คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุญศรี แก้วสาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5268/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีอาญาและการระงับความผิดทางแพ่ง: การโอนกรรมสิทธิ์ที่ไม่เป็นไปตามสัญญา
โจทก์ร่วมแจ้งความว่าจำเลยที่ 2 ได้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1ให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว จำเลยที่ 2 ยืนยันในชั้นสอบสวนว่าสามารถปฏิบัติการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ตามสัญญาจะซื้อจะขายให้โจทก์ร่วมได้เมื่อได้รับชำระเงินงวดสุดท้ายจากโจทก์ร่วม พนักงานสอบสวนจึงเห็นว่ากรณียังไม่แน่ชัดว่าจะเป็นความผิดตามที่โจทก์ร่วมกล่าวหาจึงบันทึกเป็นหลักฐานไว้ในรายงานประจำวันซึ่งมีผลเป็นเพียงบันทึกเบื้องต้นหาได้เป็นความเห็นชัดเจนเด็ดขาดว่าเป็นเพียงความรับผิดทางแพ่งแต่ประการใดไม่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏต่อมาว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ตามสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่โจทก์ร่วมตามที่ได้ยืนยันตกลงกับโจทก์ร่วมไว้ในเอกสารดังกล่าวฉะนั้น การที่โจทก์ร่วมมาร้องทุกข์มอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีอาญาด้วยเหตุที่ความจริงแล้วจำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ตามสัญญาให้แก่บุคคลอื่นไปและไม่สามารถนำมาโอนให้แก่โจทก์ร่วมได้อีก ย่อมเป็นกรณีที่มีมูลความผิดทางอาญาที่พนักงานสอบสวนมีอำนาจและชอบที่จะดำเนินการสอบสวนเป็นคดีอาญาได้ ข้อความที่ปรากฏในเอกสารรายงานประจำวันดังกล่าวข้างต้นมีผลเป็นเพียงจำเลยได้ตกลงกำหนดนัดวันเวลาที่จะไปโอนกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์ให้โจทก์ร่วมและรับชำระเงินงวดสุดท้ายจากโจทก์ร่วมอันเป็นเพียงการยืนยันจะปฏิบัติตามนิติสัมพันธ์ที่ก่อไว้ตามสัญญาจะซื้อจะขายเดิมเท่านั้น หาได้มีข้อความใด ๆที่มีลักษณะเป็นการประนีประนอมยอมความระงับสิทธิในการฟ้องคดีอาญาของโจทก์ร่วมแต่ประการใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5096/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานหลอกลวงเรียกรับเงินเข้าตัวเอง มีความผิดฐานกรรโชกทรัพย์
ครั้งแรก จำเลยและ ถ. ไปบ้านผู้เสียหาย ถ. บอกผู้เสียหายว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ จำเลยได้ยินคำพูดของ ถ. แต่ก็นิ่งเฉยและมิได้ปฏิเสธเท่ากับจำเลยต้องการให้ผู้เสียหายเชื่อหรือเข้าใจตามที่ ถ. บอก ทั้งจำเลยได้เรียกเงินจำนวน 2,000บาท จากผู้เสียหายมิฉะนั้นจะจับผู้เสียหาย พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยได้แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกระทำการเป็นเจ้าพนักงานแล้ว ส่วนการเรียกรับเงินครั้งที่สอง แม้จำเลยไม่ได้บอกหรืออ้างว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจแต่จำเลยเคยไปหาผู้เสียหายและมีพฤติการณ์แสดงให้ผู้เสียหายเชื่อว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจริง ทั้งผู้เสียหายเคยให้เงินแก่จำเลยเพื่อมิให้ถูกจับมาก่อน การที่จำเลยไปเรียกเงินจากผู้เสียหายอีกโดยขู่ว่าหากไม่ให้จะจับผู้เสียหาย จนผู้เสียหายยอมให้เงินจำนวน 2,000 บาท แก่จำเลยเช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกระทำการเป็นเจ้าพนักงานโดยจำเลยมิได้เป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจกระทำการนั้น และมีความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 145 และ 337

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4935/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, การหักทอนบัญชี, การคิดดอกเบี้ย, และขอบเขตการบังคับคดีตามคำขอ
เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วโจทก์กับจำเลยทั้งสองไม่ได้ทำการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่มีอยู่ต่อกันแต่ยังมีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปอีก โดยจำเลยที่ 1 นำเงินเข้าฝากและสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินออกไปหลายครั้ง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสองประสงค์จะต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา ถึงแม้จำเลยทั้งสองได้หยุดเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์มาแล้วก็ตาม แต่เมื่อไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดเพื่อหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่มีอยู่ต่อกันสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองก็ยังคงมีอยู่ตลอดไป หาได้ระงับไปเมื่อวันสัญญาครบกำหนดหรือวันที่จำเลยทั้งสองเบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้ายไม่โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจนถึงวันที่ถือว่าสัญญาเลิกกัน
โจทก์หักทอนบัญชีกับจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์2536 แม้โจทก์เพิ่งจะมีหนังสือแจ้งให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม2536 ก็ต้องถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองระงับไปตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2536 อันเป็นวันหักทอนบัญชีกัน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 856,859 หลังจากนั้นโจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกไม่ได้
สัญญาบัญชีเดินสะพัดจะถือว่ามีการผิดนัดก็ต่อเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่มีอยู่ต่อกัน โจทก์ได้หักทอนบัญชีเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์2536 แต่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวส่งไปให้จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2536ให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ภายใน 30 วันนับแต่วันถัดจากวันได้รับหนังสือบอกกล่าวจำเลยทั้งสองได้รับหนังสือบอกกล่าวในวันที่ 26 ตุลาคม 2536 ครบ 30 วันในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2536 ดังนั้นช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2536 ถึงวันที่26 พฤศจิกายน 2536 โจทก์ยังให้เวลาจำเลยทั้งสองหาเงินมาชำระหนี้อยู่ ยังไม่ถือว่าจำเลยทั้งสองผิดนัด จำเลยทั้งสองจะผิดนัดก็ต่อเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่โจทก์ให้โอกาสคือตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2536 เป็นต้นไป และเมื่อตามประกาศปรับปรุงอัตราดอกเบี้ย โจทก์จะคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีและร้อยละ 18 ต่อปี สำหรับลูกหนี้ที่ผิดนัดเท่านั้น เมื่อจำเลยทั้งสองยังไม่ได้ผิดนัด โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยเอาจากจำเลยทั้งสองในอัตรานี้ไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระต้นเงินตามสัญญากู้เพียง2,447,837.24 บาทเท่านั้น แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ให้โจทก์ในส่วนสัญญากู้ฉบับนี้เป็นต้นเงิน 2,477,837.24 บาท และดอกเบี้ยถึงวันฟ้องจำนวน 567,157.90 บาท รวมเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องทั้งสิ้น3,044,995.14 บาท และให้ใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี จากต้นเงิน2,477,837.24 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง และศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาแก้ไขนั้น ไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้น แม้จะมิได้มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์หรือฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4935/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้: การคิดดอกเบี้ยที่ถูกต้องตามอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกัน และการพิพากษาเกินคำขอ
เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วโจทก์กับจำเลยทั้งสองไม่ได้ทำการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่มีอยู่ต่อกันแต่ยังมีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปอีก โดยจำเลยที่ 1 นำเงินเข้าฝากและสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินออกไปหลายครั้ง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสองประสงค์จะต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา ถึงแม้จำเลยทั้งสองได้หยุดเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์มาแล้วก็ตาม แต่เมื่อไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดเพื่อหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่มีอยู่ต่อกันสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองก็ยังคงมีอยู่ตลอดไป หาได้ระงับไปเมื่อวันสัญญาครบกำหนดหรือวันที่จำเลยทั้งสองเบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้ายไม่โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจนถึงวันที่ถือว่าสัญญาเลิกกัน โจทก์หักทอนบัญชีกับจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 28กุมภาพันธ์ 2536 แม้โจทก์เพิ่มจะมีหนังสือแจ้งให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2536 ก็ต้องถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองระงับไปตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2536 อันเป็นวันหักทอนบัญชีกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856,859 หลังจากนั้นโจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกไม่ได้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดจะถือว่ามีการผิดนัดก็ต่อเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่มีอยู่ต่อกันโจทก์ได้หักทอนบัญชีเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2536แต่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวส่งไปให้จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่20 ตุลาคม 2536 ให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ภายใน 30 วันนับแต่วันถัดจากวันได้รับหนังสือบอกกล่าวจำเลยทั้งสองได้รับหนังสือบอกกล่าวในวันที่ 26 ตุลาคม 2536ครบ 30 วันในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2536 ดังนั้นช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2536 ถึงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2536โจทก์ยังให้เวลาจำเลยทั้งสองหาเงินมาชำระหนี้อยู่ยังไม่ถือว่าจำเลยทั้งสองผิดนัด จำเลยทั้งสองจะผิดนัดก็ต่อเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่โจทก์ให้โอกาสคือตั้งแต่วันที่27 พฤศจิกายน 2536 เป็นต้นไป และเมื่อตามประกาศปรับปรุงอัตราดอกเบี้ย โจทก์จะคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีและร้อยละ 18 ต่อปี สำหรับลูกหนี้ที่ผิดนัดเท่านั้นเมื่อจำเลยทั้งสองยังไม่ได้ผิดนัด โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยเอาจากจำเลยทั้งสองในอัตรานี้ไม่ได้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระต้นเงินตามสัญญากู้เพียง 2,447,837.24 บาทเท่านั้น แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ให้โจทก์ในส่วนสัญญากู้ฉบับนี้เป็นต้นเงิน 2,477,837.24 บาท และดอกเบี้ยถึงวันฟ้องจำนวน 567,157.90 บาท รวมเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องทั้งสิ้น 3,044,995.14 บาท และให้ใช้ดอกเบี้ยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี จากต้นเงิน 2,477,837.24 บาทนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 วรรคหนึ่ง และศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาแก้ไขนั้นไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้น แม้จะมิได้มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์หรือฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4718/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลวินิจฉัยนอกฟ้องเรื่องสิทธิยึดหน่วงรถยนต์ ไม่ชอบตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์นำรถยนต์พิพาทไปว่าจ้างจำเลยที่ 1ซ่อมแต่จำเลยที่ 1 มิได้ซ่อมแซม เมื่อโจทก์ขอรับรถยนต์พิพาทคืน จำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ขัดขวางไม่ยอมให้โจทก์เอารถยนต์พิพาทคืน จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่ารถยนต์พิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 โดยซื้อมาจากโจทก์ จึงมีสิทธิป้องปัดขัดขวางไม่ให้โจทก์เอารถยนต์พิพาทไปจากอู่ของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้ต่อสู้ว่าจำเลยที่ 2มีสิทธิยึดหน่วงรถยนต์พิพาท ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถานไว้ว่า โจทก์ยังคงเป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทหรือได้ขายให้แก่จำเลยที่ 2 ไปแล้ว เมื่อคดีไม่มีประเด็นเรื่องจำเลยที่ 2 มีสิทธิยึดหน่วงรถยนต์พิพาท การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 มีสิทธิยึดรถยนต์พิพาทไว้เป็นหลักประกันเงินกู้ที่โจทก์กู้ยืมจำเลยที่ 2 ไป จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกคำให้การและไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทในคดี ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4718/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกฟ้อง: ศาลมิควรวินิจฉัยประเด็นนอกเหนือจากที่ได้ยกขึ้นเป็นข้อพิพาท
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์นำรถยนต์พิพาทไปว่าจ้างจำเลยที่ 1 ซ่อมแต่จำเลยที่ 1 มิได้ซ่อมแซม เมื่อโจทก์ขอรับรถยนต์พิพาทคืน จำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ขัดขวางไม่ยอมให้โจทก์เอารถยนต์พิพาทคืน จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่ารถยนต์พิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 โดยซื้อมาจากโจทก์ จึงมีสิทธิป้องปัดขัดขวางไม่ให้โจทก์เอารถยนต์พิพาทไปจากอู่ของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้ต่อสู้ว่าจำเลยที่ 2 มีสิทธิยึดหน่วงรถยนต์พิพาท ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถานไว้ว่า โจทก์ยังคงเป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทหรือได้ขายให้แก่จำเลยที่ 2 ไปแล้ว เมื่อคดีไม่มีประเด็นเรื่องจำเลยที่ 2 มีสิทธิยึดหน่วงรถยนต์พิพาท การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 มีสิทธิยึดรถยนต์พิพาทไว้เป็นหลักประกันเงินกู้ที่โจทก์กู้ยืมจำเลยที่ 2 ไปจึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกคำให้การและไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทในคดี ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4611/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาต่างตอบแทน การไม่ปฏิบัติตามสัญญาทำให้คู่สัญญาไม่สามารถเรียกร้องบังคับได้
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยแต่ละฝ่ายยอมให้อีกฝ่ายหนึ่งรับโอนมรดกตามส่วนที่ตกลงแบ่งกัน จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนเมื่อโจทก์ไปคัดค้านมิให้จำเลยได้รับโอนมรดกตามสัญญาประนีประนอมยอมความแสดงว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญายอมซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะให้ศาลบังคับให้จำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญายอมเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4611/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาต่างตอบแทน หากฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตาม อีกฝ่ายไม่มีสิทธิเรียกร้องบังคับ
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยแต่ละฝ่ายยอมให้อีกฝ่ายหนึ่งรับโอนมรดกตามส่วนที่ตกลงแบ่งกัน จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ไปคัดค้านมิให้จำเลยได้รับโอนมรดกตามสัญญาประนีประนอมยอมความแสดงว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญายอมซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะให้ศาลบังคับปฏิบัติตามสัญญายอมเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4611/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาต่างตอบแทน หากฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตาม อีกฝ่ายไม่มีสิทธิเรียกร้องบังคับสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยแต่ละฝ่ายยอมให้อีกฝ่ายหนึ่งรับโอนมรดกตามส่วนที่ตกลงแบ่งกัน จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนเมื่อโจทก์ไปคัดค้านมิให้จำเลยได้รับโอนมรดกตามสัญญาประนีประนอมยอมความแสดงว่าโจทก์ไม่ปฎิบัติตามสัญญายอมซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะให้ศาลบังคับให้จำเลยต้องปฎิบัติตามสัญญายอมเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4548/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานเป็นซ่องโจรและการปล้นทรัพย์: ตัวการร่วมและบทลงโทษกรรมเดียว
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กับพวกรวม 6 คน ร่วมกันวางแผนไปกระทำการปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายที่ 2 อันเป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2แห่ง ป.อ.จึงมีความผิดฐานเป็นซ่องโจร และเมื่อจำเลยที่ 4 กับพวกไปปล้นร้านทองของผู้เสียหายที่ 2 ตามแผนที่ร่วมกันวางไว้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ผู้ร่วมวางแผนย่อมมีความผิดฐานเป็นตัวการปล้นร้านทองร่วมกับจำเลยที่ 4 กับพวกด้วย ตาม ป.อ.มาตรา 213 และความผิดฐานเป็นซ่องโจรกับความผิดฐานปล้นทรัพย์เกี่ยวเนื่องกันเพราะพวกจำเลยกระทำผิดฐานเป็นซ่องโจรเพื่อจะไปปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายทั้งสองจึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานปล้นทรัพย์อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสี่ฐานเป็นซ่องโจรด้วย จึงไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสามจะไม่ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้และเป็นเหตุในลักษณะคดี จึงต้องวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่ 4 ด้วย
of 10