พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2597/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน, อายุความ, ความรับผิดทางสัญญาซื้อขาย, การถอนฟ้อง, ผลกระทบต่อคดี
โจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นในเรื่องเดียวกับคดีนี้ ครั้นในวันที่ 30 สิงหาคม 2534ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องต่อมาวันที่ 1 ตุลาคม 2534 โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ใหม่ วันที่ 11 ตุลาคม 2534 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องว่า การที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยมิได้สอบถามจำเลยที่ 1ก่อนเป็นการไม่ชอบ ขอให้ศาลนำคดีขึ้นมาพิจารณาต่อไปศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ครั้นวันที่ 14 พฤศจิกายน2534 จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในคดีเดิมต่อศาลอุทธรณ์โดยอ้างว่าก่อนศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยก่อน จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีเดิมเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2534 จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงถึงที่สุด การที่จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 14พฤศจิกายน 2534 ซึ่งพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ไม่มีผลกระทบถึงคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและถึงที่สุดไปแล้วโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 1 ตุลาคม 2534 ซึ่งเป็นเวลาที่คดีเดิมถึงที่สุดไปแล้ว ไม่ได้อยู่ระหว่างพิจารณา คดีโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน ที่ดินที่จำเลยทั้งสองขายให้โจทก์นั้น ศาลฎีกาพิพากษาให้โอนไปเป็นของบุคคลอื่น จึงเป็นกรณีบุคคลอื่นมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อในอันที่จะครองทรัพย์สินโดยปกติสุข เพราะบุคคลนั้นมีสิทธิเหนือที่ดินที่ได้ซื้อขายกันอยู่ในเวลาซื้อขาย จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 475 จำเลยที่ 1 ผู้ขายเป็นคู่ความในคดีเดิม โจทก์ไม่ได้ประนีประนอมยอมความกับบุคคลภายนอกหรือยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง กรณีของโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 1จึงไม่ต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 481และมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30 สิทธิเรียกร้องของโจทก์เริ่มนับแต่วันที่4 เมษายน 2534 โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 1 ตุลาคม 2534คดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 1 จึงไม่ขาดอายุความ แต่จำเลยที่ 2นั้นปรากฏว่าไม่ได้เป็นคู่ความในคดีเดิม กรณีจึงต้องตามมาตรา 481 คดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 2 จึงขาดอายุความตามกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2597/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหลังถอนฟ้อง, การรับผิดในสัญญาซื้อขาย, และอายุความในการเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นในเรื่องเดียวกับคดีนี้ครั้นในวันที่ 30 สิงหาคม 2534 ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง ต่อมาวันที่ 1ตุลาคม 2534 โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ใหม่ วันที่ 11 ตุลาคม 2534จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องว่า การที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยมิได้สอบถามจำเลยที่ 1 ก่อนเป็นการไม่ชอบ ขอให้ศาลนำคดีขึ้นมาพิจารณาต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ครั้นวันที่ 14 พฤศจิกายน 2534 จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในคดีเดิมต่อศาลอุทธรณ์โดยอ้างว่าก่อนศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยก่อน จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ดังนี้เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีเดิมเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2534จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงถึงที่สุด การที่จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2534 ซึ่งพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 229 อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ไม่มีผลกระทบถึงคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 1 ตุลาคม 2534 ซึ่งเป็นเวลาที่คดีเดิมถึงที่สุดไปแล้ว ไม่ได้อยู่ระหว่างพิจารณา คดีโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
ที่ดินที่จำเลยทั้งสองขายให้โจทก์นั้น ศาลฎีกาพิพากษาให้โอนไปเป็นของบุคคลอื่น จึงเป็นกรณีบุคคลอื่นมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อในอันที่จะครองทรัพย์สินโดยปกติสุข เพราะบุคคลนั้นมีสิทธิเหนือที่ดินที่ได้ซื้อขายกันอยู่ในเวลาซื้อขาย จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 475
จำเลยที่ 1 ผู้ขายเป็นคู่ความในคดีเดิม โจทก์ไม่ได้ประนี-ประนอมยอมความกับบุคคลภายนอกหรือยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง กรณีของโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องตาม ป.พ.พ.มาตรา 481 และมีอายุความ10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 สิทธิเรียกร้องของโจทก์เริ่มนับแต่วันที่ 4เมษายน 2534 โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 1 ตุลาคม 2534 คดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 1จึงไม่ขาดอายุความ แต่จำเลยที่ 2 นั้นปรากฏว่าไม่ได้เป็นคู่ความในคดีเดิม กรณีจึงต้องตามมาตรา 481 คดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 2 จึงขาดอายุความตามกฎหมายดังกล่าว
ที่ดินที่จำเลยทั้งสองขายให้โจทก์นั้น ศาลฎีกาพิพากษาให้โอนไปเป็นของบุคคลอื่น จึงเป็นกรณีบุคคลอื่นมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อในอันที่จะครองทรัพย์สินโดยปกติสุข เพราะบุคคลนั้นมีสิทธิเหนือที่ดินที่ได้ซื้อขายกันอยู่ในเวลาซื้อขาย จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 475
จำเลยที่ 1 ผู้ขายเป็นคู่ความในคดีเดิม โจทก์ไม่ได้ประนี-ประนอมยอมความกับบุคคลภายนอกหรือยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง กรณีของโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องตาม ป.พ.พ.มาตรา 481 และมีอายุความ10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 สิทธิเรียกร้องของโจทก์เริ่มนับแต่วันที่ 4เมษายน 2534 โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 1 ตุลาคม 2534 คดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 1จึงไม่ขาดอายุความ แต่จำเลยที่ 2 นั้นปรากฏว่าไม่ได้เป็นคู่ความในคดีเดิม กรณีจึงต้องตามมาตรา 481 คดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 2 จึงขาดอายุความตามกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตาโต่งดักปลา-ความประมาทของผู้ตาย-จำเลยไม่ต้องรับผิด
จำเลยวางตาโต่งไว้ในคลองที่เกิดเหตุมาเป็นเวลานานประมาณ10 ปีแล้ว การวางตาโต่งดังกล่าวต้องผูกกับฐานไม้ขนาดใหญ่ที่ปักอยู่ในน้ำซึ่งสูงพ้นผิวน้ำประมาณ 10 เมตร ซึ่งชาวบ้านที่ไปใช้ท่าน้ำสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนตาโต่งอยู่ห่างจากท่าน้ำที่ชาวบ้านและเด็กลงอาบน้ำและตักน้ำไปใช้ประมาณ 30 เมตรชาวบ้านไปใช้ท่าน้ำดังกล่าวตลอดมา แต่ไม่เคยมีผู้ใดได้รับอันตรายจากตาโต่งดังกล่าวในการใช้น้ำและอาบน้ำตามปกติวิสัยมาก่อน เพราะในบริเวณท่าน้ำนั้นน้ำไหลไม่แรงสามารถลงอาบน้ำได้โดยปลอดภัย หากผู้ตายทั้งสองเล่นน้ำอยู่ในบริเวณท่าน้ำก็จะไม่ตกลงไปในตาโต่งถึงแก่ความตายเนื่องจากอยู่ห่างพอสมควร ผู้ตายทั้งสองก็ทราบดีถึงการติดตั้งตาโต่งอันเกิดเหตุ ประกอบกับการตกตาโต่งของผู้ตายมิใช่ลงอาบน้ำหรือเล่นน้ำที่ท่าน้ำแล้วตกลงไปในตาโต่ง แต่เหตุเกิดเนื่องจากผู้ตายนั่งห่วงยางเล่นน้ำแล้วห่วงยางไหลไปกระทบกับเสาตาโต่งเป็นเหตุให้ผู้ตายตกลงไปในตาโต่งโดยผู้ตายปราศจากความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์ ซึ่งเป็นความประมาทของผู้ตายเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตาโต่งที่จำเลยวางเพื่อดักปลามิใช่ทรัพย์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้โดยสภาพ อีกทั้งการที่ผู้ตายตกลงไปในตาโต่งจนถึงแก่ความตายก็มิใช่ผลโดยตรงอันเกิดจากการกระทำของจำเลย แม้จำเลยมิได้ทำสัญญาณเครื่องหมายแสดงว่ามีการลงอวนตาโต่งเครื่องมือทำประมงหรือทำสิ่งกีดกั้นป้องกันไว้ก็ตาม การกระทำของจำเลยก็ไม่มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทจากการวางตาโต่ง: ศาลยกฟ้องอาญา เหตุผู้ตายประมาทเอง
จำเลยวางตาโต่งไว้ในคลองที่เกิดเหตุมาเป็นเวลานานประมาณ 10 ปีแล้ว การวางตาโต่งดังกล่าวต้องผูกกับฐานไม้ขนาดใหญ่ที่ปักอยู่ในน้ำซึ่งสูงพ้นผิวน้ำประมาณ 10 เมตรซึ่งชาวบ้านที่ไปใช้ท่าน้ำสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนตาโต่งอยู่ห่างจากท่าน้ำที่ชาวบ้านและเด็กลงอาบน้ำและตักน้ำไปใช้ประมาณ 30 เมตร ชาวบ้านไปใช้ท่าน้ำดังกล่าวตลอดมาแต่ไม่เคยมีผู้ใดได้รับอันตรายจากตาโต่งดังกล่าวในการใช้น้ำและอาบน้ำตามปกติวิสัยมาก่อน เพราะในบริเวณท่าน้ำนั้นน้ำไหลไม่แรงสามารถลงอาบน้ำได้โดยปลอดภัย หากผู้ตายทั้งสองเล่นน้ำอยู่ในบริเวณท่าน้ำก็จะไม่ตกลงไปในตาโต่งถึงแก่ความตายเนื่องจากอยู่ห่างพอสมควร ผู้ตายทั้งสองก็ ทราบดีถึงการติดตั้งตาโต่งอันเกิดเหตุประกอบกับการตกตาโต่งของผู้ตายมิใช่ลงอาบน้ำหรือเล่นน้ำที่ท่าน้ำแล้วตกลงไปในตาโต่ง แต่เหตุเกิดเนื่องจากผู้ตายนั่งห่วงยางเล่นน้ำแล้วห่วงยางไหลไปกระทบกับเสาตาโต่งเป็นเหตุให้ผู้ตายตกลงไปในตาโต่งโดยผู้ตายปราศจากความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์ ซึ่งเป็นความประมาทของผู้ตายเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตาโต่งที่จำเลยวางเพื่อดักปลามิใช่ทรัพย์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้โดยสภาพ อีกทั้งการที่ผู้ตายตกลงไปในตาโต่งจนถึงแก่ความตายก็มิใช่ผลโดยตรงอันเกิดจากการกระทำของจำเลย แม้จำเลยมิได้ทำสัญญาณเครื่องหมายแสดงว่ามีการลงอวน ตาโต่งเครื่องมือทำประมงหรือทำสิ่งกีดกั้นป้องกันไว้ก็ตาม การกระทำของจำเลยก็ไม่มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2440/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดกับการหมดอายุความ การแย่งการครอบครอง และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อหนึ่งว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์หรือไม่ เมื่อไม่มีประเด็นในศาลชั้นต้นว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของรัฐหรือไม่ ดังนั้นข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของรัฐหรือไม่จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยบุกรุกนำรถแทรกเตอร์เข้าไปไถที่ดินพิพาททำให้ต้นมะม่วงหิมพานต์ที่โจทก์ปลูกไว้เสียหาย จากนั้นจำเลยกับพวกเผาทำลายต้นมะม่วงหิมพานต์ดังกล่าวแล้วนำต้นปาล์มเข้าปลูกไว้แทน ขอให้ห้ามจำเลยและบริวารเข้าไปเกี่ยวข้องหรือรบกวนการครอบครองที่ดิน ให้จำเลยรื้อถอนต้นปาล์มออกจากที่ดินพิพาท กับให้ชดใช้ค่าขาดประโยชน์ในอัตราเดือนละ 30,000 บาทนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนต้นปาล์มออกไป เป็นการที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ต่อเนื่องกันมาจนถึงวันฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คดีนี้จำเลยให้การว่า จำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้มีชื่อ จำเลยไม่ได้อ้างว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกินกว่า 1 ปีนับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงหมดสิทธิฟ้องเรียกคืนการครอบครองตามมาตรา 1375 จึงไม่ชอบ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ และให้ยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยในประเด็นข้อพิพาทแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยบุกรุกนำรถแทรกเตอร์เข้าไปไถที่ดินพิพาททำให้ต้นมะม่วงหิมพานต์ที่โจทก์ปลูกไว้เสียหาย จากนั้นจำเลยกับพวกเผาทำลายต้นมะม่วงหิมพานต์ดังกล่าวแล้วนำต้นปาล์มเข้าปลูกไว้แทน ขอให้ห้ามจำเลยและบริวารเข้าไปเกี่ยวข้องหรือรบกวนการครอบครองที่ดิน ให้จำเลยรื้อถอนต้นปาล์มออกจากที่ดินพิพาท กับให้ชดใช้ค่าขาดประโยชน์ในอัตราเดือนละ 30,000 บาทนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนต้นปาล์มออกไป เป็นการที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ต่อเนื่องกันมาจนถึงวันฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คดีนี้จำเลยให้การว่า จำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้มีชื่อ จำเลยไม่ได้อ้างว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกินกว่า 1 ปีนับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงหมดสิทธิฟ้องเรียกคืนการครอบครองตามมาตรา 1375 จึงไม่ชอบ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ และให้ยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยในประเด็นข้อพิพาทแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2299/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิสร้างสิ่งกีดขวางทำให้ผู้อื่นเสียหาย ก่อให้เกิดความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ที่ดินที่ตั้งแผงลอยพิพาทเป็นของจำเลย โจทก์ซื้ออาคารพาณิชย์ห้องริม ด้านข้างติดกับซอยจึงมีราคาแพงกว่าห้องอื่น ก็เพื่อวัตถุประสงค์ในทางการค้าที่สามารถขายสินค้าได้ทั้งสองด้าน การที่จำเลยสร้างแผงลอยปิดกั้นจนโจทก์ไม่สามารถเปิดประตูด้านข้างได้ เป็นเหตุให้ผู้เช่าอาคารพาณิชย์ของโจทก์ไม่สะดวกในการกระทำการค้าและเป็นเหตุ ให้บอกเลิกสัญญาเช่า จึงเป็นการที่จำเลยใช้สิทธิของตน เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพาณิชย์ได้รับความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควรในเมื่อเอาสภาพและ ตำแหน่งที่อยู่แห่งทรัพย์สินนั้นมาคำนึงประกอบ โจทก์จึงมีสิทธิปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายหรือความเดือดร้อนให้สิ้นไป และเรียกเอาค่าทดแทนจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 และมาตรา 1337
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2299/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิของเจ้าของที่ดินสร้างความเสียหายต่อธุรกิจของอาคารพาณิชย์ข้างเคียง เจ้าของอาคารมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้
ที่ดินที่ตั้งแผงลอยพิพาทเป็นของจำเลย โจทก์ซื้ออาคารพาณิชย์ห้องริมด้านข้างติดกับซอยจึงมีราคาแพงกว่าห้องอื่น ก็เพื่อวัตถุประสงค์ในทางการค้าที่สามารถขายสินค้าได้ทั้งสองด้าน การที่จำเลยสร้างแผงลอยปิดกั้นจนโจทก์ไม่สามารถเปิดประตูด้านข้างได้ เป็นเหตุให้ผู้เช่าอาคารพาณิชย์ของโจทก์ไม่สะดวกในการกระทำการค้าและเป็นเหตุให้บอกเลิกสัญญาเช่า จึงเป็นการที่จำเลยใช้สิทธิของตนเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพาณิชย์ได้รับความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควรในเมื่อเอาสภาพและตำแหน่งที่อยู่แห่งทรัพย์สินนั้นมาคำนึงประกอบ โจทก์จึงมีสิทธิปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายหรือความเดือดร้อนให้สิ้นไป และเรียกเอาค่าทดแทนจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 421 และมาตรา 1337
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2297/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเช่าเมื่อผู้ให้เช่าเสียชีวิต: สัญญาเช่ายังมีผลผูกพัน แม้สิทธิเก็บกินสิ้นสุด
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทได้จดทะเบียนสิทธิเก็บกินที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่ ท.ต่อมา ท. ในฐานะผู้ทรงสิทธิเก็บกินทำสัญญาให้จำเลยเป็นผู้เช่ามีกำหนดเวลา 30 ปี โดยมีการทำสัญญาเช่าเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาเช่าย่อมีผลผูกพันโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท แม้ในระหว่างอายุสัญญาเช่า ท. จะถึงแก่ความตายซึ่งเป็นผลให้สิทธิเก็บกินสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1418 วรรคสุดท้าย แต่ก็ไม่กระทบถึงสิทธิของจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอก และหามีผลทำให้สัญญาเช่าดังกล่าวระงับไปไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2297/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเช่าที่ดินแม้สิทธิเก็บกินสิ้นสุดลง สัญญาเช่ายังมีผลผูกพันเจ้าของที่ดิน
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทได้จดทะเบียนสิทธิเก็บกินที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่ ท. ต่อมา ท.ในฐานะผู้ทรงสิทธิเก็บกินทำสัญญาให้จำเลยเป็นผู้เช่ามีกำหนดเวลา 30 ปี โดยมีการทำสัญญาเช่าเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาเช่าย่อมมีผลผูกพันโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท แม้ในระหว่างอายุสัญญาเช่า ท.จะถึงแก่ความตายซึ่งเป็นผลให้สิทธิเก็บกินสิ้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1418 วรรคสุดท้าย แต่ก็ไม่กระทบถึงสิทธิของจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอก และหามีผลทำให้สัญญาเช่าดังกล่าวระงับไปไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาปลูกสร้างบนที่ธรณีสงฆ์ที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย จำเลยบอกเลิกสัญญาได้ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้เท่านั้น
วัดจำเลยโดยพระอธิการ ช.เจ้าอาวาส ได้ทำสัญญาให้โจทก์เป็นผู้ลงทุนปลูกสร้างอาคารในที่ธรณีสงฆ์ มีสาระสำคัญว่า เมื่อโจทก์ปลูกสร้างอาคารต่างๆตามสัญญาเสร็จแล้วให้กรรมสิทธิ์ในอาคารต่างๆ ที่โจทก์ปลูกสร้างขึ้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทันที และให้โจทก์มีสิทธิเช่าอาคารต่าง ๆ จากจำเลยเป็นระยะเวลา30 ปี ต่อมาจำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ ดังนี้ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2(พ.ศ.2511) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ข้อ 2 ระบุว่าการกันที่ดินซึ่งเป็นที่วัดให้เป็นที่จัดประโยชน์จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อกรมการศาสนาเห็นชอบและได้รับอนุมัติจากมหาเณรสมาคม และข้อ 4 ระบุว่า การให้เช่าที่ธรณีสงฆ์ที่กัลปนาหรือที่วัดที่กันไว้เป็นที่จัดประโยชน์ที่มีกำหนดระยะเวลาการเช่าเกิน 3 ปี จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนา เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยไม่ใช่เป็นสัญญาเช่าโดยตรง หากแต่เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขในอนาคต เพราะขณะทำสัญญาโจทก์ยังไม่ได้ปลูกสร้างอาคารต่าง ๆ และอาคารต่าง ๆ เหล่านั้นก็ยังไม่มี แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวก็มีผลให้เห็นได้ในอนาคตว่าหากโจทก์ปลูกสร้างอาคารต่าง ๆ แล้วเสร็จตามสัญญาก็ย่อมจะมีผลให้จำเลยต้องบังคับตามสัญญา คือให้โจทก์มีสิทธิเช่าอาคารต่าง ๆ ได้เป็นเวลา 30 ปี ซึ่งจำเป็นจะต้องขอความเห็นชอบจากกรมการศาสนาก่อน ซึ่งโจทก์และจำเลยต่างก็ทราบดี เพราะมีข้อสัญญาระบุว่าตกลงจะชำระเงินให้จำเลยเป็นการตอบแทนจำนวน 1,200,000 บาท ในวันที่กรมการศาสนาให้ความเห็นชอบสัญญานี้ เมื่อปรากฏว่าสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนา ตามกฎกระทรวงดังกล่าว สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยจึงยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ยังไม่สามารถจะนำสัญญาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญานี้ได้ แม้จำเลยได้บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ และไม่ยอมให้โจทก์เข้าปลูกสร้างอาคารต่าง ๆ ตามสัญญา โดยไม่รอฟังผลการเห็นชอบจากกรมการศาสนาก่อน ก็เป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญา โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้เท่านั้น โจทก์หามีสิทธิฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ไม่