พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7391/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อทางการค้าที่คล้ายคลึงกันจนทำให้เกิดความเข้าใจผิด และละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า
แม้คำว่า "เจ้าสาว" จะเป็นคำสามัญ แต่จำเลยเอาชื่อคำว่า "เจ้าสาว" มาใช้โดยจงใจให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าร้านของจำเลยคือร้านของโจทก์หรือเป็นสาขาหรือเกี่ยวข้องกับร้านของโจทก์ การกระทำของจำเลยย่อมทำให้โจทก์เสียหายเพราะโจทก์กับจำเลยดำเนินธุรกิจอย่างเดียวกันแม้มิได้อยู่ในทำเลละแวกเดียวกันลูกค้าที่นิยมในชื่อเสียงของร้านโจทก์อาจจะเข้าใจผิดไปตัดเย็บหรือซื้อชุดวิวาห์จากร้านของจำเลยอันเป็นการแย่งลูกค้าจากโจทก์ไปส่วนหนึ่งและหากร้านจำเลยตัดเย็บชุดวิวาห์มีคุณภาพไม่ดีหรือประกอบกิจการไม่เป็นที่พอใจแก่ลูกค้าก็อาจกระทบต่อชื่อเสียงของร้านโจทก์ให้ต้องเสื่อมเสียไปด้วยย่อมส่งผลต่อรายได้ของโจทก์ ดังนั้น การกระทำของจำเลยในพฤติการณ์ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำละเมิดสิทธิในการใช้นามที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18 และเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 44โจทก์จึงมีสิทธิขอให้จำเลยระงับการกระทำดังกล่าวได้ การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยนำคำว่า "เจ้าสาว" ซึ่งเป็นชื่อและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้ประกอบกิจการร้านจำหน่ายสินค้าของจำเลย โดยไม่มีสิทธิและเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์นั้น ตราบใดที่จำเลยยังคงใช้คำดังกล่าวอยู่จนถึงวันฟ้อง การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อเนื่องตลอดมา โจทก์มีสิทธิฟ้องให้จำเลยระงับการกระทำนั้นอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7384/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้เช็คพิพาทก่อนมีคำพิพากษา ทำให้คดีอาญาและหนี้สิ้นสุด
(นายกีรติ กาญจนรินทร์)
15 ก.พ.43ป.พ.พ.มาตรา 320, 328พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7
จำเลยนำเงินไปวางที่ศาลชั้นต้นเพื่อชำระให้แก่โจทก์ร่วมตามเช็คพิพาทบางส่วนและโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายได้ขอรับเงินไปแล้ว และในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยนำเงินตามจำนวนหนี้ที่เหลือดังกล่าวไปวางที่ศาลชั้นต้นเพื่อชำระให้แก่โจทก์ร่วม และโจทก์ร่วมได้ขอรับเงินจำนวนดังกล่าวไปโดยไม่ได้โต้แย้ง จึงถือได้ว่าหนี้ตามเช็คพิพาทได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับเช็คพิพาทย่อมระงับไป
15 ก.พ.43ป.พ.พ.มาตรา 320, 328พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7
จำเลยนำเงินไปวางที่ศาลชั้นต้นเพื่อชำระให้แก่โจทก์ร่วมตามเช็คพิพาทบางส่วนและโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายได้ขอรับเงินไปแล้ว และในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยนำเงินตามจำนวนหนี้ที่เหลือดังกล่าวไปวางที่ศาลชั้นต้นเพื่อชำระให้แก่โจทก์ร่วม และโจทก์ร่วมได้ขอรับเงินจำนวนดังกล่าวไปโดยไม่ได้โต้แย้ง จึงถือได้ว่าหนี้ตามเช็คพิพาทได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับเช็คพิพาทย่อมระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7263/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเหตุแก้ต่างใหม่ในศาลฎีกา และการแก้ไขโทษที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยให้การรับสารภาพผิดตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าจำเลยมีเจตนากระทำผิดตามฟ้อง ข้อที่จำเลยฎีกาว่า ด.เพื่อนจำเลยเป็นคนยัดเฮโรอีนของกลางใส่กระเป๋าจำเลย จากนั้นจำเลยเดินมาก็ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมพร้อมของกลาง จำเลยกระทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั้น ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คดีก่อนศาลพิพากษาลงโทษจำคุกแต่ให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด2 ปี คดีถึงที่สุด ดังนี้ จำเลยย่อมยังไม่ได้รับโทษจำคุก จึงไม่มีวันพ้นโทษที่จะถือเอาเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษจำเลยได้
การที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทเพิ่มโทษจำเลยมาโดยไม่ชอบ แม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225เป็นให้ยกคำขอให้เพิ่มโทษจำเลย
คดีก่อนศาลพิพากษาลงโทษจำคุกแต่ให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด2 ปี คดีถึงที่สุด ดังนี้ จำเลยย่อมยังไม่ได้รับโทษจำคุก จึงไม่มีวันพ้นโทษที่จะถือเอาเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษจำเลยได้
การที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทเพิ่มโทษจำเลยมาโดยไม่ชอบ แม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225เป็นให้ยกคำขอให้เพิ่มโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7263/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำเลยในคดียาเสพติด: เหตุผลทางกฎหมายและข้อจำกัดในการเพิ่มโทษซ้ำ
จำเลยให้การรับสารภาพผิดตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าจำเลยมีเจตนากระทำผิดตามฟ้อง ข้อที่จำเลยฎีกาว่า ด. เพื่อนจำเลยเป็นคนยัดเฮโรอีนของกลางใส่กระเป๋าจำเลย จากนั้นจำเลยเดินมาก็ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมพร้อมของกลาง จำเลยกระทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั้น ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คดีก่อนศาลพิพากษาลงโทษจำคุกแต่ให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี คดีถึงที่สุดดังนี้ จำเลยย่อมยังไม่ได้รับโทษจำคุก จึงไม่มีวันพ้นโทษที่จะถือเอาเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษจำเลยได้
การที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทเพิ่มโทษจำเลยมาโดยไม่ชอบ แม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 เป็นให้ยกคำขอให้เพิ่มโทษจำเลย
คดีก่อนศาลพิพากษาลงโทษจำคุกแต่ให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี คดีถึงที่สุดดังนี้ จำเลยย่อมยังไม่ได้รับโทษจำคุก จึงไม่มีวันพ้นโทษที่จะถือเอาเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษจำเลยได้
การที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทเพิ่มโทษจำเลยมาโดยไม่ชอบ แม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 เป็นให้ยกคำขอให้เพิ่มโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7263/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำเลยในคดียาเสพติด: ศาลฎีกาแก้ไขโทษที่ไม่ชอบ และวินิจฉัยข้อจำกัดการเพิ่มโทษจากคดีก่อน
จำเลยให้การรับสารภาพผิดตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าจำเลยมีเจตนากระทำผิดตามฟ้อง ข้อที่จำเลยฎีกาว่า ด. เพื่อนจำเลยเป็นคนยัดเฮโรอีนของกลางใส่กระเป๋าจำเลย จากนั้นจำเลยเดินมาก็ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมพร้อมของกลาง จำเลยกระทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั้น ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คดีก่อนศาลพิพากษาลงโทษจำคุกแต่ให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี คดีถึงที่สุดดังนี้ จำเลยย่อมยังไม่ได้รับโทษจำคุก จึงไม่มีวันพ้นโทษที่จะถือเอาเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษจำเลยได้
การที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทเพิ่มโทษจำเลยมาโดยไม่ชอบ แม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 เป็นให้ยกคำขอให้เพิ่มโทษจำเลย
คดีก่อนศาลพิพากษาลงโทษจำคุกแต่ให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี คดีถึงที่สุดดังนี้ จำเลยย่อมยังไม่ได้รับโทษจำคุก จึงไม่มีวันพ้นโทษที่จะถือเอาเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษจำเลยได้
การที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทเพิ่มโทษจำเลยมาโดยไม่ชอบ แม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 เป็นให้ยกคำขอให้เพิ่มโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7090/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินและประเด็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ศาลฎีกายกประเด็นสุจริตเนื่องจากไม่ได้กำหนดในชั้นชี้สองสถาน
ในชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นพิพาทไว้ว่าจำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริต การที่ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริตจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เมื่อคดีรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารพาณิชย์รุกล้ำที่ดินโจทก์จำเลยที่ 1 จึงต้องรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินโจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7090/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตและการรื้อถอนอาคาร ศาลวินิจฉัยนอกประเด็นหากไม่ได้กำหนดไว้
ในชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นพิพาทไว้ว่าจำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริต การที่ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริตจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เมื่อคดีรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างอาคารพาณิชย์รุกล้ำที่ดินโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินโจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6856/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการทรัพย์มรดก: การโอนที่ดินพิพาทเพื่อชำระหนี้มรดกและการแบ่งปันให้ทายาท
จำเลยทั้งสองในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกให้แก่ จ.ในราคา 30,000,000 บาท ฝ่ายผู้จะซื้อชำระราคาแล้ว1,500,000 บาท ส่วนที่เหลือจะชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์สัญญาจะซื้อขายดังกล่าวโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้รู้เห็น และยินยอมให้จำเลยทั้งสองทำสัญญาด้วย ต่อมา ว. กับพวกรวม 5 คน ทายาทของเจ้ามรดกฟ้องจำเลยทั้งสอง ขอแบ่งทรัพย์มรดก ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแบ่งมรดก ให้แก่ ว. กับพวกเป็นเงิน 12,328,712.70 บาท และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของจำนวนเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ถ้าจำเลยทั้งสองไม่ชำระให้เอาที่ดินพิพาท ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระแทน ซึ่งคดีดังกล่าวศาลฎีกา พิพากษาเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2531 ต่อมาวันที่ 22 พฤษภาคม2532 จ. ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายจำเลยทั้งสองกับ จ. ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยทั้งสองยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ฝ่ายผู้ซื้อ ตามสัญญาและยอมรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือ ศาลชั้นต้น พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุด และได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ฝ่ายผู้ซื้อแล้ว ดังนี้ เมื่อทรัพย์มรดก ของเจ้ามรดกคงเหลือที่ดินเพียงแปลงเดียวคือที่ดินพิพาท การที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกชำระเงินให้แก่ ว. กับพวกเป็นเงินประมาณ 22,000,000 บาทแต่จำเลยทั้งสองไม่มีทรัพย์มรดกเหลือเพียงพอจะชำระเงินให้แก่ ว.กับพวกและว. กับพวกก็จะบังคับคดีโดยนำที่ดินออกขายทอดตลาดซึ่งระหว่างนั้น จ. ผู้ซื้อก็ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายฉบับลงวันที่ 4 เมษายน 2524จำเลยทั้งสองจึงได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและยอมรับเงินค่าซื้อที่ดินส่วนที่เหลือและจำเลยทั้งสองได้นำเงินที่ได้ไปชำระแก่ ว. กับพวกแล้ว ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำการตามหน้าที่ ของผู้จัดการมรดกโดยชอบ เพราะหากให้ ว.กับพวกบังคับคดีโดยนำที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดก็อาจไม่ได้ราคาและอาจเกิดความเสียหายแก่ทายาทได้ ทั้งการที่จำเลยทั้งสอง ยอมปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายโดยโอนที่ดินพิพาทให้ แก่ ผู้ซื้อตามข้อสัญญา ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองปฏิบัติผิดหน้าที่แต่อย่างใด แม้ขณะโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยื่นฟ้องคดีนี้ ที่ดินพิพาทยังไม่ได้โอนไปยังบุคคลภายนอกยังเป็นมรดกที่จำเลยทั้งสองสามารถจะนำมาแบ่งปันแก่ทายาทได้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนี้ได้มีการโอนที่ดินพิพาทไปยังบุคคลภายนอกแล้วจึงไม่เป็นมรดกที่จะนำมาแบ่งแก่ทายาทได้อีก ตามคำขอท้ายฟ้องที่ ม. ได้รับมอบอำนาจจาก จ.ให้ฟ้องคดีนั้นระบุว่าขอให้บังคับจำเลยในคดีดังกล่าวโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ ซึ่งก็คือ ม. นั่นเอง ที่สัญญาประนีประนอมยอมความ ระบุว่าให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ ม. จึงตรงกับ คำขอท้ายฟ้อง เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายศาลย่อมพิพากษาตามยอมได้ประกอบการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทได้ทำตามสัญญา ประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม ทั้งคดีดังกล่าว ก็ถึงที่สุดแล้ว การโอนที่ดินพิพาทจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการโอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6856/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกและการบังคับตามสัญญาซื้อขาย: ศาลพิพากษาตามยอมได้เมื่อไม่ขัดกฎหมาย
จำเลยทั้งสองในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกให้แก่ จ.ในราคา 30,000,000 บาทฝ่ายผู้จะซื้อชำระราคาแล้ว 1,500,000 บาท ส่วนที่เหลือจะชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์สัญญาจะซื้อขายดังกล่าวโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้รู้เห็นและยินยอมให้จำเลยทั้งสองทำสัญญาด้วย ต่อมา ว.กับพวกรวม 5 คน ทายาทของเจ้ามรดกฟ้องจำเลยทั้งสองขอแบ่งทรัพย์มรดก ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแบ่งมรดกให้แก่ ว.กับพวกเป็นเงิน 12,328,712.70 บาท และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของจำนวนเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ถ้าจำเลยทั้งสองไม่ชำระให้เอาที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระแทน ซึ่งคดีดังกล่าวศาลฎีกาพิพากษาเมื่อวันที่7 ตุลาคม 2531 ต่อมาวันที่ 22 พฤษภาคม 2532 จ.ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขาย จำเลยทั้งสองกับ จ.ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยทั้งสองยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ฝ่ายผู้ซื้อตามสัญญาและยอมรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือ ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุด และได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ฝ่ายผู้ซื้อแล้ว ดังนี้ เมื่อทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกคงเหลือที่ดินเพียงแปลงเดียวคือที่ดินพิพาท การที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกชำระเงินให้แก่ ว.กับพวกเป็นเงินประมาณ 22,000,000 บาทแต่จำเลยทั้งสองไม่มีทรัพย์มรดกเหลือเพียงพอจะชำระเงินให้แก่ ว.กับพวก และว.กับพวกก็จะบังคับคดีโดยนำที่ดินออกขายทอดตลาดซึ่งระหว่างนั้น จ.ผู้ซื้อก็ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายฉบับลงวันที่ 4 เมษายน 2524 จำเลยทั้งสองจึงได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและยอมรับเงินค่าซื้อที่ดินส่วนที่เหลือและจำเลยทั้งสองได้นำเงินที่ได้ไปชำระแก่นางวันดีกับพวกแล้ว ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกโดยชอบ เพราะหากให้ ว.กับพวกบังคับคดีโดยนำที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดก็อาจไม่ได้ราคาและอาจเกิดความเสียหายแก่ทายาทได้ ทั้งการที่จำเลยทั้งสองยอมปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายโดยโอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ซื้อตามข้อสัญญา ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองปฏิบัติผิดหน้าที่แต่อย่างใด
แม้ขณะโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยื่นฟ้องคดีนี้ ที่ดินพิพาทยังไม่ได้โอนไปยังบุคคลภายนอกยังเป็นมรดกที่จำเลยทั้งสองสามารถจะนำมาแบ่งปันแก่ทายาทได้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนี้ได้มีการโอนที่ดินพิพาทไปยังบุคคลภายนอกแล้ว จึงไม่เป็นมรดกที่จะนำมาแบ่งแก่ทายาทได้อีก
ตามคำขอท้ายฟ้องที่ ม.ได้รับมอบอำนาจจาก จ.ให้ฟ้องคดีนั้นระบุว่าขอให้บังคับจำเลยในคดีดังกล่าวโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ซึ่งก็คือ ม.นั่นเอง ที่สัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่าให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ ม.จึงตรงกับคำขอท้ายฟ้อง เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายศาลย่อมพิพากษาตามยอมได้ ประกอบการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทได้ทำตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม ทั้งคดีดังกล่าวก็ถึงที่สุดแล้ว การโอนที่ดินพิพาทจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการโอน
แม้ขณะโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยื่นฟ้องคดีนี้ ที่ดินพิพาทยังไม่ได้โอนไปยังบุคคลภายนอกยังเป็นมรดกที่จำเลยทั้งสองสามารถจะนำมาแบ่งปันแก่ทายาทได้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนี้ได้มีการโอนที่ดินพิพาทไปยังบุคคลภายนอกแล้ว จึงไม่เป็นมรดกที่จะนำมาแบ่งแก่ทายาทได้อีก
ตามคำขอท้ายฟ้องที่ ม.ได้รับมอบอำนาจจาก จ.ให้ฟ้องคดีนั้นระบุว่าขอให้บังคับจำเลยในคดีดังกล่าวโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ซึ่งก็คือ ม.นั่นเอง ที่สัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่าให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ ม.จึงตรงกับคำขอท้ายฟ้อง เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายศาลย่อมพิพากษาตามยอมได้ ประกอบการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทได้ทำตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม ทั้งคดีดังกล่าวก็ถึงที่สุดแล้ว การโอนที่ดินพิพาทจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการโอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6855/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำพินัยกรรมหลีกเลี่ยงข้อห้ามโอนทรัพย์สิน และเจตนาทุจริตเพื่อขอใบอนุญาต
ห. เป็นเจ้าของที่ดินสองแปลง แปลงแรกมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี เว้นแต่ตกทอดทางมรดกตาม ป. ที่ดิน มาตรา 31 ห. ทำพินัยกรรมยกที่ดินแปลงแรกให้จำเลย 20 ไร่ ส่วนที่เหลือยกให้แก่ ถ. ภริยาของ ห. แปลงที่สองยกให้แก่จำเลย 4 ไร่ ส่วนที่เหลือยกให้แก่ ถ. การที่ ห. ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้จำเลยตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ตกลงซื้อขายซึ่งเป็นเจตนาอันแท้จริงของ ห. ผู้ทำพินัยกรรม พินัยกรรมของ ห. ในส่วนของที่ดินแปลงที่สองซึ่งไม่มีข้อกำหนดห้ามโอนจึงมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ จำเลยจึงมีสิทธิขอรับโอนที่ดินแปลงนี้ในฐานะผู้รับพินัยกรรมได้ ส่วนข้อกำหนดพินัยกรรมที่ ห. ยกที่ดินแปลงแรกให้แก่จำเลยนั้น ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 วรรคหนึ่ง กฎหมายมุ่งหมายที่จะให้ผู้ได้รับสิทธิในที่ดินได้มีที่ดินไว้ทำกินตลอดไปถึงลูกหลานหรือทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามกฎหมาย และเพื่อป้องกันมิให้ผู้ได้มาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินไปให้บุคคลอื่นได้โดยง่าย เมื่อมูลเหตุที่ ห. ทำพินัยกรรมสืบเนื่องมาจาก ห. ตกลงแบ่งขายที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่จำเลย เนื้อที่ 20 ไร่ และ 4 ไร่ ตามลำดับ โดยให้จำเลยปรับปรุงพื้นที่และสร้างอาคารเรียนเพื่อสร้างโรงเรียนได้ แต่ ห. ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยตามสัญญา เพราะที่ดินแปลงแรกมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 ทำให้จำเลยไม่อาจขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนได้ เพราะตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานแสดงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือสัญญาเช่าที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งโรงเรียนมีกำหนดไม่น้อยกว่า 10 ปี ดังนั้น เจ้าหน้าที่ที่ดินจึงแนะนำให้ทำสัญญาเช่ากัน หากเกรงว่าจะเกิดปัญหาก็ให้ทำพินัยกรรมไว้ ประกอบกับขณะนั้น ห. ป่วยเป็นโรคมะเร็งในลำไส้ซึ่งอาจจะทำให้เสียชีวิตในระยะเวลาอันสั้น จำเลยเองก็ทราบว่า ห. เป็นโรคดังกล่าว ฉะนั้น การที่ ห. ทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่จำเลยตามเนื้อที่ดินที่จะแบ่งขายให้แก่จำเลยโดยได้รับเงินค่าที่ดินจากจำเลยแล้ว ต่อมาจำเลยกับ ห. ไปทำสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวกันมีกำหนด 10 ปี โดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พฤติการณ์ดังกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นได้โดยชัดแจ้งว่า ห. และจำเลยจงใจหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอนตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 วรรคหนึ่ง โดย ห. ทำพินัยกรรมยกที่ดินแปลงแรกซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอน และที่ดินแปลงที่สองซึ่งไม่มีข้อกำหนดห้ามโอนให้แก่จำเลยตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ตกลงจะซื้อขายกัน เพื่อให้ มีผลเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินภายในกำหนดระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมาย เมื่อจำเลยร่วมรู้เห็นให้ ห. ทำพินัยกรรมเพื่อหวังผลได้กรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวมาเป็นหลักฐานประกอบการขอรับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน อันแสดงถึงความไม่สุจริตของจำเลย จึงถือได้ว่าการยกที่ดินแปลงแรกให้แก่จำเลยตามพินัยกรรมมีวัตถุประสงค์เป็นการฝ่าฝืนบทกฎหมายดังกล่าว ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
ในชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แล้วว่า ห. ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้จำเลยหรือไม่ และพินัยกรรมมีผลบังคับได้เพียงใด ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงอยู่ในประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว การที่ศาลจะยกบทกฎหมายเรื่องใดขึ้นปรับแก่คดี ย่อมเป็นไปตามข้อเท็จจริงที่ได้จากการพิจารณา ที่ศาลล่างทั้งสองยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงชอบแล้ว
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกที่ดินคืนทั้งสองแปลงคืนจากจำเลย เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมในส่วนของที่ดินแปลงแรกไม่เป็นผลเพราะตกเป็นโมฆะ จำเลยย่อมมิใช่เป็นทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรมของ ห. ผู้ตาย จึงอ้างอายุความมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 และ 1755 มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ ทั้งโจทก์ฟ้องว่าพินัยกรรมปลอม มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งผู้ทำพินัยกรรมได้กระทำโดยสำคัญผิด ถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1708 และ 1709 จึงไม่อยู่ในบังคับของอายุความตามมาตรา 1710 ดังนั้น คดีของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่ขาดอายุความ แต่คดีโจทก์สำหรับที่ดินแปลงที่สองนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยมีสิทธิขอรับโอนที่ดินดังกล่าวในฐานะผู้รับพินัยกรรม โจทก์ซึ่งมิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมจึงเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกที่ดินดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1608 วรรคท้าย กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินแปลงที่สองขาดอายุความหรือไม่อีก เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
ในชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แล้วว่า ห. ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้จำเลยหรือไม่ และพินัยกรรมมีผลบังคับได้เพียงใด ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงอยู่ในประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว การที่ศาลจะยกบทกฎหมายเรื่องใดขึ้นปรับแก่คดี ย่อมเป็นไปตามข้อเท็จจริงที่ได้จากการพิจารณา ที่ศาลล่างทั้งสองยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงชอบแล้ว
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกที่ดินคืนทั้งสองแปลงคืนจากจำเลย เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมในส่วนของที่ดินแปลงแรกไม่เป็นผลเพราะตกเป็นโมฆะ จำเลยย่อมมิใช่เป็นทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรมของ ห. ผู้ตาย จึงอ้างอายุความมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 และ 1755 มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ ทั้งโจทก์ฟ้องว่าพินัยกรรมปลอม มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งผู้ทำพินัยกรรมได้กระทำโดยสำคัญผิด ถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1708 และ 1709 จึงไม่อยู่ในบังคับของอายุความตามมาตรา 1710 ดังนั้น คดีของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่ขาดอายุความ แต่คดีโจทก์สำหรับที่ดินแปลงที่สองนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยมีสิทธิขอรับโอนที่ดินดังกล่าวในฐานะผู้รับพินัยกรรม โจทก์ซึ่งมิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมจึงเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกที่ดินดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1608 วรรคท้าย กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินแปลงที่สองขาดอายุความหรือไม่อีก เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง