คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อำนวย เต้พันธ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 359 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8836/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีที่ราชพัสดุ, การมอบอำนาจตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และอายุความของคดีที่ดินสาธารณสมบัติ
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534มาตรา 38 เป็นกฎหมายพิเศษที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการมอบอำนาจเพื่อกระจายอำนาจบริหารให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารราชการแผ่นดิน และกำหนดวิธีการมอบอำนาจโดยให้ทำเป็นหนังสือ ดังนั้นเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังซึ่งเป็นผู้แทนของกระทรวงการคลังโจทก์มีคำสั่งมอบอำนาจให้อธิบดีกรมธนารักษ์มีอำนาจร้องทุกข์และแต่งตั้งทนายความเพื่อฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ราชพัสดุโดยทำเป็นหนังสือการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจึงถูกต้องตามมาตรา 38 แล้ว
ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุของกระทรวงการคลังโจทก์ตามพระราชบัญญัติราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 11 และเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(3)กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1306จำเลยจึงไม่สามารถยกอายุความขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8411/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: เหตุสุดวิสัยและการไม่วินิจฉัยประเด็นการขาดนัด
คดีอาญาโจทก์ได้แก้อุทธรณ์ว่าอุทธรณ์ของจำเลยเกินกำหนดเวลาที่จะยื่นอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ กรณีจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2)ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่สอง แม้จะยื่นภายหลังจากล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตขยายให้ในครั้งแรกแล้วก็ตาม แต่ตามคำร้องของจำเลยดังกล่าว ได้แสดงเหตุว่ากรณีมีเหตุสุดวิสัยที่มิอาจยื่นคำร้องได้ทันภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า กรณีตามคำร้องเป็นเหตุสุดวิสัยอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ จึงเป็นการใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งตามที่เห็นสมควร คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8411/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์และการพิจารณาเหตุสุดวิสัย ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการขยายเวลาชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2541 ต่อมาวันที่ 5 มิถุนายน 2541 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่หนึ่งออกไปอีก 30 วัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์จนถึงวันที่ 7 กรกฎาคม 2541 แต่จำเลยไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ในระยะเวลาดังกล่าว ครั้นในวันที่ 14 กรกฎาคม 2541 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่สอง แม้จะยื่นภายหลังจากล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตขยายให้แล้วก็ตาม แต่ตามคำร้องของจำเลยดังกล่าวได้แสดงเหตุว่า กรณีมีเหตุสุดวิสัยที่มิอาจยื่นคำร้องได้ทันภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า กรณีตามคำร้องเป็นเหตุสุดวิสัยอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึงวันที่ 29 กรกฎาคม 2541 จึงเป็นการใช้อำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 และเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งตามที่เห็นสมควร คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์จึงชอบแล้ว เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์วันที่ 29 กรกฎาคม 2541 จึงยังไม่เกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นขยายให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8140/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้: ลายมือชื่อผู้กู้เป็นหลักฐานเพียงพอ แม้ไม่มีพยาน, การนำสืบที่มาของเงินกู้ไม่เกินฟ้อง
จำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินหรือไม่ ศาลต้องพิจารณาจากข้อความตามสัญญาเป็นหลัก โดยเฉพาะจำเลยได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ยืมในสัญญาแม้ไม่มีพยานในสัญญา ศาลก็รับฟังได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงิน
โจทก์ตั้งฐานความผิดตามฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงิน การนำสืบของโจทก์ในเรื่องมูลหนี้เดิมคือมูลหนี้แชร์ เป็นการนำสืบถึงที่มาของจำนวนเงินกู้เป็นรายละเอียดของคำฟ้อง โจทก์สามารถนำสืบได้ หาใช่นอกฟ้องนอกประเด็นไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8140/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานสัญญาเงินกู้ที่ต้นฉบับสูญหาย และการนำสืบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมที่สอดคล้องกับฟ้อง
ขณะยื่นฟ้อง โจทก์มีต้นฉบับสัญญากู้ยืมเงินแต่สูญหายไปศาลจึงรับฟังสำเนาสัญญากู้ยืมเงินเป็นพยานหลักฐานได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2)
โจทก์ตั้งฐานความผิดตามฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินแต่ทางนำสืบของโจทก์หยิบยกข้อเท็จจริงใหม่ไม่ตรงกับฟ้องโจทก์ในข้อสาระสำคัญ และศาลล่างทั้งสองได้ชี้ขาดตัดสินคดีโดยหยิบยกข้อเท็จจริงตามทางนำสืบขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
โจทก์ตั้งฐานความผิดตามฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินการนำสืบของโจทก์ในเรื่องมูลหนี้เดิมคือมูลหนี้แชร์เป็นการนำสืบถึงที่มาของจำนวนเงินกู้เป็นรายละเอียดของคำฟ้อง โจทก์สามารถนำสืบได้หาใช่นอกฟ้องนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7818/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา กรณีพิพาทที่ดิน: ห้ามเปลี่ยนแปลงสภาพที่ดิน แต่ไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขอออก น.ส.3 ก. ทับที่ดินโจทก์โดยจำเลยที่ 1 ไม่เคยเข้ามาครอบครองที่ดินดังกล่าว และจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 แล้วนำไปจดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่ 3 ขอให้ศาลเพิกถอนน.ส.3 ก. และนิติกรรมการขายที่ดินและการจำนอง และตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้เข้าไปครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา อ้างว่าจำเลยที่ 2 ให้คนงานไถที่ดินพิพาทและปักรั้วลวดหนามเข้ามาในที่ดินโจทก์ กับถอนเสาปูนซิเมนต์ที่โจทก์ปักไว้เป็นแนวเขต แม้มิได้เป็นการที่จำเลยที่ 2 กระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิดหรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้องก็ตาม แต่โจทก์ได้มีคำขอให้ห้ามจำเลยทั้งสามเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทด้วย ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 2 ตามคำร้องของโจทก์จึงเป็นการเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทซึ่งอาจทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์อาจได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทำของจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 254 (2)
โจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของตน การที่จำเลยที่ 2 เข้าไปกั้นรั้วลวดหนามและเปลี่ยนแปลงสภาพที่ดินพิพาทในระหว่างการพิจารณาของศาล ย่อมอาจทำให้โจทก์เดือดร้อนเสียหายได้หากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี กรณีจึงมีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามป.วิ.พ.มาตรา 254 (2) มาใช้โดยห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยที่ 2 กั้นรั้วลวดหนามเพิ่มเติมและห้ามมิให้จำเลยที่ 2 เปลี่ยนแปลงสภาพที่ดินพิพาทต่อไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
แต่ที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 2 รื้อถอนรั้วลวดหนามและเสาปูนซิเมนต์ให้กลับคืนสภาพเดิมนั้น ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล ทั้งโจทก์และจำเลยที่ 2ต่างไม่สมควรเข้าไปทำสิ่งใดในที่ดินพิพาท เพราะอาจเป็นเหตุให้อีกฝ่ายเดือดร้อนเสียหายได้หากศาลพิพากษาให้ฝ่ายนั้นชนะคดี เมื่อโจทก์ยังไม่ได้เข้าไปในที่ดินพิพาทและยังไม่สมควรเข้าไปทำสิ่งใดในที่ดินพิพาท ดังนั้นการมีรั้วลวดหนามและเสาปูนซิเมนต์อยู่ยังไม่ทำให้โจทก์เสียหายเดือดร้อน กรณีไม่มีเหตุสมควรให้รื้อถอนรั้วลวดหนามและเสาปูนซิเมนต์ที่จำเลยที่ 2 เข้าไปปักไว้ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7818/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีพิพาทที่ดิน: การเปลี่ยนแปลงสภาพที่ดินอาจทำให้เกิดความเสียหายได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขอออก น.ส.3 ก. ทับที่ดินโจทก์โดยจำเลยที่ 1ไม่เคยเข้ามาครอบครองที่ดินดังกล่าว และจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1แล้วนำไปจดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่ 3 ขอให้ศาลเพิกถอน น.ส.3 ก. และนิติกรรมการขายที่ดินและการจำนอง และตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้เข้าไปครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา อ้างว่าจำเลยที่ 2 ให้คนงานไถที่ดินพิพาทและปักรั้วลวดหนามเข้ามาในที่ดินโจทก์ กับถอนเสาปูนซิเมนต์ที่โจทก์ปักไว้เป็นแนวเขตแม้มิได้เป็นการที่จำเลยที่ 2 กระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิดหรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้องก็ตาม แต่โจทก์ได้มีคำขอให้ห้ามจำเลยทั้งสามเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทด้วย ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 2 ตามคำร้องของโจทก์จึงเป็นการเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทซึ่งอาจทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์อาจได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทำของจำเลยที่ 2 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 254(2)
โจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของตน การที่จำเลยที่ 2เข้าไปกั้นรั้วลวดหนามและเปลี่ยนแปลงสภาพที่ดินพิพาทในระหว่างการพิจารณาของศาล ย่อมอาจทำให้โจทก์เดือดร้อนเสียหายได้หากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีกรณีจึงมีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2) มาใช้โดยห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยที่ 2 กั้นรั้วลวดหนามเพิ่มเติมและห้ามมิให้จำเลยที่ 2 เปลี่ยนแปลงสภาพที่ดินพิพาทต่อไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
แต่ที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 2 รื้อถอนรั้วลวดหนามและเสาปูนซิเมนต์ให้กลับคืนสภาพเดิมนั้น ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล ทั้งโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างไม่สมควรเข้าไปทำสิ่งใดในที่ดินพิพาท เพราะอาจเป็นเหตุให้อีกฝ่ายเดือดร้อนเสียหายได้หากศาลพิพากษาให้ฝ่ายนั้นชนะคดี เมื่อโจทก์ยังไม่ได้เข้าไปในที่ดินพิพาทและยังไม่สมควรเข้าไปทำสิ่งใดในที่ดินพิพาท ดังนั้นการมีรั้วลวดหนามและเสาปูนซิเมนต์อยู่ยังไม่ทำให้โจทก์เสียหายเดือดร้อน กรณีไม่มีเหตุสมควรให้รื้อถอนรั้วลวดหนามและเสาปูนซิเมนต์ที่จำเลยที่ 2 เข้าไปปักไว้ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7811/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับให้ทายาทรับผิดตามสัญญาจะซื้อขายที่ผู้ตายทำไว้ และอายุความของฟ้องร้อง
ที่ดินเป็นทรัพย์มรดกของ อ. ไม่ปรากฏว่า อ. ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทให้ผู้ใด เมื่อ อ. ตายที่ดินพิพาทจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของ อ. ทันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง จำเลยเป็นผู้สืบสันดานและเป็นทายาทโดยธรรมของ อ. มีสิทธิได้รับมรดกของ อ. ในลำดับแรกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(1) มีสิทธิได้รับมรดกในที่ดินทันทีตั้งแต่ อ. ถึงแก่ความตาย และจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของอ. มีหนี้ตามสัญญาจะซื้อขายที่ อ. ทำไว้ ในอันที่จะต้องจดทะเบียนให้โจทก์ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทด้วย การบังคับให้จำเลยจดทะเบียนให้โจทก์ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทด้วยเป็นการบังคับในส่วนอันเป็นสิทธิของจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของ อ. ซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทเท่านั้น มิได้กระทบกระเทือนถึงสิทธิของทายาทอื่นในที่ดินพิพาท และไม่ได้เป็นเรื่องที่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้กระทำได้
การฟ้องให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายมิได้มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7563/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้ทางภาระจำยอม-เจตนาบุกรุก: การรื้อรั้วตามคำพิพากษาศาลแพ่ง ไม่ถือเป็นการบุกรุกหากเชื่อสุจริต
ศาลพิพากษาให้ที่ดินของโจทก์เป็นทางภาระจำยอมของที่ดินจำเลยที่ 1 โดยให้รื้อรั้วที่ปิดกั้นทางเข้าออกหลังตึกแถวในที่ดินของจำเลยที่ 1 ออก และให้โจทก์ไปจดทะเบียนภารจำยอม คำพิพากษาดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันโจทก์กับจำเลยที่ 1ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิใช้ที่ดินของโจทก์เป็นทางเข้าออกสู่สาธารณะได้ แม้โจทก์จะยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาและขอทุเลาการบังคับคดีก็ไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ตามคำพิพากษาแต่ประการใด จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิเข้าไปในที่ดินของโจทก์ได้
การที่ศาลออกคำบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาจนมีการจดทะเบียนภารจำยอมให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมเป็นเหตุผลให้จำเลยทั้งสองเชื่อโดยสุจริตว่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิใช้ที่ดินของโจทก์เป็นทางภารจำยอมเข้าออกสู่ที่ดินของจำเลยที่ 1 ได้ และมีเหตุผลให้เข้าใจไปได้ว่า การที่โจทก์ยังคงขัดขืนเพิกเฉยไม่ยอมรื้อรั้วเป็นการจงใจไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล การที่จำเลยทั้งสองกับพวกเข้าไปในที่ดินของโจทก์เพื่อรื้อรั้วออกจึงเป็นการเข้าไปโดยเชื่อว่าตนเองมีสิทธิใช้ที่ดินของโจทก์เป็นทางเข้าออกตามคำพิพากษา หาใช่เป็นการเข้าไปโดยลุแก่อำนาจโดยมีเจตนารบกวนการครอบครองที่ดินของโจทก์โดยปกติสุขไม่ฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาบุกรุกที่ดินของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7546/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นเจ้าของที่ดินพิพาท: ศาลฎีกายกฟ้องเนื่องจากศาลล่างวินิจฉัยนอกเหนือคำฟ้องและคำให้การ
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดิน น.ส. 3 ที่พิพาท ขอให้ขับไล่จำเลยจำเลยให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์ไม่เคยครอบครองที่ดินพิพาทจำเลยได้หักร้างถางพงแล้วเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา ซึ่งแสดงว่าจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาตั้งแต่ต้น คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท การแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 รวมทั้งไม่มีปัญหาเรื่องการเปลี่ยนลักษณะการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1381 การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าโจทก์ขาดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองแล้วพิพากษายกฟ้องจึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 และ 183 ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5)
of 36