คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิรัตน์ ลัทธิวงศกร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 554 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4511-4512/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องมีเหตุสมควรและเพียงพอตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ แม้ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำก็ต้องพิสูจน์ความเสียหาย
อุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ว่า ตามคำร้องของผู้ร้องอ้างเหตุภาวะเศรษฐกิจถดถอยเป็นเหตุให้ผู้ร้องตกอยู่ในภาวะคับขันจำเป็นต้องกำหนดมาตรการลดค่าใช้จ่ายโดยลดอัตรากำลังคน เป็นการกล่าวอ้างที่เลื่อนลอย ไม่ระบุว่าเศรษฐกิจปัจจุบันถดถอยในลักษณะอย่างไร มีผลกระทบต่อผู้ร้องอย่างไร ผู้ร้องมีกำไรหรือขาดทุนซึ่งมีความจำเป็นต้องลดอัตรากำลังคน คำร้องของผู้ร้องจึงเคลือบคลุมนั้น แม้ปัญหานี้ผู้คัดค้านจะต่อสู้ไว้ในคำคัดค้าน แต่ศาลแรงงานมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 52 บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองกรรมการลูกจ้างมิให้ถูกนายจ้างกลั่นแกล้งอันเป็นเหตุให้กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง โดยให้อำนาจศาลแรงงานพิจารณากลั่นกรองอีกชั้นหนึ่งว่ามีเหตุผลสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างหรือไม่
เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้กระทำผิดใด ๆ ถึงขั้นเลิกจ้างคงมีเหตุแต่เพียงว่าสภาพการผลิตสินค้าของผู้ร้องลดลงเพราะเศรษฐกิจถดถอยผู้ร้องต้องลดอัตรากำลังลูกจ้างเพื่อลดค่าใช้จ่าย โดยไม่ปรากฏว่า กิจการของผู้ร้องขาดทุนหรือต้องยุบหน่วยงาน การที่ผู้ร้องแก้ไขปัญหาด้วยการเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง เพราะเหตุที่วันลาย้อนหลังไปในปี 2538 ถึง 2540 รวมกันเกิน 45 วันโดยไม่ปรากฏว่าการลาในรอบปีดังกล่าวของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 3 ไม่ชอบต่อระเบียบข้อบังคับ เช่นนี้ถือได้ว่าผู้ร้องยังไม่มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 52 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4511/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องมีเหตุสมควรและเพียงพอตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ แม้ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำก็ไม่อาจใช้เป็นเหตุเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุผลอื่นประกอบ
คดีแดงที่ 4511-4512/2541
อุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ว่า ตามคำร้องของผู้ร้องอ้างเหตุภาวะเศรษฐกิจถดถอย เป็นเหตุให้ผู้ร้องตกอยู่ในภาวะคับขันจำเป็นต้องกำหนดมาตรการลดค่าใช้จ่ายโดยลดอัตรากำลังคน เป็นการกล่าวอ้างที่เลื่อนลอย ไม่ระบุว่าเศรษฐกิจปัจจุบันถดถอยในลักษณะอย่างไร มีผลกระทบต่อผู้ร้องอย่างไร ผู้ร้องมีกำไรหรือขาดทุนซึ่งมีความจำเป็นต้องลดอัตรากำลังคน คำร้องของผู้ร้องจึงเคลือบคลุมนั้น แม้ปัญหานี้ผู้คัดค้านจะต่อสู้ไว้ในคำคัดค้าน แต่ศาลแรงงานมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52 บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองกรรมการลูกจ้างมิให้ถูกนายจ้างกลั่นแกล้งอันเป็นเหตุให้กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง โดยให้อำนาจศาลแรงงานพิจารณากลั่นกรองอีกชั้นหนึ่งว่ามีเหตุผลสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างหรือไม่
เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้กระทำผิดใด ๆ ถึงขั้นเลิกจ้าง คงมีเหตุแต่เพียงว่าสภาพการผลิตสินค้าของผู้ร้องลดลงเพราะเศรษฐกิจถดถอย ผู้ร้องต้องลดอัตรากำลังลูกจ้างเพื่อลดค่าใช้จ่าย โดยไม่ปรากฏว่ากิจการของผู้ร้องขาดทุนหรือต้องยุบหน่วยงาน การที่ผู้ร้องแก้ไขปัญหาด้วยการเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง เพราะเหตุที่วันลาย้อนหลังไปในปี 2538 ถึง 2540รวมกันเกิน 45 วัน โดยไม่ปรากฏว่าการลาในรอบปีดังกล่าวของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 3 ไม่ชอบต่อระเบียบข้อบังคับ เช่นนี้ถือได้ว่าผู้ร้องยังไม่มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518มาตรา 52 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4474/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งที่ดินโดยการชำระหนี้ การครอบครองปรปักษ์ และสิทธิครอบครอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ซื้อที่พิพาทตามหนังสือแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) จาก ป.และ จ. ป.และ จ.ได้มอบสิทธิครอบครองที่พิพาทและหนังสือแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน ส.ค.1 ให้แก่โจทก์เข้าครอบครองอย่างเป็นเจ้าของตลอดมา จำเลยทั้งสี่ให้การต่อสู้คดีว่า ป.และ จ.ได้กู้เงินโจทก์และมอบที่พิพาทให้โจทก์ทำกินต่างดอกเบี้ย คดีจึงมีประเด็นพิพาทว่าโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาทหรือไม่ การที่โจทก์นำสืบว่า ป.กู้เงินโจทก์ และมอบ ส.ค.1 ที่พิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกัน หากไม่ชำระเงินกู้คืนภายในกำหนด ป.ยินยอมสละสิทธิที่พิพาทแก่โจทก์ ต่อมา ป.ไม่ชำระเงินคืนภายในกำหนดจึงยกที่พิพาทชำระหนี้ โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมา การนำสืบของโจทก์ดังกล่าวจึงมีความหมายว่า โจทก์ได้ซื้อที่พิพาทจาก ป.ในราคาเท่ากับจำนวนเงินที่ ป.กู้เงินโจทก์ไป เป็นการนำสืบให้เห็นถึงที่มาของที่พิพาทว่าโจทก์ได้ที่พิพาทมาอย่างไร ซึ่งเป็นการนำสืบในประเด็นเดียวกันว่าโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาทหรือไม่นั่นเอง จึงมิใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์เป็นผู้ครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของ โดย จ.ผู้มีสิทธิครอบครองเดิมมิได้เกี่ยวข้องกับที่พิพาทแล้ว การที่ จ.ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 ก. สำหรับที่พิพาทตามที่เจ้าพนักงานแนะนำเพื่อโอนที่พิพาทให้โจทก์ มิใช่เพื่อยึดถือที่พิพาทเป็นของ จ.เอง จ.ย่อมไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท
ป.ได้กู้เงินโจทก์ และไม่ชำระเงินคืนภายในกำหนด จึงยกที่พิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญา โจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมาโดยความสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ โจทก์ย่อมเป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4474/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งที่ดินโดยการชำระหนี้ การครอบครองปรปักษ์ และสิทธิในการครอบครองที่ดิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ซื้อที่พิพาทตามหนังสือแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) จาก ป. และจ. ป. และ จ. ได้มอบสิทธิครอบครองที่พิพาทและหนังสือแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน ส.ค.1 ให้แก่โจทก์เข้าครอบครองอย่างเป็นเจ้าของตลอดมา จำเลยทั้งสี่ให้การต่อสู้คดีว่า ป. และ จ. ได้กู้เงินโจทก์และมอบที่พิพาทให้โจทก์ทำกินต่างดอกเบี้ย คดีจึงมีประเด็นพิพาทว่าโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาทหรือไม่ การที่โจทก์นำสืบว่า ป. กู้เงินโจทก์ และมอบ ส.ค.1 ที่พิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกัน หากไม่ชำระเงินกู้คืนภายในกำหนด ป.ยินยอมสละสิทธิที่พิพาทแก่โจทก์ ต่อมา ป. ไม่ชำระเงินคืนภายในกำหนดจึงยกที่พิพาทชำระหนี้ โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมา การนำสืบของโจทก์ดังกล่าวจึงมีความหมายว่า โจทก์ได้ซื้อที่พิพาทจาก ป. ในราคาเท่ากับจำนวนเงินที่ ป. กู้เงินโจทก์ไป เป็นการนำสืบให้เห็นถึงที่มาของที่พิพาทว่าโจทก์ได้ที่พิพาทมาอย่างไรซึ่งเป็นการนำสืบในประเด็นเดียวกันว่าโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาทหรือไม่นั่นเอง จึงมิใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น โจทก์เป็นผู้ครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของ โดย จ.ผู้มีสิทธิครอบครองเดิมมิได้เกี่ยวข้องกับที่พิพาทแล้วการที่ จ. ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 ก.สำหรับที่พิพาทตามที่เจ้าพนักงานแนะนำเพื่อโอนที่พิพาทให้โจทก์ มิใช่เพื่อยึดถือที่พิพาทเป็นของ จ. เองจ. ย่อมไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ป. ได้กู้เงินโจทก์ และไม่ชำระเงินคืนภายในกำหนดจึงยกที่พิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญา โจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมาโดยความสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ โจทก์ย่อมเป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4309/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่านายหน้าเป็นค่าจ้าง: คำนวณค่าชดเชยได้ แม้จำนวนไม่แน่นอน ศาลแก้ไขจำนวนเงินฟ้องเกินสิทธิ
ค่านายหน้าที่โจทก์ได้รับในแต่ละเดือนแม้จะมีจำนวนไม่แน่นอน และไม่เท่ากัน แต่จำเลยจ่ายค่านายหน้าดังกล่าวให้แก่โจทก์ ทุกวันสิ้นเดือน โดยคำนวณตามยอดขายสินค้าที่โจทก์ขายได้และยอดเงินที่จำเลยเก็บค่าสินค้าซึ่งโจทก์ขายได้จึงเป็น การจ่ายเป็นประจำทุกเดือน กรณีถือได้ว่าค่านายหน้าดังกล่าว เป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นการตอบแทนการทำงาน โดยคำนวณตามผลงานที่โจทก์ทำได้ จึงเป็นค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 2 จำเลยต้องนำค่านายหน้าดังกล่าวมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยด้วย โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายค่านายหน้าซึ่งต้องนำมารวม เป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยเกินไปจากจำนวนเงินซึ่งโจทก์ มีสิทธิเรียกร้อง แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำนวนเงิน ดังกล่าวไม่ถูกต้องเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่ปัญหานี้เป็น ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกา มีอำนาจหยิบยกขึ้นพิจารณาและแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4309/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่านายหน้าตามผลงานเป็นค่าจ้าง: ต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชย
แม้ค่านายหน้าที่โจทก์ได้รับในแต่ละเดือนจะมีจำนวนไม่แน่นอนและไม่เท่ากัน แต่จำเลยจ่ายค่านายหน้าดังกล่าวให้แก่โจทก์ทุกวันสิ้นเดือน โดยคำนวณตามยอดขายสินค้าที่โจทก์ขายได้และยอดเงินที่จำเลยเก็บค่าสินค้าซึ่งโจทก์ขายได้จึงเป็นการจ่ายเป็นประจำทุกเดือน กรณีถือได้ว่าค่านายหน้าดังกล่าวเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นการตอบแทนการทำงานโดยคำนวณตามผลงานที่โจทก์ทำได้ จึงเป็นค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 2 จำเลยต้องนำค่านายหน้าดังกล่าวมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยด้วย
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายค่านายหน้าซึ่งต้องนำมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยเกินไปจากจำนวนเงินซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้อง แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำนวนเงินดังกล่าวไม่ถูกต้องเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นพิจารณาและแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4236/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งปันทรัพย์มรดกโดยสัญญาประนีประนอมยอมความ ผลผูกพันทางกฎหมาย
ที่โจทก์ฎีกาว่า ข้อความตามบันทึกข้อตกลงเป็นการแสดงเจตนามอบหมายให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนทายาททุกคน หาได้เป็นการยกทรัพย์มรดกที่ดินให้จำเลยนั้น ฎีกาโจทก์เป็นการแปลความหมายข้อความในบันทึกข้อตกลงอันเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่เมื่อเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เพราะในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบปฏิเสธว่าโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อยกทรัพย์มรดกที่ดินตามบันทึกข้อตกลงให้จำเลย ทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
บันทึกข้อตกลงที่โจทก์และทายาทอื่นตกลงยกทรัพย์มรดกที่ดินทุกโฉนดของ อ.ให้แก่จำเลย แม้มิใช่เป็นการสละมรดกเพราะยังมีทรัพย์มรดกส่วนอื่นอีกที่มิได้มีการสละด้วยก็ตาม แต่เมื่อเป็นกรณีที่ทายาทได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกกันโดยสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1750 วรรคสอง ประกอบมาตรา 850 จึงมีผลบังคับได้ ตามมาตรา 852

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4236/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์มรดกโดยบันทึกข้อตกลงและการใช้ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความ
ที่โจทก์ฎีกาว่า ข้อความตามบันทึกข้อตกลงเป็นการ แสดงเจตนามอบหมายให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ ที่ดินแทนทายาททุกคน หาได้เป็นการยกทรัพย์มรดกที่ดิน ให้จำเลยนั้น ฎีกาโจทก์เป็นการแปลความหมายข้อความใน บันทึกข้อตกลงอันเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่เมื่อเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เพราะในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบปฏิเสธว่าโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อยกทรัพย์มรดกที่ดินตามบันทึกข้อตกลงให้จำเลย ทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย บันทึกข้อตกลงที่โจทก์และทายาทอื่นตกลงยกทรัพย์มรดกที่ดินทุกโฉนดของ อ. ให้แก่จำเลย แม้มิใช่เป็นการสละมรดกเพราะยังมีทรัพย์มรดกส่วนอื่นอีกที่มิได้มีการสละด้วยก็ตาม แต่เมื่อเป็นกรณีที่ทายาทได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกกันโดย สัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคสอง ประกอบมาตรา 850 จึงมีผล บังคับได้ ตามมาตรา 852

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4075/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันของบันทึกข้อตกลงยุติข้อพิพาท: การระงับสิทธิฟ้องคดีจากการนัดหยุดงาน
บันทึกข้อตกลงระหว่างฝ่ายโจทก์กับฝ่ายจำเลย เมื่อเป็นเพียงรายละเอียดที่ศาลแรงงานบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมิได้ส่งบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นพยาน และตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวระบุว่าบริษัทจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่พนักงานที่ได้กระทำความผิดเท่านั้นโดยมิได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า บริษัทดังกล่าวหมายถึงบริษัทใดบ้าง ดังนี้แม้โจทก์ทั้งสามเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกัน แต่กรรมการบริหารผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ทั้งสามเป็นกรรมการบริหารชุดเดียวกัน และฝ่ายจำเลยก็แถลงต่อศาลแรงงานว่า ในการทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นการทำข้อตกลงเพื่อยุติปัญหาข้อพิพาททั้งหมด ไม่ได้ทำขึ้นเฉพาะกับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เพราะผู้บริหารของโจทก์ทั้งสามเป็นคนเดียวกัน เช่นนี้การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยเชื่อว่าทั้งสองฝ่ายมีเจตนายุติปัญหาข้อพิพาททั้งหมดที่มีอยู่ต่อกัน และฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ที่ 1 ตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวด้วย บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 จึงเป็นการที่ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีตามที่ปรากฏในสำนวน จึงย่อมมิใช่เป็นการฟังข้อเท็จจริงผิดไปจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวน
ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวระบุว่า บริษัทจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่พนักงานที่ได้กระทำความผิดระหว่างการนัดหยุดงานระหว่างวันที่ 3 ถึง 8 กรกฎาคม 2540 จึงเป็นการตกลงกันเพื่อระงับข้อพิพาททั้งหมดระหว่างฝ่ายโจทก์กับฝ่ายจำเลย รวมตลอดถึงการกระทำความผิดอันได้แก่การปิดกั้นทางเข้าออกโรงงานของโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ในระหว่างการนัดหยุดงานซึ่งเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 3 กรกฎาคม 2540 จนถึงวันที่ 8 กรกฎาคม 2540 ซึ่งเป็นวันที่ฝ่ายโจทก์กับฝ่ายจำเลยตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าว แม้ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวมิได้ระบุให้การฟ้องคดีนี้ก็ตาม แต่การที่โจทก์ที่ 1 และที่ 3 ฟ้องคดีนี้ก็เนื่องจากการนัดหยุดงานในวันที่ 3 กรกฎาคม 2540 นั่นเอง ดังนั้น การตกลงดังกล่าวจึงรวมถึงการฟ้องและการดำเนินคดีนี้ด้วย มิใช่การตกลงมีผลตั้งแต่วันที่8 กรกฎาคม 2540 ซึ่งเป็นวันทำข้อตกลงเป็นต้นไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2541ความที่ระบุในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวที่ว่า ในช่วงตั้งแต่วันที่ทำข้อตกลงฉบับนี้ถึงวันที่31 ธันวาคม 2541 เพราะขัดกับข้อตกลงที่ว่า บริษัทจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่พนักงานที่ได้กระทำความผิดระหว่างวันที่ 3 ถึง 8 กรกฎาคม 2540ดังนั้น สิทธิการฟ้องและการดำเนินคดีนี้ของโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ย่อมระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4075/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันบันทึกข้อตกลงยุติข้อพิพาทแรงงาน การระงับสิทธิฟ้องคดีเดิม
บันทึกข้อตกลงระหว่างฝ่ายโจทก์กับฝ่ายจำเลยเมื่อเป็นเพียงรายละเอียดที่ศาลแรงงานบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมิได้ส่งบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นพยาน และตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวระบุว่าบริษัทจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่พนักงานที่ได้กระทำความผิดเท่านั้นโดยมิได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า บริษัทดังกล่าวหมายถึงบริษัทใดบ้าง ดังนี้แม้โจทก์ทั้งสามจะเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกัน แต่กรรมการบริหารผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ทั้งสามเป็นกรรมการบริหารชุดเดียวกัน และฝ่ายจำเลยก็แถลงต่อศาลแรงงานว่าในการทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นการทำข้อตกลงเพื่อยุติปัญหาข้อพิพาททั้งหมด ไม่ได้ทำขึ้นเฉพาะกับโจทก์ที่ 2และที่ 3 เพราะผู้บริหารของโจทก์ทั้งสามเป็นคนเดียวกันเช่นนี้การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยเชื่อว่าทั้งสองฝ่ายมีเจตนายุติปัญหาข้อพิพาททั้งหมดที่มีอยู่ต่อกัน และฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ที่ 1 ตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวด้วย บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 จึงเป็นการที่ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีตามที่ปรากฏในสำนวนแล้ว มิใช่เป็นการฟังข้อเท็จจริงผิดไปจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวน ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวระบุว่า บริษัทจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่พนักงานที่ได้กระทำความผิดระหว่าง การนัดหยุดงานระหว่างวันที่ 3 ถึง 8 กรกฎาคม 2540จึงเป็นการตกลงกันเพื่อระงับข้อพิพาททั้งหมดระหว่างฝ่ายโจทก์กับฝ่ายจำเลย ซึ่งรวมตลอดถึงการกระทำความผิดอันได้แก่การปิดกั้นทางเข้าออกโรงงานของโจทก์ที่ 1และที่ 3 ในระหว่างการนัดหยุดงานซึ่งเกิดขึ้นระหว่างวันที่3 กรกฎาคม 2540 จนถึงวันที่ 8 กรกฎาคม 2540ซึ่งเป็นวันที่ฝ่ายโจทก์กับจำเลยตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวด้วย และแม้ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวมิได้ ระบุให้รวมการฟ้องคดีนี้ซึ่งได้ฟ้องก่อนทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้เป็นอันระงับไปก็ตาม แต่การที่โจทก์ที่ 1 และที่ 3ฟ้องคดีนี้ก็เนื่องจากการนัดหยุดงานในวันที่ 3 กรกฎาคม 2540นั่นเอง ดังนั้น การตกลงดังกล่าวจึงรวมถึงการฟ้องและการดำเนินคดีนี้ด้วย มิใช่การตกลงมีผลตั้งแต่วันที่8 กรกฎาคม 2440 ซึ่งเป็นวันทำข้อตกลงเป็นต้นไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2541 ความที่ระบุในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวที่ระบุว่า ในช่วงตั้งแต่วันที่ทำข้อตกลงฉบับนี้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2541 เพราะขัดกับข้อตกลงที่ว่าบริษัทจะไม่ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่พนักงานที่ได้กระทำความผิดระหว่างวันที่ 3 ถึง 8 กรกฎาคม 2540ดังนั้น สิทธิการฟ้องและการดำเนินคดีนี้ของโจทก์ที่ 1และที่ 3 ย่อมระงับไป
of 56