พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4610/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินและการครอบครองปรปักษ์ ศาลฎีกายกฟ้องแย้ง แต่แก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้อง
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. และ จ. ฟ้องจำเลยออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 14613 เนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 93 ตารางวาซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ป. และ จ. อ้างว่าจำเลยขออาศัยปลูกบ้านอยู่ชั่วคราว ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินดังกล่าว จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของกว่า 10 ปีแล้ว การออกโฉนดที่ดินแปลงพิพาทดังกล่าวกระทำโดยมิชอบ จำเลยขอให้โจทก์แบ่งแยกที่ดินส่วนที่เป็นของจำเลยให้จำเลย ขอให้พิพากษาว่าที่ดินภายในเส้นสีแดงตามแผนที่สังเขปท้ายคำให้การและฟ้องแย้งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย และเพิกถอนโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่ออกทับที่ดินของจำเลย เมื่อตามคำฟ้องแย้งคำให้การของจำเลยดังกล่าวเป็นการกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์อันเป็นคดีมีทุนทรัพย์ และศาลชั้นต้นให้เจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาทปรากฎว่าคู่ความแถลงรับกันตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าที่ดินที่จำเลยอ้างว่าจำเลยครอบครองอยู่และโจทก์ออกโฉนดที่ดินทับที่ดินของจำเลยนั้นมีจำนวนเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 16ตารางวา เจ้าพนักงานที่ดินประเมินราคาที่ดินพิพาทราคาไร่ละ60,000 บาท และศาลชั้นต้นกำหนดราคาตามที่เจ้าพนักงานที่ดินประเมินเป็นราคาทรัพย์สินที่พิพาท ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่1 ไร่ 3 งาน 16 ตารางวา ดังนั้นราคาทรัพย์สินที่พิพาททั้งฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจึงมีราคาจำนวนละ 107,400 บาทไม่เกิน 200,000 บาท คดีจึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคหนึ่ง ศาลล่างทั้งสองพิพากษายืนกันมาโดยมิได้พิพากษาในส่วนฟ้องแย้งโดยให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยด้วยนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ตามศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4552/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าและสัญญาจะซื้อจะขาย: ผลกระทบต่อสิทธิเรียกร้องเมื่อมีการตกลงกันก่อนการจดทะเบียน
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากมารดาโจทก์เพื่อปลูกสร้างเป็นสถานที่ประกอบการค้าอาหาร มีกำหนด 5 ปีนับแต่วันทำสัญญาดังกล่าวค่าเช่าเดือนละ 2,500 บาท ต่อมามารดาโจทก์ได้ทำบันทึกตกลงจะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยและข้อความในบันทึกดังกล่าวเข้าแบบเป็นหนังสือตกลงจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสองมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ดังนี้ แม้จำเลยจะไม่ได้ชำระค่าเช่าแก่โจทก์ตามสัญญาเช่าที่ทำไว้ก็ตาม โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและผู้รับโอนมรดกที่ดินแปลงพิพาทมาจากมารดาโจทก์ก็ย่อมไม่มีสิทธิที่จะฟ้องร้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเพราะเหตุที่จำเลยผิดสัญญาเช่าได้เพราะสิทธิตามสัญญาเช่าระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยได้ยกเลิกไปโดยปริยายและเกิดข้อผูกพันตามสัญญาจะซื้อจะขายที่มารดาโจทก์ผู้จะขายตกลงยินยอมให้จำเลยผู้จะซื้อเข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทก่อนที่จะมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ กรณีเช่นนี้โจทก์จะต้องไปบังคับว่ากล่าวแก่จำเลยตามสัญญาจะซื้อจะขายนั้นต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4552/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า vs. สัญญาจะซื้อจะขาย: สิทธิการฟ้องขับไล่และค่าเสียหายเมื่อมีการตกลงซื้อขายก่อนสัญญาเช่าสิ้นสุด
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากมารดาโจทก์เพื่อปลูกสร้างเป็นสถานที่ประกอบการค้าอาหาร มีกำหนด 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาตกลงค่าเช่าเดือนละ 2,500 บาท ต่อมามารดาโจทก์ได้ทำบันทึกตกลงจะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยและข้อความในบันทึกดังกล่าวเข้าแบบเป็นหนังสือตกลงจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคสอง มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ดังนี้ แม้จำเลยจะไม่ได้ชำระค่าเช่าแก่โจทก์ตามสัญญาเช่าที่ทำไว้ก็ตาม โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและผู้รับโอนมรดกที่ดินแปลงพิพาทมาจากมารดาโจทก์ก็ย่อมไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเพราะเหตุที่จำเลยผิดสัญญาเช่าได้เพราะสิทธิตามสัญญาเช่าระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยได้ยกเลิกไปโดยปริยายและเกิดข้อผูกพันตามสัญญาจะซื้อจะขายที่มารดาโจทก์ผู้จะขายตกลงยินยอมให้จำเลยผู้จะซื้อเข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทก่อนที่จะมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ กรณีเช่นนี้โจทก์จะต้องไปบังคับว่ากล่าวแก่จำเลยตามสัญญาจะซื้อจะขายนั้นต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4495/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พื้นที่ห้องชุดตามสัญญาอาคารชุด: การรวมพื้นที่ระเบียงเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ห้องชุด
แม้ในสัญญาขายห้องชุดระหว่างโจทก์และจำเลยจะระบุพื้นที่ห้องชุดไว้86.5 ตารางเมตร แต่เมื่อ พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 4 ให้คำนิยาม"ทรัพย์สินส่วนบุคคล" หมายความว่า ห้องชุดและหมายความรวมถึงสิ่งปลูกสร้างหรือที่ดินที่จัดไว้ให้เป็นของเจ้าของห้องชุดแต่ละราย และให้คำนิยาม "ห้องชุด" หมายความว่าส่วนของอาคารชุดที่แยกการถือกรรมสิทธิ์ออกได้เป็นส่วนเฉพาะของแต่ละบุคคล ห้องชุดพิพาทจึงต้องถือเอาส่วนของระเบียงจำนวน 5.28 ตารางเมตร ซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลรวมเข้าด้วยตามบทกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น พื้นที่ห้องชุดที่จำเลยสร้างเสร็จซึ่งมีเนื้อที่79.57 ตารางเมตร จึงถูกต้องตามสัญญาซื้อขายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4495/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตสิทธิหน้าที่สัญญาซื้อขายอาคารชุด, การก่อสร้างเกินแบบ, และการติดตั้งมิเตอร์น้ำ
การสร้างอาคารพิพาทสูง 30 ชั้น จำเลยได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานให้ก่อสร้างได้ตามกฎหมายแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิที่จะก่อสร้างอาคารได้ตามที่ได้รับอนุญาตนั้น หากจำเลยก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตอย่างใดก็เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานจะว่ากล่าวกับจำเลยเป็นอีกกรณีหนึ่ง
เมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยก่อสร้างอาคารสูงกว่าที่ตกลงระบุกันไว้ในสัญญาอันเป็นการผิดสัญญาซื้อขายห้องชุดที่ระบุว่าจำเลยจะสร้างอาคารชุดสูงเพียง 27 ชั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเพียงแต่บอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเท่านั้น แต่หามีสิทธิที่จะบังคับจำเลยให้รื้อถอนอาคารชั้นที่ 28 ถึงชั้นที่ 30 ไม่
ตามสัญญาซื้อขายอาคารชุดระบุว่าจำเลยจะต้องติดตั้งมิเตอร์น้ำประปาแยกต่างหากในแต่ละห้องชุดและร้านค้า แต่จำเลยไม่ดำเนินการติดตั้งมิเตอร์น้ำประปาแยกแต่ละห้องชุดและร้านค้าเป็นการผิดสัญญา เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทำสัญญาซื้อห้องชุดเพียงห้องเดียว และโจทก์ไม่ได้รับมอบอำนาจจากผู้ซื้อรายอื่นให้ฟ้องคดีแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ติดตั้งมิเตอร์น้ำประปาให้แก่ผู้ซื้อรายอื่นได้
ตามหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 ระบุว่าห้องชุดมีพื้นที่ 74.29 ตารางเมตร และระบุในสารบัญจดทะเบียนว่ารายการทรัพย์สินส่วนบุคคลที่อยู่นอกห้องชุดมีเนื้อที่ 5.28 ตารางเมตรดังนี้ ห้องชุดพิพาทต้องถือเอาส่วนของระเบียงจำนวน 5.28 ตารางเมตร รวมเข้าเป็นเนื้อที่ของห้องชุดพิพาทด้วย ตามมาตรา 4 สัญญาซื้อขายห้องชุดรายพิพาทนี้จึงมีเนื้อที่ 79.57 ตารางเมตร
เมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยก่อสร้างอาคารสูงกว่าที่ตกลงระบุกันไว้ในสัญญาอันเป็นการผิดสัญญาซื้อขายห้องชุดที่ระบุว่าจำเลยจะสร้างอาคารชุดสูงเพียง 27 ชั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเพียงแต่บอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเท่านั้น แต่หามีสิทธิที่จะบังคับจำเลยให้รื้อถอนอาคารชั้นที่ 28 ถึงชั้นที่ 30 ไม่
ตามสัญญาซื้อขายอาคารชุดระบุว่าจำเลยจะต้องติดตั้งมิเตอร์น้ำประปาแยกต่างหากในแต่ละห้องชุดและร้านค้า แต่จำเลยไม่ดำเนินการติดตั้งมิเตอร์น้ำประปาแยกแต่ละห้องชุดและร้านค้าเป็นการผิดสัญญา เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทำสัญญาซื้อห้องชุดเพียงห้องเดียว และโจทก์ไม่ได้รับมอบอำนาจจากผู้ซื้อรายอื่นให้ฟ้องคดีแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ติดตั้งมิเตอร์น้ำประปาให้แก่ผู้ซื้อรายอื่นได้
ตามหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 ระบุว่าห้องชุดมีพื้นที่ 74.29 ตารางเมตร และระบุในสารบัญจดทะเบียนว่ารายการทรัพย์สินส่วนบุคคลที่อยู่นอกห้องชุดมีเนื้อที่ 5.28 ตารางเมตรดังนี้ ห้องชุดพิพาทต้องถือเอาส่วนของระเบียงจำนวน 5.28 ตารางเมตร รวมเข้าเป็นเนื้อที่ของห้องชุดพิพาทด้วย ตามมาตรา 4 สัญญาซื้อขายห้องชุดรายพิพาทนี้จึงมีเนื้อที่ 79.57 ตารางเมตร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4361/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์ไม้ยืนตามคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ – การปฏิบัติตามเงื่อนไข ป.วิ.พ.มาตรา 234
เมื่อคำสั่งศาลอุทธรณ์ไม่ใช่คำสั่งยืนตามคำปฎิเสธของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 236 วรรคแรก แต่เป็นคำสั่งในกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นผู้อุทธรณ์มิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตามป.วิ.พ.มาตรา 234 คำสั่งของศาลอุทธรณ์จึงไม่เป็นที่สุด จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาได้
ป.วิ.พ.มาตรา 234 ที่บัญญัติว่า ถ้าศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งศาลนั้นไปยังศาลอุทธรณ์โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นและนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาล และนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง เมื่อปรากฏว่าจำเลยเพียงแต่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาล โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล จึงถือว่าจำเลยไม่ปฎิบัติตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยจะฎีกาอ้างว่า เหตุที่จำเลยไม่นำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษา เพราะกำลังมีการโต้แย้งกันอยู่และศาลมิได้มีคำสั่งหาได้ไม่
ป.วิ.พ.มาตรา 234 ที่บัญญัติว่า ถ้าศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งศาลนั้นไปยังศาลอุทธรณ์โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นและนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาล และนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง เมื่อปรากฏว่าจำเลยเพียงแต่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาล โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล จึงถือว่าจำเลยไม่ปฎิบัติตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยจะฎีกาอ้างว่า เหตุที่จำเลยไม่นำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษา เพราะกำลังมีการโต้แย้งกันอยู่และศาลมิได้มีคำสั่งหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4350/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินมรดกตามพินัยกรรม ไม่ถือเป็นการแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของ ห. บิดาจำเลยที่ 1 เมื่อ ห. ถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทจึงเป็นมรดกตกได้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งได้ครอบครองมาตั้งแต่ปี2524 ดังนี้ ตามคำให้การจำเลยที่ 1 เป็นการอ้างว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทอยู่แล้ว กรณีหาใช่การแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 ไม่ เพราะการแย่งการครอบครองจะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4259/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเครื่องหมายการค้า: การเพิกถอนทะเบียนและห้ามใช้เครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบและทำให้สาธารณชนสับสน
โจทก์ฟ้องว่า นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า "F FENDI" ตามคำขอเลขที่ 199227 สำหรับสินค้าจำพวกที่ 37 ชนิดสินค้ากระเป๋าสตางค์ กระเป๋าถือ กระเป๋าใส่ธนบัตร ห่วงร้อยกุญแจ หีบหนังขนาดกลาง หีบเดินทางขนาดใหญ่ และของที่ทำด้วยหนังสัตว์ฟอกซึ่งอยู่ในจำพวกนี้ ซึ่งโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนดังกล่าวดีกว่าจำเลยมิใช่กรณีที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการวินิจฉัยยกอุทธรณ์ และไม่ว่าโจทก์จะได้อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งไม่รับจดทะเบียนของนายทะเบียนดังกล่าวหรือไม่ โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ ตามมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ เพราะโจทก์มิได้ขอให้ศาลพิพากษาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลย อันเป็นปัญหาในชั้นการพิจารณาของนายทะเบียนและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า"FF-FENDI" และ "F " ในลักษณะประดิษฐ์ไขว้สลับหัวโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวในลักษณะรวมกันและแยกกัน สำหรับเครื่องหมายการค้า "F " โจทก์คิดประดิษฐ์ขึ้นและใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของโจทก์จำพวกกระเป๋าสตางค์กระเป๋าถือ กระเป๋าอื่น ๆ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องแต่งกาย และสินค้าเบ็ดเตล็ดอื่น ๆโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวที่ประเทศต่าง ๆ และบริษัท ฟ.ได้สั่งสินค้าของโจทก์เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2532 ถึง 2533 โจทก์โฆษณาสินค้าและเครื่องหมายการค้า จนสินค้าของโจทก์เป็นที่แพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ การที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน "F " ในลักษณะประดิษฐ์ไขว้สลับหัวมาก่อนที่จำเลยจะไปยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย และมีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า "F " จำนวน 6 คู่ ภายในกรอบสี่เหลี่ยมพร้อมคำว่า "FFเอฟเอฟ." ของจำเลย กับให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว
เมื่อโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน "F " ดีกว่าจำเลยดังนี้ การที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะแบบเดียวกันกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์จึงเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้า ประกอบกับสินค้าของโจทก์และจำเลยต่างเป็นสินค้าประเภทเดียวกัน ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิดหรือเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์หรือเกี่ยวข้องกับสินค้าของโจทก์ และสินค้ากระเป๋าถือสตรีของจำเลยมีเครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน "F " ทั่วพื้นของกระเป๋าถือทั้งหมดและที่โลหะเหนือหัวเข็มขัดปิดกระเป๋าเหมือนกับสินค้ากระเป๋าถือสตรีของโจทก์ด้วย ประชาชนผู้ซื้อย่อมสับสนหลงผิดว่าสินค้ากระเป๋าถือสตรีของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ จำเลยได้ทำการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ จึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29 วรรคสอง และห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน "F " ในลักษณะประดิษฐ์ไขว้สลับหัวได้
เมื่อโจทก์มีสิทธิเครื่องหมายการค้าโรมัน "F "ในลักษณะประดิษฐ์ไขว้สลับหัวดีกว่าจำเลย และมีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนและคำขอจดทะเบียนเครื่อง-หมายการค้าของจำเลยได้แล้ว กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยข้อที่จำเลยฎีกาว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมัน "F " ในลักษณะประดิษฐ์ 6 ตัว และมีอักษรโรมันFF และอักษรไทยว่า "เอฟเอฟ" รวมอยู่ด้วย ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "FF_FENDI" และ"F " ในลักษณะประดิษฐ์ของโจทก์อีกเพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป
จำเลยฟ้องแย้งขอให้ห้ามโจทก์รบกวนการผลิตจำหน่ายสินค้าของจำเลยภายใต้เครื่องหมายการค้า "F " และให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยเดือนละ 100,000 บาท นับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าจะปฏิบัติตามคำขอของจำเลยฟ้องแย้งของจำเลยดังกล่าวเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า"FF-FENDI" และ "F " ในลักษณะประดิษฐ์ไขว้สลับหัวโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวในลักษณะรวมกันและแยกกัน สำหรับเครื่องหมายการค้า "F " โจทก์คิดประดิษฐ์ขึ้นและใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของโจทก์จำพวกกระเป๋าสตางค์กระเป๋าถือ กระเป๋าอื่น ๆ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องแต่งกาย และสินค้าเบ็ดเตล็ดอื่น ๆโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวที่ประเทศต่าง ๆ และบริษัท ฟ.ได้สั่งสินค้าของโจทก์เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2532 ถึง 2533 โจทก์โฆษณาสินค้าและเครื่องหมายการค้า จนสินค้าของโจทก์เป็นที่แพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ การที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน "F " ในลักษณะประดิษฐ์ไขว้สลับหัวมาก่อนที่จำเลยจะไปยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย และมีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า "F " จำนวน 6 คู่ ภายในกรอบสี่เหลี่ยมพร้อมคำว่า "FFเอฟเอฟ." ของจำเลย กับให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว
เมื่อโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน "F " ดีกว่าจำเลยดังนี้ การที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะแบบเดียวกันกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์จึงเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้า ประกอบกับสินค้าของโจทก์และจำเลยต่างเป็นสินค้าประเภทเดียวกัน ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิดหรือเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์หรือเกี่ยวข้องกับสินค้าของโจทก์ และสินค้ากระเป๋าถือสตรีของจำเลยมีเครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน "F " ทั่วพื้นของกระเป๋าถือทั้งหมดและที่โลหะเหนือหัวเข็มขัดปิดกระเป๋าเหมือนกับสินค้ากระเป๋าถือสตรีของโจทก์ด้วย ประชาชนผู้ซื้อย่อมสับสนหลงผิดว่าสินค้ากระเป๋าถือสตรีของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ จำเลยได้ทำการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ จึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29 วรรคสอง และห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน "F " ในลักษณะประดิษฐ์ไขว้สลับหัวได้
เมื่อโจทก์มีสิทธิเครื่องหมายการค้าโรมัน "F "ในลักษณะประดิษฐ์ไขว้สลับหัวดีกว่าจำเลย และมีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนและคำขอจดทะเบียนเครื่อง-หมายการค้าของจำเลยได้แล้ว กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยข้อที่จำเลยฎีกาว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมัน "F " ในลักษณะประดิษฐ์ 6 ตัว และมีอักษรโรมันFF และอักษรไทยว่า "เอฟเอฟ" รวมอยู่ด้วย ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "FF_FENDI" และ"F " ในลักษณะประดิษฐ์ของโจทก์อีกเพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป
จำเลยฟ้องแย้งขอให้ห้ามโจทก์รบกวนการผลิตจำหน่ายสินค้าของจำเลยภายใต้เครื่องหมายการค้า "F " และให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยเดือนละ 100,000 บาท นับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าจะปฏิบัติตามคำขอของจำเลยฟ้องแย้งของจำเลยดังกล่าวเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4122/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยการวางทรัพย์และการเพิกถอนการยึดทรัพย์ที่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อชำระหนี้ครบถ้วน
จำเลยที่ 1 ได้นำรถจักรยานยนต์คันที่เช่าซื้อพร้อมกับค่าเสียหายและค่าฤชาธรรมเนียมไปวางต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์และแจ้งให้โจทก์ทราบแล้วก่อนโจทก์ขอหมายบังคับคดี ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เพื่อบังคับคดีอีกต่อไป การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2โดยผิดหลงว่าจำเลยยังมิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาเจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีสิทธิเรียกโจทก์มาถอนการยึดทรัพย์รายนี้ได้ ที่โจทก์ฎีกาว่า รถจักรยานยนต์ที่จำเลยที่ 1 นำมาวางต่อสำนักงานวางทรัพย์มีสภาพเสื่อมโทรมโจทก์จึงไม่รับนั้นศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาเพียงว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนรถจักรยานยนต์ ฯลฯ เท่านั้น มิได้ระบุว่ารถจักรยานยนต์จะต้องมีสภาพอย่างไรและโจทก์มิได้ฎีกา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4001/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารต้องตรวจสอบลายมือชื่อผู้ถอนเงินอย่างละเอียดรอบคอบเพื่อป้องกันการปลอมแปลงเอกสาร
ธนาคารจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอาชีพรับฝากเงินจึงต้องใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบลายมือชื่อของโจทก์ผู้ฝากเงินให้ละเอียดรอบคอบ เมื่อเปรียบเทียบลายมือโจทก์ในใบถอนเงินฝากกับลายมือโจทก์ในบัตรตัวอย่างลายมือชื่อผู้ฝากและสมุดคู่ฝากแล้ว เห็นได้ว่าลักษณะการเขียนและลายเส้นลายหนาแตกต่างกัน เช่นตัว "ย" เป็นต้น เมื่อปรากฎด้วยว่าลายมือในใบถอนเงินฝากก็มิใช่เป็นของโจทก์ทั้งหมด จึงเป็นสิ่งผิดปกติ เพราะหากโจทก์มาถอนเงินด้วยตนเองก็น่าจะต้องกรอกข้อความทั้งหมดด้วยตนเอง จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 จึงควรจะต้องสอบถามให้ได้ความว่าผู้ใดเป็นผู้กรอกข้อความร่วมกับผู้ถอนหรือขอตรวจดูบัตรประจำตัวประชาชนหรือใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบลายมือชื่อให้ลายละเอียดรอบคอบมากขึ้น แต่ปรากฎว่าจำเลยที่ 4 มิได้กระทำ จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 4 ได้ตรวจลายมือชื่อโจทก์โดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งผู้ตรวจในภาวะเช่นจำเลยที่ 4 จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ จำเลยที่ 4 อาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์เพียงแต่ทำสมุดคู่ฝากหายไปเท่านั้น ซึ่งเป็นเหตุปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ เหตุที่เกิดขึ้นในคดีนี้เพราะมีผู้ปลอมลายมือชื่อโจทก์ในใบถอนเงินและนำไปถอนเงินจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้จ่ายเงินให้ผู้ปลอมไปโดยประมาทเลินเล่อโดยโจทก์ไม่มีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วย ดังนี้เหตุที่โจทก์ทำสมุดหาย จึงไม่ใช่ผลโดยตรงที่ทำให้เกิดเหตุในคดีนี้ โจทก์จึงไม่มีส่วนร่วมในความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยทั้งสี่ให้การว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีนี้โดยไม่สุจริต เพราะโจทก์มาถอนเงินด้วยตนเอง และเป็นความผิดของโจทก์เองที่ทำสมุดหาย ซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ว่า จำเลยทั้งสี่ต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ โจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่อด้วยหรือไม่ และโจทก์เรียกค่าเสียหายได้เพียงใด ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่าโจทก์มีส่วนรู้เห็นในการปลอมใบถอนเงินฝาก จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225