คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธรรมนูญ โชคชัยพิทักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5115/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์: การแก้ไขคำร้องขอเนื้อที่ และการนำสืบข้อเท็จจริง
คำร้องขอของผู้ร้องบรรยายว่าผู้ร้องได้เข้าไปปลูกบ้านในที่ดินโฉนดตามฟ้องคิดเป็นเนื้อที่ประมาณ2งานโดยผู้ร้องครอบครองที่ดินส่วนดังกล่าวด้วยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อนานเกินกว่า10ปีแล้วและผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วนของผู้ร้องเนื้อที่ประมาณ2งาน97ตารางวาโดยการครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมายก่อนวันนัดสืบพยานผู้ร้องผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำร้องขอเฉพาะข้อความเดิมที่ว่า"คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ2งาน"เป็นเนื้อที่ประมาณ2งาน97ตารางวาศาลชั้นต้นได้อนุญาตตามขอดังนั้นคำร้องขอของผู้ร้องในส่วนเกี่ยวกับจำนวนเนื้อที่ดินที่ครอบครองได้สิทธินั้นจึงไม่เคลือบคลุมและชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้ว คดีนี้ผู้ร้องมีหน้าที่นำสืบก่อนแต่ผู้ร้องและผู้คัดค้านแถลงรับข้อเท็จจริงกันแล้วไม่ติดใจสืบพยานทั้งสองฝ่ายกรณีเช่นนี้ถือว่าผู้ร้องได้นำสืบข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของตนในคำร้องขอแล้วศาลย่อมพิจารณาพิพากษาไปตามเนื้อหาในสำนวนคดีและเมื่อฟังได้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทได้สิทธิการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382แล้วศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้สิทธิในที่ดินนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่คล้ายกัน แม้มีคำว่า 'กุ๊ก' เหมือนกัน ศาลตัดสินว่าไม่มีการละเมิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยแม้มีอักษรภาษาไทยคำว่า กุ๊ก และอักษรภาษาอังกฤษว่า COOK เป็นส่วนประกอบเหมือนกันก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาถึงคำที่ใช้ รูปแบบและส่วนประกอบต่าง ๆ ทั้งหมดประกอบกันแล้ว ปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้ในลักษณะต่าง ๆ หลายลักษณะนั้น ส่วนที่เป็นตัวอักษรส่วนใหญ่ใช้คำพยางค์เดียวว่า กุ๊ก หรือ COOK หรือใช้คำอักษรไทยและอังกฤษดังกล่าวด้วยกันโดยเขียนอักษรอังกฤษว่า COOK อยู่เหนือคำว่า กุ๊ก ส่วนเครื่องหมายที่เป็นรูปก็มีเพียงรูปการ์ตูนในลักษณะขวดคล้ายพ่อครัวสวมหมวกพ่อครัวเท่านั้น และมีเครื่องหมายการค้าคำว่า กุ๊กพรีเมียม หรือ COOK PREMIUM ด้วยแต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้คำสามพยางค์ว่า กุ๊กห้าดาว หรือ FIVE STARSCOOK และมีรูปชาม ช้อน ซ่อม หมวกพ่อครัว และดาว 5 ดวง ประกอบรวมกับตัวอักษรดังกล่าวโดยคำภาษาอังกฤษว่า FIVE STARS COOK อยู่ใต้คำอักษรไทย ซึ่งแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์หลายประการจนสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายแต่อย่างใดแม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีคำว่า กุ๊ก และคำว่า COOK เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้า ซึ่งคำดังกล่าวเป็นคำเดียวกับคำที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ก็ตาม แต่คำว่า กุ๊ก ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานหมายถึงพ่อครัวทำกับข้าวฝรั่ง และคำดังกล่าวก็เป็นคำที่เลียนเสียงมาจากคำภาษาอังกฤษว่าCOOK ซึ่งเป็นคำสามัญที่มีคำแปลตามพจนานุกรม คำดังกล่าวจึงเป็นคำสามัญทั่ว ๆ ไปไม่ทำให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะใช้คำดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวและหวงกันไม่ให้ผู้อื่นใช้คำดังกล่าวได้ การที่จำเลยนำคำดังกล่าวไปใช้ประกอบเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยโดยประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าของจำเลยให้แตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนสังเกตเห็นได้ชัดดังกล่าวแล้วเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตเพื่อลวงสาธารณชน นอกจากนี้ยังได้ความว่าเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ใช้กับสินค้าน้ำมันพืชเพียงอย่างเดียว ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าพริกไทยป่น ซอสต่าง ๆ เต้าเจี้ยวและเครื่องกระป๋อง ไม่มีสินค้าน้ำมันพืช ดังนั้นจึงไม่ทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยดังกล่าวเป็นสินค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่เหมือนหรือคล้ายกัน แม้มีคำ 'กุ๊ก' เหมือนกัน ศาลไม่ถือว่าเป็นการลวงสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยแม้มีอักษรภาษาไทยคำว่า กุ๊ก และอักษรภาษาอังกฤษว่า COOK เป็นส่วนประกอบเหมือนกันก็ตาม แต่ของโจทก์ส่วนที่เป็นตัวอักษรส่วนใหญ่คำพยางค์เดียวว่า กุ๊ก หรือ COOK หรือใช้คำอักษรไทยและอังกฤษดังกล่าวด้วยกัน โดยเขียนอักษรอังกฤษว่า COOK อยู่เหนือคำว่า กุ๊ก ส่วนเครื่องหมายที่เป็นรูปก็มีเพียงรูปการ์ตูนในลักษณะขวดคล้ายพ่อครัวสวมหมวกพ่อครัวเท่านั้น และมีเครื่องหมายการค้าคำว่ากุ๊กพรีเมียม หรือ COOKPREMIUM ด้วย แต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้คำสามพยางค์ว่า กุ๊กห้าดาว หรือ FIVESTARSCOOK และมีรูปชามช้อนส้อม หมวกพ่อครัว และดาว 5 ดวง ประกอบรวมกับตัวอักษรดังกล่าวโดยคำภาษาอังกฤษว่า FIVESTARSCOOK อยู่ใต้คำอักษรไทย ซึ่งแตกต่างจากของโจทก์หลายประการจนสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายแต่อย่างใด
แม้จำเลยมีคำว่า กุ๊ก และคำว่า COOK เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้า ซึ่งเป็นคำเดียวกับคำที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่คำว่า กุ๊กเป็นคำสามัญทั่ว ๆ ไป ไม่ทำให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะใช้คำดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวและหวงกันไม่ให้ผู้อื่นใช้คำดังกล่าวได้ การที่จำเลยนำคำดังกล่าวไปใช้ประกอบเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยให้แตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนสังเกตเห็นได้ชัดยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตเพื่อลวงสาธารณชน และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ใช้กับสินค้าน้ำมันพืช ส่วนของจำเลยใช้กับสินค้าพริกไทยป่น ซอสต่าง ๆเต้าเจี้ยว และเครื่องกระป๋อง ไม่มีสินค้าน้ำมันพืช จึงไม่ทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยดังกล่าวเป็นสินค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่เหมือนหรือคล้ายกัน แม้มีคำว่า 'กุ๊ก' เหมือนกัน ศาลยกฟ้อง
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยแม้มีอักษรภาษาไทยคำว่า กุ๊ก และอักษรภาษาอังกฤษว่า COOKเป็นส่วนประกอบเหมือนกันก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาถึงคำที่ใช้รูปแบบและส่วนประกอบต่าง ๆ ทั้งหมดประกอบกันแล้ว ปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้ในลักษณะต่าง ๆหลายลักษณะนั้น ส่วนที่เป็นตัวอักษรส่วนใหญ่ใช้คำพยางค์เดียวว่า กุ๊ก หรือ COOK หรือใช้คำอักษรไทยและอังกฤษ ดังกล่าวด้วยกันโดยเขียนอักษรอังกฤษ ว่า COOK อยู่เหนือคำว่า กุ๊กส่วนเครื่องหมายที่เป็นรูปก็มีเพียงรูปการ์ตูนในลักษณะขวดคล้ายพ่อครัวสวมหมวกพ่อครัวเท่านั้น และมีเครื่องหมายการค้าคำว่า กุ๊กพรีเมียม หรือ COOKRREMIUM ด้วยแต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้คำสามพยางค์ว่า กุ๊กห้าดาวหรือ FIVESTARSCOOK และมีรูปชามช้อน ซ่อม หมวกพ่อครัวและดาว 5 ดวง ประกอบรวมกับตัวอักษรดังกล่าวโดยคำภาษาอังกฤษว่า FIVESTARSCOOK อยู่ใต้คำอักษรไทยซึ่งแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์หลายประการจนสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายแต่อย่างใด แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีคำว่า กุ๊ก และคำว่า COOKเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้า ซึ่งคำดังกล่าวเป็นคำเดียวกับคำที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่คำว่า กุ๊ก ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานหมายถึงพ่อครัวทำกับข้าวฝรั่ง และคำดังกล่าวก็เป็นคำที่เลียนเสียงมาจากคำภาษาอังกฤษว่า COOK ซึ่งเป็นคำสามัญที่มีคำแปลตามพจนานุกรม คำดังกล่าวจึงเป็นคำสามัญทั่ว ๆ ไปไม่ทำให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะใช้คำดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวและหวงกันไม่ให้ผู้อื่นใช้คำดังกล่าวได้การที่จำเลยนำคำดังกล่าวไปใช้ประกอบเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าของจำเลยให้แตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนสังเกตเห็นได้ชัดดังกล่าวแล้วเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตเพื่อลวงสาธารณชน นอกจากนี้ยังได้ความว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ใช้กับสินค้าน้ำมันพืชเพียงอย่างเดียว ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าพริกไทยป่นซอสต่างๆเต้าเจี้ยว และเครื่องกระป๋อง ไม่มีสินค้าน้ำมันพืช ดังนั้นจึงไม่ทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยดังกล่าวเป็นสินค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4748/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดล่าช้าเกินกำหนด 8 วัน ผู้ร้องขาดสิทธิขอให้ยกเลิกการขาย
เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2538 และผู้ร้องก็ทราบว่ามีการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทในวันดังกล่าว แต่ไม่ได้มาคัดค้านเพราะป่วยเนื่องจากประสบอุบัติเหตุ หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ ผู้ร้องได้ไปตรวจสอบที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจำศาล จึงทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ไปในราคาต่ำกว่าราคาที่ประเมินไว้ ดังนี้ ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งยกเลิกการบังคับคดีที่ผู้ร้องเห็นว่าไม่ถูกต้องได้ภายใน 8 วัน นับแต่วันที่ 19พฤษภาคม 2538 ซึ่งเป็นวันที่ผู้ร้องทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์โดยไม่ถูกต้อง แต่ปรากฏว่าผู้ร้องเพิ่งมายื่นคำร้องคัดค้านการบังคับคดีต่อศาล ขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อวันที่ 8มิถุนายน 2538 ซึ่งล่วงพ้นกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่ผู้ร้องทราบการฝ่าฝืนนั้นแล้ว ดังนั้น ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง
แม้ระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสองนั้น ศาลมีอำนาจขยายให้ได้ก็ตาม แต่จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและผู้ร้องจะต้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ตามมาตรา 23 เมื่อผู้ร้องมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวอีกทั้งกรณีตามคำร้องก็ไม่ปรากฏเหตุสุดวิสัย จึงไม่อาจยื่นคำร้องเกินกำหนดระยะเวลา 8 วันได้ ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่าเชื่อตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ว่ายื่นคำร้องเกินกำหนดได้ก็เป็นข้ออ้างที่ปราศจากเหตุผลให้รับฟัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4748/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดล่าช้า: ผู้มีส่วนได้เสียต้องยื่นคำร้องภายใน 8 วันนับจากวันที่ทราบการฝ่าฝืน
เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2538 และผู้ร้องก็ทราบว่ามีการขายทอดตลาดทรัพย์สินพิพาทในวันดังกล่าวแต่ไม่ได้มาคัดค้านเพราะป่วยเนื่องจากประสบอุบัติเหตุหลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ ผู้ร้องได้ไปตรวจสอบที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจำศาล จึงทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ไปในราคาต่ำกว่าราคา ที่ประเมินไว้ ดังนี้ ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งยกเลิกการบังคับคดีที่ผู้ร้องเห็นว่าไม่ถูกต้องได้ภายใน 8 วัน นับแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2538ซึ่งเป็นวันที่ผู้ร้องทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์โดยไม่ถูกต้อง แต่ปรากฏว่าผู้ร้องเพิ่งมายื่นคำร้องคัดค้านการบังคับคดีต่อศาล ขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดของ เจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2538 ซึ่งล่วงพ้นกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่ผู้ร้องทราบการฝ่าฝืนนั้นแล้ว ดังนั้น ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง แม้ระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง นั้นศาลมีอำนาจขยายให้ได้ก็ตาม แต่จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและผู้ร้องจะต้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ตามมาตรา 23 เมื่อผู้ร้องมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวอีกทั้งกรณีตามคำร้องก็ไม่ปรากฏเหตุสุดวิสัยจึงไม่อาจยื่นคำร้องเกินกำหนดระยะเวลา 8 วันได้ ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่าเชื่อตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ว่ายื่นคำร้องเกินกำหนดได้ก็เป็นข้ออ้างที่ปราศจากเหตุผลให้รับฟัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4626/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความ การฟ้องซ้ำเรื่องมรดกขัดแย้งการให้การเดิม
ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์แบ่งที่ดินส่วนที่เป็นของ ม.ให้จำเลยทั้งสอง การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวของจำเลยทั้งสองเป็นการได้มาโดยผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ไม่ใช่ได้มาโดยทางมรดกในฐานะที่เป็นทายาทของ ม.ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาของศาลฎีกาการแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นแต่เพียงขั้นตอนของการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาเท่านั้น โจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวย่อมต้องผูกพันตามคำพิพากษานั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ขณะที่ ม. ถึงแก่กรรม ทายาทที่มีสิทธิรับมรดก ม.มีจำเลยทั้งสอง ป. และ พ. รวม 4 คน เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นฟ้องโจทก์ในคดีก่อนอ้างว่ามรดกของ ม. ตกได้แก่จำเลยทั้งสองเท่านั้น โดยขณะนั้น ป. บิดาโจทก์ถึงแก่กรรมแล้วโจทก์ให้การในคดีก่อนแต่เพียงว่า ม.ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์และโจทก์ได้ครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้ว ดังนั้น คดีก่อนจึงเป็นเรื่องให้ศาลวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาททั้งหมดเป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่จำเลยทั้งสองเท่านั้นหรือไม่ การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ม. ตกได้แก่ ป.และต่อมาตกเป็นของโจทก์ และขอให้บังคับจำเลยทั้งสองแบ่งให้โจทก์ ย่อมเป็นการขัดกับคำให้การของโจทก์ในคดีก่อนและเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทั้งคำฟ้องโจทก์คดีนี้ก็เป็นเรื่องที่ให้ศาลวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองมีส่วนในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ม. ทั้งหมดหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องให้วินิจฉัยต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144วรรคหนึ่ง ยิ่งกว่านั้นเมื่อคดีก่อนศาลฎีกาพิพากษาแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองตั้งแต่ พ.ศ. 2525 โจทก์ต้องผูกพันตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองแบ่งโดยอ้างว่าเป็นมรดกของ ป. และ พ.ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4626/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาถึงที่สุด: ห้ามฟ้องคดีซ้ำเรื่องกรรมสิทธิ์มรดกที่เคยมีคำพิพากษาแล้ว
ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์แบ่งที่ดินส่วนที่เป็นของ ม.ให้จำเลยทั้งสอง การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวของจำเลยทั้งสองเป็นการได้มาโดยผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ไม่ใช่ได้มาโดยทางมรดกในฐานะที่เป็นทายาทของม. ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาของศาลฎีกาการแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นแต่เพียงขั้นตอนของการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาเท่านั้น โจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวย่อมต้องผูกพันตามคำพิพากษานั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง
ขณะที่ ม.ถึงแก่กรรม ทายาทที่มีสิทธิรับมรดก ม.มีจำเลยทั้งสองป.และ พ.รวม 4 คน เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นฟ้องโจทก์ในคดีก่อนอ้างว่ามรดกของม.ตกได้แก่จำเลยทั้งสองเท่านั้น โดยขณะนั้น ป.บิดาโจทก์ถึงแก่กรรมแล้ว โจทก์ให้การในคดีก่อนแต่เพียงว่า ม.ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ และโจทก์ได้ครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 แล้ว ดังนั้น คดีก่อนจึงเป็นเรื่องให้ศาลวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาททั้งหมดเป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่จำเลยทั้งสองเท่านั้นหรือไม่ การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ม.ตกได้แก่ ป.และต่อมาตกเป็นของโจทก์ และขอให้บังคับจำเลยทั้งสองแบ่งให้โจทก์ ย่อมเป็นการขัดกับคำให้การของโจทก์ในคดีก่อนและเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทั้งคำฟ้องโจทก์คดีนี้ก็เป็นเรื่องที่ให้ศาลวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองมีส่วนในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ม.ทั้งหมดหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องให้วินิจฉัยเรื่องมรดกของ ป.จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามประมวล ป.วิ.พ.มาตรา144 วรรคหนึ่ง ยิ่งกว่านั้นเมื่อคดีก่อนศาลฎีกาพิพากษาแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองตั้งแต่ พ.ศ.2525 โจทก์ต้องผูกพันตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองแบ่งโดยอ้างว่าเป็นมรดกของ ป.และ พ.ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4623/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับในสัญญา: ศาลมีอำนาจปรับลดเบี้ยปรับที่สูงเกินสมควรตามหลักเกณฑ์กฎหมาย แม้มีข้อตกลงในสัญญา
ค่าปรับหรือเบี้ยปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้างเป็นค่าเสียหายซึ่งกำหนดไว้ล่วงหน้า อาจจะน้อยกว่าหรือสูงกว่าค่าเสียหายแท้จริงก็ได้ ซึ่งต้องปรับด้วย ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคแรก ดังนั้น แม้จะได้กำหนดวงเงินตายตัวไว้ในสัญญาและคู่สัญญาต่างสมัครใจทำขึ้นและเป็นข้อสัญญาที่ไม่ขัดต่อกฎหมายก็ตาม แต่ก็หาได้ตัดอำนาจศาลที่จะพิจารณาหลักเกณฑ์ตามกฎหมายในการลดเบี้ยปรับที่เรียกสูงเกินส่วนลงเป็นจำนวนที่พอสมควรตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ เพราะมิฉะนั้นบทบัญญัติที่ให้ศาลพิจารณาลดเบี้ยปรับนั้น ก็จะไม่มีผลบังคับ จะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้จะต้องชดใช้ค่าปรับหรือค่าปรับที่เจ้าหนี้กำหนดไว้สูงเกินสมควรโดยไม่มีเหตุผล
โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาลงวันที่ 4 เมษายน 2537 ให้จำเลยนำเงินค่าปรับมาชำระภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันได้รับหนังสือ จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าววันที่ 6 เมษายน 2537 ครบกำหนดชำระค่าปรับตามหนังสือบอกกล่าววันที่21 เมษายน 2537 จำเลยไม่ชำระ จึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2537และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันดังกล่าวตามป.พ.พ.มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4610/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดินและขอบเขตการแบ่งแยกโฉนด การไม่พิพากษาฟ้องแย้งเป็นเหตุให้ต้องแก้ไขคำพิพากษา
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป.และ จ.ฟ้องจำเลยออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 14613 เนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 93 ตารางวา ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ป.และ จ. อ้างว่าจำเลยขออาศัยปลูกบ้านอยู่ชั่วคราว ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินดังกล่าว จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของกว่า 10 ปีแล้ว การออกโฉนดที่ดินแปลงพิพาทดังกล่าวกระทำโดยมิชอบ จำเลยขอให้โจทก์แบ่งแยกที่ดินส่วนที่เป็นของจำเลยให้จำเลย ขอให้พิพากษาว่าที่ดินภายในเส้นสีแดงตามแผนที่สังเขปท้ายคำให้การและฟ้องแย้งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย และเพิกถอนโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่ออกทับที่ดินของจำเลย เมื่อตามคำฟ้องแย้งและคำให้การของจำเลยดังกล่าวเป็นการกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์อันเป็นคดีมีทุนทรัพย์ และศาลชั้นต้นให้เจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาทปรากฏว่าคู่ความแถลงรับกันตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าที่ดินที่จำเลยอ้างว่าจำเลยครอบครองอยู่และโจทก์ออกโฉนดที่ดินทับที่ดินของจำเลยนั้นมีจำนวนเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 16 ตารางวา เจ้าพนักงานที่ดินประเมินราคาที่ดิน-พิพาทราคาไร่ละ 60,000 บาท และศาลชั้นต้นกำหนดราคาตามที่เจ้าพนักงานที่ดินประเมินเป็นราคาทรัพย์สินที่พิพาท ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 16 ตารางวาดังนั้นราคาทรัพย์สินที่พิพาททั้งฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจึงมีราคาจำนวนละ 107,400บาท ไม่เกิน 200,000 บาท คดีจึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ศาลล่างทั้งสองพิพากษายืนกันมาโดยมิได้พิพากษาในส่วนฟ้องแย้งโดยให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยด้วยนั้น เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
of 30