พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3071/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยแคชเชียร์เช็คภายใต้เงื่อนไขการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์: สิทธิของเจ้าหนี้บังคับคดี
หลังจากโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยแล้วต่อมา ศ.ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินที่ถูกยึดกับฝ่ายจำเลย โดย ศ.ได้ขอสินเชื่อเพื่อซื้อที่ดินจากธนาคาร น. และได้รับอนุมัติสินเชื่อแล้ว ธนาคาร น.จึงได้ออกแคชเชียร์เช็คจำนวน 6,200,945.44 บาท เพื่อให้ ศ.ใช้ชำระค่าซื้อที่ดิน ต่อมาได้มีการมอบแคชเชียร์เช็คดังกล่าวแก่โจทก์และโจทก์ได้ขอถอนการยึดทรัพย์ที่ดินของฝ่ายจำเลยเพื่อจะได้จดทะเบียนโอนขายแก่ ศ.และจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ต่อธนาคาร น.ต่อไป และเจ้าพนักงานบังคับคดีอนุญาตแล้วก็ตาม แต่การที่โจทก์ ศ. และธนาคาร น.ตกลงให้โจทก์ถือแคชเชียร์เช็คดังกล่าวไว้เป็นประกันในการที่ยอมถอนการยึดทรัพย์ที่ดินให้เท่านั้น หากต่อมาตกลงซื้อขายกันไม่ได้โจทก์ย่อมคืนแคชเชียร์เช็คให้แก่ธนาคาร น.ได้ การที่ ศ.จะชำระค่าที่ดินโดยแคชเชียร์เช็คดังกล่าวก็เพื่อให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ ศ.ในคราวเดียวภายในวันเดียวกันเพียงแต่ต้องมอบแคชเชียร์เช็คให้โจทก์ก่อน เพื่อให้ขั้นตอนการถอนการยึดทรัพย์ซึ่งต้องกระทำก่อนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กระทำได้สำเร็จ โดย ศ.มีเจตนาจะชำระเงินค่าที่ดินตามแคชเชียร์เช็คนั้นให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นค่าซื้อที่ดินโดยเงื่อนไขว่าต้องมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ศ.ได้ในวันเดียวกันนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ยังไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ ศ.ได้ จำเลยที่ 2 จึงยังไม่มีสิทธิได้รับเงินตามแคชเชียร์เช็คนั้นเป็นการชำระค่าที่ดิน และการมอบแคชเชียร์เช็คให้โจทก์ยึดถือไว้ เช่นนี้ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์แล้ว โจทก์ย่อมจะคืนแคชเชียร์เช็คแก่ธนาคาร น. ตามข้อตกลงได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลย และโจทก์มีสิทธิบังคับคดีจำเลยต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2934/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ แม้ถูกทำร้ายก่อน ศาลพิจารณาจากอาวุธและอันตรายที่เกิดขึ้น
ผู้เสียหายได้จับมือภรรยาจำเลยเพื่อให้ร่วมวงดื่มสุราในบริเวณบ้านผู้เสียหายภรรยาจำเลยปฏิเสธและเดินออกจากบ้านผู้เสียหายมาแล้วจึงเกิดการทะเลาะกับจำเลยด้วยเหตุจำเลยหึงหวงภรรยาและระหว่างที่จำเลยกับภรรยาทะเลาะกันเองอยู่นั้นผู้เสียหายเป็นฝ่ายลุกออกจากบ้านเข้ามาหาจำเลยโดยหลังจากจำเลยเห็นภรรยาถูกผู้เสียหายจับมือในบ้านต้องอดกลั้นความหึงหวงและไม่กล้าที่จะแสดงออกต่อผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้กระทำเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยไม่ประสงค์ที่จะมีเหตุการณ์วิวาทกับผู้เสียหายจึงได้หลีกเลี่ยงชวนภรรยาออกมาจากบ้านผู้เสียหายและเหตุที่จำเลยใช้มีดแทงผู้เสียหายก็เพราะผู้เสียหายได้เข้ามาทำร้ายจำเลยก่อนกรณีจึงมิใช่จำเลยสมัครใจเข้าวิวาทกับผู้เสียหายหากแต่เป็นการป้องกันตัวแต่ผู้เสียหายเข้ามาทำร้ายจำเลยโดยปราศจากอาวุธภยันตรายที่เกิดจึงไม่น่าจะรุนแรงถึงขนาดเป็นอันตรายต่อชีวิตการที่จำเลยใช้มีดแทงผู้เสียหายบริเวณช่องท้องใต้ราวนมข้างซ้ายซึ่งอวัยวะสำคัญอันจะเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายได้เช่นนี้จึงเป็นการป้องกันที่เกินสมควรแก่เหตุจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา288,80ประกอบด้วยมาตรา69
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2934/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ป้องกันตัวจากการถูกทำร้าย: การใช้กำลังป้องกันต้องสมควรแก่เหตุ
ผู้เสียหายได้จับมือภรรยาจำเลยเพื่อให้ร่วมวงดื่มสุราในบริเวณบ้านผู้เสียหาย ภรรยาจำเลยปฏิเสธและเดินออกจากบ้านผู้เสียหายมาแล้วจึงเกิดการทะเลาะกับจำเลยด้วยเหตุจำเลยหึงหวงภรรยา และระหว่างที่จำเลยกับภรรยาทะเลาะกันเองอยู่นั้นผู้เสียหายเป็นฝ่ายลุกออกจากบ้านเข้ามาหาจำเลย โดยหลังจากจำเลยเห็นภรรยาถูกผู้เสียหายจับมือในบ้าน ต้องอดกลั้นความหึงหวง และไม่กล้าที่จะแสดงออกต่อผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้กระทำเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยไม่ประสงค์ที่จะมีเหตุการณ์วิวาทกับผู้เสียหาย จึงได้หลีกเลี่ยงชวนภรรยาออกมาจากบ้านผู้เสียหาย และเหตุที่จำเลยใช้มีดแทงผู้เสียหายก็เพราะผู้เสียหายได้เข้ามาทำร้ายจำเลยก่อน กรณีจึงมิใช่จำเลยสมัครใจเข้าวิวาทกับผู้เสียหาย หากแต่เป็นการป้องกันตัวแต่ผู้เสียหายเข้ามาทำร้ายจำเลยโดยปราศจากอาวุธภยันตราย ที่เกิดจึงไม่น่าจะรุนแรงถึงขนาดเป็นอันตรายต่อชีวิต การที่จำเลยใช้มีดแทงผู้เสียหายบริเวณช่องท้องใต้ราวนมข้างซ้าย ซึ่งอวัยวะสำคัญอันจะเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายได้เช่นนี้จึงเป็นการป้องกันที่เกินสมควรแก่เหตุ จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80 ประกอบด้วยมาตรา 69
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2934/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวเกินสมควร การใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นจนเป็นอันตรายถึงชีวิต
ผู้เสียหายได้จับมือภรรยาจำเลยเพื่อให้ร่วมวงดื่มสุราในบริเวณบ้านผู้เสียหาย ภรรยาจำเลยปฏิเสธและเดินออกจากบ้านผู้เสียหายมาแล้วจึงเกิดการทะเลาะกับจำเลยด้วยเหตุจำเลยหึงหวงภรรยา และระหว่างที่จำเลยกับภรรยาทะเลาะกันเองอยู่นั้น ผู้เสียหายเป็นฝ่ายลุกออกจากบ้านเข้ามาหาจำเลย โดยหลังจากจำเลยเห็นภรรยาถูกผู้เสียหายจับมือในบ้าน ต้องอดกลั้นความหึงหวง และไม่กล้าที่จะแสดงออกต่อผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้กระทำเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยไม่ประสงค์ที่จะมีเหตุการณ์วิวาทกับผู้เสียหาย จึงได้หลีกเลี่ยงชวนภรรยาออกมาจากบ้านผู้เสียหาย และเหตุที่จำเลยใช้มีดแทงผู้เสียหายก็เพราะผู้เสียหายได้เข้ามาทำร้ายจำเลยก่อน กรณีจึงมิใช่จำเลยสมัครใจเข้าวิวาทกับผู้เสียหาย หากแต่เป็นการป้องกันตัว แต่ผู้เสียหายเข้ามาทำร้ายจำเลยโดยปราศจากอาวุธ ภยันตรายที่เกิดจึงไม่น่าจะรุนแรงถึงขนาดเป็นอันตรายต่อชีวิต การที่จำเลยใช้มีดแทงผู้เสียหายบริเวณช่องท้องใต้ราวนมข้างซ้าย ซึ่งอวัยวะสำคัญอันจะเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายได้เช่นนี้จึงเป็นการป้องกันที่เกินสมควรแก่เหตุ จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา288, 80 ประกอบด้วยมาตรา 69
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2870/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการทำร้ายด้วยอาวุธอันตราย แม้ไม่มีเจตนาโดยตรง ศาลพิจารณาจากลักษณะการกระทำและผลที่อาจเกิดขึ้น
แม้จำเลยกับผู้เสียหายจะเป็นญาติพี่น้องกันสาเหตุแห่งการทำร้ายเกิดจากจำเลยโกรธที่ผู้เสียหายว่ากล่าวตักเตือนให้จำเลยเลิกดื่มสุราจำเลยได้ลอบเข้าไปแทงผู้เสียหายขณะที่ผู้เสียหายนอนหลับจำเลยเลือกแทงที่ท้องของผู้เสียหายอย่างแรงบาดแผลลึกถึง4นิ้วทะลุลำไส้เล็กตัดเส้นโลหิตใหญ่ฉีกขาดถึงแม้จำเลยจะมีเจตนาเพียงทำร้ายร่างกายผู้เสียหายแต่จำเลยย่อมเล็งเห็นผลว่าอาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ย่อมถือว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา59วรรคสองและการที่จำเลยไม่แทงซ้ำอีกทั้งๆที่มีโอกาสจะทำได้ก็ไม่ทำให้ความผิดของจำเลยเปลี่ยนแปลงไปเพราะเจตนาโดยเล็งเห็นผลนั้นมุ่งถึงลักษณะแห่งการกระทำและผลของการกระทำที่อาจเกิดขึ้นเป็นหลักมิได้มุ่งถึงเจตนาของผู้กระทำเป็นหลัก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2694/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้: เบี้ยปรับหรือดอกผลนิตินัย
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 379 การที่จะเรียกเบี้ยปรับแก่กัน คู่สัญญาจะต้องตกลงกันกำหนดเบี้ยปรับไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะมีการไม่ชำระหนี้คดีนี้ตามหนังสือสัญญากู้เงินซึ่งมีข้อความว่า "ผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนสำหรับเงินกู้ตามสัญญานี้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี แต่ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่ผู้ให้กู้จะต้องเพิ่มอัตราดอกเบี้ยแล้ว ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่กำหนดดังกล่าวเมื่อใดก็ได้ แต่ไม่เกินอัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ ทั้งนี้ผู้ให้กู้ไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบล่วงหน้า" ข้อความดังกล่าวเป็นข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยเงินกู้ตามสัญญาและโจทก์ผู้ให้กู้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยสูงถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปีในระหว่างสัญญาได้ ไม่ว่าจำเลยผู้กู้จะผิดนัดหรือไม่ก็ตาม การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จึงเข้าลักษณะเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตาม ป.พ.พ.มาตรา 148 วรรคสาม กรณีไม่อาจอนุโลมเป็นเบี้ยปรับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2694/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยตามสัญญากู้ไม่ใช่เบี้ยปรับ ศาลฎีกาชี้สิทธิคิดดอกเบี้ยตามสัญญา แม้ผู้กู้ผิดนัด
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379การที่จะเรียกเบี้ยปรับแก่กัน คู่สัญญาจะต้องตกลงกันกำหนดเบี้ยปรับไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะมีการไม่ชำระหนี้คดีนี้ตามหนังสือสัญญากู้เงินซึ่งมีข้อความว่า "ผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนสำหรับเงินกู้ตามสัญญานี้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี แต่ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่ผู้ให้กู้จะต้องเพิ่มอัตราดอกเบี้ยแล้ว ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่กำหนดดังกล่าวเมื่อใดก็ได้แต่ไม่เกินอัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ ทั้งนี้ผู้ให้กู้ไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบล่วงหน้า" ข้อความดังกล่าวเป็นข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยเงินกู้ตามสัญญาและโจทก์ผู้ให้กู้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยสูงถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปีในระหว่างสัญญาได้ ไม่ว่าจำเลยผู้กู้จะผิดนัดหรือไม่ก็ตามการคิดดอกเบี้ยของโจทก์จึงเข้าลักษณะเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 148 วรรคสาม กรณีไม่อาจอนุโลมเป็นเบี้ยปรับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2604/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของเจ้าของรวม: เจ้าของรวมคนหนึ่งมีอำนาจฟ้องขับไล่ได้โดยไม่ต้องได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของรวมคนอื่น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 ให้อำนาจเจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมด การใช้สิทธิดังกล่าวรวมถึงการใช้สิทธิทางศาลด้วย เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งในที่ดินพิพาท โจทก์แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทโดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจากเจ้าของรวมคนอื่นแต่อย่างใด ดังนั้น หนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดีจะปิดอากรแสตมป์หรือไม่ และนาง ล. กับนาง ส. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนอื่นจะมอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยได้รับความยินยอมจากสามีหรือไม่ จึงมิใช่ข้อสาระสำคัญจักต้องวินิจฉัย โจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดระเบียบและก่อเหตุทำร้ายร่างกาย นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวและจ่ายค่าชดเชย
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุไว้ว่าห้ามเล่นการพนัน ก่อการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย ลักทรัพย์หรือก่อกวนความสงบสุขหรือก้าวก่ายการปฏิบัติงานของพนักงานอื่น ซึ่งหากคนงานกระทำผิดข้อบังคับดังกล่าว จำเลยเลยมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ การที่โจทก์มิได้เป็นผู้บังคับบัญชาของ อ. ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบงานของ อ.และ อ.จะตอบคำถามของโจทก์หรือไม่ก็ได้ เมื่อ อ.ไม่ยอมพูดด้วย โจทก์ก็น่าจะรู้ว่า อ.ไม่ต้องการให้โจทก์ไปรบกวนเวลาที่กำลังทำงานระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานก็ระบุห้ามไว้ซึ่งโจทก์ต้องปฏิบัติตาม แต่โจทก์กลับหาเรื่องชกต่อย อ.ถึง 2 ที เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายไปก่อเหตุขึ้นก่อน จะอ้างว่าได้กระทำไปเพราะบันดาลโทสะเนื่องจาก อ.แสดงอาการยียวนหาได้ไม่ การกระทำของโจทก์เป็นการจงใจฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย และเป็นความผิดทางอาญาด้วย จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4) และเป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรงตาม ป.พ.พ.มาตรา 583 ด้วยจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากกระทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยการทำร้ายร่างกาย ถือเป็นเหตุเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุไว้ว่าห้ามเล่นการพนัน ก่อการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย ลักทรัพย์หรือก่อกวนความสงบสุขหรือก้าวก่ายการปฏิบัติงานของพนักงานอื่นซึ่งหากคนงานกระทำผิดข้อบังคับดังกล่าว จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้การที่โจทก์มิได้เป็นผู้บังคับบัญชาของ อ. ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบงานของ อ.และอ. จะตอบคำถามของโจทก์หรือไม่ก็ได้ เมื่อ อ.ไม่ยอมพูดด้วยโจทก์ก็น่าจะรู้ว่าอ.ไม่ต้องการให้โจทก์ไปรบกวนเวลาที่กำลังทำงานระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานก็ระบุห้ามไว้ซึ่งโจทก์ต้องปฏิบัติตาม แต่โจทก์กลับหาเรื่องชกต่อย อ.ถึง 2 ที เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายไปก่อเหตุขึ้นก่อน จะอ้างว่าได้กระทำไปเพราะบันดาลโทสะเนื่องจาก อ. แสดงอาการยียวนหาได้ไม่ การกระทำของโจทก์เป็นการจงใจฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย และเป็นความผิดทางอาญาด้วย จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4) และเป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ด้วยจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า