พบผลลัพธ์ทั้งหมด 554 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับเงินชดเชย/บำเหน็จของพนักงานรัฐวิสาหกิจเมื่อเกษียณอายุ และการจ่ายเงินตามข้อบังคับ
จำเลยจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลพ.ศ.2496 และ พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น พ.ศ.2501 จำเลยจึงเป็นรัฐวิสาหกิจ โจทก์เป็นพนักงานของจำเลย โจทก์จึงเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ
ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 45 ได้กำหนดรายละเอียดและเงื่อนไขให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งเลิกจ้าง แต่ในข้อ 47 วรรคหนึ่ง แห่งระเบียบดังกล่าวระบุไว้ชัดแจ้งว่า พนักงานที่ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามข้อ 45 ดังนี้เมื่อโจทก์ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากจำเลย จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 45 แห่งระเบียบดังกล่าวให้โจทก์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุเกษียณอายุและโจทก์มีระยะเวลาการทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยทำงานมานาน 19 ปีเศษ ดังนี้แม้โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันนอกเหนือจากเงินบำเหน็จมาด้วย ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 47 วรรคหนึ่ง ก็ตามแต่ก็แปลได้ว่าโจทก์ประสงค์ได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเป็นจำนวนเท่ากับเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันตามบทบัญญัติในข้อดังกล่าว โดยเรียกผิดเป็นเงินค่าชดเชยนั่นเองเมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติงานในช่วงก่อนเกษียณอายุติดต่อกันครบ 5 ปีขึ้นไป โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ตามข้อ 47 วรรคหนึ่ง
จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ มีข้อบังคับองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นว่าด้วยกองทุนบำเหน็จของผู้ปฏิบัติงานองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น ว่า เงินบำเหน็จที่จำเลยจ่ายให้แก่ผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกษียณอายุตามข้อบังคับนี้ ให้ถือว่าเป็นการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานด้วย แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีระเบียบข้อบังคับในการจ่ายเงินค่าชดเชยกรณีพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุ และให้ถือว่าเงินดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของเงินที่จ่ายให้เพื่อตอบแทนความชอบในการทำงาน สอดคล้องกับข้อ 47 วรรคสอง แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จของผู้ปฏิบัติงานองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นดังกล่าว จึงไม่ขัดกฎหมายและมีผลบังคับได้ไม่ จำเลยจึงชอบที่จะจ่ายเงินบำเหน็จให้ตามสิทธิของโจทก์เพียงจำนวนเดียว โดยไม่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชยหรือเงินค่าตอบแทนความชอบในการทำงานต่างหากอีกจำนวนหนึ่ง
หากจะถือว่าจำเลยสามารถยกข้ออ้างที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยสามารถยกข้ออ้างว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติงานเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ก็ตามแต่ คดีนี้ ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติแล้วว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อจนเป็นช่องทางให้อ.ทุจริตเบียดบังเงินกู้กองทุนสวัสดิการและกองทุนบำเหน็จของจำเลย ดังนี้ ย่อมไม่อาจทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไปอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 45 ได้กำหนดรายละเอียดและเงื่อนไขให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งเลิกจ้าง แต่ในข้อ 47 วรรคหนึ่ง แห่งระเบียบดังกล่าวระบุไว้ชัดแจ้งว่า พนักงานที่ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามข้อ 45 ดังนี้เมื่อโจทก์ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากจำเลย จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 45 แห่งระเบียบดังกล่าวให้โจทก์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุเกษียณอายุและโจทก์มีระยะเวลาการทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยทำงานมานาน 19 ปีเศษ ดังนี้แม้โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันนอกเหนือจากเงินบำเหน็จมาด้วย ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 47 วรรคหนึ่ง ก็ตามแต่ก็แปลได้ว่าโจทก์ประสงค์ได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเป็นจำนวนเท่ากับเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันตามบทบัญญัติในข้อดังกล่าว โดยเรียกผิดเป็นเงินค่าชดเชยนั่นเองเมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติงานในช่วงก่อนเกษียณอายุติดต่อกันครบ 5 ปีขึ้นไป โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ตามข้อ 47 วรรคหนึ่ง
จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ มีข้อบังคับองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นว่าด้วยกองทุนบำเหน็จของผู้ปฏิบัติงานองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น ว่า เงินบำเหน็จที่จำเลยจ่ายให้แก่ผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกษียณอายุตามข้อบังคับนี้ ให้ถือว่าเป็นการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานด้วย แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีระเบียบข้อบังคับในการจ่ายเงินค่าชดเชยกรณีพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุ และให้ถือว่าเงินดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของเงินที่จ่ายให้เพื่อตอบแทนความชอบในการทำงาน สอดคล้องกับข้อ 47 วรรคสอง แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จของผู้ปฏิบัติงานองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นดังกล่าว จึงไม่ขัดกฎหมายและมีผลบังคับได้ไม่ จำเลยจึงชอบที่จะจ่ายเงินบำเหน็จให้ตามสิทธิของโจทก์เพียงจำนวนเดียว โดยไม่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชยหรือเงินค่าตอบแทนความชอบในการทำงานต่างหากอีกจำนวนหนึ่ง
หากจะถือว่าจำเลยสามารถยกข้ออ้างที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยสามารถยกข้ออ้างว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติงานเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ก็ตามแต่ คดีนี้ ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติแล้วว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อจนเป็นช่องทางให้อ.ทุจริตเบียดบังเงินกู้กองทุนสวัสดิการและกองทุนบำเหน็จของจำเลย ดังนี้ ย่อมไม่อาจทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไปอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับค่าชดเชยและเงินบำเหน็จของพนักงานรัฐวิสาหกิจที่เกษียณอายุ โดยข้อบังคับขององค์กรไม่ขัดแย้งกับกฎหมาย
จำเลยจัดตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์การ ของรัฐบาล พ.ศ. 2496 และ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การ อุตสาหกรรมห้องเย็น พ.ศ. 2501 จำเลยจึงเป็นรัฐวิสาหกิจ โจทก์เป็นพนักงานของจำเลย โจทก์จึงเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45ได้กำหนดรายละเอียดและเงื่อนไขให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งเลิกจ้าง แต่ในข้อ 47 วรรคหนึ่งแห่งระเบียบดังกล่าวระบุไว้ชัดแจ้งว่า พนักงานที่ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามข้อ 45ดังนี้เมื่อโจทก์ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากจำเลย โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุเกษียณอายุและโจทก์มีระยะเวลาการทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยทำงานมานาน 19 ปีเศษ ดังนี้แม้โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันนอกเหนือจากเงินบำเหน็จมาด้วย ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534ข้อ 47 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่ก็แปลได้ว่าโจทก์ประสงค์ได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเป็นจำนวนเท่ากับเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันตามบทบัญญัติในข้อดังกล่าว โดยเรียกผิดเป็นเงินค่าชดเชยนั่นเองเมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติงานในช่วงก่อนเกษียณอายุติดต่อกันครบ5 ปีขึ้นไป โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันตามข้อ 47 วรรคหนึ่ง จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ มีข้อบังคับองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นว่าด้วยกองทุนบำเหน็จของผู้ปฏิบัติงานองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นว่า เงินบำเหน็จที่จำเลยจ่ายให้แก่ผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกษียณอายุตามข้อบังคับนี้ ให้ถือว่าเป็นการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานด้วย แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีระเบียบข้อบังคับในการจ่ายเงินค่าชดเชยกรณีพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุ และให้ถือว่าเงินดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของเงินที่จ่ายให้เพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานสอดคล้องกับข้อ 47 วรรคสอง แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จของผู้ปฏิบัติงานองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นดังกล่าวจึงไม่ขัดกฎหมายและมีผลบังคับได้ จำเลยจึงชอบที่จะจ่ายเงินบำเหน็จให้ตามสิทธิของโจทก์เพียงจำนวนเดียว โดยไม่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชยหรือเงินค่าตอบแทนความชอบในการทำงานต่างหากอีกจำนวนหนึ่ง หากจะถือว่าจำเลยสามารถยกข้ออ้างที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยสามารถยกข้ออ้างว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติงานเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ก็ตาม แต่คดีนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติแล้วว่า โจทก์ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อจนเป็นช่องทางให้ อ.ทุจริตเบียดบังเงินกู้กองทุนสวัสดิการและกองทุนบำเหน็จของจำเลย ดังนี้ย่อมไม่อาจทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป อุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์พนักงานรัฐวิสาหกิจ: เงินบำเหน็จ vs. ค่าชดเชย กรณีเกษียณอายุ และผลของการตีความระเบียบข้อบังคับ
โจทก์พ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ เพราะเหตุเกษียณอายุจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามระเบียบ คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของ สิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 47 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยให้ นอกเหนือจากเงินบำเหน็จก็พอจะแปลคำฟ้องได้ว่า โจทก์ประสงค์ จะได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานดังกล่าว แต่เนื่องจากตามข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ ของผู้ปฏิบัติงานองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2524 ข้อ 9 วรรคท้าย กำหนดว่า เงินบำเหน็จที่จำเลยจ่ายให้แก่ผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกษียณอายุตามข้อบังคับนี้ให้ถือว่าเป็นการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานด้วยแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีระเบียบข้อบังคับในการจ่ายเงินค่าชดเชยกรณีพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุ และให้ถือว่าเงินดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของเงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงาน สอดคล้องกับ ข้อ 47 วรรคสองแห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ดังกล่าวข้อบังคับของจำเลยจึงไม่ขัดต่อกฎหมายและมีผลใช้บังคับได้จำเลยชอบที่จะจ่ายเงินบำเหน็จให้ตามสิทธิของโจทก์เพียงจำนวนเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความคลาดเคลื่อนวันเกิดเหตุลักทรัพย์ ไม่กระทบคำพิพากษา หากจำเลยรับสารภาพและเข้าใจข้อหา
จำเลยเข้าใจดีว่าเหตุลักทรัพย์เกิดวันที่ 2 มิถุนายน 2540การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าเหตุลักทรัพย์เกิดเมื่อวันที่2 มิถุนายน 2530 เห็นได้ว่าเกิดจากการที่พิมพ์ผิดพลาดซึ่งวันเวลาที่เกิดเหตุเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้อง กล่าวในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) เพื่อให้จำเลยเข้าใจข้อหาเท่านั้น มิใช่ข้อสาระสำคัญ โดยวันเวลา ที่เกิดเหตุหมายถึงวัน เดือน ปี มิใช่หมายถึงเฉพาะชั่วโมง นาที ทั้งจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้และให้การรับสารภาพ ศาลย่อมพิพากษาลงโทษในความผิดฐานลักทรัพย์ได้ จำเลยให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ ดังนั้น จะฎีกาโต้เถียงว่ามิได้กระทำผิดฐานลักทรัพย์ไม่ได้ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งเป็นการยกข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1205/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมายและอำนาจฟ้องของผู้สืบสันดาน รวมถึงความผิดฐานยักยอกและหน้าที่ผู้จัดการมรดก
แม้ตามสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านกับสำเนาทะเบียนนักเรียนระบุว่า ล. เป็นบิดาโจทก์ ทั้งปรากฏว่าโจทก์ไม่เคยใช้นามสกุลของผู้ตายก็ตาม แต่การที่ผู้ตายรับโจทก์มาอยู่กับผู้ตายที่บ้านและจำเลยที่ 3 ระบุในบัญชีเครือญาติว่าโจทก์เป็นบุตรเจ้ามรดกต่างมารดาเท่ากับยอมรับว่าโจทก์เป็นบุตรของผู้ตาย เมื่อได้ความว่าผู้ตายได้อุปการะเลี้ยงดูและให้โจทก์เรียนตัดเย็บเสี้อผ้า ทั้งผู้ตายยังเป็นเจ้าภาพแต่งงานให้โจทก์ด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวที่ผู้ตายแสดงต่อโจทก์ให้เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าโจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายของผู้ตายที่ผู้ตายได้รับรองแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลของผู้ตายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4), 28 (2)
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำผิดในฐานที่เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีมูลความผิดตาม ป.อ. มาตรา 354 ประกอบมาตรา 83 แต่มีมูลความผิดตามมาตรา 352 ประกอบมาตรา 83 และเมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีมูลความผิดตามมาตรา 352, 83 แล้ว ในการกระทำอันเดียวกันนั้น ย่อมไม่มีมูลความผิดตามมาตรา 354 ประกอบ 86 อีก
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำผิดในฐานที่เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีมูลความผิดตาม ป.อ. มาตรา 354 ประกอบมาตรา 83 แต่มีมูลความผิดตามมาตรา 352 ประกอบมาตรา 83 และเมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีมูลความผิดตามมาตรา 352, 83 แล้ว ในการกระทำอันเดียวกันนั้น ย่อมไม่มีมูลความผิดตามมาตรา 354 ประกอบ 86 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1205/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมายเป็นทายาท และความผิดฐานยักยอกทรัพย์มรดก
แม้ตามสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านกับสำเนาทะเบียน นักเรียนระบุว่า ล. เป็นบิดาโจทก์ ทั้งปรากฏว่าโจทก์ไม่เคยใช้นามสกุลของผู้ตายก็ตาม แต่การที่ผู้ตายรับโจทก์มาอยู่กับผู้ตายที่บ้านและจำเลยที่ 3 ระบุในบัญชีเครือญาติว่าโจทก์เป็นบุตรเจ้ามรดกต่างมารดาเท่ากับยอมรับว่าโจทก์เป็นบุตรของผู้ตาย เมื่อได้ความว่าผู้ตายได้อุปการะเลี้ยงดูและให้โจทก์เรียนตัดเย็บเสื้อผ้า ทั้งผู้ตายยังเป็นเจ้าภาพแต่งงานให้โจทก์ด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวที่ผู้ตายแสดงต่อโจทก์ให้เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าโจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายของผู้ตายที่ผู้ตายได้รับรองแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลของผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(4),28(2) หนังสือสัญญาพินัยกรรมระบุว่าผู้ตายเป็นผู้ออกเงินซื้อที่ดินตามฟ้องทั้ง 3 แปลง แต่ใส่ชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2แทน โดยมีจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มิได้นำที่ดินทั้ง 3 แปลงไปเป็นมรดกของผู้ตายโดยมิได้ระบุในรายการทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้าง การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงมีมูลความผิดฐานยักยอก ส่วนผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลชั้นต้นมิได้เป็นทายาทของผู้ตายและมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญาพินัยกรรมด้วยเชื่อว่าที่ดินทั้ง 3 แปลงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมิได้นำมาระบุไว้เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลจึงไม่มีความผิดตามฟ้อง โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2ได้กระทำผิดในฐานที่เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 ประกอบมาตรา 83 แต่มีมูลความผิดตามมาตรา 352 ประกอบมาตรา 83 และเมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีมูลความผิดตามมาตรา 352,83แล้ว ในการกระทำอันเดียวกันนั้น ย่อมไม่มีมูลความผิดตามมาตรา 354 ประกอบ 86 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บันทึกข้อตกลงยินยอมลาออกจากกรรมการบริษัท ไม่ถือเป็นการบอกเลิกจ้าง
แม้ตามบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยข้อ 3 ระบุว่า ในกรณีที่จำเลยมีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงให้โจทก์ พ้นจากตำแหน่งกรรมการบริษัทและผู้ถือใบอนุญาตจัดหางาน ในนามบริษัท โจทก์ตกลงยินยอมที่จะลงนามในเอกสารหรือคำขอ หรือดำเนินการใด ๆ เพื่อให้บรรลุการนั้นโดยทันทีตามที่จำเลย จะได้แจ้งให้ทราบก็ตาม แต่ข้อความตามบันทึกข้อดังกล่าว เป็นเพียงการตกลงกันล่วงหน้าในกรณีที่จำเลยมีความประสงค์ จะเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้จัดการ โดยโจทก์ต้องยินยอมเท่านั้นมิได้หมายความว่าหากจำเลยจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้โจทก์ พ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการแล้วถือว่าจำเลยเลิกจ้าง โจทก์ทันทีนอกจากนี้ปรากฏว่าหลังจากจำเลยจดทะเบียนให้โจทก์ พ้นจากกรรมการผู้จัดการแล้วโจทก์ยังทำงานเป็นลูกจ้างจำเลย ตลอดมา ดังนั้น ข้อตกลงตามบันทึกดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการ บอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1139/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่มีพยานสืบข้อเท็จจริงตามคำให้การ แต่กลับนำสืบข้อเท็จจริงอื่นนอกคำให้การ ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย
คดีแรงงาน จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำการจงใจให้จำเลยได้รับความเสียหายและทุจริตต่อหน้าที่ในการยื่นประมูลงานรับเหมาก่อสร้างที่จังหวัดล.โดยโจทก์สมรู้กับผู้เข้าร่วมประมูลงานรับเหมาก่อสร้างรายอื่น เพื่อให้ผู้ประมูลงานรายนั้นได้งานก่อสร้างดังกล่าวไปอันเป็นเหตุให้จำเลยเสียหาย และเป็นการทุจริตต่อหน้าที่อย่างร้ายแรงในชั้นพิจารณาจำเลยไม่สืบพยานตามคำให้การ แต่กลับนำสืบว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ในการประมูลงานก่อสร้างศาลากลาง จังหวัด อ. โดยโจทก์รับเงินจากผู้ประมูลรายอื่นมาเป็นประโยชน์ส่วนตน แล้วโจทก์ไม่ยื่นซองประมูลประกวดราคางานก่อสร้าง โดยอ้างว่าโจทก์คำนวณแบบศาลากลางในรายละเอียดไม่ทัน ซึ่งเป็นการนำสืบนอกคำให้การ ดังนี้ศาลแรงงานจะยกเรื่องที่โจทกกระทำการทุจริตตามที่จำเลยนำสืบมาวินิจฉัยว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่หาได้ไม่
เมื่อจำเลยไม่นำสืบให้เห็นอย่างชัดแจ้งตามคำให้การต่อสู้คดี และศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า ในขณะโจทก์ยื่นซองประกวดราคารับเหมาก่อสร้างศาลากลางจังหวัด ล. ที่จำเลยให้การไว้โจทก์ได้ถูกคนร้ายขัดขวางและทำร้ายได้รับบาดเจ็บ จำเลยจึงไม่ให้โจทก์ไปทำงานอีกเพราะเกรงจะเป็นอันตราย ดังนี้ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมาจึงเป็นยุติว่า โจทก์ไม่ได้กระทำการจงใจให้จำเลยได้รับความเสียหาย และจำเลยมิได้ทุจริตต่อหน้าที่ในการยื่นประมูลงานรับเหมาก่อสร้างศาลากลางจังหวัดล. ตามที่จำเลยให้การ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุสมควรและไม่มีเหตุเพียงพอเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายในส่วนนี้ และเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำความผิดอย่างร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แก่โจทก์
เมื่อจำเลยไม่นำสืบให้เห็นอย่างชัดแจ้งตามคำให้การต่อสู้คดี และศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า ในขณะโจทก์ยื่นซองประกวดราคารับเหมาก่อสร้างศาลากลางจังหวัด ล. ที่จำเลยให้การไว้โจทก์ได้ถูกคนร้ายขัดขวางและทำร้ายได้รับบาดเจ็บ จำเลยจึงไม่ให้โจทก์ไปทำงานอีกเพราะเกรงจะเป็นอันตราย ดังนี้ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมาจึงเป็นยุติว่า โจทก์ไม่ได้กระทำการจงใจให้จำเลยได้รับความเสียหาย และจำเลยมิได้ทุจริตต่อหน้าที่ในการยื่นประมูลงานรับเหมาก่อสร้างศาลากลางจังหวัดล. ตามที่จำเลยให้การ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุสมควรและไม่มีเหตุเพียงพอเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายในส่วนนี้ และเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำความผิดอย่างร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1139/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกจ้างไม่เป็นธรรม: จำเลยอ้างเหตุทุจริต แต่ไม่นำสืบตามคำให้การ ศาลแรงงานพิพากษาให้จ่ายค่าเสียหาย
คดีแรงงาน จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำการจงใจให้จำเลยได้รับความเสียหายและทุจริตต่อหน้าที่ในการยื่นประมูลงานรับเหมาก่อสร้างที่จังหวัด ล.โดยโจทก์สมรู้กับผู้เข้าร่วมประมูลงานรับเหมาก่อสร้างรายอื่น เพื่อให้ผู้ประมูลงานรายนั้นได้งานก่อสร้างดังกล่าวไปอันเป็นเหตุให้จำเลยเสียหาย และเป็นการทุจริตต่อหน้าที่อย่างร้ายแรง ในชั้นพิจารณาจำเลยไม่สืบพยานตามคำให้การ แต่กลับนำสืบว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ในการประมูลงานก่อสร้างศาลากลาง จังหวัด อ. โดยโจทก์รับเงินจากผู้ประมูลรายอื่นมาเป็นประโยชน์ส่วนตน แล้วโจทก์ไม่ยื่นซองประมูลประกวดราคางานก่อสร้าง โดยอ้างว่าโจทก์คำนวณแบบศาลากลางในรายละเอียดไม่ทัน ซึ่งเป็นการนำสืบนอกคำให้การ ดังนี้ศาลแรงงานจะยกเรื่องที่โจทก์กระทำการทุจริตตามที่จำเลยนำสืบมาวินิจฉัยว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่หาได้ไม่
เมื่อจำเลยไม่นำสืบให้เห็นอย่างชัดแจ้งตามคำให้การต่อสู้คดี และศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า ในขณะโจทก์ยื่นซองประกวดราคารับเหมาก่อสร้างศาลากลางจังหวัด ล.ที่จำเลยให้การไว้ โจทก์ได้ถูกคนร้ายขัดขวางและทำร้ายได้รับบาดเจ็บ จำเลยจึงไม่ให้โจทก์ไปทำงานอีกเพราะเกรงจะเป็นอันตราย ดังนี้ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมาจึงเป็นยุติว่า โจทก์ไม่ได้กระทำการจงใจให้จำเลยได้รับความเสียหาย และจำเลยมิได้ทุจริตต่อหน้าที่ในการยื่นประมูลงานรับเหมาก่อสร้างศาลากลางจังหวัด ล.ตามที่จำเลยให้การ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุสมควรและไม่มีเหตุเพียงพอเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายในส่วนนี้ และเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำความผิดอย่างร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 แก่โจทก์
เมื่อจำเลยไม่นำสืบให้เห็นอย่างชัดแจ้งตามคำให้การต่อสู้คดี และศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า ในขณะโจทก์ยื่นซองประกวดราคารับเหมาก่อสร้างศาลากลางจังหวัด ล.ที่จำเลยให้การไว้ โจทก์ได้ถูกคนร้ายขัดขวางและทำร้ายได้รับบาดเจ็บ จำเลยจึงไม่ให้โจทก์ไปทำงานอีกเพราะเกรงจะเป็นอันตราย ดังนี้ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมาจึงเป็นยุติว่า โจทก์ไม่ได้กระทำการจงใจให้จำเลยได้รับความเสียหาย และจำเลยมิได้ทุจริตต่อหน้าที่ในการยื่นประมูลงานรับเหมาก่อสร้างศาลากลางจังหวัด ล.ตามที่จำเลยให้การ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุสมควรและไม่มีเหตุเพียงพอเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายในส่วนนี้ และเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำความผิดอย่างร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายระยะเวลาอุทธรณ์คดีแรงงาน: เหตุผลความจำเป็นและประโยชน์แห่งความยุติธรรม
การอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแรงงานไปยัง ศาลฎีกาต้องอุทธรณ์ภายใน 15 วัน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง และเหตุในการขยายระยะเวลาอุทธรณ์ มาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะแล้วไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไปมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31 ได้ ในการย่นหรือขยายระยะเวลาอุทธรณ์ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่งมาตรา 26 ได้วางหลักเกณฑ์ว่าศาลแรงงานจะกระทำได้ต่อเมื่อ มีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเท่านั้นไม่ได้กำหนดว่าจะต้องมีพฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 จำเลยที่ 2อ้างว่าหลังจากศาลแรงงานกลางพิพากษาแล้ว ได้ยื่นคำแถลงขอคัดคำพิพากษาตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2541 แต่เจ้าหน้าที่ศาลแจ้งว่ายังพิมพ์ไม่เสร็จและผู้พิพากษายังไม่ได้ลงลายมือชื่อจึงขอคัดไม่ได้ จำเลยที่ 2 ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ศาลเพื่อขอรับสำเนาคำพิพากษาตลอดมา จนกระทั่งวันที่ 3 พฤศจิกายน2541 จำเลยที่ 2 จึงได้รับสำเนาคำพิพากษา อันเป็นเวลาล่วงเลยกำหนดเวลาที่จะยื่นอุทธรณ์ซึ่งหากคำร้อง ของ จำเลยที่ 2 เป็นความจริง จำเลยที่ 2 ก็ไม่อาจยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบคำพิพากษานั้น ถือได้ว่ามีความจำเป็น และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานจะพึง ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์หลังจากครบกำหนดแล้ว ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 สละสิทธิในการอุทธรณ์ ศาลแรงงานกลางชอบที่จะไต่สวนคำร้อง ของ จำเลยที่ 2 ว่าเป็นความจริงหรือไม่ต่อไป