พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6690/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดที่ดินหลังศาลฎีกาพิพากษาให้ระงับการแบ่งแยก และผลกระทบต่อผู้ซื้อที่ดินโดยสุจริต
ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ระงับการนำรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทจนกว่าคดีที่โจทก์จำเลยถูกฟ้องจะถึงที่สุด โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทและนำไปโอนขายให้แก่ผู้ร้องมาแต่ต้น ผู้ร้องจะอ้างว่าโจทก์ได้ทำการรังวัดแบ่งแยกเสร็จเรียบร้อยแล้วและโอนขายให้แก่ผู้ร้องก่อนมีคำพิพากษาศาลฎีกาไม่ได้ คดีไม่เกี่ยวกับเรื่องคำพิพากษาผูกพันเฉพาะคู่ความโดยไม่ผูกพันผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกหรือในฐานะผู้ซื้อซึ่งรับโอนโดยสุจริต จำเลยมีสิทธิขออายัดการทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6690/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดที่ดินหลังศาลฎีกาพิพากษาให้ระงับการแบ่งแยก และสิทธิของผู้ซื้อที่ดินโดยสุจริต
ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ระงับการนำรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทจนกว่าคดีที่โจทก์จำเลยถูกฟ้องจะถึงที่สุด โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทและนำไปโอนขายให้แก่ผู้ร้องมาแต่ต้น ผู้ร้องจะอ้างว่าโจทก์ได้ทำการรังวัดแบ่งแยกเสร็จเรียบร้อยแล้วและโอนขายให้แก่ผู้ร้องก่อนมีคำพิพากษาศาลฎีกาไม่ได้ คดีไม่เกี่ยวกับเรื่องคำพิพากษาผูกพันเฉพาะคู่ความโดยไม่ผูกพันผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกหรือในฐานะผู้ซื้อซึ่งรับโอนโดยสุจริต จำเลยมีสิทธิขออายัดการทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6153/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันและผลของการทำหนังสือรับสภาพหนี้ใหม่ การแปลงหนี้ และอายุความ
จำเลยที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 โดยอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินและค้ำประกันจำเลยที่ 1 ที่ได้กู้ยืมเงินจากโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้กับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกัน เมื่อการทำหนังสือรับสภาพหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามสิทธิเรียกร้องเป็นเพียงเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้อันจะทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่ดังนี้ จำเลยที่ 4 จึงยังต้องผูกพันในฐานะตามสัญญาค้ำประกันที่ตนทำไว้กับโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6153/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันและการแปลงหนี้: สิทธิของผู้ค้ำประกันเมื่อมีการทำสัญญาใหม่
จำเลยที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 โดยอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินและค้ำประกันจำเลยที่ 1 ที่ได้กู้ยืมเงินจากโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้กับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกัน เมื่อการทำหนังสือรับสภาพหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามสิทธิเรียกร้องเป็นเพียงเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/14 หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยที่ 1ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้อันจะทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่ ดังนี้ จำเลยที่ 4 จึงยังต้องผูกพันในฐานะตามสัญญาค้ำประกันที่ตนทำไว้กับโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6133/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่างานหลังเลิกสัญญา: ค่างานที่ทำไปแล้วต้องชดใช้ตามควรค่า แม้มีการเลิกสัญญา
จำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างอาคารในที่ดินของจำเลย รวมค่าก่อสร้างเป็นเงิน 1,260,000 บาท ตกลงแบ่งชำระค่าก่อสร้างเป็น 4 งวด งวดที่ 1 เป็นเงิน 300,000 บาท ภายหลังมีการเลิกสัญญาก่อสร้างเมื่อโจทก์ก่อสร้างอาคารให้จำเลยจนครบงวดงานที่ 1 แล้ว โดยจำเลยชำระค่าวัสดุแทนโจทก์ไปจำนวน 132,612 บาท และโจทก์เบิกเงินค่าแรงงานไปจากจำเลยจำนวน 82,832 บาท จำเลยคงค้างค่างานอยู่อีก 84,556 บาท เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้วคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมส่วนที่เป็นงานอันได้กระทำให้แก่กันแล้ว ให้ชดใช้กันด้วยเงินตามควรค่าแห่งงานนั้น ๆ ดังนี้ เมื่อขณะที่ยังมีข้อสัญญาที่ต้องปฏิบัติต่อกันโจทก์ได้ทำงานให้แก่จำเลยไปบ้างแล้ว ภายหลังเมื่อมีการเลิกสัญญา จำเลยย่อมต้องใช้ค่างานแก่โจทก์ตามที่ได้กระทำให้จำเลยไปแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่างานที่เหลือจำนวน 84,556 บาท จากจำเลยได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6133/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาก่อสร้าง: สิทธิเรียกร้องค่าค่างานที่ทำเสร็จแล้ว
จำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างอาคารในที่ดินของจำเลย รวมค่าก่อสร้างเป็นเงิน 1,260,000 บาท ตกลงแบ่งชำระค่าก่อสร้างเป็น 4 งวด งวดที่ 1 เป็นเงิน 300,000 บาทภายหลังมีการเลิกสัญญาก่อสร้างเมื่อโจทก์ก่อสร้างอาคารให้จำเลยจนครบงวดงานที่ 1 แล้ว โดยจำเลยชำระค่าวัสดุแทนโจทก์ ไปจำนวน 132,612 บาท และโจทก์เบิกเงินค่าแรงงานไปจากจำเลย จำนวน 82,832 บาท จำเลยคงค้างงานอยู่อีก 84,556 บาท เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้วคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมส่วนที่เป็นงานอันได้กระทำให้แก่กันแล้ว ให้ชดใช้กันด้วยเงินตามควรค่าแห่งงานนั้น ๆ ดังนี้ เมื่อขณะที่ยังมีข้อสัญญาที่ต้องปฏิบัติต่อกันโจทก์ได้ทำงานให้แก่จำเลยไปบ้างแล้ว ภายหลังเมื่อมีการเลิกสัญญา จำเลยย่อมต้อง ใช้ค่างานแก่โจทก์ตามที่ได้กระทำให้จำเลยไปแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่างานที่เหลือจำนวน 84,556 บาทจากจำเลยได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5988/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานทุจริตเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเกินอัตราและนำเงินไปเป็นประโยชน์ส่วนตน มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน ควบคุมและจัดเก็บค่าธรรมเนียม ตลอดทั้งภาษีเกี่ยวกับการโอนอสังหาริมทรัพย์เพื่อนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน แต่จำเลยกลับรับค่าธรรมเนียมดังกล่าวโดยไม่ออกใบเสร็จรับเงินแล้วนำเงินไปเป็นประโยชน์ส่วนตน รวมทั้งเรียกเก็บเงินเกินอัตราที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองอันเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
วันเวลาเกิดเหตุในคำฟ้องเป็นเพียงรายละเอียด ไม่ใช่สาระสำคัญของคำฟ้องแม้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเวลากระทำผิดที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเวลาที่กล่าวในฟ้อง แต่จำเลยก็นำสืบรับว่าได้เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ดังนี้ จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง
กรณีที่เจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้น ต้องเป็นหน้าที่โดยตรงตามกฎหมายหรือที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงย่อมไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ จ. ฉ.และช. แต่เพียงว่า จำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน ควบคุมและดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมภาษีเงินได้เกี่ยวกับการโอนอสังหาริมทรัพย์ มิได้บรรยายว่า จำเลยมีหน้าที่ในการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือรับค่าธรรมเนียมการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ด้วยแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยดังที่โจทก์บรรยายในฟ้องข้อ จ. ฉ.และช. ดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
วันเวลาเกิดเหตุในคำฟ้องเป็นเพียงรายละเอียด ไม่ใช่สาระสำคัญของคำฟ้องแม้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเวลากระทำผิดที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเวลาที่กล่าวในฟ้อง แต่จำเลยก็นำสืบรับว่าได้เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ดังนี้ จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง
กรณีที่เจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้น ต้องเป็นหน้าที่โดยตรงตามกฎหมายหรือที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงย่อมไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ จ. ฉ.และช. แต่เพียงว่า จำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน ควบคุมและดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมภาษีเงินได้เกี่ยวกับการโอนอสังหาริมทรัพย์ มิได้บรรยายว่า จำเลยมีหน้าที่ในการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือรับค่าธรรมเนียมการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ด้วยแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยดังที่โจทก์บรรยายในฟ้องข้อ จ. ฉ.และช. ดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5988/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าพนักงานตามมาตรา 157: การปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตและขอบเขตหน้าที่
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน ควบคุมและจัดเก็บค่าธรรมเนียม ตลอดทั้งภาษีเกี่ยวกับการโอนอสังหาริมทรัพย์เพื่อนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน แต่จำเลยกลับรับค่าธรรมเนียมดังกล่าวโดยไม่ออกใบเสร็จรับเงินแล้วนำเงินไปเป็นประโยชน์ส่วนตน รวมทั้งเรียกเก็บเงินเกินอัตราที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองอันเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157
วันเวลาเกิดเหตุในคำฟ้องเป็นเพียงรายละเอียด ไม่ใช่สาระสำคัญของคำฟ้อง แม้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเวลากระทำผิดที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเวลาที่กล่าวในฟ้อง แต่จำเลยก็นำสืบรับว่าได้เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ดังนี้ จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสอง
กรณีที่เจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตอันจะเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา157 การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้น ต้องเป็นหน้าที่โดยตรงตามกฎหมายหรือที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงย่อมไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ จ. ฉ.และ ช.แต่เพียงว่า จำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน ควบคุมและดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมภาษีเงินได้เกี่ยวกับการโอนอสังหาริมทรัพย์ มิได้บรรยายว่า จำเลยมีหน้าที่ในการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือรับค่าธรรมเนียมการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ด้วยแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยดังที่โจทก์บรรยายในฟ้องข้อ จ.ฉ. และ ช.ดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157
วันเวลาเกิดเหตุในคำฟ้องเป็นเพียงรายละเอียด ไม่ใช่สาระสำคัญของคำฟ้อง แม้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเวลากระทำผิดที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเวลาที่กล่าวในฟ้อง แต่จำเลยก็นำสืบรับว่าได้เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ดังนี้ จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสอง
กรณีที่เจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตอันจะเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา157 การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้น ต้องเป็นหน้าที่โดยตรงตามกฎหมายหรือที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงย่อมไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ จ. ฉ.และ ช.แต่เพียงว่า จำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน ควบคุมและดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมภาษีเงินได้เกี่ยวกับการโอนอสังหาริมทรัพย์ มิได้บรรยายว่า จำเลยมีหน้าที่ในการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือรับค่าธรรมเนียมการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ด้วยแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยดังที่โจทก์บรรยายในฟ้องข้อ จ.ฉ. และ ช.ดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5826/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับชำระหนี้และดอกเบี้ยจำนอง: หนักที่สุดก่อน, ดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญา
จำเลยที่ 1 มีความรับผิดตามสัญญาจำนองในต้นเงิน10,000,000 บาท และ 20,000,000 บาท ตามลำดับ ส่วนเรื่องดอกเบี้ยเมื่อสัญญาจำนองระบุว่าจำเลยที่ 1 จำนองที่ดินกับเครื่องจักรเป็นประกันหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ผู้ร้องในการกู้เงิน เบิกเงินเกินบัญชี และหนี้อื่นทุกประเภททั้งที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้อยู่แล้วในขณะทำสัญญาและหนี้ที่จะมีขึ้นในภายหน้า และจำเลยที่ 1ยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นให้ผู้ร้อง ดังนั้น การคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราใดต้องเป็นไปตามสัญญากู้เบิกเงินบัญชี ตั๋วสัญญาใช้เงิน หนังสือค้ำประกัน และสัญญากู้เงินอันเป็นมูลหนี้ประธาน ส่วนสัญญาจำนองเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์อันก่อให้เกิดสิทธิแก่เจ้าหนี้ในการที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์จำนอง
หนี้ประธานมี 4 ประเภท อัตราดอกเบี้ยและวิธีคิดดอกเบี้ยต่างกัน เมื่อปรากฏว่าหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นรายที่ตกหนักแก่จำเลยที่ 1 ที่สุด และหนี้ทุกประเภทเป็นหนี้ที่มีประกันเท่ากันและเงินที่ได้จากการบังคับจำนองไม่สามารถชำระหนี้ได้หมดทุกราย จึงต้องให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีก่อนตาม ป.พ.พ.มาตรา 328 วรรคสอง ดังนั้นการคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินจำนองจึงต้องคิดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี
เมื่อดอกเบี้ยที่ทบเข้าจนกลายเป็นต้นเงินเป็นจำนวน30,000,000 บาท เป็นวงเงินจำนองเต็มตามสัญญาจำนองที่ดินรวมกับสัญญาจำนองเครื่องจักรที่ทำขึ้น ซึ่งในวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ผู้ร้องเต็มตามวงเงินนั้นเป็นวันเริ่มต้นของการคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจำนองได้นับแต่วันนั้นเป็นต้นไปจนถึงวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1เลิกกัน หลังจากนั้นผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นได้จากต้นเงินจำนอง30,000,000 บาท
หนี้ประธานมี 4 ประเภท อัตราดอกเบี้ยและวิธีคิดดอกเบี้ยต่างกัน เมื่อปรากฏว่าหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นรายที่ตกหนักแก่จำเลยที่ 1 ที่สุด และหนี้ทุกประเภทเป็นหนี้ที่มีประกันเท่ากันและเงินที่ได้จากการบังคับจำนองไม่สามารถชำระหนี้ได้หมดทุกราย จึงต้องให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีก่อนตาม ป.พ.พ.มาตรา 328 วรรคสอง ดังนั้นการคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินจำนองจึงต้องคิดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี
เมื่อดอกเบี้ยที่ทบเข้าจนกลายเป็นต้นเงินเป็นจำนวน30,000,000 บาท เป็นวงเงินจำนองเต็มตามสัญญาจำนองที่ดินรวมกับสัญญาจำนองเครื่องจักรที่ทำขึ้น ซึ่งในวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ผู้ร้องเต็มตามวงเงินนั้นเป็นวันเริ่มต้นของการคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจำนองได้นับแต่วันนั้นเป็นต้นไปจนถึงวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1เลิกกัน หลังจากนั้นผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นได้จากต้นเงินจำนอง30,000,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5826/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชำระหนี้จำนองและดอกเบี้ยทบต้น อัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี
จำเลยที่ 1 มีความรับผิดตามสัญญาจำนองในต้นเงิน10,000,000 บาท และ 20,000,000 บาท ตามลำดับ ส่วนเรื่องดอกเบี้ยเมื่อสัญญาจำนองระบุว่าจำเลยที่ 1 จำนองที่ดินกับเครื่องจักรเป็นประกันหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ผู้ร้องในการกู้เงิน เบิกเงินเกินบัญชี และหนี้อื่นทุกประเภททั้งที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้อยู่แล้วในขณะทำสัญญาและหนี้ที่จะมีขึ้นในภายหน้า และจำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นให้ผู้ร้อง ดังนั้น การคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราใดต้องเป็นไปตามสัญญากู้เบิกเงินบัญชีตั๋วสัญญาใช้เงิน หนังสือค้ำประกัน และสัญญากู้เงินอันเป็นมูลหนี้ประธาน ส่วนสัญญาจำนองเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์อันก่อให้เกิดสิทธิแก่เจ้าหนี้ในการที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์จำนอง หนี้ประธานมี 4 ประเภท อัตราดอกเบี้ยและวิธีคิดดอกเบี้ยต่างกัน เมื่อปรากฏว่าหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นรายที่ตกหนักแก่จำเลยที่ 1 ที่สุด และหนี้ทุกประเภทเป็นหนี้ที่มีประกันเท่ากันและเงินที่ได้จากการบังคับจำนองไม่สามารถชำระหนี้ได้หมดทุกราย จึงต้องให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328 วรรคสอง ดังนั้นการคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินจำนองจึงต้องคิดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี เมื่อดอกเบี้ยที่ทบเข้าจนกลายเป็นต้นเงินเป็นจำนวน30,000,000 บาท เป็นวงเงินจำนองเต็มตามสัญญาจำนองที่ดินรวมกับสัญญาจำนองเครื่องจักรที่ทำขึ้น ซึ่งในวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ผู้ร้องเต็มตามวงเงินนั้นเป็นวันเริ่มต้นของการคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจำนองได้นับแต่วันนั้นเป็นต้นไปจนถึงวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 เลิกกัน หลังจากนั้นผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นได้จากต้นเงินจำนอง30,000,000 บาท