คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุญศรี แก้วสาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6918/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงโดยครูผู้ดูแล พยานหลักฐานสนับสนุนคำเบิกความผู้เสียหายเพียงพอ ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษา
ผู้เสียหายเป็นศิษย์ซึ่งอยู่ในความควบคุมดูแลของจำเลยย่อมมีความคุ้นเคยและจดจำบุคลิกลักษณะของจำเลยได้เป็นอย่างดี ผู้เสียหายเป็นเด็กหญิงหากเรื่องที่เกิดขึ้นไม่เป็นความจริงผู้เสียหายคงไม่กล้ายืนยันเรื่องดังกล่าวซึ่งเป็นสิ่งน่าอับอายและเสียหายต่อชื่อเสียงอันเป็นผลร้ายต่อผู้เสียหายเอง ทั้งผู้เสียหายก็เบิกความไปตามลำดับขั้นตอนและสมเหตุผล น่าเชื่อว่าผู้เสียหายเบิกความไปตามความเป็นจริง
ตามสูตรสำเร็จเวลาดวงจันทร์ขึ้นจากพื้นพิภพเป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่าในแต่ละวันดวงจันทร์จะขึ้นจากพื้นพิภพเวลาเท่าไร และจะขึ้นช้าลงวันละ 48 นาทีทั้งดวงจันทร์จะตกลงหลังจากขึ้นแล้ว 12 ชั่วโมง วันเกิดเหตุวันที่ 22 ตุลาคม 2536 ตรงกับวันขึ้น 7 ค่ำ ตามสูตรสำเร็จดังกล่าวดวงจันทร์ขึ้นจากพื้นพิภพเวลา 11.36 นาฬิกาและดวงจันทร์ตกลงพื้นเวลา 23.36 นาฬิกา ช่วงวันเวลาเกิดเหตุวันที่ 22,23 และ 24 ตุลาคม 2536 ดวงจันทร์ขึ้นจากพื้นพิภพแล้วทั้งสิ้น ขณะเกิดเหตุซึ่งเป็นเวลากลางคืนย่อมมีแสงจันทร์ดังที่ผู้เสียหายเบิกความ ฟังได้ว่าเมื่อวันที่ 22,23 และ 24 ตุลาคม 2536จำเลยได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายซึ่งอายุไม่เกินสิบสามปีและเป็นการกระทำแก่ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลย พยานจำเลยไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานโจทก์ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกกระทงละ 4 ปี รวมสองกระทงจำคุก 8 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดสามกระทงแต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้โทษจึงให้เป็นไปตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด กรณีเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6806/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการฟ้องขับไล่ กรณีมีสัญญาต่างตอบแทน สิทธิเกิดทันทีที่ถูกโต้แย้ง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเช่าตึกแถวที่พิพาทและสัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วแต่จำเลยยังคงอาศัยอยู่ในตึกแถวที่พิพาทตลอดมาโดยไม่มีสิทธิ ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวาร จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า การเช่าระหว่างโจทก์จำเลยมีสัญญาต่างตอบแทน ขอให้ศาลบังคับโจทก์ให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทต่อไป หากโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาท ขอให้โจทก์ใช้เงิน 100,800 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่จำเลย ดังนี้ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำให้การและฟ้องแย้งสิทธิหน้าที่ของโจทก์ตามสัญญาต่างตอบแทนย่อมมีอยู่แล้ว ส่วนที่จำเลยบรรยายฟ้องแย้งว่า หากโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาทนั้น มิได้หมายความว่า หลังจากศาลพิพากษาแล้วโจทก์มีสิทธิเลือกจะให้จำเลยเช่าอยู่ต่อไปหรือให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาท และการที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยย่อมหมายความว่า โจทก์ประสงค์จะให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาทตั้งแต่แรก ดังนี้ที่โจทก์ฟ้องคดีขับไล่จำเลยย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยตั้งแต่ขณะที่ฟ้องจำเลยผู้ถูกโต้แย้งสิทธิย่อมเกิดสิทธิในการฟ้องเรียกค่าเสียหายในขณะเดียวกันสิทธิการฟ้องแย้งของจำเลยหาได้เกิดภายหลังเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ขับไล่จำเลยแล้วไม่ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงมิได้อยู่ภายใต้เงื่อนไขบังคับใด ๆ หากแต่เป็นสิทธิที่เกิดสืบเนื่องจากการฟ้องคดีขับไล่นี้โดยตรงและเป็นคดีเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิมจึงชอบที่จะรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6806/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากการฟ้องขับไล่: สิทธิเกิดพร้อมการฟ้องคดีหลัก
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเช่าตึกแถวที่พิพาทและสัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วแต่จำเลยยังคงอาศัยอยู่ในตึกแถวที่พิพาทตลอดมาโดยไม่มีสิทธิ ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวาร จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า การเช่าระหว่างโจทก์จำเลยมีสัญญาต่างตอบแทน ขอให้ศาลบังคับโจทก์ให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทต่อไป หากโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาท ขอให้โจทก์ใช้เงิน 100,800 บาทพร้อมดอกเบี้ยแก่จำเลย ดังนี้ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำให้การและฟ้องแย้งสิทธิหน้าที่ของโจทก์ตามสัญญาต่างตอบแทนย่อมมีอยู่แล้ว ส่วนที่จำเลยบรรยายฟ้องแย้งว่า หากโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาทนั้น มิได้หมายความว่า หลังจากศาลพิพากษาแล้วโจทก์มีสิทธิเลือกจะให้จำเลยเช่าอยู่ต่อไปหรือให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาท และการที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยย่อมหมายความว่า โจทก์ประสงค์จะให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาทตั้งแต่แรก ดังนี้ที่โจทก์ฟ้องคดีขับไล่จำเลยย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยตั้งแต่ขณะที่ฟ้องจำเลยผู้ถูกโต้แย้งสิทธิย่อมเกิดสิทธิในการฟ้องเรียกค่าเสียหายในขณะเดียวกันสิทธิการฟ้องแย้งของจำเลยหาได้เกิดภายหลังเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ขับไล่จำเลยแล้วไม่ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงมิได้อยู่ภายใต้เงื่อนไขบังคับใด ๆ หากแต่เป็นสิทธิที่เกิดสืบเนื่องจากการฟ้องคดีขับไล่นี้โดยตรงและเป็นคดีเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิมจึงชอบที่จะรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6806/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากการฟ้องขับไล่ กรณีมีสัญญาต่างตอบแทน สิทธิเกิดพร้อมการฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเช่าตึกแถวที่พิพาทและสัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วแต่จำเลยยังคงอาศัยอยู่ในตึกแถวที่พิพาทตลอดมาโดยไม่มีสิทธิ ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวาร จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า การเช่าระหว่างโจทก์จำเลยมีสัญญาต่างตอบแทน ขอให้ศาลบังคับโจทก์ให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทต่อไป หากโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาท ขอให้โจทก์ใช้เงิน 100,800 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่จำเลย ดังนี้ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำให้การและฟ้องแย้งสิทธิหน้าที่ของโจทก์ตามสัญญาต่างตอบแทนย่อมมีอยู่แล้ว ส่วนที่จำเลยบรรยายฟ้องแย้งว่า หากโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาทนั้น มิได้หมายความว่า หลังจากศาลพิพากษาแล้วโจทก์มีสิทธิเลือกจะให้จำเลยเช่าอยู่ต่อไปหรือให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาท และการที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยย่อมหมายความว่า โจทก์ประสงค์จะให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาทตั้งแต่แรก ดังนี้ที่โจทก์ฟ้องคดีขับไล่จำเลยย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยตั้งแต่ขณะที่ฟ้องจำเลยผู้ถูกโต้แย้งสิทธิย่อมเกิดสิทธิในการฟ้องเรียกค่าเสียหายในขณะเดียวกันสิทธิการฟ้องแย้งของจำเลยหาได้เกิดภายหลังเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ขับไล่จำเลยแล้วไม่ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงมิได้อยู่ภายใต้เงื่อนไขบังคับใด ๆ หากแต่เป็นสิทธิที่เกิดสืบเนื่องจากการฟ้องคดีขับไล่นี้โดยตรงและเป็นคดีเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิมจึงชอบที่จะรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6718/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: ข้อตกลงเพิ่มเติมต้องเป็นลายลักษณ์อักษร, การรับฟังพยานบุคคลนอกเหนือจากเอกสาร
โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทในรูปแบบมีหลักฐานเป็นหนังสือ การวางมัดจำเป็นเพียงข้อตกลงข้อหนึ่งที่ปรากฏในหลักฐานที่เป็นหนังสือดังกล่าวเท่านั้นนิติกรรมคือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยจึงก่อซึ่งสิทธิและมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์และบังคับในรูปแบบของหลักฐานเป็นหนังสือหาใช่เพียงการวางเงินมัดจำไม่ ฉะนั้น การที่จำเลยฎีกาว่าขณะทำสัญญาโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าหากจำเลยไม่ประสงค์จะขายที่ดินให้แจ้งให้โจทก์ทราบก่อนวันโอนนั้น จึงเป็นกรณีที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบุคคลอันเป็นการเพิ่มเติมนอกเหนือจากหลักฐานที่เป็นหนังสือนั้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6718/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: สิทธิผูกพันตามหลักฐานหนังสือ ห้ามเปลี่ยนแปลงด้วยพยานบุคคล
โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทในรูปแบบมีหลักฐานเป็นหนังสือ การวางมัดจำเป็นเพียงข้อตกลงข้อหนึ่งที่ปรากฏในหลักฐานที่เป็นหนังสือดังกล่าวเท่านั้นนิติกรรมคือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยจึงก่อซึ่งสิทธิและมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์และบังคับในรูปแบบของหลักฐานเป็นหนังสือหาใช่เพียงการวางเงินมัดจำไม่ ฉะนั้น การที่จำเลยฎีกาว่าขณะทำสัญญาโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าหากจำเลยไม่ประสงค์จะขายที่ดินให้แจ้งให้โจทก์ทราบก่อนวันโอนนั้น จึงเป็นกรณีที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบุคคลอันเป็นการเพิ่มเติมนอกเหนือจากหลักฐานที่เป็นหนังสือนั้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6692/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้น - สัญญาเพื่อบุคคลภายนอก - การโอนหุ้น - ความรับผิดของผู้ขายและผู้ถือหุ้นเดิม
การซื้อขายตราสารใบหุ้นซึ่งเจ้าของหุ้นได้ลงชื่อโอนหุ้นโดยมิได้ระบุชื่อผู้รับโอน แต่ส่งมอบใบหุ้นให้ไปซึ่งเรียกกันในวงการค้าหุ้นว่าเป็นการโอนหุ้นลอยนี้ คู่สัญญาทำการซื้อขายกันอย่างทรัพย์สินชนิดหนึ่ง มิได้ซื้อขายกันตามมูลค่าของหุ้นเพราะมูลค่าของหุ้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การซื้อขายตราสารใบหุ้นดังกล่าวกับการโอนหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 จึงเป็นนิติกรรมคนละอย่างกัน การซื้อขายใบหุ้นจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ว่าด้วยการซื้อขายทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ทั่วไป
การที่จำเลยที่ 4 ลงชื่อในใบโอนหุ้นลอยแล้วมอบให้ ธ. พร้อมใบหุ้นที่จำเลยร่วมที่ 4 ลงชื่อโอนลอยไว้นั้น เป็นการแสดงเจตนาโดยปริยายว่าจะโอนหุ้นตามใบโอนหุ้นลอยนั้นให้แก่บุคคลภายนอกผู้ที่ได้รับหรือซื้อใบหุ้นนั้นไปจาก ธ. โดยสุจริต ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขาย แลกเปลี่ยน หรือยกให้ก็ตาม ซึ่งข้อตกลงกันดังกล่าวกฎหมายไม่ได้บังคับต้องทำเป็นหนังสือ จึงบังคับกันได้ ดังนั้น ข้อตกลงจะโอนหุ้นตามใบโอนหุ้นลอยระหว่างจำเลยกับ ธ. จึงเป็นสัญญาเพื่อบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 374 ธ. ขายใบหุ้นพิพาทให้จำเลยร่วมที่ 2 โจทก์ซื้อจากจำเลยผู้เป็นตัวแทนของจำเลยร่วมที่ 2 และโจทก์ได้แสดงเจตนาจะถือประโยชน์ตามสัญญาเพื่อบุคคลภายนอกระหว่างจำเลยร่วมที่ 4 กับ ธ. แล้ว จำเลยร่วมที่ 4 จึงผูกพันตามสัญญาต้องโอนหุ้นพิพาทให้โจทก์
โจทก์ยังไม่ได้รับโอนหุ้นพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 ยังมิใช่เป็นผู้ถือหุ้นพิพาท จึงยังไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาผลประโยชน์ใด ๆจากหุ้นพิพาทนี้ได้ และตัวหุ้นนั้นมีมูลค่าอยู่ในตัวของมันเอง ทั้งเปลี่ยนแปลงอยู่เสมออาจจะสูงขึ้นหรือต่ำลงก็ได้ ไม่แน่นอน จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายในส่วนนี้
สำหรับเงินปันผลนั้นเมื่อโจทก์ยังไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นพิพาทตามกฎหมาย โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเงินปันผลอันเป็นดอกผลของหุ้นพิพาท
ส่วนดอกเบี้ยในต้นเงินที่โจทก์อ้างว่าได้กู้มาซื้อหุ้นพิพาทนั้น เมื่อไม่เกี่ยวกับหนี้ที่จำเลยร่วมที่ 4 จะต้องปฏิบัติการชำระให้โจทก์ กล่าวคือจำเลยร่วมที่ 4 จะต้องไปดำเนินการแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ในฐานะผู้ถือหุ้นพิพาทขอเปลี่ยนเป็นใบหุ้นใหม่แล้วโอนให้โจทก์ มิได้ชำระเป็นเงินจึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ย หากโจทก์จะได้ไปกู้เงินมาซื้อหุ้นพิพาทจริงก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องรับผิดชอบเอง หามีสิทธิมาเรียกเอาจากจำเลยร่วมที่ 4 ไม่ นอกจากจำเลยร่วมที่ 4 ไม่สามารถโอนหุ้นพิพาทให้โจทก์และต้องคืนเงินค่าหุ้นให้โจทก์เท่านั้น จำเลยที่ 4 จึงจะต้องรับผิดเสียดอกเบี้ย ส่วนอัตราดอกเบี้ยนั้นไม่มีข้อตกลงว่าจะต้องเสียให้กันในอัตราเท่าใด และโจทก์ก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์มีสิทธิคิดเอาเกินกว่าอัตราขั้นต่ำตามกฎหมายเพราะเหตุใด โจทก์จึงมีสิทธิคิดเอาได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6692/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้น – สัญญาเพื่อบุคคลภายนอก – การโอนหุ้น – ความรับผิดของผู้ขายและผู้ซื้อ
การซื้อขายตราสารใบหุ้นซึ่งเจ้าของหุ้นได้ลงชื่อโอนหุ้นโดยมิได้ระบุชื่อผู้รับโอน แต่ส่งมอบใบหุ้นให้ไปซึ่งเรียกกันในวงการค้าหุ้นว่าเป็นการโอนหุ้นลอยนี้ คู่สัญญาทำการซื้อขายกันอย่างทรัพย์สินชนิดหนึ่ง มิได้ซื้อขายกันตามมูลค่าของหุ้นเพราะมูลค่าของหุ้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การซื้อขายตราสารใบหุ้นดังกล่าวกับการโอนหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 จึงเป็นนิติกรรมคนละอย่างกัน การซื้อขายใบหุ้นจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ว่าด้วยการซื้อขายทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ทั่วไป
การที่จำเลยที่ 4 ลงชื่อในใบโอนหุ้นลอยแล้วมอบให้ ธ. พร้อมใบหุ้นที่จำเลยร่วมที่ 4 ลงชื่อโอนลอยไว้นั้น เป็นการแสดงเจตนาโดยปริยายว่าจะโอนหุ้นตามใบโอนหุ้นลอยนั้นให้แก่บุคคลภายนอกผู้ที่ได้รับหรือซื้อใบหุ้นนั้นไปจาก ธ. โดยสุจริต ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขาย แลกเปลี่ยน หรือยกให้ก็ตาม ซึ่งข้อตกลงกันดังกล่าวกฎหมายไม่ได้บังคับต้องทำเป็นหนังสือ จึงบังคับกันได้ ดังนั้น ข้อตกลงจะโอนหุ้นตามใบโอนหุ้นลอยระหว่างจำเลยกับ ธ. จึงเป็นสัญญาเพื่อบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 374 ธ. ขายใบหุ้นพิพาทให้จำเลยร่วมที่ 2 โจทก์ซื้อจากจำเลยผู้เป็นตัวแทนของจำเลยร่วมที่ 2 และโจทก์ได้แสดงเจตนาจะถือประโยชน์ตามสัญญาเพื่อบุคคลภายนอกระหว่างจำเลยร่วมที่ 4 กับ ธ. แล้ว จำเลยร่วมที่ 4 จึงผูกพันตามสัญญาต้องโอนหุ้นพิพาทให้โจทก์
โจทก์ยังไม่ได้รับโอนหุ้นพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 ยังมิใช่เป็นผู้ถือหุ้นพิพาท จึงยังไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาผลประโยชน์ใด ๆจากหุ้นพิพาทนี้ได้ และตัวหุ้นนั้นมีมูลค่าอยู่ในตัวของมันเอง ทั้งเปลี่ยนแปลงอยู่เสมออาจจะสูงขึ้นหรือต่ำลงก็ได้ ไม่แน่นอน จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายในส่วนนี้
สำหรับเงินปันผลนั้นเมื่อโจทก์ยังไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นพิพาทตามกฎหมาย โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเงินปันผลอันเป็นดอกผลของหุ้นพิพาท
ส่วนดอกเบี้ยในต้นเงินที่โจทก์อ้างว่าได้กู้มาซื้อหุ้นพิพาทนั้น เมื่อไม่เกี่ยวกับหนี้ที่จำเลยร่วมที่ 4 จะต้องปฏิบัติการชำระให้โจทก์ กล่าวคือจำเลยร่วมที่ 4 จะต้องไปดำเนินการแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ในฐานะผู้ถือหุ้นพิพาทขอเปลี่ยนเป็นใบหุ้นใหม่แล้วโอนให้โจทก์ มิได้ชำระเป็นเงินจึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ย หากโจทก์จะได้ไปกู้เงินมาซื้อหุ้นพิพาทจริงก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องรับผิดชอบเอง หามีสิทธิมาเรียกเอาจากจำเลยร่วมที่ 4 ไม่ นอกจากจำเลยร่วมที่ 4 ไม่สามารถโอนหุ้นพิพาทให้โจทก์และต้องคืนเงินค่าหุ้นให้โจทก์เท่านั้น จำเลยที่ 4 จึงจะต้องรับผิดเสียดอกเบี้ย ส่วนอัตราดอกเบี้ยนั้นไม่มีข้อตกลงว่าจะต้องเสียให้กันในอัตราเท่าใด และโจทก์ก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์มีสิทธิคิดเอาเกินกว่าอัตราขั้นต่ำตามกฎหมายเพราะเหตุใด โจทก์จึงมีสิทธิคิดเอาได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6441/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานกระทำชำเราหลายกรรมต่างกัน แม้กระทำต่อเนื่องใกล้เคียงกัน
จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายในปี 2536 รวม 3 ครั้ง และในปี 2537 รวม 2 ครั้ง หลังจากกระทำความผิดในแต่ละครั้ง จำเลยมิได้ควบคุมหรือหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายไว้เพื่อกระทำชำเราผู้เสียหายในครั้งต่อไปแต่อย่างใดผู้เสียหายคงอยู่ที่บ้านและไปโรงเรียนตามปกติ ดังนี้ ผู้เสียหายได้พ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลยแต่ละครั้งแล้ว แม้จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายครั้งที่สองห่างจากครั้งแรกประมาณ 2 ถึง 3 วัน ครั้งที่สามห่างจากครั้งที่สองเพียง 1 วัน และครั้งที่ห้าห่างจากครั้งที่สี่เพียง 1 วัน และในแต่ละครั้งจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนากระทำชำเราเหมือนกันก็ตาม การกระทำความผิดของจำเลยในแต่ละครั้งจึงเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายคนละวันต่างวาระกันและมิได้เป็นการกระทำต่อเนื่องกันแต่อย่างใด จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายรวม 5 ครั้ง จึงเป็นความผิดรวม 5 กระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6441/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานกระทำชำเราหลายกรรมต่างกัน แม้เวลาห่างกันไม่นาน หากผู้เสียหายพ้นจากภยันตรายแล้ว ถือเป็นความผิดหลายกระทง
จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายในปี 2536 รวม 3 ครั้งและในปี 2537 รวม 2 ครั้ง หลังจากกระทำความผิดในแต่ละครั้ง จำเลยมิได้ควบคุมหรือหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายไว้เพื่อกระทำชำเราผู้เสียหายในครั้งต่อไปแต่อย่างใดผู้เสียหายคงอยู่ที่บ้านและไปโรงเรียนตามปกติ ดังนี้ผู้เสียหายได้พ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลยแต่ละครั้งไปแล้ว แม้จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายครั้งที่สองห่างจากครั้งแรกประมาณ 2 ถึง 3 วัน ครั้งที่สามห่างจากครั้งที่สองเพียง 1 วัน และครั้งที่ห้าห่างจากครั้งที่สี่เพียง 1 วัน และในแต่ละครั้งจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนากระทำชำเราเหมือนกันก็ตาม การกระทำความผิดของจำเลยในแต่ละครั้งจึงเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายคนละวันต่างวาระกันและมิได้เป็นการกระทำต่อเนื่องกันแต่อย่างใดจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายรวม 5 ครั้ง จึงเป็นความผิดรวม 5 กระทง
of 10