คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิรัตน์ ลัทธิวงศกร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 554 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1903/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกระทำการแทนบริษัทที่มีข้อพิพาท ศาลต้องไต่สวนข้อเท็จจริงก่อนวินิจฉัย
เดิมบริษัทจำเลยมี ณ.และ ก.เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทคนใดคนหนึ่งมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทกระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ ต่อมา ก.ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นว่า ให้ ก.เพียงผู้เดียวเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลย โดยอ้างว่าเป็นการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นบริษัทจำเลยจึงประชุมกันและมีมติว่า การดำเนินการของ ก.ดังกล่าวไม่ถูกต้อง และให้ถอดถอน ก.ออกจากกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยแล้วแต่งตั้งให้ ณ.เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยเพียงผู้เดียว และให้ดำเนินคดี ก.เป็นคดีอาญาข้อหาแจ้งความเท็จและแจ้งให้จดข้อความอันเป็นเท็จ กับฟ้องคดีแพ่งขอให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการที่ ก.ได้ดำเนินการไป แต่คดีทั้งหมดดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุดจึงยังไม่มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยมาเป็น ก.เพียงผู้เดียวตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นข้างต้น ดังนี้เมื่อกรณียังมีข้อโต้แย้งระหว่าง ณ.กับ ก.ว่าผู้ใดมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยการที่ ณ.แต่งตั้ง ว.เป็นทนายจำเลยทำคำให้การและยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในนามจำเลยก็ดี หรือที่ ก.แต่งตั้ง อ.เป็นทนายจำเลยเข้าดำเนินคดีในเรื่องต่าง ๆรวมทั้งที่ ก.และ อ.เข้าทำสัญญาประนีประนอมยอมความในนามจำเลยกับโจทก์ ซึ่งศาลแรงงานพิพากษาตามยอมไปแล้วก็ดี และคดียังมีปัญหาว่า การกระทำต่าง ๆดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงชอบที่ศาลแรงงานจะได้ทำการไต่สวนให้สิ้นกระแสความเสียก่อนว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร การที่ศาลแรงงานด่วนมีคำวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นยุติตามหนังสือรับรองว่า ก.เพียงผู้เดียวเป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีนี้แทนจำเลยแล้วมีคำสั่งไม่รับคำให้การกับคำร้องขอแก้ไขคำให้การที่ทำขึ้นโดย ว.ซึ่ง ณ.แต่งตั้งเป็นทนายจำเลย กับที่ศาลแรงงานสั่งให้เพิกถอนใบแต่งทนายความฉบับที่ ณ.แต่ง ว.เป็นทนายจำเลย และพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ ก.และ อ.ลงนามแทนจำเลยทำกับโจทก์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1903/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดำเนินคดีแทนบริษัท: ศาลต้องไต่สวนข้อเท็จจริงก่อนตัดสินว่าผู้ใดมีอำนาจชอบธรรม
เดิมบริษัทจำเลยมี ณ. และ ก. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทคนใดคนหนึ่งมีอำนาจลงลายมือชื่อ และประทับตราสำคัญของบริษัทกระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ ต่อมา ก.ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท เป็นว่า ให้ ก. เพียงผู้เดียวเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลย โดยอ้างว่าเป็นการจดทะเบียน เปลี่ยนแปลงตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นบริษัทจำเลย จึงประชุมกันและมีมติว่า การดำเนินการของ ก. ดังกล่าวไม่ถูกต้อง และให้ถอดถอน ก.ออกจากกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยแล้วแต่ง ตั้งให้ ณ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยเพียงผู้เดียว และให้ดำเนินคดี ก. เป็นคดีอาญาข้อหาแจ้งความเท็จและแจ้งให้จดข้อความอันเป็นเท็จ กับฟ้องคดีแพ่งขอให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง กรรมการที่ ก. ได้ดำเนินการไป แต่คดีทั้งหมดดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุดจึงยังไม่มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการ ผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยมาเป็น ก. เพียงผู้เดียวตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นข้างต้น ดังนี้ เมื่อกรณียังมีข้อโต้แย้งระหว่าง ณ. กับ ก.ว่าผู้ใดมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลย การที่ ณ. แต่งตั้ง ว.เป็นทนายจำเลยทำคำให้การและยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในนามจำเลยก็ดี หรือที่ ก. แต่งตั้ง อ. เป็นทนายจำเลยเข้าดำเนินคดีในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งที่ ก. และ อ. เข้าทำสัญญาประนีประนอมยอมความในนามจำเลยกับโจทก์ ซึ่งศาลแรงงานพิพากษาตามยอมไปแล้วก็ดี และคดียังมีปัญหาว่าการกระทำต่าง ๆ ดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงชอบที่ศาลแรงงานจะได้ทำการไต่สวนให้สิ้นกระแสความเสียก่อนว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร การที่ศาลแรงงานด่วนมีคำวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นยุติตามหนังสือรับรองว่า ก. เพียงผู้เดียวเป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีนี้แทนจำเลยแล้วมีคำสั่งไม่รับคำให้การกับคำร้องขอแก้ไขคำให้การที่ทำขึ้นโดย ว. ซึ่ง ณ. แต่งตั้งเป็นทนายจำเลย กับที่ศาลแรงงานสั่งให้เพิกถอนใบแต่งทนายความฉบับที่ ณ.แต่ง ว. เป็นทนายจำเลย และพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่ ก. และ อ. ลงนามแทนจำเลยทำกับโจทก์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1902/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งคำบังคับศาลแรงงานและการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เกินกำหนด
เมื่อ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มิได้กำหนดระยะเวลาให้คู่ความฝ่ายที่ศาลมีคำสั่งขาดนัดพิจารณาและมีคำพิพากษาให้แพ้คดีในประเด็นพิพาทยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ กรณีจึงต้องนำป.วิ.พ.มาตรา 208 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คดีนี้ศาลแรงงานได้ออกคำบังคับและให้ส่งคำบังคับแก่จำเลยโดยสั่งว่าในการส่งหากไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดและให้มีผลเป็นการส่งในทันที แต่ในคำบังคับหาได้มีข้อความว่าการปิดคำบังคับให้มีผลทันทีตามคำสั่งของศาลแรงงานดังกล่าวไม่ คงระบุข้อความไว้เพียงว่า ให้การปิดคำบังคับมีผลตามกำหนดระยะเวลาในคำบังคับ และกำหนดไว้ต่อไปอีกว่า ให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 15 วันนับแต่วันรับคำบังคับเท่านั้น ดังนี้ เมื่อข้อความที่ระบุไว้ในคำบังคับไม่ได้มีความหมายว่าการปิดคำบังคับให้มีผลทันที จำเลยจึงไม่อาจทราบได้ว่าศาลแรงงานมีคำสั่งให้การส่งคำบังคับมีผลทันทีที่มีการปิดคำบังคับ กรณีต้องอยู่ในบังคับ ป.วิ.พ.มาตรา 79วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 31 ที่กำหนดว่าการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยจะมีผลตามกฎหมายต่อเมื่อกำหนดเวลาสิบห้าวันหรือระยะเวลานานกว่านั้นตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดได้ล่วงพ้นไปแล้วนับแต่วันปิดคำบังคับ ปรากฏว่ามีการปิดคำบังคับที่ภูมิลำเนาจำเลยเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม2541 ซึ่งครบกำหนดยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่วันที่ 24 กันยายน 2541 อันเป็นวันทำการ จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในวันที่ 25 กันยายน 2541 จึงเป็นการยื่นเกินกำหนดสิบห้าวันตาม ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคหนึ่ง การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1902/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาในการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่หลังขาดนัดพิจารณาคดีแรงงาน
เมื่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มิได้กำหนดระยะเวลาให้คู่ความฝ่ายที่ศาลมีคำสั่งขาดนัดพิจารณาและมีคำพิพากษาให้แพ้คดีในประเด็นพิพาทยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ กรณีจึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 มาใช้บังคับ โดยอนุโลมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 คดีนี้ศาลแรงงานได้ออกคำบังคับและให้ส่งคำบังคับแก่จำเลยโดยสั่งว่าในการส่งหากไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดและให้มีผลเป็นการส่งในทันที แต่ในคำบังคับหาได้มีข้อความว่าการปิดคำบังคับให้มีผลทันทีตามคำสั่งของศาลแรงงานดังกล่าวไม่ คงระบุข้อความไว้เพียงว่า ให้การปิดคำบังคับ มีผลตามกำหนดระยะเวลาในคำบังคับ และกำหนดไว้ต่อไปอีกว่าให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 15 วัน นับแต่ วันรับคำบังคับเท่านั้น ดังนี้ เมื่อข้อความที่ระบุไว้ ในคำบังคับไม่ได้มีความหมายว่าการปิดคำบังคับให้มีผลทันที จำเลยจึงไม่อาจทราบได้ว่าศาลแรงงานมีคำสั่งให้การส่งคำบังคับ มีผลทันทีที่มีการปิดคำบังคับ กรณีต้องอยู่ในบังคับ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคสอง ประกอบ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ที่กำหนดว่าการส่งคำบังคับให้แก่จำเลย จะมีผลตามกฎหมายต่อเมื่อกำหนดเวลาสิบห้าวันหรือระยะเวลา นานกว่านั้นตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดได้ล่วงพ้นไปแล้ว นับแต่วันปิดคำบังคับ ปรากฏว่ามีการปิดคำบังคับที่ภูมิลำเนา จำเลยเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2541 ซึ่งครบกำหนดยื่นคำร้อง ขอให้พิจารณาใหม่วันที่ 24 กันยายน 2541 อันเป็นวันทำการ จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในวันที่ 25 กันยายน 2541 จึงเป็นการยื่นเกินกำหนดสิบห้าวันตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคหนึ่ง การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาออกของลูกจ้างมีผลเมื่อได้รับอนุมัติจากนายจ้าง แม้จะถอนเจตนาภายหลังก็ไม่เป็นผล นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ลูกจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาจ้างได้ด้วยการลาออกจากงานและหลังจากลูกจ้างแสดงเจตนาลาออกจากงานแก่นายจ้างแล้วลูกจ้างหามีสิทธิถอนเจตนานั้นได้ไม่ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 วรรคสอง จำเลยยื่นหนังสือขอลาออกจากงานต่อโจทก์เมื่อวันที่ 20กุมภาพันธ์ 2540 โดยระบุให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ 1มีนาคม 2540 เช่นนี้ถือว่าการแสดงเจตนาลาออกจากงานของจำเลยมีผลตามกฎหมายแล้วนับแต่วันยื่นหนังสือขอลาออกแม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นหนังสืออีกฉบับหนึ่งต่อโจทก์ ขอยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานดังกล่าว ก็หามีผลเป็นการยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานไม่ หนังสือขอลาออกจากงานของจำเลยยังคงมีผลต่อไป โจทก์มีระเบียบว่าด้วยพนักงานและลูกจ้างอันเป็นข้อตกลงที่เกี่ยวกับสภาพการจ้างว่า พนักงานหรือลูกจ้างผู้ใดประสงค์จะลาออกจากงาน ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรงของตนเพื่อเสนอตามลำดับจนถึงคณะกรรมการดำเนินการเมื่อคณะกรรมการดำเนินการพิจารณาอนุญาตแล้ว จึงให้ถือว่าออกจากงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างที่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์และจำเลยได้ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์โจทก์พิจารณาอนุมัติหนังสือขอลาออกจากงานของจำเลยในการประชุมก่อนที่หนังสือขอลาออกมีผล การลาออกจากงานของจำเลยจึงมีผลนับตั้งแต่วันที่จำเลยประสงค์ การที่จำเลยต้องออกจากงานเพราะเหตุดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเพราะถูกโจทก์เลิกจ้างโจทก์ย่อมไม่มีหน้าที่จ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แก่จำเลย การที่โจทก์จ่ายค่าชดเชยให้แก่จำเลย เมื่อเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยคืนจากจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาลาออกมีผลผูกพัน นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ลูกจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาจ้างได้ด้วยการลาออกจากงาน และหลังจากลูกจ้างแสดงเจตนาลาออกจากงานแก่นายจ้างแล้ว ลูกจ้างหามีสิทธิถอนเจตนานั้นได้ไม่ ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 386 วรรคสอง
จำเลยยื่นหนังสือขอลาออกจากงานต่อโจทก์เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์2540 โดยระบุให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2540 เช่นนี้ถือว่าการแสดงเจตนาลาออกจากงานของจำเลยมีผลตามกฎหมายแล้วนับแต่วันยื่นหนังสือขอลาออกแม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นหนังสืออีกฉบับหนึ่งต่อโจทก์ ขอยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานดังกล่าว ก็หามีผลเป็นการยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานไม่ หนังสือขอลาออกจากงานของจำเลยยังคงมีผลต่อไป
โจทก์มีระเบียบว่าด้วยพนักงานและลูกจ้างอันเป็นข้อตกลงที่เกี่ยวกับสภาพการจ้างว่า พนักงานหรือลูกจ้างผู้ใดประสงค์จะลาออกจากงาน ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรงของตนเพื่อเสนอตามลำดับจนถึงคณะกรรมการดำเนินการ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการพิจารณาอนุญาตแล้ว จึงให้ถือว่าออกจากงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างที่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์และจำเลยได้ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์โจทก์พิจารณาอนุมัติหนังสือขอลาออกจากงานของจำเลยในการประชุมก่อนที่หนังสือขอลาออกมีผล การลาออกจากงานของจำเลยจึงมีผลนับตั้งแต่วันที่จำเลยประสงค์ การที่จำเลยต้องออกจากงานเพราะเหตุดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเพราะถูกโจทก์เลิกจ้าง โจทก์ย่อมไม่มีหน้าที่จ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แก่จำเลย
การที่โจทก์จ่ายค่าชดเชยให้แก่จำเลย เมื่อเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยคืนจากจำเลย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 407

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาลาออกมีผลทันที แม้ถอนทีหลัง นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ลูกจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาจ้างได้ด้วยการลาออกจากงานและหลังจากลูกจ้างแสดงเจตนาลาออกจากงานแก่นายจ้างแล้วลูกจ้างหามีสิทธิถอนเจตนานั้นได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 วรรคสอง เมื่อจำเลย ยื่นหนังสือขอลาออกจากงานต่อโจทก์ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540โดยระบุให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2540 ถือว่าการแสดงเจตนาลาออกจากงานของจำเลยมีผลตามกฎหมายแล้วนับแต่วันยื่นหนังสือขอลาออกแม้ต่อมาวันที่21 กุมภาพันธ์ 2540 จำเลยได้ยื่นหนังสืออีกฉบับหนึ่งต่อโจทก์ขอยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานดังกล่าว ก็หามีผลเป็นการยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานไม่หนังสือขอลาออกจากงาน ของจำเลยยังคงมีผลต่อไป ทั้งโจทก์มีระเบียบว่าด้วยพนักงาน และลูกจ้างที่กำหนดว่า พนักงานหรือลูกจ้างผู้ใดประสงค์ จะลาออกจากงาน ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชา โดยตรงของตนเพื่อเสนอตามลำดับจนถึงคณะกรรมการดำเนินการ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการพิจารณาอนุญาตแล้วจึงให้ถือว่า ออกจากงาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างที่มีผลใช้บังคับ แก่โจทก์และจำเลยได้ ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการดำเนินการ ของสหกรณ์โจทก์พิจารณาอนุมัติหนังสือขอลาออกจากงานของจำเลย ในการประชุมวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2540 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่ หนังสือขอลาออกมีผล การลาออกจากงานของจำเลยจึงมีผล ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2540 เป็นต้นไป การที่จำเลยต้องออก จากงานหาใช่เพราะถูกโจทก์เลิกจ้างไม่ โจทก์ย่อมไม่มีหน้าที่ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่จำเลย แต่การที่โจทก์จ่าย ค่าชดเชยให้แก่จำเลยเนื่องจากจำเลยออกจากงานอันถือเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ โจทก์จึงหามีสิทธิเรียกค่าชดเชยคืนจากจำเลยไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1588/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องคดีอาญาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งหมายเรียกจำเลย แม้จะอ้างความพลั้งเผลอ ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ประทับฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยไว้พิจารณาและมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกจำเลยมาให้การ ในวันเดียวกันกับวันนัดสืบพยานโจทก์โดยกำหนดให้โจทก์ นำส่งหมายภายใน 7 วัน หากไม่มีผู้รับหมายเรียกโดยชอบให้ปิดหมาย โจทก์ลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งศาลแล้ว เมื่อนับตั้งแต่วัน ฟังคำสั่งศาลชั้นต้น จนถึงวันที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดี โจทก์จากสารบบความ เป็นเวลานานถึง 48 วัน แสดงว่าโจทก์ เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ เพื่อการนั้นโดยชอบ จึงเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) โจทก์ปล่อยปละละเลยไม่สนใจที่จะปฏิบัติตามคำสั่งศาลจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี โจทก์จึงมายื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้ศาลชั้นต้นทบทวนคำสั่งจำหน่ายคดีแต่คำร้อง ของ โจทก์ดังกล่าวก็หาได้แสดงเหตุอันสมควรให้เห็นว่า กรณีมีพฤติการณ์พิเศษหรือเป็นกรณีที่มีเหตุ สุดวิสัยอย่างใดที่ทำให้โจทก์ไม่สามารถดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด กลับอ้างแต่เพียงความพลั้งเผลอหรือ หลงลืมของโจทก์เท่านั้น ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์จากสารบบความจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1588/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องคดีเนื่องจากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลและเพิกเฉยต่อการดำเนินคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ประทับฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยไว้พิจารณาและมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกจำเลยมาให้การในวันเดียวกันกับวันนัดสืบพยานโจทก์โดยกำหนดให้โจทก์นำส่งหมายภายใน 7 วัน หากไม่มีผู้รับหมายเรียกโดยชอบให้ปิดหมาย โจทก์ลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งศาลแล้ว เมื่อนับตั้งแต่วันฟังคำสั่งศาลชั้นต้น จนถึงวันที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีโจทก์จากสารบบความ เป็นเวลานานถึง 48 วัน แสดงว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยชอบ จึงเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 15 ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา174 (2)
โจทก์ปล่อยปละละเลยไม่สนใจที่จะปฏิบัติตามคำสั่งศาลจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี โจทก์จึงมายื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้ศาลชั้นต้นทบทวนคำสั่งจำหน่ายคดี แต่คำร้องของโจทก์ดังกล่าวก็หาได้แสดงเหตุอันสมควรให้เห็นว่า กรณีมีพฤติการณ์พิเศษหรือเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยอย่างใดที่ทำให้โจทก์ไม่สามารถดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด กลับอ้างแต่เพียงความพลั้งเผลอหรือหลงลืมของโจทก์เท่านั้น ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์จากสารบบความจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีแรงงาน: การโต้แย้งดุลพินิจศาลชั้นต้นและการรับฟังพยานหลักฐาน
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า เมื่อโจทก์เดินทางมาถึงประเทศไทย และวันที่ 28 สิงหาคม 2538 โจทก์จำเลยทำสัญญาจ้างแรงงานขึ้นอีกฉบับหนึ่งและโจทก์เริ่มต้นทำงานกับจำเลยในวันนั้น โจทก์จึงเป็นลูกจ้างของจำเลยตั้งแต่วันดังกล่าว และเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2539ด.ผู้จัดการทั่วไปของจำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยต้องการจะเลิกจ้างโจทก์จึงให้โจทก์เลือกว่าจะลาออกหรือให้จำเลยเลิกจ้าง หลังจากเจรจากันแล้วโจทก์ได้ยื่นใบลาออกเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2539 จึงเป็น การที่โจทก์ลาออกโดยสมัครใจที่โจทก์อุทธรณ์ว่า คำเสนอ สนองระหว่างโจทก์จำเลยเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่เวลาที่โจทก์ เดินทางมาประเทศไทยเพื่อเข้ารับการสัมภาษณ์จาก ด. สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์จำเลยจึงเกิดขึ้นตั้งแต่ วันที่ 30 มิถุนายน 2538 โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยตั้งแต่ วันดังกล่าวและเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2539 ก่อนที่จำเลยจะเรียกโจทก์ไปพบ จำเลยมีเจตนาจะเลิกจ้างโจทก์และ จัดทำหนังสือเลิกจ้างไว้แล้ว เมื่อโจทก์จำเลยเจรจากันแล้ว จำเลยจึงยื่นหนังสือดังกล่าวให้โจทก์ แสดงให้เห็นเจตนาอัน แท้จริงของจำเลยว่าเป็นการเลิกจ้างโจทก์นั้นอุทธรณ์ ของโจทก์ทั้งสองข้อล้วนเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการ รับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
of 56