คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธรรมนูญ โชคชัยพิทักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5104/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า 'LOVEMAN' ทำให้เกิดความสับสนและละเมิดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "LOVEMAN" ของโจทก์ร่วม กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 ซึ่งใช้อักษรโรมันคำว่า "K LOVE MANDESIGN" ประดิษฐ์ขึ้นเป็นรูปครึ่งตัวคนสวมหมวกเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำเหมือนกัน และใช้อักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่เช่นเดียวกัน เครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างมีคำว่า "LOVE MAN" เหมือนกัน สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าทั้งสองดังกล่าวเป็นสินค้าชนิดเดียวกันคือเสื้อเชิ้ต แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมจะเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ที่เขียนขึ้นโดยมิได้ประดิษฐ์เป็นรูปครึ่งตัวคนสวมหมวกอย่างเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 และเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 มีอักษร "K" และคำว่า "DESIGN" กับประดิษฐ์ตัวอักษรคำว่า "DESIGN" ให้ใหญ่กว่าคำว่า "LOVEMAN" มาก แต่ก็ปรากฏตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าว่าอักษร "K" กับคำว่า "DESIGN" ซึ่งแปลว่า การออกแบบ เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายซึ่งจำเลยที่ 2 ได้แสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้อักษรและคำดังกล่าว สาระสำคัญในเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 จึงเป็นคำว่า "LOVE MAN" ที่เหลืออยู่ แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมจะเขียนตัวอักษรคำว่า "LOVE" ติดกับคำว่า "MAN" ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2วางตัวอักษรคำว่า "LOVE" อยู่บนคำว่า "MAN" ก็ตาม แต่ก็อ่านออกเสียงว่า"เลิฟแมน" เหมือนกัน เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมและของจำเลยที่ 2ใช้กับสินค้าเสื้อเชิ้ตเช่นเดียวกัน ประชาชนผู้ซื้อสินค้าดังกล่าวอาจเรียกสินค้าเสื้อเชิ้ตของโจทก์ร่วมและของจำเลยทั้งสองที่มีไว้เพื่อจำหน่ายว่า "เสื้อเลิฟแมน" เหมือนกันดังนี้ ประชาชนผู้ซื้อสินค้าย่อมเกิดความสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้านั้นได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 จึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายจนนับได้ว่าเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้าคำว่า "LOVEMAN" ของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนแล้ว
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าเสื้อเชิ้ตของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "LOVEMAN" ของโจทก์ร่วม โดยจำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าสินค้าเสื้อเชิ้ตนั้นมีเครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา110 (1) ประกอบด้วยมาตรา 109 และ ป.อ.มาตรา 83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5067/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าไปในบ้านหลังมีข้อตกลงคืนบ้าน ไม่ถือเป็นความผิดฐานบุกรุก
จำเลยทั้งสองเข้าไปในบ้านพิพาทตามที่ได้นัดหมายกับโจทก์ร่วมไว้ และได้รับความยินยอมจากโจทก์ร่วมด้วย จึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก เมื่อการที่จำเลยทั้งสองเข้าไปในตัวบ้านพิพาทโดยนัดหมายกับโจทก์ร่วมไว้ไม่เป็นการบุกรุกแม้จะได้ความว่ามีการตัดกระแสไฟฟ้าและถอดมิเตอร์ประปา กรณีก็ขาดองค์ประกอบของความผิด ตาม ป.อ.มาตรา 362 ซึ่งบัญญัติว่า "ฯลฯ หรือเข้าไปกระทำการใด ๆอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข ฯลฯ" จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก
โจทก์ร่วมเช่าบ้านจำเลยทั้งสองเพื่ออยู่อาศัย ต่อมาโจทก์ร่วมตกลงคืนบ้านพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสองแล้วตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2538 เหตุที่โจทก์ร่วมยังไม่ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบ้านพิพาททั้งหมดก็เนื่องจากจำเลยที่ 1ยังไม่ได้คืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยทั้งสองที่บุกรุกเข้าไปในบ้านพิพาทในวันที่ 29 สิงหาคม 2538 จึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกตามฟ้อง โดยไม่จำต้องวินิจฉัยในข้อที่ว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้กำลังประทุษร้ายผลักอกผู้เสียหายหรือไม่เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5067/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกเคหสถานและการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ เมื่อมีการตกลงคืนทรัพย์สินและขาดเจตนาบุกรุก
จำเลยทั้งสองเข้าไปในบ้านพิพาทตามที่ได้นัดหมายกับ โจทก์ร่วมไว้ และได้รับความยินยอมจากโจทก์ร่วมด้วยจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก เมื่อการที่จำเลยทั้งสองเข้าไปในตัวบ้านพิพาทโดยนัดหมายกับโจทก์ร่วมไว้ไม่เป็นการบุกรุกแม้จะได้ความว่ามีการตัดกระแสไฟฟ้าและถอดมิเตอร์ประปากรณีก็ขาดองค์ประกอบของความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362 ซึ่งบัญญัติว่า" ฯลฯ หรือเข้าไปกระทำการใด ๆอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข ฯลฯ" จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก โจทก์ร่วมเช่าบ้านจำเลยทั้งสองเพื่ออยู่อาศัย ต่อมาโจทก์ร่วมตกลงคืนบ้านพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสองแล้วตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2538 เหตุที่โจทก์ร่วมยังไม่ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบ้านพิพาททั้งหมดก็เนื่องจากจำเลยที่ 1ยังไม่ได้คืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยทั้งสองที่บุกรุกเข้าไปในบ้านพิพาทในวันที่ 29 สิงหาคม 2538จึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกตามฟ้อง โดยไม่จำต้องวินิจฉัยในข้อที่ว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้กำลังประทุษร้ายผลักอกผู้เสียหายหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4680/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำ: ศาลยังมิได้วินิจฉัยประเด็นเนื้อหาของคดีเดิม โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีใหม่ได้
คดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานโจทก์เพราะยื่นเกินกำหนด แต่กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ 5 ประเด็นและได้มีการสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยจนเสร็จกระบวนพิจารณา แล้วศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ ไม่เคลือบคลุม แต่ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยชอบเพราะโจทก์ไม่อาจนำพยานมาสืบได้ตามประเด็นข้อพิพาท และศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยในประเด็นข้อ 3 ถึงข้อ 5 จึงเป็นกรณีที่ศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากข้อเท็จจริง ฟังไม่ได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องโดยชอบเท่านั้น โดยยังไม่ได้ วินิจฉัยในประเด็นที่เป็นเนื้อหาแห่งคดีเกี่ยวกับหนี้สิน ระหว่างโจทก์และจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยในประเด็นแห่งคดี ดังกล่าวเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4680/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำ: ศาลยังไม่ได้วินิจฉัยเนื้อหาคดีเดิม จึงฟ้องได้อีก
คดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานโจทก์เพราะยื่นเกินกำหนด แต่กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ 5 ประเด็น และได้มีการสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยจนเสร็จกระบวนพิจารณา แล้วศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม แต่ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยชอบเพราะโจทก์ไม่อาจนำพยานมาสืบได้ตามประเด็นข้อพิพาท และศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยในประเด็นข้อ 3 ถึงข้อ 5 จึงเป็นกรณีที่ศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องโดยชอบเท่านั้น โดยยังไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นที่เป็นเนื้อหาแห่งคดีเกี่ยวกับหนี้สินระหว่างโจทก์และจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยในประเด็นแห่งคดีดังกล่าวเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4208/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดต้องได้ราคาเหมาะสม หากราคาต่ำกว่าที่ควร ศาลมีอำนาจเพิกถอนได้
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามคำสั่งศาลนั้นจะต้องขายให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่าที่สามารถจะประมูลขายได้ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดหรือศาลเห็นว่าราคาของผู้ประมูลสูงสุดในการประมูลครั้งนั้นต่ำไป เป็นราคาที่ไม่สมควร หรือควรที่จะได้ราคาสูงกว่านั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลอาจไม่อนุญาตให้ขายแล้วเลื่อนไปประกาศขายใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์พิพาทไว้เป็นเงิน186,025 บาท แต่ทรัพย์พิพาทอยู่ติดถนนสาธารณประโยชน์และอยู่ในทำเลที่ดิน แม้เจ้าพนักงานที่ดินจะกำหนดราคาประเมินทรัพย์พิพาทไว้จำนวน 123,320 บาท แต่ก็เป็นการประเมินเพื่อเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมหรือค่าภาษี จึงไม่ใช่ราคาที่แท้จริงทั้งทรัพย์พิพาททำประโยชน์แล้วโดยทำสวนยางมีต้นยางพารา ปลูกเต็มพื้นที่ และสามารถกรีดยางได้แล้ว ดังนั้นขณะขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงควรตั้งราคาขายขั้นต่ำเท่ากับราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประเมินไว้ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทให้ผู้คัดค้านไปในราคาเพียง 150,000 บาททั้งที่เป็นการขายทอดตลาดครั้งแรก และมีผู้ซื้อเพียงรายเดียวโดยไม่ปรากฏเหตุผลพิเศษที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องรีบด่วนขายไปในราคานี้ การขายทอดตลาดจึงส่อไปในทางรวบรัดและหากมีการ ประกาศขายใหม่จะมีผู้สู้ราคาสูงกว่าได้ เมื่อการอนุญาตให้ขาย ของเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาด ย่อมเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนมาตรา 513 ประกอบมาตรา 308 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ชอบที่ศาลจะสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ในกรณีที่ศาลสั่งปรับนายประกัน นายประกันย่อมตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา และผู้เป็นเจ้าหนี้คือแผ่นดิน แผ่นดินย่อมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับชำระเงินค่าขายทอดตลาดทรัพย์ของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ที่เป็นเจ้าของทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน ยังไม่ถือว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รับชำระเงิน เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งเงินค่าปรับที่ได้จากการขายทอดตลาด และจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายให้ศาลชั้นต้น เพื่อส่งเป็นรายได้แผ่นดินเมื่อเวลา 15 นาฬิกา โดยผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในวันเดียวกันเวลา 9.30 นาฬิกา จึงเป็นการยื่นคำร้องก่อนเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ถือได้ว่าการบังคับคดียังไม่เสร็จลง และผู้ร้องเพิ่งทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2538การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2538จึงไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่ทราบพฤติการณ์แห่งการฝ่าฝืนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสองผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4208/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ราคาต่ำกว่าเกณฑ์ และระยะเวลาในการยื่นคำร้องเพิกถอน
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามคำสั่งศาลนั้นจะต้องขายให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่าที่สามารถจะประมูลขายได้ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาด หรือศาลเห็นว่าราคาของผู้ประมูลสูงสุดในการประมูลครั้งนั้นต่ำไป เป็นราคาที่ไม่สมควร หรือควรที่จะได้ราคาสูงกว่านั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลอาจไม่อนุญาตให้ขายแล้วเลื่อนไปประกาศขายใหม่ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 513
เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์พิพาทไว้เป็นเงิน186,025 บาท แต่ทรัพย์พิพาทอยู่ติดถนนสาธารณประโยชน์และอยู่ในทำเลที่ดี แม้เจ้าพนักงานที่ดินจะกำหนดราคาประเมินทรัพย์พิพาทไว้จำนวน 123,320 บาท แต่ก็เป็นการประเมินเพื่อเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมหรือค่าภาษี จึงไม่ใช่ราคาที่แท้จริงทั้งทรัพย์พิพาททำประโยชน์แล้วโดยทำสวนยางมีต้นยางพาราปลูกเต็มพื้นที่ และสามารถกรีดยางได้แล้ว ดังนั้นขณะขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงควรตั้งราคาขายขั้นต่ำเท่ากับราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประเมินไว้ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทให้ผู้คัดค้านไปในราคาเพียง 150,000 บาท ทั้งที่เป็นการขายทอดตลาดครั้งแรก และมีผู้ซื้อเพียงรายเดียว โดยไม่ปรากฏเหตุผลพิเศษที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องรีบด่วนขายไปในราคานี้ การขายทอดตลาดจึงส่อไปในทางรวบรัดและหากมีการประกาศขายใหม่จะมีผู้สู้ราคาสูงกว่าได้ เมื่อการอนุญาตให้ขายของเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาดย่อมเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนมาตรา 513 ประกอบมาตรา 308 แห่ง ป.วิ.พ. ชอบที่ศาลจะสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง
ในกรณีที่ศาลสั่งปรับนายประกัน นายประกันย่อมตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา และผู้เป็นเจ้าหนี้คือแผ่นดิน แผ่นดินย่อมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับชำระเงินค่าขายทอดตลาดทรัพย์ของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน ยังไม่ถือว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รับชำระเงิน ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งเงินค่าปรับที่ได้จากการขายทอดตลาด และจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายให้ศาลชั้นต้น เพื่อส่งเป็นรายได้แผ่นดินเมื่อเวลา 15 นาฬิกา โดยผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในวันเดียวกันเวลา 9.30 นาฬิกา จึงเป็นการยื่นคำร้องก่อนเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ถือได้ว่าการบังคับคดียังไม่เสร็จลง และผู้ร้องเพิ่งทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2538 การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2538 จึงไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่ทราบพฤติการณ์แห่งการฝ่าฝืนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4207/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย่งสิทธิครอบครองที่ดิน: จำเลยเพียงแค่เสนอขอแบ่งที่ดินและรังวัด ไม่ถือเป็นการรบกวนการครอบครอง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยที่ 4และที่ 5 อ้างว่าเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มาพบโจทก์และพูดขอแบ่งที่ดินพิพาทจากโจทก์ แต่โจทก์ไม่ยินยอมต่อมาจำเลยที่ 2 สั่งการให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4และที่ 5 พร้อมกับเจ้าพนักงานตำรวจมาทำการรังวัดที่ดินพิพาทเป็นการแย่งสิทธิครอบครองโดยพลการ โจทก์เกรงกลัวอันตรายขอให้ห้ามจำเลยทั้งห้าและบริวารเข้าไปเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาทตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งห้าได้เข้าไปแย่งการครอบครองที่ดินของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกจำเลยทั้งห้ารบกวนการครอบครองที่จะเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งห้า เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4207/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง – การแย่งการครอบครอง – สิทธิโต้แย้ง – ความสงบเรียบร้อย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยที่ 4 และที่ 5อ้างว่าเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มาพบโจทก์และพูดขอแบ่งที่ดินพิพาทจากโจทก์ แต่โจทก์ไม่ยินยอม ต่อมาจำเลยที่ 2 สั่งการให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 พร้อมกับเจ้าพนักงานตำรวจมาทำการรังวัดที่ดินพิพาทเป็นการแย่งสิทธิครอบครองโดยพลการ โจทก์เกรงกลัวอันตราย ขอให้ห้ามจำเลยทั้งห้าและบริวารเข้าไปเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาท ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งห้าได้เข้าไปแย่งการครอบครองที่ดินของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกจำเลยทั้งห้ารบกวนการครอบครองที่จะเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งห้า เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4105/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท – การระงับสิทธิฟ้องคดีซ้ำ – การริบของกลาง
บทบัญญัติตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4) มุ่งหมายถึงการกระทำที่ก่อให้เกิดความผิดอันหนึ่ง ๆ ในคราวเดียวกัน หาได้หมายถึงฐานความผิดที่ขอให้ลงโทษไม่
เฮโรอีนจำนวนที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีนี้กับเฮโรอีนที่จำเลยที่ 2 มีไว้ในครอบครองตามคดีอาญาเรื่องก่อน เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในคราวเดียวกัน เป็นการกระทำกรรมเดียวกัน ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องคดีนี้ว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิตเฮโรอีนโดยแบ่งเฮโรอีนจากหลอดพลาสติกขนาดใหญ่จำนวน3 หลอด บรรจุในหลอดกาแฟที่ตัดเป็นท่อนสั้น ๆ จำนวน 5 หลอด และที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายก็เป็นเฮโรอีนจำนวนเดียวกับที่ฟ้องว่าจำเลยผลิต ดังนี้ เมื่อเฮโรอีนที่จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิตกับเฮโรอีนที่จำเลยทั้งสามมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนเดียวกันการกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามป.อ.มาตรา 90 หาเป็นความผิดฐานผลิตเฮโรอีนเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งไม่เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้กับการกระทำของจำเลยที่ 2 ในคดีก่อนเป็นการกระทำกรรมเดียวในวาระเดียวกันและศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2ไปแล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องที่ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4)
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้วินิจฉัยสั่งในเรื่องของกลางย่อมเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไข
เฮโรอีนของกลางเป็นทรัพย์สินที่ผู้ใดมีไว้เป็นความผิด ส่วนของกลางอื่นก็เป็นเครื่องมือที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานผลิตเฮโรอีนจึงเป็นทรัพย์ที่พึงริบ ตาม ป.อ.มาตรา 32, 33 (1)
of 30