คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิรัตน์ ลัทธิวงศกร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 554 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8183/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนจัดหางานมีหน้าที่รับผิดตามสัญญาจ้างแรงงาน แม้ตัวการต่างประเทศหักเงินค่าตั๋วเครื่องบิน
สำเนาสัญญาจัดหางานเพื่อให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศ เอกสารท้ายฟ้องซึ่งโจทก์รับรองสำเนาถูกต้อง อันเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้ให้การปฎิเสธ ว่าเป็นเอกสารไม่ถูกต้องกับเอกสารต้นฉบับอย่างไร จึงถือว่าจำเลยรับว่าข้อความในเอกสารดังกล่าวเป็นอยู่จริงตามนั้น ย. กรรมการจำเลยผู้มีอำนาจลงชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยผูกพันจำเลยได้ลงชื่อในสัญญาจัดหางานกับโจทก์โดยเป็นการดำเนินการแทนบริษัท จ. เพื่อส่งโจทก์ไปทำงานกับบริษัท จ. ที่ไต้หวัน ต่อมาโจทก์ได้ไปทำงานโดยทำสัญญาจ้างแรงงานกับบริษัท จ. แล้ว ถือได้ว่าจำเลยเป็นตัวแทนของบริษัท จ. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ เมื่อการกระทำของจำเลยเข้าลักษณะเป็นตัวแทนทำสัญญากับโจทก์แทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง แม้ทั้งชื่อตัวการจะได้เปิดเผยแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824การที่บริษัท จ. ยอมให้โจทก์กลับประเทศไทยโดยไม่จัดหาตั๋วเครื่องบินขากลับให้แก่โจทก์ตามสัญญา แต่กลับหักค่าตั๋วเครื่องบินจากค่าจ้างโจทก์ไว้โดยไม่มีสิทธิจำเลยในฐานะตัวแทนของนายจ้างดังกล่าวจึงต้องรับผิดคืนเงินค่าจ้างที่หักไว้แก่โจทก์จำเลยจะอ้าง พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2528 มาตรา 39(1) มายกเว้นความรับผิดหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8183/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวแทนตามสัญญาจัดหางานและการหักค่าจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
สำเนาสัญญาจัดหางานเพื่อให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศเอกสารท้ายฟ้องซึ่งโจทก์รับรองสำเนาถูกต้อง อันเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่าเป็นเอกสารไม่ถูกต้องกับเอกสารต้นฉบับอย่างไร จึงถือว่าจำเลยรับว่าข้อความในเอกสารดังกล่าวเป็นอยู่จริงตามนั้น
ย.กรรมการจำเลยผู้มีอำนาจลงชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยผูกพันจำเลยได้ลงชื่อในสัญญาจัดหางานกับโจทก์ โดยเป็นการดำเนินการแทนบริษัท จ.เพื่อส่งโจทก์ไปทำงานกับบริษัท จ.ที่ไต้หวัน ต่อมาโจทก์ได้ไปทำงานโดยทำสัญญาจ้างแรงงานกับบริษัท จ.แล้ว ถือได้ว่าจำเลยเป็นตัวแทนของบริษัท จ.ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ เมื่อการกระทำของจำเลยเข้าลักษณะเป็นตัวแทนทำสัญญากับโจทก์แทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง แม้ทั้งชื่อตัวการจะได้เปิดเผยแล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 824 การที่บริษัท จ.ยอมให้โจทก์กลับประเทศไทยโดยไม่จัดหาตั๋วเครื่องบินขากลับให้แก่โจทก์ตามสัญญา แต่กลับหักค่าตั๋วเครื่องบินจากค่าจ้างโจทก์ไว้โดยไม่มีสิทธิจำเลยในฐานะตัวแทนของนายจ้างดังกล่าวจึงต้องรับผิดคืนเงินค่าจ้างที่หักไว้แก่โจทก์จำเลยจะอ้าง พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 39 (1)มายกเว้นความรับผิดหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7939/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้มีการจ่ายค่าชดเชย หากไม่มีเหตุผลสมควร
แม้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะมีสิทธิปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรของจำเลยโดยลดจำนวนลูกจ้างลงเพื่อให้ธุรกิจของจำเลยสามารถอยู่ต่อไปได้ก็ตามแต่เมื่อหน่วยงานต่าง ๆ ในส่วนลูกค้าสัมพันธ์ซึ่งโจทก์เคยรับผิดชอบมิได้ถูกยุบเพียงแต่เปลี่ยนชื่อใหม่ และจำเลยยังได้แต่งตั้งบุคคลอื่นมาดำรงตำแหน่งแทนโจทก์โดยไม่มีเหตุอันสมควร ทั้ง ๆ ที่โจทก์ไม่เคยปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย แม้จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจำเลยจ่ายค่าชดเชยและเงินช่วยเหลือพิเศษให้แก่โจทก์ การเลิกจ้างโจทก์ก็เป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควรอยู่นั่นเองจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7939/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้จ่ายค่าชดเชย หากไม่มีเหตุอันสมควรและมีการแต่งตั้งพนักงานใหม่
แม้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะมีสิทธิปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรของจำเลยโดยลดจำนวนลูกจ้างลงเพื่อให้ธุรกิจของจำเลย สามารถอยู่ต่อไปได้ก็ตาม แต่เมื่อหน่วยงาน ๆ ในส่วนลูกค้าสัมพันธ์ซึ่งโจทก์เคยรับผิดชอบมิได้ถูกยุบเพียงแต่เปลี่ยนชื่อใหม่ และจำเลยยังได้แต่งตั้งบุคคลอื่นมาดำรงตำแหน่งแทนโจทก์โดยไม่มีเหตุอันสมควร ทั้ง ๆ ที่โจทก์ไม่เคยปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย แม้จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจำเลยจ่ายค่าชดเชยและเงินช่วยเหลือพิเศษให้แก่โจทก์ การเลิกจ้างโจทก์ก็เป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควรอยู่นั่นเอง จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7777/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองอาวุธปืนผิดกฎหมายและการริบของกลาง: การปรับบทและขอบเขตการริบ
จำเลยมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนและอาวุธปืนมีหมายเลขทะเบียน ซึ่งเป็นอาวุธปืนของกลางรวมทั้งสิ้น 3 กระบอก ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสามด้วย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72วรรคหนึ่ง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในส่วนนี้ จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
จำเลยมีอาวุธปืนยาวประจุปาก (ปืนแก๊ป) ชนิดประกอบขึ้นเองเมื่อเป็นอาวุธปืนที่มีทะเบียน จำเลยจึงมีความผิดในส่วนที่ไม่ได้รับอนุญาตให้มีและซ่อมแซมอาวุธปืนเท่านั้น อาวุธปืนดังกล่าวมิใช่ทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิด อันจะพึงต้องริบตาม ป.อ.มาตรา 32 และมิใช่ทรัพย์สินซึ่งได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ตามมาตรา 33 (1) การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ริบอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้คืนอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวแก่เจ้าของตามที่ปรากฏชื่อทางทะเบียน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7777/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดอาวุธปืน การปรับบทลงโทษ และการริบของกลางที่มิชอบ
จำเลยมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนและอาวุธปืนมีหมายเลขทะเบียน ซึ่งเป็นอาวุธปืนของกลางรวมทั้งสิ้น 3 กระบอก ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องปรับบทลงโทษจำเลยตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสามด้วย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 7,72 วรรคหนึ่งและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในส่วนนี้จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง จำเลยมีอาวุธปืนยาวประจุปาก (ปืนแก๊ป) ชนิดประกอบขึ้นเอง เมื่อเป็นอาวุธปืนที่มีทะเบียน จำเลยจึงมีความผิด ในส่วนที่ไม่ได้รับอนุญาตให้มีและซ่อมแซมอาวุธปืนเท่านั้น อาวุธปืนดังกล่าวมิใช่ทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิด อันจะพึงต้องริบตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32และมิใช่ทรัพย์สินซึ่งได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ตามมาตรา 33(1) การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ริบอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้คืนอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวแก่เจ้าของตามที่ปรากฏชื่อทางทะเบียน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7624/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกทุนทรัพย์ตามสัญญา และการยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมเกินกำหนด
หนี้ตามสัญญายืมที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องและหนี้ตามสัญญาจ้างที่โจทก์ฟ้อง ต่างเป็นหนี้คนละรายกัน และมูลความแห่งคดีของหนี้ทั้งสองรายสามารถแยกออกจากกันได้ ดังนั้นทุนทรัพย์ในคดีจึงต้องแยกตามสัญญายืมและสัญญาจ้างเป็นคนละส่วนกัน
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม พร้อมกับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมต่อศาลชั้นต้นขณะ ป.วิ.พ.(ฉบับที่ 13) พ.ศ.2535 ใช้บังคับการที่จำเลยยื่นคำร้องดังกล่าวหลังจากที่การชี้สองสถานเสร็จไปแล้ว จึงเป็นการยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมภายหลังระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานตามมาตรา 88 วรรคหนึ่ง ได้สิ้นสุดลง แต่เมื่อตามคำฟ้องและสำเนาสัญญาจ้างกับสำเนารายการเบิกเงินงวดงานเอกสารท้ายฟ้องก็ได้ความชัดว่าโจทก์รับจ้างก่อสร้างซึ่งไม่รวมถึงงานติดตั้งระบบประปา และระบบสุขาภิบาลทั้งจำเลยก็ยอมรับในฎีกาว่า โจทก์และจำเลยทำสัญญาติดตั้งระบบประปาและระบบสุขาภิบาลภายหลังที่ทำสัญญาจ้างฉบับที่พิพาทกันแล้ว ดังนั้นจำเลยย่อมทราบดีอยู่แล้วว่ามีสัญญาดังกล่าวมาแต่แรกและจำเลยสามารถยื่นบัญชีระบุพยานดังกล่าวได้ตามที่มาตรา 88 วรรคหนึ่ง กำหนดเวลาไว้ ดังนี้ คำร้องดังกล่าวของจำเลยจึงยื่นฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคท้าย ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7624/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกทุนทรัพย์คดีสัญญาจ้างและสัญญายืม และการยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมเกินกำหนด
หนี้ตามสัญญายืมที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องและหนี้ตามสัญญาจ้าง ที่โจทก์ฟ้อง ต่างเป็นหนี้คนละรายกัน และมูลความแห่งคดี ของหนี้ทั้งสองรายสามารถแยกออกจากกันได้ ดังนั้นทุนทรัพย์ในคดี จึงต้องแยกตามสัญญายืมและสัญญาจ้างเป็นคนละส่วนกัน จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม พร้อมกับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมต่อศาลชั้นต้นขณะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2535ใช้บังคับการที่จำเลยยื่นคำร้องดังกล่าวหลังจากที่การชี้สองสถานเสร็จไปแล้ว จึงเป็นการยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมภายหลังระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานตามมาตรา 88 วรรคหนึ่ง ได้สิ้นสุดลง แต่เมื่อตามคำฟ้องและสำเนาสัญญาจ้างกับสำเนารายการเบิกเงินงวดงานเอกสารท้ายฟ้องก็ได้ความชัดว่าโจทก์รับจ้างก่อสร้างซึ่งไม่รวมถึงงานติดตั้งระบบประปา และระบบสุขาภิบาลทั้งจำเลยก็ยอมรับในฎีกาว่าโจทก์และจำเลยทำสัญญาติดตั้งระบบประปาและระบบสุขาภิบาลภายหลังที่ทำสัญญาจ้างฉบับที่พิพาทกันแล้ว ดังนั้นจำเลยย่อมทราบดีอยู่แล้วว่ามีสัญญาดังกล่าวมาแต่แรกและจำเลยสามารถยื่นบัญชีระบุพยานดังกล่าวได้ตามที่มาตรา 88 วรรคหนึ่งกำหนดเวลาไว้ ดังนี้ คำร้องดังกล่าวของจำเลยจึงยื่นฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคท้ายศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7210/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยอาศัยคำพิพากษาศาลฎีกาคดีอื่นที่ไม่ผูกพัน ถือเป็นข้อผิดพลาด
คู่ความไม่ได้ท้ากันให้ถือเอาผลของคำพิพากษาศาลฎีกาคดีอื่นมาเป็นข้อแพ้ชนะทั้งคู่ความไม่ได้แถลงว่าให้ถือเอาข้อเท็จจริงยุติตามคดีดังกล่าว แต่จำเลยให้การต่อสู้คดีและติดใจสืบพยานตามคำให้การ และในคดีก่อนศาลแรงงานกลางมิได้กำหนดให้คำพิพากษาหรือคำสั่งผูกพันนายจ้างหรือลูกจ้างอื่นซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 53 ที่ศาลแรงงานกลางสั่งงดสืบพยานจำเลยแล้ววินิจฉัยโดยนำข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวมาวินิจฉัย จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7108/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: เหตุผลการเลิกจ้างต่างจากการลงโทษทางวินัยเดิม ไม่ถือเป็นการซ้ำซ้อน
การที่จำเลยสั่งตัดเงินเดือนโจทก์เกิดจากสาเหตุโจทก์ประมาทเลินเล่อและบกพร่องต่อหน้าที่ในการปฏิบัติงานที่สาขาระนอง ส่วนการเลิกจ้างโจทก์นั้นเกิดจากสาเหตุการบกพร่องต่อหน้าที่ในการปฏิบัติงานของโจทก์ที่สาขาชุมพรดังนั้น การเลิกจ้างโจทก์จึงไม่ใช่มาจากสาเหตุที่โจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ ณ สาขาระนอง การที่จำเลยสั่งเลิกจ้างโจทก์จึงไม่เป็นการซ้ำซ้อนกับการลงโทษตัดเงินเดือนโจทก์ที่เกิด ณ สาขาระนองแต่อย่างใด การเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีสาเหตุอันสมควร มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
of 56