พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1935/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษผู้เสพยาเสพติด: หลักนิติธรรมและการเยียวยามากกว่าการลงโทษก่อนก่ออาชญากรรม
ในกรณีเป็นผู้เสพยาเสพติดนั้น ย่อมเกิดผลร้ายแก่ตัวผู้เสพซึ่งพึงต้องได้รับการเยียวยาแก้ไขเป็นเบื้องต้นส่วนปัญหาที่โจทก์อ้างว่าเป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรมนั้นเป็นเพียงแนวโน้มซึ่งมิได้เป็นจริงทุกกรณี ตราบใดที่ผู้เสพติดยังมิได้กระทำการใดขึ้นเป็นการก่ออาชญากรรมการลงโทษรุนแรงไว้ก่อนย่อมเป็นดังการลงโทษล่วงหน้าสำหรับความผิดที่ยังมิได้เกิด เป็นการลงโทษที่ขัดต่อหลักนิติธรรม เป็นนโยบายการป้องกันที่ผิดและสร้างปัญหาให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเท็จจริงแห่งคดีไม่ปรากฏว่าจำเลยมีการกระทำที่เป็นส่วนแห่งการก่ออาชญากรรม หรือมีส่วนสนับสนุนแพร่กระจายยาเสพติด เหตุผลต่าง ๆ ที่โจทก์อ้างในฎีกาจึงเป็นการสรุปที่ให้ผลร้ายแก่จำเลยที่ เกินเหตุไม่อาจรับฟังเปลี่ยนแปลงดุลพินิจของศาลล่างทั้งสอง ที่ให้รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1820/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยรั้ว การใช้สิทธิโดยสุจริตของส่วนราชการ และความรับผิดของผู้เช่า
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 นำชี้ให้จำเลยที่ 3ก่อสร้างรั้วรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์เนื้อที่ประมาณ16 ตารางวา เมื่อรั้วที่จำเลยที่ 3 ก่อสร้างตามที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 นำชี้รุกล้ำที่ดินของโจทก์อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2จะอ้างว่าเป็นการกระทำเฉพาะตัวของจำเลยที่ 3 ไม่ได้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 3 ก่อสร้างรั้วรุกล้ำที่ดินของโจทก์กรมธนารักษ์จำเลยที่ 2 ผู้ให้เช่าจึงมีคำสั่งให้ ว. ไปรังวัด พบว่าจำเลยที่ 3 ก่อสร้างรั้วเกินเขตที่เช่าไปประมาณ 1.80 เมตร จึงให้จำเลยที่ 3 รื้อรั้วออกไปแล้วก่อสร้างใหม่ให้อยู่ในแนวเขตที่เช่า แต่โจทก์อ้างว่ารั้วที่ก่อสร้างใหม่ยังคงรุกล้ำที่ดินของโจทก์อยู่อีกจำเลยที่ 2 ได้ให้ ว. ไปตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งและได้มีหนังสือนัดให้ทนายโจทก์และจำเลยที่ 3 ไปร่วมตรวจสอบ ก็ไม่ปรากฏว่ารั้วรุกล้ำที่ดินของโจทก์แต่อย่างใด มาปรากฏว่ารั้วรุกล้ำเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินไปตรวจสอบ การที่โจทก์กล่าวหาว่าก่อสร้างรั้วรุกล้ำแนวเขตที่ดินสืบเนื่องมาจากโฉนดที่ดินที่พิพาทเป็นโฉนดที่ดินแบบเก่า การโต้แย้งของกระทรวงการคลังจำเลยที่ 1 และกรมธนารักษ์จำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ที่ดินของรัฐ มิได้มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหายโดยตรง จำเลยที่ 1 และที่ 2จึงไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3ในฐานะผู้เช่าจะต้องยึดถือตามแนวเขตที่จำเลยที่ 2 นำชี้หาใช่เป็นการกระทำโดยพลการไม่การก่อสร้างรั้วก็กระทำตามที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ยืนยันแนวเขตที่เช่า ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 กระทำการโดยสุจริต ไม่เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันจะเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1820/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินและอำนาจฟ้อง: การกระทำของจำเลยที่ 3 และความรับผิดของจำเลยที่ 1 และ 2
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 นำชี้ให้จำเลยที่ 3 ก่อสร้างรั้วรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์เนื้อที่ประมาณ 16 ตารางวา เมื่อรั้วที่จำเลยที่ 3ก่อสร้างตามที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 นำชี้รุกล้ำที่ดินของโจทก์อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จะอ้างว่าเป็นการกระทำเฉพาะตัวของจำเลยที่ 3 ไม่ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย
โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 3 ก่อสร้างรั้วรุกล้ำที่ดินของโจทก์กรมธนารักษ์จำเลยที่ 2 ผู้ให้เช่าจึงมีคำสั่งให้ ว.ไปรังวัด พบว่าจำเลยที่ 3ก่อสร้างรั้วเกินเขตที่เช่าไปประมาณ 1.80 เมตร จึงให้จำเลยที่ 3 รื้อรั้วออกไปแล้วก่อสร้างใหม่ให้อยู่ในแนวเขตที่เช่า แต่โจทก์อ้างว่ารั้วที่ก่อสร้างใหม่ยังคงรุกล้ำที่ดินของโจทก์อยู่อีก จำเลยที่ 2 ได้ให้ ว.ไปตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งและได้มีหนังสือนัดให้ทนายโจทก์และจำเลยที่ 3 ไปร่วมตรวจสอบ ก็ไม่ปรากฏว่า รั้วรุกล้ำที่ดินของโจทก์แต่อย่างใด มาปรากฏว่ารั้วรุกล้ำเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินไปตรวจสอบ การที่โจทก์กล่าวหาว่าก่อสร้างรั้วรุกล้ำแนวเขตที่ดินสืบเนื่องมาจากโฉนดที่ดินที่พิพาทเป็นโฉนดที่ดินแบบเก่า การโต้แย้งของกระทรวงการคลังจำเลยที่ 1 และกรมธนารักษ์จำเลยที่ 2 ดังกล่าว จึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ที่ดินของรัฐ มิได้มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหายโดยตรง จำเลยที่ 1และที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้เช่าจะต้องยึดถือตามแนวเขตที่จำเลยที่ 2 นำชี้ หาใช่เป็นการกระทำโดยพลการไม่การก่อสร้างรั้วก็กระทำตามที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ยืนยันแนวเขตที่เช่า ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 กระทำการโดยสุจริต ไม่เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันจะเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เช่นกัน
โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 3 ก่อสร้างรั้วรุกล้ำที่ดินของโจทก์กรมธนารักษ์จำเลยที่ 2 ผู้ให้เช่าจึงมีคำสั่งให้ ว.ไปรังวัด พบว่าจำเลยที่ 3ก่อสร้างรั้วเกินเขตที่เช่าไปประมาณ 1.80 เมตร จึงให้จำเลยที่ 3 รื้อรั้วออกไปแล้วก่อสร้างใหม่ให้อยู่ในแนวเขตที่เช่า แต่โจทก์อ้างว่ารั้วที่ก่อสร้างใหม่ยังคงรุกล้ำที่ดินของโจทก์อยู่อีก จำเลยที่ 2 ได้ให้ ว.ไปตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งและได้มีหนังสือนัดให้ทนายโจทก์และจำเลยที่ 3 ไปร่วมตรวจสอบ ก็ไม่ปรากฏว่า รั้วรุกล้ำที่ดินของโจทก์แต่อย่างใด มาปรากฏว่ารั้วรุกล้ำเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินไปตรวจสอบ การที่โจทก์กล่าวหาว่าก่อสร้างรั้วรุกล้ำแนวเขตที่ดินสืบเนื่องมาจากโฉนดที่ดินที่พิพาทเป็นโฉนดที่ดินแบบเก่า การโต้แย้งของกระทรวงการคลังจำเลยที่ 1 และกรมธนารักษ์จำเลยที่ 2 ดังกล่าว จึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ที่ดินของรัฐ มิได้มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหายโดยตรง จำเลยที่ 1และที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้เช่าจะต้องยึดถือตามแนวเขตที่จำเลยที่ 2 นำชี้ หาใช่เป็นการกระทำโดยพลการไม่การก่อสร้างรั้วก็กระทำตามที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ยืนยันแนวเขตที่เช่า ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 กระทำการโดยสุจริต ไม่เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันจะเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์จากความปกครองของบิดามารดา แม้จะได้รับอนุญาตให้ไปในบางสถานการณ์ ก็ยังถือเป็นความผิดตามกฎหมาย
ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ไปทำงานพักอยู่ที่บ้านนาง น.ที่กรุงเทพมหานครต่อมาผู้เสียหายเดินทางกลับบ้านบิดามารดาที่จังหวัดตราดเพื่อเที่ยวสงกรานต์ระหว่างนั้นบิดามารดาผู้เสียหายได้อนุญาตให้ผู้เสียหายไปส่งพี่สาวที่สถานีขนส่งจังหวัดตราดแล้วจำเลยพาผู้เสียหายไป ดังนี้ถือว่าระหว่างที่ผู้เสียหายทำงานพักอยู่บ้านนาง น.ที่กรุงเทพมหานคร ผู้เสียหายย่อมอยู่ในความคุ้มครองของนางน. เมื่อผู้เสียหายเดินทางมาบ้านบิดามารดาที่จังหวัดตราด ผู้เสียหายย่อมอยู่ในความปกครองของบิดามารดาการที่บิดามารดาอนุญาตให้ผู้เสียหายไปส่งพี่สาวที่สถานีขนส่งจังหวัดตราดนั้นไม่เป็นเหตุให้ผู้เสียหายพ้นจากความปกครองของบิดามารดาเมื่อจำเลยพาผู้เสียหายไปจึงเป็นการพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ไปจากบิดามารดา ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 บัญญัติขึ้นโดย ตระหนักว่าผู้เยาว์อายุไม่เกิน 18 ปี ยังขาดความสำนึก ต่อเล่ห์กลของทุจริตชนอาจถูกชักจูงให้หลงเชื่อโดยง่าย สภาพที่บิดามารดาของผู้เสียหายพยายามติดตามเรื่องบุตรหายไปแสดงว่าผู้เสียหายมิได้มีความประพฤติสำส่อนจนบิดามารดาหมดความห่วงใย การที่จำเลยทั้งสองพรากผู้เสียหายไปได้ก่อความทุกข์ใจใหญ่หลวงแก่บิดามารดาผู้เสียหายพฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองจึงไม่มีเหตุผลที่จะรอการลงโทษให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีส่วนได้เสียในคดีแพ่ง: จำเลยร่วมและบุคคลภายนอก ผู้ร้องต้องถูกกระทบโดยตรงจากคำพิพากษา
การที่ผู้ร้องจะขออนุญาตเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) นั้น ผู้ร้อง ต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีนั้น หมายถึง จะต้องเป็นผู้ที่ถูกกระทบกระเทือนหรือถูกบังคับโดยคำพิพากษา นั้นโดยตรงหรือผลคดีตามกฎหมายจะมีผลไปถึงตนด้วย ซึ่งในคดีนี้ หากศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ คำพิพากษาก็หาได้ มีผลผูกพันไปถึงผู้ร้องแต่อย่างใด เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้อง ว่ากล่าวเอาแก่ผู้ร้องต่อไปอีกคดีหนึ่ง ผลแห่งคำพิพากษา หรือข้อเท็จจริงในคดีนี้ไม่ผูกพันบังคับแก่ผู้ร้อง ผู้ร้อง จึงไม่มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ส่วนการที่ศาล จะออกหมายเรียกให้บุคคลภายนอกเข้ามาในคดีตามมาตรา 57(3)(ก) จะต้องโดยคำขอของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่งผู้ร้องยังมิใช่ คู่ความในคดีหรือตามมาตรา 57(3)(ข) โดยคำสั่งของศาลนั้นเมื่อเห็นสมควร แต่กรณีตามคำร้องยังไม่มีเหตุสมควรเพียงพอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการพิสูจน์ความผิดฐานขายยาเสพติด: พยานหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือและการละเลยโอกาสจับกุม
หากพยานซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมาดักซุ่มดูพฤติการณ์ ของจำเลยโดยเจตนาที่จะจับกุมจำเลย เพราะได้รับรายงานจาก สายลับว่าจำเลยมีพฤติการณ์ขายเมทแอมเฟตามีน เมื่อเห็นจำเลย ส่งมอบห่อของให้ ล. โดยมีพฤติการณ์ลักลอบซ่อนเร้นซึ่งพยานก็คิดว่าจำเลยขายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ ล. ตามที่สายลับแจ้งจริง พยานก็ควรเข้าจับกุมจำเลยพร้อม ล. ทันทีข้อที่พยานอ้างว่าเหตุที่ยังไม่เข้าจับกุมทันทีเนื่องจาก ล. นำห่อกระดาษซุก ไว้ที่ทรวงอกจึงไม่สะดวกแก่การค้นตัวผู้ถูกจับกุม ก็เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งซึ่งสามารถควบคุมตัว ผู้ถูกจับกุมไปมอบให้เจ้าพนักงานตำรวจหญิงค้นที่สถานีตำรวจ หรือเรียกให้มาค้นในที่เกิดเหตุก็ได้ การที่พยานละโอกาส ปล่อยให้ ล. และจำเลยแยกย้ายกันไปแล้วจึงติดตามไปจับกุมล. และต่อมาล่วงเลยมาถึง 2 เดือนเศษ จึงจับกุมจำเลยเป็นข้อพิรุธน่าระแวงสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้ขายเมทแอมเฟตามีน ให้ ล. จริงหรือไม่ ทั้งภายหลังจับกุม ล. แล้ว ในวันเดียวกับที่จับกุม ล. นั้น พยานได้พาพนักงานสอบสวนไปตรวจค้นบ้านร้างและบ้านจำเลย ก็พบจำเลยอยู่ที่บ้านของ จำเลยด้วย แต่ไม่พบเมทแอมเฟตามีนหรือสิ่งผิดกฎหมายอื่นที่บริเวณบ้านจำเลยหรือที่ตัวจำเลย ดังนี้พยานหลักฐานโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้มีและขายเมทแอมเฟตามีนตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินฝากที่เป็นทรัพย์มรดก แม้ชื่อผู้ฝากไม่ใช่เจ้ามรดก คุ้มครองสิทธิทายาทจากความเสียหาย
การที่โจทก์ฟ้องอ้างว่า ระหว่างยังมีชีวิตเจ้ามรดกมอบหมายให้จำเลยซึ่งเป็นบุตรคนหนึ่งดูแลทรัพย์สินและจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินแทน เจ้ามรดกมีทรัพย์สินเป็นเงินสดและที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เจ้ามรดกลงชื่อจำเลยในบัญชีเงินฝากและในโฉนดที่ดิน โดยแสดงเจตนาว่าทรัพย์สินของเจ้ามรดกนั้นจำเลยมีชื่อเพียงในฐานะผู้ครอบครองแทนเจ้ามรดกมีเจตนาที่จะแบ่งทรัพย์สินของตนให้บุตรทุกคนเท่ากันเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดก และทายาทคนอื่นเรียกให้จำเลยส่งมอบทรัพย์สินที่จำเลย ครอบครองอยู่เข้ากองมรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาท แต่จำเลยปฏิเสธคำฟ้องดังกล่าวย่อมครอบคลุมรวมทั้งทรัพย์มรดกที่มีชื่อและไม่มีชื่อเจ้ามรดก มิได้จำกัดแต่เฉพาะทรัพย์ที่มีชื่อเจ้ามรดกปรากฏอยู่เท่านั้น และโดยที่ในชั้นพิจารณามีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าเงินฝากในธนาคารเป็นเงินที่เจ้ามรดกยกให้จำเลยหรือเพียงให้จำเลยจัดการแทน ซึ่งหากเป็นกรณีเพียงให้จำเลยจัดการแทน แม้บัญชีดังกล่าวจะมีจำเลยคนเดียวเป็นผู้ฝาก เงินดังกล่าวก็เป็นทรัพย์มรดกซึ่งโจทก์และทายาทอื่นมีสิทธิอยู่ด้วย เมื่อพฤติการณ์ส่อแสดงว่าจำเลยอาจโอนเงินดังกล่าวไปให้พ้นจากอำนาจศาลเพื่อขัดขวางการบังคับคดี โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้อายัดเงินฝากดังกล่าว อันเป็นวิธีการขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 255 วรรคสอง (ข) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดทรัพย์มรดก แม้ไม่มีชื่อเจ้ามรดกในบัญชี หากมีเหตุเชื่อว่าเป็นทรัพย์มรดกและมีเหตุสมควร
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยส่งมอบทรัพย์สินที่จำเลยครอบครองอยู่เข้ากองมรดกเพื่อแบ่งปันให้ทายาท คำฟ้องดังกล่าวย่อมครอบคลุมรวมทั้งทรัพย์มรดกที่มีชื่อและไม่มีชื่อเจ้ามรดกด้วย มิใช่จำกัดเฉพาะทรัพย์ที่มีชื่อเจ้ามรดกปรากฏอยู่โจทก์ขออายัดเงินฝากที่ธนาคารไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา แม้ไม่มีชื่อเจ้ามรดกในบัญชีเงินฝาก แต่หากมีเหตุน่าเชื่อว่าเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกและเข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 255 โจทก์ย่อมมีสิทธิขออายัดได้
เจ้ามรดกมีบุตรรวม 6 คน รวมทั้งจำเลยและ บ.ด้วยระหว่างเจ้ามรดกมีชีวิตอยู่ได้มอบให้จำเลยกับ บ.ดูแลทรัพย์สินแทนก่อนเจ้ามรดกถึงแก่ความตายได้มีการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากชื่อจำเลยร่วมกับเจ้ามรดก และนำฝากเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยโดยการถอนและการฝากกระทำในวันเดียวกันรวมทั้งสิ้น 14 ครั้ง ครั้นเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้วยังได้มีการนำใบถอนเงินซึ่งมีลายมือชื่อเจ้ามรดกลงชื่อร่วมกับจำเลยในช่องเจ้าของบัญชีและในช่องผู้รับเงินมาถอนเงิน และปิดบัญชี อีกทั้งภายหลังโจทก์ฟ้องคดีนี้แล้ว จำเลยยังได้ถอนเงินออกจากบัญชีของจำเลย กรณีมีเหตุน่าเชื่อว่าเจ้ามรดกให้ความรักและเชื่อถือจำเลยโดยลงลายมือชื่อในใบถอนเงินมอบให้จำเลยไว้ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน แต่คดีนี้ยังมีประเด็นต้องวินิจฉัยในชั้นพิจารณาว่าเงินในบัญชีของจำเลย เป็นเงินที่เจ้ามรดกยกให้จำเลยหรือเพียงให้จำเลยจัดการแทน ดังนี้ พฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุให้เห็นได้ว่าจำเลยอาจโอนเงินดังกล่าวไปให้พ้นจากอำนาจศาลเพื่อขัดขวางต่อการบังคับคดีตามคำฟ้อง และโอกาสที่โจทก์ยื่นคำร้องขอนั้นมีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 255 วรรค 2 (ข)มาใช้แล้ว
เจ้ามรดกมีบุตรรวม 6 คน รวมทั้งจำเลยและ บ.ด้วยระหว่างเจ้ามรดกมีชีวิตอยู่ได้มอบให้จำเลยกับ บ.ดูแลทรัพย์สินแทนก่อนเจ้ามรดกถึงแก่ความตายได้มีการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากชื่อจำเลยร่วมกับเจ้ามรดก และนำฝากเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยโดยการถอนและการฝากกระทำในวันเดียวกันรวมทั้งสิ้น 14 ครั้ง ครั้นเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้วยังได้มีการนำใบถอนเงินซึ่งมีลายมือชื่อเจ้ามรดกลงชื่อร่วมกับจำเลยในช่องเจ้าของบัญชีและในช่องผู้รับเงินมาถอนเงิน และปิดบัญชี อีกทั้งภายหลังโจทก์ฟ้องคดีนี้แล้ว จำเลยยังได้ถอนเงินออกจากบัญชีของจำเลย กรณีมีเหตุน่าเชื่อว่าเจ้ามรดกให้ความรักและเชื่อถือจำเลยโดยลงลายมือชื่อในใบถอนเงินมอบให้จำเลยไว้ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน แต่คดีนี้ยังมีประเด็นต้องวินิจฉัยในชั้นพิจารณาว่าเงินในบัญชีของจำเลย เป็นเงินที่เจ้ามรดกยกให้จำเลยหรือเพียงให้จำเลยจัดการแทน ดังนี้ พฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุให้เห็นได้ว่าจำเลยอาจโอนเงินดังกล่าวไปให้พ้นจากอำนาจศาลเพื่อขัดขวางต่อการบังคับคดีตามคำฟ้อง และโอกาสที่โจทก์ยื่นคำร้องขอนั้นมีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 255 วรรค 2 (ข)มาใช้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและความสัมพันธ์กับการหักกลบลบหนี้ การกำหนดประเด็นเพิ่มเติมไม่ทำให้กระบวนการพิจารณาไม่ชอบ
ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เดิมคือ โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องแถวพิพาทหรือไม่ และโจทก์เสียหายเพียงใด ส่วนประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดขึ้นใหม่นั้นเพียงเพิ่มประเด็นข้อพิพาทอีกข้อหนึ่งว่า โจทก์นำห้องแถวพิพาทมาหักกลบลบหนี้ที่บุตรโจทก์เป็นหนี้จำเลยหรือไม่เท่านั้น ซึ่งมีความหมายรวมอยู่ในประเด็นข้อพิพาทเดิมที่ตั้งไว้ในข้อที่ว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในห้องแถวพิพาทหรือไม่อยู่แล้ว กล่าวคือ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์นำห้องแถวเดิมมาหักกลบลบหนี้ที่บุตรโจทก์เป็นหนี้จำเลย แล้วจำเลยรื้อถอนห้องแถวดังกล่าวและปลูกขึ้นใหม่เป็นห้องแถวพิพาทเช่นนี้ ห้องแถวพิพาทจึงเป็นของจำเลยโจทก์ย่อมไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องแถวพิพาทนั่นเอง ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมดังกล่าวจึงไม่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ด้วยทรัพย์สินและการเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ห้องแถวจากการรื้อสร้างใหม่
ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เดิมคือ โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องแถวพิพาทหรือไม่ และโจทก์เสียหายเพียงใด ส่วนประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดขึ้นใหม่นั้นเพียงเพิ่มประเด็นข้อพิพาทอีกข้อหนึ่งว่า โจทก์นำห้องแถวพิพาทมาหักกลบลบหนี้ที่บุตรโจทก์เป็นหนี้จำเลยหรือไม่เท่านั้นซึ่งมีความหมายรวมอยู่ในประเด็นข้อพิพาทเดิมที่ตั้งไว้ในข้อที่ว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในห้องแถวพิพาทหรือไม่อยู่แล้ว กล่าวคือ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์นำห้องแถวเดิมมาหักกลบลบหนี้ที่บุตรโจทก์เป็นหนี้จำเลย แล้วจำเลยรื้อถอนห้องแถวดังกล่าวและปลูกขึ้นใหม่เป็นห้องแถวพิพาทเช่นนี้ ห้องแถวพิพาทจึงเป็นของจำเลยโจทก์ย่อมไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องแถวพิพาทนั่นเอง ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมดังกล่าวจึงไม่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย