คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิรัตน์ ลัทธิวงศกร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 554 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2723/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเอกสารสิทธิไปจดทะเบียนโอนโดยไม่ได้รับความยินยอม ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188
โจทก์ร่วมทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยโอนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้จำเลยนำไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันค่าเสียหายที่จำเลยไปทำงานเป็นพนักงานเก็บเงินค่ากระแสไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแต่จำเลยนำไปจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวเป็นของจำเลยซึ่งไม่ตรงกับเจตนาของโจทก์ร่วม โดยโจทก์ร่วมมิได้ยินยอมยกให้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเอาไปเสียซึ่งเอกสารสิทธิของโจทก์ร่วมในการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 ตามบทบัญญัติลักษณะ 3 ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรมหมวด 1 ความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรมนั้นมิได้บัญญัติโดยมุ่งหมายเฉพาะการกระทำความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรมเท่านั้น แต่ยังบัญญัติโดยมุ่งหมายไปในทางพยานหลักฐานแห่งคดีอีกด้วยการที่จำเลยเอาไปเสียซึ่งเอกสารหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ร่วมในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2723/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานเอาเอกสารสิทธิไปเสีย ทำให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของเอกสาร
โจทก์ร่วมทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยโอนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้จำเลยนำไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันค่าเสียหายที่จำเลยไปทำงานเป็นพนักงานเก็บเงินค่ากระแสไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแต่จำเลยนำไปจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวเป็นของจำเลยซึ่งไม่ตรงกับเจตนาของโจทก์ร่วม โดยโจทก์ร่วมมิได้ยินยอมยกให้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเอาไปเสียซึ่งเอกสารสิทธิของโจทก์ร่วมในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 188
ตามบทบัญญัติลักษณะ 3 ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรมหมวด 1 ความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรมนั้น มิได้บัญญัติโดยมุ่งหมายเฉพาะการกระทำความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรมเท่านั้น แต่ยังบัญญัติโดยมุ่งหมายไปในทางพยานหลักฐานแห่งคดีอีกด้วย การที่จำเลยเอาไปเสียซึ่งเอกสารหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ร่วมในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม จึงเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 188

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2599/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุเลิกจ้างต้องชัดเจนตามประกาศ ศาลไม่อนุญาตให้จำเลยยกเหตุอื่นที่ไม่แจ้งไว้เพื่อหลีกเลี่ยงค่าชดเชย
ตามประกาศของจำเลยที่ปลดโจทก์ออกจากงาน จำเลยอ้างเหตุ เพียงว่าโจทก์ละทิ้งการปฏิบัติงานเท่านั้น เท่ากับจำเลยประสงค์จะถือเอาเฉพาะเหตุที่ระบุในประกาศเพียงประการเดียวเป็นเหตุเลิกจ้าง ไม่ได้ถือเอาเหตุอื่นเป็นเหตุเลิกจ้างด้วย ดังนี้เมื่อจำเลยถูกฟ้องก็ชอบที่จะยกเหตุตามที่ระบุในประกาศดังกล่าวเป็นข้อต่อสู้เท่านั้น จำเลยจะยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่ระบุในประกาศดังกล่าวเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ ดังนั้นจำเลยจะยกเหตุว่าโจทก์จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในชั้นพิจารณาของศาลเพื่อที่จะไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่ แม้ประเด็นข้อนี้ศาลแรงงานวินิจฉัยไว้ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้ ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยได้กำหนดโทษร้ายแรงถึงขั้นไล่ออกโดยไม่จ่ายค่าชดเชยไว้ได้แก่ 1. เล่นการพนัน 2. ดื่มสุราในโรงงาน3. ทะเลาะวิวาทในโรงงาน 4. ปั๊มบัตรบันทึกเวลาแทนกันดังนั้น การที่โจทก์ทั้งแปดละทิ้งหน้าที่ไปดื่มสุราที่บ้านพักของโจทก์ที่ 5 โดยโจทก์ทั้งแปดมิได้ดื่มสุราในโรงงานจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นกรณีที่ร้ายแรง ดังนี้จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ทั้งแปดโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไม่ได้ คดีแรงงานเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากคดีแพ่งโดยทั่วไปการดำเนินคดีจะต้องเป็นไปโดยสะดวก ประหยัดและรวดเร็ว เมื่อจำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การเป็นหนังสือก่อนวันเวลาที่ศาลแรงงานนัดให้มาศาลก็ได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 37 วรรคท้าย กรณีจึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 178มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้ ศาลแรงงานนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ ในวันนัดดังกล่าวจำเลยยื่นคำให้การและฟ้องแย้ง โจทก์รับสำเนาคำให้การและฟ้องแย้ง แต่ศาลแรงงานมิได้สืบพยานโจทก์ ทั้งได้เปลี่ยนหน้าที่นำสืบเป็นกำหนดให้จำเลยนำสืบพยานก่อนโดยเลื่อนคดีไปนัดสืบพยานจำเลย ครั้นถึงวันนัดโจทก์จึงได้ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง แม้โจทก์ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งหลังจากครบ 15 วัน นับแต่วันรับสำเนาคำให้การและฟ้องแย้งก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2599/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการยกเหตุเลิกจ้างนอกประกาศ และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับบริษัทในคดีแรงงาน
ตามประกาศของจำเลยที่ปลดโจทก์ออกจากงาน จำเลยอ้างเหตุเพียงว่าโจทก์ละทิ้งการปฏิบัติงานเท่านั้น เท่ากับจำเลยประสงค์จะถือเอาเฉพาะเหตุที่ระบุในประกาศเพียงประการเดียวเป็นเหตุเลิกจ้าง ไม่ได้ถือเอาเหตุอื่นเป็นเหตุเลิกจ้างด้วย ดังนี้เมื่อจำเลยถูกฟ้องก็ชอบที่จะยกเหตุตามที่ระบุในประกาศดังกล่าวเป็นข้อต่อสู้เท่านั้น จำเลยจะยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่ระบุในประกาศดังกล่าวเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ ดังนั้นจำเลยจะยกเหตุว่าโจทก์จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในชั้นพิจารณาของศาลเพื่อที่จะไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่ แม้ประเด็นข้อนี้ศาลแรงงานวินิจฉัยไว้ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยได้กำหนดโทษร้ายแรงถึงขั้นไล่ออกโดยไม่จ่ายค่าชดเชยไว้ ได้แก่ 1.เล่นการพนัน 2.ดื่มสุราในโรงงาน 3.ทะเลาะวิวาทในโรงงาน 4.ปั๊มบัตรบันทึกเวลาแทนกัน ดังนั้น การที่โจทก์ทั้งแปดละทิ้งหน้าที่ไปดื่มสุราที่บ้านพักของโจทก์ที่ 5 โดยโจทก์ทั้งแปดมิได้ดื่มสุราในโรงงาน จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน อันเป็นกรณีที่ร้ายแรง ดังนี้จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ทั้งแปดโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไม่ได้
คดีแรงงานเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากคดีแพ่งโดยทั่วไปการดำเนินคดีจะต้องเป็นไปโดยสะดวก ประหยัดและรวดเร็ว เมื่อจำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การเป็นหนังสือก่อนวันเวลาที่ศาลแรงงานนัดให้มาศาลก็ได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 37 วรรคท้าย กรณีจึงนำ ป.วิ.พ.มาตรา 178 มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้
ศาลแรงงานนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ ในวันนัดดังกล่าวจำเลยยื่นคำให้การและฟ้องแย้ง โจทก์รับสำเนาคำให้การและฟ้องแย้ง แต่ศาลแรงงานมิได้สืบพยานโจทก์ ทั้งได้เปลี่ยนหน้าที่นำสืบเป็นกำหนดให้จำเลยนำสืบพยานก่อน โดยเลื่อนคดีไปนัดสืบพยานจำเลย ครั้นถึงวันนัดโจทก์จึงได้ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง แม้โจทก์ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งหลังจากครบ 15 วัน นับแต่วันรับสำเนาคำให้การและฟ้องแย้งก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2508/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี แม้ไม่มีการเลิกจ้าง นายจ้างต้องกำหนดวันหยุดหรือจ่ายค่าจ้าง
แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 45 บัญญัติว่า ถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยลูกจ้างมิได้มีความผิดตามข้อ 47ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามข้อ 10 และข้อ 32 ด้วย บทบัญญัติดังกล่าวมิได้หมายความว่า ถ้านายจ้างมิได้เลิกจ้างลูกจ้างแล้ว ลูกจ้างจะไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีซึ่งลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีตามข้อ 10 อยู่แล้ว ดังนั้น หากลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี แต่นายจ้างไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปีและนายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปี แม้ขณะฟ้องลูกจ้างยังมีสภาพเป็นลูกจ้างก็มีสิทธิเรียกให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี หรือให้นายจ้างกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีในทางใดทางหนึ่งได้ ที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าเมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นซึ่งรวมถึงเรื่องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ย่อมไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามฟ้อง จำเลยให้การว่า จำเลยนำวันหยุดพักผ่อนประจำปีของโจทก์ไปหักจากวันที่โจทก์ขาดงานและลางานเกินสิทธิที่กฎหมายกำหนดไว้หมดแล้ว คำให้การจำเลยดังกล่าวชัดแจ้งแล้วว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามฟ้อง เมื่อปรากฏว่าศาลแรงงานยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงส่วนนี้ กรณีจำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2508/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างได้รับค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี แม้ไม่มีการเลิกจ้าง นายจ้างต้องกำหนดวันหยุดหรือจ่ายค่าจ้าง
แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 45 บัญญัติว่า ถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยลูกจ้างมิได้มีความผิดตามข้อ 47 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามข้อ 10 และข้อ 32 ด้วย บทบัญญัติดังกล่าวมิได้หมายความว่าถ้านายจ้างมิได้เลิกจ้างลูกจ้างแล้ว ลูกจ้างจะไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีซึ่งลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีตามข้อ 10 อยู่แล้ว ดังนั้น หากลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี แต่นายจ้างไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปีและนายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปี แม้ขณะฟ้องลูกจ้างยังมีสภาพเป็นลูกจ้างก็มีสิทธิเรียกให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี หรือให้นายจ้างกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีในทางใดทางหนึ่งได้ ที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าเมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นซึ่งรวมถึงเรื่องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ย่อมไม่ชอบ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุด พักผ่อนประจำปีตามฟ้อง จำเลยให้การว่า จำเลยนำวันหยุดพักผ่อน ประจำปีของโจทก์ไปหักจากวันที่โจทก์ขาดงานและลางานเกินสิทธิ ที่กฎหมายกำหนดไว้หมดแล้ว คำให้การจำเลยดังกล่าวชัดแจ้งแล้วว่า โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ตามฟ้อง เมื่อปรากฏว่าศาลแรงงานยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาด ข้อเท็จจริงส่วนนี้ กรณีจำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงาน วินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจรัฐมนตรีสั่งการกรณีปิดงาน/นัดหยุดงาน และสิทธิลูกจ้างถูกเลิกจ้าง
อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมที่จะสั่งการตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 35 นั้น มีได้เฉพาะกรณีที่นายจ้างปิดงานหรือลูกจ้างนัดหยุดงานอยู่เท่านั้น เมื่อนายจ้างได้เลิกจ้างลูกจ้างไปก่อนมีการปิดงานหรือการนัดหยุดงาน รัฐมนตรีย่อมไม่มีอำนาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างที่นายจ้างได้เลิกจ้างแล้วกลับเข้าทำงานพร้อมทั้งจ่ายค่าจ้างตามอัตราที่เคยจ่ายแก่ลูกจ้างได้ กรณีไม่อาจตีความการใช้อำนาจของรัฐมนตรีตามมาตรา 35 ให้รวมไปถึงลูกจ้างที่นายจ้างได้เลิกจ้างไปก่อนแล้วได้ แม้การเลิกจ้างนั้นจะไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121 ก็ตาม เพราะหากตีความเช่นนั้น บทบัญญัติมาตรา124 ก็จะไม่มีผลบังคับ
เมื่อนายจ้างมีคำสั่งเลิกจ้างลูกจ้างแล้ว แม้การเลิกจ้างดังกล่าวจะขัดต่อกฎหมายหรือไม่ก็ตาม ก็ต้องถือว่าการแสดงเจตนาของนายจ้างที่มีคำสั่งเลิกจ้างมีผลให้ลูกจ้างหมดสภาพการเป็นลูกจ้างทันที หากการเลิกจ้างนั้นเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใด ฝ่ายลูกจ้างก็มีสิทธิที่จะดำเนินคดีแก่นายจ้างได้ทั้งทางแพ่งและทางอาญาเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก เพราะกฎหมายได้บัญญัติขั้นตอนให้ดำเนินการต่อไปเป็นทางแก้ไว้แล้ว กล่าวคือ ฝ่ายลูกจ้างซึ่งเป็นผู้เสียหายอาจยื่นคำร้องกล่าวหานายจ้างว่าได้กระทำการอันไม่เป็นธรรมต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีการฝ่าฝืนตามมาตรา 124แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 และคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก็จะต้องดำเนินการวินิจฉัยชี้ขาดภายในเก้าสิบวันต่อไป หากฝ่ายใดไม่พอใจคำวินิจฉัยชี้ขาดดังกล่าวก็อาจนำคดีมาสู่ศาลแรงงานได้ แต่มิใช่ว่าการกระทำใดเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมแล้ว ศาลแรงงานต้องดำเนินการชี้ขาดเสียเองโดยไม่ต้องให้คู่กรณีไปว่ากล่าวกันเองต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2126/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ลายมือชื่อปลอมในคดีอาญา ศาลฎีกาชี้ว่าความเห็นผู้เชี่ยวชาญเป็นเพียงข้อมูลประกอบ ไม่ผูกพันศาล
แม้ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญผู้ตรวจพิสูจน์จะเห็นว่าลายมือ มีคุณลักษณะและรูปลักษณะของการเขียนแตกต่างกัน น่าจะไม่ใช่ ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันก็ตาม เมื่อพิจารณาโดยตลอดแล้วการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อโจทก์ที่ปรากฎอยู่ในหนังสือ รับสภาพหนี้เป็นเอกสารที่ทำไว้เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2536 ไม่ปรากฎว่าโจทก์มีเอกสารที่ได้ทำขึ้นในช่วง ระยะใกล้เคียงกับวันดังกล่าวซึ่งเป็นการเขียนแบบบรรจงส่งไปตรวจพิสูจน์เปรียบเทียบลายมือชื่อโจทก์ด้วยทั้งรูปแบบการเขียนลายมือชื่อโจทก์ที่ระยะเวลาใกล้เคียงกับเอกสารที่จะต้องตรวจพิสูจน์ก็ไม่มี ดังนั้น ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเพียงความเห็นตามหลักวิชาการเท่านั้น เนื่องจากลายมือชื่อโจทก์มีคุณสมบัติการเขียนรูปลักษณะของตัวอักษรแตกต่างกับลายมือชื่อโจทก์ในใบแต่งทนายความซึ่งเป็นลายมือเขียนหวัดและเวลาเขียนต่างกันตามกาลเวลา ผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อโจทก์จึงเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น เมื่อจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธและยืนยันว่าเป็นลายมือชื่อโจทก์ และการวินิจฉัยลายมือชื่อในเอกสารว่าเป็นลายมือชื่อปลอมหรือไม่ ไม่มี กฎหมายบังคับให้ศาลต้องฟังตามข้อสันนิษฐานหรือข้อพิสูจน์เป็นหลักฐานของผู้เชี่ยวชาญก่อนแต่อย่างใด ทั้งมิใช่ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นอย่างไรแล้วศาลต้องฟังเสมอไป เมื่อโจทก์ยังมี ภาระหน้าที่นำสืบว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกระทำความผิด การที่โจทก์รับว่าเช็คทั้งสามฉบับอยู่ในความครอบครองของ จำเลยที่ 1 ตลอดมาย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 1 รู้เห็นในลักษณะ ลายมือชื่อโจทก์มาก่อนที่มีการทำหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ จึงไม่มีเหตุผลประการใดที่จำเลยทั้งสองจะทำการปลอมลายมือชื่อ ของโจทก์เป็นแบบตัวบรรจงให้แตกต่างออกไปให้เห็นได้โดยประจักษ์พยานหลักฐานโจทก์ยังไม่มีน้ำหนักมั่นคงพอที่จะฟังลงโทษจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินรวมเมื่อตกลงแบ่งไม่ได้ แม้จำเลยวางเงินค่าเสียหายแล้ว
จำเลยเพียงแต่แถลงขอวางเงินค่าเสียหาย ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาส่วนหนึ่งเท่านั้น ส่วนการปฏิบัติตามคำพิพากษาในเรื่องกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินและบ้านตามคำพิพากษายังมิได้มีการตกลงแบ่งกันตามลำดับขั้นตอนให้เสร็จสิ้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์และจำเลยตกลงจะไปทำการแบ่งทรัพย์สินตามคำพิพากษา แต่เมื่อถึงกำหนดตามที่ตกลงไว้ก็ยังไม่มีการตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์สินดังกล่าวกันดังนั้น โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมย่อมมีสิทธิขอให้บังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าว ไม่เป็นการบังคับคดีเกินกว่าที่ศาลพิพากษา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นของโจทก์ จำเลยก็ให้การต่อสู้อ้างกรรมสิทธิ์ และฟังได้ว่าจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินและบ้านตามส่วน และจะต้องมีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสามตามคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว โจทก์ยื่นคำร้องว่าไม่อาจตกลงแบ่งกันได้ และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ขอให้แบ่งทรัพย์ตามลำดับขั้นตอนอย่างใด ดังนั้น เมื่อการบังคับไม่อาจดำเนินการตามลำดับขั้นตอนที่กำหนดตามป.พ.พ.มาตรา 1364 กรณีย่อมบังคับโดยวิธีการขายทอดตลาดตามที่โจทก์ขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1448/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างและผลของการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ: การคำนวณเงินโบนัส
เดิมจำเลยกับลูกจ้างมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างใช้บังคับกำหนดให้จำเลยจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้างเป็นจำนวน 100 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ในหนึ่งเดือน ไม่รวมเงินเปอร์เซ็นต์ ซึ่งเงินโบนัสตามข้อตกลงดังกล่าวจำเลยต้องคำนวณจากรายได้ของลูกจ้าง ยกเว้นเฉพาะเงินเปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่จำเลยมิได้คำนวณเงินโบนัสจากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว การที่ต่อมาจำเลยได้นำกฎระเบียบข้อบังคับการทำงาน มาใช้บังคับแทนข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีอยู่เดิมแม้ตามกฎระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยฉบับนี้ ในเรื่องสวัสดิการพนักงานว่าด้วยเงินโบนัสประจำปีจะระบุไว้ว่า จำนวนเงินโบนัสที่จำเลยจ่ายให้แก่ลูกจ้างอย่างน้อยเท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ของอัตราเงินเดือน โดยไม่รวมเงินเปอร์เซ็นต์แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้างโดยนำค่าครองชีพมารวมกับเงินเดือนเป็นฐานการคำนวณ และหลังจากจำเลยนำกฎระเบียบข้อบังคับการทำงานมาใช้แล้วจำเลยก็ยังคงจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้างโดยนำค่าครองชีพมารวมกับเงินเดือนเป็นฐานคำนวณตลอดมา เช่นนี้ ซึ่งแสดงว่าการคำนวณเงินโบนัสที่จำเลยจ่ายให้ลูกจ้างนั้นจำเลยมิได้ยึดถือว่าต้องนำเฉพาะเงินเดือนตามกฎระเบียบข้อบังคับการทำงานดังกล่าวมาใช้บังคับ การที่จำเลยจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้างโดยนำค่าครองชีพมารวมคำนวณด้วยตลอดมาจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง การที่จำเลยจ่ายเงินโบนัสโดยมิได้นำค่าครองชีพมารวมคำนวณ จึงฝ่าฝืนต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว
of 56