พบผลลัพธ์ทั้งหมด 554 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3970/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาเรื่องโทษสูงเกินไปหลังศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น ถือเป็นการยกเหตุใหม่ในชั้นฎีกาจึงต้องห้าม
แม้คดีไม่ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่จำเลยให้การรับสารภาพต่อศาล เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย จำเลยมิได้อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยสูงเกินไป แสดงว่าจำเลยพอใจกับโทษที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้แล้ว แต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จำเลยกลับมายื่นฎีกาคัดค้านว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยสูงเกินไป ถือได้ว่าข้อที่จำเลยยกขึ้นฎีกาดังกล่าวจำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ประกอบธุรกิจแข่งขันกับนายจ้าง ถือเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวและฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยว่าด้วยวินัยและการลงโทษทางวินัยระบุไว้ว่า "แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากหน้าที่การงานหรือเวลาปฏิบัติงานของบริษัท" ถือว่าเป็นการกระทำผิดร้ายแรง ดังนี้ การที่โจทก์เข้าไปมีส่วนร่วมในการประกอบธุรกิจหนังสือพิมพ์ ส.โดยได้รับผลตอบแทนอันเป็นธุรกิจหนังสือพิมพ์เช่นเดียวกับที่จำเลยประกอบอยู่ และเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของจำเลยในขณะที่โจทก์ยังเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่ ซึ่งตามหนังสือสัญญาจ้างที่หนังสือพิมพ์ส.ทำไว้กับโจทก์นั้น โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างจากการที่โจทก์ให้คำปรึกษากับหนังสือพิมพ์ดังกล่าวซึ่งเป็นคู่แข่งกับหนังสือพิมพ์ของจำเลย กรณีถือได้ว่าโจทก์ได้แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากหน้าที่การงานที่โจทก์ทำกับจำเลย โดยทำงานให้แก่ธุรกิจที่แข่งขันกับนายจ้างทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีที่ร้ายแรงแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากหน้าที่การงานที่เป็นคู่แข่งทางธุรกิจ
โจทก์มีส่วนร่วมในการประกอบธุรกิจหนังสือพิมพ์ส.โดยได้รับผลตอบแทนตามสัญญาจ้างที่ปรึกษาอันเป็นธุรกิจเช่นเดียวกับ ที่จำเลยประกอบอยู่ และเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของจำเลย ในขณะที่โจทก์ยังเป็นลูกจ้างจำเลย ซึ่งตามสัญญาจ้างที่ หนังสือพิมพ์ส. ทำไว้กับโจทก์นั้นระบุว่า "ผู้รับจ้างไม่ได้เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทฯ นอกจากได้รับค่าจ้าง จากการให้คำปรึกษา ผู้รับจ้างต้องพร้อมตลอดเวลาในการ ให้คำปรึกษาผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายค่าจ้างให้กับผู้รับจ้างเป็นประจำทุกเดือนตามอัตราที่ได้ตกลงกับผู้รับจ้าง"จะเห็นได้ว่าตามสัญญาจ้างดังกล่าว โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างจากการที่โจทก์ให้คำปรึกษากับหนังสือพิมพ์ส. ซึ่งเป็นคู่แข่งขันกับหนังสือพิมพ์ของจำเลย ถือได้ว่าโจทก์ได้แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากหน้าที่การงานที่โจทก์ทำกับจำเลยโดยทำงานให้แก่ธุรกิจที่แข่งขันกับนายจ้าง ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง เป็นกรณีโจทก์ฝ่าฝืน ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีที่ร้ายแรงแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากธุรกิจคู่แข่ง โดยไม่แจ้งล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยว่าด้วยวินัยและการลงโทษทางวินัยระบุไว้ว่า "แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากหน้าที่การงานหรือเวลาปฏิบัติงานของบริษัท" ถือว่าเป็นการกระทำผิดร้ายแรง ดังนี้ การที่โจทก์เข้าไปมีส่วนร่วมในการประกอบธุรกิจหนังสือพิมพ์ ส. โดยได้รับผลตอบแทนอันเป็นธุรกิจหนังสือพิมพ์เช่นเดียวกับที่จำเลยประกอบอยู่ และเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของจำเลยในขณะที่โจทก์ยังเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่ ซึ่งตามหนังสือสัญญาจ้างที่หนังสือพิมพ์ ส. ทำไว้กับโจทก์นั้น โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างจากการที่โจทก์ให้คำปรึกษากับหนังสือพิมพ์ดังกล่าวซึ่งเป็นคู่แข่งกับหนังสือพิมพ์ของจำเลย กรณีถือได้ว่าโจทก์ได้แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากหน้าที่การงานที่โจทก์ทำกับจำเลย โดยทำงานให้แก่ธุรกิจที่แข่งขันกับนายจ้างทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีที่ร้ายแรงแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากหน้าที่งานและทำงานให้คู่แข่ง
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยว่าด้วยวินัยและการลงโทษทางวินัยระบุไว้ว่า "แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากหน้าที่การงานหรือเวลาปฏิบัติงานของบริษัท" ถือว่าเป็นการกระทำผิดร้ายแรง ดังนี้ การที่โจทก์เข้าไปมีส่วนร่วมในการประกอบธุรกิจหนังสือพิมพ์ส. โดยได้รับผลตอบแทนอันเป็นธุรกิจหนังสือพิมพ์เช่นเดียวกับที่จำเลยประกอบอยู่และเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของจำเลยในขณะที่โจทก์ยังเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่ซึ่งตามหนังสือสัญญาจ้างที่หนังสือพิมพ์ ส. ทำไว้กับโจทก์นั้น โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างจากการที่โจทก์ให้คำปรึกษากับหนังสือพิมพ์ดังกล่าวซึ่งเป็นคู่แข่งกับหนังสือพิมพ์ของจำเลย กรณีถือได้ว่าโจทก์ได้แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากหน้าที่การงานที่โจทก์ทำกับจำเลยโดยทำงานให้แก่ธุรกิจที่แข่งขันกับนายจ้างทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีที่ร้ายแรงแล้วจำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3812-3826/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากนายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อ ศาลต้องสืบข้อเท็จจริงว่าลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างหรือไม่
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสองหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อ ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยแถลงเพียงว่า จำเลยปิดกิจการเนื่องจากไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ แต่จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ย่อมไม่เพียงพอฟังว่าโจทก์ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างหรือไม่อันเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องใช้วินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างในกรณีนายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสองหรือไม่ การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้ววินิจฉัยว่าการที่จำเลยปิดกิจการเนื่องจากไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิดจึงไม่ชอบ ศาลแรงงานอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องจากอัตราค่าจ้าง วันละ160 บาท เป็นวันละ 162 บาทแล้ว แต่ศาลแรงงานพิพากษาให้โจทก์ ได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โดยคำนวณจากค่าจ้างวันละ160 บาทเป็นการไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3812-3826/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากนายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการได้ ศาลต้องพิสูจน์ว่าลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง
คดีแดงที่ 3812 - 3826/2542
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง หมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อ
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยแถลงเพียงว่า จำเลยปิดกิจการเนื่องจากไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ แต่จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ย่อมไม่เพียงพอฟังว่า โจทก์ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างหรือไม่ อันเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องใช้วินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างในกรณีที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสองหรือไม่ การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้ววินิจฉัยว่าการที่จำเลยปิดกิจการเนื่องจากไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิด จึงไม่ชอบ
ศาลแรงงานอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องจากอัตราค่าจ้างวันละ 160 บาท เป็นวันละ 162 บาทแล้ว แต่ศาลแรงงานพิพากษาให้โจทก์ได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โดยคำนวณจากค่าจ้างวันละ 160 บาทเป็นการไม่ถูกต้อง
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง หมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อ
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยแถลงเพียงว่า จำเลยปิดกิจการเนื่องจากไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ แต่จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ย่อมไม่เพียงพอฟังว่า โจทก์ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างหรือไม่ อันเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องใช้วินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างในกรณีที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสองหรือไม่ การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้ววินิจฉัยว่าการที่จำเลยปิดกิจการเนื่องจากไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิด จึงไม่ชอบ
ศาลแรงงานอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องจากอัตราค่าจ้างวันละ 160 บาท เป็นวันละ 162 บาทแล้ว แต่ศาลแรงงานพิพากษาให้โจทก์ได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โดยคำนวณจากค่าจ้างวันละ 160 บาทเป็นการไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3811/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินต่อศาลเฉพาะส่วนที่โต้แย้งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง กำหนดให้นายจ้างที่ไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานนำคดีไปสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง โดยมาตรา 125 วรรคสาม กำหนดให้นายจ้างที่นำคดีไปสู่ศาลต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน จึงจะฟ้องคดีได้
ส่วนการวางเงินตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจะต้องให้สอดคล้องกับความไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวด้วย โดยนายจ้างไม่พอใจหรือโต้แย้งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเท่าใดก็วางเงินเท่าที่ตนโต้แย้ง ไม่จำต้องวางเต็มจำนวนตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเสมอไป ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่พอใจหรือโต้แย้งคำสั่งจำเลยแต่เพียงค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจำนวน 369,000 บาท โจทก์จึงวางเงินเฉพาะจำนวนดังกล่าวได้
ส่วนการวางเงินตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจะต้องให้สอดคล้องกับความไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวด้วย โดยนายจ้างไม่พอใจหรือโต้แย้งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเท่าใดก็วางเงินเท่าที่ตนโต้แย้ง ไม่จำต้องวางเต็มจำนวนตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเสมอไป ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่พอใจหรือโต้แย้งคำสั่งจำเลยแต่เพียงค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจำนวน 369,000 บาท โจทก์จึงวางเงินเฉพาะจำนวนดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3810/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินเพื่อฟ้องคดีแรงงาน ศาลต้องพิจารณาเฉพาะส่วนที่นายจ้างโต้แย้งคำสั่ง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่งกำหนดให้นายจ้างที่ไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานนำคดี ไปสู่ศาลได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งโดยมาตรา 125 วรรคสาม กำหนดให้นายจ้างที่นำคดีไปสู่ศาลต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจึงจะฟ้องคดีได้ ส่วนการวางเงินตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจึงจะต้องให้สอดคล้องกับความ ไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวด้วยโดยนายจ้างไม่พอใจหรือโต้แย้ง คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเท่าใดก็วางเงินเท่าที่ตนโต้แย้ง ไม่จำต้องวางเต็มจำนวนตามที่พนักงานตรวจแรงงานสั่งเสมอไป เมื่อโจทก์ไม่พอใจหรือโต้แย้งคำสั่งจำเลยทั้งสองแต่เพียง ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงิน จำนวน 120,000 บาท โจทก์จึงวางเงินเฉพาะจำนวนดังกล่าวได้ และศาลแรงงานกลางชอบที่จะสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3810/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินต่อศาลเพื่อฟ้องคดีแรงงาน ต้องสอดคล้องกับส่วนที่โต้แย้งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเท่านั้น
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง กำหนดให้นายจ้างที่ไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานนำคดีไปสู่ศาลได้ภายใน30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง โดยมาตรา 125 วรรคสาม กำหนดให้นายจ้างที่นำคดีไปสู่ศาลต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งพนักงานตรวจ แรงงานจึงจะฟ้องคดีได้ ส่วนการวางเงินตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจะต้องให้สอดคล้องกับความไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวด้วย โดยนายจ้างไม่พอใจหรือโต้แย้ง คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเท่าใดก็วางเงินเท่าที่ตนโต้แย้ง ไม่จำต้องวางเต็มจำนวนตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเสมอไป เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไม่พอใจหรือโต้แย้งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจำเลยแต่เพียงว่าโจทก์ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงินจำนวน 120,000 บาท โจทก์จึงวางเงิน เฉพาะจำนวนดังกล่าวได้ และศาลแรงงานจะต้องพิจารณาสั่งคำฟ้องโจทก์ตามรูปคดี