คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธรรมนูญ โชคชัยพิทักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 982/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีจำเลยรับสารภาพ: ศาลไม่ต้องสืบพยานหากโทษจำคุกไม่เกินสิบปี
คดีที่จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องและศาลต้องฟังพยานโจทก์ จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงได้แก่ คดีที่มี อัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 176 วรรคหนึ่ง แต่คดีนี้มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลย่อมพิพากษาโดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานในข้อหาความผิดที่จำเลยให้การรับสารภาพดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 982/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพคดีอาญา: ข้อจำกัดการสืบพยานเมื่ออัตราโทษต่ำกว่าเกณฑ์
คดีที่จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องและศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงได้แก่ คดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 176 วรรคหนึ่ง แต่คดีนี้มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลย่อมพิพากษาโดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานในข้อหาความผิดที่จำเลยให้การรับสารภาพดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินที่ผู้คัดค้านยินยอมโอนให้เพื่อใช้สร้างอ่างเก็บน้ำ ย่อมตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
คำร้องขอบรรยายว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของ แผ่นดิน ผู้คัดค้านโต้แย้งว่าเป็นที่ดินของผู้คัดค้านปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่จึงเป็นประเด็นโดยตรงในคดี การพิจารณาว่าประเด็นแห่งคดี มีอย่างไร ต้องพิจารณาข้ออ้างและข้อเถียงทั้งจากคำฟ้อง และคำให้การ แม้ผู้ร้องจะเริ่มคดีโดยทำเป็นคำร้องขอ แต่เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้าน ก็ต้องดำเนินคดี อย่างคดีมีข้อพิพาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยคดี ไม่มีความจำเป็นต้อง ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยก่อน เมื่อปรากฏว่า ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยสืบพยานผู้ร้องและผู้คัดค้านมาจนเสร็จสิ้นกระแสความแล้ว ย่อมเพียงพอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีไปได้โดยพิจารณาจากพยานหลักฐานและเอกสารในสำนวน ผู้คัดค้านซื้อที่ดินพิพาทมาให้ผู้ร้องที่ 2 ใช้ร่วมกับคูคลองและลำห้วยซึ่งเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ อยู่เดิมเพื่อก่อสร้างอ่างเก็บน้ำไว้ใช้ในกิจการของ ผู้คัดค้านและเพื่อประโยชน์ของราษฎรในบริเวณนั้น จึงมีลักษณะเป็นการใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ ประกอบกับการที่ผู้คัดค้านแจ้งแก่ผู้ร้องว่า ยินดีโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้องเป็นการยืนยันเจตนาว่าจะให้ใช้ที่ดินพิพาทเพื่อสาธารณประโยชน์ถือว่าผู้คัดค้านมีเจตนาสละที่ดินพิพาทให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน การแสดงเจตนาย่อมมีผลทันที ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 ผู้คัดค้านไม่อาจ ยกเงื่อนไขที่ตนมีต่อผู้ร้องขึ้นอ้างเพื่อลบล้างสภาพของที่ดิน ซึ่งตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน อีกทั้งทรัพย์สิน ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่ อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสาธารณสมบัติ: การโอนกรรมสิทธิ์โดยเจตนาสละ และการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง
คำร้องขอบรรยายว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ผู้คัดค้านโต้แย้งว่าเป็นที่ดินของผู้คัดค้าน ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่จึงเป็นประเด็นโดยตรงในคดี
การพิจารณาว่าประเด็นแห่งคดีมีหลายอย่าง ต้องพิจารณาข้ออ้างและข้อเถียง ทั้งจากคำฟ้องและคำให้การ แม้ผู้ร้องจะเริ่มคดีโดยทำเป็นคำร้องขอ แต่เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้าน ก็ต้องดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาท
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 240 ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยคดี ไม่มีความจำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยก่อน เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยสืบพยานผู้ร้องและผู้คัดค้านมาจนเสร็จสิ้นกระแสความแล้ว ย่อมเพียงพอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีไปได้โดยพิจารณาจากพยานหลักฐานและเอกสารในสำนวน
ผู้คัดค้านซื้อที่ดินพิพาทมาให้กรมชลประทานผู้ร้องที่ 2 ใช้ร่วมกับคูคลองและลำห้วยซึ่งเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์อยู่เดิม เพื่อก่อสร้างอ่างเก็บน้ำไว้ใช้ในกิจการของผู้คัดค้านและเพื่อประโยชน์ของราษฎรในบริเวณนั้น จึงมีลักษณะเป็นการใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ ประกอบกับการที่ผู้คัดค้านแจ้งแก่ผู้ร้องว่ายินดีโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้อง เป็นการยืนยันเจตนาว่าจะให้ใช้ที่ดินพิพาทเพื่อสาธารณประโยชน์ ถือว่าผู้คัดค้านมีเจตนาสละที่ดินพิพาทให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน การแสดงเจตนาย่อมมีผลทันที ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 ผู้คัดค้านไม่อาจยกเงื่อนไขที่ตนมีต่อผู้ร้องขึ้นอ้างเพื่อลบล้างสภาพที่ดินซึ่งตกเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน อีกทั้งทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1305

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีรับขนของทางทะเลที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท ย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เพียง 75,703.73 บาทซึ่งไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามมาตรา 41 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งอื่นซึ่งตกลงรับขนสินค้าแบบ CY/CY โจทก์ไม่นำสืบว่า สินค้าได้สูญหายระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ส่งมอบตู้สินค้าพิพาทให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย ตู้สินค้าอยู่ในสภาพเรียบร้อย แสดงให้เห็นว่า สินค้าในตู้สินค้าไม่มีโอกาสสูญหายระหว่างจำเลยที่ 2 ทำการขนส่ง กรณีไม่อาจถือว่า สินค้าพิพาทสูญหายไประหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 39 ประกอบมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 โจทก์อุทธรณ์ว่า สินค้าที่พิพาทได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ตามมาตรา 39 วรรคสอง, 43,44, 45, 52 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 เป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่อุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์มานั้นจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิอุทธรณ์คดีทรัพย์สินทางปัญญาเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และการยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่งเมื่อไม่มีหลักฐานสินค้าสูญหายระหว่างขนส่ง
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งอื่นซึ่งตกลงรับขนสินค้าแบบ CY/CY เมื่อโจทก์ไม่นำสืบว่าสินค้าได้สูญหายระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 2 ส่งมอบตู้สินค้าพิพาทให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยที่ ตู้สินค้าอยู่ในสภาพเรียบร้อย แสดงให้เห็นว่า สินค้าในตู้สินค้า ไม่มีโอกาสสูญหายระหว่างจำเลยที่ 2 ทำการขนส่ง จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 39 ประกอบมาตรา 44 การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า สินค้าที่พิพาทได้สูญหายไประหว่างการขนส่งที่อยู่ ในความดูแล ของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำนวน 75,703.73 บาทนั้น เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจ ในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเพื่อนำไปสู่ปัญหา ข้อกฎหมาย จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ ในข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีทรัพย์สินทางปัญญา: ทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท และการโต้เถียงข้อเท็จจริง
คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เพียง75,703.73 บาท ซึ่งไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2เป็นผู้ขนส่งอื่นซึ่งตกลงรับขนสินค้าแบบ CY/CY โจทก์ไม่นำสืบว่าสินค้าได้สูญหายระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2จำเลยที่ 2 ส่งมอบตู้สินค้าพิพาทให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยตู้สินค้าอยู่ในสภาพเรียบร้อย แสดงให้เห็นว่าสินค้าในตู้สินค้าไม่มีโอกาสสูญหายระหว่างจำเลยที่ 2ทำการขนส่ง กรณีไม่อาจถือว่า สินค้าพิพาทสูญหายไประหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 39ประกอบมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2534 โจทก์อุทธรณ์ว่า สินค้าที่พิพาทได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2ผู้ขนส่ง จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามมาตรา 39 วรรคสอง,43,44,45,52 แห่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 เป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่อุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์มานั้นจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในทางอาญาของผู้ป่วยทางจิต: การพิสูจน์ความสามารถในการรู้ผิดชอบขณะกระทำความผิด
จำเลยมีอาการผิดปกติทางจิตมานานแล้ว จะมีการกำเริบ เป็นครั้งคราวและไม่อาจรู้ได้ล่วงหน้า เมื่อมีอาการทางจิต แล้วจะรู้สึกกลัวและจำอะไรไม่ได้ การที่จำเลยฟันทำร้าย ผู้เสียหายทั้งสี่ได้รับบาดเจ็บนั้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยกับ ผู้เสียหายทั้งสี่มีเรื่องบาดหมางมาก่อนอันจะเป็นมูลเหตุ ให้จำเลยโกรธเคืองมุ่งร้ายผู้เสียหาย ถือเป็นการผิดปกติวิสัย ที่คนจิตปกติจะมาฟันทำร้ายผู้เสียหายโดยไม่ปรากฏสาเหตุใด ๆ มาก่อน ดังนั้น พฤติการณ์ที่จำเลยกระทำย่อมแสดงให้เห็นว่า จำเลยทำร้ายผู้เสียหายทั้งสี่ในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่ สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีจิตบกพร่องหรือโรคจิต จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษสำหรับความผิดดังกล่าวตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคแรก การกระทำของจำเลยที่ไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคแรกนั้นต้อง พิจารณาถึงผู้กระทำว่ารู้สึกผิดชอบในการกระทำผิดลงในขณะนั้นกับขณะนั้นผู้กระทำสามารถยับยั้งหรือบังคับตนเองได้หรือไม่อันเนื่องจากมีจิตบกพร่องหรือโรคจิต มิใช่ถือเอาการกระทำของจำเลยภายหลังเกิดเหตุ ที่นำชี้สถานที่เกิดเหตุกับแสดงท่าทาง ในการกระทำผิดมาเป็นเกณฑ์พิจารณาประกอบการกระทำความผิด ที่กระทำก่อนแล้วไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิ, ยักยอกทรัพย์, และทำลายเอกสารของธนาคารโดยพนักงาน
จำเลยเป็นพนักงานของธนาคารผู้เสียหาย ตำแหน่งเจ้าหน้าที่อำนวยการบริการมีหน้าที่รับฝาก-ถอนเงินให้แก่ลูกค้าของผู้เสียหาย ตามวันเกิดเหตุโจทก์ร่วมได้นำเงินมอบให้จำเลยเพื่อฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วมที่ธนาคารผู้เสียหาย รวม 9 ครั้ง เป็นเงิน 487,810 บาท ในการฝากเงินของโจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมมอบเงินฝากให้จำเลย จำเลยจะเป็นผู้เขียนกรอกข้อความลงในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ค โดยใช้กระดาษคาร์บอนอัดสำเนาแล้วฉีกต้นฉบับไว้และมอบสำเนาให้โจทก์ร่วมเป็นหลักฐาน ต่อมาจำเลยได้แก้ไขจำนวนเงินที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ครวม 5 ฉบับ ให้น้อยลงกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝากจริงแล้วจำเลยนำเอกสารที่จำเลยแก้ไขดังกล่าวพร้อมจำนวนเงินตามเอกสารที่แก้ไขใหม่ให้หัวหน้าหน่วยการเงินตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งเงินเก็บรักษา การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการแก้ไขต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คที่แท้จริงเพื่อแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารผู้เสียหายแล้ว จึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมทั้ง 5 ฉบับและการที่จำเลยเขียนต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คขึ้นใหม่รวม 3 ฉบับ ระบุจำนวนเงินที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรให้น้อยลงกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝากแล้วนำเอกสารที่จำเลยแก้ไขดังกล่าวพร้อมจำนวนเงินตามเอกสารที่ทำขึ้นใหม่ให้หัวหน้าหน่วยการเงินตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งเงินเก็บรักษาต่อไป เป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารผู้เสียหายแล้ว จึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมทั้ง 3 ฉบับเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เป็นเพียงการปลอมเอกสารธรรมดาเพราะต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คมีข้อความแสดงว่าได้รับเงินเพื่อฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วม ย่อมเป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิแก่โจทก์ร่วมที่จะเรียกถอนเงินฝากคืนได้ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสารสิทธิตาม ป.อ.มาตรา 1 (9)การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตาม ป.อ.มาตรา 265 และฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม ตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 จำเลยทำลายต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ค 4 ฉบับ อันเป็นหลักฐานของธนาคารผู้เสียหายซึ่งจำเลยจะต้องนำไปลงบัญชีในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อแสดงยอดเงินฝากของโจทก์ร่วม โดยจำเลยไม่มีสิทธิจะทำลายต้นฉบับดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำลายเอกสารของผู้อื่นตาม ป.อ.มาตรา 188
จำเลยได้ยักยอกเงินฝากของโจทก์ร่วมรวม 9 ครั้ง เป็นจำนวนเงิน 140,000 บาท โดยจำเลยได้แก้ไขจำนวนเงินในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ครวม 5 ฉบับ ให้จำนวนเงินน้อยลงกว่าความเป็นจริง และจำเลยได้เขียนต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คขึ้นมาใหม่รวม 3 ฉบับ ระบุจำนวนเงินฝากน้อยกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝาก แล้วจำเลยนำเงินลงบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วมตามจำนวนเงินในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คที่จำเลยแก้ไขและทำขึ้นใหม่ และการฝากเงินในวันที่เกิดเหตุมีแต่สำเนาชุดฝากเงินสด-เช็คระบุจำนวนเงินฝาก 20,000บาท แต่จำเลยไม่นำเงินฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วม การที่จำเลยได้เบียดบังเงินจำนวนดังกล่าวไป 9 ครั้ง เป็นจำนวนเงิน 140,000 บาท โดยทุจริตจึงเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ การที่จำเลยเป็นพนักงานธนาคารมีหน้าที่รับฝาก-ถอนเงินให้แก่ลูกค้าของธนาคารผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผู้มีอาชีพอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จึงต้องรับโทษหนักขึ้นตาม ป.อ.มาตรา 354
ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์นั้น ไม่ว่าโจทก์ร่วมจะเป็นผู้เสียหายตามที่จำเลยฎีกาหรือไม่เมื่อไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพนักงานธนาคารยักยอกเงินฝาก แก้ไขบัญชี และทำลายเอกสาร หลักฐานรับฟังหนักแน่น ศาลฎีกาพิพากษา
จำเลยเป็นพนักงานของธนาคารผู้เสียหาย มีหน้าที่รับฝาก- ถอนเงินให้แก่ลูกค้าของผู้เสียหาย จำเลยรับมอบเงินจากโจทก์ร่วมซึ่งเป็นลูกค้าของผู้เสียหายเพื่อฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของลูกค้าดังกล่าวแล้ว จำเลยจะเป็นผู้เขียน กรอกข้อความลงในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ค และฉีกต้นฉบับ ไว้แล้วมอบสำเนาให้โจทก์ร่วมเป็นหลักฐาน ต่อมาจำเลยได้ แก้ไขจำนวนเงินในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คให้น้อยกว่าจำนวนเงิน ที่โจทก์ร่วมนำมาฝาก แล้วนำเอกสารที่แก้ไขพร้อมจำนวนเงินตาม เอกสารที่แก้ไขใหม่ ให้หัวหน้าหน่วยการเงินตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนส่งเงิน เก็บรักษา จึงเป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารจึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้ เอกสารสิทธิปลอม การที่จำเลยเขียนต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คขึ้นใหม่ให้จำนวนเงินฝากน้อยกว่าความเป็นจริงโดยเชื่อได้ว่าจำเลยได้ ทำลายต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คที่แท้จริงอันเป็นหลักฐานของ ธนาคารผู้เสียหายซึ่งจำเลยจะต้องนำไปลงบัญชีเพื่อแสดง ยอดเงินฝากของโจทก์ร่วมโดยไม่มีสิทธิทำลาย การกระทำของ จำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำลายเอกสารของผู้อื่น จำเลยได้เบียดบังเงินฝากของโจทก์ร่วมโดยแก้ไขจำนวนเงิน ในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ค ให้มีจำนวนน้อยกว่าความเป็นจริง และได้เขียนต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คขึ้นใหม่ระบุจำนวนน้อยกว่า จำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝากแล้วลงบัญชีกระแสรายวัน ของโจทก์ร่วมตามจำนวนที่จำเลยแก้ไขและทำขึ้นใหม่นั้น และจำเลยไม่นำเงินฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วมโดยสุจริตจึงเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ การที่จำเลยเป็นพนักงานธนาคารมีหน้าที่รับฝาก-ถอนเงินให้แก่ลูกค้าของธนาคารผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้มีอาชีพอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนจึงต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354
of 30