พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: สินค้าต่างจำพวก ไม่ทำให้สับสน, สิทธิใช้เครื่องหมายการค้าแม้ไม่ได้จดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลย ต่างใช้รูปหัวไก่เป็นส่วนสำคัญของเครื่องหมายการค้า ซึ่งมีส่วนคล้ายกันมาก แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเครื่องหมายการค้า ของโจทก์และจำเลยเป็นสินค้าที่มีลักษณะแตกต่างกันหรือต่างจำพวก สินค้ากันในรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้และโจทก์กับจำเลยต่างใช้เครื่องหมายการค้าของตนสำหรับ สินค้าคนละประเภทกันดังกล่าวผลิตออกจำหน่ายแก่สาธารณชน โดยสุจริตมาเป็นเวลานานหลายสิบปี จนสาธารณชนทราบดีว่า สินค้าชนิดใดเป็นของโจทก์ ชนิดใดเป็นของจำเลย มิได้ทำให้ สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้า หรือแหล่งกำเนิดของสินค้าแต่อย่างใด เครื่องหมายการค้า ของโจทก์จึงไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียน ไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็น เจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้านั้น ไม่เข้าลักษณะ ต้องห้ามมิให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ของโจทก์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6(3) และ 13 วรรคหนึ่ง(2) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาโดยสุจริตการที่โจทก์มิได้ต่ออายุทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และนายทะเบียนได้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้น มีผลทำให้โจทก์ไม่อยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วอันจะได้รับความคุ้มครองในฐานะดังกล่าวตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เท่านั้น หาได้เป็นการตัดสิทธิโจทก์ไม่ให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นต่อไปไม่และโจทก์ย่อมมีสิทธิ ที่จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ใหม่ได้ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่เสียสิทธิในการใช้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงหาใช่ข้อวินิจฉัยที่ คลาดเคลื่อนต่อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1452/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกและการยกข้อสัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่เคยถูกยกขึ้นในศาลชั้นต้น
ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และ ส.ร่วมกัน และเป็นทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกัน เมื่อโจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกส่วนของตนตลอดมา โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ตามมาตรา 1748 วรรคหนึ่ง แม้จะล่วงพ้นอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ตามคำฟ้องและคำให้การจำเลยไม่มีประเด็นเรื่องสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่จำเลยเพิ่งยื่นสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลประกอบคำเบิกความพยานจำเลย จึงมิใช่กรณีคู่ความตกลงหรือประนีประนอมยอมความและให้ศาลพิพากษาตามยอมตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138 ที่ศาลจะพิพากษาบังคับให้ได้ การที่ศาลชั้นต้นไม่หยิบยกปัญหานี้ขึ้นพิจารณาชอบแล้ว ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยเกี่ยวกับสัญญาประนีประนอมยอมความจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหานี้ชอบแล้วเช่นกัน และจำเลยไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหานี้ต่อมา เพราะมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย
ตามคำฟ้องและคำให้การจำเลยไม่มีประเด็นเรื่องสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่จำเลยเพิ่งยื่นสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลประกอบคำเบิกความพยานจำเลย จึงมิใช่กรณีคู่ความตกลงหรือประนีประนอมยอมความและให้ศาลพิพากษาตามยอมตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138 ที่ศาลจะพิพากษาบังคับให้ได้ การที่ศาลชั้นต้นไม่หยิบยกปัญหานี้ขึ้นพิจารณาชอบแล้ว ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยเกี่ยวกับสัญญาประนีประนอมยอมความจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหานี้ชอบแล้วเช่นกัน และจำเลยไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหานี้ต่อมา เพราะมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1452/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องแบ่งทรัพย์มรดกและการครอบครองทรัพย์สินร่วมกัน รวมถึงข้อจำกัดในการยกประเด็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และ ส. ร่วมกัน และเป็นทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกัน เมื่อโจทก์ครอบครองทรัพย์มรดก ส่วนของตนตลอดมา โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่ง ทรัพย์มรดกนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง แม้จะล่วงพ้นอายุความตามมาตรา 1754 คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ ตามคำฟ้องและคำให้การไม่มีประเด็นเรื่องสัญญา ประนีประนอมยอมความ แต่จำเลยเพิ่งยื่นสัญญาประนีประนอมยอมความ ต่อศาลประกอบคำเบิกความพยานจำเลย จึงมิใช่กรณี คู่ความตกลงหรือประนีประนอมยอมความและให้ศาลพิพากษา ตาม ยอมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138การที่ศาลชั้นต้นไม่หยิบยกปัญหานี้ขึ้นพิจารณาชอบแล้วดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยเกี่ยวกับสัญญาประนีประนอมยอมความจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหานี้ชอบแล้วเช่นกัน และจำเลยไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหานี้ต่อมาเพราะมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1451/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าต่างกันชัดเจน ไม่ทำให้สาธารณชนสับสน ไม่เป็นการละเมิดสิทธิ
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เครื่องหมายหนึ่งคือ "CK" อ่านว่า "ซีเค" ส่วนอีกเครื่องหมายหนึ่งคือ "CK Calvin Klein" โดยคำว่า "CK" กับ "Calvin Klein" วางทับซ้อนกันรวมเป็นอักษร 13 ตัว อ่านแยกกันเป็น "ซีเค" และ "คาลวินไคลน์" ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมัน คือ ในส่วนคำสำคัญคือคำว่า "CCKK" นั้น มีลักษณะเป็นอักษรประดิษฐ์ โดยอักษรตัวแรกคือ ตัว C และ อักษรตัวที่ 3 คือตัว K มีขนาดเท่ากัน อักษรตัวที่สองคือตัว C และอักษรตัวสุดท้ายคือตัว K มีขนาดใหญ่กว่า รวมเป็นตัวอักษร 4 ตัววางเรียงกัน แม้ตัวอักษรตัวที่ 2 คือตัว C และอักษรตัวที่ 4 คือ ตัว K จะมีขนาดใหญ่กว่าอักษรอีก 2 ตัว แต่ก็เห็นได้ชัดว่าระหว่างตัว C และ K ที่ขนาดใหญ่ขึ้นนั้นมีอักษรตัว K อีกตัวหนึ่งคั่นอยู่ จึงอ่านได้ว่า "ซี ซี เค เค" มิใช่ "ซีเค" อย่างของโจทก์แต่อย่างใด จึงเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยกับของโจทก์ดังกล่าวมีรูปลักษณะตัวอักษร การวางตัวอักษร จำนวนตัวอักษร และเสียงเรียกขานที่แตกต่างกันจนสังเกตได้ชัดเจน ถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ขอจดทะเบียนมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ถึงขนาดนับได้ว่าทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของและแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ และไม่ปรากฏว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือรัฐประศาสโนบายแต่อย่างใด จึงไม่ใช่เครื่องหมายการค้าที่ต้องห้ามรับจดทะเบียน ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8(10) และ (11) การที่จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงไม่เป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ห้ามจำเลยใช้หรือขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจสอบสวนคดีอาญา: สถานที่จับกุม vs. สถานที่เกิดเหตุ - การรับของโจรต่อเนื่อง
จำเลยขับรถยนต์กระบะบรรทุกรถจักรยานยนต์ 2 คันของกลาง มุ่งออกจากจังหวัดปราจีนบุรีจะข้ามไปฝั่งประเทศกัมพูชา แล้วถูกเจ้าพนักงานตำรวจทางหลวง อำเภอกบินทร์บุรี ตรวจค้นและควบคุมตัวไว้ เมื่อทราบว่าผู้เสียหายได้แจ้งความ ไว้แล้วที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางว่ารถจักรยานยนต์ ของกลางถูกยักยอกไป เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธร อำเภอเมืองลำปางจึงเดินทางไปร่วมจับกุมจำเลยกับ เจ้าพนักงานตำรวจทางหลวงอำเภอกบินทร์บุรี ดังกล่าวเมื่อผู้เสียหายเดินทางมาที่ทำการตำรวจทางหลวง อำเภอ กบินทร์บุรี ตรวจดูรถจักรยานยนต์ที่ถูกยึดไว้ แล้วยืนยันว่ารถจักรยานยนต์ของกลางเป็นของผู้เสียหาย จึงชี้ให้จับกุมจำเลย เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางกับพวก ได้ร่วมจับกุมจำเลยและได้แจ้งข้อหาให้จำเลยทราบ โดยมีเจ้าพนักงานตำรวจชั้นสัญญาบัตรของตำรวจทางหลวงและ สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางร่วมจับกุมด้วย จึงถือว่าจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอ เมืองลำปางจับกุมโดยชอบแล้วและการที่จำเลยกับพวกร่วมกัน บรรทุกรถจักรยานยนต์ 2 คัน ของกลางบนรถยนต์กระบะ เดินทางมาเขตอำเภอกบินทร์บุรีเพื่อจะนำไปจำหน่ายยังประเทศกัมพูชาก็เป็นการกระทำผิดฐานรับของโจรต่อเนื่องกันและกระทำต่อเนื่องกันและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19(3) ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ เมืองลำปางซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่เกี่ยวข้อง กับเหตุที่เกิด ทั้งยังมีเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธร อำเภอเมืองลำปางเป็นผู้ร่วมจับกุมจำเลยกับพวกในท้องที่ อำเภอกบินทร์บุรีด้วย พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางจึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ในการสอบสวนตามมาตรา 19 วรรคสาม(ข) เพราะเป็นพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่พบการกระทำผิดอยู่ก่อนโดยเริ่มสอบสวนตั้งแต่ ยังจับตัวจำเลยกับพวกไม่ได้ แม้ภายหลังจะปรากฏว่าจำเลยกับพวกถูกจับกุมที่ท้องที่อำเภอกบินทร์บุรีก็ตามก็หาทำให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางพ้นจากเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบไปไม่ จึงมิใช่กรณีตามมาตรา 19 วรรคสาม(ก) ดังนี้พนักงานอัยการโจทก์จึงฟ้องจำเลยกับพวกที่ศาลจังหวัดลำปางได้ โดยถือว่ามีการสอบสวนโดยชอบแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีรับของโจร: สถานที่จับกุมและการรับผิดชอบของพนักงานสอบสวน
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน โดยคงจำคุกจำเลยคนละไม่เกิน 5 ปี คดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 218 วรรคหนึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาว่า การที่รถจักรยานยนต์ของกลางอยู่ที่จำเลยทั้งสาม พฤติการณ์ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1และที่ 2 กับพวกรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดฐานยักยอกทรัพย์นั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ในการจับกุมมีเจ้าพนักงานตำรวจชั้นสัญญาบัตรของตำรวจทางหลวงและสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางร่วมจับกุมด้วย จึงถือว่าจำเลยทั้งสามถูกเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางจับกุมตามกฎหมายโดยชอบและการที่จำเลยทั้งสามร่วมกันบรรทุกรถจักรยานยนต์ 2 คันของกลางบนรถยนต์กระบะเดินทางมาเขตอำเภอกบินทร์บุรีเพื่อจะนำไปจำหน่ายยังประเทศเขมรนั้น เป็นการกระทำผิดฐานรับของโจรต่อเนื่องกันและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป ตามมาตรา 19(3)แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ดังนั้น ร้อยตำรวจเอก อ. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่เกี่ยวข้องกับเหตุที่เกิดทั้งยังมีเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางเป็นผู้ร่วมจับกุมจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกในท้องที่อำเภอกบินทร์บุรีด้วยร้อยตำรวจเอกอ. จึงเป็นพนักงานผู้รับผิดชอบในการสอบสวนแล้วเข้ากรณีตาม มาตรา 19 วรรคสาม (ข) เพราะเป็นพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่ พบการกระทำผิดอยู่ก่อนโดยเริ่มสอบสวนตั้งแต่ยังจับตัว จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกไม่ได้ แม้ภายหลังจะปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกถูกจับกุมที่ท้องที่ อำเภอกบินทร์บุรีก็ตาม ก็หาทำให้ร้อยตำรวจเอก อ. พ้นจากการเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบไปไม่ เมื่อเป็นเช่นนี้พนักงานอัยการจังหวัดลำปางโจทก์จึงฟ้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกได้ โดยถือว่ามีการสอบสวน โดยชอบแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนต่อเนื่องในคดีรับของโจร: สถานที่จับกุมไม่ใช่ข้อจำกัด
จำเลยขับรถยนต์กระบะบรรทุกรถจักรยานยนต์ 2 คันของกลางมุ่งออกจากจังหวัดปราจีนบุรีจะข้ามไปฝั่งประเทศกัมพูชา แล้วถูกเจ้าพนักงานตำรวจทางหลวง อำเภอกบินทร์บุรี ตรวจค้นและควบคุมตัวไว้ เมื่อทราบว่าผู้เสียหายได้แจ้งความไว้แล้วที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางว่ารถจักรยานยนต์ของกลางถูกยักยอกไป เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางจึงเดินทางไปร่วมจับกุมจำเลยกับเจ้าพนักงานตำรวจทางหลวงอำเภอกบินทร์บุรีดังกล่าว เมื่อผู้เสียหายเดินทางมาที่ทำการตำรวจทางหลวง อำเภอกบินทร์บุรี ตรวจดูรถจักรยานยนต์ที่ถูกยึดไว้ แล้วยืนยันว่ารถจักรยานยนต์ของกลางเป็นของผู้เสียหาย จึงชี้ให้จับกุมจำเลย เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางกับพวกได้ร่วมจับกุมจำเลยและได้แจ้งข้อหาให้จำเลยทราบ โดยมีเจ้าพนักงานตำรวจชั้นสัญญาบัตรของตำรวจทางหลวงและสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางร่วมจับกุมด้วย จึงถือว่าจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางจับกุมโดยชอบแล้วและการที่จำเลยกับพวกร่วมกันบรรทุกรถจักรยานยนต์ 2 คัน ของกลางบนรถยนต์กระบะเดินทางมาเขตอำเภอกบินทร์บุรีเพื่อจะนำไปจำหน่ายยังประเทศกัมพูชาก็เป็นการกระทำผิดฐานรับของโจรต่อเนื่องกันและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆเกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 19 (3) ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่เกี่ยวข้องกับเหตุที่เกิด ทั้งยังมีเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางเป็นผู้ร่วมจับกุมจำเลยกับพวกในท้องที่อำเภอกบินทร์บุรีด้วย พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางจึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนตามมาตรา 19 วรรคสาม (ข) เพราะเป็นพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่พบการกระทำผิดอยู่ก่อนโดยเริ่มสอบสวนตั้งแต่ยังจับตัวจำเลยกับพวกไม่ได้ แม้ภายหลังจะปรากฏว่า จำเลยกับพวกถูกจับกุมที่ท้องที่อำเภอกบินทร์บุรีก็ตาม ก็หาทำให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปางพ้นจากเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบไปไม่ จึงมิใช่กรณีตามมาตรา 19 วรรคสาม (ก) ดังนี้พนักงานอัยการโจทก์จึงฟ้องจำเลยกับพวกที่ศาลจังหวัดลำปางได้ โดยถือว่ามีการสอบสวนโดยชอบแล้ว ตามป.วิ.พ.มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีโดยจำเลยและทนายความ ศาลมีสิทธิงดสืบพยานได้
ในระหว่างนัดสืบพยานจำเลยทั้งสาม ทนายจำเลยที่ 1และที่ 2 ได้ขอเลื่อนคดีมาแล้วรวม 3 ครั้งติดต่อกันนัดที่หนึ่งอ้างเหตุว่า ตัวจำเลยที่ 1 ติดธุระสำคัญที่กรุงเทพฯ นัดที่สองอ้างว่า ทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2ติดธุระที่จังหวัดพิษณุโลก และนัดที่สามอ้างว่าทนายจำเลยที่ 1และที่ 2 มีอาการป่วย สำหรับนัดที่สี่ทนายจำเลยที่ 1และที่ 2 แถลงขอเลื่อนคดีอีกอ้างว่า ไม่สามารถติดตามพยานมาได้ทั้ง ๆ ที่ในวันนัดสืบพยานจำเลยนัดที่สามนั้นศาลชั้นต้นได้กำชับว่า นัดหน้าให้จำเลยทั้งสามเตรียมพยานมาให้พร้อม หากมีการขอเลื่อนคดีเพราะเหตุขัดข้องทางฝ่ายจำเลยอีก จะถือว่าประวิงคดีและศาลจะสั่งงดสืบพยานจำเลยเสีย ซึ่งทนายจำเลยที่ 2 ก็ยอมรับเงื่อนไขตามคำสั่งของศาลดังกล่าว พฤติการณ์ของทนายจำเลยที่ 2 ส่อแสดงถึงความไม่เอาใจใส่คดีของตนที่ทำหน้าที่อยู่ กับไม่นำพาต่อคำสั่งศาลที่กำชับนั้น เพราะถ้าหากสนใจคดีแล้วทนายจำเลยที่ 2ก็ย่อมติดต่อหรือนำตัวพยานมาสืบในวันนัดได้แต่หาได้ดำเนินการเช่นนั้นไม่ กลับจะขอเลื่อนคดีไปเรื่อย ๆ โดยไร้จุดมุ่งหมายถือว่าจำเลยที่ 2 ประวิงคดีให้ชักช้า ทั้งเหตุที่ทนายจำเลยที่ 2อ้างขอเลื่อนคดีเป็นนัดที่สี่ดังกล่าวก็มิใช่เหตุเกิดจากความเจ็บป่วยของทนายจำเลยที่ 2 จนไม่อาจดำเนินคดีได้จึงไม่เป็นกรณีมีความจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่ให้เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยที่ 2 ชอบแล้ว ความตามมาตรา 40 ตอนท้ายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งบัญญัติว่า ถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรมนั้น ต้องพิจารณาการกระทำหรือการดำเนินคดีของจำเลยที่ 2 ทั้งมวลประกอบการพิจารณาด้วย มิใช่ว่าศาลต้องเลื่อนคดีไปตามเหตุซึ่งจำเลยที่ 2 จะยกขึ้นอย่างไรก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีโดยจำเลยและการงดสืบพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40
ในระหว่างนัดสืบพยานจำเลยทั้งสาม ทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2ได้ขอเลื่อนคดีมาแล้วรวม 3 ครั้งติดต่อกัน โดยนัดที่หนึ่งอ้างเหตุว่า ตัวจำเลยที่ 1ติดธุระสำคัญที่กรุงเทพฯ นัดที่สองอ้างว่า ทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 ติดธุระที่จังหวัดพิษณุโลก และนัดที่สามอ้างว่าทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีอาการป่วย สำหรับวันนัดที่สี่ทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 แถลงขอเลื่อนคดีอีกอ้างว่า ไม่สามารถติดตามพยานมาได้ทั้ง ๆ ที่ในวันนัดสืบพยานจำเลยนัดที่สามนั้น ศาลชั้นต้นได้กำชับว่า นัดหน้าให้จำเลยทั้งสามเตรียมพยานมาให้พร้อม หากมีการขอเลื่อนคดีเพราะเหตุขัดข้องทางฝ่ายจำเลยอีก จะถือว่าประวิงคดีและศาลจะสั่งงดสืบพยานจำเลยเสีย ซึ่งทนายจำเลยที่ 2ก็ยอมรับเงื่อนไขตามคำสั่งของศาลดังกล่าว พฤติการณ์ของทนายจำเลยที่ 2 ส่อแสดงถึงความไม่เอาใจใส่คดีของตนที่ทำหน้าที่อยู่ กับไม่นำพาต่อคำสั่งศาลที่กำชับนั้น เพราะถ้าหากสนใจคดีแล้วทนายจำเลยที่ 2 ก็ย่อมติดต่อหรือนำตัวพยานมาสืบในวันนัดได้แต่หาได้ดำเนินการเช่นนั้นไม่ กลับจะขอเลื่อนคดีไปเรื่อย ๆ โดยไร้จุดมุ่งหมายถือว่าจำเลยที่ 2 ประวิงคดีให้ชักช้า ทั้งเหตุที่ทนายจำเลยที่ 2 อ้างขอเลื่อนคดีเป็นนัดที่สี่ดังกล่าวก็มิใช่เหตุเกิดจากความเจ็บป่วยของทนายจำเลยที่ 2 จนไม่อาจดำเนินคดีได้ จึงไม่เป็นกรณีมีความจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ ดังนั้น คำสั่งของศาลขั้นต้นที่ไม่ให้เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยที่ 2 แล้ว
ตามมาตรา 40 ตอนท้ายแห่ง ป.วิ.พ.ซึ่งบัญญัติว่า ถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรมต้องพิจารณาการกระทำหรือการดำเนินคดีของจำเลยที่ 2 ทั้งมวลประกอบการพิจารณาด้วย มิใช่ว่าศาลต้องเลื่อนคดีไปตามเหตุซึ่งจำเลยที่ 2 จะยกขึ้นอย่างไรก็ได้ ข้ออ้าง
ตามมาตรา 40 ตอนท้ายแห่ง ป.วิ.พ.ซึ่งบัญญัติว่า ถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรมต้องพิจารณาการกระทำหรือการดำเนินคดีของจำเลยที่ 2 ทั้งมวลประกอบการพิจารณาด้วย มิใช่ว่าศาลต้องเลื่อนคดีไปตามเหตุซึ่งจำเลยที่ 2 จะยกขึ้นอย่างไรก็ได้ ข้ออ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่มีเงินรองรับ แม้มีหนี้เดิม การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ก็ยังเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
ขณะที่จำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ร่วมนั้นม.พี่ชายจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ร่วมได้ผิดนัดชำระหนี้ค่าเช่าซื้อกับโจทก์ร่วมแล้ว แม้ตามสัญญาเช่าซื้อที่ ม.ทำกับโจทก์ร่วมจะระบุว่าหากผู้เช่าซื้อผิดนัดค้างชำระค่าเช่าซื้องวดใดงวดหนึ่งหรือข้อกำหนดอื่นแล้วให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อยกเลิกหรือเพิกถอนทันทีก็ตาม ก็หาทำให้หนี้ที่เกี่ยวพันกันหรือค่าเสียหายที่เกิดขึ้นอันเนื่องจากผู้เช่าซื้อผิดสัญญาระงับหรือสิ้นความผูกพันไปไม่ เพราะหนี้ที่เกิดขึ้นนั้นไม่ว่าจะเป็นค่าเช่าที่ติดค้างหรือค่าเสียหายผู้เช่าซื้อก็ยังคงจะต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมอยู่ การที่จำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่ โจทก์ร่วม โดยยอมผูกพันตามหนี้ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นต่อโจทก์ร่วม ย่อมถือว่าหนี้ของโจทก์ร่วมตามมูลหนี้ในเช็คพิพาทมีอยู่จริง และบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อเช็คพิพาทเรียกเก็บเงินไม่ได้ จำเลยย่อมมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิด จากการใช้เช็คมาตรา 4(1) และ (2)