คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สิงหะ สัตยธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1417/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน ผู้ซื้อทราบข้อจำกัดสิทธิ โจทก์สวมสิทธิขออนุญาตทำประโยชน์ ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
ก่อนทำสัญญาซื้อขายจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าที่ดินพิพาทอยู่ในโครงการกำหนดเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ทั้งหลังจากทำสัญญาซื้อขายแล้วในวันนั้นเองโจทก์ก็ได้ไปยื่นคำขอทำประโยชน์ ในที่ดินพิพาทต่อสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อขอรับหนังสืออนุญาต ให้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแทนจำเลย แสดงว่าโจทก์ทราบดีว่า ที่ดินพิพาทมิใช่ที่ดินอันอาจโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่กันได้ดังเช่น ที่ดินมีโฉนด การที่โจทก์ตกลงซื้อที่ดินพิพาทโดยรู้อยู่ว่า จำเลยมีเพียงสิทธิครอบครองและกำลังดำเนินการขอรับหนังสือ อนุญาตให้ทำประโยชน์ในที่ดินโดยมีเจตนาให้จำเลยโอนการครอบครอง ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เพื่อที่โจทก์จะสวมสิทธิของจำเลยไปดำเนินการขอออกหนังสืออนุญาตให้ทำประโยชน์ในที่ดินในนามของโจทก์ เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้มอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้ว โจทก์จะอ้างว่าการที่จำเลยไม่สามารถ โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่โจทก์ได้เป็นการผิดสัญญาซื้อขาย หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมีทุนทรัพย์จำกัดสิทธิอุทธรณ์: การกำหนดราคาที่ดิน น.ส.3 และผลกระทบต่อการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
โจทก์ จำเลย พิพาทสิทธิในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เป็นคดีมีทุนทรัพย์ และกำหนดราคาที่ดินพิพาทไว้ 10,000 บาทเมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้ ทั้งโจทก์และจำเลยต่างเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดตลอดมากรณีจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท จำเลยจึงต้อง ห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1321/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมีทุนทรัพย์เกิน 200,000 บาท และฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสามคนละหนึ่งในหกส่วน จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการโต้เถียงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทต่อกัน เป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อคดีมีทุนทรัพย์จำนวน 275,000 บาท โจทก์แต่ละคนมีสิทธิจะได้รับจำนวน 91,666.67 บาท ดังนั้น แม้ว่าโจทก์ทั้งสามจะฟ้องคดีรวมกันมา ก็ต้องคิดจำนวนทุนทรัพย์แยกจากกันตามส่วนที่โจทก์แต่ละคนจะได้รับซึ่งไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อฎีกาโจทก์ทั้งสามล้วนแต่เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง กรณีจึงเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงประเด็นข้อพิพาทโดยศาล ชอบธรรมหากประเด็นใหม่ครอบคลุมประเด็นเดิม
เดิมศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ข้อ 1 จำเลยทั้งสองเช่าที่ดินและค้างชำระค่าเช่าที่ดินโจทก์หรือไม่ เพียงใด ข้อ 2 โจทก์บอกเลิกการเช่าที่ดินโดยชอบหรือไม่ ข้อ 3 โจทก์เสียหายหรือไม่ เพียงใด ต่อมาศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่เป็นว่า ข้อ 1 ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 1 หรือไม่ และข้อ 2 จำเลยทั้งสองเช่าที่ดินพิพาทของโจทก์ที่ 1 จากโจทก์ที่ 2 และค้างชำระค่าเช่าหรือไม่ และค่าเสียหายของโจทก์มีเพียงใด เป็นเรื่องที่ศาลต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 1 หรือไม่ เมื่อฟังเป็นยุติว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 1 จึงจะมาพิจารณาต่อว่าจำเลยทั้งสองเช่าที่ดินพิพาทหรือไม่ หากฟังเป็นยุติว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ที่ 1 ก็ไม่ต้องพิจารณาต่อไปในเรื่องการเช่าและค่าเสียหายอีก จำเลยทั้งสองให้การและนำสืบว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองไม่เคยขายให้โจทก์ที่ 1 ไม่มีการเช่าที่ดินพิพาท อันเป็นการนำสืบไปตามประเด็นข้อพิพาทข้อ 1 เดิม และขณะเดียวกันก็สืบไปตามประเด็นข้อพิพาทข้อ 1 และข้อ 2 ใหม่ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ภายหลังไม่มีผลต่อการนำสืบและรับฟังข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของจำเลยทั้งสอง การที่ศาลชั้นต้นเพิกถอนการชี้สองสถานเดิมและกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ โดยมีเนื้อหาหรือข้อตามที่ครอบคลุมกว้างขวางขึ้น แต่ประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดใหม่ยังคงมีความหมายรวมอยู่ในประเด็นเดิมจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1234/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษคดียาเสพติดควรควบคู่การแก้ไขพฤติกรรมของผู้ติดยา การรอการลงโทษเหมาะสมกับโทษสถานเบา
โดยปกติความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดจะต้องประกอบด้วยการลงโทษและแก้ไขพฤติกรรมของผู้กระทำความผิดหรือจำเลยไปพร้อมกันจึงจะเกิดการสัมฤทธิผลตามหลักอาชญาวิทยาและทัณฑกรรม เนื่องจากผู้กระทำความผิดประเภทนี้ส่วนมากจะเป็นผู้ติดยาเสพติดและได้กระทำผิดเพราะติดยาหรือเสี้ยนยาซึ่งไม่เหมือนอาชญากรทั่ว ๆ ไป ฉะนั้นการตั้งสมมติฐานของโจทก์ไว้ว่าจะต้องลงโทษจำคุกจำเลยสถานเดียวแม้เป็นการกระทำความผิดในครั้งแรก อีกทั้งของกลางก็มีไม่มากจนเกินไปนั้นน่าจะไม่ต้องด้วยความประสงค์ของหลักการดังกล่าวการวางโทษจำคุกแต่รอการลงโทษไว้ ลงโทษปรับและคุมความประพฤติ จำเลยโดยให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติในระยะเวลาสั้น ๆ เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อการแก้ไขอีกทางหนึ่งจึงนับว่าเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเกี่ยวกับสิทธิในเงินค่ารถเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม
คำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยทั้งสามส่งมอบรถยนต์ อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาซื้อขายที่มีสภาพบกพร่องให้แก่โจทก์ เป็นการประพฤติผิดสัญญา ทำให้โจทก์เสียหายขอให้บังคับ จำเลยทั้งสามคืนเงิน 70,000 บาท ที่รับไปจากโจทก์และ ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วย จำเลยทั้งสามให้การว่า ได้ขับรถยนต์ และได้รับเงิน 70,000 บาทจากโจทก์จริง แต่ไม่จำเป็นต้อง คืนเงินดังกล่าวเพราะโจทก์ตกลงเลิกสัญญาซื้อขายกับจำเลย ทั้งสามแล้ว โดยโจทก์เปลี่ยนใจเช่าซื้อรถยนต์คันใหม่และยอมให้ถือ เอาเงิน 70,000 บาทนั้นเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าซื้อ นอกจากนี้ โจทก์ยังเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อ ทำให้จำเลยทั้งสามเสียหาย ขอให้บังคับโจทก์ชำระค่าเสียหายแก่จำเลยทั้งสาม เห็นได้ว่า โจทก์และจำเลยทั้งสามมีข้อพิพาทโดยตรงว่า โจทก์มีสิทธิ เรียกเงิน 70,000 บาทคืนจากจำเลยทั้งสามหรือไม่ แม้จะมีข้อเรียกร้องอื่นเกี่ยวกับค่าเสียหายที่ต่างฝ่ายยกขึ้น เป็นข้ออ้างข้อเพียงก็เป็นเรื่องเกี่ยวพันกับเงินจำนวน 70,000 บาทนั้นเอง ฉะนั้น คำฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสาม ที่อ้างว่ามีสิทธิริบเงิน 70,000 บาท จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ ฟ้องเดิมของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาซื้อขายแล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาเช่าซื้อ และสิทธิในการริบเงินดาวน์ หากผู้เช่าซื้อผิดนัด
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความชำรุดบกพร่องของรถยนต์ที่จำเลยทั้งสาม ขายให้โจทก์ โดยบรรยายฟ้องว่ารถยนต์คันดังกล่าวมีสภาพบกพร่อง เป็นเหตุให้เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติดังนี้ สภาพแห่งข้อหาของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสามส่งมอบรถยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาซื้อขายที่มีสภาพบกพร่องให้แก่โจทก์เป็นการประพฤติผิดสัญญาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และมีคำขอบังคับให้จำเลยคืนเงิน 70,000 บาท ที่รับไปจากโจทก์และชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วย จำเลยให้การรับว่า ได้ขายรถยนต์ให้แก่โจทก์และรับเงินจากโจทก์จริง แต่ต่อสู้ว่าจำเลยไม่จำต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ เพราะโจทก์กับจำเลยตกลงเลิกสัญญา ซื้อขายนั้นแล้ว โดยโจทก์เปลี่ยนใจเช่าซื้อรถยนต์คันใหม่ จากจำเลยและยอมให้ถือเอาเงิน 70,000 บาทนั้น เป็นส่วนหนึ่ง ของค่าเช่าซื้อ และโจทก์ยังเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อ เป็นเหตุให้จำเลยเสียหาย ขอให้บังคับโจทก์ชำระค่าเสียหาย แก่จำเลย ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์กับคำให้การ และฟ้องแย้งของจำเลยจึงฟังเป็นยุติว่า โจทก์ซื้อรถยนต์ จากจำเลยแล้วชำระราคาบางส่วนเป็นเงิน 70,000 บาท คงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายต้องรับผิดคืนเงินจำนวน 70,000 บาท และชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ หรือโจทก์กับจำเลยตกลงเลิกสัญญาซื้อขายแล้วเปลี่ยนมาผูกพันกันตามสัญญาเช่าซื้อ โดยโจทก์เช่าซื้อรถยนต์คันใหม่จากจำเลยและถือเอาเงิน 70,000 บาทนั้นเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าซื้อ แล้วโจทก์ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสามมีสิทธิรับเงิน70,000 บาท และเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ดังนั้นเมื่อโจทก์กับจำเลยมีข้อพิพาทโดยตรงว่า โจทก์มีสิทธิเรียกเงิน 70,000 บาท คืนจากจำเลยหรือไม่ แม้จะมีข้อเรียกร้องอื่น เกี่ยวกับค่าเสียหายที่ต่างฝ่ายยกขึ้นเป็นข้ออ้างข้อเถียง ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับเงินจำนวน 70,000 บาทนั้นเอง ฉะนั้น คำฟ้องแย้งของจำเลยที่อ้างว่ามีสิทธิริบเงิน 70,000 บาท จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมของโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม จึงชอบที่จะรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาซื้อขายและเปลี่ยนแปลงเป็นสัญญาเช่าซื้อ: การพิจารณาเรื่องเงินชำระค่าซื้อและการฟ้องแย้ง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความชำรุดบกพร่องของรถยนต์ที่จำเลยทั้งสามขายให้โจทก์ โดยบรรยายฟ้องว่ารถยนต์คันดังกล่าวมีสภาพบกพร่อง เป็นเหตุให้เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติ ดังนี้ สภาพแห่งข้อหาของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่า จำเลยทั้งสามส่งมอบรถยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาซื้อขายที่มีสภาพบกพร่องให้แก่โจทก์เป็นการประพฤติผิดสัญญาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และมีคำขอบังคับให้จำเลยคืนเงิน 70,000บาท ที่รับไปจากโจทก์และชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วย จำเลยให้การรับว่า ได้ขายรถยนต์ให้แก่โจทก์และรับเงินจากโจทก์จริง แต่ต่อสู้ว่าจำเลยไม่จำต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ เพราะโจทก์กับจำเลยตกลงเลิกสัญญาซื้อขายนั้นแล้ว โดยโจทก์เปลี่ยนใจเช่าซื้อรถยนต์คันใหม่จากจำเลยและยอมให้ถือเอาเงิน 70,000 บาทนั้นเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าซื้อ และโจทก์ยังเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อ เป็นเหตุให้จำเลยเสียหาย ขอให้บังคับโจทก์ชำระค่าเสียหายแก่จำเลย ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์กับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยจึงฟังเป็นยุติว่า โจทก์ซื้อรถยนต์จากจำเลยแล้วชำระราคาบางส่วนเป็นเงิน 70,000 บาท คงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายต้องรับผิดคืนเงินจำนวน 70,000 บาท และชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ หรือโจทก์กับจำเลยตกลงเลิกสัญญาซื้อขายแล้วเปลี่ยนมาผูกพันกันตามสัญญาเช่าซื้อ โดยโจทก์เช่าซื้อรถยนต์คันใหม่จากจำเลยและถือเอาเงิน 70,000 บาทนั้นเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าซื้อ แล้วโจทก์ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสามมีสิทธิริบเงิน 70,000 บาท และเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ดังนั้น เมื่อโจทก์กับจำเลยมีข้อพิพาทโดยตรงว่า โจทก์มีสิทธิเรียกเงิน 70,000 บาท คืนจากจำเลยหรือไม่ แม้จะมีข้อเรียกร้องอื่นเกี่ยวกับค่าเสียหายที่ต่างฝ่ายยกขึ้นเป็นข้ออ้างข้อเถียงก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับเงินจำนวน 70,000 บาทนั้นเอง ฉะนั้น คำฟ้องแย้งของจำเลยที่อ้างว่ามีสิทธิริบเงิน 70,000 บาท จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสาม จึงชอบที่จะรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกฟ้องจำเลยเนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ และขอบเขตความรับผิดทางอาญา
จำเลยที่ 1 มีเฮโรอีนของกลางน้ำหนัก 4.129 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเฮโรอีนดังกล่าวให้แก่สิบตำรวจเอก ค.กับสายลับที่ไปล่อซื้อ นอกจากนี้แล้วจำเลยที่ 1 ยังมีกัญชาแห้งจำนวน 1 ถุง น้ำหนัก580 กรัม ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่พยานหลักฐานของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 มีเหตุสงสัยตามสมควรว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1ในความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเฮโรอีนจริงหรือไม่ จึงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.อ.มาตรา227 วรรคสอง ดังนี้ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดฐานร่วมกับจำเลยที่ 1 มีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา185 แม้ความผิดฐานนี้ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้องในความผิดร่วมกันมีและจำหน่ายยาเสพติด เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ ศาลฎีกายกประโยชน์แห่งความสงสัยให้
จำเลยที่ 1 มีเฮโรอีนของกลางน้ำหนัก 4.129 กรัมไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเฮโรอีนดังกล่าวให้แก่สิบตำรวจเอก ค.กับสายลับที่ไปล่อซื้อ นอกจากนี้แล้วจำเลยที่ 1 ยังมีกัญชาแห้งจำนวน 1 ถุง น้ำหนัก 580 กรัมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่พยานหลักฐานของโจทก์ เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 มีเหตุสงสัยตามสมควรว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานมีเฮโรอีน ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเฮโรอีนจริงหรือไม่ จึงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยที่ 2ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสองดังนี้ ศาลฎีกายังมีอำนาจยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความดีฐานร่วมกับจำเลยที่ 1 มีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185 แม้ความผิดฐานนี้ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม
of 17