขอบังคับตามคำฟ้องโจทก์ย่อมเป็นอันตกไป การจะวินิจฉัยว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ดังที่จำเลยฎีกามาฝ่ายเดียวจึงไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป และประเด็นตามฎีกาของจำเลยในข้อที่ว่าศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยเป็นการไม่ชอบนั้นหรือไม่ก็ไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2385/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์มรดกยังไม่แบ่ง-อายุความ-อำนาจฟ้อง: ศาลฎีกาพิพากษากลับให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งจำเลยมีสิทธิใช้ทรัพย์ดังกล่าวในฐานะเจ้าของรวมได้จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวว่าที่พิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกและคดีขาดอายุความแล้วดังนี้เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คำขอบังคับตามคำฟ้องโจทก์ย่อมเป็นอันตกไปการจะวินิจฉัยว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ดังที่จำเลยฎีกามาฝ่ายเดียวจึงไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปและประเด็นตามฎีกาของจำเลยในข้อที่ว่าศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยเป็นการไม่ชอบนั้นหรือไม่ก็ไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2385/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีมรดกและการยกข้อจำกัดการวินิจฉัยของศาล
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งจำเลยมีสิทธิใช้ทรัพย์ดังกล่าวในฐานะเจ้าของรวมได้ จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวว่าที่พิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกและคดีขาดอายุความแล้ว ดังนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คำขอบังคับตามคำฟ้องโจทก์ย่อมเป็นอันตกไป การจะวินิจฉัยว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ดังที่จำเลยฎีกามาฝ่ายเดียวจึงไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป และประเด็นตามฎีกาของจำเลยในข้อที่ว่าศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยเป็นการไม่ชอบนั้นหรือไม่ ก็ไม่จำต้องวินิจฉัย