พบผลลัพธ์ทั้งหมด 554 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกจำกัดเฉพาะบิดามารดาและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย การฎีกาต้องชัดเจนและโต้แย้งเหตุผลในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ป.พ.พ.มาตรา 1629 ซึ่งบัญญัติถึงบิดามารดากับบุตรว่าเป็นทายาทซึ่งกันและกันนั้น หมายถึง เป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมาย ถ้ามิใช่ก็ไม่เป็นทายาทและไม่มีสิทธิรับมรดกซึ่งกันและกัน บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตร
ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่า ป.ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของน. ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยไม่อุทธรณ์ ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นอันยุติ ฎีกาของจำเลยในปัญหาเรื่องอายุความจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ฎีกาของจำเลยที่มิได้ยกเหตุผลมาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ชัดแจ้งว่าไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกควรเป็นอย่างไร เมื่ออ่านแล้วไม่อาจเข้าใจได้และไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในประเด็นใด ด้วยเหตุผลอะไร เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่า ป.ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของน. ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยไม่อุทธรณ์ ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นอันยุติ ฎีกาของจำเลยในปัญหาเรื่องอายุความจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ฎีกาของจำเลยที่มิได้ยกเหตุผลมาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ชัดแจ้งว่าไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกควรเป็นอย่างไร เมื่ออ่านแล้วไม่อาจเข้าใจได้และไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในประเด็นใด ด้วยเหตุผลอะไร เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบสิทธิมรดกของบุตรนอกกฎหมาย, การโอนที่ดิน, และข้อจำกัดการฎีกาที่ไม่ชัดเจน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ซึ่งบัญญัติถึงบิดามารดากับบุตรว่าเป็นทายาทซึ่งกันและกันนั้น หมายถึง เป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมาย ถ้ามิใช่ก็ไม่เป็นทายาท และไม่มีสิทธิรับมรดกซึ่งกันและกันบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตร ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่า ป. ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ น. ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยไม่อุทธรณ์ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นอันยุติฎีกาของจำเลยในปัญหาเรื่องอายุความ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยที่มิได้ยกเหตุผลมาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ชัดแจ้งว่าไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกควรเป็นอย่างไร เมื่ออ่านแล้วไม่อาจเข้าใจได้และไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยฎีกา โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในประเด็นใด ด้วยเหตุผลอะไร เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเรื่องการครอบครองปรปักษ์, อายุความ, และการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ไม่ชัดเจน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ซึ่งบัญญัติ ถึงบิดามารดากับบุตรว่าเป็นทายาทซึ่งกันและกันนั้น หมายถึง เป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมาย ถ้ามิใช่ก็ไม่เป็น ทายาทและไม่มีสิทธิรับมรดกซึ่งกันและกัน บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตร ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่า ป. ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของน.ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยไม่อุทธรณ์ ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นอันยุติ ฎีกาของจำเลยในปัญหาเรื่องอายุความจึงเป็น ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยที่มิได้ยกเหตุผลมาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ชัดแจ้งว่าไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกควรเป็นอย่างไร เมื่ออ่านแล้วไม่อาจเข้าใจได้และไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยฎีกา โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในประเด็นใด ด้วยเหตุผลอะไร เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2254/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอ: โจทก์ต้องขอให้นับโทษจำคุกในคำฟ้อง มิเช่นนั้น ศาลพิพากษาเกินเลย
คดีทั้งสามสำนวนนี้โจทก์ได้ขอรวมการพิจารณาพิพากษา เข้าด้วยกัน และจำเลยไม่ได้คัดค้านทั้งสามสำนวน ดังนั้น คำขอท้ายฟ้องคดีทั้งสามสำนวนนี้จึงถือเป็นข้อเท็จจริงและ เป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เมื่อโจทก์มีความประสงค์มาแต่ต้น โดยต้องการให้ศาลชั้นต้นนับโทษจำคุกจำเลยต่อกับคดีอื่น โจทก์ต้องระบุหรือกล่าวไว้ในคำฟ้องหรือขอแก้ไขเพิ่มเติม ฟ้องในภายหลังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 เสียก่อนที่จะมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เมื่อคำฟ้องของโจทก์ ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวและไม่มีคำขอให้นับโทษจำคุกจำเลย ต่อกันไว้การที่โจทก์ขอรวมพิจารณาพิพากษาคดีทั้งสามสำนวน ด้วยกันก็เพื่อประโยชน์ในการนำสืบพยานหลักฐานชุดเดียวกัน ของคู่ความเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติม ฟ้องทำนองขอให้นับโทษในคดีต่อกันดังที่โจทก์แก้ฎีกา ด้วยเหตุนี้ การที่ศาลล่างพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดรวมทั้งสิ้น 11 กระทง และให้นับโทษจำคุกจำเลยต่อกันจึงเป็นการพิพากษา เกินคำขอของโจทก์ที่มิได้กล่าวไว้ในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกของลูกจ้าง การอนุมัติใบลาออกล่าช้า และผลทางกฎหมายที่เกิดจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
แม้จำเลยมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหมวดที่ 7 ว่าด้วยการพ้นสภาพจากการเป็นพนักงาน ข้อ 2.1 ระบุให้พนักงาน ที่ประสงค์จะลาออกต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้บังคับบัญชา ทราบล่วงหน้าและยื่นใบลาออกต่อฝ่ายบุคคลล่วงหน้าไม่น้อยกว่า30 วัน ก็ตาม แต่การลาออกเป็นสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็น ลูกจ้างที่จะลาออกเมื่อใดและกำหนดวันลาออกของตนได้ หากโจทก์ยื่นใบลาออกต่อจำเลยฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ เกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวเป็นเหตุให้จำเลยได้รับ ความเสียหายอย่างไร จำเลยย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้จากโจทก์ได้ ส่วนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการ ทำงานดังกล่าวมิได้กำหนดว่านายจ้างจะต้องสั่งใบลาออกของ ลูกจ้างภายในกำหนดเวลาใดย่อมเป็นที่เข้าใจว่านายจ้าง ต้องสั่งใบลาออกภายในเวลาอันสมควรและก่อนถึงวันที่ลูกจ้างกำหนดให้มีผลในใบลาออกนั้น เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ ศาลแรงงานกลางรับฟังมาไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยมีการ ตกลงให้จำเลยมีสิทธิสั่งใบลาออกหลังจากครบกำหนดวันลา ออกมีผลได้ การที่จำเลยมิได้สั่งอนุมัติใบลาออกภายใน วันที่โจทก์กำหนดให้มีผลในใบลาออก และหลังจากครบกำหนด ดังกล่าวแล้วโจทก์ยังคงทำงานตลอดมาโดยจำเลยยินยอมให้โจทก์ทำงานเช่นนี้ตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์จำเลยไม่ติดใจเอาใบลาออกดังกล่าวเป็นข้อสาระสำคัญอีกต่อไปย่อมมีผลเท่ากับจำเลยไม่ประสงค์ให้โจทก์ลาออก ดังนั้นใบลาออกของโจทก์จึงสิ้นผลที่จำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออก ในภายหลัง จึงเป็นการอนุมัติให้โจทก์ลาออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีจึงเป็นการเลิกจ้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในคดีแรงงาน การส่งคำบังคับทางปิด และผลของการสั่งให้มีผลทันที
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มิได้กำหนดระยะเวลาให้คู่ความฝ่ายซึ่งศาลมีคำสั่งขาดนัดพิจารณาและมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาทยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ไว้กรณีจึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208มาใช้บังคับโดยอนุโลม ศาลแรงงานได้ออกคำบังคับและให้ส่งคำบังคับแก่จำเลยโดยสั่งว่า การส่งหากไม่มีผู้รับแทนให้ปิดและให้มีผลทันทีแต่คำบังคับของศาลระบุข้อความไว้เพียงว่า ให้การปิดคำบังคับมีผลตามกำหนดระยะเวลาในหมายนี้ และให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับคำบังคับเป็นต้นไป ข้อความที่ระบุไว้ในคำบังคับดังกล่าวหาได้มีความหมายว่า การปิดคำบังคับให้มีผลทันที จำเลยจึง ไม่อาจทราบได้ว่าศาลแรงงานมีคำสั่งให้การส่งคำบังคับ มีผลทันทีในกรณีที่มีการปิดคำบังคับกรณีจึงต้องอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ที่กำหนดว่า การส่งคำบังคับ ให้แก่จำเลยโดยวิธีอื่นแทนนั้นให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อ กำหนดเวลาสิบห้าวันหรือระยะเวลานานกว่านั้นตามที่ศาล เห็นสมควรกำหนดได้ล่วงพ้นไปแล้วนับแต่เวลาที่คำบังคับ ได้ปิดไว้ จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำบังคับศาลแรงงานและการพิจารณาใหม่ การปิดคำบังคับมีผลเมื่อเวลาที่กำหนดล่วงพ้น
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มิได้กำหนดระยะเวลาให้คู่ความฝ่ายซึ่งศาลมีคำสั่งขาดนัดพิจารณาและมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาทยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ไว้ กรณีจึงต้องนำ ป.วิ.พ.มาตรา 208 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ศาลแรงงานได้ออกคำบังคับและให้ส่งคำบังคับแก่จำเลยโดยสั่งว่าการส่งหากไม่มีผู้รับแทนให้ปิดและให้มีผลทันที แต่คำบังคับของศาลระบุข้อความไว้เพียงว่า ให้การปิดคำบังคับมีผลตามกำหนดระยะเวลาในหมายนี้ และให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับคำบังคับเป็นต้นไป ข้อความที่ระบุไว้ในคำบังคับดังกล่าวหาได้มีความหมายว่า การปิดคำบังคับให้มีผลทันที จำเลยจึงไม่อาจทราบได้ว่าศาลแรงงานมีคำสั่งให้การส่งคำบังคับมีผลทันทีในกรณีที่มีการปิดคำบังคับกรณีจึงต้องอยู่ในบังคับ ป.วิ.พ.มาตรา 79 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ที่กำหนดว่า การส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยวิธีอื่นแทนนั้นให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อกำหนดเวลาสิบห้าวันหรือระยะเวลานานกว่านั้นตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดได้ล่วงพ้นไปแล้วนับแต่เวลาที่คำบังคับได้ปิดไว้ จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับให้แก่จำเลย
ศาลแรงงานได้ออกคำบังคับและให้ส่งคำบังคับแก่จำเลยโดยสั่งว่าการส่งหากไม่มีผู้รับแทนให้ปิดและให้มีผลทันที แต่คำบังคับของศาลระบุข้อความไว้เพียงว่า ให้การปิดคำบังคับมีผลตามกำหนดระยะเวลาในหมายนี้ และให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับคำบังคับเป็นต้นไป ข้อความที่ระบุไว้ในคำบังคับดังกล่าวหาได้มีความหมายว่า การปิดคำบังคับให้มีผลทันที จำเลยจึงไม่อาจทราบได้ว่าศาลแรงงานมีคำสั่งให้การส่งคำบังคับมีผลทันทีในกรณีที่มีการปิดคำบังคับกรณีจึงต้องอยู่ในบังคับ ป.วิ.พ.มาตรา 79 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ที่กำหนดว่า การส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยวิธีอื่นแทนนั้นให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อกำหนดเวลาสิบห้าวันหรือระยะเวลานานกว่านั้นตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดได้ล่วงพ้นไปแล้วนับแต่เวลาที่คำบังคับได้ปิดไว้ จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2173/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์คณะศาลแรงงาน, การพิจารณาคดีโดยองค์คณะที่ถูกต้อง, การไม่คัดค้านข้อผิดพลาดในการพิจารณา
ตามคำพิพากษาศาลแรงงานในสำนวนมีผู้พิพากษาศาลแรงงานผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละหนึ่งคนได้ลงลายมือชื่อไว้ครบเป็นองค์คณะพิพากษาคดีตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 17 แล้วที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างไม่ได้ลงลายมือชื่อด้วย เป็นอุทธรณ์บิดเบือนข้อความในคำพิพากษาเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง การนั่งพิจารณาคดีแรงงาน ศาลแรงงานต้องมีผู้พิพากษาผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละเท่า ๆ กันเป็นองค์คณะพิจารณา หากศาลแรงงานมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการพิจารณาคดีโดยผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างซึ่งเป็น องค์คณะไม่ได้นั่งร่วมในการพิจารณาคดี แต่มีผู้พิพากษาสมทบ ฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างคนอื่นมานั่งพิจารณาคดี แทน อันเป็นการผิดระเบียบ คู่ความฝ่ายที่เสียหายจะต้องยื่นคัดค้านก่อนมีคำพิพากษาแต่ต้องไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้ทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 จำเลยทราบในวันนัดพิจารณา แล้วว่าเป็นการผิดระเบียบ จำเลยก็ชอบที่จะคัดค้านเสียภายใน8 วันเมื่อจำเลยมิได้คัดค้านจนกระทั่งล่วงพ้นระยะเวลาดังกล่าวจนกระทั่งศาลแรงงานได้มีคำพิพากษาไปแล้ว จำเลยจะมาอุทธรณ์โต้แย้งว่าการพิจารณาคดีในวันดังกล่าวไม่ชอบหาได้ไม่ และกรณีถือได้ว่าการพิจารณาคดีของศาลแรงงานชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2173/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ต้องไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง และต้องดำเนินการคัดค้านการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบภายในระยะเวลาที่กำหนด
ตามคำพิพากษาศาลแรงงานในสำนวนมีผู้พิพากษาศาลแรงงาน ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้าง ฝ่ายละหนึ่งคนลงลายมือชื่อไว้ครบเป็นองค์คณะพิพากษาคดีตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 17 แล้ว ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ผู้พิพากษาสมทบ ฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างไม่ได้ ลงลายมือชื่อด้วย เป็นอุทธรณ์บิดเบือนข้อความในคำพิพากษา เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การนั่งพิจารณาคดีแรงงาน ศาลแรงงานต้องมีผู้พิพากษาผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้าง ฝ่ายละเท่า ๆ กันเป็นองค์คณะพิจารณา หากศาลแรงงาน มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการพิจารณาคดี โดยผู้พิพากษาสมทบ ฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างซึ่งเป็นองค์คณะ ไม่ได้นั่งร่วมในการพิจารณาคดี แต่มีผู้พิพากษาสมทบ ฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างคนอื่นมานั่งพิจารณา คดีแทน ย่อมเป็นการผิดระเบียบคู่ความฝ่ายที่เสียหาย จะต้องยื่นคัดค้านเสียก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 จำเลยทราบตั้งแต่ในวันนัดพิจารณาแล้วว่ามีการผิดระเบียบ จำเลยก็ชอบที่จะคัดค้านเสียภายใน 8 วัน เมื่อจำเลย มิได้คัดค้านจนกระทั่งล่วงพ้นระยะเวลาดังกล่าวจนกระทั่ง ศาลแรงงานได้มีคำพิพากษาไปแล้ว จำเลยจะมาอุทธรณ์โต้แย้งว่า การพิจารณาคดีในวันดังกล่าวไม่ชอบหาได้ไม่ และกรณีถือได้ว่าการพิจารณาคดีของศาลแรงงานชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2173/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์คณะผู้พิพากษาสมทบในคดีแรงงาน การไม่คัดค้านภายใน 8 วัน ถือเป็นการสละสิทธิ์โต้แย้ง
การนั่งพิจารณาคดีแรงงาน ศาลแรงงานต้องมีผู้พิพากษาผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละเท่า ๆ กันเป็นองค์คณะพิจารณาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 17 และมาตรา 31 ซึ่งให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังนั้น ถ้าจำเลยเห็นว่าศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการพิจารณาคดี โดยผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างซึ่งเป็นองค์คณะไม่ได้นั่งร่วมในการพิจารณาคดี แต่มีผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างคนอื่นมานั่งพิจารณาคดีแทนจำเลยซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่เสียหายจะต้องยื่นคำคัดค้านก่อนมี คำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่จำเลยทราบตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 เมื่อจำเลย ทราบวันที่ที่ผู้พิพากษาสมทบซึ่งเป็นองค์คณะมิได้นั่งพิจารณาคดี จำเลยย่อมทราบในวันดังกล่าวว่าเป็นการผิดระเบียบ และควรจะคัดค้านเสียภายใน 8 วัน เมื่อจำเลยมิได้ คัดค้านจนศาลแรงงานกลางพิพากษาจำเลยจะมาอุทธรณ์ โต้แย้งว่า การพิจารณาคดีในวันนั้น ๆ ไม่ชอบหาได้ไม่