พบผลลัพธ์ทั้งหมด 162 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามฆ่าและชิงทรัพย์ด้วยอาวุธปืน ศาลพิจารณาพยานหลักฐานและแก้ไขคำพิพากษา
จำเลยร่วมกับพวกใช้อาวุธปืนเล็กกลยิงมาทางผู้เสียหาย ทั้งหกในขณะนั่งมาในรถยนต์ซึ่งแล่นมาตามถนนสายพัทลุง-ตรัง โดยจำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำได้ว่ากระสุนปืน ที่จำเลยกับพวกใช้ยิงอาจถูกผู้เสียหายทั้งหกซึ่งนั่งอยู่ ในรถยนต์ได้ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายทั้งหก เพื่อความสะดวกในการชิงทรัพย์ จำเลยกับพวกลงมือ กระทำความผิดไปตลอดแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล เนื่องจากกระสุนปืนถูกรถยนต์ของผู้เสียหายที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ได้รับความเสียหาย ถูกผู้เสียหายที่ 5 ได้รับบาดเจ็บและกลุ่มผู้เสียหายหลบหนีได้ทัน จำเลยกับพวก ไม่อาจชิงทรัพย์ได้สำเร็จ จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกัน พยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งหกเพื่อความสะดวกในการที่จะ กระทำความผิดอย่างอื่นและฐานร่วมกันพยายามชิงทรัพย์ ของผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 5 ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนนอกจากที่กำหนดใน กฎกระทรวงไว้ในครอบครองตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา 78 วรรคหนึ่ง กับความผิดฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนดังกล่าว ในการกระทำความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นและฐานร่วมกัน พยายามชิงทรัพย์ตามมาตรา 78 วรรคสาม ฐานร่วมกัน พยายามฆ่าผู้อื่น และฐานร่วมกันพยายามชิงทรัพย์เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานร่วมกันใช้อาวุธปืนในการกระทำความผิด ฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นและฐานร่วมกันพยายามชิงทรัพย์ อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7600/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล และผลกระทบต่อการจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลย
ในการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ในครั้งหลัง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแสดงว่า จำเลยที่ 1ทำงานอยู่ ณ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขลำนารายณ์ให้ยกคำร้องและให้โจทก์แถลงเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง โดยศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวในวันที่โจทก์ยื่นคำร้อง และท้ายคำร้องของโจทก์มีหมายเหตุว่า "ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" จึงต้องถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวในวันยื่นคำร้องแล้ว ไม่จำเป็นต้องแจ้งคำสั่งศาลชั้นต้นให้โจทก์ทราบอีกโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องแถลงเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด เมื่อโจทก์ไม่แถลงภายในกำหนดเวลา กรณีต้องถือว่าโจทก์เพิกเฉย ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด อันเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2) ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ตาม มาตรา 132 (1) แม้ตามมาตรา 132 (1)นี้ไม่ได้บังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเป็นแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจ แต่คดีนี้ เหตุที่ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องเป็นเพราะโจทก์เพิกเฉยไม่แถลงเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1ศาลจึงควรจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 ที่โจทก์ไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาลเท่านั้นไม่สมควรจำหน่ายทั้งคดีออกจากสารบบความ ทั้งโจทก์ได้ดำเนินการนำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว และคดีของจำเลยที่ 1 ได้ยุติไปตามคำสั่งศาลชั้นต้น โดยศาลอุทธรณ์อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องอุทธรณ์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 และจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 กรณีมีเหตุสมควรไม่จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 2โดยให้โจทก์ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ต่อไป
พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดแล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินการต่อไป และไม่คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้โจทก์ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดแล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินการต่อไป และไม่คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้โจทก์ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7600/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องจากความเพิกเฉยต่อคำสั่งศาล และขอบเขตการจำหน่ายคดี
ในการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ในครั้งหลัง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ไม่มีหลักฐานแสดงว่าจำเลยที่ 1 ทำงานอยู่ ณ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขลำนารายณ์ ให้ยกคำร้อง และให้โจทก์แถลงเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องโดยศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวในวันที่โจทก์ยื่นคำร้องและท้ายคำร้องของโจทก์มีหมายเหตุว่า "ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" จึงต้องถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวในวันยื่นคำร้องแล้ว ไม่จำเป็นต้องแจ้งคำสั่งศาลชั้นต้นให้โจทก์ทราบอีกโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องแถลงเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดเมื่อโจทก์ไม่แถลงภายในกำหนดเวลา กรณีต้องถือว่าโจทก์ เพิกเฉย ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ตาม มาตรา 132(1) แต่ตามมาตรา 132(1) นี้ไม่ได้ บังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเป็นแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจ เหตุคดีนี้ที่ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง เป็นเพราะโจทก์เพิกเฉยไม่แถลงเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1ศาลจึงควรจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 ที่โจทก์ไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาลเท่านั้น ไม่สมควรจำหน่ายทั้งคดีออกจากสารบบความทั้งโจทก์ได้ดำเนินการนำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว และคดีของจำเลยที่ 1 ได้ยุติไปตามคำสั่งศาลชั้นต้น โดยศาลอุทธรณ์อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องอุทธรณ์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 และจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1กรณีมีเหตุสมควรไม่จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 2 โดยให้โจทก์ ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7363/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินในเขตป่าสงวน: สัญญาไม่เป็นโมฆะหากไม่ก่อให้เกิดภัยพิบัติร้ายแรง และมีการรับรองสิทธิผู้ครอบครองโดยราชการ
จำเลยฎีกาอ้างว่า การซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นการซื้อขายที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นต้นเหตุสำคัญในการ เกิดภัยพิบัติถือว่าเป็นนิติกรรมซึ่งมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันเป็นโมฆะ แต่ไม่ปรากฏว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินต้นน้ำลำธารอันจะทำให้เกิดภัยพิบัติเป็นสาธารณภัยอย่างร้ายแรง ทั้งทางราชการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับ ค่าทดแทนที่ดินและค่ารื้อย้ายซึ่งมีชื่อจำเลยรวมอยู่ด้วย การประกาศดังกล่าวเป็นการยอมรับว่าผู้ที่มีสิทธิได้รับค่าทดแทน ที่ดิน คือ ผู้มีชื่อครอบครองที่ดินตามที่ถูกเวนคืน ดังนั้น สัญญาที่จำเลยขายการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จึงไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7150/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพที่ได้จากการถูกทำร้ายร่างกาย และพยานที่ไม่ชัดเจน ทำให้ศาลยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
แม้ชั้นสอบสวนจำเลยจะให้การรับสารภาพและนำชี้ที่เกิดเหตุก็ตาม แต่จำเลยเบิกความว่าเหตุที่ให้การเช่นนั้นเพราะถูกทำร้ายร่างกาย ทั้งเมื่อถูกแจ้งข้อหาเพิ่มเติมจำเลยก็ให้การปฏิเสธและไม่ยอมลงชื่อในคำให้การ ดังนั้น ลำพังเพียงคำรับสารภาพดังกล่าวไม่ทำให้พยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ยังเป็นที่สงสัยตามสมควรว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่กระทำความผิดหรือไม่ ศาลย่อมยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6937/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของคำฟ้องตาม พ.ร.บ.เช็ค: การอ้างมาตราในคำฟ้องมีผลตามกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มีบทบัญญัติรวมสิบเอ็ดมาตราเท่านั้น และมาตราที่บัญญัติว่าการกระทำเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้มีอยู่เฉพาะมาตรา 4 เพียงมาตราเดียว ในคำฟ้องโจทก์ก็ได้บรรยายการกระทำผิดของจำเลยไว้ชัดแจ้งครบถ้วนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 แล้ว จำเลยย่อมจะเข้าใจดีและไม่หลงต่อสู้เมื่อโจทก์ได้อ้าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง อีกทั้งระบุอ้างมาตรา 4 และชื่อ พ.ร.บ.ดังกล่าวไว้ที่หน้าคำฟ้องในช่องข้อหาหรือฐานความผิดแล้วเช่นนี้ ย่อมมีผลเท่ากับการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (6) แล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6937/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอาญาเช็คคืน การระบุมาตราในคำฟ้อง และความสมบูรณ์ของคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มีบทบัญญัติรวมสิบเอ็ดมาตราเท่านั้น และมาตราที่ บัญญัติว่าการกระทำเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้มีอยู่เฉพาะมาตรา 4 เพียงมาตราเดียว ในคำฟ้องโจทก์ก็ได้บรรยายการกระทำผิดของจำเลยไว้ชัดแจ้งครบถ้วนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4แล้ว จำเลยย่อมจะเข้าใจดีและไม่หลงต่อสู้เมื่อโจทก์ได้อ้าง พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง อีกทั้งระบุอ้างมาตรา 4 และชื่อพระราชบัญญัติ ดังกล่าวไว้ที่หน้าคำฟ้องในช่องข้อหาหรือฐานความผิดแล้วเช่นนี้ ย่อมมีผลเท่ากับการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำ เช่นนั้นเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) แล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6840/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษประหารชีวิตตามมาตรา 52(2) ต้องพิจารณาความร้ายแรงของพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่อง ๆ ไป
การลดโทษประหารชีวิตให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 52(2) ศาลจะลดเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือโทษจำคุก ตั้งแต่ 25 ปี ถึง 50 ปี ก็ได้ เป็นดุลพินิจของศาลตามพฤติการณ์แห่งความร้ายแรงของแต่ละคดีเป็นเรื่อง ๆ ไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6825/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงโดยเจตนาทุจริตตั้งแต่แรกทำสัญญา โอนสิทธิเรียกร้องก่อนทำสัญญาเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย
จำเลยที่ 2 มีเจตนาทุจริตตั้งแต่ในขณะที่ทำสัญญาร่วมดำเนินการกับโจทก์ โดยไม่เปิดเผยความจริงที่โอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาซื้อขายเครื่องส่งโทรทัศน์สีตามสัญญาดังกล่าวซึ่งควรบอกให้แจ้งให้แก่ผู้ทำการแทนโจทก์ทราบ ก็เพื่อให้ผู้ทำการแทนโจทก์หลงเข้าใจผิดว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิรับเงินค่าขายจากผู้ซื้ออันเป็น กรณีปกติของการค้า อันเป็นอุบายของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นการหลอกลวง และโดยการหลอกลวงดังกล่าวได้ไปซึ่งทรัพย์สินเครื่องส่งโทรทัศน์สีดังกล่าวจากโจทก์ ซึ่งเปลี่ยนสภาพเป็นสิทธิที่จะได้รับชำระเงินจำนวน 13,000,000 บาทเศษอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341จำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงมือกระทำต้องรับผิดเป็นตัวการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองโดยทุจริตแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่โจทก์การที่จำเลยทั้งสองปกปิดมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ตกลงทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินที่ได้รับจาก ก. ให้แก่บุคคลที่สามก่อนแล้ว จึงทำสัญญาเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์ในวันกระทำผิดซึ่งเป็นเวลาในภายหลัง เป็นเหตุได้ไปซึ่งทรัพย์สินของโจทก์คือเครื่องส่งโทรทัศน์และเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงที่โจทก์ซื้อเป็นเงินรวมจำนวน 51,000,000 บาทเศษ ที่โจทก์จะได้ส่วนแบ่งตามสัญญาดังกล่าวพร้อมทั้งระบุสถานที่เกิดเหตุ คำฟ้องของโจทก์จึงครบองค์ประกอบฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) และ (6)
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญาร่วมดำเนินการฉบับที่ 1 กับโจทก์ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2536 และทำสัญญาร่วมดำเนินการฉบับที่ 2 กับโจทก์ในวันที่ 10 เมษายน 2536โดยมีเจตนาฉ้อโกงมาแต่ต้นอันเป็นเจตนาแยกจากกันและต่างวาระกัน การกระทำจึงเป็นกรณีต่างกรรมต่างวาระกันแยกจากกัน 2 กรณี เป็นความผิด 2 กรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองโดยทุจริตแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่โจทก์การที่จำเลยทั้งสองปกปิดมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ตกลงทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินที่ได้รับจาก ก. ให้แก่บุคคลที่สามก่อนแล้ว จึงทำสัญญาเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์ในวันกระทำผิดซึ่งเป็นเวลาในภายหลัง เป็นเหตุได้ไปซึ่งทรัพย์สินของโจทก์คือเครื่องส่งโทรทัศน์และเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงที่โจทก์ซื้อเป็นเงินรวมจำนวน 51,000,000 บาทเศษ ที่โจทก์จะได้ส่วนแบ่งตามสัญญาดังกล่าวพร้อมทั้งระบุสถานที่เกิดเหตุ คำฟ้องของโจทก์จึงครบองค์ประกอบฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) และ (6)
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญาร่วมดำเนินการฉบับที่ 1 กับโจทก์ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2536 และทำสัญญาร่วมดำเนินการฉบับที่ 2 กับโจทก์ในวันที่ 10 เมษายน 2536โดยมีเจตนาฉ้อโกงมาแต่ต้นอันเป็นเจตนาแยกจากกันและต่างวาระกัน การกระทำจึงเป็นกรณีต่างกรรมต่างวาระกันแยกจากกัน 2 กรณี เป็นความผิด 2 กรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6353/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่เสียชีวิต: อำนาจสั่งของศาลอุทธรณ์และการส่งสำนวน
จำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ย่อมเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นนัดพิจารณาคำร้องโดยให้ผู้ร้องแสดงพยานหลักฐานการถึงแก่กรรมของจำเลยที่ 1 และฐานะของผู้ร้องแล้ว ต้องส่งพยานหลักฐานพร้อมสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3เพื่อพิจารณาสั่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 แล้วอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้ฟัง จึงเป็นการไม่ชอบ