คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิธี อุปปาติก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 162 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 889/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าขึ้นศาลในคำร้องขอปล่อยทรัพย์สินยึด ผู้ร้องต้องรับผิดชอบค่าขึ้นศาลตามมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมด แม้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมเพียงส่วนหนึ่ง
แม้ผู้ร้องจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินที่ยึดเพียง1ใน5ก็ตามแต่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอปล่อยทรัพย์สินที่ยึดทั้งหมดผู้ร้องจึงต้องชำระค่าขึ้นศาลตามมูลค่าแห่งตัวทรัพย์ทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 889/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมยื่นขอปล่อยทรัพย์ที่ยึด ย่อมต้องรับผิดชอบค่าขึ้นศาลตามมูลค่าทรัพย์ทั้งหมด
ผู้ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินที่ยึดเพียง1ใน5แต่ยื่นคำร้องขอปล่อยทรัพย์สินที่ยึดทั้งหมดอ้างว่าไม่ใช่ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องชำระค่าขึ้นศาลตามมูลค่าแห่งตัวทรัพย์ทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความและการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงหลังสัญญา ศาลไม่รับรู้ข้อตกลงนอกศาล
โจทก์ที่ 1 ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวที่ระบุไว้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมให้จำเลยที่ 1 เพื่อให้จำเลยที่ 1 ไปโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในส่วนของทรัพย์สินที่โจทก์ที่ 1 จะต้องโอนให้แก่จำเลยที่ 2 ไว้แทนจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 ประสงค์จะให้จำเลยที่ 1 ใส่ชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวร่วมกับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้วางเงินในส่วนที่จำเลยที่ 2 จะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งจำเลยที่ 1 ได้จ่ายแทนไปก่อนไว้ที่ศาลชั้นต้นเพื่อให้จำเลยที่ 1 รับไปแล้วจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการตามที่จำเลยที่ 2 มีความประสงค์ดังกล่าวจำเลยที่ 2 จึงขอให้บังคับคดีไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นได้
ส่วนที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า จำเลยที่ 2 ได้ตกลงกับจำเลยที่ 1ว่าไม่ประสงค์จะรับที่ดินและตึกแถวที่จำเลยที่ 1 ถือกรรมสิทธิ์แทนและขอโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ต้องจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ดำเนินการตามข้อตกลงดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วนั้น ข้อตกลงกันดังกล่าวมิได้กระทำต่อหน้าศาล ศาลจึงไม่อาจรับรู้ข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ดังกล่าวและรับบังคับให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: จำเลยมีหน้าที่ใส่ชื่อร่วมหากตกลงกันไว้
โจทก์ที่1โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวที่ระบุไว้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยที่1เพื่อให้จำเลยที่1โอนให้จำเลยที่2จำเลยที่1จึงเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในส่วนนี้ไว้แทนจำเลยที่2เมื่อจำเลยที่2ประสงค์จะให้จำเลยที่1ใส่ชื่อจำเลยที่2เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยที่1จำเลยที่1จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการใส่ชื่อจำเลยที่2เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวร่วมกับจำเลยที่1ศาลจึงบังคับให้ได้ส่วนที่จำเลยที่1อ้างว่าจำเลยที่2ได้ตกลงกับจำเลยที่1ว่าไม่ประสงค์จะรับที่ดินและตึกแถวที่จำเลยที่1ถือกรรมสิทธิ์แทนและขอโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่1โดยจำเลยที่1ต้องจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่จำเลยที่2ซึ่งจำเลยที่1ได้ดำเนินการตามข้อตกลงดังกล่าวให้แก่จำเลยที่2แล้วนั้นเป็นข้อตกลงกันที่มิได้กระทำต่อหน้าศาลศาลจึงไม่อาจรับรู้ข้อตกลงดังกล่าวและรับบังคับให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความ การโอนกรรมสิทธิ์แทนกัน และข้อตกลงนอกศาลที่ไม่ผูกพัน
โจทก์ที่1ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวที่ระบุไว้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งได้พิพากษาตามยอมให้จำเลยที่1เพื่อให้จำเลยที่1ไปโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวให้จำเลยที่2ด้วยจำเลยที่1จึงเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในส่วนของทรัพย์สินที่โจทก์ที่1จะต้องโอนให้แก่จำเลยที่2ไว้แทนจำเลยที่2เมื่อจำเลยที่2ประสงค์จะให้จำเลยที่1ใส่ชื่อจำเลยที่2เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวร่วมกับจำเลยที่1และจำเลยที่2ได้วางเงินในส่วนที่จำเลยที่2จะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ที่1ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งจำเลยที่1ได้จ่ายแทนไปก่อนไว้ที่ศาลชั้นต้นเพื่อให้จำเลยที่1รับไปแล้วจำเลยที่1จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการตามที่จำเลยที่2มีความประสงค์ดังกล่าวจำเลยที่2จึงขอให้บังคับคดีไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นได้ ส่วนที่จำเลยที่1อ้างว่าจำเลยที่2ได้ตกลงกับจำเลยที่1ว่าไม่ประสงค์จะรับที่ดินและตึกแถวที่จำเลยที่1ถือกรรมสิทธิ์แทนและขอโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่1โดยจำเลยที่1ต้องจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่จำเลยที่2ซึ่งจำเลยที่1ได้ดำเนินการตามข้อตกลงดังกล่าวให้แก่จำเลยที่2แล้วนั้นข้อตกลงกันดังกล่าวมิได้กระทำต่อหน้าศาลศาลจึงไม่อาจรับรู้ข้อตกลงระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2ดังกล่าวและรับบังคับให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: การนับระยะเวลาที่ถูกต้อง และการเพิกเฉยเป็นเหตุผลไม่อนุญาตขยายเวลา
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2538 จะครบกำหนดอุทธรณ์ 1 เดือน ในวันที่ 20 สิงหาคม 2538 โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่ 1 อ้างว่าทนายโจทก์ยื่นคำแถลงขอคัดเอกสารต่าง ๆ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2538 แต่ยังไม่ได้รับเอกสารที่ขอคัด แสดงว่าโจทก์ปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปนานถึง 27 วัน จึงเพิ่งจะมาขอคัดเอกสาร และเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่ 1 ออกไป 15 วันแล้ว โจทก์น่าจะใช้ประโยชน์จากระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้นั้นดำเนินการคัดเอกสารต่าง ๆ ให้เรียบร้อยเสียแต่เนิ่น ๆ ตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่ 2 โจทก์อ้างว่าเพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นในวันที่ 5 กันยายน 2538 ซึ่งเป็นวันยื่นคำร้องแสดงว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลามาแต่ต้นรวมเป็นเวลา 42 วัน การที่โจทก์เพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นในวันยื่นคำร้องจึงเป็นผลเนื่องมาจากการเพิกเฉยของโจทก์ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์: การนับเวลา, เหตุสุดวิสัย, และหน้าที่ของผู้ร้อง
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่20กรกฎาคม2538จะครบกำหนดอุทธรณ์1เดือนในวันที่20สิงหาคม2538โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่1อ้างว่าทนายโจทก์ยื่นคำแถลงขอคัดเอกสารต่างๆเมื่อวันที่17สิงหาคม2538แต่ยังไม่ได้รับเอกสารที่ขอคัดแสดงว่าโจทก์ปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปนานถึง27วันจึงเพิ่งจะมาขอคัดเอกสารและเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่1ออกไป15วันแล้วโจทก์น่าจะใช้ประโยชน์จากระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้นั้นดำเนินการคัดเอกสารต่างๆให้เรียบร้อยเสียแต่เนิ่นๆตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่2โจทก์อ้างว่าเพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นในวันที่5กันยายน2538ซึ่งเป็นวันยื่นคำร้องแสดงว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลามาแต่ต้นรวมเป็นเวลา42วันการที่โจทก์เพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นในวันยื่นคำร้องจึงเป็นผลเนื่องมาจากการเพิกเฉยของโจทก์ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์: การนับระยะเวลาที่ถูกต้อง และเหตุผลการขยายที่ไม่เป็นเหตุสุดวิสัย
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2538 จะครบกำหนดอุทธรณ์ 1 เดือน ในวันที่ 20 สิงหาคม 2538 โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่ 1 อ้างว่าทนายโจทก์ยื่นคำแถลงขอคัดเอกสารต่าง ๆ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2538 แต่ยังไม่ได้รับเอกสารที่ขอคัด แสดงว่าโจทก์ปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปนานถึง 27 วัน จึงเพิ่งจะมาขอคัดเอกสาร และเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่ 1 ออกไป 15 วันแล้ว โจทก์น่าจะใช้ประโยชน์จากระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้นั้นดำเนินการคัดเอกสารต่าง ๆ ให้เรียบร้อยเสียแต่เนิ่น ๆ ตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่ 2 โจทก์อ้างว่าเพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นในวันที่ 5 กันยายน 2538 ซึ่งเป็นวันยื่นคำร้องแสดงว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลามาแต่ต้นรวมเป็นเวลา 42 วัน การที่โจทก์เพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นในวันยื่นคำร้องจึงเป็นผลเนื่องมาจากการเพิกเฉยของโจทก์ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย: โต้เถียงข้อเท็จจริงที่รับสารภาพแล้วในชั้นศาลสูง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินให้แก่ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้เงินกู้ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ต่อมาธนาคารตามเช็คปฎิเสธการจ่ายเงิน จำเลยให้การรับสารภาพข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องของโจทก์ จำเลยจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า ขณะที่จำเลยออกเช็คนั้นยังไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระจึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมายการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามฟ้องนั้นหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งยังเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกา ซึ่งเป็นปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 อีกด้วย ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกาหลังรับสารภาพในชั้นต้น: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยออกเช็คพิพาทมอบให้แก่ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้เงินกู้ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องของโจทก์ จำเลยจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า ขณะที่จำเลยออกเช็คนั้นยังไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระ จึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามฟ้องนั้นหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งยังเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกาซึ่งเป็นปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อีกด้วย ฎีกาของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
of 17