คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิรัตน์ ลัทธิวงศกร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 554 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำขอพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ควบคู่กับคดีอาญาเกี่ยวกับยาเสพติดและจราจร
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 จำคุก 1 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 6 เดือน ข้อหาและคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนถือได้ว่าความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157 ทวิวรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220 ดังนี้ ที่โจทก์ฎีกาขอให้สั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลย ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเล่นการพนัน: โจทก์พิสูจน์ได้ตามข้อสันนิษฐาน พ.ร.บ.การพนัน จำเลยต้องนำสืบหักล้าง
พยานโจทก์เบิกความว่า หลังจากพันตำรวจโทค.เคาะประตูบ้านที่เกิดเหตุ เมื่อมีคนเปิดประตูแล้วพยานพบว่า ภายในบ้านมีการเล่นการพนันกันจึงจับจำเลยกับพวก แม้ข้อเท็จจริงได้ความจากคำเบิกความของพันตำรวจโท ค.และจ่าสิบตำรวจอ.พยานโจทก์ตอบทนายจำเลยถามค้านว่าขณะพยานจับจำเลยนั้นพยานไม่เห็นจำเลยถือไพ่อยู่ก็ตาม แต่ พันตำรวจโท ค.เบิกความด้วยว่า จำเลยที่ 2 เป็นคนเปิดประตูให้พยาน เมื่อจำเลยที่ 2 เปิดประตูแล้วพยายามหลบหนี ส่วนจำเลยที่ 1 นั่งอยู่ที่ข้างวงการพนัน เป็นการที่พยานโจทก์ ดังกล่าวเบิกความยืนยันว่า ขณะพยานเข้าไปในบ้านเกิดเหตุคนในบ้าน กำลังเล่นการพนันกันโดยมีจำเลยอยู่ในบ้านที่เกิดเหตุ จึงเป็นการที่โจทก์ได้นำสืบข้อเท็จจริงได้ความตาม ข้อสันนิษฐานที่พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.2478 มาตรา 6 บัญญัติไว้ กรณีถือว่าโจทก์นำพยานเข้าสืบได้ความตาม คำฟ้องแล้ว จึงเป็นหน้าที่ที่จำเลยจะต้องนำสืบหักล้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมการพนัน: โจทก์พิสูจน์ได้ตามสันนิษฐาน พ.ร.บ.การพนัน จำเลยต้องพิสูจน์หักล้าง
พยานโจทก์เบิกความว่า หลังจากพันตำรวจโท ค.เคาะประตูบ้านที่เกิดเหตุ เมื่อมีคนเปิดประตูแล้วพยานพบว่าภายในบ้านมีการเล่นการพนันกันจึงจับจำเลยกับพวก แม้ข้อเท็จจริงได้ความจากคำเบิกความของพันตำรวจโท ค.และจ่าสิบตำรวจ อ.พยานโจทก์ตอบทนายจำเลยถามค้านว่าขณะพยานจับจำเลยนั้นพยานไม่เห็นจำเลยถือไพ่อยู่ก็ตาม แต่พันตำรวจโท ค.เบิกความด้วยว่า จำเลยที่ 2เป็นคนเปิดประตูให้พยาน เมื่อจำเลยที่ 2 เปิดประตูแล้วพยายามหลบหนี ส่วนจำเลยที่ 1 นั่งอยู่ที่ข้างวงการพนัน เป็นการที่พยานโจทก์ดังกล่าวเบิกความยืนยันว่า ขณะพยานเข้าไปในบ้านเกิดเหตุคนในบ้านกำลังเล่นการพนันกันโดยมีจำเลยอยู่ในบ้านที่เกิดเหตุ จึงเป็นการที่โจทก์ได้นำสืบข้อเท็จจริงได้ความตามข้อสันนิษฐานที่ พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 มาตรา 6 บัญญัติไว้ กรณีถือว่าโจทก์นำพยานเข้าสืบได้ความตามคำฟ้องแล้ว จึงเป็นหน้าที่ที่จำเลยจะต้องนำสืบหักล้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษจำเลยร่วมกระทำความผิดอาญาอาศัยพยานหลักฐานประกอบคำเบิกความของผู้เสียหายและท่าทางประกอบคำรับสารภาพ
ที่เหตุเกิดเป็นทางสัญจรและเป็นถนนสายหลักสายสำคัญ จึงน่าเชื่อว่าเวลา 1 นาฬิกา ยังมีรถแล่นอยู่และต้อง เปิดไฟสว่างแล่นสวนกันไปมา เชื่อว่าผู้เสียหายกับ ส. ต้องเห็นและจำคนร้ายได้ถนัดโดยเฉพาะคนร้ายที่ไม่ได้ สวมหมวกนิรภัย นอกจากนี้หลังเกิดเหตุผู้เสียหายกับ ส. ได้แจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจทราบถึงลักษณะของคนร้าย เมื่อจับคนร้ายได้ผู้เสียหายกับ ส. ไปดูตัวและยืนยันว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนร้ายที่ใช้มีดฟันสายรัดกระเป๋าเสื้อผ้า กับจำเลยที่ 3 เป็นคนร้ายที่ใช้ไขควงจี้คุมผู้เสียหายกับ ส. ทั้งจำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนและนำชี้ ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ แม้จำเลยที่ 3 จะนำสืบว่า คำให้การรับสารภาพเพราะถูกเจ้าพนักงานตำรวจข่มขู่และ ทำร้ายก็ตาม แต่ได้ความว่าในชั้นจับกุมจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ให้การรับสารภาพ ส่วนผู้ต้องหาอื่นอีก 4 คน ให้การปฏิเสธ ถ้ามีการข่ม ขู่หรือทำร้ายจริงเหตุใดเจ้าพนักงานตำรวจ จึงบังคับแต่เพียงจำเลยที่ 3 ไม่บังคับบุคคลที่ให้การปฏิเสธ ดังกล่าวให้ให้การรับสารภาพด้วย พยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นคนร้ายที่ร่วมกระทำความผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7602/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงานในช่วงเศรษฐกิจถดถอย ต้องพิจารณาเหตุผลความจำเป็นและผลกระทบต่อฐานะนายจ้าง
แม้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 จะกำหนดเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้เพียง 5 ประการ แต่ก็มิได้หมายความว่าเมื่อมีเหตุผลจำเป็นนอกเหนือไปจาก 5 ประการ ดังกล่าวแล้วจะเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานและอยู่ระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับไม่ได้โดยไม่คำนึงถึงฐานะและสภาพทางเศรษฐกิจตลอดจนความจำเป็น ของนายจ้างประการอื่นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขได้เสียเลย ดังนี้ ในกรณีที่นายจ้างต้องประสบกับการขาดทุน มีหนี้สินมากมายจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างปกติ กิจการหยุดชะงักงันโดยสิ้นเชิงจนต้องยุบหน่วยงานหรือ เลิกกิจการแล้วจะให้นายจ้างจ้างลูกจ้างอยู่ตลอดไปจนนายจ้าง ประสบความหายนะ หรือล้มละลายย่อมเป็นไปไม่ได้ หากเป็นกรณี ที่มีเหตุเพียงพอและเป็นการสมควรและมิใช่เป็นการกลั่นแกล้ง อันถือว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมต่อบุคคลดังกล่าว แล้วนายจ้างย่อมกระทำได้ คดีนี้ถึงหากโจทก์ประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจถดถอยทำให้โจทก์ มีผลกำไรจากการประกอบการลดลงและมีกำลังคนล้นงาน โจทก์จำเป็นต้องเลิกจ้างลูกจ้างเพื่อลดค่าใช้จ่ายป้องกันมิให้นายจ้างต้องขาดทุนในภายหน้าก็ตาม แต่การดำเนินการของโจทก์ยังมีกำไรอยู่ หาได้ประสบภาวะขาดทุนจนไม่สามารถดำเนินกิจการอันใดต่อไปได้ถึงกับต้องยุบหน่วยงานเสียทั้งหน่วยหรือเลิกกิจการไปไม่ เมื่อเป็นเพียงการคาดหมายของโจทก์เพื่อป้องกันการขาดทุนในภายหน้าเท่านั้น การดำเนินกิจการของโจทก์ต่อไปอาจไม่ประสบภาวะการขาดทุนก็เป็นได้ การที่โจทก์แก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการเลิกจ้างลูกจ้าง บางคนในหน่วยงานหรือยุบหน่วยงานบางหน่วยบ้างที่ไม่จำเป็นเพื่อ ลดค่าใช้จ่าย โดยถือหลักเกณฑ์การคัดเลือกในการเลิกจ้าง นำมาใช้กับ ส. ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานของโจทก์และอยู่ในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ โดยไม่เลือกใช้วิธีการอย่างอื่นนั้น ยังไม่เป็นเหตุผลอันเพียงพอและสมควรจึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7602/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงานต้องมีเหตุผลอันสมควร มิใช่เพียงคาดการณ์การขาดทุน
แม้ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 จะกำหนดเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้เพียง 5 ประการ แต่ก็มิได้หมายความว่า เมื่อมีเหตุผลจำเป็นนอกเหนือไปจาก 5 ประการ ดังกล่าวแล้วจะเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานและอยู่ในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับไม่ได้ โดยไม่คำนึงถึงฐานะและสภาพทางเศรษฐกิจตลอดจนความจำเป็นของนายจ้างประการอื่นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขได้เสียเลย ดังนี้ ในกรณีที่นายจ้างต้องประสบกับการขาดทุนมีหนี้สินมากมายจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างปกติ กิจการหยุดชะงักงันโดยสิ้นเชิงจนต้องยุบหน่วยงานหรือเลิกกิจการแล้วจะให้นายจ้างจ้างลูกจ้างอยู่ตลอดไปจนนายจ้างประสบความหายนะหรือล้มละลายย่อมเป็นไปไม่ได้ หากเป็นกรณีที่มีเหตุเพียงพอและเป็นการสมควรและมิใช่เป็นการกลั่นแกล้งอันถือว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมต่อบุคคลดังกล่าวแล้วนายจ้างย่อมกระทำได้
คดีนี้ถึงหากโจทก์ประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจถดถอยทำให้โจทก์มีผลกำไรจากการประกอบการลดลงและมีกำลังคนล้นงาน โจทก์จำเป็นต้องเลิกจ้างลูกจ้างเพื่อลดค่าใช้จ่ายป้องกันมิให้นายจ้างต้องขาดทุนในภายหน้าก็ตาม แต่การดำเนินการของโจทก์ยังมีกำไรอยู่ หาได้ประสบภาวะขาดทุนจนไม่สามารถดำเนินกิจการอันใดต่อไปได้ถึงกับต้องยุบหน่วยงานเสียทั้งหน่วยหรือเลิกกิจการไปไม่ เมื่อเป็นเพียงการคาดหมายของโจทก์เพื่อป้องกันการขาดทุนในภายหน้าเท่านั้น การดำเนินกิจการของโจทก์ต่อไปอาจไม่ประสบภาวะการขาดทุนก็เป็นได้ การที่โจทก์แก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการเลิกจ้างลูกจ้างบางคนในหน่วยงานหรือยุบหน่วยงานบางหน่วยบ้างที่ไม่จำเป็นเพื่อลดค่าใช้จ่าย โดยถือหลักเกณฑ์การคัดเลือกในการเลิกจ้างนำมาใช้กับ ส.ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานของโจทก์และอยู่ในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ โดยไม่เลือกใช้วิธีการอย่างอื่นนั้น ยังไม่เป็นเหตุผลอันเพียงพอและสมควรจึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7514/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความประมาทในคดีขับรถชน และหน้าที่ตามกฎหมายจราจร หากพิสูจน์ความประมาทไม่ได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ขับรถแล่นสวนกับรถของผู้เสียหายโดยประมาท จำเลยจึงมิใช่ผู้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่น จำเลยย่อมไม่มีหน้าที่ต้องแสดงตัวหรือแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78,160 วรรคแรกจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที แม้ความผิดในข้อหาดังกล่าวจะยุติโดยต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกฟ้องในข้อหานี้ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 185 ประกอบมาตรา 225 เพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7341/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวล่วงหน้าการเลิกจ้างลูกจ้างรายเดือนต้องกระทำก่อนถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างรอบถัดไป มิฉะนั้นต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือน จำเลยกำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 25 ของเดือน จำเลยมีหนังสือฉบับลงวันที่ 1 ธันวาคม 2540 แจ้งล่วงหน้า การเลิกจ้างโจทก์โดยให้มีผลวันที่ 30 ธันวาคม 2540 จึงเป็นการบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไป คือวันที่ 25 ธันวาคม 2540 เพื่อให้มีผลเลิกสัญญากันวันที่ 25มกราคม 2541 ดังนั้น การบอกกล่าวล่วงหน้าจะชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ 25 มกราคม 2541 ซึ่งกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปข้างหน้าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่ 30 ธันวาคม 2540 ทำให้ระยะเวลาการบอกกล่าวล่วงหน้าของจำเลยไม่ครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 วรรคหนึ่งจำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์สำหรับระยะเวลาที่ยังไม่ครบนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7341/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวล่วงหน้าเลิกจ้างต้องครบถ้วนก่อนถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไป มิฉะนั้นต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าว
โจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือน จำเลยกำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 25ของเดือน จำเลยมีหนังสือฉบับลงวันที่ 1 ธันวาคม 2540 แจ้งล่วงหน้า การเลิกจ้างโจทก์โดยให้มีผลวันที่ 30 ธันวาคม 2540 จึงเป็นการบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไป คือวันที่ 25 ธันวาคม 2540 เพื่อให้มีผลเลิกสัญญากันวันที่ 25มกราคม 2541 ดังนั้น การบอกกล่าวล่วงหน้าจะชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ 25 มกราคม 2541 ซึ่งถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปข้างหน้า การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่ 30 ธันวาคม 2540 ทำให้ระยะเวลาการบอกกล่าวล่วงหน้าของจำเลยไม่ครบถ้วนตาม ป.พ.พ.มาตรา 582 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์สำหรับระยะเวลาที่ยังไม่ครบนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7092/2541 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนสหภาพแรงงาน: สิทธิและอำนาจฟ้องคดี
ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 91 เป็นกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่าคำขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานและร่างข้อบังคับเมื่อแรกจัดตั้งสหภาพแรงงานไม่ถูกต้อง ก็ให้นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนและให้สิทธิผู้ขอจดทะเบียนอุทธรณ์คำสั่งต่อรัฐมนตรีได้ มาตรา 106 เป็นกรณีนายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้กรรมการผู้ใดผู้หนึ่งหรือคณะกรรมการของสหภาพแรงงานออกจากตำแหน่ง และมาตรา107 ให้สิทธิกรรมการผู้นั้นหรือคณะกรรมการอุทธรณ์คำสั่งต่อรัฐมนตรีได้ ซึ่งกรณีตามมาตรา 91, 106 และ 107 ไม่ใช่การนำรายชื่อคณะกรรมการไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ส่วนมาตรา 93 แม้จะเป็นกรณีนำรายชื่อคณะกรรมการไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน แต่เป็นรายชื่อคณะกรรมการที่ได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกหลังจากจดทะเบียนสหภาพแรงงาน แต่กรณีนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการซึ่งพ้นตำแหน่งไปตามข้อบังคับ และเป็นการนำรายชื่อคณะกรรมการที่ได้รับเลือกตั้งใหม่ไปขอจดทะเบียน แต่การขอจดทะเบียนรายชื่อคณะกรรมการทั้งสองกรณีดังกล่าวมาตรา 93 ไม่ได้กำหนดขั้นตอนไว้ดังเช่นที่กำหนดไว้ตามมาตรา 91 และ 107ทั้งไม่มีมาตราใดกำหนดขั้นตอนไว้ให้ผู้ยื่นคำขออุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนต่อรัฐมนตรีได้ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนต่อรัฐมนตรีและรัฐมนตรีไม่มีหน้าที่ต้องสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม จำเลยไม่สั่งอุทธรณ์ของโจทก์ กรณียังถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิโจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย จึงชอบที่ศาลแรงงานจะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องโจทก์เฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1
of 56