คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สิงหะ สัตยธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5506/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้ายร่างกาย vs. เจตนาฆ่า: การพิจารณาจากพฤติการณ์และอาวุธที่ใช้
จำเลยฟันผู้เสียหายเพียงครั้งเดียวโดยมีสาเหตุมาจากจำเลยด่าว่าผู้เสียหายและถามว่าไปเอาตู้กับข้าวของใครมาผู้เสียหายบอกให้จำเลยดูให้ดีเสียก่อนสาเหตุเพียงเท่านี้มิใช่สาเหตุร้ายแรงถึงกับจะต้องเอาชีวิตกัน ทั้งได้ความว่าม. ได้เข้าห้ามจำเลยก็เชื่อฟัง นอกจากนี้มีดที่จำเลยใช้เป็นอาวุธก็เป็นมีดทำครัวทั้งใบมีดและด้ามมีความยาวเพียงประมาณ 1 ฟุต ถือไม่ได้ว่าเป็นมีดขนาดใหญ่ บาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับก็มีขนาดเพียง 1 คูณ 5 เซนติเมตร ไม่ปรากฏว่ากระดูกแขนบริเวณที่ถูกฟันแตกหรือหักแต่อย่างใด ฟังไม่ได้ว่าจำเลยฟันโดยแรง ส่วนที่จำเลยพูดว่ามึงตายเสียเถอะอย่าอยู่เลย นั้น ก็น่าจะเกิดจากความโมโหที่ทะเลาะกันและน่าจะเป็นเพียงการข่มขู่มากกว่าที่จะประสงค์ทำตามนั้นจริงพฤติการณ์ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า คงฟังได้เพียงว่าจำเลยมีเจตนาทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และหน้าที่การนำสืบมูลหนี้
การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานแล้วฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาและพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ทั้งสี่ เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามป.วิ.พ.มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 227 จำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้โดยไม่ต้องโต้แย้งไว้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยไม่เคยกู้ยืมเงินจากโจทก์ ซึ่งถือได้ว่าจำเลยปฏิเสธว่าไม่มีมูลหนี้ โจทก์จึงยังมีหน้าที่ต้องนำสืบถึงมูลหนี้ตามสัญญากู้เพื่อให้จำเลยรับผิด เมื่อปัญหาว่าหนี้ที่ ม.นำที่ดินโจทก์ไปจำนองธนาคารได้มีการชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเสร็จสิ้นไปแล้วหรือไม่ และ ม.นำโฉนดที่ดินมาคืนโจทก์แล้วหรือไม่ ยังไม่เป็นที่ยุติ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์ทั้งสี่และจำเลยแล้วพิพากษาคดีไปโดยยังมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนเสียก่อน จึงถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 243 (2) การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ในปัญหาดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(2)
การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่ เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานแล้วฟัง ข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาและพิพากษาให้จำเลย รับผิดต่อโจทก์ทั้งสี่ เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นใน ปัญหาข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา 227 จำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ได้โดยไม่ต้องโต้แย้งไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยไม่เคยกู้ยืมเงินจากโจทก์ ซึ่งถือได้ว่าจำเลยปฏิเสธว่าไม่มีมูลหนี้ โจทก์จึงยังมี หน้าที่ต้องนำสืบถึงมูลหนี้ตามสัญญากู้เพื่อให้จำเลยรับผิด เมื่อปัญหาว่าหนี้ที่ ม.นำที่ดินโจทก์ไปจำนองธนาคารได้มีการชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเสร็จสิ้นไปแล้วหรือไม่ และ ม. นำโฉนดที่ดินมาคืนโจทก์แล้วหรือไม่ ยังไม่เป็นที่ยุติ การที่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์ทั้งสี่และจำเลยแล้ว พิพากษาคดีไปโดยยังมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนเสียก่อน จึงถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2) การที่ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยให้ศาลชั้นต้น ดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ในปัญหาดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5029/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษ มิใช่การเพิ่งได้รับการยืนยันจากจำเลย
ในวันครบกำหนดอุทธรณ์ ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไป 15 วัน โดยอ้างเหตุว่าเพิ่งได้รับการยืนยันจากจำเลยให้ว่าความในชั้นอุทธรณ์จึงไม่สามารถยื่นคำอุทธรณ์ได้ทันนั้น เมื่อคดีนี้มิได้มีถ้อยคำสำนวนมากมายจนไม่อาจตรวจและทำคำฟ้องอุทธรณ์ได้ทันภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ไว้ถึง 1 เดือนเหตุที่อ้างว่าจำเลยเพิ่งยืนยันให้ว่าความในชั้นอุทธรณ์เป็นเรื่องที่จำเลยเพิกเฉยเสียเอง ยังถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะสั่งขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้ได้ และมิใช่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์นั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5029/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาอุทธรณ์: เหตุผลความล่าช้าจากการยืนยันจากจำเลยไม่ถือเป็นพฤติการณ์พิเศษ
ในวันครบกำหนดอุทธรณ์ ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไป 15 วัน โดยอ้างเหตุว่าเพิ่งได้รับการยืนยันจากจำเลยให้ว่าความในชั้นอุทธรณ์ จึงไม่สามารถยื่นคำอุทธรณ์ได้ทันนั้น เมื่อคดีนี้มิได้มีถ้อยคำสำนวนมากมายจนไม่อาจตรวจและทำคำฟ้องอุทธรณ์ได้ทันภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ไว้ถึง 1 เดือน เหตุที่อ้างว่าจำเลยเพิ่งยืนยันให้ว่าความในชั้นอุทธรณ์เป็นเรื่องที่จำเลยเพิกเฉยเสียเอง ยังถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะสั่งขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้ได้ และมิใช่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์นั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4980/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยการให้เป็นของขวัญก่อนเสียชีวิต ไม่ถือเป็นมรดก การเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของในทะเบียนหลังศาลตั้งผู้จัดการมรดก
จำเลยเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งมิใช่เป็นมรดกของ ด. แม้ที่ดินพิพาทจะมีชื่อด. เป็นเจ้าของก็ตาม แต่ที่ดินพิพาทก็เป็นเพียงที่ดินมือเปล่าซึ่งโอนให้แก่กันได้ โดยเพียงแต่ผู้เป็นเจ้าของแสดงเจตนาสละการครอบครองเท่านั้นสำหรับกรณีที่ศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกมรดกของ ด. และจำเลยได้จดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทมาเป็นชื่อของจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก คดีดังกล่าวจำเลยได้ระบุในคำร้องคัดค้านคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ด.ว่า ด. ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยแล้ว หาได้ระบุว่าเป็นมรดกของ ด. ไม่ การที่จำเลยโต้แย้งยืนยันตลอดมา แสดงให้เห็นว่าการยื่นคำร้องคัดค้านนั้นเป็นการปกป้องสิทธิของตน และเพื่อจะดำเนินการให้มีการเปลี่ยนแปลงหลักฐานทางทะเบียนให้ได้สิทธิโดยสมบูรณ์ในที่ดินพิพาทเท่านั้น การโอนที่ดินพิพาทหลังจากศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ ด.จึงเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของในเอกสารสำคัญสำหรับที่ดินพิพาทให้ถูกต้องตามความจริง หาทำให้ความเป็นเจ้าของที่ดินของจำเลย เปลี่ยนแปลงไปไม่ เมื่อจำเลยได้รับที่ดินพิพาท มาจากการที่ น.และด. ยกให้และจำเลยได้ครอบครองในฐานะเป็นเจ้าของตลอดมา ที่ดินพิพาทมิใช่เป็นมรดกของ ด. จำเลยจึงไม่มีหน้าที่จะต้องโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็น ทายาทของ ด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4886/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้รับพินัยกรรมและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก
ศ.ภริยาของช. ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้ผู้ร้องและตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของศ.ส่วนผู้คัดค้านมิใช่บุตรของศ.มิใช่ทายาทโดยธรรมและไม่ใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ ช.และศ.ในอันที่จะยื่นคำร้องคัดค้านและขอตั้งผู้จัดการมรดกได้ เมื่อผู้ร้องเป็นทายาทผู้รับพินัยกรรมของ ศ. ทั้งเป็นผู้จัดการมรดกของ ศ. ซึ่งมีทรัพย์สิน ที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมกับช.ในที่ดินโฉนดเลขที่13566เมื่อศ. ถึงแก่กรรม ที่ดินส่วนที่ศ. มีกรรมสิทธิ์รวมย่อมตกแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมทันที ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 ดังนี้ ผู้ร้องย่อมมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดดังกล่าวและถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทรัพย์มรดกของช. ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของช. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4886/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับพินัยกรรมและผู้จัดการมรดกในการเป็นผู้จัดการมรดกของคู่สมรส
ศ.ภริยาของ ช. ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้ผู้ร้องและตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ศ. ส่วนผู้คัดค้านมิใช่บุตรของ ศ. มิใช่ทายาทโดยธรรม และไม่ใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ ช.และ ศ.ในอันที่จะยื่นคำร้องคัดค้านและขอตั้งผู้จัดการมรดกได้ เมื่อผู้ร้องเป็นทายาทผู้รับพินัยกรรมของ ศ.ทั้งเป็นผู้จัดการมรดกของ ศ.ซึ่งมีทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมกับ ช.ในที่ดินโฉนดเลขที่13566 เมื่อ ศ.ถึงแก่กรรม ที่ดินส่วนที่ ศ.มีกรรมสิทธิ์รวมย่อมตกแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมทันที ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1599 ดังนี้ ผู้ร้องย่อมมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดดังกล่าว และถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทรัพย์มรดกของ ช.ด้วย ตามป.พ.พ.มาตรา 1713 ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ช.ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4686/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารราชการ (อนุโมทนาบัตร) และหนังสือราชการ มีความผิดหลายกระทง
ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขอบใจหรืออนุโมทนาบัตร พ.ศ. 2523 ข้อ 3 ระบุว่าเมื่อมีผู้บริจาคทรัพย์สินแก่วัดให้เจ้าอาวาสหรืออธิบดีเจ้าสังกัดตอบขอบใจหรืออนุโมทนา เห็นได้ว่าการออกอนุโมทนาบัตรจะต้องออกโดยเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ซึ่ง ป.อ. มาตรา 1 (8) ระบุว่า "เอกสารราชการ" หมายความว่า เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ และให้หมายรวมถึงสำเนาเอกสารนั้น ๆ ที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ด้วย และตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 45 บัญญัติไว้ให้ไวยาวัจกรและเจ้าอาวาสเป็นเจ้าพนักงานด้วย ดังนั้นอนุโมทนาบัตรจึงเป็นเอกสารราชการ
การกระทำของจำเลยที่กรอกข้อความลงในแบบอนุโมทนาบัตรจำนวน 38 ฉบับ กับปลอมหนังสือราชการของจังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดร้อยเอ็ดรวม 3 ฉบับ เป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงถือได้ว่าจำเลยได้กระทำ หลายกรรมและผิดต่อกฎหมายรวม 41 กระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4528/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกฟ้องเนื่องจากโจทก์ไม่มาศาล: ห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะโจทก์ไม่มาศาลตาม ป.วิ.อ.มาตรา 166 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220
of 17