พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8743/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีประกันภัย: หนังสือมอบอำนาจทั่วไปเพียงพอและไม่จำกัดเฉพาะการขออนุญาตประกอบธุรกิจ
โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิจากบริษัท จ. และบริษัท อ. ผู้เอาประกันทั้งสองมาเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย แม้โจทก์จะนำค่าเสียหาย และดอกเบี้ยที่ผู้เอาประกันแต่ละรายมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยทั้งสอง มารวมและนำมาเป็นทุนทรัพย์ในการฟ้องร้องจำเลยก็ตาม แต่สิทธิ ของโจทก์มีมูลมาจากสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันสองรายซึ่งแยกต่างหากจากกันได้ การคิดทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงต้องแยกพิจารณา ตามสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันแต่ละรายไป
หนังสือมอบอำนาจมิได้เจาะจงว่า ให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจกระทำการแทนผู้มอบอำนาจเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น ผู้รับมอบอำนาจ จึงมีอำนาจกระทำการใด ๆ ก็ได้ภายในขอบเขตที่ผู้มอบอำนาจให้ไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 801 และแม้โจทก์จะใช้ หนังสือมอบอำนาจกระทำการอย่างอื่นแล้วก็ตาม ก็ไม่มีกฎหมายใด ห้ามมิให้นำมาใช้ฟ้องคดีนี้อีก
หนังสือมอบอำนาจมิได้เจาะจงว่า ให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจกระทำการแทนผู้มอบอำนาจเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น ผู้รับมอบอำนาจ จึงมีอำนาจกระทำการใด ๆ ก็ได้ภายในขอบเขตที่ผู้มอบอำนาจให้ไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 801 และแม้โจทก์จะใช้ หนังสือมอบอำนาจกระทำการอย่างอื่นแล้วก็ตาม ก็ไม่มีกฎหมายใด ห้ามมิให้นำมาใช้ฟ้องคดีนี้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8743/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีรับช่วงสิทธิ, ทุนทรัพย์พิพาท, การห้ามฎีกาข้อเท็จจริง, หนังสือมอบอำนาจ
ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 41
โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิจากบริษัท จ. และบริษัท อ. ผู้เอาประกันมาเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย แม้โจทก์จะนำค่าเสียหายและดอกเบี้ยที่ผู้เอาประกันแต่ละรายมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยทั้งสองมารวม และนำมาเป็นทุนทรัพย์ในการฟ้องร้องจำเลยก็ตาม แต่สิทธิของโจทก์มีมูลมาจากสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันสองรายซึ่งแยกต่างหากจากกันได้ การคิดทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงต้องแยกพิจารณาตามสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันแต่ละรายไป
จำเลยฎีกาในประเด็นเรื่องค่าเสียหายว่า ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการคำนวณค่าเสียหายตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 จะได้จำนวนค่าเสียหายสูงกว่าค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องจากจำเลยทั้งสองนั้น ไม่ถูกต้อง ทั้งโจทก์มิได้บรรยายมาในฟ้องและมิได้นำสืบมาในชั้นพิจารณาว่า สินค้าพิพาทมีมูลค่า ณ ท่าปลายทางเท่าไร จึงไม่อาจคำนวณค่าเสียหายตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการกำหนดค่าเสียหาย ทั้งยังเป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ข้อความในสำเนาหนังสือมอบอำนาจมิได้เจาะจงว่า ให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจกระทำการแทนผู้มอบอำนาจเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น ผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจกระทำการใด ๆ ก็ได้ภายในขอบเขตที่ผู้มอบอำนาจให้ไว้ซึ่งรวมทั้งการเป็นโจทก์ฟ้องร้องคดีนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 801 และแม้โจทก์จะใช้หนังสือมอบอำนาจกระทำการอย่างอื่นแล้วก็ตาม ก็ไม่มีกฎหมายใดห้ามมิให้นำมาใช้ฟ้องคดีนี้อีก
โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิจากบริษัท จ. และบริษัท อ. ผู้เอาประกันมาเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย แม้โจทก์จะนำค่าเสียหายและดอกเบี้ยที่ผู้เอาประกันแต่ละรายมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยทั้งสองมารวม และนำมาเป็นทุนทรัพย์ในการฟ้องร้องจำเลยก็ตาม แต่สิทธิของโจทก์มีมูลมาจากสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันสองรายซึ่งแยกต่างหากจากกันได้ การคิดทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงต้องแยกพิจารณาตามสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันแต่ละรายไป
จำเลยฎีกาในประเด็นเรื่องค่าเสียหายว่า ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการคำนวณค่าเสียหายตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 จะได้จำนวนค่าเสียหายสูงกว่าค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องจากจำเลยทั้งสองนั้น ไม่ถูกต้อง ทั้งโจทก์มิได้บรรยายมาในฟ้องและมิได้นำสืบมาในชั้นพิจารณาว่า สินค้าพิพาทมีมูลค่า ณ ท่าปลายทางเท่าไร จึงไม่อาจคำนวณค่าเสียหายตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการกำหนดค่าเสียหาย ทั้งยังเป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ข้อความในสำเนาหนังสือมอบอำนาจมิได้เจาะจงว่า ให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจกระทำการแทนผู้มอบอำนาจเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น ผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจกระทำการใด ๆ ก็ได้ภายในขอบเขตที่ผู้มอบอำนาจให้ไว้ซึ่งรวมทั้งการเป็นโจทก์ฟ้องร้องคดีนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 801 และแม้โจทก์จะใช้หนังสือมอบอำนาจกระทำการอย่างอื่นแล้วก็ตาม ก็ไม่มีกฎหมายใดห้ามมิให้นำมาใช้ฟ้องคดีนี้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8176/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของเจ้าหน้าที่การเงิน: โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์
จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่การเงินการบัญชีผู้รับผิดชอบเก็บรักษาเงินต่าง ๆ ของโจทก์ร่วม เมื่อคณะกรรมการของโจทก์ร่วมอนุมัติให้สมาชิกกู้เงินแล้วแต่ยังไม่ได้ส่งมอบเงินให้แก่สมาชิก หรือเงินกู้ตามสัญญากู้ใหม่ซึ่งจะต้องหักเงินบางส่วนชำระหนี้เก่าที่ยังค้างชำระอยู่ รวมทั้งเงินของสมาชิกผู้ขอลาออกจากสมาชิกโจทก์ร่วม ซึ่งโจทก์ร่วมจะต้องหักเงินของสมาชิกใช้หนี้ให้เสร็จสิ้นก่อนจะอนุมัติให้ลาออก เงินเหล่านี้ล้วนยังเป็นกรรมสิทธิ์และอยู่ในความครอบครองของโจทก์ร่วม กรรมสิทธิ์ในเงินดังกล่าวยังมิได้โอนไปยังสมาชิกของโจทก์ร่วมเพราะยังมิได้มีการส่งมอบเงินดังกล่าวให้แก่กันโดยชอบ เมื่อจำเลยยักยอกเงินดังกล่าวไป โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8176/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของเจ้าหน้าที่สหกรณ์ การเป็นผู้เสียหายและอำนาจร้องทุกข์
จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่การเงินการบัญชีผู้รับผิดชอบเก็บรักษาเงินต่าง ๆของสหกรณ์ออมทรัพย์โจทก์ร่วม เมื่อคณะกรรมการของโจทก์ร่วมอนุมัติให้สมาชิกกู้เงินแล้ว แต่ยังไม่ได้ส่งมอบเงินให้แก่สมาชิก หรือเงินกู้ ตามสัญญากู้ใหม่ซึ่งจะต้องหักเงินบางส่วนชำระหนี้เก่าที่ยังค้างชำระอยู่รวมทั้งเงินของสมาชิกผู้ขอลาออกจากสมาชิกโจทก์ร่วมซึ่งโจทก์ร่วมจะต้องหักเงินของสมาชิกใช้หนี้ให้เสร็จสิ้นก่อนจะอนุมัติให้ลาออกเงินเหล่านี้ล้วนยังเป็นกรรมสิทธิ์และอยู่ในความครอบครองของโจทก์ร่วมอยู่ กรรมสิทธิ์ในเงินดังกล่าวยังมิได้โอนไปยังสมาชิกของโจทก์ร่วมเพราะยังมิได้มีการส่งมอบเงินดังกล่าวให้แก่กันโดยชอบ เมื่อจำเลยยักยอกเงินดังกล่าวไป โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7944/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลอนุญาตถอนฟ้อง & อำนาจฟ้อง: พิจารณาความสุจริต, ผลเสียคู่ความ, พยานหลักฐานเพียงพอ
แม้โจทก์จะมีสิทธิขอถอนฟ้องในเวลาใดก็ได้ก่อนศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษา แต่การที่ศาลดังกล่าวจะมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่ย่อมเป็นดุลพินิจของศาล โดยพิจารณาจากพฤติการณ์และ เหตุผลทั่วๆไปในคดี รวมทั้งพิจารณาถึงความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์และผลได้ผลเสียของคู่ความทุกฝ่าย เมื่อโจทก์ขอถอนฟ้องคดีนี้เพราะโจทก์เข้าใจว่าจะต้องแพ้คดี ซึ่งหากศาลพิพากษาให้โจทก์แพ้คดีแล้ว นอกจากโจทก์จะไม่ได้ค่าธรรมเนียมศาลที่ได้ชำระไว้คืนแล้ว ยังอาจจะต้องรับผิดชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมให้แก่จำเลยทั้งสามอีกด้วย ดังนั้นการขอถอนฟ้องของโจทก์จึงมิได้เป็นไปโดยสุจริต อาจทำให้จำเลยเสียเปรียบ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศกลางไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องนั้นเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้ว
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 104 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมานั้นเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ไว้เป็นอันดับแรก ซึ่งศาลต้องหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยก่อนประเด็น ข้อพิพาทข้ออื่น เมื่อทั้งโจทก์และจำเลยต่างก็ได้อ้างสำนวนคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางซึ่งเป็นมูลคดีเดียวกันมาเป็นพยานของตน และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็เห็นว่าข้อเท็จจริงในคดีนี้และข้อเท็จจริงในคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งเพียงพอให้รับฟังได้เป็นยุติ และเพียงพอในการวินิจฉัยปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ซึ่งจะทำให้คดีเสร็จไปได้โดยไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทข้ออื่นอีกต่อไป ศาลย่อมมีอำนาจงดสืบพยานและพิพากษาคดีไปได้
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 104 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมานั้นเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ไว้เป็นอันดับแรก ซึ่งศาลต้องหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยก่อนประเด็น ข้อพิพาทข้ออื่น เมื่อทั้งโจทก์และจำเลยต่างก็ได้อ้างสำนวนคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางซึ่งเป็นมูลคดีเดียวกันมาเป็นพยานของตน และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็เห็นว่าข้อเท็จจริงในคดีนี้และข้อเท็จจริงในคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งเพียงพอให้รับฟังได้เป็นยุติ และเพียงพอในการวินิจฉัยปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ซึ่งจะทำให้คดีเสร็จไปได้โดยไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทข้ออื่นอีกต่อไป ศาลย่อมมีอำนาจงดสืบพยานและพิพากษาคดีไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7944/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การงดสืบพยาน, คำพิพากษาศาล: ศาลมีอำนาจงดสืบพยานและพิพากษาคดีได้หากพยานหลักฐานเพียงพอและเชื่อมโยงกับประเด็นข้อพิพาท
แม้โจทก์จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอถอนฟ้องคดีของตนในเวลาใดก็ได้ก่อนศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาก็ตามแต่การที่ศาลดังกล่าวจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่ย่อมเป็นดุลพินิจ ของศาลโดยพิจารณาจากพฤติการณ์และเหตุผลทั่ว ๆ ไปในคดี รวมทั้ง พิจารณาถึงความสุจริต ในการดำเนินคดีของโจทก์ และผลได้ผลเสียของ คู่ความทุกฝ่ายด้วย การที่โจทก์ขอถอนฟ้องคดีเพราะโจทก์เข้าใจว่าโจทก์จะต้องแพ้คดีซึ่งทนายโจทก์ย่อมทราบดีว่า หากศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์ แพ้คดีแล้ว นอกจากโจทก์จะไม่ได้ค่าธรรมเนียมศาลที่ได้ชำระไว้คืนแล้ว ยังอาจจะต้องรับผิดชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมให้แก่จำเลยทั้งสามอีกด้วย พฤติการณ์การขอถอนฟ้องของโจทก์จึงมิได้เป็นไปโดยสุจริตอาจทำให้ จำเลยเสียเปรียบ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องนั้นจึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้ว
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539มาตรา 26 กำหนดให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมานั้นเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติ ได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ไว้เป็นอันดับแรก ซึ่งศาลต้องหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยก่อนประเด็นข้อพิพาทข้ออื่น เมื่อทั้ง โจทก์และจำเลยทั้งสามต่างก็ได้อ้าง สำนวนคดีแพ่งก่อนของ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ซึ่งเป็นมูลคดีเดียวกันมาเป็นพยานของตน และศาลได้มีคำสั่งให้รอการพิจารณาคดีนี้ไว้เพื่อรอฟังผลคดีดังกล่าวต่อมาเมื่อคดีดังกล่าวมีคำพิพากษาแล้วและศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ เห็นว่า ข้อเท็จจริงในคดีนี้และข้อเท็จจริงในคดีแพ่งก่อนเพียงพอให้รับฟัง ได้เป็นยุติและเพียงพอในการวินิจฉัยปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ซึ่งจะทำให้คดีเสร็จไปได้โดยไม่จำต้องวินิจฉัยถึงประเด็นข้อพิพาทข้ออื่น อีกต่อไป ศาลก็ย่อมมีอำนาจงดสืบพยานและพิพากษาคดีไปได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539มาตรา 26 กำหนดให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมานั้นเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติ ได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ไว้เป็นอันดับแรก ซึ่งศาลต้องหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยก่อนประเด็นข้อพิพาทข้ออื่น เมื่อทั้ง โจทก์และจำเลยทั้งสามต่างก็ได้อ้าง สำนวนคดีแพ่งก่อนของ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ซึ่งเป็นมูลคดีเดียวกันมาเป็นพยานของตน และศาลได้มีคำสั่งให้รอการพิจารณาคดีนี้ไว้เพื่อรอฟังผลคดีดังกล่าวต่อมาเมื่อคดีดังกล่าวมีคำพิพากษาแล้วและศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ เห็นว่า ข้อเท็จจริงในคดีนี้และข้อเท็จจริงในคดีแพ่งก่อนเพียงพอให้รับฟัง ได้เป็นยุติและเพียงพอในการวินิจฉัยปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ซึ่งจะทำให้คดีเสร็จไปได้โดยไม่จำต้องวินิจฉัยถึงประเด็นข้อพิพาทข้ออื่น อีกต่อไป ศาลก็ย่อมมีอำนาจงดสืบพยานและพิพากษาคดีไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7887/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องและถอนอุทธรณ์หลังศาลพิพากษา และการไม่อนุญาตให้ส่งประเด็นไปสืบพยานต่างประเทศในคดีทรัพย์สินทางปัญญา
คำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ชอบที่ยื่นต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางในเวลาใดก็ได้ก่อนศาลนั้นพิพากษา การที่โจทก์มายื่นคำร้องขอถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 3 ที่ 4 เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ พิพากษาคดีไปแล้วย่อมเป็นการล่วงเลยเวลาที่จะอนุญาตให้ถอนฟ้องได้ ส่วนการที่จำเลยที่ 3ที่ 4 ขอถอนอุทธรณ์ อ้างว่าตนตกลงกับโจทก์ได้แล้วและโจทก์แถลงไม่คัดค้านการถอนอุทธรณ์ ย่อมมีเหตุสมควรอนุญาตให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 ถอนอุทธรณ์ได้
ข้อกำหนดของศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ อนุญาตให้คู่ความใช้วิธีบันทึกถ้อยคำแทนการนำตัวพยานซึ่งอยู่ต่างประเทศเสนอต่อศาลอยู่แล้ว การส่งประเด็นไปสืบพยานบุคคลซึ่งอยู่ต่างประเทศต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอนและใช้เวลานาน เมื่อจำเลยที่ 5 มีความประสงค์จะสืบตัวจำเลยที่ 3 เป็นพยานอีกเพียงปากเดียวแต่มิได้แสดงเหตุผลถึงความเป็นเป็นพิเศษในการที่จะขอส่งประเด็นไปสืบตัวจำเลยที่ 3ที่ดินแดนไต้หวันที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ส่งประเด็นและงดสืบพยานจำเลยที่ 5 จึงชอบแล้ว
ข้อกำหนดของศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ อนุญาตให้คู่ความใช้วิธีบันทึกถ้อยคำแทนการนำตัวพยานซึ่งอยู่ต่างประเทศเสนอต่อศาลอยู่แล้ว การส่งประเด็นไปสืบพยานบุคคลซึ่งอยู่ต่างประเทศต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอนและใช้เวลานาน เมื่อจำเลยที่ 5 มีความประสงค์จะสืบตัวจำเลยที่ 3 เป็นพยานอีกเพียงปากเดียวแต่มิได้แสดงเหตุผลถึงความเป็นเป็นพิเศษในการที่จะขอส่งประเด็นไปสืบตัวจำเลยที่ 3ที่ดินแดนไต้หวันที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ส่งประเด็นและงดสืบพยานจำเลยที่ 5 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7591/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมของผู้ขนส่งและผู้รับประกันภัยทางทะเล กรณีสินค้าเสียหาย
พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 54 บัญญัติว่า ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดเพื่อการสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้า อันเป็นผลจากการใช้มาตรการต่าง ๆ ที่พึงกระทำเพื่อระงับอัคคีภัยหรือหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาผลเสียหายจากอัคคีภัย เว้นแต่ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องจะพิสูจน์ได้ว่า เป็นความผิดหรือประมาทเลินเล่อของ ผู้ขนส่ง? ในการใช้มาตรการดังกล่าว ดังนั้น ผู้ขนส่งจึงมีภาระการพิสูจน์ในเบื้องต้นว่า ได้ใช้มาตรการต่าง ๆ ที่พึงกระทำเพื่อระงับอัคคีภัยหรือหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาผลเสียหายจากอัคคีภัย เพื่อเป็นเหตุให้ไม่ต้องรับผิดใน ความเสียหายของสินค้า
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเรือเดินทะเลชื่อ ช. ประกอบกิจการรับขนของทางทะเลโดยมีบำเหน็จเป็นทางการค้าปกติเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 บริษัท ด. ได้ว่าจ้างจำเลยทั้งสองทำการขนส่งสินค้าทางทะเลโดยเรือ ช. แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ออกใบตราส่งสินค้าพิพาทแต่เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในการขนส่งสินค้าพิพาททางทะเลร่วมกับจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง โดยได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งสินค้าพิพาทจากเมืองฮูสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา มายังกรุงเทพมหานครย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งอื่นตามความหมายใน มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ตาม มาตรา 3 และ มาตรา 43 ถึง 45 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว
โจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้าพิพาทได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันแล้วจึงได้รับช่วงสิทธิในค่าเสียหายโดยชอบที่จะฟ้องคดีนี้และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยโดยมิต้องบอกกล่าวจำเลยที่ 1 และที่ 2
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเรือเดินทะเลชื่อ ช. ประกอบกิจการรับขนของทางทะเลโดยมีบำเหน็จเป็นทางการค้าปกติเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 บริษัท ด. ได้ว่าจ้างจำเลยทั้งสองทำการขนส่งสินค้าทางทะเลโดยเรือ ช. แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ออกใบตราส่งสินค้าพิพาทแต่เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในการขนส่งสินค้าพิพาททางทะเลร่วมกับจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง โดยได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งสินค้าพิพาทจากเมืองฮูสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา มายังกรุงเทพมหานครย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งอื่นตามความหมายใน มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ตาม มาตรา 3 และ มาตรา 43 ถึง 45 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว
โจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้าพิพาทได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันแล้วจึงได้รับช่วงสิทธิในค่าเสียหายโดยชอบที่จะฟ้องคดีนี้และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยโดยมิต้องบอกกล่าวจำเลยที่ 1 และที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7561/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาต้องกระทำต่อหน้าจำเลย การดำเนินกระบวนพิจารณาลับหลังจำเลยที่ไม่ได้รับอนุญาตเป็นโมฆะ
ในคดีอาญา การพิจารณาและสืบพยานไม่ว่าในชั้นสืบพยานโจทก์หรือพยานจำเลยจะต้องทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย เว้นแต่ศาลจะอนุญาตให้จำเลยไม่มาฟังการพิจารณาและการสืบพยานนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 ทวิ
เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานจำเลยโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ถือว่าจำเลยมีพฤติการณ์หลบหนี และให้ออกหมายจับจำเลยแล้วศาลชั้นต้นก็ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งอย่างใดลับหลังจำเลยได้อีกต่อไปการที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยให้ถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยานและเป็นอันหมดพยานจำเลย คดีเสร็จการพิจารณาและนัดฟังคำพิพากษากับได้มีคำพิพากษาคดีไป จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 172 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 ประกอบมาตรา 225 ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในขั้นตอนการสืบพยานจำเลยแล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานจำเลยโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ถือว่าจำเลยมีพฤติการณ์หลบหนี และให้ออกหมายจับจำเลยแล้วศาลชั้นต้นก็ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งอย่างใดลับหลังจำเลยได้อีกต่อไปการที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยให้ถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยานและเป็นอันหมดพยานจำเลย คดีเสร็จการพิจารณาและนัดฟังคำพิพากษากับได้มีคำพิพากษาคดีไป จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 172 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 ประกอบมาตรา 225 ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในขั้นตอนการสืบพยานจำเลยแล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7561/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาต้องเปิดเผยต่อจำเลย หากจำเลยหลบหนี ศาลไม่อาจดำเนินกระบวนการลับหลังได้
ในคดีอาญา การพิจารณาและสืบพยานไม่ว่าในชั้นสืบพยานโจทก์หรือพยานจำเลยจะต้องทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย เว้นแต่ศาลจะอนุญาตให้จำเลยไม่มาฟังการพิจารณาและการสืบพยานนั้นได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 172 ทวิ
เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานจำเลยโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ถือว่าจำเลยมีพฤติการณ์หลบหนี และให้ออกหมายจับจำเลยแล้วศาลชั้นต้นก็ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งอย่างใดลับหลังจำเลยได้อีกต่อไปการที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยให้ถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยานและเป็นอันหมดพยานจำเลย คดีเสร็จการพิจารณาและนัดฟังคำพิพากษา กับได้มีคำพิพากษาคดีไป จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 172 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 ประกอบมาตรา225 ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในขั้นตอนการสืบพยานจำเลยแล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานจำเลยโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ถือว่าจำเลยมีพฤติการณ์หลบหนี และให้ออกหมายจับจำเลยแล้วศาลชั้นต้นก็ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งอย่างใดลับหลังจำเลยได้อีกต่อไปการที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยให้ถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยานและเป็นอันหมดพยานจำเลย คดีเสร็จการพิจารณาและนัดฟังคำพิพากษา กับได้มีคำพิพากษาคดีไป จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 172 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 ประกอบมาตรา225 ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในขั้นตอนการสืบพยานจำเลยแล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี