คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 65 ตรี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 40 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2166/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: การหักค่าใช้จ่ายและสิทธิในการขอคืนภาษี ต้องเป็นไปตามกฎหมายกำหนด
โจทก์ที่ 2 มิได้ร่วมลงทุนกับผู้อื่นซื้อที่ดิน เงินที่โจทก์ที่ 2ได้รับ 48,000,000 บาท เนื่องจากผู้ขายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นของโจทก์ที่ 2 แต่ผู้เดียว เป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) การหักค่าใช้จ่ายต้องเป็นไปตามมาตรา 46 ซึ่งให้นำมาตรา 65 ตรี มาใช้บังคับด้วยเงินจำนวน 7,570,000 บาท ที่โจทก์ที่ 2 จ่ายให้แก่ ส.กับพวกเป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าเสียหายจัดสรรคืน ซึ่งไม่เกี่ยวกับการจะซื้อจะขายที่ดินอันเป็นผลให้โจทก์ที่ 2 ได้รับเงิน48,000,000 บาท มิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการโดยเฉพาะไม่อาจนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ตามมาตรา 46 ประกอบมาตรา 65 ตรี
คณะบุคคลชำระเงินภาษีอากรจำนวน 5,857,461 บาท แก่กรมสรรพากรจำเลยไปแล้ว แม้โจทก์ที่ 2 จะเป็นผู้จัดการของคณะบุคคลและต้องรับผิดชอบในเงินจำนวนดังกล่าวด้วย ก็ไม่อาจถือได้ว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นของโจทก์ที่ 2 เป็นส่วนตัวโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยาไม่อาจนำมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่โจทก์ทั้งสองจะต้องชำระแก่จำเลยได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7(3) ประกอบมาตรา 9 กำหนดให้ผู้จะฟ้องขอคืนค่าภาษีอากรที่ชำระไปจะต้องยื่นคำร้องต่อกรมสรรพากรจำเลยเพื่อสั่งคืนตามหลักเกณฑ์วิธีการและภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้เสียก่อน ถ้าจำเลยไม่ยอมคืนจึงจะนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ เมื่อโจทก์ยังมิได้ดำเนินการดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยคืนค่าภาษีอากรแก่โจทก์ ไม่ว่าโจทก์จะถูกโต้แย้งสิทธิแล้วหรือไม่ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2851/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นรายจ่ายต้องห้ามที่ไม่ได้รับการประเมินโดยเจ้าพนักงานประเมินและไม่ได้อุทธรณ์ เป็นการข้ามขั้นตอนไม่ถูกต้อง
เจ้าพนักงานประเมินไม่ได้ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 ถึง 2527 เกี่ยวกับประเด็นรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี(18) การที่คณะกรรมการวินิจฉัยว่าโจทก์มีรายจ่ายซึ่งไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับ อันเป็นรายจ่ายต้องห้ามไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(18) และปรับปรุงรายได้ของโจทก์เพิ่มขึ้นทั้ง ๆ ที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ทำการประเมินในรายการนี้ไว้และโจทก์ก็มิได้อุทธรณ์ ย่อมเป็นการข้ามขั้นตอนไม่ปฏิบัติตามมาตรา 19,20 จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 123/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายทรัพย์สินในราคาที่สูงเกินปกติ และค่าดอกเบี้ยที่ไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ มีผลต่อการคำนวณกำไรสุทธิ
ทั้งในคำอุทธรณ์การประเมินของโจทก์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และในคำฟ้องของโจทก์ได้อ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งบอกค่าเสื่อมราคาในรอบระยะเวลาบัญชีปี2523เพียง14,700,159.77บาทแทนที่จะเป็น18,700,159.77บาทจึงเป็นผลทำให้ยอดค่าเสื่อมราคาที่กล่าวข้างต้นสูงกว่าจำนวนเงินที่ระบุในข้อ2.1.1ไป4,000,000บาทโดยโจทก์ไม่ได้ระบุถึงความเป็นมาของยอดค่าเสื่อมราคาจำนวน18,700,157.77บาทว่าได้มาอย่างไรและยอดค่าเสื่อมราคาจำนวน14,700,157.77บาทไม่ถูกต้องอย่างไรการกล่าวอ้างของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการกล่าวอ้างลอยๆจำเลยไม่สามารถสู้คดีได้ถูกต้องฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม โจทก์ได้ยอมรับว่าโจทก์ได้ให้บริการรับประทานอาหารฟรีแก่พนักงานของโจทก์บนเรือขุดแร่กรณีย่อมถือได้ว่าพนักงานที่ทำงานบนเรือขุดแร่ได้รับประโยชน์ในทางทรัพย์สินเพิ่มพูนขึ้นเนื่องจากการทำงานนอกเหนือไปจากเงินเดือนที่พนักงานจะได้รับแสดงให้เห็นว่าโจทก์ยอมรับว่าการเลี้ยงอาหารแก่พนักงานบนเรือดังกล่าวถือเป็นประโยชน์เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการจ้างแรงงานค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงถือเป็นเงินได้ของพนักงานของโจทก์ซึ่งได้รับอันเนื่องมาจากการจ้างแรงงานตามมาตรา40(1)แห่งประมวลรัษฎากรและเงินได้ในส่วนดังกล่าวถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา39แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาคำนวณหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณที่จ่ายและนำส่งต่อจำเลย เรือขุดแร่ของท.ที่มีการซื้อขายในคดีนี้ได้ถูกออกแบบเป็นพิเศษโดยเฉพาะเพื่อใช้งานสำหรับขุดแร่บริเวณที่ท.ได้รับสัมปทานโดยเฉพาะเมื่อการทำแร่จะต้องได้รับสัมปทานและท.ถูกเพิกถอนสัมปทานไปแล้วท. จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะต่อรองอะไรกับโจทก์หรือผู้ซื้อทรัพย์สินรายใดได้ส่วนหนังสือแจ้งราคาเรือที่ต่อใหม่ของบริษัทม. ก็ปรากฏว่ามีมาถึงโจทก์หลังจากที่โจทก์ได้ทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สินไปแล้วการยืนยันราคาเรือก็เป็นการยืนยันย้อนหลังแสดงว่าในการทำหนังสือสอบถามราคาไปก็เพียงแต่จะเป็นการสร้างหลักฐานขึ้นมาประกอบการซื้อทรัพย์นั้นไม่มีเจตนาจะให้มีการต่อเรือกันจริงหนังสือที่ทางบริษัทม. แจ้งมายังโจทก์จึงไม่น่าเชื่อถือสำหรับข้อที่โจทก์อ้างว่าหลังจากซื้อเรือขุดแร่จากท. แล้วได้ประกันภัยในราคาที่ใกล้เคียงกับราคาที่ซื้อมาของโจทก์โจทก์คงอ้างแต่เพียงลอยๆโดยไม่แสดงหลักฐานใดๆนอกจากนี้การกำหนดราคาเอาประกันภัยไม่อาจถือเป็นราคาอันสมควรได้เพราะคู่สัญญาประกันภัยสามารถตกลงวงเงินเอาประกันภัยเท่าใดก็ได้เพียงแต่หากเกิดความเสียหายก็จะชดใช้ให้ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้นดังนั้นราคาทรัพย์สินที่เอาประกันภัยจึงมิใช่ราคาตลาดของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยและไม่อาจเชื่อถือได้ส่วนที่โจทก์อ้างว่าราคาที่โจทก์และท.ทำการตกลงซื้อขายนั้นเป็นราคาของมูลค่าทรัพย์สินตามปกติที่อาจสามารถซื้อขายกันได้หาได้มีลักษณะเป็นการซื้อขายทรัพย์สินที่มีราคาสูงเกินปกติโดยไม่มีเหตุอันสมควรแต่ประการใดนั้นจากการตรวจสอบของเจ้าพนักงานของจำเลยได้ความว่าในการลงบัญชีทรัพย์ที่ซื้อมาโดยที่สัญญาซื้อขายทรัพย์สินระบุเป็นรายการใหญ่ๆต้องหาวิธีลงบัญชีเพื่อแยกเป็นรายการย่อยๆจึงได้ใช้ดัชนีมาร์ชแอนด์สตีแว่นมาเพื่อคำนวณหามูลค่าทรัพย์สินเพื่อใช้ลงบัญชีดัชนีมาร์ชแอนด์สตีเว่นเป็นการคำนวณค่าใช้จ่ายในการแต่งเรือย้อนหลังไป1ปีมีอัตราเงินเฟ้อประมาณร้อยละ16การเปรียบเทียบจะอยู่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกันแต่กรณีของโจทก์ทรัพย์สินที่โจทก์ซื้อผ่านการใช้งานมาแล้วประมาณ4ปีการนำดัชนีราคาดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับกรณีของโจทก์จึงไม่ถูกต้องราคาต้นทุนทรัพย์สินตามบัญชีท.มีราคา221,934,959.44บาทซึ่งเป็นราคาที่ท.ได้หักค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินและได้นำไปใช้หักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลของท. ไปแล้วและท. หักค่าเสื่อมราคาโดยใช้วิธีเส้นตรงในอัตราร้อยละ10ต่อปีซึ่งเป็นการหักค่าใช้จ่ายในอัตราต่ำอยู่แล้วการที่โจทก์ซื้อทรัพย์สินของท.มาในราคา332,800,000บาทจึงเป็นราคาที่สูงเกินปกติโดยไม่มีเหตุอันสมควร ตามสัญญาซื้อขายทรัพย์สินหนี้สินและสัญญาเพิ่มเติมเพื่อขายและซื้อทรัพย์สินและหนี้สินมีการระบุรายละเอียดรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่โจทก์ซื้อจากท. ไว้โดยไม่มีการระบุว่ามีการซื้อขายเจ้าหนี้ระยะยาวรายของบริษัทซ. และบริษัทซ. ไว้แต่อย่างใดดังนั้นการที่โจทก์จ่ายดอกเบี้ยแทนท.ไปโดยค่าดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นค่าดอกเบี้ยของหนี้สินระยะยาวซึ่งโจทก์มิได้ผูกพันด้วยค่าดอกเบี้ยที่โจทก์จ่ายไปจึงเป็นรายจ่ายที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพราะเป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์ตามมาตรา65ตรี(13)แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์จึงนำรายจ่ายดังกล่าวมาคิดคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7310/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ พ.ร.ฎ.กำหนดค่าใช้จ่ายหักลดหย่อนกับนิติบุคคล: ไม่สามารถใช้ พ.ร.ฎ.ที่บังคับใช้กับบุคคลธรรมดาในการคำนวณภาษีนิติบุคคลได้
พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8(25) เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคล-ธรรมดาพึงหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ มิใช่เพื่อกำหนดรายได้ของผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนั้น กรมสรรพากรจะนำ พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ที่ใช้บังคับแก่กรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มาใช้บังคับกับกรณีของนิติบุคคลโดยอนุโลมหาได้ไม่ เพราะการคำนวณหาเงินได้ของนิติบุคคลจะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 65, 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่ง ป.รัษฎากร ดังนั้น การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในส่วนที่นำ พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8 (25) มาเป็นเกณฑ์กำหนดให้โจทก์มีต้นทุนขายร้อยละ 80 ทำให้รายได้จากการขายต่ำไป 863,699.06 บาท นั้น จึงไม่ถูกต้องชอบที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์จะต้องดำเนินการตรวจสอบตามเอกสารหลักฐานทางบัญชีที่โจทก์นำมามอบให้ตรวจสอบ หากเอกสารหลักฐานทางบัญชีที่โจทก์นำมามอบให้ตรวจสอบไม่เป็นการเพียงพอที่จะตรวจสอบหาเงินได้ของโจทก์ได้ตามมาตรา 65, 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แล้ว จึงชอบที่จะใช้วิธีการประเมินตามมาตรา 71 (1) จะนำ พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าวมาใช้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6338/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไร ภาษีจากการขายอสังหาริมทรัพย์ และอำนาจการประเมินและอายัดทรัพย์สินของเจ้าพนักงาน
บริษัท ก.ได้รับโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงมาเมื่อวันที่ 15 มกราคม2526 ต่อมาบริษัท ก.จดทะเบียนโอนขายแก่โจทก์ทั้งห้าเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2528ในราคา 7,000,000 บาท แล้วโจทก์ทั้งห้าได้จดทะเบียนโอนขายแก่บริษัท ร.เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2528 ในราคา 69,800,000 บาท แต่โจทก์ที่ 2 ได้รับตั๋วแลกเงินธนาคารลงวันที่ 11 มีนาคม 2528 จำนวนเงิน 5,000,000 บาท จากบริษัท ร.เป็นการชำระเงินค่าที่ดินบางส่วนตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับลงวันที่ 12มีนาคม 2528 แทนผู้ขายทุกคน เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2528 อันแสดงให้เห็นว่าโจทก์ทั้งห้ามีความผูกพันต่อบริษัท ร.ตามสัญญาซื้อขายที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวอยู่ก่อนที่จะซื้อที่ดินทั้งสองแปลงมาจากบริษัท ก. ฉะนั้น ขณะที่โจทก์ทั้งห้าได้ที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวมาโดยการจดทะเบียนซื้อจากบริษัท ก.นั้น โจทก์ทั้งห้ามีเจตนาที่จะนำที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวมาจดทะเบียนโอนขายแก่บริษัท ร.ในราคา69,800,000 บาท ตามสัญญาจะซื้อขายที่มีความผูกพันกันอยู่ดังกล่าวแล้ว และหลังจากซื้อที่ดินมาได้แล้ว โจทก์ทั้งห้าก็ได้จดทะเบียนโอนขายดังกล่าวให้แก่บริษัท ร.จำกัด ไปตามเจตนาที่ซื้อมา เมื่อราคาที่ดินที่ซื้อมาต่ำ แต่ราคาที่ขายไปสูงและคำนวณผลต่างของราคาซื้อบวกด้วยค่าใช้จ่ายในการซื้อลบด้วยราคาขายแล้ว ผลปรากฏว่าโจทก์ทั้งห้ามีกำไรหลายเท่าตัว ทั้งราคาที่ขายไปเป็นราคาที่บริษัท ร.ตกลงไว้ตามสัญญาจะซื้อขายลงวันที่ 12 มีนาคม 2528 หาใช่ราคาตลาดของที่ดินทั้งสองแปลงสูงขึ้นเอง หลังจากที่โจทก์ทั้งห้าซื้อที่ดินทั้งสองแปลงมาจากบริษัท ก.ไม่ ดังนี้ถือได้ว่าการที่โจทก์ทั้งห้าขายที่ดินทั้งสองแปลงแก่บริษัท ร.ไปนั้นเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร
เงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินได้จากการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) จึงเป็นเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา40 (8) ซึ่งมาตรา 46 ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่จะได้กำหนดโดย พ.ร.ฎ.เมื่อ พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8 ทวิ บัญญัติให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร ทั้งนี้ให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรีแห่ง ป.รัษฎากรมาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินคำนวณการประเมินโดยหักค่าใช้จ่ายให้จำนวน 8,396,290 บาท ซึ่งเป็นต้นทุนในการซื้อที่ดินมา 7,000,000 บาท ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียน 1,396,290 บาทอันเป็นค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว
กรณีที่ผู้มีเงินได้จากการขายที่ดินซึ่งที่ดินนั้นได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร มีค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร แต่ผู้มีเงินได้จากการขายไม่สามารถหาหลักฐานเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาพิสูจน์ต่อเจ้าพนักงาน-ประเมินได้ แนวปฏิบัติตามนัยหนังสือกรมสรรพากรที่ กค.0802/766 ลงวันที่ 18มกราคม 2528 ก็ให้เจ้าพนักงานประเมินหักค่าใช้จ่ายในกรณีเช่นนี้ให้ในอัตราร้อยละ 75 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ตามกรณีของโจทก์ทั้งห้าในคดีนี้ โจทก์ทั้งห้าสามารถหาหลักฐานค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรมาพิสูจน์ได้ครบถ้วนและเจ้าพนักงานประเมินก็ได้หักให้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว หาใช่กรณีโจทก์ทั้งห้าไม่สามารถหาหลักฐานเกี่ยวกับการหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรมาพิสูจน์ได้ตามนัยหนังสือดังกล่าวไม่ จึงใช้อัตราร้อยละ 75 ของเงินได้พึงประเมินตามนัยหนังสือดังกล่าวมาหักค่าใช้จ่ายแก่โจทก์ทั้งห้าไม่ได้
โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ได้รับเงินได้พึงประเมินจากการขายที่ดินทั้งสองโฉนดจากบริษัท ร.มาเองทั้งหมดรวม 69,800,000 บาท โดยโจทก์ที่ 2มีชื่อในโฉนดที่ดินที่ขายทั้งสองโฉนดนั้น แม้โจทก์ที่ 2 จะต้องโอนเงินได้พึงประเมินให้แก่โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 ก็มีสิทธิเพียงหักเงินภาษีจากจำนวนเงินซึ่งต้องโอนให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามส่วน เมื่อโจทก์ที่ 2 มีชื่อในโฉนดที่ดินอันเป็นหนังสือสำคัญที่แสดงว่าเป็นผู้ได้รับเงินได้พึงประเมินจากการขายที่ดินโฉนดดังกล่าว เจ้าพนักงาน-ประเมินจึงมีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีทั้งหมดจากโจทก์ที่ 2 ได้ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 61
กรณีการอายัดที่ดินของโจทก์ที่ 1 นั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 ไม่ชำระเงินตามการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมายจึงถือเป็นภาษีอากรค้าง นายอำเภอในเขตท้องที่นั้นมีอำนาจสั่งอายัดที่ดินของโจทก์ที่ 1 ได้ ส่วนคำสั่งอายัดเงินค่าประกันการใช้โทรศัพท์และสิทธิการเช่าโทรศัพท์ของโจทก์ที่ 4 นั้น เนื่องจากการประเมินเรียกเก็บภาษีทั้งหมดจากโจทก์ที่ 4 ไม่ชอบ จึงมีผลให้ฟังไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 4 เป็นหนี้ค่าภาษีอากรค้าง นายอำเภอแห่งท้องที่จึงไม่มีอำนาจอายัดทรัพย์สินของโจทก์ที่ 4และขายทอดตลาดเพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้างตามประเมินได้ ดังนั้น การที่นายอำเภอแห่งท้องที่สั่งอายัดเงินค่าประกันการใช้โทรศัพท์และสิทธิการเช่าโทรศัพท์ของโจทก์ที่ 4 จึงเป็นการไม่ชอบไปด้วย
โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้บรรยายไว้ในคำฟ้องแล้วว่า โจทก์ทั้งห้ามิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี จึงมีเหตุอันควรผ่อนผันให้โจทก์ทั้งห้า และศาลภาษีอากรกลางก็ได้กำหนดเป็นประเด็นไว้แล้วว่า มีเหตุอันควรลดหรืองดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มหรือไม่ และศาลมีอำนาจวินิจฉัยในประเด็นนี้หรือไม่ ดังนั้น การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้งดเบี้ยปรับภาษีการค้าและเบี้ยปรับภาษีบำรุงเทศบาลแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นในคำฟ้อง ไม่เป็นการฝ่าฝืนป.วิ.พ.มาตรา 142 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลต่างประเทศ: การหักรายจ่าย, การคำนวณกำไรสุทธิ, และการลดเบี้ยปรับ
โจทก์เป็นบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศเมื่อประกอบกิจการซึ่งถือได้ว่าประกอบกิจการในประเทศไทยก็มีหน้าที่ต้องยื่นรายการและเสียภาษีสำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคลที่คำนวณจากฐานกำไรสุทธิซึ่งได้จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำในประเทศไทยในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยค่าใช้จ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา65ทวิมาตรา65ตรีและคิดตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา66และมาตรา67หากจะเสียภาษีในอัตราร้อยละ5ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆตามมาตรา66วรรคสองประกอบมาตรา71(1)ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้เมื่อโจทก์ยังสามารถที่จะคำนวณกำไรสุทธิเพื่อยื่นรายการและเสียภาษีได้แต่โจทก์ยื่นรายการและเสียภาษีในอัตราร้อยละ5ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆจึงไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา66และมาตรา67เจ้าพนักงานประเมินชอบที่จะประเมินให้โจทก์เสียภาษีให้ถูกต้องได้ การที่บัญชีงบดุลบัญชีกำไรขาดทุนและหลักฐานการทำบัญชีต่างๆของโจทก์ได้จัดทำกันที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ในต่างประเทศลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนโจทก์ในประเทศไทยไม่อาจทราบรายการต่างๆตามสมุดบัญชีงบดุลและงบกำไรขาดทุนของโจทก์โดยถูกต้องได้และโจทก์ยังให้บริการแก่บริษัทต่างๆในต่างประเทศอีกหลายประเทศนั้นยังไม่เพียงพอให้รับฟังว่าโจทก์ไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ โจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ไม่ถูกต้องเพราะหักรายจ่ายไม่ครบถ้วนเนื่องจากโจทก์ยังมีรายจ่ายอื่นอยู่ดังนั้นการที่โจทก์ยกข้อความดังกล่าวขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลางศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เชื่อว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงการชำระภาษีจึงลดเบี้ยปรับลงเหลือร้อยละ50เป็นดุลพินิจที่เหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทภาษีเงินได้นิติบุคคล การประเมินรายได้จากการขายหนังสือ การหักค่าใช้จ่ายรถยนต์ และการคืนเงินวาง
บัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท1ชนิด6กำหนดให้รายรับที่ได้จากการขายสมุดเอกสารหรือสิ่งตีพิมพ์ผู้ขายทอดแรกต้องนำมาคำนวณเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ1.5ส่วนข้อยกเว้นตามมาตรา79ตรี(7)กำหนดให้รายรับจากการขายหนังสือพิมพ์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข่าวสารที่จำหน่ายแก่สาธารณชนไม่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้าหนังสือนิตยสารสาวสยามของโจทก์มีเนื้อหาที่เป็นนวนิยายมากกว่าข่าวสารจึงมิใช่หนังสือพิมพ์ที่ส่วนใหญ่เป็นข่าวสารไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามมาตรา79ตรี(7)โจทก์ต้องนำรายรับจากการจำหน่ายหนังสือดังกล่าวมารวมคำนวณเสียภาษีการค้าประเภท1ชนิด6 บัญชีคุมสินค้าของโจทก์มิได้ระบุว่ามีหนังสือคงเหลือการที่จำเลยประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์เพิ่มโดยถือว่าโจทก์รับหนังสือที่เหลือจากการขายคืนมาเป็นจำนวนร้อยละ20และขายได้กิโลกรัมละ1บาทโดยอาศัยตัวเลขจากถ้อยคำของผู้รับมอบอำนาจโจทก์ที่ได้ให้ไว้ในชั้นไต่สวนจึงชอบด้วยกฎหมาย หลักฐานทะเบียนรถยนต์หาใช่เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของรถยนต์ไม่แม้ทะเบียนรถยนต์จะระบุว่าโจทก์เพิ่งเป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์ตั้งแต่วันที่15ธันวาคม2525แต่หาต้องฟังเป็นเด็ดขาดตามนั้นเสมอไปไม่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์คันพิพาทตั้งแต่วันที่19มกราคม2520รายจ่ายที่เกี่ยวกับรถยนต์พิพาทนับแต่วันดังกล่าวจึงมิใช่รายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองตามมาตรา65ตรี ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ในข้อที่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงโดยมิได้สั่งในวันที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์และไม่แจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบเมื่ออุทธรณ์ดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528มาตรา25จึงไม่มีเหตุต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางแจ้งคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบอีกเพราะไม่ทำให้ผลของคำสั่งศาลชั้นต้นเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นภาษีหนังสือ, ค่าใช้จ่ายรถยนต์, และการไม่รับอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
หนังสือนิตยสารของโจทก์มิใช่หนังสือพิมพ์ที่ส่วนใหญ่เป็นข่าวสารแต่กลับมีเนื้อหาที่เป็นนวนิยายมากกว่าข่าวสาร จึงไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 79 ตรี (7) โจทก์ต้องนำรายรับจากการจำหน่ายหนังสือดังกล่าวมารวมคำนวณเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท 1 ชนิด 6
หลักฐานทะเบียนรถยนต์หาใช่เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของรถยนต์ไม่ แม้ทะเบียนรถยนต์ระบุวันเดือนปีที่โจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองไว้ก็หาต้องฟังเป็นเด็ดขาดตามนั้นเสมอไปไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่ารายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์คันดังกล่าวมิใช่รายจ่ายที่โจทก์กำหนดขึ้นเอง จึงไม่ต้องด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี
ศาลภาษีอากรกลางสั่งไม่รับอุทธรณ์โจทก์บางข้อโดยมิได้สั่งในวันที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์และยังไม่แจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบ เมื่อศาลฎีกาตรวจอุทธรณ์ของโจทก์ข้อดังกล่าวแล้ว เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 25กรณีจึงไม่มีเหตุต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางแจ้งคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบอีกเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2452/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าจากสินค้าขาดบัญชีและการหักอัตราความสูญเสียในการผลิต
เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าแก่โจทก์โจทก์อุทธรณ์การประเมินภาษีทั้งสองประเภทโดยในปัญหาสินค้าขาดจากบัญชีคุมสินค้านั้นโจทก์อุทธรณ์ว่าเจ้าพนักงานประเมินมิได้ไปทำการตรวจสอบสินค้าและบัญชีคุมสินค้าที่สำนักงานของโจทก์เพียงแต่ตรวจบัญชีของบริษัทและพบว่ามีสินค้าขาดไปโจทก์มิได้มีเจตนาที่จะทำให้บัญชีไม่ตรงเช่นนั้นการอุทธรณ์เช่นนี้แม้จะขาดเหตุผลในรายละเอียดของสินค้าขาดบัญชีและผู้อุทธรณ์ขอให้ลดเบี้ยปรับเท่านั้นก็ถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์คัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินแล้วโจทก์จึงชอบที่จะฟ้องคดีโดยอ้างเหตุผลคัดค้านการประเมินเพิ่มเติมจากที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ ดอกเบี้ยค้างจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปี2526แม้โจทก์จะได้รับแจ้งให้ชำระในรอบระยะเวลาบัญชีปี2527โจทก์ก็ต้องนำมาคำนวณหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปี2526การที่โจทก์นำมาหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี2527จึงต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา65ตรี(9) กรณีที่ให้ถือว่าสินค้าขาดจากบัญชีคุมสินค้าเป็นการขายสินค้าและให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับตามประมวลรัษฎากรมาตรา79ทวิ(6)นั้นเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับแก่ภาษีการค้าไม่มีบทบัญญัติให้นำไปใช้ในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินให้ถือว่าสินค้าที่ขาดจากบัญชีคุมสินค้าเป็นการขายเพื่อถือเป็นเงินได้ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีจากยอดขายน้ำมันที่ตรวจสอบพบความแตกต่างจากเอกสาร และการยินยอมเพิ่มยอดขายต่อลิตรของโจทก์
การที่เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบยอดขายน้ำมันของโจทก์โดยนำเอายอดซื้อคงเหลือต้นปีบวกด้วยยอดซื้อตลอดปี แล้วลบด้วยยอดคงเหลือปลายปี ผลที่ได้ถือเป็นยอดขายของโจทก์เมื่อปรากฏว่ายอดขายของโจทก์จากการตรวจสอบดังกล่าวสูงกว่ายอดขายตามใบเสร็จรับเงินที่โจทก์ส่งมาให้ตรวจสอบ จึงนำยอดขายที่ได้จากใบเสร็จรับเงินลบออกจากยอดขายที่ได้จากการตรวจสอบแล้วถือว่าผลต่างที่ได้เป็นจำนวนน้ำมันที่โจทก์ขายไปโดยไม่มีใบเสร็จรับเงิน และประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มนั้น ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ในชั้นตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานประเมิน ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีว่ายินยอมให้เพิ่มยอดขายต่อลิตรในอัตราลิตรละ 0.02 บาทจากราคาขายที่แสดงไว้เดิม ดังนี้ เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินโดยถือเกณฑ์กำไรลิตรละ0.02 บาทได้โดยชอบ
โจทก์อุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นกล่าวไว้ในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
of 4