พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ค่าบริการ: สัญญาจ้างบริการต่างจากสัญญาเช่า และอายุความตามลักษณะธุรกิจ
การบริการต่างๆตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างบริการที่พิพาทเช่นการรักษาความปลอดภัยการบริการให้มีน้ำประปาใช้ในบริเวณห้องสุขาสาธารณะการบำรุงรักษาอาคารและสาธารณูปโภคเป็นต้นเป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของอาคารผู้ให้เช่าจัดการสิ่งบริการต่างๆดังกล่าวให้แก่จำเลยผู้เช่าอาคารโดยโจทก์เรียกเก็บค่าบริการเป็นรายเดือนจากจำเลยอันเป็นการดำเนินการประจำเป็นปกติธุระถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่างๆเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/34(7)มีอายุความสองปี ข้อความที่ระบุในสัญญาเช่าอาคารให้ถือว่าสัญญาจ้างบริการเป็นส่วนหนึ่งของอายุการเช่าเท่านั้นมิใช่ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อสัญญาเช่าอาคารทั้งหมดดังนี้จะนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/33(3)(4)(5)หรือมาตรา193/34(1)มาใช้บังคับมิได้ ฎีกาโจทก์ที่ว่าจำเลยให้การต่อสู้เรื่องอายุความแต่เพียงว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(เดิม)563โดยมิได้ให้เหตุผลประกอบข้ออ้างแต่อย่างใดไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทนั้นเมื่อจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโจทก์มิได้กล่าวแก้ยกประเด็นข้อนี้ในคำแก้อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาจ้างบริการแยกจากสัญญาเช่า: ศาลฎีกาตัดสินเรื่องอายุความต่างกัน
การบริการต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างบริการที่พิพาทเช่นการรักษาความปลอดภัย การบริการให้มีน้ำประปาใช้ในบริเวณห้องสุขาสาธารณะการบำรุงรักษาอาคารและสาธารณูปโภค เป็นต้น เป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของอาคารผู้ให้เช่าจัดการสิ่งบริการต่าง ๆ ดังกล่าวให้แก่จำเลยผู้เช่าอาคาร โดยโจทก์เรียกเก็บค่าบริการเป็นรายเดือนจากจำเลย อันเป็นการดำเนินการประจำเป็นปกติธุระ ถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (7) มีอายุความสองปี
ข้อความที่ระบุในสัญญาเช่าอาคารให้ถือว่าสัญญาจ้างบริการเป็นส่วนหนึ่งของอายุการเช่าเท่านั้น มิใช่ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อสัญญาเช่าอาคารทั้งหมด ดังนี้จะนำอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193 /33 (3) (4) (5)หรือมาตรา 193/34 (1) มาใช้บังคับมิได้
ฎีกาโจทก์ที่ว่า จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอายุความแต่เพียงว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 165 (เดิม), 563 โดยมิได้ให้เหตุผลประกอบข้ออ้างแต่อย่างใด ไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทนั้น เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์มิได้กล่าวแก้ยกประเด็นข้อนี้ในคำแก้อุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ข้อความที่ระบุในสัญญาเช่าอาคารให้ถือว่าสัญญาจ้างบริการเป็นส่วนหนึ่งของอายุการเช่าเท่านั้น มิใช่ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อสัญญาเช่าอาคารทั้งหมด ดังนี้จะนำอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193 /33 (3) (4) (5)หรือมาตรา 193/34 (1) มาใช้บังคับมิได้
ฎีกาโจทก์ที่ว่า จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอายุความแต่เพียงว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 165 (เดิม), 563 โดยมิได้ให้เหตุผลประกอบข้ออ้างแต่อย่างใด ไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทนั้น เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์มิได้กล่าวแก้ยกประเด็นข้อนี้ในคำแก้อุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ค่าบริการ: สัญญาจ้างบริการแยกจากสัญญาเช่า สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)
การบริการต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างบริการที่พิพาทเช่นการรักษาความปลอดภัย การบริการให้มีน้ำประปาใช้ในบริเวณห้องสุขาสาธารณะการบำรุงรักษาอาคารและสาธารณูปโภค เป็นต้นเป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของอาคารผู้ให้เช่าจัดการสิ่งบริการต่าง ๆ ดังกล่าวให้แก่จำเลยผู้เช่าอาคาร โดยโจทก์เรียกเก็บค่าบริการเป็นรายเดือนจากจำเลย อันเป็นการดำเนินการประจำเป็นปกติธุระ ถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) มีอายุความสองปี ข้อความที่ระบุในสัญญาเช่าอาคารให้ถือว่าสัญญาจ้างบริการเป็นส่วนหนึ่งของอายุการเช่าเท่านั้น มิใช่ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อสัญญาเช่าอาคารทั้งหมด ดังนี้จะนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(3)(4)(5) หรือมาตรา 193/34(1) มาใช้บังคับมิได้ ฎีกาโจทก์ที่ว่า จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอายุความแต่เพียงว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(เดิม)563 โดยมิได้ให้เหตุผลประกอบข้ออ้างแต่อย่างใด ไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทนั้น เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์มิได้กล่าวแก้ยกประเด็นข้อนี้ในคำแก้อุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้และเช็ค: ความผิดตาม พ.ร.บ.เช็คเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
หนังสือรับสภาพหนี้มีใจความว่า ข้าฯ นางสาวพรทิพย์ ณ สงขลา(จำเลย) ขอรับสภาพหนี้ว่า ข้าฯ เป็นหนี้พันตำรวจโทอาวุธ ปุรินทราภิบาล(ผู้เสียหาย) กรณีกู้ยืมเงินกัน 300,000 บาทจริง และข้าฯยินยอมขอชำระหนี้พร้อมกันนี้ ข้าฯได้ชำระหนี้ดังกล่าวแก่พันตำรวจโทอาวุธ ปุรินทราภิบาล (ผู้เสียหาย)เป็นเช็คธนาคารมหานคร จำกัด สาขาหาดใหญ่ ตามเช็คเลขที่ 0038097 สั่งจ่ายเงินจำนวน 300,000 บาท ตามที่เป็นหนี้กัน สั่งจ่ายเงินวันที่ 30 ธันวาคม 2537หนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวมีข้อความชัดแจ้งว่า จำเลยเป็นหนี้ผู้เสียหายอยู่จริงและจำเลยยอมชำระหนี้ดังกล่าวให้ผู้เสียหายโดยเช็ค ทั้งจำเลยและผู้เสียหายได้ลงลายมือชื่อไว้ หนังสือดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานที่ผู้เสียหายสามารถนำไปฟ้องร้องจำเลยให้รับผิดในทางแพ่งได้โดยตรงและถือเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินได้
จำเลยสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมตามหนังสือรับสภาพหนี้จึงเป็นการสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
จำเลยสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมตามหนังสือรับสภาพหนี้จึงเป็นการสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2509/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองบังคับชำระหนี้: ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในส่วนที่ขาด หากสัญญาจำนองไม่ได้ระบุ
สัญญาจำนองไม่มีข้อความว่าหากบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ลูกหนี้จึงไม่ต้องรับผิดในส่วนที่ขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา733 ปัญหาที่ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดในหนี้ที่ขาดจำนวนในกรณีบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในศาลชั้นต้นก็มีสิทธิยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์และฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ - กรรมเดียว - ปลอมเครื่องหมายการค้า - ศาลยกฟ้อง - เหตุผลความผิดกรรมเดียวกับคดีก่อน
คำฟ้องโจทก์คดีนี้ที่ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา273และ275ระบุว่าจำเลยกระทำผิดเมื่อระหว่างวันที่1มกราคม2531ถึงวันที่28กรกฎาคม2531วันเวลาใดไม่ปรากฎชัดส่วนในคำฟ้องคดีเดิมโจทก์ฟ้องระบุว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองกรรมดังกล่าวเมื่อวันที่19มกราคม2531ดังนี้เวลากระทำผิดตามฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมจึงเป็นเวลาเดียวกันเพราะวันที่จำเลยกระทำผิดคดีนี้อาจเป็นวันที่19มกราคม2531เวลากลางวันดังที่ระบุไว้ในคำฟ้องคดีเดิมก็ได้เมื่อการกระทำของจำเลยในความผิด2กรรมทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้เสียหายรายเดียวกันซึ่งใช้กับสินค้าเหมือนกันและจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวเช่นเดียวกันทั้งคำฟ้องคดีเดิมและคดีนี้โจทก์ก็ระบุว่าจำเลยกระทำความผิดในเวลาและสถานที่เดียวกันเป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกันการกระทำของจำเลยทั้งสองในแต่ละกรรมทั้งสองคดีจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกันความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ในแต่ละกรรมย่อมเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิด2กรรมที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในคดีเดิมและเมื่อคดีอาญาเดิมดังกล่าวศาลได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์ร่วมนำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าดอกทานตะวันของบริษัทเดียวกันกับที่จำเลยถูกฟ้องคดีนี้และเสนอจำหน่ายสินค้าใบชากลิ่นมะลิตราดอกทานตะวันโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมจำเลยไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้องพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดดังนั้นเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วจึงนำคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดที่ได้ฟ้องจำเลยในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้อีกหาได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(4) สำหรับความผิดฐานขายของโดยหลอกลวงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา271ที่โจทก์กล่าวหาจำเลยนั้นเมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยได้ขายสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ร่วมโดยหลอกลวงอย่างไรบ้างหากแต่โจทก์ร่วมไปซื้อสินค้าพิพาทจากบุคคลอื่นที่วางขายในห้างสรรพสินค้าเองจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดในข้อหาดังกล่าวกรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าข้อหานี้เป็นฟ้องซ้ำกับข้อหาในคดีอาญาเรื่องเดิมหรือไม่เพราะแม้จะวินิจฉัยให้ผลแห่งคดีก็ไม่เปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ – ความผิดฐานปลอมแปลงเครื่องหมายการค้าและจำหน่ายสินค้าปลอม – คดีถึงที่สุดแล้ว
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดโดยร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าใบชากลิ่นมะลิ ตราดอกทานตะวันของบริษัทผู้เสียหายและร่วมกันจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายปลอมดังกล่าวแก่ประชาชนเมื่อระหว่างวันที่1มกราคม2531ถึงวันที่28กรกฎาคม2531วันเวลาใดไม่ปรากฎชัดส่วนในคำฟ้องคดีเดิมระบุว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำผิดทั้งสองกรรมดังกล่าวเมื่อวันที่19มกราคม2531เวลากลางวันเห็นได้ว่าเวลากระทำผิดตามฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมเป็นเวลาเดียวกันเพราะแม้คำฟ้องคดีนี้จะระบุว่าเวลากระทำผิดเป็นระหว่างวันที่1มกราคม2531ถึงวันที่28กรกฎาคม2531แต่ก็ระบุว่าวันเวลาใดไม่ปรากฎชัดจึงอาจเป็นวันที่19มกราคม2531เวลากลางวันดังที่ระบุไว้ในคำฟ้องคดีเดิมก็ได้และการกระทำของจำเลยทั้งสองในความผิด2กรรมทั้งสองคดีดังกล่าวก็เป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าตราดอกทานตะวันของบริษัทผู้เสียหายรายเดียวกันซึ่งใช้กับสินค้าใบชากลิ่นมะลิเหมือนกันและร่วมกันจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าใบชาที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวเช่นเดียวกันทั้งปรากฎในคำฟ้องคดีเดิมว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันเสนอจำหน่ายสินค้าดังกล่าวต่อร้านต่างๆทั่วไปในกรุงเทพมหานครซึ่งคำฟ้องคดีนี้โจทก์ก็ระบุว่าเกิดที่กรุงเทพมหานครเช่นเดียวกันดังนี้ความผิด2กรรมที่โจทก์ทั้งสองคดีฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดได้เกิดขึ้นในเวลาและสถานที่เดียวกันทั้งเป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกันการกระทำของจำเลยทั้งสองในแต่ละกรรมทั้งสองคดีจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกันความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองคดีนี้ในแต่ละกรรมย่อมเป็นความผิดกรรมเดียวกันกันความผิด2กรรมที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีเดิมเมื่อฟังได้ความว่าคดีอาญาเดิมศาลแขวงดุสิตได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้วดังนั้นเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วโจทก์จึงนำคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดที่ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้อีกหาได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้า แม้ต่างเวลา-สถานที่ หากเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน สิทธิฟ้องระงับ
คำฟ้องโจทก์คดีนี้ที่ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 273 และ 275 ระบุว่า จำเลยกระทำผิดเมื่อระหว่างวันที่1 มกราคม 2531 ถึงวันที่ 28 กรกฎาคม 2531 วันเวลาใดไม่ปรากฎชัด ส่วนในคำฟ้องคดีเดิม โจทก์ฟ้องระบุว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองกรรมดังกล่าวเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2531 ดังนี้ เวลากระทำผิดตามฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมจึงเป็นเวลาเดียวกัน เพราะวันที่จำเลยกระทำผิดคดีนี้อาจเป็นวันที่ 19 มกราคม 2531 เวลากลางวันดังที่ระบุไว้ในคำฟ้องคดีเดิมก็ได้เมื่อการกระทำของจำเลยในความผิด 2 กรรมทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้เสียหายรายเดียวกัน ซึ่งใช้กับสินค้าเหมือนกันและจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวเช่นเดียวกันทั้งคำฟ้องคดีเดิมและคดีนี้โจทก์ก็ระบุว่าจำเลยกระทำความผิดในเวลาและสถานที่เดียวกัน เป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองในแต่ละกรรมทั้งสองคดีจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน ความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ในแต่ละกรรมย่อมเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิด 2 กรรมที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในคดีเดิม และเมื่อคดีอาญาเดิมดังกล่าวศาลได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์ร่วมนำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าดอกทานตะวันของบริษัทเดียวกันกับที่จำเลยถูกฟ้องคดีนี้และเสนอจำหน่ายสินค้าใบชากลิ่นมะลิ ตราดอกทานตะวัน โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม จำเลยไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด ดังนั้น เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วจึงนำคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดที่ได้ฟ้องจำเลยในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้อีกหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) สำหรับความผิดฐานขายของโดยหลอกลวงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 271 ที่โจทก์กล่าวหาจำเลยนั้น เมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยได้ขายสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ร่วมโดยหลอกลวงอย่างไรบ้างหากแต่โจทก์ร่วมไปซื้อสินค้าพิพาทจากบุคคลอื่นที่วางขายในห้างสรรพสินค้าเอง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดในข้อหาดังกล่าว กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าข้อหานี้เป็นฟ้องซ้ำกับข้อหาในคดีอาญาเรื่องเดิมหรือไม่ เพราะแม้จะวินิจฉัยให้ ผลแห่งคดีก็ไม่เปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำกรรมเดียวกัน: คดีความผิดฐานปลอมแปลงเครื่องหมายการค้าและขายของหลอกลวง ศาลยกฟ้องเนื่องจากเคยมีคำพิพากษาเด็ดขาดแล้ว
คำฟ้องโจทก์คดีนี้ที่ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 273และ 275 ระบุว่า จำเลยกระทำผิดเมื่อระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2531 ถึงวันที่ 28กรกฎาคม 2531 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด ส่วนในคำฟ้องคดีเดิม โจทก์ฟ้องระบุว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองกรรมดังกล่าวเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2531 ดังนี้ เวลากระทำผิดตามฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมจึงเป็นเวลาเดียวกัน เพราะวันที่จำเลยกระทำผิดคดีนี้อาจเป็นวันที่ 19 มกราคม 2531 เวลากลางวัน ดังที่ระบุไว้ในคำฟ้องคดีเดิมก็ได้เมื่อการกระทำของจำเลยในความผิด 2 กรรมทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้เสียหายรายเดียวกัน ซึ่งใช้กับสินค้าเหมือนกันและจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวเช่นเดียวกันทั้งคำฟ้องคดีเดิมและคดีนี้โจทก์ก็ระบุว่าจำเลยกระทำความผิดในเวลาและสถานที่เดียวกัน เป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองในแต่ละกรรมทั้งสองคดีจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน ความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ในแต่ละกรรมย่อมเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิด 2 กรรม ที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในคดีเดิม และเมื่อคดีอาญาเดิมดังกล่าวศาลได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าดอกทานตะวันของบริษัทเดียวกันกับที่จำเลยถูกฟ้องคดีนี้และเสนอจำหน่ายสินค้าใบชากลิ่นมะลิ ตราดอกทานตะวัน โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม จำเลยไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด ดังนั้น เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วจึงนำคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดที่ได้ฟ้องจำเลยในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้อีกหาได้ไม่ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4)
สำหรับความผิดฐานขายของโดยหลอกลวงตาม ป.อ.มาตรา271 ที่โจทก์กล่าวหาจำเลยนั้น เมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยได้ขายสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ร่วมโดยหลอกลวงอย่างไรบ้าง หากแต่โจทก์ร่วมไปซื้อสินค้าพิพาทจากบุคคลอื่นที่วางขายในห้างสรรพสินค้าเอง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดในข้อหาดังกล่าว กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าข้อหานี้เป็นฟ้องซ้ำกับข้อหาในคดีอาญาเรื่องเดิมหรือไม่ เพราะแม้จะวินิจฉัยให้ ผลแห่งคดีก็ไม่เปลี่ยนแปลง
สำหรับความผิดฐานขายของโดยหลอกลวงตาม ป.อ.มาตรา271 ที่โจทก์กล่าวหาจำเลยนั้น เมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยได้ขายสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ร่วมโดยหลอกลวงอย่างไรบ้าง หากแต่โจทก์ร่วมไปซื้อสินค้าพิพาทจากบุคคลอื่นที่วางขายในห้างสรรพสินค้าเอง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดในข้อหาดังกล่าว กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าข้อหานี้เป็นฟ้องซ้ำกับข้อหาในคดีอาญาเรื่องเดิมหรือไม่ เพราะแม้จะวินิจฉัยให้ ผลแห่งคดีก็ไม่เปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1137-1138/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงิน หลักฐานการกู้ยืม เอกสารที่ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ และการฟ้องร้องเรียกหนี้
โจทก์ฟ้องว่าบิดาจำเลยกู้เงินโจทก์ไปตามฟ้องจำเลยให้การต่อสู้คดีว่าบิดาจำเลยไม่ได้กู้เงินไปจากโจทก์ดังนี้ข้อความที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าบิดาจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปตามฟ้องหรือไม่ย่อมมีความหมายรวมไปถึงว่าบิดาจำเลยได้รับเงินแล้วหรือไม่ไม่จำต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าบิดาจำเลยได้กู้เงินโจทก์และรับเงินกู้ไปแล้วหรือไม่ บิดาจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปตามเอกสารหมายจ.2และจ.6โดยเอกสารหมายจ.2ทำขึ้นในวันที่3กรกฎาคม2535มีข้อความว่า"ฯลฯข้อ1ฯลฯ1.1ผู้กู้ได้กู้ยืมเงินมาเมื่อวันที่22กุมภาพันธ์2533จำนวนเงิน2,025,000บาท(สองล้านสองหมื่นห้าพันบาทถ้วน)1.2ผู้กู้ได้กู้ยืมเงินมาเมื่อวันที่13มิถุนายน2533จำนวนเงิน590,000บาทฯลฯรวมเป็นเงินฯลฯ10,900,000บาท(สิบล้านเก้าแสนบาทถ้วน)ฯลฯข้อ3ผู้ให้กู้และผู้กู้ตกลงกันว่าเงินจำนวนกู้ทั้งหมดตามสัญญากู้นี้ผู้กู้จะชำระคืนให้เมื่อขายที่ที่สามเหลี่ยมทองคำฯลฯได้เสร็จเรียบร้อยแล้วฯลฯ"การที่โจทก์และบิดาจำเลยได้ทำสัญญากู้เงินกันก่อนหน้าที่โจทก์และบิดาจำเลยจะได้ทำเอกสารหมายจ.2ซึ่งตามข้อความในเอกสารหมายจ.2ก็ปรากฏชัดว่าบิดาจำเลยได้รับเงินไปก่อนแล้วทั้งเอกสารหมายจ.6ก็มีลักษณะอย่างเดียวกันเอกสารหมายจ.2และจ.6จึงเป็นเพียงหลักบานในการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อบิดาจำเลยผู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา653วรรคหนึ่งไม่ใช่สัญญากู้ยืมเงินแม้ไม่ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ หนี้ตามเอกสารหมายจ.2จำเลยให้การต่อสู้ว่าก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ไม่เคยทวงถามจำเลยให้ชำระหนี้เลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าหนี้ตามเอกสารหมายจ.2ยังไม่ถึงกำหนดเพราะจำเลยยังไม่ได้ขายที่ดินฎีกาของจำเลยที่ว่าหนี้ตามเอกสารหมายจ.2ยังไม่ถึงกำหนดจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ หนี้ตามเอกสารหมายจ.6ไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้โจทก์จะบอกกล่าวเพื่อให้เวลาแก่จำเลยหรือไม่ก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา203โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องได้แม้ไม่ได้บอกกล่าวจำเลยให้ชำระหนี้