พบผลลัพธ์ทั้งหมด 554 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3994/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณอายุงานและสิทธิรับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับบริษัท: การปัดเศษปีและระยะเวลาทำงานที่เข้าข่ายเป็นอายุงาน
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเรื่องเงินบำเหน็จ กำหนดว่า บริษัทฯ จะพิจารณาจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่พนักงาน ที่มีอายุการทำงาน ดังนี้ (ก) ทำงานติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นจำนวนเงินเท่ากับเงินเดือนเต็มเดือนสุดท้าย คูณด้วยจำนวนปีของอายุงาน หารด้วย 2 (ข) ทำงานติดต่อกันไม่น้อยกว่า 10 ปี จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นจำนวนเงินเท่ากับเงินเดือนเต็มเดือนสุดท้าย คูณด้วยจำนวนปีของอายุงาน 1 1 อายุงาน ถืออายุการทำงาน 365 วัน เป็นหนึ่งปีเศษของปี ถ้าถึง 183 วัน ให้ปัดเป็นหนึ่งปี ถ้าไม่ถึง183 วัน ตัดทิ้ง 2 อายุการทำงาน หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่พนักงาน เข้าประจำทำงานในบริษัทฯ ในฐานะพนักงานจนถึงก่อนวันพ้น จากตำแหน่งในบริษัทฯ ตามเงื่อนไข ดังนี้โดย มิได้รับเงินเดือน ไม่ให้นับเป็นอายุการทำงาน (2) ระยะเวลาที่พนักงานหยุดงานเพื่อพักรักษาตัวเนื่องจาก การประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย เพราะเหตุปฏิบัติงานให้แก่บริษัทฯ และได้รับเงินเดือนตามปกติ ให้นับเป็นอายุการทำงานเต็มตามระยะเวลานั้น เห็นได้ว่าตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยดังกล่าว คำว่า อายุงานกับ อายุการทำงาน มีความหมายแตกต่างกัน กล่าวคือ อายุงานคิดเป็นจำนวนปีเพื่อใช้ในการคำนวณเงินบำเหน็จของลูกจ้างแต่ละคนโดยใช้เป็นตัวคูณเงินเดือนเต็มเดือนสุดท้ายว่าลูกจ้าง คนใดมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจำนวนเท่าใด การนับอายุงาน ให้ถือ 365 วันเป็นหนึ่งปี เศษของปี ถ้าถึง 183 วันให้ปัดเป็นหนึ่งปี ถ้าไม่ถึง 183 วัน ก็ให้ตัดทิ้งส่วนอายุการทำงานนั้น เป็นระยะเวลาตามที่ลูกจ้างแต่ละคนได้ทำงานจริง ๆ โดยนับเวลาทำงานตั้งแต่วันที่ลูกจ้างคนนั้นเข้าทำงานกับจำเลยจนถึงวันที่ออกจากงานตามเงื่อนไขที่ว่า ระยะเวลาที่ลูกจ้างลา ขาดงาน หรือถูกสั่งพักงานโดยมิได้รับเงินเดือนไม่ให้นับเป็นอายุการทำงาน แต่ระยะเวลาที่ลูกจ้างหยุดงานเพื่อรักษาตัวเนื่องจากการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เพราะเหตุปฏิบัติงานให้แก่นายจ้างและได้รับเงินเดือนตามปกติให้นับเป็นอายุการทำงานเต็มตามระยะเวลานั้นเมื่อข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า โจทก์ทำงานกับจำเลยติดต่อกันเป็นเวลา 9 ปี 6 เดือน 16 วัน หรือ 9 ปี 196 วันกรณีถือได้ว่าโจทก์มีอายุการทำงานติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3506/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปรับบทความผิดจากกฎหมายวัตถุออกฤทธิ์ฯ เป็น พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ หลังมีประกาศกระทรวงสาธารณสุขเปลี่ยนแปลงสถานะยา
ภายหลังจำเลยกระทำผิดแล้วได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2539 ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่16 ตุลาคม 2539 กำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1แม้จะเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ.มาตรา 3 เนื่องจากมีอัตราโทษเบากว่าความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในความครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62วรรคหนึ่ง, 106 ทวิ ก็ตาม การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายอันเป็นความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีนโดยไม่ได้รับอนุญาต กับความผิดฐานมีเมทแอมเฟ-ตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เป็นความผิดคนละบทมาตรากัน หามีบทใดเป็นบทเฉพาะแก่กันไม่ เมื่อเมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อขาย และที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเป็นจำนวนเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ตาม ป.อ.มาตรา 90 ซึ่งต้องปรับบทความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดด้วย และเมื่อปรากฏว่าภายหลังที่จำเลยกระทำความผิด ได้มีประกาศกระทรวง-สาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) กำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 อันมีผลทำให้การมีเมทแอมเฟตามีนคำนวณเป็นน้ำหนักสารบริสุทธิ์ในคดีนี้ไม่เกิน 20 กรัม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 67 ซึ่งมีอัตราโทษที่เบากว่าฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง, 106 ทวิ จึงเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ.มาตรา 3 กรณีจึงต้องปรับบทความผิดตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 67 ด้วย แม้จำเลยไม่ได้ฎีกาปัญหานี้ แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3147/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมวินิจฉัยกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้ว แม้คดีใหม่อ้างครอบครองปรปักษ์ก็ไม่ต่างกัน
คดีก่อนมีประเด็นว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 48 ตารางวา เป็นของโจทก์หรือจำเลย คู่ความตกลงท้ากันด้วยวิธีการรังวัดที่ดินพิพาทเป็นข้อแพ้ชนะคดีโดยไม่มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นพิพาทและสืบพยาน ผลการรังวัดปรากฏว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อน กรณีย่อมถือว่าประเด็นพิพาทแห่งคดีที่ว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 48 ตารางวาเป็นของโจทก์หรือจำเลยในคดีก่อนนั้นเป็นประเด็นโดยตรงได้รับการวินิจฉัยในคดีก่อนและคดีถึงที่สุดไปแล้ว การที่โจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนกลับมาฟ้องจำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนอีกว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 48 ตารางวา ในคดีก่อนเป็นของโจทก์ แม้คดีนี้โจทก์จะอ้างการครอบครองปรปักษ์มาด้วย ก็หาได้แตกต่างกับคดีก่อนที่อ้างว่าโจทก์ครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่อย่างใดไม่ และไม่ทำให้ประเด็นพิพาทที่ว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือจำเลยเปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นกรณีคู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3147/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เคยวินิจฉัยแล้วเด็ดขาด แม้มีการอ้างเหตุครอบครองปรปักษ์ก็ไม่เปลี่ยนแปลง
คดีก่อนมีประเด็นว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 48 ตารางวา เป็นของโจทก์หรือจำเลย คู่ความตกลงท้ากันด้วยวิธีการรังวัดที่ดินพิพาทเป็นข้อแพ้ชนะคดีโดยไม่มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นพิพาทและสืบพยาน ผลการรังวัดปรากฏว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อน กรณีย่อมถือว่าประเด็นพิพาทแห่งคดีที่ว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 48 ตารางวา เป็นของโจทก์หรือจำเลยในคดีก่อนนั้นเป็นประเด็นโดยตรงได้รับการวินิจฉัยในคดีก่อนและคดีถึงที่สุดไปแล้ว การที่โจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนกลับมาฟ้องจำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนอีกว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 48 ตารางวา ในคดีก่อนเป็นของโจทก์ แม้คดีนี้โจทก์จะอ้างการครอบครองปรปักษ์มาด้วย ก็หาได้แตกต่างกับคดีก่อนที่อ้างว่าโจทก์ครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่อย่างใดไม่ และไม่ทำให้ประเด็นพิพาทที่ว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือจำเลยเปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นกรณีคู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและการขาดนัดคดี การบริหารจัดการภายในของจำเลยมิอาจเป็นเหตุอ้างได้
ในคดีแรงงานเมื่อพนักงานเดินหมายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลย โดยวิธีปิดหมายตามคำสั่งศาลแรงงานณ ภูมิลำเนาของจำเลยคือสำนักงานใหญ่อันเป็นสำนักทำการงานของจำเลยแล้วการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องจึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 74 ประกอบมาตรา 79 ส่วนการที่พนักงานจำเลยซึ่งอยู่ที่สำนักงานใหญ่ได้เก็บรวบรวมสำเนาคำฟ้องไว้กับเอกสารอื่นซึ่งมีจำนวนมากกว่าจะมีการแยกแยะ เพื่อส่งไปยังผู้บริหารซึ่งไปประจำอยู่ ณ สำนักงานโครงการ อันเป็นสำนักงานชั่วคราวเกิดความล่าช้ารวมทั้งระยะเวลาในการส่งไปยังผู้บริหารดังกล่าวก็ล่วงเลยกำหนดนัดของศาลโดยจำเลยไม่มีเจตนาจะไม่ยื่นคำให้การ และไม่ไปศาลตามนัดนั้น เป็นเรื่องการบริหารกิจการภายในที่จำเลยจะต้องกำชับดูแลพนักงานจำเลยให้ปฏิบัติงานให้ทันตามกำหนดเวลาเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย การที่พนักงานจำเลยตรวจสอบแยกแยะเอกสารล่าช้าและส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่ผู้บริหารของจำเลยล่วงเลยเวลาซึ่งกำหนดให้ปฏิบัติตามข้อความในหมายเรียก เมื่อเป็นความผิดหรือบกพร่องของจำเลยเอง จึงมิใช่เหตุอันสมควรที่จำเลยจะยกมาอ้างต่อศาลในการไม่ไปศาลตามนัดในหมายเรียก การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่มีเหตุอันสมควร เป็นการขาดนัดโดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่มีเหตุที่จำเลยจะขอให้พิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกโดยวิธีปิดหมาย ณ สำนักงานใหญ่ของจำเลยชอบด้วยกฎหมาย แม้เอกสารจะล่าช้าในการส่งต่อภายใน
ในคดีแรงงานเมื่อพนักงานเดินหมายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลย โดยวิธีปิดหมายตามคำสั่งศาลแรงงาน ณ ภูมิลำเนาของจำเลยคือสำนักงานใหญ่อันเป็นสำนักทำการงานของจำเลยแล้ว การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 74 ประกอบมาตรา 79 ส่วนการที่พนักงานจำเลยซึ่งอยู่ที่สำนักงานใหญ่ได้เก็บรวบรวมสำเนาคำฟ้องไว้กับเอกสารอื่นซึ่งมีจำนวนมากกว่าจะมีการแยกแยะ เพื่อส่งไปยังผู้บริหารซึ่งไปประจำอยู่ ณ สำนักงานโครงการ อันเป็นสำนักงานชั่วคราวเกิดความล่าช้ารวมทั้งระยะเวลาในการส่งไปยังผู้บริหารดังกล่าวก็ล่วงเลยกำหนดนัดของศาล โดยจำเลยไม่มีเจตนาจะไม่ยื่นคำให้การ และไม่ไปศาลตามนัดนั้น เป็นเรื่องการบริหารกิจการภายในที่จำเลยจะต้องกำชับดูแลพนักงานจำเลยให้ปฏิบัติงานให้ทันตามกำหนดเวลาเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย การที่พนักงานจำเลยตรวจสอบแยกแยะเอกสารล่าช้าและส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่ผู้บริหารของจำเลยล่วงเลยเวลาซึ่งกำหนดให้ปฏิบัติตามข้อความในหมายเรียกเมื่อเป็นความผิดหรือบกพร่องของจำเลยเอง จึงมิใช่เหตุผลอันสมควรที่จำเลยจะยกมาอ้างต่อศาลในการไม่ไปศาลตามนัด ในหมายเรียก การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่มี เหตุอันสมควร เป็นการขาดนัดโดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่มีเหตุที่จำเลยจะขอให้พิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3019/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องบุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายคดีแพ่ง: การตีความมาตรา 1562 ป.พ.พ. ที่จำกัดสิทธิ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1547 โจทก์จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลยต่อเมื่อจำเลยและมารดาโจทก์ได้สมรสกันในภายหลัง หรือจำเลยได้จดทะเบียนว่าโจทก์เป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร แม้โจทก์เป็นบุตรที่จำเลยรับรองแล้ว แต่จำเลยและมารดาโจทก์มิได้จดทะเบียนสมรสกัน โจทก์จึงเป็นบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลย และตามมาตรา 1562 ที่ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญานั้น เป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิจึงต้องตีความโดยเคร่งครัด ซึ่งต้องหมายความว่าห้ามเฉพาะบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบุพการีของตนเท่านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3019/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องบุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายคดีแพ่ง: การตีความมาตรา 1562 และ 1547 อย่างเคร่งครัด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 ที่ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาเป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิ ต้องตีความโดยเคร่งครัด ซึ่งหมายความว่าห้ามเฉพาะบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบุพการีของตนเท่านั้นโจทก์เป็นบุตรที่จำเลยรับรองแล้วแต่จำเลยและมารดาโจทก์มิได้จดทะเบียนสมรสกัน โจทก์จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลยต่อเมื่อจำเลยและมารดาโจทก์สมรสกันภายหลังหรือจำเลยได้จดทะเบียนว่าโจทก์เป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547เมื่อไม่มีการดำเนินการดังกล่าว โจทก์จึงมิใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลย โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลชั้นต้นสืบพยานหลักฐานแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีไม่ได้ขอให้พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง20 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาราง 1 ข้อ 2(ก) เมื่อปรากฏว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลดังกล่าวเกินมา จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3005/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดในค่าจ้างลูกจ้างของผู้รับเหมาช่วง แม้จำเลยขาดนัดศาลก็วินิจฉัยได้จากเอกสาร
ในการพิจารณาพิพากษาคดีแรงงาน แม้ในกรณีจำเลยขาดนัดที่ให้ศาลชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวนั้นหากศาลแรงงานเห็นว่าตามคำฟ้อง คำให้การคำแถลงของคู่ความ และพยานหลักฐานอื่นที่ปรากฏอยู่ในสำนวนคดีพอวินิจฉัยได้แล้วศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิจารณา พิพากษาคดีไปได้โดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานของ โจทก์หรือจำเลย ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 วรรคหนึ่งกำหนดให้ผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาช่วงและเป็นนายจ้างโจทก์ยังไม่ชำระค่าจ้างให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับเหมาชั้นต้น และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในค่าจ้างตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 31 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้นายจ้างที่ผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3005/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานพิจารณาคดีขาดนัด & ความรับผิดร่วมของผูรับเหมาในค่าจ้าง & ดอกเบี้ยค่าจ้างค้างจ่าย
ในการพิจารณาพิพากษาคดีแรงงาน แม้ในกรณีจำเลยขาดนัดที่ให้ศาลชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวนั้น หากศาลแรงงานเห็นว่าตามคำฟ้อง คำให้การคำแถลงของคู่ความ และพยานหลักฐานอื่นที่ปรากฏอยู่ในสำนวน คดีพอวินิจฉัยได้แล้วศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีไปได้โดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานของโจทก์หรือจำเลย
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาช่วงและเป็นนายจ้างโจทก์ยังไม่ชำระค่าจ้างให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับเหมาชั้นต้น และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในค่าจ้างตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ31 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้นายจ้างที่ผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้าง จำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาช่วงและเป็นนายจ้างโจทก์ยังไม่ชำระค่าจ้างให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับเหมาชั้นต้น และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในค่าจ้างตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ31 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้นายจ้างที่ผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้าง จำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี