คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สิงหะ สัตยธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5760/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้: การผิดนัดชำระหนี้รายเดือนไม่ตัดสิทธิผู้ให้กู้ในการเรียกร้องหนี้ทั้งหมดก่อนกำหนด
ตามสัญญากู้เงินฉบับพิพาทมีข้อตกลงว่า จำเลยทั้งสองจะต้องชำระหนี้เป็นรายเดือนทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 5 ของเดือนแต่ถึงอย่างไรก็ดีจำเลยทั้งสองจะต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 19 พฤษภาคม 2541 และในตอนท้ายของสัญญายังระบุว่าไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้ให้กู้ที่จะเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ตามสัญญาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก่อนกำหนดที่กล่าวมาก็ได้ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควร โดยมิพักต้องชี้แจงแสดงเหตุ กับมีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาอีกว่า ถ้าผู้กู้ผิดไม่ชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยตามข้อตกลงแห่งสัญญากู้เงินฉบับพิพาทให้ถือว่าผู้กู้ผิดนัดทั้งหมดยินยอมให้คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี หรือเท่ากับอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมที่ธนาคารพาณิชย์ จะสามารถเรียกเก็บจากผู้กู้ได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นตามการแก่กรณี ทั้งนี้จนกว่าผู้กู้จะชำระหนี้คืนให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้เสร็จสิ้นเชิง ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามที่ได้ตกลงไว้ในข้อตกลง ต่อท้ายสัญญากู้เงินจึงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับเอาแก่จำเลยทั้งสองได้ ส่วนการที่จำเลยทั้งสองชำระหนี้บางส่วนหลังจากที่ตกเป็นฝ่าย ผิดสัญญาแล้ว ก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะรับชำระหนี้ได้ กรณีมิใช่การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5760/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงในสัญญากู้เงินและการบังคับชำระหนี้: การผิดนัดและดอกเบี้ย
ตามสัญญากู้เงินฉบับพิพาทมีข้อตกลงว่า จำเลยทั้งสองจะต้องชำระหนี้เป็นรายเดือนทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 5 ของเดือน แต่ถึงอย่างไรก็ดีจำเลยทั้งสองจะต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 19 พฤษภาคม 2541 และในตอนท้ายของสัญญายังระบุว่า ไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้ให้กู้ที่จะเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ตามสัญญาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก่อนกำหนดที่กล่าวมาก็ได้ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควร โดยมิพักต้องชี้แจงแสดงเหตุ กับมีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาอีกว่า ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยตามข้อตกลงแห่งสัญญากู้เงินฉบับพิพาทให้ถือว่าผู้กู้ผิดนัดทั้งหมด ยินยอมให้คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี หรือเท่ากับอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมที่ธนาคารพาณิชย์จะสามารถเรียกเก็บจากผู้กู้ได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นตามการแก่กรณี ทั้งนี้จนกว่าผู้กู้จะชำระหนี้คืนให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้เสร็จสิ้นเชิง ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามที่ได้ตกลงไว้ในข้อตกลงต่อท้ายสัญญากู้เงินจึงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับเอาแก่จำเลยทั้งสองได้
ส่วนการที่จำเลยทั้งสองชำระหนี้บางส่วนหลังจากที่ตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้ว ก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะรับชำระหนี้ได้ กรณีมิใช่การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาตาม ป.พ.พ.มาตรา 192

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5704/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงในสัญญาเช่าที่ดิน: กรรมสิทธิ์ในอาคารเมื่อผิดสัญญา
ตามสัญญาเช่าที่ดินระบุว่า หากผู้เช่าผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าผู้เช่ายินยอมให้ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาเช่าได้ แต่ต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือให้นำเงินค่าเช่ามาชำระ ถ้าผู้เช่าไม่นำเงินค่าเช่ามาชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำบอกกล่าว ให้อาคารที่ปลูกสร้างทั้งหมดตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า ดังนี้เมื่อจำเลยผู้เช่าตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่า และโจทก์ได้บอกกล่าวเป็นหนังสือให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างชำระแก่โจทก์ จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว ไม่ชำระค่าเช่าตามเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ อาคารที่ปลูกสร้างลงบนที่ดินของโจทก์จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามข้อสัญญาดังกล่าว กรณีมิใช่เป็นเรื่องเบี้ยปรับ
ด้วยอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ โจทก์มีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336เมื่ออาคารที่ปลูกสร้างตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แล้ว โจทก์ชอบที่จะใช้สอยหรือได้ซึ่งดอกผล การที่จำเลยยังคงอยู่ในอาคารพิพาทย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5704/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าและกรรมสิทธิ์ในอาคาร: การบอกเลิกสัญญาและการเรียกร้องค่าเสียหายจากการครอบครอง
ตามสัญญาเช่าที่ดินระบุว่า หากผู้เช่าผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าผู้เช่ายินยอมให้ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาเช่าได้ แต่ต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือให้นำเงินค่าเช่ามาชำระ ถ้าผู้เช่าไม่นำเงิน ค่าเช่ามาชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำบอกกล่าว ให้อาคารที่ปลูกสร้างทั้งหมดตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า ดังนี้ เมื่อจำเลยผู้เช่าตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่า และโจทก์ได้ บอกกล่าวเป็นหนังสือให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างชำระแก่โจทก์ จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว ไม่ชำระค่าเช่าตามเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ อาคารที่ปลูกสร้างลงบนที่ดินของโจทก์จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามข้อสัญญาดังกล่าว กรณีมิใช่เป็นเรื่องเบี้ยปรับ ด้วยอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ โจทก์มีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 เมื่ออาคารที่ปลูกสร้างตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แล้ว โจทก์ชอบที่จะใช้สอยหรือได้ซึ่งดอกผล การที่จำเลยยังคงอยู่ในอาคารพิพาทย่อมทำให้ โจทก์ได้รับความเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5678/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขชื่อโจทก์ในคำฟ้อง และอำนาจฟ้องซื้อขายสินค้าเงินเชื่อ แม้ชื่อบริษัทไม่ตรงกัน
เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องเป็นว่าโจทก์ชื่อบริษัทเซ็นโทซ่า จำกัด หรือบริษัทเซ็นโทซ่าดีพาร์ทเมนท์สโตร์ จำกัด แล้ว ชื่อของโจทก์จึงหาขัดแย้งกันไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นลูกค้าโจทก์ประเภทซื้อสินค้าเงินเชื่อ จำเลยและลูกค้าในความรับผิดชอบของจำเลยได้นำบัตรซื้อสินค้าเงินเชื่อมาซื้อสินค้าไปจากโจทก์ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2533 ถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2534จำเลยชำระค่าสินค้าบางส่วนแล้ว คงค้างชำระ 116,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ดังนี้คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนที่คำฟ้องของโจทก์มิได้ระบุว่าจำเลยหรือตัวแทนซื้อสินค้าจากโจทก์วันไหน สินค้าอะไรบ้าง และซื้อครั้งละเท่าไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบในชั้นพิจารณา คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ข้อที่จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์และฎีกาเป็นข้อที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้มาตั้งแต่ศาลชั้นต้นแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย เป็นการไม่ชอบและศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
แม้สัญญาซื้อขายสินค้าเงินเชื่อจะระบุชื่อโจทก์ว่าบริษัทเซ็นโทซ่าดีพาร์ทเมนท์สโตร์ จำกัด แต่ก็หมายถึงบริษัทเซ็นโทซ่า จำกัด โจทก์ในคดีนี้นั่นเองเพราะบริษัทเซ็นโทซ่าดีพาร์ทเมนท์สโตร์ จำกัด มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแต่อย่างใด หากแต่เป็นชื่อที่โจทก์ใช้ในทางการค้า จึงฟังได้ว่าจำเลยทำสัญญาซื้อขายสินค้าเงินเชื่อกับโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้องและนำสืบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5678/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ใช้ชื่อทางการค้าต่างจากชื่อจดทะเบียน และคำฟ้องไม่เคลือบคลุม
เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องเป็นว่าโจทก์ชื่อบริษัทเซ็นโทซ่า จำกัด หรือบริษัทเซ็นโทซ่าดีพาร์ทเมนท์สโตร์ จำกัด แล้ว ชื่อของโจทก์จึงหาขัดแย้งกันไม่ โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นลูกค้าโจทก์ประเภทซื้อสินค้า เงินเชื่อ จำเลยและลูกค้าในความรับผิดชอบของจำเลยได้นำบัตรซื้อสินค้าเงินเชื่อมาซื้อสินค้าไปจากโจทก์ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2533 ถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2534 จำเลยชำระค่าสินค้าบางส่วนแล้ว คงค้างชำระ 116,000 บาทพร้อมดอกเบี้ย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนที่คำฟ้องของโจทก์มิได้ระบุว่าจำเลยหรือตัวแทนซื้อสินค้าจากโจทก์วันไหน สินค้าอะไรบ้าง และซื้อครั้งละเท่าไรเป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบในชั้นพิจารณา คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ข้อที่จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์และฎีกาเป็นข้อที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้มา ตั้งแต่ศาลชั้นต้นแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย เป็นการไม่ชอบและศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย แม้สัญญาซื้อขายสินค้าเงินเชื่อจะระบุชื่อโจทก์ว่าบริษัทเซ็นโทซ่าดีพาร์ทเมนท์สโตร์ จำกัด แต่ก็หมายถึงบริษัทเซ็นโทซ่า จำกัด โจทก์ในคดีนี้นั่งเองเพราะบริษัทเซ็นโทซ่าดีพาร์ทเมนท์สโตร์ จำกัด มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแต่อย่างใด หากแต่เป็นชื่อที่โจทก์ใช้ในทางการค้าจึงฟังได้ว่าจำเลยทำสัญญาซื้อขายสินค้าเงินเชื่อกับโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้องและนำสืบ โจทก์จึงมี อำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5644/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์และผลของการบอกเลิกสัญญาหลังงานเสร็จ
คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดชำระค่าเสียหายจำนวน31,500 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 โจทก์อุทธรณ์ ดังนี้ ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์โจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224วรรคหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการไม่ชอบ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกา แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ก็ตาม ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิจารณาฎีกาของจำเลยที่ 1 ได้
สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างฉบับพิพาท ข้อ 20 ระบุว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างริบหลักประกันในสัญญาข้อ 3 ปรากฏว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ทำงานแล้วเสร็จเรียบร้อยและโจทก์ได้รับมอบงานจากจำเลยที่ 1ตามสัญญาแล้ว ถือว่าจำเลยที่ 1 ทำงานครบถ้วนตามสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมหมดสิทธิบอกเลิกสัญญา จำเลยที่ 1 ยังคงต้องรับผิดชอบต่องานที่โจทก์ได้รับมอบไปแล้วถ้ามีเหตุชำรุดเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาข้อ 6วรรคหนึ่ง ซึ่งหากจำเลยที่ 1 บิดพริ้วเพิกเฉย โจทก์มีสิทธิว่าจ้างผู้อื่นทำงานนั้นหรือทำการแก้ไขเองโดยจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อค่าแก้ไขซ่อมแซมเท่านั้น ดังนี้โจทก์จึงไม่มีสิทธิริบหลักประกันตามสัญญาข้อ 20

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5644/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีค่าเสียหายจากสัญญาจ้างเหมา และสิทธิการแก้ไขงานชำรุด
คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดชำระค่าเสียหายจำนวน 31,500 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1โจทก์อุทธรณ์ ดังนี้ ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์โจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการไม่ชอบ คดีสำหรับจำเลยที่ 1จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกาแม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ก็ตาม ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิจารณาฎีกาของจำเลยที่ 1 ได้ สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างฉบับพิพาท ข้อ 20 ระบุว่าถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างริบหลักประกันในสัญญาข้อ 3 ปรากฏว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ทำงานแล้วเสร็จเรียบร้อยและโจทก์ได้รับมอบงานจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาแล้วถือว่าจำเลยที่ 1 ทำงานครบถ้วนตามสัญญาแล้วโจทก์ย่อมหมดสิทธิบอกเลิกสัญญา จำเลยที่ 1 ยังคงต้องรับผิดชอบต่องานที่โจทก์ได้รับมอบไปแล้วถ้ามีเหตุชำรุดเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาข้อ 6 วรรคหนึ่งซึ่งหากจำเลยที่ 1 บิดพลิ้วเพิกเฉย โจทก์มีสิทธิว่าจ้างผู้อื่นทำงานนั้นหรือทำการแก้ไขเองโดยจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อค่าแก้ไขซ่อมแซมเท่านั้น ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิริบหลักประกันตามสัญญาข้อ 20

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5612/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบต้องทำภายใน 8 วันนับจากวันที่ทราบเหตุ
จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบอ้างว่า จำเลยไม่เคยแต่งตั้งให้ ว. เป็นทนายความการที่ว.อ้างว่าเป็นทนายความของจำเลย ขอรับสำเนาคำฟ้องแทน และแถลงว่าโจทก์จำเลยตกลงกันได้เป็นความเท็จ เป็นเหตุให้ศาลหลงเชื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความและพิพากษาตามยอม เป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายหากความจริงเป็นดังที่จำเลยอ้างย่อมถือได้ว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคหนึ่งแต่จำเลยต้องยกข้อค้านเรื่องผิดระเบียบนั้นไม่ช้ากว่าแปดวันนับแน่วันที่จำเลยทราบพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างตามวรรคสอง การที่จำเลยได้ยื่นคำร้องกล่าวหาว่า โจทก์และว.ละเมิดอำนาจศาล เนื่องจากพฤติการณ์ของ ว. ที่อ้างว่าเป็นทนายของจำเลยขอรับสำเนาคำฟ้อง และขอทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ ลายมือชื่อจำเลยในใบแต่งให้ ว. เป็นทนายความเป็นลายมือชื่อปลอม ซึ่งโจทก์รู้เห็นด้วย แสดงว่าจำเลยทราบพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างว่าผิดระเบียบตั้งแต่วันที่ยื่นคำร้องดังกล่าวเป็นอย่างช้า ดังนี้เมื่อจำเลยเพิ่งมายื่นคำร้องยกข้อค้านเรื่องผิดระเบียบนั้นเมื่อเกินกว่าแปดวัน จึงไม่ชอบตามมาตรา 27 วรรคสอง ชอบที่ศาลจะสั่งไม่รับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณา แม้ไม่เป็นประเด็นในชั้นฎีกา เมื่อคำร้องของจำเลยต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ถือว่าเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5612/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ: กรอบเวลาการยกข้อค้านและผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบอ้างว่า จำเลยไม่เคยแต่งตั้งให้ ว.เป็นทนายความ การที่ ว.อ้างว่าเป็นทนายความของจำเลย ขอรับสำเนาคำฟ้องแทน และแถลงว่าโจทก์จำเลยตกลงกันได้เป็นความเท็จ เป็นเหตุให้ศาลหลงเชื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความและพิพากษาตามยอม เป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหาย หากความจริงเป็นดังที่จำเลยอ้างย่อมถือได้ว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 วรรคหนึ่งแต่จำเลยต้องยกข้อค้านเรื่องผิดระเบียบนั้นไม่ช้ากว่าแปดวัน นับแต่วันที่จำเลยทราบพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างตามวรรคสอง
การที่จำเลยได้ยื่นคำร้องกล่าวหาว่า โจทก์และ ว.ละเมิดอำนาจศาล เนื่องจากพฤติการณ์ของ ว.ที่อ้างว่าเป็นทนายของจำเลยขอรับสำเนาคำฟ้อง และขอทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ ลายมือชื่อจำเลยในใบแต่งให้ ว.เป็นทนายความเป็นลายมือชื่อปลอม ซึ่งโจทก์รู้เห็นด้วย แสดงว่าจำเลยทราบพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างว่าผิดระเบียบตั้งแต่วันที่ยื่นคำร้องดังกล่าวเป็นอย่างช้า ดังนี้เมื่อจำเลยเพิ่งมายื่นคำร้องยกข้อค้านเรื่องผิดระเบียบนั้นเมื่อเกินกว่าแปดวัน จึงไม่ชอบตามมาตรา 27 วรรคสอง ชอบที่ศาลจะสั่งไม่รับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณา แม้ไม่เป็นประเด็นในชั้นฎีกา เมื่อคำร้องของจำเลยต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ถือว่าเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
of 17