คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิรัตน์ ลัทธิวงศกร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 554 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7106/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ในคดีแรงงาน: กระบวนการที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
การจัดให้มีคณะกรรมการแพทย์ขึ้นวินิจฉัยอาการป่วยของจำเลยร่วมในคดีนี้เป็นไปโดยความเห็นชอบของจำเลยร่วมและคู่ความฝ่ายอื่นทุกฝ่าย ทั้งคู่ความทุกฝ่ายยังเห็นชอบให้ศาลแรงงานมีหนังสือเชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตามรายชื่อที่ได้รับแจ้งจากกองอาชีวอนามัย กรมอนามัย รวม 6 คน ร่วมเป็นคณะกรรมการแพทย์ และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายศาลแรงงานยังได้เชิญแพทย์หญิง อ. แพทย์หญิง ว.ผู้อำนวยการกองอาชีวอนามัย กับผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ ย.ผู้ช่วยคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการแพทย์ดังกล่าวอีกด้วย นอกจากนี้เมื่อพยานฝ่ายลูกจ้างแถลงว่าเพื่อความสบายใจของแพทย์หญิง อ. จึงขอเพิ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวแวดล้อม3 คนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการแพทย์ ศาลแรงงานก็ดำเนินการให้ตามความประสงค์เมื่อการจัดให้มีคณะกรรมการแพทย์ขึ้นตรวจอาการป่วยของจำเลยร่วมได้เป็นไปตามความต้องการและความพอใจของจำเลยร่วมและคู่ความอื่นทุกฝ่ายทั้งสิ้น และเมื่อได้รายชื่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาแล้วศาลแรงงานก็ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแรงงานเห็นสมควรให้มาให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาพิพากษาคดีตามที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 30 ให้อำนาจไว้ดังนี้ กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานดังกล่าวข้างต้นจึงชอบแล้ว และการที่ศาลแรงงานดำเนินกระบวนพิจารณาในเรื่องเกี่ยวเนื่องกับการแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ดังกล่าวกรณีให้เพิ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวแวดล้อมเข้าเป็นคณะกรรมการด้วยตามคำแถลงของพยานฝ่ายลูกจ้างก็ดี รวมทั้งการจำหน่ายคดีชั่วคราวในระหว่างรอผลการวินิจฉัยของคณะกรรมการแพทย์ที่จะเสนอต่อศาลแรงงานกลางก็ดี เป็นเรื่องที่ศาลแรงงานมีอำนาจดำเนินการได้ทั้งสิ้น กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานทั้งหมดดังกล่าวมาจึงชอบแล้ว กรณีไม่มีเหตุเพิกถอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7106/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ในคดีแรงงาน: ชอบด้วยกฎหมายหากได้รับความยินยอมจากคู่ความและมีอำนาจตามกฎหมาย
การจัดให้มีคณะกรรมการแพทย์ขึ้นวินิจฉัยอาการป่วยของจำเลยร่วมในคดีนี้เป็นไปโดยความเห็นชอบของจำเลยร่วมและคู่ความฝ่ายอื่นทุกฝ่าย ทั้งคู่ความทุกฝ่ายยังเห็นชอบให้ศาลแรงงานมีหนังสือเชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตามรายชื่อที่ได้รับแจ้งจากกองอาชีวอนามัย กรมอนามัย รวม 6 คน ร่วมเป็นคณะกรรมการแพทย์ และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายศาลแรงงานยังได้เชิญแพทย์หญิง อ. แพทย์หญิง ว. ผู้อำนายการกองอาชีวอนามัย กับผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ ย. ผู้ช่วยคณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการแพทย์ดังกล่าวอีกด้วย นอกจากนี้เมื่อพยานฝ่ายลูกจ้างแถลงว่าเพื่อความสบายใจของแพทย์หญิง อ. จึงขอเพิ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวแวดล้อม 3 คนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการแพทย์ ศาลแรงงานก็ดำเนินการให้ตามความประสงค์เมื่อการจัดให้มีคณะกรรมการแพทย์ขึ้นตรวจอาการป่วยของจำเลยร่วมได้เป็นไปตามความต้องการและความพอใจของจำเลยร่วมและคู่ความอื่นทุกฝ่ายทั้งสิ้น และเมื่อได้รายชื่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาแล้วศาลแรงงานก็ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแรงงานเห็นสมควรให้มาให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาพิพากษาคดีตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 30 ให้อำนาจไว้ดังนี้ กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานดังกล่าวข้างต้นจึงชอบแล้ว และการที่ศาลแรงงานดำเนินกระบวนพิจารณาในเรื่องเกี่ยวเนื่องกับการแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ดังกล่าวกรณีให้เพิ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวแวดล้อมเข้าเป็นคณะกรรมการด้วยตามคำแถลงของพยานฝ่ายลูกจ้างก็ดี รวมทั้งการจำหน่ายคดีชั่วคราวในระหว่างรอผลการวินิจฉัยของคณะกรรมการแพทย์ที่จะเสนอต่อศาลแรงงานกลางก็ดี เป็นเรื่องที่ศาลแรงงานมีอำนาจดำเนินการได้ทั้งสิ้น กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานทั้งหมดดังกล่าวมาจึงชอบแล้วกรณีไม่มีเหตุเพิกถอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7106/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ในคดีแรงงาน ศาลมีอำนาจดำเนินการได้หากได้รับความเห็นชอบจากทุกฝ่ายและเป็นไปตามกฎหมาย
การจัดให้มีคณะกรรมการแพทย์ขึ้นวินิจฉัยอาการป่วยของจำเลยร่วมในคดีนี้เป็นไปโดยความเห็นชอบของจำเลยร่วมและคู่ความฝ่ายอื่นทุกฝ่าย ทั้งคู่ความทุกฝ่ายยังเห็นชอบให้ศาลแรงงานมีหนังสือเชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตามรายชื่อที่ได้รับแจ้งจากกองอาชีวอนามัย กรมอนามัย รวม 6 คน ร่วมเป็นคณะกรรมการแพทย์ และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายศาลแรงงานยังได้เชิญแพทย์หญิง อ. แพทย์หญิง ว. ผู้อำนายการกองอาชีวอนามัย กับผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ ย. ผู้ช่วยคณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการแพทย์ดังกล่าวอีกด้วย นอกจากนี้เมื่อพยานฝ่ายลูกจ้างแถลงว่าเพื่อความสบายใจของแพทย์หญิง อ. จึงขอเพิ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวแวดล้อม 3 คนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการแพทย์ ศาลแรงงานก็ดำเนินการให้ตามความประสงค์เมื่อการจัดให้มีคณะกรรมการแพทย์ขึ้นตรวจอาการป่วยของจำเลยร่วมได้เป็นไปตามความต้องการและความพอใจของจำเลยร่วมและคู่ความอื่นทุกฝ่ายทั้งสิ้น และเมื่อได้รายชื่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาแล้วศาลแรงงานก็ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแรงงานเห็นสมควรให้มาให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาพิพากษาคดีตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 30 ให้อำนาจไว้ดังนี้ กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานดังกล่าวข้างต้นจึงชอบแล้ว และการที่ศาลแรงงานดำเนินกระบวนพิจารณาในเรื่องเกี่ยวเนื่องกับการแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ดังกล่าวกรณีให้เพิ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวแวดล้อมเข้าเป็นคณะกรรมการด้วยตามคำแถลงของพยานฝ่ายลูกจ้างก็ดี รวมทั้งการจำหน่ายคดีชั่วคราวในระหว่างรอผลการวินิจฉัยของคณะกรรมการแพทย์ที่จะเสนอต่อศาลแรงงานกลางก็ดี เป็นเรื่องที่ศาลแรงงานมีอำนาจดำเนินการได้ทั้งสิ้น กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานทั้งหมดดังกล่าวมาจึงชอบแล้วกรณีไม่มีเหตุเพิกถอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7105/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวินิจฉัยโรคจากสภาพแวดล้อมการทำงาน และการพิจารณาคดีแรงงานตามพยานหลักฐาน
ประเด็นข้อพิพาทในคดีมีว่าจำเลยร่วมทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ ป่วยเป็นโรคปอดเนื่องจากการทำงานหรือไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทเดียวกันกับประเด็นข้อพิพาทในคดีเรื่องอื่นของศาลแรงงานกลางซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินการ ส่งลูกจ้างไปให้คณะกรรมการแพทย์ที่ศาลตั้งขึ้นตรวจวิเคราะห์โรคตามคำท้าของคู่ความ ได้ผลประการใดให้ถือเป็นข้อแพ้ชนะแห่งคดี และคู่ความทุกฝ่ายในคดีนี้เห็นพ้องต้องกันขอถือเอาคำท้าในคดีดังกล่าวเป็นเกณฑ์ในการวินิจฉัยคดีนี้โดยตกลงให้จัดส่งจำเลยทั้งสองไปตรวจวิเคราะห์โรคด้วยเช่นเดียวกับคดีดังกล่าวข้างต้น ดังนี้เพื่อความสะดวกในการพิจารณาและพิพากษาคดี ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจออกคำสั่งให้จำหน่ายคดีนี้ออกจากสารบบความเป็นการชั่วคราว เพื่อรอฟังผลการตรวจวิเคราะห์โรคของจำเลยร่วมทั้งสองก่อน เมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยคดีไปตามประเด็นพิพาททุกข้อที่กำหนดไว้ โดยพิจารณาไปตามเหตุผลที่ปรากฏในคำคู่ความและพยานหลักฐานในสำนวนมิได้วินิจฉัยคดีไปตามคำท้าของคู่ความในคดีอื่นซึ่งมีประเด็นที่พิพาทเป็นอย่างเดียวกันกรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลแรงงานกลางจะต้องเพิกถอนรายงานกระบวนพิจารณาที่ได้จดบันทึกพาดพิงถึงคำท้าของคู่ความในคดีอื่น เพราะรายงานกระบวนพิจารณาข้างต้นมิได้ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 30 ให้อำนาจแก่ศาลแรงงานกลางในการออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยให้ถือว่าเป็นผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้ความเห็นแก่ศาลประกอบการพิจารณาและพิพากษา ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองต้องการและพอใจให้ศาลจัดให้มีคณะกรรมการแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นเพื่อตรวจวิเคราะห์โรคของจำเลยทั้งสอง การแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของศาลแรงงานกลางจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7061/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้าง, ค่าชดเชย, สิทธิลูกจ้าง, การพิพากษาเกินคำขอ, อุทธรณ์ข้อเท็จจริง
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงแล้ววินิจฉัยว่า การที่จำเลยที่ 2ยื่นหนังสือเลิกจ้างให้โจทก์ย่อมเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นนายจ้างที่ไม่ประสงค์จะจ้างโจทก์ให้ทำงานต่อไป จึงเป็นการเลิกจ้างและมีผลสมบูรณ์นับแต่ยื่นหนังสือเลิกจ้างดังกล่าว แม้ภายหลังโจทก์รับหนังสือเลิกจ้างแล้วโจทก์ยื่นหนังสือลาออกให้จำเลยที่ 2 ก็มิใช่เป็นการตกลงกันใหม่ให้ถือเป็นการลาออกดังที่จำเลยที่ 1 อ้าง ดังนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงแล้วว่า จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานปรับข้อกฎหมายคลาดเคลื่อนจึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
รายได้พิเศษอื่น ๆ ตามที่ระบุไว้ในหนังสือผ่านสิทธิและรับรองเงินเดือนเป็นเงินค่าภาษีเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ต่อกรมสรรพากร จำเลยที่ 1ผู้เป็นนายจ้างจึงออกภาษีเงินได้ให้แก่กรมสรรพากรแทนโจทก์ โดยมิได้หักจากเงินเดือนของโจทก์ ดังนี้ภาษีเงินได้ดังกล่าวเป็นเพียงสวัสดิการ และเมื่อเงินดังกล่าวมิใช่เงินที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างจ่ายให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย180 วัน หรือ 6 เดือน จำเลยทั้งสองจ่ายให้โจทก์เพียง 3 เดือน ยังคงค้างค่าชดเชยอีก 3 เดือน แต่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หรือ 6 เดือน โดยมิได้ยกเหตุใด ๆขึ้นอ้างเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ย่อมไม่ชอบตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7061/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและค่าชดเชย: การพิจารณาค่าจ้างสุดท้ายและอำนาจศาลในการแก้ไขคำพิพากษา
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงแล้ววินิจฉัยว่า การที่จำเลยที่ 2 ยื่นหนังสือเลิกจ้างให้โจทก์ย่อมเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นนายจ้างที่ไม่ประสงค์จะจ้างโจทก์ให้ทำงานต่อไป จึงเป็นการเลิกจ้างและมีผลสมบูรณ์นับแต่ยื่นหนังสือเลิกจ้างดังกล่าว แม้ภายหลังโจทก์รับหนังสือเลิกจ้างแล้วโจทก์ยื่นหนังสือลาออกให้จำเลยที่ 2ก็มิใช่เป็นการตกลงกันใหม่ให้ถือเป็นการลาออกดังที่จำเลยที่ 1 อ้าง ดังนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงแล้วว่า จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานปรับข้อกฎหมายคลาดเคลื่อนจึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
รายได้พิเศษอื่น ๆ ตามที่ระบุไว้ในหนังสือผ่านสิทธิและรับรองเงินเดือนเป็นเงินค่าภาษีเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ต่อกรมสรรพากร จำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างจึงออกภาษีเงินได้ให้แก่กรมสรรพากรแทนโจทก์ โดยมิได้หักจากเงินเดือนของโจทก์ ดังนี้ภาษีเงินได้ดังกล่าวเป็นเพียงสวัสดิการ และเมื่อเงินดังกล่าวมิใช่เงินที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างจ่ายให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หรือ 6 เดือนจำเลยทั้งสองจ่ายให้โจทก์เพียง 3 เดือน ยังคงค้างค่าชดเชยอีก 3 เดือน แต่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หรือ6 เดือน โดยมิได้ยกเหตุใด ๆ ขึ้นอ้างเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ย่อมไม่ชอบตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 52 ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7061/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการคำนวณค่าชดเชย: ข้อพิพาทเรื่องการเลิกจ้าง, ค่าจ้างสุดท้าย, และสวัสดิการที่ไม่นับรวมเป็นค่าจ้าง
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงแล้ววินิจฉัยว่า การที่จำเลยที่ 2 ยื่นหนังสือเลิกจ้างให้โจทก์ย่อมเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นนายจ้างที่ไม่ประสงค์จะจ้างโจทก์ให้ทำงานต่อไป จึงเป็นการเลิกจ้างและมีผลสมบูรณ์นับแต่ยื่นหนังสือเลิกจ้างดังกล่าว แม้ภายหลังโจทก์รับหนังสือเลิกจ้างแล้วโจทก์ยื่นหนังสือลาออกให้จำเลยที่ 2ก็มิใช่เป็นการตกลงกันใหม่ให้ถือเป็นการลาออกดังที่จำเลยที่ 1 อ้าง ดังนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงแล้วว่า จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานปรับข้อกฎหมายคลาดเคลื่อนจึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
รายได้พิเศษอื่น ๆ ตามที่ระบุไว้ในหนังสือผ่านสิทธิและรับรองเงินเดือนเป็นเงินค่าภาษีเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ต่อกรมสรรพากร จำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างจึงออกภาษีเงินได้ให้แก่กรมสรรพากรแทนโจทก์ โดยมิได้หักจากเงินเดือนของโจทก์ ดังนี้ภาษีเงินได้ดังกล่าวเป็นเพียงสวัสดิการ และเมื่อเงินดังกล่าวมิใช่เงินที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างจ่ายให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หรือ 6 เดือนจำเลยทั้งสองจ่ายให้โจทก์เพียง 3 เดือน ยังคงค้างค่าชดเชยอีก 3 เดือน แต่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หรือ6 เดือน โดยมิได้ยกเหตุใด ๆ ขึ้นอ้างเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ย่อมไม่ชอบตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 52 ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6918/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงโดยครูผู้ดูแล พยานหลักฐานสนับสนุนคำเบิกความผู้เสียหายเพียงพอ ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษา
ผู้เสียหายเป็นศิษย์ซึ่งอยู่ในความควบคุมดูแลของจำเลยย่อมมีความคุ้นเคยและจดจำบุคลิกลักษณะของจำเลยได้เป็นอย่างดี ผู้เสียหายเป็นเด็กหญิงหากเรื่องที่เกิดขึ้นไม่เป็นความจริงผู้เสียหายคงไม่กล้ายืนยันเรื่องดังกล่าวซึ่งเป็นสิ่งน่าอับอายและเสียหายต่อชื่อเสียงอันเป็นผลร้ายต่อผู้เสียหายเอง ทั้งผู้เสียหายก็เบิกความไปตามลำดับขั้นตอนและสมเหตุผล น่าเชื่อว่าผู้เสียหายเบิกความไปตามความเป็นจริง
ตามสูตรสำเร็จเวลาดวงจันทร์ขึ้นจากพื้นพิภพเป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่าในแต่ละวันดวงจันทร์จะขึ้นจากพื้นพิภพเวลาเท่าไร และจะขึ้นช้าลงวันละ 48 นาทีทั้งดวงจันทร์จะตกลงหลังจากขึ้นแล้ว 12 ชั่วโมง วันเกิดเหตุวันที่ 22 ตุลาคม 2536 ตรงกับวันขึ้น 7 ค่ำ ตามสูตรสำเร็จดังกล่าวดวงจันทร์ขึ้นจากพื้นพิภพเวลา 11.36 นาฬิกาและดวงจันทร์ตกลงพื้นเวลา 23.36 นาฬิกา ช่วงวันเวลาเกิดเหตุวันที่ 22,23 และ 24 ตุลาคม 2536 ดวงจันทร์ขึ้นจากพื้นพิภพแล้วทั้งสิ้น ขณะเกิดเหตุซึ่งเป็นเวลากลางคืนย่อมมีแสงจันทร์ดังที่ผู้เสียหายเบิกความ ฟังได้ว่าเมื่อวันที่ 22,23 และ 24 ตุลาคม 2536จำเลยได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายซึ่งอายุไม่เกินสิบสามปีและเป็นการกระทำแก่ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลย พยานจำเลยไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานโจทก์ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกกระทงละ 4 ปี รวมสองกระทงจำคุก 8 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดสามกระทงแต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้โทษจึงให้เป็นไปตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด กรณีเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6806/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากการฟ้องขับไล่ กรณีมีสัญญาต่างตอบแทน สิทธิเกิดพร้อมการฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเช่าตึกแถวที่พิพาทและสัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วแต่จำเลยยังคงอาศัยอยู่ในตึกแถวที่พิพาทตลอดมาโดยไม่มีสิทธิ ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวาร จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า การเช่าระหว่างโจทก์จำเลยมีสัญญาต่างตอบแทน ขอให้ศาลบังคับโจทก์ให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทต่อไป หากโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาท ขอให้โจทก์ใช้เงิน 100,800 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่จำเลย ดังนี้ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำให้การและฟ้องแย้งสิทธิหน้าที่ของโจทก์ตามสัญญาต่างตอบแทนย่อมมีอยู่แล้ว ส่วนที่จำเลยบรรยายฟ้องแย้งว่า หากโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาทนั้น มิได้หมายความว่า หลังจากศาลพิพากษาแล้วโจทก์มีสิทธิเลือกจะให้จำเลยเช่าอยู่ต่อไปหรือให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาท และการที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยย่อมหมายความว่า โจทก์ประสงค์จะให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาทตั้งแต่แรก ดังนี้ที่โจทก์ฟ้องคดีขับไล่จำเลยย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยตั้งแต่ขณะที่ฟ้องจำเลยผู้ถูกโต้แย้งสิทธิย่อมเกิดสิทธิในการฟ้องเรียกค่าเสียหายในขณะเดียวกันสิทธิการฟ้องแย้งของจำเลยหาได้เกิดภายหลังเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ขับไล่จำเลยแล้วไม่ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงมิได้อยู่ภายใต้เงื่อนไขบังคับใด ๆ หากแต่เป็นสิทธิที่เกิดสืบเนื่องจากการฟ้องคดีขับไล่นี้โดยตรงและเป็นคดีเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิมจึงชอบที่จะรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6806/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากการฟ้องขับไล่: สิทธิเกิดพร้อมการฟ้องคดีหลัก
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเช่าตึกแถวที่พิพาทและสัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วแต่จำเลยยังคงอาศัยอยู่ในตึกแถวที่พิพาทตลอดมาโดยไม่มีสิทธิ ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวาร จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า การเช่าระหว่างโจทก์จำเลยมีสัญญาต่างตอบแทน ขอให้ศาลบังคับโจทก์ให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทต่อไป หากโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาท ขอให้โจทก์ใช้เงิน 100,800 บาทพร้อมดอกเบี้ยแก่จำเลย ดังนี้ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำให้การและฟ้องแย้งสิทธิหน้าที่ของโจทก์ตามสัญญาต่างตอบแทนย่อมมีอยู่แล้ว ส่วนที่จำเลยบรรยายฟ้องแย้งว่า หากโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาทนั้น มิได้หมายความว่า หลังจากศาลพิพากษาแล้วโจทก์มีสิทธิเลือกจะให้จำเลยเช่าอยู่ต่อไปหรือให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาท และการที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยย่อมหมายความว่า โจทก์ประสงค์จะให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาทตั้งแต่แรก ดังนี้ที่โจทก์ฟ้องคดีขับไล่จำเลยย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยตั้งแต่ขณะที่ฟ้องจำเลยผู้ถูกโต้แย้งสิทธิย่อมเกิดสิทธิในการฟ้องเรียกค่าเสียหายในขณะเดียวกันสิทธิการฟ้องแย้งของจำเลยหาได้เกิดภายหลังเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ขับไล่จำเลยแล้วไม่ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงมิได้อยู่ภายใต้เงื่อนไขบังคับใด ๆ หากแต่เป็นสิทธิที่เกิดสืบเนื่องจากการฟ้องคดีขับไล่นี้โดยตรงและเป็นคดีเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิมจึงชอบที่จะรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณาต่อไป
of 56