พบผลลัพธ์ทั้งหมด 554 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้ไม่มีเหตุตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ หากไม่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
แม้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123จะกำหนดเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้เพียง 5 ประการแต่ก็มิได้หมายความว่าเมื่อมีเหตุจำเป็นนอกเหนือจากเหตุแห่งการเลิกจ้าง 5 ประการดังกล่าวแล้ว นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างไม่ได้ กรณีเช่นนี้นายจ้างเลิกจ้าง ลูกจ้างที่จะไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม จึงต้อง พิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างเป็นประการสำคัญ จำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 เป็นลูกจ้างโจทก์โดยทำงานในแผนกข้อมูลข่าวสารซึ่งมีลูกจ้างทั้งหมด 8 คน จำเลยที่ 11ถึงที่ 14 เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานและเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องจำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 ถูกโจทก์เลิกจ้างเนื่องจากโจทก์ ยุบแผนกที่จำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 ทำงาน แม้ขณะโจทก์ ยุบแผนกดังกล่าวเนื่องจากผลประกอบการในแผนกขาดทุน แต่ผลประกอบการโดยรวมของโจทก์ยังมีกำไร นอกจากนี้โจทก์ย้ายลูกจ้างคนหนึ่งในแผนกดังกล่าวไปทำงาน ในแผนกอื่น แล้วโจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 กับพวก หลังจากนั้นโจทก์ได้รับลูกจ้างใหม่เข้าทำงานอีก 7 คนและยังได้รับสมัครลูกจ้างเข้าทำงานทดแทนลูกจ้าง ที่ออกจากงานตลอดมาเช่นนี้ กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเหตุ จำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในการเลิกจ้างจำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 การที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 เนื่องจาก เหตุดังกล่าวก็ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้น ตามมาตรา 123 แห่ง พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 โจทก์ เลิกจ้างจำเลยที่ 11 ถึงที่ 14 จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 217/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีวัตถุออกฤทธิ์ในครอบครองเพื่อขาย โจทก์ต้องพิสูจน์เจตนาจำเลย แม้มีของกลางจำนวนมาก
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีอีเฟดรีนจำนวน 195 เม็ดไว้ในครอบครองเพื่อขาย โจทก์ย่อมมีหน้าที่ต้องนำสืบแสดง พยานหลักฐานต่อศาล เพื่อให้เห็นสมจริงว่าจำเลยมี อีเฟดรีน ของกลางไว้เพื่อขาย การยึดได้ของกลางจำนวนดังกล่าวนี้ไม่แน่ว่าจำเลยจะมีไว้เพื่อขายเสมอไป และไม่อาจ สันนิษฐานว่าจำเลยมีของกลางไว้ในครอบครองเพื่อขายได้ เพราะพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ไม่มีบทบัญญัติให้สันนิษฐานไว้เช่นนั้น ทั้งในชั้นพิจารณาจำเลยก็ปฏิเสธ จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องสืบให้ได้ความเช่นนั้นแต่ข้อนำสืบนั้นต้องมิใช่ส่วนหนึ่งของคำรับที่จำเลยเคยให้การไว้ในชั้นจับกุมหรือสอบสวนเมื่อโจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยจำหน่ายจ่ายแจกหรือมีไว้ซึ่งของกลางเพื่อขายกรณียังมีข้อสงสัยตามสมควร จึงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัย ให้จำเลย คดีรับฟังได้เพียงว่าจำเลยมีอีเฟดรีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตักเตือนของกรรมการผู้จัดการ: หนังสือตักเตือนโดยไม่ต้องลงลายมือชื่อกรรมการอื่น
ศ.เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ ทั้งเป็นผู้บังคับบัญชา โดยตรงของโจทก์ เมื่อโจทก์ประพฤติตนบกพร่อง โดยมาทำงานสายเป็นประจำอันอาจก่อให้เกิด ความเสียหายแก่จำเลย ศ.ย่อมมีอำนาจที่จะว่ากล่าวตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือได้ และในหนังสือตักเตือนก็ไม่จำต้องให้กรรมการจำเลยสองคนลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยเพราะมิใช่เป็นการกระทำนิติกรรมแทนจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการผู้จัดการออกหนังสือตักเตือน และการเลิกจ้างที่ชอบด้วยกฎหมาย
ศ. เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลย มีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์และเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของโจทก์เมื่อโจทก์ประพฤติตนบกพร่องโดยมาทำงานสายเป็นประจำ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ศ. ย่อมมีอำนาจที่จะว่ากล่าวตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือได้ และในหนังสือ ตักเตือนไม่จำต้องให้กรรมการจำเลยสองคนลงลายมือชื่อ และประทับตราสำคัญของจำเลยเพราะมิใช่เป็นการ กระทำนิติกรรมแทนจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจบังคับบัญชาและการตักเตือนลูกจ้าง: หนังสือตักเตือนไม่เป็นนิติกรรม
ศ.เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลย มีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ ทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของโจทก์ เมื่อโจทก์ประพฤติตนบกพร่องโดยมาทำงานสายเป็นประจำอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ศ.ย่อมมีอำนาจที่จะว่ากล่าวตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือได้ และในหนังสือตักเตือนก็ไม่จำต้องให้กรรมการจำเลยสองคนลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยเพราะมิใช่เป็นการกระทำนิติกรรมแทนจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ vs. สิทธิบุคคลภายนอกที่ได้มาโดยสุจริตและจดทะเบียน สิทธิใครเหนือกว่า
ผู้คัดค้านซื้อที่ดินโฉนดพิพาทซึ่งรวมที่ดินพิพาทมาด้วย จาก ส. ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์โดยสุจริต ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วก่อนที่ผู้คัดค้านจะจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจาก ส. แต่เมื่อผู้ร้องมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ร้องจึงยกเอาสิทธิที่ได้มาอยู่ก่อนและยังมิได้จดทะเบียน นั้นขึ้นใช้ยันผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดย เสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสองแม้ผู้ร้องจะยังครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาก็ต้องเริ่มต้นนับระยะเวลาครอบครองใหม่ เมื่อยังไม่ถึง 10 ปี สิทธิของผู้ร้องจึงยกขึ้นอ้างต่อผู้คัดค้านไม่ได้
ผู้คัดค้านลงชื่อเป็นผู้แก้อุทธรณ์เอง และแม้ว่าทนายผู้คัดค้านจะลงชื่อเป็นผู้เรียงคำแก้อุทธรณ์ แต่ตามใบแต่งทนายความไม่ปรากฏว่ามีข้อความให้ทนายผู้คัดค้านมีอำนาจ ดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้าน จึงเป็นกรณีที่ผู้คัดค้านยื่นคำแก้อุทธรณ์เองโดยมิได้แต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ ดังนี้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ผู้ร้องใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้านมิได้
ผู้คัดค้านลงชื่อเป็นผู้แก้อุทธรณ์เอง และแม้ว่าทนายผู้คัดค้านจะลงชื่อเป็นผู้เรียงคำแก้อุทธรณ์ แต่ตามใบแต่งทนายความไม่ปรากฏว่ามีข้อความให้ทนายผู้คัดค้านมีอำนาจ ดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้าน จึงเป็นกรณีที่ผู้คัดค้านยื่นคำแก้อุทธรณ์เองโดยมิได้แต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ ดังนี้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ผู้ร้องใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้านมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการโอนสิทธิที่ดิน ผู้ซื้อที่ดินโดยสุจริตย่อมได้สิทธิเหนือผู้ครอบครองเดิมที่ไม่จดทะเบียน
ผู้คัดค้านซื้อที่ดินโฉนดพิพาทซึ่งรวมที่ดินพิพาทมาด้วย จากส. ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์โดยสุจริต ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วก่อนที่ ผู้คัดค้านจะจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจาก ส.แต่เมื่อผู้ร้องมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ร้องจึงยกเอาสิทธิที่ได้มาอยู่ก่อนและยังมิได้จดทะเบียน นั้นขึ้นใช้ยันผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดย เสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสองแม้ผู้ร้องจะยังครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาก็ต้องเริ่มต้นนับระยะเวลาครอบครองใหม่ เมื่อยังไม่ถึง 10 ปี สิทธิของผู้ร้องจึงยกขึ้นอ้างต่อผู้คัดค้านไม่ได้ ผู้คัดค้านลงชื่อเป็นผู้แก้อุทธรณ์เอง และแม้ว่าทนาย ผู้คัดค้านจะลงชื่อเป็นผู้เรียงคำแก้อุทธรณ์ แต่ตามใบแต่งทนายความไม่ปรากฏว่ามีข้อความให้ทนายผู้คัดค้านมีอำนาจ ดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้าน จึงเป็นกรณีที่ผู้คัดค้าน ยื่นคำแก้อุทธรณ์เอง โดยมิได้แต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดี ในชั้นอุทธรณ์ ดังนี้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ผู้ร้องใช้ ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้านมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองปรปักษ์ vs. สิทธิจากการจดทะเบียน: ผู้ซื้อที่ดินโดยสุจริตย่อมได้สิทธิเหนือผู้ครอบครองก่อนหน้านี้ที่ยังมิได้จดทะเบียน
ผู้คัดค้านซื้อที่ดินโฉนดพิพาทซึ่งรวมที่ดินพิพาทมาด้วยจาก ส.ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์โดยสุจริต ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วก่อนที่ผู้คัดค้านจะจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจาก ส.แต่เมื่อผู้ร้องมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ร้องจึงยกเอาสิทธิที่ได้มาอยู่ก่อนและยังมิได้จดทะเบียนนั้นขึ้นใช้ยันผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วไม่ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคสอง แม้ผู้ร้องจะยังครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาก็ต้องเริ่มต้นนับระยะเวลาครอบครองใหม่ เมื่อยังไม่ถึง 10 ปี สิทธิของผู้ร้องจึงยกขึ้นอ้างต่อผู้คัดค้านไม่ได้
ผู้คัดค้านลงชื่อเป็นผู้แก้อุทธรณ์เอง และแม้ว่าทนายผู้คัดค้านจะลงชื่อเป็นผู้เรียงคำแก้อุทธรณ์ แต่ตามใบแต่งทนายความไม่ปรากฏว่ามีข้อความให้ทนายผู้คัดค้านมีอำนาจดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้าน จึงเป็นกรณีที่ผู้คัดค้านยื่นคำแก้อุทธรณ์เอง โดยมิได้แต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ ดังนี้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ผู้ร้องใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้านมิได้
ผู้คัดค้านลงชื่อเป็นผู้แก้อุทธรณ์เอง และแม้ว่าทนายผู้คัดค้านจะลงชื่อเป็นผู้เรียงคำแก้อุทธรณ์ แต่ตามใบแต่งทนายความไม่ปรากฏว่ามีข้อความให้ทนายผู้คัดค้านมีอำนาจดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้าน จึงเป็นกรณีที่ผู้คัดค้านยื่นคำแก้อุทธรณ์เอง โดยมิได้แต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ ดังนี้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ผู้ร้องใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้านมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความยินยอมล่วงหน้าในสัญญาค้ำประกัน สัญญารับสภาพหนี้ไม่เป็นการแปลงหนี้
ตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 3 ตกลงกับโจทก์ว่า หากมีการผ่อนเวลาชำระหนี้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อ ภายในประเทศ หรือขยายเวลาอนุญาตให้ไปศึกษาต่อแก่ จำเลยที่ 1 ไม่ว่ากรณีใด ๆ ให้ถือว่าจำเลยที่ 3 ได้ตกลง ให้ความยินยอมในการผ่อนชำระหนี้หรือขยายระยะเวลานั้น ด้วยทุกครั้งและยังรับเป็นผู้ค้ำประกันตามสัญญาดังกล่าว ตลอดไป เป็นข้อตกลงของจำเลยที่ 3 ที่ให้ความยินยอมล่วงหน้า ดังนั้น สัญญารับสภาพหนี้ซึ่งโจทก์ขยายเวลาชำระหนี้ ให้แก่จำเลยที่ 1 จึงถือว่าได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 แล้ว ซึ่งการทำสัญญารับสภาพหนี้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์เป็นการทำขึ้นเพื่อรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องซึ่ง จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์อันเป็นเหตุให้อายุความ สะดุดหยุดลงเท่านั้น มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 กับโจทก์ ได้ตกลงเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้อันจะทำ ให้หนี้เดิมระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่แต่อย่างใด จำเลยที่ 3 จึงยังต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำขอพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ควบคู่กับคดีอาญาเกี่ยวกับยาเสพติดและจราจร
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 จำคุก 1 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 6 เดือน ข้อหาและคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนถือได้ว่าความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157 ทวิวรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220 ดังนี้ ที่โจทก์ฎีกาขอให้สั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลย ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย