พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6602/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง: ศาลอุทธรณ์ตัดสินถูกต้องตามกฎหมาย แม้โจทก์อ้างยอดหนี้ไม่ตรงตามคำพิพากษาชั้นต้น
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองค้างชำระหนี้แก่โจทก์ นับถึงวันฟ้องคิดเป็นต้นเงิน 960,000 บาท และดอกเบี้ย 49,106.32 บาท รวมเป็นเงิน 1,009,106.32 บาทโจทก์อุทธรณ์ว่า นับถึงวันฟ้องจำเลยทั้งสองค้างชำระดอกเบี้ย 54,826.87 บาท เมื่อรวมกับต้นเงิน 960,000 บาท แล้ว เป็นเงินทั้งสิ้น 1,014,826.87 บาท ศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ โจทก์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าอุทธรณ์ของโจทก์ต้องห้ามอุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าวให้ยกคำร้อง ดังนี้ คำสั่งศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงหามีสิทธิฎีกาโต้แย้งปัญหาดังกล่าวอีกได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6602/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 และผลกระทบต่อสิทธิในการฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองค้างชำระหนี้แก่โจทก์ นับถึงวันฟ้องคิดเป็นต้นเงิน 960,000 บาท และดอกเบี้ย 49,106.32 บาท รวมเป็นเงิน1,009,106.32 บาท โจทก์อุทธรณ์ว่า นับถึงวันฟ้องจำเลยทั้งสองค้างชำระดอกเบี้ย54,826.87 บาท เมื่อรวมกับต้นเงิน 960,000 บาท แล้ว เป็นเงินทั้งสิ้น1,014,826.87 บาท ศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ โจทก์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าอุทธรณ์ของโจทก์ต้องห้ามอุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าวให้ยกคำร้อง ดังนี้ คำสั่งศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 236 วรรคหนึ่งโจทก์จึงหามีสิทธิฎีกาโต้แย้งปัญหาดังกล่าวอีกได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6478/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังหย่า: สัญญาเพื่อชำระหนี้ต่อบุตรมีผลผูกพันแม้ไม่ได้จดทะเบียน
ในบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่า กับบันทึกการหย่าซึ่งโจทก์จำเลยได้ทำขึ้นต่างหาก มีข้อความระบุว่าโจทก์จำเลยตกลงยินยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินรวม 7 แปลงให้แก่บุตรทั้งสอง โดยระบุหมายเลขที่ดินทุกแปลงไว้อย่างชัดแจ้งการที่จำเลยทำข้อตกลงดังกล่าวโดยโจทก์เป็นคู่สัญญาจึงเป็นการทำสัญญาเพื่อชำระหนี้แก่บุตรทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 วรรคหนึ่ง แม้จะไม่ได้นำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายย่อมผูกพันจำเลยให้ปฏิบัติตาม ข้อตกลงนั้น กรณีหาใช่การให้หรือคำมั่นว่าจะให้ อสังหาริมทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525,526 ไม่ ภายหลังที่โจทก์จำเลยทำบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าแล้ว จำเลยผิดสัญญาไม่ยอมไปโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่บุตรทั้งสอง โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยจัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่บุตรทั้งสอง ตามข้อสัญญาแต่จำเลยเพิกเฉย จึงถือว่าโจทก์ในฐานะ คู่สัญญาและได้กระทำการแทนบุตรทั้งสองซึ่งเป็น ผู้เยาว์ได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่จะถือเอาประโยชน์ จากข้อตกลงในสัญญานั้นแล้วจำเลยจะยกเหตุว่า บุตรทั้งสองยังไม่ได้แสดงเจตนามายังจำเลยเพื่อให้ ระงับสิทธินั้นหาได้ไม่ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 375
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6393/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้ไม่มีการจดทะเบียนการให้
ซ.ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่ ท.และ อ. พร้อมทั้งมอบโฉนดที่ดินให้ไว้ แต่มิได้จดทะเบียนการให้ ท.และ อ.ได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี แล้วจึงยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และในการดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนของศาล ไม่ปรากฏว่าโจทก์หรือทายาทอื่นของ ซ.ไปแถลงคัดค้านหรือโต้แย้งทั้งมีการประกาศนัดไต่สวนให้ผู้มีส่วนได้เสียทราบทั้งทางหนังสือพิมพ์และที่หน้าศาลและที่ต่าง ๆ อันเป็นการกระทำโดยเปิดเผยต่อสาธารณะชน ย่อมถือว่าทุกคนทราบประกาศดังกล่าวแล้ว นอกจากนี้คดีตามคำร้องขอของ ท.ที่ขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งดังกล่าวเป็นคำร้องขอฝ่ายเดียวที่ไม่มีคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งที่จะต้องส่งหมายเรียกให้แก้คดี การที่ศาลไต่สวนแล้วมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของท.โดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 จึงชอบด้วยกฎหมายและถือได้ว่า ท.ใช้สิทธิโดยสุจริตแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6393/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์โดยสุจริต และผลของการไม่โต้แย้งการแสดงกรรมสิทธิ์ต่อศาล
ซ.ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่ท.และอ. พร้อมทั้งมอบโฉนดที่ดินให้ไว้ แต่มิได้จดทะเบียนการให้ ท.และอ.ได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า10 ปี แล้วจึงยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและในการดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนของศาลไม่ปรากฏว่าโจทก์หรือทายาทอื่นของซ.ไปแถลงคัดค้านหรือโต้แย้งทั้งมีการประกาศนัดไต่สวนให้ผู้มีส่วนได้เสียทราบทั้งทางหนังสือพิมพ์และที่หน้าศาลและที่ต่าง ๆ อันเป็นการกระทำโดยเปิดเผยต่อสาธารณชนย่อมถือว่าทุกคนทราบประกาศดังกล่าวแล้ว นอกจากนี้คดีตามคำร้องขอของท. ที่ขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งดังกล่าวเป็นคำร้องขอฝ่ายเดียวที่ ไม่มีคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งที่จะต้องส่งหมายเรียกให้แก้คดี การที่ศาลไต่สวนแล้วมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของท. โดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 จึงชอบด้วยกฎหมายและถือได้ว่า ท. ใช้สิทธิโดยสุจริตแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6381/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินชำระค่าสินค้าล่วงหน้าไม่ใช่เบี้ยปรับ ศาลไม่มีอำนาจลดจำนวนได้
โจทก์ทำสัญญาซื้อส้มโอพันธุ์ทองดีจากจำเลย50,000 ผล ในราคา 1,700,000 บาท โจทก์ชำระเงินมัดจำให้จำเลย 150,000 บาท ในวันทำสัญญาอันเป็นการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายข้อ 3 ซึ่งกำหนดไว้ว่า "ผู้ซื้อจ่ายเงินมัดจำให้ 150,000 บาท(หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) ในวันที่ 23 สิงหาคม 2536Mr.TUIHUI จะมาดูของ ถ้ามีส้มโอ Mr.TUIHUIจะทำการโอนเงินจำนวน 1,000,000 บาท(หนึ่งล้านบาทถ้วน) ให้กับผู้ขายทันทีเมื่อส้มโอเข้าตู้คอนเทนเนอร์เรียบร้อยแล้ว เงินส่วนที่เหลือจะจ่ายเป็นเงินสดทันทีทั้งหมด" ดังนี้เงินจำนวน 1,000,000 บาทที่กำหนดไว้ในสัญญาดังกล่าวจึงเป็นเงินที่โจทก์จะต้องชำระหนี้ค่าส้มโอบางส่วนล่วงหน้าให้แก่จำเลยครั้นเมื่อโจทก์ได้ชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยแล้วจำเลยย่อมมีสิทธิริบเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมด้วยเงินมัดจำได้หากโจทก์ไม่มารับส้มโอตามกำหนดเวลาในสัญญาดังที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายข้อ 6 ที่ว่า"ถ้าผู้ซื้อไม่มารับส้มโอตามกำหนดเวลาในสัญญาผู้ขายมีสิทธิริบเงินจำนวน 1,150,000 บาท(หนึ่งล้านหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)" กรณีเงินจำนวน1,000,000 บาท ที่โจทก์ชำระหนี้ให้แก่จำเลยนั้นเป็นเงินที่โจทก์ชำระหนี้บางส่วนโดยมุ่งต่อผลกล่าวคือ ให้จำเลยจัดหาส้มโอที่มีคุณภาพตามจำนวนในสัญญามาขายให้แก่โจทก์ จึงเป็นเงินล่วงหน้าไม่ใช่ลักษณะเป็นเบี้ยปรับดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379แต่เป็นข้อตกลงตามสัญญาซื้อขายที่ว่า ในกรณีที่โจทก์ไม่มารับส้มโอภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ให้จำเลยมีสิทธิริบเงินค่าส้มโอบางส่วนที่โจทก์ได้ชำระไว้แล้วหาใช่เงินที่จำเลยมีสิทธิที่จะเรียกจากโจทก์หากโจทก์ผิดนัดผิดสัญญาอันจะถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา กล่าวคือเมื่อถึงกำหนดวันที่ส่งมอบส้มโอและจำเลยได้จัดหาส้มโอเพื่อส่งมอบแก่โจทก์ตามสัญญาแล้ว แต่โจทก์ไม่มารับส้มโอเพราะโจทก์ไม่สามารถจัดหาตู้ส่งสินค้าทางเรือมารับส้มโอตามสัญญาอีกทั้งยังบอกเลิกการซื้อส้มโอจากจำเลยเสียเช่นนี้จำเลยจึงมีสิทธิริบเงินจำนวนนี้ได้ตามสัญญาซื้อขายโจทก์ไม่มีสิทธิอันใดที่จะได้รับเงินจำนวนนี้แม้เพียงบางส่วนคืนจากจำเลย เมื่อเงินจำนวนนี้มิใช่เบี้ยปรับศาลย่อมไม่มีอำนาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6381/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการริบเงินมัดจำและเงินค่าส้มโอเมื่อผู้ซื้อผิดสัญญาซื้อขาย
โจทก์ทำสัญญาซื้อส้มโอพันธุ์ทองดีจากจำเลย 50,000 ผล ในราคา 1,700,000 บาท โจทก์ชำระเงินมัดจำให้จำเลย 150,000 บาท ในวันทำสัญญาอันเป็นการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายข้อ 3 ซึ่งกำหนดไว้ว่า "ผู้ซื้อจ่ายเงินมัดจำให้ 150,000 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) ในวันที่ 23 สิงหาคม 2536Mr.TU I HUI จะมาดูของ ถ้ามีส้มโอ Mr.TU I HUI จะทำการโอนเงินจำนวน1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) ให้กับผู้ขายทันทีเมื่อส้มโอเข้าตู้คอนเทนเนอร์เรียบร้อยแล้ว เงินส่วนที่เหลือจะจ่ายเป็นเงินสดทันทีทั้งหมด" ดังนี้เงินจำนวน1,000,000 บาท ที่กำหนดไว้ในสัญญาดังกล่าวจึงเป็นเงินที่โจทก์จะต้องชำระหนี้ค่าส้มโอบางส่วนล่วงหน้าให้แก่จำเลย ครั้นเมื่อโจทก์ได้ชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิริบเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมด้วยเงินมัดจำได้หากโจทก์ไม่มารับส้มโอตามกำหนดเวลาในสัญญา ดังที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายข้อ 6 ที่ว่า "ถ้าผู้ซื้อไม่มารับส้มโอตามกำหนดเวลาในสัญญา ผู้ขายมีสิทธิริบเงินจำนวน 1,150,000 บาท (หนึ่งล้านหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)" กรณีเงินจำนวน1,000,000 บาท ที่โจทก์ชำระหนี้ให้แก่จำเลยนั้นเป็นเงินที่โจทก์ชำระหนี้บางส่วนโดยมุ่งต่อผลกล่าวคือ ให้จำเลยจัดหาส้มโอที่มีคุณภาพตามจำนวนในสัญญามาขายให้แก่โจทก์ จึงเป็นเงินล่วงหน้าไม่ใช่ลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 379 แต่เป็นข้อตกลงตามสัญญาซื้อขายที่ว่า ในกรณีที่โจทก์ไม่มารับส้มโอภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ให้จำเลยมีสิทธิริบเงินค่าส้มโอบางส่วนที่โจทก์ได้ชำระไว้แล้ว หาใช่เงินที่จำเลยมีสิทธิที่จะเรียกจากโจทก์หากโจทก์ผิดนัดผิดสัญญาอันจะถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา กล่าวคือเมื่อถึงกำหนดวันที่ส่งมอบส้มโอและจำเลยได้จัดหาส้มโอเพื่อส่งมอบแก่โจทก์ตามสัญญาแล้ว แต่โจทก์ไม่มารับส้มโอเพราะโจทก์ไม่สามารถจัดหาตู้ส่งสินค้าทางเรือมารับส้มโอตามสัญญา อีกทั้งยังบอกเลิกการซื้อส้มโอจากจำเลยเสียเช่นนี้ จำเลยจึงมีสิทธิริบเงินจำนวนนี้ได้ตามสัญญาซื้อขาย โจทก์ไม่มีสิทธิอันใดที่จะได้รับเงินจำนวนนี้แม้เพียงบางส่วนคืนจากจำเลย เมื่อเงินจำนวนนี้มิใช่เบี้ยปรับ ศาลย่อมไม่มีอำนาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6366/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการก่อสร้างผิดกฎหมาย แม้จะโอนกรรมสิทธิ์แล้ว ยังคงต้องปฏิบัติตามคำพิพากษา
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีทั้งบทบัญญัติที่เป็นส่วนแพ่งและส่วนอาญา การกระทำความผิดของจำเลยแยกได้เป็นสองส่วน คือ ความรับผิดในทางแพ่ง คือ การรื้อถอน อาคารพิพาทซึ่งก่อสร้างฝ่าฝืนมาตรา 21 ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนหรือร้องขอต่อศาลให้บังคับให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างโดยฝ่าฝืนต่อ พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯมาตรา 42 แต่การที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในทางอาญา โดยไม่ได้ขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทซึ่งเป็นความรับผิดในทางแพ่ง เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทโดยผิดกฎหมายและเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาท จำเลยได้ทราบคำสั่งแล้วไม่ปฏิบัติตาม จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 21,65 และมาตรา 42,66 ทวิ แม้จำเลยจะได้โอนกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทไปให้บุคคลภายนอกก็ตาม ก็ไม่ทำให้ความรับผิดในทางอาญาของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป จำเลยยังคงต้องผูกพันตามคำพิพากษาชำระค่าปรับเป็นรายวันไปจนกว่าอาคารพิพาทจะได้มีการรื้อถอนเพราะหากยอมให้จำเลยไม่ต้องรับผิดเมื่อโอนอาคารพิพาทให้แก่บุคคลภายนอกคำพิพากษาก็จะไร้ผลบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6366/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการก่อสร้างอาคารผิดกฎหมาย แม้จะโอนกรรมสิทธิ์ไปแล้วก็ยังต้องรับผิดชอบ
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มีทั้งบทบัญญัติที่เป็นส่วนแพ่งและส่วนอาญา สำหรับบทบัญญัติในส่วนแพ่ง เช่น ขอให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารระงับการก่อสร้างหรือสั่งให้รื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคารโดยไม่ได้ขอให้ลงโทษจำเลยในทางอาญา
สำหรับกรณีคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทางอาญาตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โดยไม่ได้ฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทซึ่งเป็นบทบัญญัติในส่วนแพ่ง ดังนั้น เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งเป็นหนังสือแจ้งให้จำเลยระงับการก่อสร้างและรื้อถอนอาคารพิพาท แต่จำเลยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21, 65และมาตรา 42, 66 ทวิ และเป็นความผิดทางอาญาตามมาตรา 66 ทวิ วรรคสองซึ่งนอกจากต้องระวางโทษตามมาตรา 66 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว ผู้ฝ่าฝืนยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกินสามหมื่นบาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ดังนี้ การกระทำความผิดของจำเลยตามบทกฎหมายดังกล่าวจึงแยกได้เป็นสองส่วน ได้แก่ความรับผิดในทางแพ่ง คือ การรื้อถอนอาคารพิพาทซึ่งก่อสร้างฝ่าฝืนมาตรา 21 ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนหรือร้องขอต่อศาลให้บังคับให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างโดยฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ตามมาตรา 42
สำหรับกรณีของจำเลยนั้นเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในทางอาญา โดยไม่ได้ขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทซึ่งเป็นความรับผิดในทางแพ่ง ดังนั้น เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทโดยผิดกฎหมาย และเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาท จำเลยได้ทราบคำสั่งแล้วไม่ปฏิบัติตามจำเลยจึงมีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง แม้จำเลยจะได้โอนกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทไปให้บุคคลภายนอกก็ตาม ก็ไม่ทำให้ความรับผิดในทางอาญาของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป จำเลยยังคงต้องผูกพันตามคำพิพากษาไปจนกว่าอาคารพิพาทจะได้มีการรื้อถอน เพราะหากยอมให้จำเลยไม่ต้องรับผิดเมื่อโอนอาคารพิพาทให้แก่บุคคลภายนอก คำพิพากษาก็จะไร้ผลบังคับ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระค่าปรับรายวันจนกว่าจำเลยจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงชอบแล้ว
สำหรับกรณีคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทางอาญาตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โดยไม่ได้ฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทซึ่งเป็นบทบัญญัติในส่วนแพ่ง ดังนั้น เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งเป็นหนังสือแจ้งให้จำเลยระงับการก่อสร้างและรื้อถอนอาคารพิพาท แต่จำเลยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21, 65และมาตรา 42, 66 ทวิ และเป็นความผิดทางอาญาตามมาตรา 66 ทวิ วรรคสองซึ่งนอกจากต้องระวางโทษตามมาตรา 66 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว ผู้ฝ่าฝืนยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกินสามหมื่นบาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ดังนี้ การกระทำความผิดของจำเลยตามบทกฎหมายดังกล่าวจึงแยกได้เป็นสองส่วน ได้แก่ความรับผิดในทางแพ่ง คือ การรื้อถอนอาคารพิพาทซึ่งก่อสร้างฝ่าฝืนมาตรา 21 ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนหรือร้องขอต่อศาลให้บังคับให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างโดยฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ตามมาตรา 42
สำหรับกรณีของจำเลยนั้นเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในทางอาญา โดยไม่ได้ขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทซึ่งเป็นความรับผิดในทางแพ่ง ดังนั้น เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทโดยผิดกฎหมาย และเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาท จำเลยได้ทราบคำสั่งแล้วไม่ปฏิบัติตามจำเลยจึงมีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง แม้จำเลยจะได้โอนกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทไปให้บุคคลภายนอกก็ตาม ก็ไม่ทำให้ความรับผิดในทางอาญาของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป จำเลยยังคงต้องผูกพันตามคำพิพากษาไปจนกว่าอาคารพิพาทจะได้มีการรื้อถอน เพราะหากยอมให้จำเลยไม่ต้องรับผิดเมื่อโอนอาคารพิพาทให้แก่บุคคลภายนอก คำพิพากษาก็จะไร้ผลบังคับ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระค่าปรับรายวันจนกว่าจำเลยจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6340/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรรมการบริษัทต่อหนี้จากการซื้อขายวัสดุก่อสร้าง ทั้งในนามบริษัทและส่วนตัว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซื้อสินค้าจากโจทก์ โดยจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 รับรองต่อโจทก์ว่ายินยอมรับผิดชอบทั้งหมดในการสั่งซื้อสินค้าของโจทก์ จำเลยที่ 2ให้การว่า ได้ลงนามสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์จริง แต่มีเงื่อนไขและวงเงินในการสั่งซื้อ จำเลยที่ 2 จะรับผิดเฉพาะรายการสินค้า ที่สั่งซื้อเท่านั้น อีกทั้งโจทก์ไม่เคยแจ้งยอดหนี้หรือบอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง คดีจึงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ซื้อสินค้าในนามของจำเลยที่ 1 และยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวด้วย คดีจึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์ในนามจำเลยที่ 1 หรือในฐานะส่วนตัวอีก ศาลล่างวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 สั่งซื้อสินค้าในนามของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นเป็นการไม่ชอบ ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าจำเลยที่ 2 สั่งซื้อสินค้าในนามของจำเลยที่ 1 หรือในฐานะส่วนตัว จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อจำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายวัสดุและอุปกรณ์การก่อสร้างในฐานะกระทำแทนจำเลยที่ 1 และในฐานะส่วนตัว จำเลยที่ 1และที่ 2 ย่อมต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ และแม้ตามสัญญาซื้อขายวัสดุการก่อสร้างระบุจำนวนเงินไว้ 200,000 บาทแต่ในทางปฏิบัติระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 คู่สัญญาได้ซื้อขายวัสดุก่อสร้างเกินจำนวนเงินดังกล่าวตลอดมาแสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ถือว่าจำนวนเงินดังกล่าวเป็นเงื่อนไขสาระสำคัญในการจำกัดความรับผิด จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในเงินค่าสินค้าจำนวน376,479 บาท ตามที่รับสินค้าไว้