พบผลลัพธ์ทั้งหมด 551 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการ, การยอมรับแผนโดยเจ้าหนี้, และอำนาจศาลในการให้ความเห็นชอบแผน
ปัญหาที่ว่าเจ้าหนี้รายใดจะมีสิทธิคัดค้านการเห็นชอบด้วยแผนหรือไม่นั้น เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องขอทั้งห้าและผู้ทำแผนสามารถยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 28 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
ตามแผนฟื้นฟูกิจการได้จัดให้เจ้าหนี้รายที่ 207 อยู่ในกลุ่มที่ 12 สิทธิของเจ้าหนี้ในกลุ่มนี้ที่จะได้รับชำระหนี้ดังเช่นสัญญาเดิมคงมีเฉพาะกำหนดชำระหนี้การค้า แต่ไม่รวมถึงอัตราดอกเบี้ยแต่อย่างใด เมื่อตามสำนวนปรากฏว่าเจ้าหนี้รายที่ 207 ขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตั๋วแลกเงินและหนี้เงินกู้ TPI - ANZ BANK พร้อมด้วยดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด เจ้าหนี้รายที่ 207 จึงมิใช่เจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้เฉพาะต้นเงินในหนี้การค้าตามแผนฟื้นฟูกิจการ ทั้งในแผนฟื้นฟูกิจการเล่มที่ 1 หน้าที่ 4 ในส่วนหมายเหตุได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า เจ้าหนี้ที่เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องในส่วนของภาคผนวก 3 ซึ่งหมายถึงเจ้าหนี้ในกลุ่มที่ 12 เป็นเจ้าหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการฟื้นฟูกิจการ เช่นนี้ เจ้าหนี้รายที่ 207 จึงมิใช่เจ้าหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/46 ทวิ (2) เจ้าหนี้รายที่ 207 จึงมีสิทธิคัดค้านแผนได้ตามมาตรา 90/57 ส่วนเจ้าหนี้รายที่ 270 ตามแผนฟื้นฟูกิจการจัดให้อยู่ในกลุ่มที่ 14 คือเจ้าหนี้ที่ไม่ได้รับผลกระทบตามแผน จึงเป็นเจ้าหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/46 ทวิ (1) ซึ่งกฎหมายให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้ที่ยอมรับแผน เจ้าหนี้รายที่ 270 จึงไม่มีสิทธิคัดค้านแผนตามมาตรา 90/57 แม้ว่าในการอุทธรณ์ของเจ้าหนี้รายที่ 270 นี้จะได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลล้มละลายกลางก็ตาม ก็ไม่ได้ก่อให้เกิดสิทธิแก่เจ้าหนี้รายนี้ในการอุทธรณ์แต่อย่างใด อุทธรณ์ของเจ้าหนี้รายที่ 270 จึงตกไป
ในการประกาศโฆษณากำหนดนัดประชุมในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายอย่างน้อย 1 ฉบับล่วงหน้าก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 10 วัน ตามมาตรา 90/44 วรรคหนึ่งนั้น ใช้เฉพาะกับการนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก ส่วนในการนัดประชุมเจ้าหนี้ในคราวที่ได้เลื่อนไปนั้น หากว่าในการนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกได้ดำเนินการโดยชอบตามมาตรา 90/44 วรรคหนึ่งแล้ว การนัดประชุมเจ้าหนี้ในคราวที่ได้เลื่อนไปก็ไม่ต้องประกาศโฆษณากำหนดนัดประชุมในหนังสือพิมพ์รายวันอีก ปรากฏว่าในการนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ดำเนินการโดยชอบตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/44 วรรคหนึ่งแล้ว แต่การประชุมดังกล่าวไม่แล้วเสร็จจึงมีการเลื่อนไป เช่นนี้การประชุมเจ้าหนี้ในคราวที่ได้เลื่อนไปจึงไม่ต้องดำเนินการโฆษณากำหนดนัดประชุมในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายอีกแต่อย่างใด
ในการมีคำสั่งหรือคำพิพากษานั้น ศาลล้มละลายกลางจะต้องวินิจฉัยคดีตามประเด็นซึ่งเจ้าหนี้ได้ยกขึ้นอ้างในคำคัดค้าน เมื่อประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นสำคัญในการพิจารณาว่าจะให้ความเห็นชอบด้วยแผนหรือไม่ การที่ศาลล้มละลายกลางยังมิได้พิจารณาประเด็นเรื่องการประกาศโฆษณากำหนดนัดประชุมซึ่งถือว่าเป็นประเด็นสำคัญจึงเป็นการไม่ชอบตามข้อกำหนดคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการอุทธรณ์คดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาประกอบกับประเด็นที่ศาลล้มละลายกลางยังไม่ได้วินิจฉัยนั้นเป็นประเด็นที่ลูกหนี้ได้คัดค้านและอุทธรณ์มายังศาลฎีกาด้วย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเสียทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล้มละลายกลางวินิจฉัยก่อน
วิธีประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการนั้น พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 หมวด 3/1 ว่าด้วยกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ มิได้บัญญัติโดยเฉพาะกรณีจึงต้องนำ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 หมวด 1 ส่วนที่ 3 ว่าด้วยการประชุมเจ้าหนี้มาบังคับใช้โดยอนุโลมตามมาตรา 90/2 วรรคสอง ซึ่งในบทบัญญัติส่วนดังกล่าว มาตรา 33 กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นประธานในการประชุม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงเป็นผู้เสนอหัวข้อให้ที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาและควบคุมการประชุมเจ้าหนี้ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย แม้ว่าคำขอแก้ไขแผนของลูกหนี้จะมีประเด็นต่าง ๆ รวม 20 ประเด็น แต่ที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่ได้เสนอให้ลงมติเป็นรายประเด็นหรือรวมกัน กรณีจึงเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นประธานในการประชุมที่จะพิจารณาถึงประเด็นต่าง ๆ ในคำขอแก้ไขแผนฉบับดังกล่าวตลอดจนความเกี่ยวพันของประเด็นเหล่านั้นในคำขอว่าจะให้มติแยกหรือรวมก็ได้
บทบัญญัติในมาตรา 90/57 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มิได้บังคับศาลว่าจะต้องดำเนินการไต่สวนพยานก่อนที่จะมีคำสั่งว่าเห็นชอบด้วยแผน แต่บทบัญญัติดังกล่าวเปิดโอกาสให้เป็นดุลพินิจของศาลในการที่จะพิจารณาว่าข้อสาระสำคัญที่ใช้ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับแผนนั้นมีอยู่ครบถ้วนแล้วหรือไม่ หากศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญในการที่จะเห็นชอบด้วยแผนหรือไม่นั้นมีอยู่ครบถ้วนแล้วก็ไม่มีเหตุที่จะต้องไต่สวนพยานหลักฐานอันจะทำให้คดีฟื้นฟูกิจการล่าช้าออกไปแต่อย่างใด
กระบวนพิจารณาในการฟื้นฟูกิจการนั้น หลังจากที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับแผนด้วยมติพิเศษตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/46 แล้ว กฎหมายกำหนดให้แผนดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลอีกขั้นตอนหนึ่งตามบทบัญญัติในส่วนที่ 8 ว่าด้วยการพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ กรณีจึงเป็นการกำหนดให้ศาลเข้ามามีบทบาทในทางธุรกิจเพื่อจะได้วินิจฉัยตรวจสอบในการให้ความเห็นชอบด้วยแผนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และมอบดุลพินิจให้ตรวจสอบว่าสมควรจะให้ความเห็นชอบด้วยแผนนั้นหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจตรวจสอบถึงเนื้อหาของแผนตลอดจนโอกาสความเป็นไปได้ในการดำเนินการตามแผนด้วย มิใช่พิจารณาเพียงแต่ตรวจสอบรายการต่าง ๆ ว่ามีครบถ้วนตามรูปแบบหรือไม่
เมื่อปรากฏว่าในการดำเนินการประชุมเจ้าหนี้นั้นได้มีการประชุมโดยชอบ ที่ประชุมเจ้าหนี้ได้มีมติพิเศษยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการ ทั้งแผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าวมีรายการครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด และได้จัดสรรแบ่งชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม จากการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าว ทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ทั้งแผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าวมีโอกาสที่จะดำเนินการสำเร็จตามแผนได้และได้มีการทำแผนโดยสุจริต อีกทั้งการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการจะเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้และประเทศชาติโดยส่วนรวม ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนนั้น ชอบแล้ว
1/2
ตามแผนฟื้นฟูกิจการได้จัดให้เจ้าหนี้รายที่ 207 อยู่ในกลุ่มที่ 12 สิทธิของเจ้าหนี้ในกลุ่มนี้ที่จะได้รับชำระหนี้ดังเช่นสัญญาเดิมคงมีเฉพาะกำหนดชำระหนี้การค้า แต่ไม่รวมถึงอัตราดอกเบี้ยแต่อย่างใด เมื่อตามสำนวนปรากฏว่าเจ้าหนี้รายที่ 207 ขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตั๋วแลกเงินและหนี้เงินกู้ TPI - ANZ BANK พร้อมด้วยดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด เจ้าหนี้รายที่ 207 จึงมิใช่เจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้เฉพาะต้นเงินในหนี้การค้าตามแผนฟื้นฟูกิจการ ทั้งในแผนฟื้นฟูกิจการเล่มที่ 1 หน้าที่ 4 ในส่วนหมายเหตุได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า เจ้าหนี้ที่เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องในส่วนของภาคผนวก 3 ซึ่งหมายถึงเจ้าหนี้ในกลุ่มที่ 12 เป็นเจ้าหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการฟื้นฟูกิจการ เช่นนี้ เจ้าหนี้รายที่ 207 จึงมิใช่เจ้าหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/46 ทวิ (2) เจ้าหนี้รายที่ 207 จึงมีสิทธิคัดค้านแผนได้ตามมาตรา 90/57 ส่วนเจ้าหนี้รายที่ 270 ตามแผนฟื้นฟูกิจการจัดให้อยู่ในกลุ่มที่ 14 คือเจ้าหนี้ที่ไม่ได้รับผลกระทบตามแผน จึงเป็นเจ้าหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/46 ทวิ (1) ซึ่งกฎหมายให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้ที่ยอมรับแผน เจ้าหนี้รายที่ 270 จึงไม่มีสิทธิคัดค้านแผนตามมาตรา 90/57 แม้ว่าในการอุทธรณ์ของเจ้าหนี้รายที่ 270 นี้จะได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลล้มละลายกลางก็ตาม ก็ไม่ได้ก่อให้เกิดสิทธิแก่เจ้าหนี้รายนี้ในการอุทธรณ์แต่อย่างใด อุทธรณ์ของเจ้าหนี้รายที่ 270 จึงตกไป
ในการประกาศโฆษณากำหนดนัดประชุมในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายอย่างน้อย 1 ฉบับล่วงหน้าก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 10 วัน ตามมาตรา 90/44 วรรคหนึ่งนั้น ใช้เฉพาะกับการนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก ส่วนในการนัดประชุมเจ้าหนี้ในคราวที่ได้เลื่อนไปนั้น หากว่าในการนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกได้ดำเนินการโดยชอบตามมาตรา 90/44 วรรคหนึ่งแล้ว การนัดประชุมเจ้าหนี้ในคราวที่ได้เลื่อนไปก็ไม่ต้องประกาศโฆษณากำหนดนัดประชุมในหนังสือพิมพ์รายวันอีก ปรากฏว่าในการนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ดำเนินการโดยชอบตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/44 วรรคหนึ่งแล้ว แต่การประชุมดังกล่าวไม่แล้วเสร็จจึงมีการเลื่อนไป เช่นนี้การประชุมเจ้าหนี้ในคราวที่ได้เลื่อนไปจึงไม่ต้องดำเนินการโฆษณากำหนดนัดประชุมในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายอีกแต่อย่างใด
ในการมีคำสั่งหรือคำพิพากษานั้น ศาลล้มละลายกลางจะต้องวินิจฉัยคดีตามประเด็นซึ่งเจ้าหนี้ได้ยกขึ้นอ้างในคำคัดค้าน เมื่อประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นสำคัญในการพิจารณาว่าจะให้ความเห็นชอบด้วยแผนหรือไม่ การที่ศาลล้มละลายกลางยังมิได้พิจารณาประเด็นเรื่องการประกาศโฆษณากำหนดนัดประชุมซึ่งถือว่าเป็นประเด็นสำคัญจึงเป็นการไม่ชอบตามข้อกำหนดคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการอุทธรณ์คดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาประกอบกับประเด็นที่ศาลล้มละลายกลางยังไม่ได้วินิจฉัยนั้นเป็นประเด็นที่ลูกหนี้ได้คัดค้านและอุทธรณ์มายังศาลฎีกาด้วย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเสียทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล้มละลายกลางวินิจฉัยก่อน
วิธีประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการนั้น พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 หมวด 3/1 ว่าด้วยกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ มิได้บัญญัติโดยเฉพาะกรณีจึงต้องนำ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 หมวด 1 ส่วนที่ 3 ว่าด้วยการประชุมเจ้าหนี้มาบังคับใช้โดยอนุโลมตามมาตรา 90/2 วรรคสอง ซึ่งในบทบัญญัติส่วนดังกล่าว มาตรา 33 กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นประธานในการประชุม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงเป็นผู้เสนอหัวข้อให้ที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาและควบคุมการประชุมเจ้าหนี้ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย แม้ว่าคำขอแก้ไขแผนของลูกหนี้จะมีประเด็นต่าง ๆ รวม 20 ประเด็น แต่ที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่ได้เสนอให้ลงมติเป็นรายประเด็นหรือรวมกัน กรณีจึงเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นประธานในการประชุมที่จะพิจารณาถึงประเด็นต่าง ๆ ในคำขอแก้ไขแผนฉบับดังกล่าวตลอดจนความเกี่ยวพันของประเด็นเหล่านั้นในคำขอว่าจะให้มติแยกหรือรวมก็ได้
บทบัญญัติในมาตรา 90/57 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มิได้บังคับศาลว่าจะต้องดำเนินการไต่สวนพยานก่อนที่จะมีคำสั่งว่าเห็นชอบด้วยแผน แต่บทบัญญัติดังกล่าวเปิดโอกาสให้เป็นดุลพินิจของศาลในการที่จะพิจารณาว่าข้อสาระสำคัญที่ใช้ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับแผนนั้นมีอยู่ครบถ้วนแล้วหรือไม่ หากศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญในการที่จะเห็นชอบด้วยแผนหรือไม่นั้นมีอยู่ครบถ้วนแล้วก็ไม่มีเหตุที่จะต้องไต่สวนพยานหลักฐานอันจะทำให้คดีฟื้นฟูกิจการล่าช้าออกไปแต่อย่างใด
กระบวนพิจารณาในการฟื้นฟูกิจการนั้น หลังจากที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับแผนด้วยมติพิเศษตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/46 แล้ว กฎหมายกำหนดให้แผนดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลอีกขั้นตอนหนึ่งตามบทบัญญัติในส่วนที่ 8 ว่าด้วยการพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ กรณีจึงเป็นการกำหนดให้ศาลเข้ามามีบทบาทในทางธุรกิจเพื่อจะได้วินิจฉัยตรวจสอบในการให้ความเห็นชอบด้วยแผนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และมอบดุลพินิจให้ตรวจสอบว่าสมควรจะให้ความเห็นชอบด้วยแผนนั้นหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจตรวจสอบถึงเนื้อหาของแผนตลอดจนโอกาสความเป็นไปได้ในการดำเนินการตามแผนด้วย มิใช่พิจารณาเพียงแต่ตรวจสอบรายการต่าง ๆ ว่ามีครบถ้วนตามรูปแบบหรือไม่
เมื่อปรากฏว่าในการดำเนินการประชุมเจ้าหนี้นั้นได้มีการประชุมโดยชอบ ที่ประชุมเจ้าหนี้ได้มีมติพิเศษยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการ ทั้งแผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าวมีรายการครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด และได้จัดสรรแบ่งชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม จากการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าว ทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ทั้งแผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าวมีโอกาสที่จะดำเนินการสำเร็จตามแผนได้และได้มีการทำแผนโดยสุจริต อีกทั้งการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการจะเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้และประเทศชาติโดยส่วนรวม ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนนั้น ชอบแล้ว
1/2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9609/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายน้ำเยื่อกระดาษผ่านท่อ: การกำหนดจุดส่งมอบและหน้าที่ออกใบกำกับภาษี
การขายน้ำเยื่อกระดาษผ่านทางท่อที่ลูกหนี้จำหน่ายให้ลูกค้าโดยมีวิธีการส่งน้ำเยื่อกระดาษผ่านท่อซึ่งมีมิเตอร์วัดปริมาณตลอด24 ชั่วโมง และส่งมอบแก่ลูกค้ารายเดียว จึงสามารถกำหนดปริมาณได้แน่นอนว่ามีการส่งมอบกันปริมาณเท่าใด เมื่อใด เทียบเคียงได้กับการขายน้ำมันเชื้อเพลิงแก่สายการบินซึ่งจะทราบปริมาณการส่งมอบได้ในแต่ละครั้งที่เติม และเจ้าหนี้อนุโลมให้ออกใบกำกับภาษีได้ครั้งเดียวใน 1 วัน ตามหนังสือตอบข้อหารือในสำนวน แตกต่างจากการขายกระแสไฟฟ้าและน้ำประปาซึ่งเป็นสินค้าสาธารณูปโภค มีลูกค้าหลายรายและเป็นจำนวนมากไม่แน่นอนว่าลูกค้าแต่ละรายจะบริโภคปริมาณมากน้อยเพียงใดในแต่ละวันจึงไม่สามารถกำหนดจุดส่งมอบได้แน่นอน ลูกหนี้จึงต้องรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและมีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อเมื่อมีการส่งมอบสินค้าแก่ผู้ซื้อตามประมวลรัษฎากรฯมาตรา 78 มิใช่กรณีที่ลูกหนี้และลูกค้าไม่สามารถกำหนดได้แน่นอนว่ามีการส่งมอบเมื่อใด อันจะมีความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้แก่ลูกค้าเมื่อได้รับชำระราคาสินค้าตามมาตรา 78/3(1) และข้อ 1 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 189ฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9609/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายน้ำเยื่อกระดาษ: การกำหนดจุดส่งมอบและหน้าที่ออกใบกำกับภาษี
หนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระเป็นการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในการขายน้ำเยื่อกระดาษผ่านทางท่อที่ลูกหนี้จำหน่ายให้แก่ลูกค้า โดยมีวิธีการส่งน้ำเยื่อกระดาษผ่านท่อซึ่งมีมิเตอร์วัดปริมาณตลอด 24 ชั่วโมง และส่งมอบแก่ลูกค้ารายเดียว จึงสามารถกำหนดปริมาณได้แน่นอนว่ามีการส่งมอบกันปริมาณเท่าใดเมื่อใด เทียบเคียงได้กับการขายน้ำมันเชื้อเพลิงแก่สายการบินซึ่งจะทราบปริมาณการส่งมอบได้ในแต่ละครั้งที่เติมและเจ้าหนี้อนุโลมให้ออกใบกำกับภาษีได้ครั้งเดียวใน 1 วัน แตกต่างจากการขายกระแสไฟฟ้าและน้ำประปา ซึ่งเป็นสินค้าสาธารณูปโภค มีลูกค้าหลายรายและเป็นจำนวนมาก ไม่แน่นอนว่าลูกค้าแต่ละรายจะบริโภคปริมาณมากน้อยเพียงใดในแต่ละวัน จึงไม่สามารถกำหนดจุดส่งมอบได้แน่นอน ลูกหนี้จึงต้องรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและมีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อเมื่อมีการส่งมอบสินค้าแก่ผู้ซื้อตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78 มิใช่กรณีที่ลูกหนี้และลูกค้าไม่สามารถกำหนดได้แน่นอนว่ามีการส่งมอบเมื่อใดอันจะมีความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้แก่ลูกค้าเมื่อได้รับชำระราคาสินค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78/3 (1) และข้อ 1 แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 189 (พ.ศ.2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในบางกรณี ฉะนั้น เมื่อมีแนวปฏิบัติเป็นการภายในของเจ้าหนี้ที่อนุโลมให้ออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มครั้งเดียวใน 1 วัน จึงเป็นธรรมและเหมาะสมแล้วแม้การมีมิเตอร์วัดปริมาณที่ท่อส่งน้ำเยื่อกระดาษและการขายสินค้าให้แก่ลูกค้ารายเดียวจะมิใช่เหตุผลที่จะนำมาพิจารณาว่า สามารถกำหนดจุดส่งมอบได้แน่นอน หรือมิใช่การขายสินค้าในลักษณะเดียวกับกระแสไฟฟ้าหรือน้ำประปา แต่เมื่อนำเหตุทั้งสองมาพิจารณาประกอบกับข้อเท็จจริงที่ได้ความก็สามารถกำหนดจุดส่งมอบและชี้ให้เห็นข้อแตกต่างในเรื่องลักษณะของการขายสินค้าว่าจัดอยู่ในประเภทใดได้แน่นอนชัดเจนยิ่งขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9161/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม: ความรับผิดของผู้ซื้อเมื่ออัตราภาษีเปลี่ยนแปลงหลังทำสัญญาซื้อขาย
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1 (17) มาตรา 78 และมาตรา82/4 วรรคหนึ่ง ลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้ามีหน้าที่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ประกอบการตามอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่พระราชกฤษฎีกากำหนดและความรับผิดในการเสียภาษีเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า เว้นแต่จะได้มีการโอนกรรมสิทธิ์สินค้า หรือได้รับชำระราคาสินค้า หรือได้ออกใบกำกับสินค้าก่อนส่งมอบสินค้า การที่สัญญาซื้อขายระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ระบุว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 เป็นอัตราตามที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดไว้ในขณะนั้น เป็นเพียงการระบุเพื่อให้เห็นว่าราคาสินค้ามิได้รวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ได้แยกคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ต่างหากเท่านั้น มิใช่ข้อผูกพันว่าผู้ซื้อและผู้ขายตกลงชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7
อัตราค่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระเป็นไปตามที่พระราชกฤษฎีกากำหนด ส่วนผู้มีหน้าที่ชำระแก่กรมสรรพากรคือเจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ประกอบการ แต่ผู้ประกอบการมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าซึ่งก็คือลูกหนี้ เมื่อเจ้าหนี้ส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกหนี้ภายหลังจากวันที่ 16 สิงหาคม 2540 โดยเจ้าหนี้ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 10 และลูกหนี้รับสินค้าไว้แล้วเช่นนี้ ลูกหนี้ต้องมีหน้าที่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 10 อันเป็นอัตราที่พระราชกฤษฎีกากำหนดใช้ในเวลาที่มีการส่งมอบสินค้านั้น ซึ่งเจ้าหนี้ผู้ประกอบการต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราเดียวกันนี้แก่กรมสรรพากร ดังนั้น เจ้าหนี้จึงขอให้ลูกหนี้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนที่ได้ชำระเพิ่มไปจำนวนดังกล่าวแก่เจ้าหนี้ได้ พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้ชำระแก่กรมสรรพากร
ที่ผู้บริหารแผนอุทธรณ์ว่า สัญญาซื้อขายคดีนี้เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรได้โอนไปยังลูกหนี้นับแต่เมื่อได้เข้าทำสัญญาซื้อขาย ทำให้เจ้าหนี้ต้องออกใบกำกับภาษีในวันที่ทำสัญญา ตามสัญญาซื้อขายเครื่องจักรได้บรรยายชนิดและจำนวนเครื่องจักรไว้ 9 รายการ มิได้ระบุหมายเลขประจำเครื่องจักรหรือหมายเลขประจำอุปกรณ์แต่ละชิ้น ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้จึงยังมิใช่ทรัพย์สินเฉพาะสิ่ง ทั้งในสัญญาก็มีข้อความว่า ผู้ซื้อชำระราคาในวันทำสัญญาเพียงร้อยละ20 ส่วนราคาที่เหลืออีกร้อยละ 80 ผู้ซื้อจะชำระให้ร้อยละ 40 ในวันส่งมอบเครื่องจักรและจะชำระส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 40 ในวันที่ติดตั้งเครื่องและทดลองคุณภาพของเครื่องที่ได้กำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว เห็นได้ว่าสาระสำคัญของสัญญาซื้อขายนี้จะต้องติดตั้งเครื่องจักรและทดลองเดินเครื่องให้ได้คุณภาพตามที่กำหนดไว้ หากไม่ได้ผลตามที่กำหนดอาจต้องเปลี่ยนเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ได้ส่งมอบแต่ละรายการหรือทั้งหมดอีกก็ได้กรณีจึงเป็นสัญญาซื้อขายทรัพย์สินซึ่งมิได้กำหนดลงไว้แน่นอน กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปจนกว่าจะได้หมาย หรือนับ ชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือก หรือทำโดยวิธีอื่นเพื่อให้บ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นแน่นอนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 460 วรรคหนึ่ง เจ้าหนี้ออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าแต่ละชิ้นในวันที่ส่งมอบหรือติดตั้งสินค้า จึงเป็นการปฏิบัติสอดคล้องกับข้อตกลงในสัญญาซื้อขายแล้ว การที่เจ้าหนี้ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 10จึงมิใช่ความผิดของเจ้าหนี้
อัตราค่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระเป็นไปตามที่พระราชกฤษฎีกากำหนด ส่วนผู้มีหน้าที่ชำระแก่กรมสรรพากรคือเจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ประกอบการ แต่ผู้ประกอบการมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าซึ่งก็คือลูกหนี้ เมื่อเจ้าหนี้ส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกหนี้ภายหลังจากวันที่ 16 สิงหาคม 2540 โดยเจ้าหนี้ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 10 และลูกหนี้รับสินค้าไว้แล้วเช่นนี้ ลูกหนี้ต้องมีหน้าที่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 10 อันเป็นอัตราที่พระราชกฤษฎีกากำหนดใช้ในเวลาที่มีการส่งมอบสินค้านั้น ซึ่งเจ้าหนี้ผู้ประกอบการต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราเดียวกันนี้แก่กรมสรรพากร ดังนั้น เจ้าหนี้จึงขอให้ลูกหนี้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนที่ได้ชำระเพิ่มไปจำนวนดังกล่าวแก่เจ้าหนี้ได้ พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้ชำระแก่กรมสรรพากร
ที่ผู้บริหารแผนอุทธรณ์ว่า สัญญาซื้อขายคดีนี้เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรได้โอนไปยังลูกหนี้นับแต่เมื่อได้เข้าทำสัญญาซื้อขาย ทำให้เจ้าหนี้ต้องออกใบกำกับภาษีในวันที่ทำสัญญา ตามสัญญาซื้อขายเครื่องจักรได้บรรยายชนิดและจำนวนเครื่องจักรไว้ 9 รายการ มิได้ระบุหมายเลขประจำเครื่องจักรหรือหมายเลขประจำอุปกรณ์แต่ละชิ้น ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้จึงยังมิใช่ทรัพย์สินเฉพาะสิ่ง ทั้งในสัญญาก็มีข้อความว่า ผู้ซื้อชำระราคาในวันทำสัญญาเพียงร้อยละ20 ส่วนราคาที่เหลืออีกร้อยละ 80 ผู้ซื้อจะชำระให้ร้อยละ 40 ในวันส่งมอบเครื่องจักรและจะชำระส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 40 ในวันที่ติดตั้งเครื่องและทดลองคุณภาพของเครื่องที่ได้กำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว เห็นได้ว่าสาระสำคัญของสัญญาซื้อขายนี้จะต้องติดตั้งเครื่องจักรและทดลองเดินเครื่องให้ได้คุณภาพตามที่กำหนดไว้ หากไม่ได้ผลตามที่กำหนดอาจต้องเปลี่ยนเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ได้ส่งมอบแต่ละรายการหรือทั้งหมดอีกก็ได้กรณีจึงเป็นสัญญาซื้อขายทรัพย์สินซึ่งมิได้กำหนดลงไว้แน่นอน กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปจนกว่าจะได้หมาย หรือนับ ชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือก หรือทำโดยวิธีอื่นเพื่อให้บ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นแน่นอนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 460 วรรคหนึ่ง เจ้าหนี้ออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าแต่ละชิ้นในวันที่ส่งมอบหรือติดตั้งสินค้า จึงเป็นการปฏิบัติสอดคล้องกับข้อตกลงในสัญญาซื้อขายแล้ว การที่เจ้าหนี้ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 10จึงมิใช่ความผิดของเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9160/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ: ค่าตอบแทนผู้บริหารแผนและโอกาสสำเร็จ
ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผนของศาลนั้น จะต้องพิจารณาด้วยว่าต้องบทบัญญัติพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/58 หรือไม่ และตามมาตรา 90/58 (1) ให้ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน เมื่อศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า แผนมีรายการครบถ้วนตามมาตรา 90/42 โดยมาตรา 90/42 (7) ในแผนนั้นจะต้องมีรายการ ชื่อ คุณสมบัติ หนังสือยินยอมของผู้บริหารแผน และค่าตอบแทนของผู้บริหารแผน เช่นนี้ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผน ศาลจึงต้องพิจารณาถึงค่าตอบแทนของผู้บริหารแผนด้วยว่าค่าตอบแทนของผู้บริหารแผนนั้นเหมาะสมกับสภาพการงานที่ทำหรือไม่และจำนวนดังกล่าวสูงเกินสมควรหรือไม่
แผนมีโอกาสดำเนินการสำเร็จหรือไม่ แม้ว่ากฎหมายมิได้มีบัญญัติเงื่อนไขส่วนนี้ไว้โดยตรง แต่การที่กระบวนพิจารณาในการฟื้นฟูกิจการกำหนดไว้ว่าหลังจากที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับแผนด้วยมติพิเศษตามพระราชบัญญัติ
ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/46 แล้ว กฎหมายได้กำหนดให้แผนดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลอีกขั้นตอนหนึ่งตามบัญญัติในส่วนที่ 8 เรื่อง การพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ กรณีจึงเป็นการกำหนดให้ศาลเข้ามามีบทบาทในทางธุรกิจเพื่อจะได้วินิจฉัยเพื่อจะได้วินิจฉัยตรวจสอบในการให้ความเห็นชอบด้วยแผนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และมอบให้เป็นดุลพินิจว่าสมควรให้ความเห็นชอบด้วยแผนหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจที่จะพิจารณาถึงโอกาสความเป็นไปได้ในการดำเนินการตามแผนนั้นด้วย เพราะว่ากรณีไม่มีประโยชน์อันใดที่ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนเมื่อเป็นไปได้ว่าแผนนั้นไม่มีโอกาสดำเนินการสำเร็จได้หรือหากดำเนินการไปแล้วลูกหนี้ต้องประสบกับภาวะล้มละลายในที่สุด
ในการที่จะพิจารณาว่าค่าตอบแทนนั้นสมควรหรือไม่ เมื่อยังไม่มีกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ เกี่ยวกับเรื่องนี้ใช้บังคับ กรณีจึงต้องพิจารณาถึงขนาดของกิจการ ความยุ่งยากในการดำเนินการ ปริมาณของบุคลากรที่จะต้องใช้ วิธีการในการฟื้นฟูกิจการ ตลอดจนชื่อเสียง ผลงาน ประสบการณ์ของผู้บริหารแผนนั้น รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ ประกอบกันตามแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แต่ละรายไป
แผนมีโอกาสดำเนินการสำเร็จหรือไม่ แม้ว่ากฎหมายมิได้มีบัญญัติเงื่อนไขส่วนนี้ไว้โดยตรง แต่การที่กระบวนพิจารณาในการฟื้นฟูกิจการกำหนดไว้ว่าหลังจากที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับแผนด้วยมติพิเศษตามพระราชบัญญัติ
ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/46 แล้ว กฎหมายได้กำหนดให้แผนดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลอีกขั้นตอนหนึ่งตามบัญญัติในส่วนที่ 8 เรื่อง การพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ กรณีจึงเป็นการกำหนดให้ศาลเข้ามามีบทบาทในทางธุรกิจเพื่อจะได้วินิจฉัยเพื่อจะได้วินิจฉัยตรวจสอบในการให้ความเห็นชอบด้วยแผนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และมอบให้เป็นดุลพินิจว่าสมควรให้ความเห็นชอบด้วยแผนหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจที่จะพิจารณาถึงโอกาสความเป็นไปได้ในการดำเนินการตามแผนนั้นด้วย เพราะว่ากรณีไม่มีประโยชน์อันใดที่ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนเมื่อเป็นไปได้ว่าแผนนั้นไม่มีโอกาสดำเนินการสำเร็จได้หรือหากดำเนินการไปแล้วลูกหนี้ต้องประสบกับภาวะล้มละลายในที่สุด
ในการที่จะพิจารณาว่าค่าตอบแทนนั้นสมควรหรือไม่ เมื่อยังไม่มีกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ เกี่ยวกับเรื่องนี้ใช้บังคับ กรณีจึงต้องพิจารณาถึงขนาดของกิจการ ความยุ่งยากในการดำเนินการ ปริมาณของบุคลากรที่จะต้องใช้ วิธีการในการฟื้นฟูกิจการ ตลอดจนชื่อเสียง ผลงาน ประสบการณ์ของผู้บริหารแผนนั้น รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ ประกอบกันตามแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แต่ละรายไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8428/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการต้องมีเหตุอันสมควรและช่องทางในการดำเนินงาน แม้มีสัญญาเช่าโรงงานก็ไม่เป็นอุปสรรคการคัดค้านของเจ้าหนี้
ในการฟื้นฟูกิจการนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กิจการของลูกหนี้ซึ่งประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราวได้มีโอกาสฟื้นฟูกิจการ หรือปรับโครงสร้างกิจการของลูกหนี้เพื่อให้กิจการของลูกหนี้กลับคืนสู่สภาพที่สามารถดำเนิน กิจการตามปกติต่อไปได้ เมื่อลูกหนี้มีกิจการเฉพาะโรงงานผลิตกระดาษและผลิตกล่องกระดาษแต่โรงงานดังกล่าว อยู่ระหว่างสัญญาเช่ากับผู้คัดค้านที่ 2 ผู้คัดค้านที่ 2 จึงเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในโรงงานดังกล่าวในขณะที่ยื่น คำร้องขอ ลูกหนี้ยังไม่อาจปรับปรุงฟื้นฟูกิจการในการประกอบกิจการโรงงานดังกล่าวได้ ทั้งการให้เช่าโรงงานของลูกหนี้ ก็มีสัญญาเช่าเพียงรายเดียวคือสัญญาเช่าระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 2 เท่านั้นซึ่งกำหนดค่าเช่าแน่นอน หาใช่กรณีลูกหนี้ประกอบกิจการทำเป็นธุรกิจในการเช่าทรัพย์สินอันจะต้องมีการจัดการบริหารดำเนินงานในทางธุรกิจการค้าไม่ กรณีจึง ไม่มีเหตุอันสมควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/10
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/9 วรรคสาม บัญญัติว่า "ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้อาจยื่นคำคัดค้านวันนัด ไต่สวนนัดแรกไม่น้อยกว่าสามวัน ในกรณีที่เป็นการคัดค้านผู้ทำแผน ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้จะเสนอชื่อบุคคลอื่นเป็น ผู้ทำแผนด้วยหรือไม่ก็ได้?" และในบทนิยามมาตรา 90/1" "เจ้าหนี้" หมายความว่า เจ้าหนี้มีประกันหรือเจ้าหนี้ไม่มีประกัน" จึงเห็นได้ว่ากฎหมายล้มละลายส่วนการฟื้นฟูกิจการให้สิทธิเจ้าหนี้ทุกประเภทยื่นคำคัดค้านคำร้องขอฟื้นฟู กิจการเพื่อปกป้องสิทธิของตน ส่วนคำว่า "เจ้าหนี้" นั้น คือผู้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้
ผู้ร้องขอ (ลูกหนี้) ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเพื่อนำโรงงานในขณะที่ตกอยู่ในภาระการเช่าแก่ผู้คัดค้านที่ 2 มาดำเนินกิจการ แต่ตามสัญญาเช่าโรงงานดังกล่าวผู้คัดค้านที่ 2 ในฐานะผู้เช่าชอบที่จะได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ใน โรงงานอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาการเช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 537 และมีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ปฏิบัติหน้าที่ของตนในฐานะผู้ให้เช่า จึงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิยื่นคำคัดค้านการขอฟื้นฟูกิจการของผู้ร้องขอดังกล่าวตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/9 วรรคสาม
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/9 วรรคสาม บัญญัติว่า "ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้อาจยื่นคำคัดค้านวันนัด ไต่สวนนัดแรกไม่น้อยกว่าสามวัน ในกรณีที่เป็นการคัดค้านผู้ทำแผน ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้จะเสนอชื่อบุคคลอื่นเป็น ผู้ทำแผนด้วยหรือไม่ก็ได้?" และในบทนิยามมาตรา 90/1" "เจ้าหนี้" หมายความว่า เจ้าหนี้มีประกันหรือเจ้าหนี้ไม่มีประกัน" จึงเห็นได้ว่ากฎหมายล้มละลายส่วนการฟื้นฟูกิจการให้สิทธิเจ้าหนี้ทุกประเภทยื่นคำคัดค้านคำร้องขอฟื้นฟู กิจการเพื่อปกป้องสิทธิของตน ส่วนคำว่า "เจ้าหนี้" นั้น คือผู้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้
ผู้ร้องขอ (ลูกหนี้) ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเพื่อนำโรงงานในขณะที่ตกอยู่ในภาระการเช่าแก่ผู้คัดค้านที่ 2 มาดำเนินกิจการ แต่ตามสัญญาเช่าโรงงานดังกล่าวผู้คัดค้านที่ 2 ในฐานะผู้เช่าชอบที่จะได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ใน โรงงานอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาการเช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 537 และมีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ปฏิบัติหน้าที่ของตนในฐานะผู้ให้เช่า จึงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิยื่นคำคัดค้านการขอฟื้นฟูกิจการของผู้ร้องขอดังกล่าวตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/9 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8428/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ผู้เช่าในการคัดค้านการฟื้นฟูกิจการ และเหตุผลที่ศาลยกคำร้องขอ
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/9 วรรคสาม บัญญัติว่า"ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้อาจยื่นคำคัดค้านก่อนวันนัดไต่สวนนัดแรกไม่น้อยกว่าสามวัน ในกรณีที่เป็นการคัดค้านผู้ทำแผน ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้จะเสนอชื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ทำแผนด้วยหรือไม่ก็ได้..." และในบทนิยามมาตรา 90/1"เจ้าหนี้" หมายความว่า เจ้าหนี้มีประกันหรือเจ้าหนี้ไม่มีประกัน" เมื่อพิจารณาบทบัญญัติสองมาตรานี้ประกอบกันแล้ว จึงเห็นได้ว่ากฎหมายล้มละลายส่วนการฟื้นฟูกิจการให้สิทธิเจ้าหนี้ทุกประเภทยื่นคำคัดค้านคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเพื่อปกป้องสิทธิของตน ส่วนคำว่า"เจ้าหนี้" นั้น คือ ผู้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ เช่นนี้ เมื่อผู้ร้องขอยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการเพื่อนำโรงงานในขณะที่ตกอยู่ในภาระการเช่าแก่ผู้คัดค้านที่ 2 มาดำเนินกิจการตามสัญญาเช่าโรงงานดังกล่าว ผู้คัดค้านที่ 2 ในฐานะผู้เช่าชอบที่จะได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในโรงงานอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาการเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 537 และมีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ปฏิบัติหน้าที่ของตนในฐานะผู้ให้เช่า จึงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ ย่อมมีสิทธิยื่นคำคัดค้านการขอฟื้นฟูกิจการของผู้ร้องขอดังกล่าวตามมาตรา 90/9 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7966/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการทวงหนี้จากลูกหนี้ของจำเลยหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่จำเลยหรือซึ่งจำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 22(2) การที่ลูกจ้างและกรรมการของจำเลยชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ อ. ม. และ ส. ซึ่งเคยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลย โดยบุคคลทั้งสามไม่มีอำนาจรับชำระหนี้แทนจำเลยจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 315 หนี้เงินกู้ยังไม่ระงับสิ้นไปและการรับชำระหนี้ดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและบุคคลทั้งสาม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะต้องใช้สิทธิในการทวงถามหนี้เงินกู้ดังกล่าวจากลูกจ้างและกรรมการของจำเลยผู้กู้ยืมเงินจำนวนนั้นต่อไป ไม่อาจใช้อำนาจตามมาตรา 119 เรียกร้องให้อ. ม. และ ส. ชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7966/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการทวงหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และการชำระหนี้โดยไม่ชอบ
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว มีอำนาจเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่จำเลยหรือซึ่งจำเลยมิสิทธิจะได้รับจากผู้อื่นตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 (2)
ลูกจ้างและกรรมการของบริษัทจำเลยชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้ที่ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้แทนจำเลยผู้ให้กู้ จึงถือ ไม่ได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 315 หนี้เงินกู้ยังไม่ระงับสิ้นไป และการรับชำระหนี้ดังกล่าว ไม่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและบุคคลผู้ที่ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้นั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้อง ใช้สิทธิในการทวงถามหนี้เงินกู้จากลูกจ้างและกรรมการของจำเลยผู้กู้และไม่อาจใช้อำนาจตามมาตรา 119 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เรียกร้องให้ผู้ที่ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้แทนจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้
ลูกจ้างและกรรมการของบริษัทจำเลยชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้ที่ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้แทนจำเลยผู้ให้กู้ จึงถือ ไม่ได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 315 หนี้เงินกู้ยังไม่ระงับสิ้นไป และการรับชำระหนี้ดังกล่าว ไม่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและบุคคลผู้ที่ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้นั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้อง ใช้สิทธิในการทวงถามหนี้เงินกู้จากลูกจ้างและกรรมการของจำเลยผู้กู้และไม่อาจใช้อำนาจตามมาตรา 119 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เรียกร้องให้ผู้ที่ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้แทนจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7961/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสเมื่อจำหน่ายทรัพย์สินก่อนฟ้อง และการคำนวณค่าเสียหายจากราคาขายจริง ไม่ใช่ราคาปัจจุบัน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 ที่บัญญัติว่า"สินสมรสที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจำหน่ายไป.. ให้ถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรสตาม มาตรา 1533.."นั้น เป็นการแบ่งสินสมรสที่ฝ่ายหนึ่งจำหน่ายจ่ายโอนไปหรือทำให้สูญหายไปโดยมิชอบ ในกรณีที่หย่ากันให้แบ่งทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ฝ่ายชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินในฐานะเจ้าของรวม จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินกึ่งหนึ่ง เมื่อจำเลยขายที่ดินไปได้เงินเท่าใด โจทก์ก็ควรได้รับเงินกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินที่จำเลยขายไป มิใช่กึ่งหนึ่งของราคาที่ดินปัจจุบัน การกำหนดมูลค่าของที่ดินที่จำเลยจำหน่ายโอนไปก่อนฟ้องเพื่อเป็นฐานในการคิดคำนวณค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชดใช้ให้แก่โจทก์ จึงต้องคิดจากราคา ณ วันที่จำเลยจำหน่ายจ่ายโอน
โจทก์ไม่ได้มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระดอกเบี้ย ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยด้วยจึงเกินคำขอ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
โจทก์ไม่ได้มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระดอกเบี้ย ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยด้วยจึงเกินคำขอ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้