คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิรัตน์ ลัทธิวงศกร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 554 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5605/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน, การใช้สิทธิอุทธรณ์โดยไม่สุจริต, และการตีความ 'ทุจริต' ตามประกาศกระทรวงแรงงาน
โจทก์แพ้คดีและต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างโจทก์ตามคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานจำเลยตามคำพิพากษาศาลแรงงานในคดีนี้แล้ว แต่โจทก์กลับมาอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพื่อให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง อันจะมีผลให้โจทก์ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามคำพิพากษาศาลแรงงานเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์โดยไม่สุจริต ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 และไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(1)ที่บัญญัติให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีลูกจ้าง ทุจริตต่อหน้าที่ ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวมิได้ให้ความหมาย คำว่า "ทุจริต" ไว้ และมิได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติ ไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(1) กรณีจึงต้องใช้ความหมาย คำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรม คือ หมายความว่า ความประพฤติชั่วโกงไม่ซื่อตรง
ส. ซึ่งเป็นลูกจ้างรายวันของจำเลยได้รับค่าจ้างวันละ 190 บาทละทิ้งงานไปเป็นเวลา 1 ชั่วโมง แม้ว่านายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างในระยะเวลาที่ ส. ละทิ้งงาน แต่ก็เกิดโทษแก่นายจ้างน้อย ยังไม่พอถือว่า ส. มีความประพฤติชั่ว โกง หรือไม่ซื่อตรง จึงไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5605/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ที่ไม่สุจริตในคดีแรงงานและการตีความคำว่า 'ทุจริต' เพื่อปฏิเสธค่าชดเชย
โจทก์แพ้คดีและต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างโจทก์ตามคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานจำเลยตามคำพิพากษาศาลแรงงานในคดีนี้ แต่โจทก์กลับมาอุทธรณ์เสียเองว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพื่อให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องอันจะมีผลให้โจทก์ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามคำพิพากษาศาลแรงงาน จึงเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์โดยไม่สุจริต ไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์จะอ้างความไม่สุจริตมาอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่
โจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์ในคดีแรงงานโดยไม่สุจริต ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 ประกอบพ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องข้อนี้ของโจทก์
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(1) ที่บัญญัติให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่นั้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวมิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต"ไว้ และมิได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 1 (1) กรณีจึงต้องใช้ความหมายความคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรม คือ หมายความว่า ความประพฤติชั่ว โกงไม่ซื่อตรง
ส. ซึ่งเป็นลูกจ้างรายวันของจำเลยได้รับค่าจ้างวันละ 190 บาทละทิ้งงานไปเป็นเวลา 1 ชั่วโมง แม้ว่านายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างในระยะเวลาที่ส.ละทิ้งงาน แต่ก็เกิดโทษแก่นายจ้างน้อย ยังไม่พอถือว่า ส. มีความประพฤติชั่วโกง ไม่ซื่อตรง จึงไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5401/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงจากการหลอกลวงจัดหางานไปทำงานต่างประเทศ ศาลยืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดด้วยการแสดงข้อความอัน เป็นเท็จว่าจำเลยทั้งสองสามารถจัดส่งผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดไปทำงานใน ประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ เป็นงานที่มีรายได้ เมื่อผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดเดินทางไปถึงแล้วสามารถทำงานได้ทันที โดยจำเลยทั้งสองปกปิดข้อความจริงว่าจำเลยทั้งสอง ไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหาคนงานไปทำงานในประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้จาก นายทะเบียนจัดหางานกลางจากการหลอกลวงดังกล่าวทำให้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ด หลงเชื่อและมอบเงินจำนวนต่าง ๆ ให้แก่จำเลยทั้งสอง ดังนั้น การกระทำของ จำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง มิใช่ผิดเฉพาะสัญญาทางแพ่งแต่อย่างใด ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดยอมจ่ายเงินค่าตั๋วเครื่องบินให้แก่จำเลยทั้งสองเนื่องจากประสงค์จะเดินทางไปทำงานในประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ตามที่จำเลยทั้งสองรับรอง หากผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดทราบความจริงว่าถูกจำเลยทั้งสองหลอกลวงแล้ว ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคงไม่เดินทางไปยังประเทศดังกล่าวและไม่จ่ายเงินค่าตั๋วเครื่องบินให้แก่จำเลยทั้งสองเป็นแน่ แม้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดได้ใช้ตั๋วเครื่องบินดังกล่าวเดินทางไปและกลับระหว่างประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ แต่การเดินทางของผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดดังกล่าวมิได้เกิดจากความสมัครใจของตนที่จะเดินทางไปหางานทำด้วยตนเอง แต่เกิดจากการที่ถูกจำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงฉ้อโกง ดังนั้น เงินค่าตั๋วเครื่องบินของผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดที่ต้องสูญเสียไปจึงเป็นเงินที่เกิดจากการหลอกลวง ของจำเลยทั้งสอง ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดย่อมมีสิทธิที่จะเรียกค่าตั๋วเครื่องบินดังกล่าวคืนจากจำเลยทั้งสอง ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดเดินทางไปประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้เนื่องจากหลงเชื่อตามที่จำเลยทั้งสองหลอกลวงเป็นเหตุให้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดต้องสูญเสียเงินเป็นจำนวนมากนอกจากนี้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดต้องเสียเวลาในการทำมาหากิน ทั้งผู้เสียหายบางคนยังถูกจับและถูกขังอยู่ในประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ทำให้ต้องสูญเสียอิสรภาพ จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายปกครองมีหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน แต่จำเลยที่ 1 กลับมากระทำความผิดเสียเองโดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่ในการหลอกลวงเพื่อให้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดหลงเชื่อ หลังเกิดเหตุจำเลยทั้งสองก็มิได้บรรเทาผลร้าย ชดใช้หรือเสนอที่จะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดแต่อย่างใดกรณีไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4811/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเช่าที่ดินพิพาท, อำนาจจัดการมรดก, ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท แม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องว่าโจทก์สามารถนำที่พิพาทไปสร้างอาคารพาณิชย์จะได้รับประโยชน์อัตราเดือนละ 20,000บาท และโจทก์ใช้เป็นเกณฑ์เรียกค่าเสียหายตามจำนวนนั้น ซึ่งศาลชั้นต้นก็กำหนดค่าเสียหายให้เดือนละ 5,000 บาท ก็ตาม แต่เมื่อตามหนังสือสัญญาเช่าที่ดินมีการกำหนดอัตราค่าเช่ากันชัดเจนเดือนละ 500 บาท เช่นนี้แล้ว กรณีจึงไม่จำต้องพิจารณาว่าอาจให้เช่าได้ค่าเช่าจำนวนเท่าใดอีก ต้องฟังว่าที่พิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224วรรคสอง การที่จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นในเรื่องการกำหนดค่าเสียหายของศาล เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ป.พ.พ. มาตรา 1719 บัญญัติให้ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปและเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกได้ โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ส.ผู้ตาย มีอำนาจจัดการเกี่ยวแก่ที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ส.ได้ตามกฎหมาย จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากทายาททุกคนก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4811/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ค่าเสียหายจากการเช่า และอำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดก
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท แม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องว่าโจทก์สามารถนำที่พิพาทไปสร้างอาคารพาณิชย์จะได้รับประโยชน์อัตราเดือนละ 20,000 บาท และโจทก์ใช้เป็นเกณฑ์เรียกค่าเสียหายตามจำนวนนั้น ซึ่งศาลชั้นต้นก็กำหนดค่าเสียหายให้เดือนละ 5,000 บาท ก็ตาม แต่เมื่อตามหนังสือสัญญาเช่าที่ดินมีการกำหนดอัตราค่าเช่ากันชัดเจนเดือนละ 500 บาท เช่นนี้แล้ว กรณีจึงไม่จำต้องพิจารณาว่าอาจให้เช่าได้ค่าเช่าจำนวนเท่าใดอีก ต้องฟังว่าที่พิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง การที่จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นในเรื่องการกำหนดค่าเสียหายของศาล เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 บัญญัติให้ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปและเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกได้ โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้ตาย มีอำนาจจัดการเกี่ยวแก่ที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ส. ได้ตามกฎหมาย จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากทายาททุกคนก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4715-4716/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้าง การประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ และความรับผิดทางละเมิดของลูกจ้าง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522บัญญัติเรื่องการจดประเด็นข้อพิพาทและการดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อให้เป็นไปโดยประหยัด สะดวก และรวดเร็ว ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การจดประเด็นข้อพิพาทและการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 39 ประกอบมาตรา 50 ได้บัญญัติให้อำนาจศาลแรงงานดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นการไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกัน หรือประนีประนอมยอมความกัน หรือให้คู่ความนำพยานมาสืบ หรือมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมได้เสมอก่อนที่ศาลแรงงานอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คู่ความฟัง ทั้งนี้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 29,38,42,43 และมาตรา 45 การที่ศาลแรงงานสอบข้อเท็จจริงก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่ง ซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจกระทำได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น หลังจากศาลแรงงานจดประเด็นข้อพิพาทแล้ว ศาลแรงงานจึงมีอำนาจสั่งให้โจทก์และจำเลยเตรียมข้อเท็จจริงทั้งในสำนวนและพยานหลักฐานที่จะใช้สนับสนุนข้ออ้างข้อเถียงให้พร้อมเพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายยอมรับได้
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยมีพยานหลักฐานแสดงต่อศาลแรงงานเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ทั้งจำเลยยังมีพยานบุคคลเป็นพยานอีก 1 ปาก พยานจำเลยย่อมมีน้ำหนักน่าเชื่อถือกว่าพยานโจทก์ การที่ศาลแรงงานรับฟังคำกล่าวอ้างของโจทก์ว่าโจทก์มิได้ทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จึงเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ตามคำให้การและฟ้องแย้ง จำเลยอ้างว่า โจทก์ทุจริตโดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่แอบอ้างบุคคลหลายคนแต่งตั้งเป็นสมาชิกของจำเลยแล้วสั่งซื้อสินค้าไปจากจำเลยเป็นจำนวนมาก เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระจำเลยเรียกให้บุคคลที่โจทก์แอบอ้างชำระหนี้ ปรากฏว่าสมาชิกบางรายไม่มีตัวตน บางรายไม่เคยสมัครเป็นสมาชิกและไม่เคยสั่งซื้อสินค้าจากจำเลย การกระทำของโจทก์เป็นการกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างหรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย เป็นกรณีที่จำเลยฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยเนื่องจากโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ในการแต่งตั้งสมาชิก ต่อสมาชิกดังกล่าวสั่งซื้อสินค้าจากจำเลย และค้างชำระค่าสินค้า เมื่อปรากฏว่า การที่สาวจำหน่ายทั้งสิบคนที่โจทก์แต่งตั้งได้สั่งซื้อสินค้าจากจำเลยและมียอดหนี้ค้างชำระนั้น โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง โจทก์มิได้ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายแม้ในการแต่งตั้งสาวจำหน่ายที่ชื่อ ก. และ ร. โจทก์ได้จดบันทึกข้อมูลตามคำบอกเล่าของบุคคลดังกล่าวลงในทะเบียนแต่งตั้งโดยโจทก์มิได้ตรวจสอบหลักฐานทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ ทั้งมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร เป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตก็ตาม แต่เมื่อเป็นคนละกรณีกับสาวจำหน่ายที่ชื่อ ก. และ ร. ตามที่จำเลยฟ้องแย้ง โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดตามฟ้องแย้งแก่จำเลย
โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างฟ้องจำเลยผู้เป็นนายจ้างต่อศาลแรงงานเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าจ้างค้างจ่าย และเงินทดรองจ่าย แม้จำเลยแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ว่าทุจริตต่อหน้าที่ และจำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากการที่สาวจำหน่ายที่โจทก์แต่งตั้งได้สั่งซื้อสินค้าจากจำเลยและมียอดหนี้ค้างชำระจากโจทก์ ก็เป็นเพียงการฟ้องเรียกค่าสินค้าที่ค้างชำระเท่านั้น ไม่มีผลให้คดีนี้กลายเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา นอกจากนี้คดีอาญาซึ่งจำเลยแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ก็ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของพนักงานอัยการหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นการที่ศาลแรงงานพิจารณาและพิพากษาคดีนี้โดยไม่รอฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4715-4716/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานในการพิจารณาคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และการรับฟังพยานหลักฐาน
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 บัญญัติเรื่องการจดประเด็นข้อพิพาทและการดำเนินกระบวนพิจารณาไว้เป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับแก่การจดประเด็นข้อพิพาทและการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานได้ การที่ศาลแรงงานสอบข้อเท็จจริงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่ง ซึ่งศาลแรงงานย่อมมีอำนาจกระทำได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ ดังนั้นหลังจากศาลแรงงานกลางจดประเด็นข้อพิพาทแล้ว ต่อมาศาลแรงงานกลางสั่งให้โจทก์ทั้งสองและจำเลยเตรียมข้อเท็จจริงทั้งสองสำนวนและพยานหลักฐานที่จะใช้สนับสนุนข้ออ้างข้อเถียงให้พร้อม เพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายยอมรับ ศาลแรงงานจึงมีอำนาจกระทำได้โดยชอบ คดีนี้โจทก์ทั้งสองผู้เป็นลูกจ้างฟ้องจำเลยผู้เป็นนายจ้างเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมค่าจ้างค้างจ่าย และเงินทดรองจ่าย แม้จำเลยแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสองว่าทุจริตต่อหน้าที่และจำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากการที่สาวจำหน่ายที่โจทก์ทั้งสองแต่งตั้งได้สั่งซื้อสินค้าจากจำเลยและมียอดหนี้ค้างชำระจากโจทก์ทั้งสอง ก็เป็นเพียงการฟ้องเรียกค่าสินค้าที่ค้างชำระย่อมไม่มีผลให้คดีนี้กลายเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานอกจากนี้คดีอาญาซึ่งจำเลยแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ที่1อยู่ระหว่างการพิจารณาของพนักงานอัยการส่วนโจทก์ที่2 อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลจังหวัดนครปฐม ศาลแรงงานกลางจึงชอบที่จะพิจารณาและพิพากษาคดีนี้โดยไม่ต้องรอฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4042/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างต้องมีเหตุอันสมควรตามสัญญาจ้าง การลืมเก็บเงินไม่ถือเป็นการกระทำโดยเจตนาทุจริต
ตามสัญญาจ้างผู้จัดการร้านฉบับพิพาทกำหนดเหตุที่นายจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาว่า ผู้จัดการร้านละเลยงานที่ได้รับมอบหมายโดยเจตนาหรือกระทำการใด ๆ โดยเจตนาไม่สุจริตเกี่ยวกับงานสำคัญ ๆ เช่น การดูแลเงินสดและการจัดการลูกจ้าง ดังนั้น ผู้จัดการร้านจะมีความผิดตามสัญญาจ้างดังกล่าวฐานละเลยงานที่ได้รับมอบหมายก็ดี หรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานสำคัญ ๆเช่น การดูแลเงินสดก็ดี ผู้จัดการร้านจะต้องกระทำโดยมีเจตนาหรือโดยเจตนาไม่สุจริต การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการร้านลืมนำเงินทอนที่แลกเป็นฉบับย่อยเข้าเก็บในตู้นิรภัยให้ครบ มิใช่เป็นการละเลยโดยเจตนาหรือโดยเจตนาไม่สุจริตการกระทำของโจทก์จึงมิได้ฝ่าฝืนสัญญาจ้างและไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4042/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการละเลยหน้าที่และการเลิกสัญญาจ้าง
ตามสัญญาจ้างผู้จัดการร้านฉบับพิพาทกำหนดเหตุที่นายจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาว่า ผู้จัดการร้านละเลยงานที่ได้รับมอบหมายโดยเจตนา หรือกระทำการใด ๆ โดยเจตนาไม่สุจริตเกี่ยวกับงานสำคัญ ๆ เช่น การดูแลเงินสดและการจัดการลูกจ้าง ดังนั้น ผู้จัดการร้านจะมีความผิดตามสัญญาจ้างดังกล่าวฐานละเลยงานที่ได้รับมอบหมายก็ดี หรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานสำคัญ ๆ เช่น การดูแลเงินสดก็ดีผู้จัดการร้านจะต้องกระทำโดยมีเจตนาหรือโดยเจตนาไม่สุจริต การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการร้านลืมนำเงินทอนที่แลกเป็นฉบับย่อยเข้าเก็บในตู้นิรภัยให้ครบ มิใช่เป็นการละเลยโดยเจตนาหรือโดยเจตนาไม่สุจริต การกระทำของโจทก์จึงมิได้ฝ่าฝืนสัญญาจ้างและไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3970/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาเรื่องโทษจำคุก: การไม่โต้แย้งในศาลอุทธรณ์ทำให้ฎีกาต้องห้าม
แม้คดีไม่ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่จำเลยให้การรับสารภาพต่อศาล เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย จำเลยมิได้อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยสูงเกินไป แสดงว่าจำเลยพอใจกับโทษที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้แล้ว แต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จำเลยกลับมายื่นฎีกาคัดค้านว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยสูงเกินไปถือได้ว่าข้อที่จำเลยยกขึ้นฎีกาดังกล่าว จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 56