พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7563/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาชุบทองคำขาว: ความรับผิดชอบค่าเสียหายจากการชำรุดบกพร่องและราคาทรัพย์สิน
ก่อนที่โจทก์ตกลงว่าจ้างจำเลยชุบทองคำขาวเครื่องประดับได้มีการตกลงกันถึงกรรมวิธีในการชุบทองคำขาวด้วย การที่จำเลยทำผิดขั้นตอนที่ตกลงกันหรือผิดปกติประเพณีการชุบทองคำขาว จำเลยจึงตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ตกลงว่าจ้างจำเลยให้ชุบทองคำขาวเครื่องประดับจำนวน13,285 ชิ้น แล้วโจทก์ได้ส่งสินค้าทั้งหมดไปจำหน่ายในประเทศฝรั่งเศส ต่อมาปรากฏว่าจำเลยปฏิบัติผิดสัญญา ไม่ได้ชุบทองคำขาวให้เป็นไปตามขั้นตอนที่ตกลงกัน บริษัทที่จำหน่ายสินค้าในประเทศฝรั่งเศสได้ส่งสินค้าคืนมาให้โจทก์จำนวน 9,844 ชิ้นโจทก์จึงได้ส่งสินค้าตามจำนวนดังกล่าวให้จำเลยจัดการแก้ไขให้ถูกต้องและบรรเทาความเสียหาย แต่จำเลยก็มิได้จัดการแก้ไขให้ถูกต้องตามสัญญา ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายสำหรับสินค้าที่ส่งกลับคืนมาทั้งหมด จำเลยให้การว่า จำเลยไม่ได้ทำผิดสัญญาจ้าง จำเลยไม่เคยตกลงยินยอมซ่อมแซมสินค้าให้แก่โจทก์ สินค้าที่โจทก์ส่งไปให้จำเลยเพื่อให้ช่วยคิดหาวิธีแก้ไขนั้น มีสินค้าที่โจทก์ว่าจ้างบุคคลอื่นทำปะปนมาด้วยจำนวนหลายพันชิ้น โดยจำเลยไม่ได้ให้การว่าสินค้าเครื่องประดับดังกล่าวจำเลยรับจ้างชุบทองคำขาวกี่ชิ้นบุคคลอื่นรับจ้างชุบทองคำขาวให้แก่โจทก์กี่ชิ้น เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง คดีจึงไม่มีประเด็นว่าเครื่องประดับจำนวน 9,844 ชิ้น ที่ส่งคืนจากต่างประเทศและโจทก์ส่งให้แก่จำเลยทำให้ใหม่นั้น เป็นเครื่องประดับที่จำเลยรับจ้างทำจากโจทก์ทั้งหมดหรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้แล้ว ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกประเด็นดังกล่าวนี้เสียจึงชอบแล้ว
ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เป็นการฟ้องเรียกเงินที่เป็นราคาทรัพย์สินซึ่งเป็นเครื่องประดับจำนวน 640,568.73 บาท และค่าเสียหายที่เป็นกำไรจำนวน288,255.93 บาท ที่ฟ้องเรียกเงินที่เป็นราคาทรัพย์สินนั้น เนื่องจากจำเลยรับเอาสินค้าไปแก้ไขซ่อมแซมแล้วไม่ส่งกลับคืน จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ไม่เคยตกลงยินยอมจะซ่อมแซมสินค้าให้แก่โจทก์ที่โจทก์ส่งสินค้ามาให้ซ่อมแซม จำเลยไม่เคยปฏิเสธที่จะคืนให้แก่โจทก์ โจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย คดีจึงมีประเด็นว่า โจทก์จะฟ้องเรียกเอาราคาทรัพย์สินได้หรือไม่ด้วย แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 และมาตรา 183 เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นควรกำหนดประเด็นเพิ่มขึ้นและวินิจฉัยให้เสร็จไป โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่
เมื่อกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ได้แต่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่จำเลยตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215 แต่เมื่อไม่ปรากฏว่า ทรัพย์สินที่จำเลยรับไปซ่อมแซมนั้น จำเลยไม่ยอมคืนหรือได้สูญหายหรือบุบสลายไปทั้งหมด โจทก์จึงไม่อาจเรียกเอาราคาทรัพย์สินทั้งหมดเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งได้
คำฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยไม่ยอมคืนเครื่องประดับให้แก่โจทก์ แต่ทางนำสืบของโจทก์กลับได้ความว่า จำเลยจะต้องซ่อมแซมเครื่องประดับให้เสร็จและส่งมอบให้โจทก์ภายในกำหนด ต่อจากนั้นโจทก์ก็จะนำเครื่องประดับทั้งหมดส่งมอบแก่ลูกค้าของโจทก์ได้ จำเลยซ่อมแซมเครื่องประดับไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนดไว้และส่งคืนมาในภายหลัง โจทก์จึงไม่อาจส่งคืนให้แก่ลูกค้าได้ เพราะเครื่องประดับล้าสมัย ไม่มีประโยชน์แก่โจทก์ เครื่องประดับไม่มีราคาและขายไม่ได้ โจทก์จึงให้จำเลยรับผิดชอบราคาเครื่องประดับทั้งหมดนั้น กรณีเช่นว่านี้ หาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยไม่คืนเครื่องประดับดังที่โจทก์ฟ้องไม่ โจทก์จึงไม่อาจเอาราคาเครื่องประดับแทนตัวทรัพย์สินได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ตกลงว่าจ้างจำเลยให้ชุบทองคำขาวเครื่องประดับจำนวน13,285 ชิ้น แล้วโจทก์ได้ส่งสินค้าทั้งหมดไปจำหน่ายในประเทศฝรั่งเศส ต่อมาปรากฏว่าจำเลยปฏิบัติผิดสัญญา ไม่ได้ชุบทองคำขาวให้เป็นไปตามขั้นตอนที่ตกลงกัน บริษัทที่จำหน่ายสินค้าในประเทศฝรั่งเศสได้ส่งสินค้าคืนมาให้โจทก์จำนวน 9,844 ชิ้นโจทก์จึงได้ส่งสินค้าตามจำนวนดังกล่าวให้จำเลยจัดการแก้ไขให้ถูกต้องและบรรเทาความเสียหาย แต่จำเลยก็มิได้จัดการแก้ไขให้ถูกต้องตามสัญญา ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายสำหรับสินค้าที่ส่งกลับคืนมาทั้งหมด จำเลยให้การว่า จำเลยไม่ได้ทำผิดสัญญาจ้าง จำเลยไม่เคยตกลงยินยอมซ่อมแซมสินค้าให้แก่โจทก์ สินค้าที่โจทก์ส่งไปให้จำเลยเพื่อให้ช่วยคิดหาวิธีแก้ไขนั้น มีสินค้าที่โจทก์ว่าจ้างบุคคลอื่นทำปะปนมาด้วยจำนวนหลายพันชิ้น โดยจำเลยไม่ได้ให้การว่าสินค้าเครื่องประดับดังกล่าวจำเลยรับจ้างชุบทองคำขาวกี่ชิ้นบุคคลอื่นรับจ้างชุบทองคำขาวให้แก่โจทก์กี่ชิ้น เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง คดีจึงไม่มีประเด็นว่าเครื่องประดับจำนวน 9,844 ชิ้น ที่ส่งคืนจากต่างประเทศและโจทก์ส่งให้แก่จำเลยทำให้ใหม่นั้น เป็นเครื่องประดับที่จำเลยรับจ้างทำจากโจทก์ทั้งหมดหรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้แล้ว ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกประเด็นดังกล่าวนี้เสียจึงชอบแล้ว
ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เป็นการฟ้องเรียกเงินที่เป็นราคาทรัพย์สินซึ่งเป็นเครื่องประดับจำนวน 640,568.73 บาท และค่าเสียหายที่เป็นกำไรจำนวน288,255.93 บาท ที่ฟ้องเรียกเงินที่เป็นราคาทรัพย์สินนั้น เนื่องจากจำเลยรับเอาสินค้าไปแก้ไขซ่อมแซมแล้วไม่ส่งกลับคืน จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ไม่เคยตกลงยินยอมจะซ่อมแซมสินค้าให้แก่โจทก์ที่โจทก์ส่งสินค้ามาให้ซ่อมแซม จำเลยไม่เคยปฏิเสธที่จะคืนให้แก่โจทก์ โจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย คดีจึงมีประเด็นว่า โจทก์จะฟ้องเรียกเอาราคาทรัพย์สินได้หรือไม่ด้วย แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 และมาตรา 183 เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นควรกำหนดประเด็นเพิ่มขึ้นและวินิจฉัยให้เสร็จไป โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่
เมื่อกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ได้แต่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่จำเลยตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215 แต่เมื่อไม่ปรากฏว่า ทรัพย์สินที่จำเลยรับไปซ่อมแซมนั้น จำเลยไม่ยอมคืนหรือได้สูญหายหรือบุบสลายไปทั้งหมด โจทก์จึงไม่อาจเรียกเอาราคาทรัพย์สินทั้งหมดเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งได้
คำฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยไม่ยอมคืนเครื่องประดับให้แก่โจทก์ แต่ทางนำสืบของโจทก์กลับได้ความว่า จำเลยจะต้องซ่อมแซมเครื่องประดับให้เสร็จและส่งมอบให้โจทก์ภายในกำหนด ต่อจากนั้นโจทก์ก็จะนำเครื่องประดับทั้งหมดส่งมอบแก่ลูกค้าของโจทก์ได้ จำเลยซ่อมแซมเครื่องประดับไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนดไว้และส่งคืนมาในภายหลัง โจทก์จึงไม่อาจส่งคืนให้แก่ลูกค้าได้ เพราะเครื่องประดับล้าสมัย ไม่มีประโยชน์แก่โจทก์ เครื่องประดับไม่มีราคาและขายไม่ได้ โจทก์จึงให้จำเลยรับผิดชอบราคาเครื่องประดับทั้งหมดนั้น กรณีเช่นว่านี้ หาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยไม่คืนเครื่องประดับดังที่โจทก์ฟ้องไม่ โจทก์จึงไม่อาจเอาราคาเครื่องประดับแทนตัวทรัพย์สินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7513/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลให้ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมและการทิ้งคำร้องของผู้ร้องที่ไม่ได้รับการแจ้งคำสั่งโดยชอบ
ผู้ร้องมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดยระบุในคำร้องว่ายื่นคำร้องขอเลื่อนคดี รับทราบคำสั่งศาลกำหนดวันนัด แก้ไขคำผิดเล็กน้อย แถลงต่อศาลและตรวจสำนวนเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำร้องขอเลื่อนคดีโดยเฉพาะ หาได้มอบหมายให้ดำเนินการนอกเหนือไปจากการขอเลื่อนคดีไม่ที่โจทก์ยื่นคำแถลงคัดค้านเกี่ยวกับจำนวนทุนทรัพย์ที่ดินพิพาทว่ามีราคาน้อยกว่าราคาที่เป็นจริง ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งในวันเดียวกันนั้นให้ผู้ร้องชำระค่าขึ้นศาลในส่วนที่ขาดเพิ่มขึ้นให้ถูกต้อง ให้ผู้ร้องนำเงินมาวางศาลในนัดต่อไปแม้เสมียนทนายผู้ร้องจะลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลก็จะถือว่าทนายผู้ร้องหรือผู้ร้องรับทราบคำสั่งของศาลโดยชอบแล้วหาได้ไม่ เพราะเป็นการนอกเหนือจากที่เสมียนทนายผู้ร้องจะรับทราบตามที่ทนายผู้ร้องได้มอบฉันทะมาและกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ที่จะถือว่าผู้ร้องทิ้งคำร้องนั้นต้องได้ความว่าผู้ร้องเพิกถอนไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยได้ส่งคำสั่งให้แก่ผู้ร้องโดยชอบแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้ส่งคำสั่งให้ผู้ร้องชำระค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่จะถือว่าผู้ร้องทราบคำสั่งของศาลโดยชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ร้องไม่นำค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่มาชำระถือว่าผู้ร้องทิ้งคำร้องทันที โดยไม่ได้มีคำสั่งให้ทนายผู้ร้องและผู้ร้องที่มาศาลในวันดังกล่าวรับทราบคำสั่งโดยกำหนดเวลาตามสมควรให้ปฏิบัติ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่ในชั้นอุทธรณ์ตามอุทธรณ์ของผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่าผู้ร้องทิ้งคำร้องด้วยเหตุดังกล่าว คงเพียงแต่โต้แย้งเรื่องการประเมินราคาที่ดินพิพาทว่าเป็นการไม่ชอบเท่านั้น ซึ่งเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ฎีกาผู้ร้องจึงไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7187/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค้ำประกันเบิกเกินบัญชี, สัญญาค้ำประกัน, การแปลงหนี้, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, ดอกเบี้ยทบต้น
ข้อตกลงการคิดดอกเบี้ยในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่ให้เป็นไปตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคาร หมายความว่าให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีของธนาคารพาณิชย์ ส่วนอัตราดอกเบี้ยต้องถือตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี แม้ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ก็ไม่ทำให้ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยซึ่งจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในอัตราร้อยละ15 ต่อปีเปลี่ยนแปลงไป โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปีตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
จำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ และจะชำระให้เป็นรายเดือนมิได้มีการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ลูกหนี้หรือสาระสำคัญแห่งหนี้อันจะถือว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ มูลหนี้เดิมจึงไม่ระงับ การที่มีบุคคลอื่นมาค้ำประกันจำเลยที่ 1ต่อโจทก์อีกไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเดิมพ้นความรับผิด
จำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ และจะชำระให้เป็นรายเดือนมิได้มีการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ลูกหนี้หรือสาระสำคัญแห่งหนี้อันจะถือว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ มูลหนี้เดิมจึงไม่ระงับ การที่มีบุคคลอื่นมาค้ำประกันจำเลยที่ 1ต่อโจทก์อีกไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเดิมพ้นความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7079/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง, ผลกระทบต่อการดำเนินคดี, และการบังคับคดีตามคำพิพากษาเดิม
วัตถุประสงค์ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 ที่ให้โจทก์หรือจำเลยจะแก้ไขข้อหา ข้อต่อสู้ ข้ออ้าง หรือข้อเถียง อันกล่าวไว้ในคำฟ้องหรือคำให้การที่เสนอต่อศาลแต่แรกได้นั้น ก็เพื่อให้โอกาสแก่โจทก์หรือจำเลยแก้ไขข้อบกพร่องผิดพลาดที่มีอยู่ในคำฟ้องหรือคำให้การเพื่อให้มีความสมบูรณ์ คำฟ้องของโจทก์คดีนี้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว เป็นคำฟ้องที่บริบูรณ์ คำฟ้องของโจทก์เมื่ออ่านแล้วก็สามารถเข้าใจในคำฟ้องได้ดีอยู่แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องที่เป็นเพียงรายละเอียดได้หรือไม่ ก็ไม่ทำให้ข้อเท็จจริงหรือในที่สุดผลของคดีจะเปลี่ยนแปลงไปการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องและให้ยกคำร้องเสียนั้นชอบแล้ว
จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนในส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ครึ่งหนึ่ง จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ และโจทก์อยู่ในฐานะเป็นตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อ การที่จำเลยที่ 1 ทำที่ดินไปขายฝากแก่สามีจำเลยที่ 2 ก็ต้องถือว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 ทำการออกหน้าเป็นตัวการในการขายฝากโจทก์จึงหาอาจจะทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของสามีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันเขามีต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทน และสามีจำเลยที่ 2 ขวนขวายได้มาแต่ก่อนที่จะรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 806 การขายฝากที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่สามีจำเลยที่ 2 จึงมีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของโจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการขายฝากที่ดินพิพาท เป็นการฟ้องร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทคืนมาเป็นของโจทก์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งว่า คดีพอวินิจฉัยได้จึงงดสืบพยานแล้วพิพากษาไปโดยข้อกฎหมาย เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาโดยขอให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องและสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป จึงเป็นการอุทธรณ์ตามมาตรา 227 ซึ่งตาราง 1 ข้อ 2 ข.ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กำหนดให้เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์จำนวน 200,000 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์ และแม้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาใหม่ และจำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 และให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้อง ก็เห็นได้ว่าเป็นคำขอให้จำเลยที่ 2 ชนะคดีในประเด็นอำนาจฟ้องของโจทก์ดังข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นอันเป็นข้อกฎหมายนั่นเอง จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์
จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนในส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ครึ่งหนึ่ง จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ และโจทก์อยู่ในฐานะเป็นตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อ การที่จำเลยที่ 1 ทำที่ดินไปขายฝากแก่สามีจำเลยที่ 2 ก็ต้องถือว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 ทำการออกหน้าเป็นตัวการในการขายฝากโจทก์จึงหาอาจจะทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของสามีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันเขามีต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทน และสามีจำเลยที่ 2 ขวนขวายได้มาแต่ก่อนที่จะรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 806 การขายฝากที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่สามีจำเลยที่ 2 จึงมีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของโจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการขายฝากที่ดินพิพาท เป็นการฟ้องร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทคืนมาเป็นของโจทก์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งว่า คดีพอวินิจฉัยได้จึงงดสืบพยานแล้วพิพากษาไปโดยข้อกฎหมาย เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาโดยขอให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องและสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป จึงเป็นการอุทธรณ์ตามมาตรา 227 ซึ่งตาราง 1 ข้อ 2 ข.ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กำหนดให้เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์จำนวน 200,000 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์ และแม้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาใหม่ และจำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 และให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้อง ก็เห็นได้ว่าเป็นคำขอให้จำเลยที่ 2 ชนะคดีในประเด็นอำนาจฟ้องของโจทก์ดังข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นอันเป็นข้อกฎหมายนั่นเอง จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7079/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายฝากที่ดินโดยตัวแทนที่ไม่เปิดเผยชื่อ ผลผูกพันต่อโจทก์และค่าขึ้นศาล
การที่จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นการมีชื่อแทนในส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ครึ่งหนึ่ง จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ และโจทก์อยู่ในฐานะเป็นตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อ เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดนำที่ดินไปขายฝากแก่สามีจำเลยที่ 2 ก็ต้องถือว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 ทำการออกหน้าเป็นตัวการในการขายฝาก โจทก์หาอาจจะทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของสามีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันเขามีต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนและสามีจำเลยที่ 2 ขวนขวายได้มาแต่ก่อนที่จะรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 806 การขายฝากที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่สามีจำเลยที่ 2 จึงมีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของโจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการขายฝากที่ดินพิพาท เป็นการฟ้องร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทคืนมาเป็นของโจทก์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งว่า คดีพอวินิจฉัยได้จึงงดสืบพยานแล้วพิพากษาคดีไปโดยข้อกฎหมายนั้น เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 24 เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาโดยขอให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องและสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป จึงเป็นการอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ซึ่งตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กำหนดให้เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์จำนวน 200,000 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์ และแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาใหม่ และจำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 และให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้อง เห็นได้ว่าเป็นคำขอให้จำเลยที่ 2 ชนะคดีในประเด็นอำนาจฟ้องของโจทก์ดังข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นอันเป็นข้อกฎหมายนั่นเอง กรณีจึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการขายฝากที่ดินพิพาท เป็นการฟ้องร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทคืนมาเป็นของโจทก์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งว่า คดีพอวินิจฉัยได้จึงงดสืบพยานแล้วพิพากษาคดีไปโดยข้อกฎหมายนั้น เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 24 เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาโดยขอให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องและสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป จึงเป็นการอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ซึ่งตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กำหนดให้เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์จำนวน 200,000 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์ และแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาใหม่ และจำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 และให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้อง เห็นได้ว่าเป็นคำขอให้จำเลยที่ 2 ชนะคดีในประเด็นอำนาจฟ้องของโจทก์ดังข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นอันเป็นข้อกฎหมายนั่นเอง กรณีจึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7079/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง, ตัวแทน, การขายฝาก, และค่าขึ้นศาล: ผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
วัตถุประสงค์ของ ป.วิ.พ.มาตรา 179 ที่ให้โจทก์หรือจำเลยจะแก้ไขข้อหา ข้อต่อสู้ ข้ออ้าง หรือข้อเถียง อันกล่าวไว้ในคำฟ้องหรือคำให้การที่เสนอต่อศาลแต่แรกได้นั้น ก็เพื่อให้โอกาสแก่โจทก์หรือจำเลยแก้ไขข้อบกพร่องผิดพลาดที่มีอยู่ในคำฟ้องหรือคำให้การเพื่อให้มีความสมบูรณ์ คำฟ้องของโจทก์คดีนี้ แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว เป็นคำฟ้องที่บริบูรณ์ คำฟ้องของโจทก์เมื่ออ่านแล้วก็สามารถเข้าใจในคำฟ้องได้ดีอยู่แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องที่เป็นเพียงรายละเอียดได้หรือไม่ ก็ไม่ทำให้ข้อเท็จจริงหรือในที่สุดผลของคดีจะเปลี่ยนแปลงไปการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องและให้ยกคำร้องเสียนั้นชอบแล้ว
จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนในส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ครึ่งหนึ่ง จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ และโจทก์อยู่ในฐานะเป็นตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อ การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินไปขายฝากแก่สามีจำเลยที่ 2 ก็ต้องถือว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 ทำการออกหน้าเป็นตัวการในการขายฝาก โจทก์จึงหาอาจจะทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของสามีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันเขามีต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทน และสามีจำเลยที่ 2 ขวนขวายได้มาแต่ก่อนที่จะรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนไม่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 806 การขายฝากที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่สามีจำเลยที่ 2 จึงมีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของโจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการขายฝากที่ดินพิพาท เป็นการฟ้องร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทคืนมาเป็นของโจทก์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งว่า คดีพอวินิจฉัยได้ จึงงดสืบพยานแล้วพิพากษาไปโดยข้อกฎหมาย เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาโดยขอให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องและสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป จึงเป็นการอุทธรณ์ตามมาตรา 227 ซึ่งตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้าย ป.วิ.พ.กำหนดให้เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาทแต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์จำนวน 200,000 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์ และแม้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาใหม่ และจำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 และให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้อง ก็เห็นได้ว่าเป็นคำขอให้จำเลยที่ 2 ชนะคดีในประเด็นอำนาจฟ้องของโจทก์ดังข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นอันเป็นข้อกฎหมายนั่นเอง จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์
จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนในส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ครึ่งหนึ่ง จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ และโจทก์อยู่ในฐานะเป็นตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อ การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินไปขายฝากแก่สามีจำเลยที่ 2 ก็ต้องถือว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 ทำการออกหน้าเป็นตัวการในการขายฝาก โจทก์จึงหาอาจจะทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของสามีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันเขามีต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทน และสามีจำเลยที่ 2 ขวนขวายได้มาแต่ก่อนที่จะรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนไม่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 806 การขายฝากที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่สามีจำเลยที่ 2 จึงมีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของโจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการขายฝากที่ดินพิพาท เป็นการฟ้องร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทคืนมาเป็นของโจทก์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งว่า คดีพอวินิจฉัยได้ จึงงดสืบพยานแล้วพิพากษาไปโดยข้อกฎหมาย เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาโดยขอให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องและสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป จึงเป็นการอุทธรณ์ตามมาตรา 227 ซึ่งตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้าย ป.วิ.พ.กำหนดให้เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาทแต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์จำนวน 200,000 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์ และแม้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาใหม่ และจำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 และให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้อง ก็เห็นได้ว่าเป็นคำขอให้จำเลยที่ 2 ชนะคดีในประเด็นอำนาจฟ้องของโจทก์ดังข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นอันเป็นข้อกฎหมายนั่นเอง จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7079/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง, ผลผูกพันจากการขายฝาก, และค่าขึ้นศาลในคดีแพ่ง
วัตถุประสงค์ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 ที่ให้โจทก์หรือจำเลยจะแก้ไขข้อหา ข้อต่อสู้ ข้ออ้าง หรือข้อเถียง อันกล่าวไว้ในคำฟ้องหรือคำให้การที่เสนอต่อศาลแต่แรกได้นั้น ก็เพื่อให้โอกาสแก่โจทก์หรือจำเลยแก้ไขข้อบกพร่องผิดพลาดที่มีอยู่ในคำฟ้องหรือคำให้การเพื่อให้มีความสมบูรณ์ คำฟ้องของโจทก์คดีนี้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว เป็นคำฟ้องที่บริบูรณ์ คำฟ้องของโจทก์เมื่ออ่านแล้วก็สามารถเข้าใจในคำฟ้องได้ดีอยู่แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องที่เป็นเพียงรายละเอียดได้หรือไม่ ก็ไม่ทำให้ข้อเท็จจริงหรือในที่สุดผลของคดีจะเปลี่ยนแปลงไปการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องและให้ยกคำร้องเสียนั้นชอบแล้ว
จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนในส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ครึ่งหนึ่ง จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ และโจทก์อยู่ในฐานะเป็นตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อ การที่จำเลยที่ 1 ทำที่ดินไปขายฝากแก่สามีจำเลยที่ 2 ก็ต้องถือว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 ทำการออกหน้าเป็นตัวการในการขายฝากโจทก์จึงหาอาจจะทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของสามีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันเขามีต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทน และสามีจำเลยที่ 2 ขวนขวายได้มาแต่ก่อนที่จะรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 806 การขายฝากที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่สามีจำเลยที่ 2 จึงมีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของโจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการขายฝากที่ดินพิพาท เป็นการฟ้องร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทคืนมาเป็นของโจทก์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งว่า คดีพอวินิจฉัยได้จึงงดสืบพยานแล้วพิพากษาไปโดยข้อกฎหมาย เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาโดยขอให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องและสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป จึงเป็นการอุทธรณ์ตามมาตรา 227 ซึ่งตาราง 1 ข้อ 2 ข.ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กำหนดให้เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์จำนวน 200,000 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์ และแม้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาใหม่ และจำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 และให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้อง ก็เห็นได้ว่าเป็นคำขอให้จำเลยที่ 2 ชนะคดีในประเด็นอำนาจฟ้องของโจทก์ดังข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นอันเป็นข้อกฎหมายนั่นเอง จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์
จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนในส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ครึ่งหนึ่ง จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ และโจทก์อยู่ในฐานะเป็นตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อ การที่จำเลยที่ 1 ทำที่ดินไปขายฝากแก่สามีจำเลยที่ 2 ก็ต้องถือว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 ทำการออกหน้าเป็นตัวการในการขายฝากโจทก์จึงหาอาจจะทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของสามีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันเขามีต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทน และสามีจำเลยที่ 2 ขวนขวายได้มาแต่ก่อนที่จะรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 806 การขายฝากที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่สามีจำเลยที่ 2 จึงมีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของโจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการขายฝากที่ดินพิพาท เป็นการฟ้องร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทคืนมาเป็นของโจทก์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งว่า คดีพอวินิจฉัยได้จึงงดสืบพยานแล้วพิพากษาไปโดยข้อกฎหมาย เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาโดยขอให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องและสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป จึงเป็นการอุทธรณ์ตามมาตรา 227 ซึ่งตาราง 1 ข้อ 2 ข.ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กำหนดให้เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์จำนวน 200,000 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์ และแม้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาใหม่ และจำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 และให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้อง ก็เห็นได้ว่าเป็นคำขอให้จำเลยที่ 2 ชนะคดีในประเด็นอำนาจฟ้องของโจทก์ดังข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นอันเป็นข้อกฎหมายนั่นเอง จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6822/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษกักขังต่อกันเมื่อศาลลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก และประเด็นการอุทธรณ์เพื่อให้นับโทษต่อ
เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย แต่โทษจำคุกจำเลยไม่เกินสามเดือนจึงให้ลงโทษกักขังแทน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 23 และกำหนดวันเวลากักขังคงเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในคำพิพากษา ดังนั้นเมื่อโทษกักขังเป็นเพียงโทษที่ลงแทนโทษจำคุก ศาลจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 22 ให้นับโทษกักขังติดต่อกันได้
แม้โจทก์จะขอให้นับโทษต่อในคดีซึ่งมิได้อุทธรณ์ก็ตาม แต่การที่จะนับโทษต่อกันนั้นต้องพิจารณาจากคดีที่พิพากษาในภายหลังว่าจะนับโทษต่อได้หรือไม่ ดังนั้นคดีที่ต้องอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาเรื่องการนับโทษต่อ จึงต้องเป็นคดีนี้ ซึ่งเป็นคดีที่พิพากษาในภายหลัง หาใช่อุทธรณ์ในคดีก่อนหรืออุทธรณ์พร้อมกันทั้งสองคดีไม่
แม้โจทก์จะขอให้นับโทษต่อในคดีซึ่งมิได้อุทธรณ์ก็ตาม แต่การที่จะนับโทษต่อกันนั้นต้องพิจารณาจากคดีที่พิพากษาในภายหลังว่าจะนับโทษต่อได้หรือไม่ ดังนั้นคดีที่ต้องอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาเรื่องการนับโทษต่อ จึงต้องเป็นคดีนี้ ซึ่งเป็นคดีที่พิพากษาในภายหลัง หาใช่อุทธรณ์ในคดีก่อนหรืออุทธรณ์พร้อมกันทั้งสองคดีไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6822/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษกักขังแทนโทษจำคุก และคดีที่ต้องอุทธรณ์เพื่อพิจารณาการนับโทษต่อ
เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย แต่โทษจำคุกจำเลยไม่เกินสามเดือน จึงให้ลงโทษกักขังแทน ตาม ป.อ.มาตรา 23 และกำหนดวันเวลากักขังคงเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในคำพิพากษา ดังนั้นเมื่อโทษกักขังเป็นเพียงโทษที่ลงแทนโทษจำคุก ศาลจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 22 ให้นับโทษกักขังติดต่อกันได้
แม้โจทก์จะขอให้นับโทษต่อในคดีซึ่งมิได้อุทธรณ์ก็ตาม แต่การที่จะนับโทษต่อกันนั้นต้องพิจารณาจากคดีที่พิพากษาในภายหลังว่าจะนับโทษต่อได้หรือไม่ ดังนั้น คดีที่ต้องอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาเรื่องการนับโทษต่อ จึงต้องเป็นคดีนี้ ซึ่งเป็นคดีที่พิพากษาในภายหลัง หาใช่อุทธรณ์ในคดีก่อนหรืออุทธรณ์พร้อมกันทั้งสองคดีไม่
แม้โจทก์จะขอให้นับโทษต่อในคดีซึ่งมิได้อุทธรณ์ก็ตาม แต่การที่จะนับโทษต่อกันนั้นต้องพิจารณาจากคดีที่พิพากษาในภายหลังว่าจะนับโทษต่อได้หรือไม่ ดังนั้น คดีที่ต้องอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาเรื่องการนับโทษต่อ จึงต้องเป็นคดีนี้ ซึ่งเป็นคดีที่พิพากษาในภายหลัง หาใช่อุทธรณ์ในคดีก่อนหรืออุทธรณ์พร้อมกันทั้งสองคดีไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6822/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษกักขังต่อจากโทษจำคุกที่ศาลเปลี่ยนโทษ และประเด็นการอุทธรณ์เพื่อขอนับโทษต่อ
เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย แต่โทษจำคุกจำเลยไม่เกินสามเดือนจึงให้ลงโทษกักขังแทน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 23 และกำหนดวันเวลากักขังคงเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในคำพิพากษา ดังนั้นเมื่อโทษกักขังเป็นเพียงโทษที่ลงแทนโทษจำคุก ศาลจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 22 ให้นับโทษกักขังติดต่อกันได้
แม้โจทก์จะขอให้นับโทษต่อในคดีซึ่งมิได้อุทธรณ์ก็ตาม แต่การที่จะนับโทษต่อกันนั้นต้องพิจารณาจากคดีที่พิพากษาในภายหลังว่าจะนับโทษต่อได้หรือไม่ ดังนั้นคดีที่ต้องอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาเรื่องการนับโทษต่อ จึงต้องเป็นคดีนี้ ซึ่งเป็นคดีที่พิพากษาในภายหลัง หาใช่อุทธรณ์ในคดีก่อนหรืออุทธรณ์พร้อมกันทั้งสองคดีไม่
แม้โจทก์จะขอให้นับโทษต่อในคดีซึ่งมิได้อุทธรณ์ก็ตาม แต่การที่จะนับโทษต่อกันนั้นต้องพิจารณาจากคดีที่พิพากษาในภายหลังว่าจะนับโทษต่อได้หรือไม่ ดังนั้นคดีที่ต้องอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาเรื่องการนับโทษต่อ จึงต้องเป็นคดีนี้ ซึ่งเป็นคดีที่พิพากษาในภายหลัง หาใช่อุทธรณ์ในคดีก่อนหรืออุทธรณ์พร้อมกันทั้งสองคดีไม่