พบผลลัพธ์ทั้งหมด 554 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3810/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินต่อศาลเพื่อฟ้องคดีแรงงาน ต้องสอดคล้องกับส่วนที่โต้แย้งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเท่านั้น
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง กำหนดให้นายจ้างที่ไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานนำคดีไปสู่ศาลได้ภายใน30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง โดยมาตรา 125 วรรคสาม กำหนดให้นายจ้างที่นำคดีไปสู่ศาลต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งพนักงานตรวจ แรงงานจึงจะฟ้องคดีได้ ส่วนการวางเงินตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจะต้องให้สอดคล้องกับความไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวด้วย โดยนายจ้างไม่พอใจหรือโต้แย้ง คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเท่าใดก็วางเงินเท่าที่ตนโต้แย้ง ไม่จำต้องวางเต็มจำนวนตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเสมอไป เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไม่พอใจหรือโต้แย้งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจำเลยแต่เพียงว่าโจทก์ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงินจำนวน 120,000 บาท โจทก์จึงวางเงิน เฉพาะจำนวนดังกล่าวได้ และศาลแรงงานจะต้องพิจารณาสั่งคำฟ้องโจทก์ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดตำแหน่งงานและการเลิกจ้าง การลดตำแหน่งโดยยังจ่ายเงินเดือนและให้ทำงานต่อ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
จำเลยมีคำสั่งลดตำแหน่งของโจทก์จากหัวหน้าพนักงานขายระดับ 6 เป็นพนักงานขาย ระดับ 5 แต่จำเลยยังให้โจทก์ทำงานกับจำเลยต่อไปและโจทก์ก็ได้รับเงินเดือนเท่าเดิม การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการกระทำใดที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างไม่ให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทำงานต่อไปโดยจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้อันถือเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง
จำเลยเสนอให้โจทก์ลาออกจากงานโดยจำเลยจะจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เท่ากับเงินเดือนของโจทก์จำนวน 3 เดือน ให้โจทก์พิจารณาว่าจะลาออกหรือไม่เท่านั้น ข้อเสนอดังกล่าวมิใช่เป็นการบอกเลิกจ้างโจทก์
จำเลยเสนอให้โจทก์ลาออกจากงานโดยจำเลยจะจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เท่ากับเงินเดือนของโจทก์จำนวน 3 เดือน ให้โจทก์พิจารณาว่าจะลาออกหรือไม่เท่านั้น ข้อเสนอดังกล่าวมิใช่เป็นการบอกเลิกจ้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดตำแหน่งและข้อเสนอให้ลาออก ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
จำเลยมีคำสั่งลดตำแหน่งของโจทก์จากหัวหน้าพนักงานขายระดับ 6 เป็นพนักงานขาย ระดับ 5 แต่จำเลยยังให้โจทก์ทำงานกับจำเลยต่อไปและโจทก์ก็ได้รับเงินเดือนเท่าเดิม การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการกระทำใดที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างไม่ให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทำงานต่อไปโดยจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้อันถือเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46วรรคสอง
จำเลยเสนอให้โจทก์ลาออกจากงานโดยจำเลยจะจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เท่ากับเงินเดือนของโจทก์จำนวน 3 เดือน ให้โจทก์พิจารณาว่าจะลาออกหรือไม่เท่านั้น ข้อเสนอดังกล่าวมิใช่เป็นการบอกเลิกจ้างโจทก์
จำเลยเสนอให้โจทก์ลาออกจากงานโดยจำเลยจะจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เท่ากับเงินเดือนของโจทก์จำนวน 3 เดือน ให้โจทก์พิจารณาว่าจะลาออกหรือไม่เท่านั้น ข้อเสนอดังกล่าวมิใช่เป็นการบอกเลิกจ้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดตำแหน่งงานและการเสนอค่าช่วยเหลือมิใช่การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
แม้จำเลยมีคำสั่งลดตำแหน่งของโจทก์จากหัวหน้าพนักงานขาย ระดับ 6 เป็นพนักงานขาย ระดับ 5 แต่จำเลยยังให้โจทก์ทำงาน กับจำเลยต่อไปและโจทก์ก็ได้รับเงินเดือนเท่าเดิม การกระทำ ของจำเลยดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการกระทำใดที่จำเลยผู้เป็น นายจ้างไม่ให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทำงานต่อไปโดยจำเลยไม่จ่าย ค่าจ้างให้อันถือเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง แม้หนังสือเตือนที่จำเลยเสนอให้โจทก์ลาออกโดยจำเลยยินดี จะจ่ายเงินช่วยเหลือให้โจทก์เท่ากับเงินเดือนของโจทก์จำนวน 3 เดือน ก็เป็นเพียงข้อเสนอของจำเลยให้โจทก์พิจารณาว่า จะลาออกหรือไม่เท่านั้น ข้อเสนอดังกล่าวมิใช่เป็นการบอก เลิกจ้างโจทก์แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3591/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานมีผลเพียงชี้แนะ ไม่ใช่คำสั่ง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอน
เมื่อปรากฏว่านายจ้างได้กระทำการฝ่าฝืนประกาศ กระทรวง มหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตามพนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจเตือนให้นายจ้างปฏิบัติให้ถูกต้อง ภายในระยะเวลาที่กำหนด ตามประกาศ กระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 77 แต่คำเตือนดังกล่าวมีผล เพียงเป็นการชี้แนะของเจ้าหน้าที่เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่าง นายจ้างลูกจ้าง มิใช่เป็นคำสั่งหรือคำวินิจฉัยที่กฎหมายบัญญัติ ให้โจทก์ต้องปฏิบัติตาม ถ้านายจ้างเห็นว่าคำเตือนนั้น ไม่ถูกต้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ คำเตือนดังกล่าวจึงไม่เป็น การกระทบกระเทือนต่อสิทธิหน้าที่ของโจทก์ไม่เป็นการโต้แย้ง เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของนายจ้างตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 นายจ้างไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3395/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง: ข้อตกลงสภาพการจ้างเดิมยังใช้ได้ แม้มีการเปลี่ยนแปลงนายจ้าง และการยอมรับเงื่อนไข
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและสภาพการจ้างที่โจทก์ทำกับบริษัทน.ผู้เป็นนายจ้างเดิมของโจทก์ โจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยสูงสุดของค่าจ้างอัตราสุดท้ายถึง 18 เดือน เมื่อจำเลยซื้อกิจการจากบริษัทน. จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยต่อแสดงว่าจำเลยยอมรับตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์กับบริษัทเดิมในเรื่อง ค่าชดเชยด้วย ทั้งตามสัญญาจ้างมิได้ระบุยกเว้นห้ามโจทก์ มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์กับบริษัทเดิมไว้ กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยยอมรับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่โจทก์ทำไว้กับบริษัทเดิมในเรื่องการจ่ายค่าชดเชยกรณีมีการเลิกจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยสูงสุด 18 เดือนของค่าจ้างอัตราสุดท้าย พยานเอกสารหมาย จ.1 เป็นสำเนาเอกสารมีการส่งข้อความ ทางโทรสารมาจากบริษัทน.จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งต้นฉบับเอกสารย่อมอยู่ที่บริษัทดังกล่าวในต่างประเทศ ถือได้ว่าเป็นกรณีที่ไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารหมาย จ.1 มาได้โดยประการอื่น ศาลแรงงานกลางย่อมอนุญาตให้โจทก์ นำสำเนาเอกสารหมาย จ.1 มานำสืบและฟังเป็นพยานหลักฐาน ของโจทก์ได้ ไม่ขัดกับบทบัญญัติของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) การที่ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและสภาพการจ้าง ของบริษัทจำเลยข้อ 4.1 ระบุว่า "แม้ว่าจะมีอะไรในนโยบายนี้ บริษัทมีสิทธิจะเลิกจ้างพนักงานเนื่องจากสาเหตุอันสมควรนี้ เมื่อใดก็ได้ ในกรณีที่มีการเลิกจ้างเนื่องจากสาเหตุอันควรนี้ พนักงานจะไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเมื่อถูกเลิกจ้าง และไม่มีสิทธิ ได้รับผลประโยชน์ต่าง ๆ" นั้นเป็นการระบุกว้าง ๆ ไว้ โดยไม่ได้ระบุว่ามีสาเหตุอันสมควรประการใดบ้างที่นายจ้าง จะเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย กรณียังไม่ถือว่า ขัดกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ในเรื่องค่าชดเชยแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3356/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสภาพลูกจ้างและการไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างหลังการบอกเลิกสัญญาจ้าง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 เป็นบทบัญญัติถึงวิธีการบอกเลิก สัญญาจ้างระหว่างคู่สัญญาที่ไม่ได้กำหนดไว้ว่าจะจ้างกันนานเท่าไร ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จะเลิกสัญญาจ้างด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายสินจ้าง คราวใดคราวหนึ่งเพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญาจ้างกันเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไป หากการบอกกล่าวเลิกจ้างไม่ถูกต้องตามบทกฎหมายดังกล่าว ฝ่ายนั้นต้องรับผิดในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าที่จะต้องชดใช้ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเท่านั้น สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าดังกล่าวจึงมิใช่ค่าจ้าง หลังจากสัญญาจ้างสิ้นสุดเนื่องจากการบอกเลิกสัญญาแล้ว สภาพการเป็นลูกจ้าง นายจ้างย่อมสิ้นสุดไปด้วย หลังจากนั้นลูกจ้างไม่ได้ทำงานให้นายจ้างลูกจ้างจึงไม่มี สิทธิได้รับค่าจ้างอีก จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ทุกวันสิ้นเดือน ต่อมาวันที่ 13 มิถุนายน 2540จำเลยเลิกจ้างโจทก์ หลังจากเลิกจ้างโจทก์แล้ว จำเลยได้จ่ายค่าจ้างเดือนมิถุนายน 2540 สำหรับครึ่งเดือนแรก จำนวน 18,000 บาท สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน และค่าชดเชย 3 เดือน ให้โจทก์เรียบร้อยแล้ว เมื่อตามคำฟ้องโจทก์ประสงค์เรียกร้องค่าจ้างสำหรับเดือนมิถุนายน 2540 อีกครึ่งเดือนหลังจำนวน 18,000 บาท จากจำเลยแต่โจทก์มิได้เป็นลูกจ้างจำเลยตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2540 ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างตามที่ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3356/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับค่าจ้างสิ้นสุดเมื่อสภาพการเป็นลูกจ้างสิ้นสุด แม้จะมีการจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ป.พ.พ.มาตรา 582 เป็นบทบัญญัติถึงวิธีการบอกเลิกสัญญาจ้างระหว่างคู่สัญญาที่ไม่ได้กำหนดไว้ว่าจะจ้างกันนานเท่าไร ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาจ้างด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่งเพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญาจ้างกันเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไป หากการบอกกล่าวเลิกจ้างไม่ถูกต้องตามบทกฎหมายดังกล่าว ฝ่ายนั้นต้องรับผิดในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าที่จะต้องชดใช้ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเท่านั้น สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าดังกล่าวจึงมิใช่ค่าจ้าง
หลังจากสัญญาจ้างสิ้นสุดเนื่องจากการบอกเลิกสัญญาแล้ว สภาพการเป็นลูกจ้างนายจ้างย่อมสิ้นสุดไปด้วย หลังจากนั้นลูกจ้างไม่ได้ทำงานให้นายจ้างลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างอีก
จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ทุกวันสิ้นเดือน ต่อมาวันที่ 13 มิถุนายน2540 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ หลังจากเลิกจ้างโจทก์แล้ว จำเลยได้จ่ายค่าจ้างเดือนมิถุนายน 2540 สำหรับครึ่งเดือนแรก จำนวน 18,000 บาท สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน และค่าชดเชย 3 เดือน ให้โจทก์เรียบร้อยแล้ว เมื่อตามคำฟ้องโจทก์ประสงค์เรียกร้องค่าจ้างสำหรับเดือนมิถุนายน 2540 อีกครึ่งเดือนหลังจำนวน 18,000 บาท จากจำเลย แต่โจทก์มิได้เป็นลูกจ้างจำเลยตั้งแต่วันที่14 มิถุนายน 2540 ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างตามที่ฟ้อง
หลังจากสัญญาจ้างสิ้นสุดเนื่องจากการบอกเลิกสัญญาแล้ว สภาพการเป็นลูกจ้างนายจ้างย่อมสิ้นสุดไปด้วย หลังจากนั้นลูกจ้างไม่ได้ทำงานให้นายจ้างลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างอีก
จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ทุกวันสิ้นเดือน ต่อมาวันที่ 13 มิถุนายน2540 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ หลังจากเลิกจ้างโจทก์แล้ว จำเลยได้จ่ายค่าจ้างเดือนมิถุนายน 2540 สำหรับครึ่งเดือนแรก จำนวน 18,000 บาท สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน และค่าชดเชย 3 เดือน ให้โจทก์เรียบร้อยแล้ว เมื่อตามคำฟ้องโจทก์ประสงค์เรียกร้องค่าจ้างสำหรับเดือนมิถุนายน 2540 อีกครึ่งเดือนหลังจำนวน 18,000 บาท จากจำเลย แต่โจทก์มิได้เป็นลูกจ้างจำเลยตั้งแต่วันที่14 มิถุนายน 2540 ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างตามที่ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3354/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพักงานเพื่อสอบสวนและการจ่ายค่าจ้าง: แม้พักงาน นายจ้างยังต้องจ่ายค่าจ้างหากลูกจ้างไม่ได้กระทำผิด
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุว่า "หากพนักงานผู้ใดฝ่าฝืน หรือหลีกเลี่ยงที่จะปฏิบัติตามระเบียบวินัยหรือฝ่าฝืนข้อห้าม มิให้ปฏิบัติ พนักงานผู้นั้นจะต้องได้รับโทษทางวินัย อย่างไรก็ดี ก่อนการสั่งลงโทษผู้บังคับบัญชาอาจสั่งพักงานเพื่อการสอบสวน ก็ได้ โดยในระหว่างพักงานให้งดจ่ายค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ ต่าง ๆ โดยการพักงานกรณีนี้ให้กระทำเฉพาะพักงานเพื่อการสอบสวน เท่านั้น มิให้พักงานเพื่อรอผลคดี ซึ่งการพักงานเพื่อการสอบสวน นี้มิใช่เป็นการพักงานเพื่อการลงโทษ" เห็นได้ว่า การพักงาน เพื่อการสอบสวนตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวเพื่อให้ ได้ความแจ้งชัดว่าลูกจ้างผู้ถูกพักงานได้กระทำความผิดตามที่ถูก สอบสวนหรือไม่ ทั้งการพักงานดังกล่าวมิใช่เป็นการลงโทษแม้ระหว่างการพักงานนายจ้างมีสิทธิงดจ่ายค่าจ้างและสิทธิ ประโยชน์ต่าง ๆ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานก็ตาม แต่ระหว่างการพักงานเป็นเพียงนายจ้างให้ลูกจ้างผู้นั้นหยุดงาน เป็นการชั่วคราวเท่านั้น สภาพการเป็นนายจ้างและลูกจ้างยังคง มีอยู่ต่อไป ดังนี้ หากการสอบสวนปรากฏว่าลูกจ้างผู้นั้นมิได้ กระทำความผิด นายจ้างจะลงโทษลูกจ้างผู้นั้นไม่ได้และนายจ้าง ต้องจ่ายค่าจ้างระหว่างการพักงานให้แก่ลูกจ้าง จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้าง จำเลยย่อมมีหน้าที่จ่ายค่าจ้าง ให้แก่โจทก์ตลอดระยะเวลาที่โจทก์ทำงานให้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 จำเลยมีคำสั่ง พักงานโจทก์เพื่อการสอบสวน เป็นกรณีที่จำเลยมิให้โจทก์ทำงาน ดังนี้การที่โจทก์มิได้ทำงานให้จำเลยจึงมิใช่เป็นความผิดของโจทก์ จำเลยจะยกเหตุดังกล่าวเป็นข้ออ้างว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับ ค่าจ้างหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3354/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพักงานเพื่อสอบสวนและการจ่ายค่าจ้าง: สิทธิลูกจ้างเมื่อไม่มีความผิด
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุว่า "หากพนักงานผู้ใดฝ่าฝืนหรือหลีกเลี่ยงที่จะปฏิบัติตามระเบียบวินัยหรือฝ่าฝืนข้อห้ามมิให้ปฏิบัติ พนักงานผู้นั้นจะต้องได้รับโทษทางวินัย อย่างไรก็ดี ก่อนการสั่งลงโทษผู้บังคับบัญชาอาจสั่งพักงานเพื่อการสอบสวนก็ได้ โดยในระหว่างพักงานให้งดจ่ายค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ โดยการพักงานกรณีนี้ให้กระทำเฉพาะพักงานเพื่อการสอบสวนเท่านั้น มิให้พักงานเพื่อรอผลคดี ซึ่งการพักงานเพื่อการสอบสวนนี้มิใช่เป็นการพักงานเพื่อการลงโทษ" เห็นได้ว่า การพักงานเพื่อการสอบสวนตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวเพื่อให้ได้ความแจ้งชัดว่าลูกจ้างผู้ถูกพักงานได้กระทำความผิดตามที่ถูกสอบสวนหรือไม่ ทั้งการพักงานดังกล่าวมิใช่เป็นการลงโทษ แม้ระหว่างการพักงานนายจ้างมีสิทธิงดจ่ายค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานก็ตาม แต่ระหว่างการพักงานเป็นเพียงนายจ้างให้ลูกจ้างผู้นั้นหยุดงานเป็นการชั่วคราวเท่านั้น สภาพการเป็นนายจ้างและลูกจ้างยังคงมีอยู่ต่อไป ดังนี้ หากการสอบสวนปรากฏว่าลูกจ้างผู้นั้นมิได้กระทำความผิด นายจ้างจะลงโทษลูกจ้างผู้นั้นไม่ได้และนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างระหว่างการพักงานให้แก่ลูกจ้าง
จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้าง จำเลยย่อมมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ตลอดระยะเวลาที่โจทก์ทำงานให้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 575 จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์เพื่อการสอบสวน เป็นกรณีที่จำเลยมิให้โจทก์ทำงาน ดังนี้การที่โจทก์มิได้ทำงานให้จำเลยจึงมิใช่เป็นความผิดของโจทก์ จำเลยจะยกเหตุดังกล่าวเป็นข้ออ้างว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างหาได้ไม่
จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้าง จำเลยย่อมมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ตลอดระยะเวลาที่โจทก์ทำงานให้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 575 จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์เพื่อการสอบสวน เป็นกรณีที่จำเลยมิให้โจทก์ทำงาน ดังนี้การที่โจทก์มิได้ทำงานให้จำเลยจึงมิใช่เป็นความผิดของโจทก์ จำเลยจะยกเหตุดังกล่าวเป็นข้ออ้างว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างหาได้ไม่