คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิรัตน์ ลัทธิวงศกร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 554 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทในคดีแรงงาน และการรับฟังพยานหลักฐานของศาล
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกองทุนเลี้ยงชีพในส่วนของจำเลยที่สะสมไว้ให้แก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า เงินกองทุนเลี้ยงชีพที่โจทก์ฟ้อง จำเลยได้จ่ายให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยได้จ่ายเงินกองทุนเลี้ยงชีพในส่วนของจำเลยให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าการกระทำผิดของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิรับเงินสมทบกองทุนเลี้ยงชีพในส่วนของจำเลยอันเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นตามคำให้การของจำเลย ย่อมเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลแรงงาน และให้ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามประเด็นดังกล่าวข้างต้นใหม่
โจทก์ฟ้องเรียกเงินโบนัสจากจำเลยในปี 2540 ส่วนที่ขาดอีกครึ่งหนึ่งของเงินโบนัสคิดเท่าเงินเดือนของโจทก์จำนวน 2.65 เดือน เป็นเงิน40,582 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยการปลดออกจากงานฐานทุจริตต่อหน้าที่ซึ่งเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินโบนัสจากจำเลย คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสเนื่องจากโจทก์ถูกปลดออกจากงานฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า โจทก์ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2540 จึงทำงานไม่ครบปีหรือตามเกณฑ์ที่จำเลยกำหนด โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสครึ่งปีหลังของปี2540 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นตามคำให้การ เป็นการมิชอบ ศาลแรงงานจำต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามประเด็นดังกล่าวข้างต้นใหม่เช่นเดียวกัน
ตามมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์ การอ้างและการยื่นบัญชีระบุพยานของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งให้กระทำได้ภายในระยะเวลาที่ศาลแรงงานกำหนดตามที่เห็นสมควร แม้คดีนี้จำเลยสืบพยานบุคคลปาก อ. โดยยื่นบัญชีระบุพยาน ศาลแรงงานได้บันทึกคำให้การของ อ. ที่เบิกความถึงเอกสารหมาย ล.7 ซึ่งศาลแรงงานได้รับเอกสารดังกล่าวที่จำเลยอ้างส่งศาล และหมายเอกสารดังกล่าวไว้ แล้วระบุเอกสารให้แยกเก็บ โดยจำเลยนำสืบพยานเอกสารดังกล่าวโดยไม่ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ก็ตามแต่การที่ศาลแรงงานรับเอกสารดังกล่าวไว้หมาย ล.7 และได้วินิจฉัยถึงเอกสารดังกล่าวในคำพิพากษา แสดงว่าศาลแรงงานเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดี จึงรับฟังเอกสารหมาย ล.7 โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ใช้ในการพิจารณาคดีแรงงานโดยเฉพาะการที่ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงตามเอกสารหมาย ล.7 จึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 90 วรรคหนึ่ง
จำเลยให้การว่า โจทก์มีหน้าที่ในการประเมินราคาทรัพย์สินของลูกค้าจำเลย โจทก์ได้เรียกและรับเงินจากลูกค้าโดยไม่มีสิทธิ การกระทำของโจทก์เป็นการทุจริตต่อหน้าที่โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ที่โจทก์มีอยู่หาประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่นอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งของจำเลยอย่างร้ายแรง จำเลยมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้ จะเห็นได้ว่า จำเลยได้ให้การปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์ โดยกล่าวอ้างสาเหตุว่าโจทก์กระทำการเรียกและรับเงินจากลูกค้าโดยไม่ชอบ อันเป็นการกระทำที่ทุจริตต่อหน้าที่ เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยอย่างร้ายแรง ถือได้ว่าเป็นการให้การปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์โดยชัดแจ้งว่าจำเลยมีเหตุที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ ทั้งได้อ้างสาเหตุแห่งการเลิกจ้างครบถ้วนแล้ว ส่วนการที่โจทก์เรียกเงินจากลูกค้ารายใด โจทก์รับเงินอย่างใด จำนวนกี่ราย เป็นรายละเอียดที่จำเลยมีสิทธินำสืบพยานได้ในชั้นพิจารณาคำให้การดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นคำให้การที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถือหุ้นโดยมิชอบ, การกระทำผิดร่วมกันเพื่อเอื้อประโยชน์ตนเอง, และความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ
การที่โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์เข้าถือหุ้นในบริษัทอื่น ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ธนาคารโจทก์เจตนาฝ่าฝืน พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์พ.ศ. 2505 โดยธนาคารโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดในบริษัทป.และบริษัทส.โดยโจทก์จัดตั้งและจดทะเบียนบริษัททั้งสองดังกล่าวขึ้นมาแล้วให้พนักงานที่โจทก์ไว้วางใจเป็นผู้ถือหุ้นแทน จึงเป็นการที่ธนาคารโจทก์มีหุ้นในบริษัทจำกัดป. และส.เกินร้อยละสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัททั้งสอง อันเป็นการต้องห้ามโดยบทกฎหมายดังกล่าวอย่างชัดแจ้ง การถือหุ้นของธนาคารโจทก์ในบริษัทป. และ บริษัทส.จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 113 เดิม ที่ใช้บังคับในขณะโจทก์เข้าถือหุ้น ในบริษัททั้งสองดังกล่าว แม้การที่ธนาคารโจทก์ถือหุ้นทั้งหมดในบริษัทอื่นเป็นการ ถือหุ้นโดยมิชอบและตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่จำเลยซึ่งเป็นพนักงาน ของโจทก์ดำเนินธุรกิจให้โจทก์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงิน และทรัพย์สินของธนาคารโจทก์ไปเป็นประโยชน์ของตน โดยมิชอบอันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยจึงต้อง รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ธนาคารโจทก์ จำเลยร่วมกับพวกดำเนินการทางธุรกิจโดยมิชอบจนมีการขาย ที่ดินให้แก่บริษัทร.เป็นเหตุให้ธนาคารโจทก์ได้รับความเสียหายการที่บริษัทร.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีนำที่ดินดังกล่าวทั้งหมดมาจดทะเบียนจำนองประกันหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดี ที่โจทก์ฟ้องบริษัทป.ที่ธนาคารโจทก์เข้าถือหุ้นเป็นจำเลยเป็นกรณีที่โจทก์ได้รับจำนองที่ดินดังกล่าวไว้เพื่อเป็นประกัน การปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น ไม่ใช่โจทก์ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนมาแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถือหุ้นเกินสิบเปอร์เซ็นต์โดยธนาคารพาณิชย์ และความรับผิดของพนักงานต่อความเสียหาย
การที่โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์เข้าถือหุ้นในบริษัทอื่นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ 2522 มาตรา 31
ธนาคารโจทก์เจตนาฝ่าฝืน พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์พ.ศ.2505 โดยธนาคารโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดในบริษัท ป.และบริษัท ส.โดยโจทก์จัดตั้งและจดทะเบียนบริษัททั้งสองดังกล่าวขึ้นมาแล้วให้พนักงานที่โจทก์ไว้วางใจเป็นผู้ถือหุ้นแทน จึงเป็นการที่ธนาคารโจทก์มีหุ้นในบริษัทจำกัด ป.และส.เกินร้อยละสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัททั้งสอง อันเป็นการต้องห้ามโดยบทกฎหมายดังกล่าวอย่างชัดแจ้ง การถือหุ้นของธนาคารโจทก์ในบริษัท ป.และบริษัท ส.จึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 เดิม ที่ใช้บังคับในขณะโจทก์เข้าถือหุ้นในบริษัททั้งสองดังกล่าว
แม้การที่ธนาคารโจทก์ถือหุ้นทั้งหมดในบริษัทอื่นเป็นการถือหุ้นโดยมิชอบและตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานของโจทก์ดำเนินธุรกิจให้โจทก์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินและทรัพย์สินของธนาคารโจทก์ไปเป็นประโยชน์ของตนโดยมิชอบอันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ธนาคารโจทก์
จำเลยร่วมกับพวกดำเนินการทางธุรกิจโดยมิชอบจนมีการขายที่ดินให้แก่บริษัท ร.เป็นเหตุให้ธนาคารโจทก์ได้รับความเสียหาย การที่บริษัทร.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีนำที่ดินดังกล่าวทั้งหมดมาจดทะเบียนจำนองประกันหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีที่โจทก์ฟ้องบริษัท ป.ที่ธนาคารโจทก์เข้าถือหุ้นเป็นจำเลย เป็นกรณีที่โจทก์ได้รับจำนองที่ดินดังกล่าวไว้เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น ไม่ใช่โจทก์ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนมาแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1948/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทางอาญาเปลี่ยนจากพยายามลักทรัพย์เป็นทำให้เสียทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามลักทรัพย์ แต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยไม่มีเจตนาลักทรัพย์ แต่จำเลยใช้ค้อนทุบกระจกด้านข้าง ตู้.เอ.ที.เอ็ม.ของธนาคารผู้เสียหายแตกเสียหาย ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ และการที่จำเลยนำสืบรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์กล่าวบรรยายในฟ้องว่าจำเลยได้ใช้ค้อนทุบกระจกผู้เสียหายแตกได้รับความเสียหายจริง แต่กระทำเพื่อระบายความเครียด เช่นนี้จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา192 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1948/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาความผิด: จากพยายามลักทรัพย์เป็นทำให้เสียทรัพย์ แม้จำเลยอ้างระบายความเครียด ศาลลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามลักทรัพย์แต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยไม่มีเจตนาลักทรัพย์ แต่จำเลยใช้ค้อนทุบกระจกด้านข้าง ตู้.เอ.ที.เอ็ม.ของธนาคารผู้เสียหายแตกเสียหาย ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ และการที่จำเลยนำสืบรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์กล่าวบรรยายในฟ้องว่าจำเลยได้ใช้ค้อนทุบกระจกผู้เสียหายแตกได้รับความเสียหายจริงแต่กระทำเพื่อระบายความเครียด เช่นนี้จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1948/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาลักทรัพย์ไม่ปรากฏ ศาลลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามลักทรัพย์โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองทรัพย์ แต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาได้ความว่า จำเลยใช้ค้อนทุบกระจก ด้านข้าง ตู้ เอ.ที.เอ็ม. ของธนาคารผู้เสียหายแตกเสียหาย อันเป็นความผิดฐานทำให้ เสียทรัพย์ และจำเลยไม่มี เจตนาลักทรัพย์ แต่การที่จำเลยนำสืบรับว่าได้ใช้ค้อนทุบ กระจกผู้เสียหายแตกได้รับความเสียหายเพื่อระบาย ความเครียด จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลย ในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามที่ทางพิจารณาได้ความนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1948/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาพยายามลักทรัพย์ไม่ชัดเจน ศาลลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์
แม้จำเลยจะใช้ค้อนทุบกระจกที่ติดกับตู้ เอ.ที.เอ็ม.ด้านล่างแตกขนาดแมว ลอดเข้าไปได้ แต่ตัวจำเลยก็ไม่สามารถ ถอดเข้าไปภายในธนาคารได้และตรงจุดที่กระจกแตกก็ไม่เกี่ยวกับ ตู้ เอ.ที.เอ็ม. ซึ่งมีเงินเก็บอยู่ภายใน จำเลยไม่มีทางที่จะ ล้วงเอาเงินที่เก็บอยู่ในตู้ เอ.ที.เอ็ม. ไปได้ ของกลางที่ ยึดได้ก็มีเพียงค้อน 1 ด้าม ถุงมือ 1 คู่ และกระเป๋า 1 ใบ ซึ่งไม่อาจใช้งัดตู้ เอ.ที.เอ็ม. เพื่อเอาเงินที่เก็บอยู่ ภายในตู้ออกมาได้ หากจำเลยมีเจตนาที่จะลักเอาเงินที่เก็บอยู่ ในตู้ เอ.ที.เอ็ม. จำเลยก็น่าจะใช้ค้อนทุบตู้ เอ.ที.เอ็ม. แล้วรีบหลบหนีไปโดยไม่รออยู่นานถึง 5 นาที จนกระทั่ง ถูกจับกุมเป็นแน่ กรณีอาจเป็นเรื่องที่จำเลยไม่มีเจตนาลักทรัพย์ แต่จำเลยใช้ค้อนทุบกระจกเพื่อระบายความเครียด ดังที่จำเลยอ้าง ก็ได้ แม้โจทก์จะมีคำให้การรับสารภาพชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน ของจำเลยมาเป็นพยาน แต่จำเลยก็ให้การปฏิเสธในชั้นพิจารณา และอ้างว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจนำเอกสารที่มีข้อความแล้ว มาให้จำเลยลงชื่อโดยไม่ได้อ่านข้อความให้ฟัง พยานหลักฐาน ที่โจทก์นำสืบมายังไม่พอให้รับฟังได้ว่าจำเลยกระทำ ความผิดฐานพยายามลักทรัพย์ แต่การที่จำเลยใช้ค้อนทุบกระจก ของธนาคารแตกเสียหาย ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด ฐานทำให้เสียทรัพย์ แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย ในความผิดฐานพยายามลักทรัพย์ผู้เสียหาย แต่จำเลยก็นำสืบ รับว่าได้ใช้ค้อนทุบกระจกเพื่อระบายความเครียด จำเลย จึงมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยในความผิดฐาน ทำให้เสียทรัพย์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสาม ส่วนค้อนของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการ กระทำผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ จึงต้องริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจพิสูจน์เอกสารและการพิสูจน์การกู้ยืมเงินในสัญญาที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง
เมื่อสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยเสร็จแล้ว โจทก์แถลงขอส่งสัญญากู้เงินเอกสารฉบับพิพาทไปให้กองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจตรวจพิสูจน์ว่าข้อความหมึกสีดำกับข้อความหมึกสีน้ำเงินเป็นลายมือของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาต พันตำรวจโท ก. ผู้เชี่ยวชาญของศาลได้ตรวจพิจารณาแล้วลงความเห็นว่า ไม่ใช่ลายมือของบุคคลคนเดียวกัน การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้มีการตรวจพิสูจน์เอกสารโดยผู้เชี่ยวชาญตามความประสงค์ของโจทก์ และผู้เชี่ยวชาญของศาลได้ตรวจและทำความเห็นโดยละเอียดชัดแจ้งแล้ว เพียงแต่ผู้เชี่ยวชาญแสดงความเห็นไม่สมความประสงค์ของโจทก์ ย่อมไม่เป็นเหตุพอที่จะให้ผู้เชี่ยวชาญอื่นตรวจพิสูจน์เอกสารอีกเพราะเป็นการตรวจพิสูจน์ซ้ำ จึงไม่น่าจะมีผลเปลี่ยนแปลงจากเดิม เป็นการฟุ่มเฟือย และประวิงคดีให้ล่าช้า จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญอื่นตรวจพิสูจน์ใหม่อีก
จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์เพียง 40,000 บาท โดยจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้ฉบับพิพาทในช่องผู้กู้และเขียนข้อความอื่นซึ่งเขียนด้วยหมึกสีดำส่วนจำนวนเงิน กำหนดเวลาใช้คืนและดอกเบี้ยซึ่งเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินจำเลยไม่ได้เขียน แต่มีการกรอกข้อความที่ระบุจำนวนเงิน กำหนดเวลาใช้คืน และดอกเบี้ยซึ่งเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินซึ่งจำนวนเงินเกินไปจากความจริง โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย สัญญากู้เงินฉบับพิพาทจึงเป็นเอกสารปลอม ถือว่าการกู้ยืมเงินคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์เอกสารปลอมและผลต่อการกู้ยืมเงิน สัญญาที่ไม่สมบูรณ์ทำให้สิทธิเรียกร้องตกไป
เมื่อสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยเสร็จแล้ว โจทก์แถลง ขอส่งสัญญากู้เงินเอกสารฉบับพิพาทไปให้กองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจตรวจพิสูจน์ว่าข้อความหมึกสีดำกับข้อความหมึกสีน้ำเงิน เป็นลายมือของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาต พันตำรวจโทก. ผู้เชี่ยวชาญ ของ ศาล ได้ ตรวจ พิจารณา แล้ว ลงความเห็นว่า ไม่ใช่ ลายมือ ของ บุคคล คนเดียวกัน การ ที่ ศาลชั้นต้น อนุญาต ให้ มี การ ตรวจ พิสูจน์ เอกสาร โดย ผู้เชี่ยวชาญ ตาม ความประสงค์ ของ โจทก์ และ ผู้เชี่ยวชาญ ของ ศาล ได้ ตรวจ และ ทำ ความเห็น โดย ละเอียด ชัดแจ้ง แล้ว เพียงแต่ ผู้เชี่ยวชาญ แสดงความเห็น ไม่ สม ความประสงค์ ของ โจทก์ ย่อม ไม่ เป็น เหตุ พอ ที่ จะ ให้ ผู้เชี่ยวชาญ อื่น ตรวจ พิสูจน์ เอกสาร อีก เพราะ เป็น การ ตรวจ พิสูจน์ ซ้ำ ไม่มี ผล เปลี่ยนแปลง จาก เดิม เป็นการฟุ่มเฟือย และ ประวิง คดี ให้ ล่าช้า จึงชอบ ที่ ศาล จะ มี คำสั่งยกคำร้อง ของ โจทก์ ที่ ขอ ให้ ส่ง เอกสาร ไปให้ ผู้เชี่ยวชาญ อื่นตรวจ พิสูจน์ ใหม่ ดังกล่าว จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์เพียง 40,000 บาท โดยจำเลยลงลายมือชื่อ ในสัญญากู้ฉบับพิพาทในช่องผู้กู้และเขียนข้อความอื่นซึ่ง เขียนด้วยหมึกสีดำส่วนจำนวนเงิน กำหนดเวลาใช้คืนและดอกเบี้ยซึ่งเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินจำเลยไม่ได้เขียนแต่มีการกรอกข้อความที่ระบุจำนวนเงินเป็น 250,000 บาทกำหนดเวลาใช้คืน และดอกเบี้ย ซึ่งเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินเพิ่มเติมขึ้นโดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย สัญญากู้เงินฉบับพิพาทจึงเป็นเอกสารปลอมถือว่าการกู้ยืมเงินคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์เอกสารและการกู้ยืมเงินที่เป็นเอกสารปลอม ศาลพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
เมื่อสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยเสร็จแล้วโจทก์แถลงขอส่งสัญญากู้เงินเอกสารฉบับพิพาทไปให้กองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจตรวจพิสูจน์ว่าข้อความหมึกสีดำกับข้อความหมึกสีน้ำเงินเป็นลายมือของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาต พันตำรวจโทก. ผู้เชี่ยวชาญของศาลได้ตรวจพิจารณาแล้วลงความเห็นว่า ไม่ใช่ลายมือของบุคคลคนเดียวกัน การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้มีการตรวจพิสูจน์เอกสารโดยผู้เชี่ยวชาญตามความประสงค์ของโจทก์ และผู้เชี่ยวชาญของศาลได้ตรวจและทำความเห็นโดยละเอียดชัดแจ้งแล้ว เพียงแต่ผู้เชี่ยวชาญแสดงความเห็นไม่สมความประสงค์ของโจทก์ ย่อมไม่เป็นเหตุพอที่จะให้ผู้เชี่ยวชาญอื่นตรวจพิสูจน์เอกสารอีกเพราะเป็นการตรวจพิสูจน์ซ้ำจึงไม่น่าจะมีผลเปลี่ยนแปลงจากเดิม เป็นการฟุ่มเฟือย และประวิงคดีให้ล่าช้า จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญอื่นตรวจพิสูจน์ใหม่อีก จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์เพียง 40,000 บาท โดยจำเลยลงลายมือชื่อ ในสัญญากู้ฉบับพิพาทในช่องผู้กู้และเขียนข้อความอื่นซึ่งเขียนด้วยหมึกสีดำส่วนจำนวนเงิน กำหนดเวลาใช้คืนและดอกเบี้ยซึ่งเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินจำเลยไม่ได้เขียนแต่มีการกรอกข้อความที่ระบุจำนวนเงิน กำหนดเวลาใช้คืนและดอกเบี้ยซึ่งเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินซึ่งจำนวนเงินเกินไปจากความจริง โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย สัญญากู้เงินฉบับพิพาทจึงเป็นเอกสารปลอม ถือว่าการกู้ยืมเงินคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องแก่โจทก์ได้
of 56