พบผลลัพธ์ทั้งหมด 359 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7546/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและการแย่งการครอบครอง ศาลวินิจฉัยนอกเหนือคำฟ้องไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดิน น.ส.3 ที่พิพาท ขอให้ขับไล่จำเลย จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์ไม่เคยครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยได้หักร้างถางพงแล้วเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา ซึ่งแสดงว่าจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาตั้งแต่ต้น คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท การแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้นเมื่อจำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 รวมทั้งไม่มีปัญหาเรื่องการเปลี่ยนลักษณะการยึดถือตาม ป.พ.พ.มาตรา 1381 การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า โจทก์ขาดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองแล้วพิพากษายกฟ้องจึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142 และ 183 ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7545/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตปฏิรูปที่ดินทำให้การบุกรุกป่าสงวนฯ สิ้นความผิดตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ภายหลังเกิดเหตุ มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในท้องที่ที่ดินที่พิพาทตั้งอยู่ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2518 มีผลเป็นการเพิกถอนสภาพของป่าสงวนแห่งชาติในเขตตำบลอันเป็นท้องที่เกิดเหตุตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 26(4)ที่ดินที่เกิดเหตุไม่เป็นป่าสงวนแห่งชาติอีกต่อไป และถือได้ว่ามีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังยกเลิกความผิดของจำเลยทั้งสอง เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย
คดีที่มีปัญหาเฉพาะข้อกฎหมาย แม้ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222 ก็ตาม แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าป่าอันเป็นที่เกิดเหตุไม่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินนั้นยังคลาดเคลื่อนต่อความจริงตามที่ปรากฏในแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีการะบุว่าแนวเขตปฏิรูปที่ดินในแผนที่ครอบคลุมถึงที่เกิดเหตุในคดีนี้ด้วยศาลฎีกาก็ชอบที่จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงได้เองตามพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน
ภายหลังเกิดเหตุได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ท้องที่ที่เกิดเหตุเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ประกอบกับพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518มาตรา 26(4) มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ ดังนี้ เมื่อที่ดินเกิดเหตุสิ้นสภาพความเป็นป่าสงวนแห่งชาติโดยผลของกฎหมายดังกล่าว แม้จำเลยทั้งสองยังคงยึดถือครอบครองที่ดินที่เกิดเหตุอยู่ การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14,31 วรรคสองกรณีเป็นเรื่องที่มีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังบัญญัติให้การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยทั้งสองย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง
คดีที่มีปัญหาเฉพาะข้อกฎหมาย แม้ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222 ก็ตาม แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าป่าอันเป็นที่เกิดเหตุไม่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินนั้นยังคลาดเคลื่อนต่อความจริงตามที่ปรากฏในแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีการะบุว่าแนวเขตปฏิรูปที่ดินในแผนที่ครอบคลุมถึงที่เกิดเหตุในคดีนี้ด้วยศาลฎีกาก็ชอบที่จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงได้เองตามพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน
ภายหลังเกิดเหตุได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ท้องที่ที่เกิดเหตุเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ประกอบกับพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518มาตรา 26(4) มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ ดังนี้ เมื่อที่ดินเกิดเหตุสิ้นสภาพความเป็นป่าสงวนแห่งชาติโดยผลของกฎหมายดังกล่าว แม้จำเลยทั้งสองยังคงยึดถือครอบครองที่ดินที่เกิดเหตุอยู่ การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14,31 วรรคสองกรณีเป็นเรื่องที่มีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังบัญญัติให้การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยทั้งสองย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7545/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสภาพป่าสงวนแห่งชาติโดย พ.ร.ฎ.ปฏิรูปที่ดิน และผลกระทบต่อความผิดฐานบุกรุก
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ภายหลังเกิดเหตุ มี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในท้องที่ที่ดินที่พิพาทตั้งอยู่ตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518มีผลเป็นการเพิกถอนสภาพของป่าสงวนแห่งชาติในเขตตำบลอันเป็นท้องที่เกิดเหตุตามพ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 26 (4) ที่ดินที่เกิดเหตุไม่เป็นป่าสงวนแห่งชาติอีกต่อไป และถือได้ว่ามีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังยกเลิกความผิดของจำเลยทั้งสอง เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย
คดีที่มีปัญหาเฉพาะข้อกฎหมาย แม้ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 222 ก็ตาม แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าป่าอันเป็นที่เกิดเหตุไม่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินนั้นยังคลาดเคลื่อนต่อความจริงตามที่ปรากฏในแผนที่แนบท้าย พ.ร.ฎ.ระบุว่าแนวเขตปฏิรูปที่ดินในแผนที่ครอบคลุมถึงที่เกิดเหตุในคดีนี้ด้วยศาลฎีกาก็ชอบที่จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงได้เองตามพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน
ภายหลังเกิดเหตุได้มี พ.ร.ฎ. กำหนดให้ท้องที่ที่เกิดเหตุเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ประกอบกับ พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา26(4) มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ ดังนี้ เมื่อที่ดินที่เกิดเหตุสิ้นสภาพความเป็นป่าสงวนแห่งชาติโดยผลของกฎหมายดังกล่าว แม้จำเลยทั้งสองยังคงยึดถือครอบครองที่ดินที่เกิดเหตุอยู่ การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14, 31 วรรคสองกรณีเป็นเรื่องที่มีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังบัญญัติให้การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยทั้งสองย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด ตาม ป.อ.มาตรา 2 วรรคสอง
คดีที่มีปัญหาเฉพาะข้อกฎหมาย แม้ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 222 ก็ตาม แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าป่าอันเป็นที่เกิดเหตุไม่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินนั้นยังคลาดเคลื่อนต่อความจริงตามที่ปรากฏในแผนที่แนบท้าย พ.ร.ฎ.ระบุว่าแนวเขตปฏิรูปที่ดินในแผนที่ครอบคลุมถึงที่เกิดเหตุในคดีนี้ด้วยศาลฎีกาก็ชอบที่จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงได้เองตามพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน
ภายหลังเกิดเหตุได้มี พ.ร.ฎ. กำหนดให้ท้องที่ที่เกิดเหตุเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ประกอบกับ พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา26(4) มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ ดังนี้ เมื่อที่ดินที่เกิดเหตุสิ้นสภาพความเป็นป่าสงวนแห่งชาติโดยผลของกฎหมายดังกล่าว แม้จำเลยทั้งสองยังคงยึดถือครอบครองที่ดินที่เกิดเหตุอยู่ การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14, 31 วรรคสองกรณีเป็นเรื่องที่มีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังบัญญัติให้การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยทั้งสองย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด ตาม ป.อ.มาตรา 2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7473/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานครอบครองยาเสพติด แม้ฟ้องจำหน่าย – ศาลลงโทษได้หากมีหลักฐานจากการพิจารณา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 4,7,15,66,102 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ร่วมกับจำเลยที่ 1ที่ 2 และที่ 5 จำหน่ายเฮโรอีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ให้แก่ผู้มีชื่อ แม้โจทก์มิได้บรรยายว่า จำเลยที่ 3และที่ 4 ร่วมกันครอบครองเฮโรอีนของกลางก็ตาม แต่เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 กับพวกร่วมกันมีเฮโรอีนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ก็ต้องถือว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้องเกี่ยวกับฐานความผิดอันเป็นข้อแตกต่างกันในรายละเอียดทั้งจำเลยที่ 3 และที่ 4 นำสืบต่อสู้ว่า จำเลยทั้งสองมิได้มีเฮโรอีนของกลางไว้ในครอบครอง การบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าว จึงไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 หลงต่อสู้ ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 3 และที่ 4ในความผิดฐานร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามที่พิจารณาได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสองกรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7473/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณา ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่พิจารณาได้ แม้ต่างจากฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 4, 7, 15, 66, 102 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3และที่ 4 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 จำหน่ายเฮโรอีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ให้แก่ผู้มีชื่อ แม้โจทก์มิได้บรรยายว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4ร่วมกันครอบครองเฮโรอีนของกลางก็ตาม แต่เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 กับพวกร่วมกันมีเฮโรอีนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ก็ต้องถือว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้องเกี่ยวกับฐานความผิด อันเป็นข้อแตกต่างกันในรายละเอียดทั้งจำเลยที่ 3 และที่ 4 นำสืบต่อสู้ว่า จำเลยทั้งสองมิได้มีเฮโรอีนของกลางไว้ในครอบครอง การบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าว จึงไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 3และที่ 4 หลงต่อสู้ ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในความผิดฐานร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสอง กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7349/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความเจตนาที่แท้จริงของสัญญาจะซื้อขายที่ดิน และการนำสืบพยานเพื่ออธิบายความหมายของสัญญา
การนำพยานบุคคลมาสืบอธิบายถึงจำนวนเนื้อที่ดินที่โจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อขายนั้น เป็นการสืบอธิบายความหมายของสัญญาจะซื้อขาย เพื่อให้เห็นเจตนาอันแท้จริงของโจทก์และจำเลยว่าประสงค์จะซื้อขาย ที่ดินส่วนใด ไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 (ข) แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7159/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระหนี้จากเงินประกันการเช่าหลังผิดสัญญาเช่า และการหักชำระหนี้ค่าเช่าและค่าเสียหาย
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยโดยได้กำหนดนัดไว้ก่อนวันนัดถึง 2 เดือนเศษและคดีนี้จำเลยได้ขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งแล้วจนกระทั่งศาลชั้นต้นต้องกำชับจำเลยว่าจะไม่ให้เลื่อนคดีอีก ดังนี้ การที่ทนายจำเลยจะขอเลื่อนคดีไปอีก จึงต้องเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งและไม่อาจก้าวล่วงได้ เมื่อตามคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยดังกล่าวไม่ได้แสดงให้เห็นว่า การขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนและสำคัญยิ่งไปกว่ากำหนดที่ได้นัดกับศาลชั้นต้นและคู่ความอีกฝ่าย การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีจึงชอบแล้ว
คดีก่อนคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่มีสิทธิขอรับเงินประกันการเช่า 5,000,000 บาท ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ประเด็นในคดีก่อนจึงมีว่าจำเลยมีสิทธิเรียกเงินประกันการเช่า 5,000,000 บาท คืนจากโจทก์หรือไม่ส่วนคดีนี้มีประเด็นว่าจำเลยมีสิทธิขอให้นำเงินประกันการเช่า 5,000,000 บาทมาหักชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ ประเด็นจึงต่างกัน ไม่อาจนำผลของคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในคดีก่อนมาผูกพันจำเลยในคดีนี้ได้
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่า ลูกหนี้จึงมีสิทธิริบเงินประกันการเช่าได้ เงินประกันการเช่าดังกล่าวแม้ในสัญญาเช่าจะไม่เรียกเบี้ยปรับ แต่ข้อที่กำหนดไว้ในสัญญาที่ให้ลูกหนี้อาจใช้สิทธิริบเอาได้นั้นมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับเงินประกันการเช่าดังกล่าวจึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
คดีก่อนคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่มีสิทธิขอรับเงินประกันการเช่า 5,000,000 บาท ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ประเด็นในคดีก่อนจึงมีว่าจำเลยมีสิทธิเรียกเงินประกันการเช่า 5,000,000 บาท คืนจากโจทก์หรือไม่ส่วนคดีนี้มีประเด็นว่าจำเลยมีสิทธิขอให้นำเงินประกันการเช่า 5,000,000 บาทมาหักชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ ประเด็นจึงต่างกัน ไม่อาจนำผลของคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในคดีก่อนมาผูกพันจำเลยในคดีนี้ได้
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่า ลูกหนี้จึงมีสิทธิริบเงินประกันการเช่าได้ เงินประกันการเช่าดังกล่าวแม้ในสัญญาเช่าจะไม่เรียกเบี้ยปรับ แต่ข้อที่กำหนดไว้ในสัญญาที่ให้ลูกหนี้อาจใช้สิทธิริบเอาได้นั้นมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับเงินประกันการเช่าดังกล่าวจึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7159/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนคดี, การหักชำระหนี้ด้วยเงินประกัน, และเบี้ยปรับจากสัญญาเช่า
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยโดยได้กำหนดนัดไว้ก่อนวันนัดถึง 2 เดือนเศษ และคดีนี้จำเลยได้ขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งแล้วจนกระทั่งศาลชั้นต้นต้องกำชับจำเลยว่าจะไม่ให้เลื่อนคดีอีก การที่ทนายจำเลยจะขอเลื่อนคดีไปอีก จึงต้องเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งและไม่อาจก้าวล่วงได้ เมื่อตามคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยดังกล่าวไม่ได้แสดงให้เห็นว่าการขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนและสำคัญยิ่งไปกว่ากำหนดที่ได้นัดกับศาลชั้นต้นและคู่ความอีกฝ่าย การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีจึงชอบแล้ว
ในคดีก่อนคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่มีสิทธิขอรับเงินประกันการเช่า 5,000,000 บาท ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ประเด็นในคดีก่อนจึงมีว่าจำเลยมีสิทธิเรียกเงินประกันการเช่า 5,000,000 บาท คืนจากโจทก์หรือไม่ ส่วนคดีนี้มีประเด็นว่าจำเลยมีสิทธิขอให้นำเงินประกันการเช่า 5,000,000 บาท มาหักชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ ประเด็นจึงต่างกัน ไม่อาจนำผลของคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในคดีก่อนมาผูกพันจำเลยในคดีนี้ได้
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่า ลูกหนี้จึงมีสิทธิริบเงินประกันการเช่าได้ เงินประกันการเช่าดังกล่าวแม้ในสัญญาเช่าจะไม่เรียกเบี้ยปรับ แต่ข้อที่กำหนดไว้ในสัญญาที่ให้ลูกหนี้อาจใช้สิทธิริบเอาได้นั้นมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ เงินประกันการเช่าดังกล่าวจึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 381 ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
ในคดีก่อนคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่มีสิทธิขอรับเงินประกันการเช่า 5,000,000 บาท ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ประเด็นในคดีก่อนจึงมีว่าจำเลยมีสิทธิเรียกเงินประกันการเช่า 5,000,000 บาท คืนจากโจทก์หรือไม่ ส่วนคดีนี้มีประเด็นว่าจำเลยมีสิทธิขอให้นำเงินประกันการเช่า 5,000,000 บาท มาหักชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ ประเด็นจึงต่างกัน ไม่อาจนำผลของคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในคดีก่อนมาผูกพันจำเลยในคดีนี้ได้
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่า ลูกหนี้จึงมีสิทธิริบเงินประกันการเช่าได้ เงินประกันการเช่าดังกล่าวแม้ในสัญญาเช่าจะไม่เรียกเบี้ยปรับ แต่ข้อที่กำหนดไว้ในสัญญาที่ให้ลูกหนี้อาจใช้สิทธิริบเอาได้นั้นมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ เงินประกันการเช่าดังกล่าวจึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 381 ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7092/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง – การแยกกระทงความผิดฐานครอบครองเพื่อจำหน่ายกับจำหน่ายยาเสพติด
คดีที่ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ต้องแยกพิจารณาโทษแต่ละกระทงเป็นเกณฑ์ คดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 5 ปี ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 5 ปีรวมจำคุก 10 ปี แม้จะนำโทษจำคุก 3 เดือน ที่รอการลงโทษไว้ในคดีอื่นมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ เป็นจำคุก 10 ปี 3 เดือนก็เป็นกรณีที่คดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกิน 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
จำเลยฎีกาว่า พยานบุคคลของโจทก์ที่นำสืบขัดแย้งกับพยานวัตถุและพยานโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยส่งมอบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 1 เม็ด ราคา 120 บาทให้แก่สายลับไปโดยสายลับยังไม่ได้ชำระราคาเมทแอมเฟตามีนแก่จำเลย เจ้าพนักงานตำรวจก็จับกุมจำเลย เป็นฎีกาที่จำเลยโต้แย้งคัดค้านการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ในข้อที่ว่าจำเลยได้รับชำระราคาค่าเมทแอมเฟตามีนแล้วหรือยัง เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยฎีกาว่า การกระทำของจำเลยเป็นเพียงความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนหรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ข้อที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ขอให้ลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสี่ เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาล เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงอีกเช่นกัน
การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ลักษณะของการกระทำต่างกัน เป็นการกระทำต่างขั้นตอนกันสามารถแยกการกระทำแต่ละอย่างต่างหากจากกันได้ ทั้งนี้พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 ไม่ได้นิยามความหมายของคำว่า จำหน่าย ให้มีความหมายรวมถึงการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายด้วยดังเช่นที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 4 ซึ่งแสดงว่า พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มุ่งประสงค์จะลงโทษการมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษทั้งสองกรณี
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 2 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยก็มีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายกระทงหนึ่งแล้ว เมื่อจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 1 เม็ด จำเลยก็มีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอีกกระทงหนึ่ง
จำเลยฎีกาว่า พยานบุคคลของโจทก์ที่นำสืบขัดแย้งกับพยานวัตถุและพยานโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยส่งมอบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 1 เม็ด ราคา 120 บาทให้แก่สายลับไปโดยสายลับยังไม่ได้ชำระราคาเมทแอมเฟตามีนแก่จำเลย เจ้าพนักงานตำรวจก็จับกุมจำเลย เป็นฎีกาที่จำเลยโต้แย้งคัดค้านการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ในข้อที่ว่าจำเลยได้รับชำระราคาค่าเมทแอมเฟตามีนแล้วหรือยัง เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยฎีกาว่า การกระทำของจำเลยเป็นเพียงความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนหรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ข้อที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ขอให้ลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสี่ เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาล เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงอีกเช่นกัน
การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ลักษณะของการกระทำต่างกัน เป็นการกระทำต่างขั้นตอนกันสามารถแยกการกระทำแต่ละอย่างต่างหากจากกันได้ ทั้งนี้พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 ไม่ได้นิยามความหมายของคำว่า จำหน่าย ให้มีความหมายรวมถึงการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายด้วยดังเช่นที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 4 ซึ่งแสดงว่า พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มุ่งประสงค์จะลงโทษการมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษทั้งสองกรณี
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 2 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยก็มีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายกระทงหนึ่งแล้ว เมื่อจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 1 เม็ด จำเลยก็มีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอีกกระทงหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7092/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกกระทงความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้เพื่อจำหน่ายและจำหน่ายยาเสพติด, ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 5 ปี ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 5 ปี รวมจำคุก 10 ปี แม้จะนำโทษจำคุก 3 เดือน ที่รอการลงโทษไว้ในคดีอื่นมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ เป็นจำคุก 10 ปี 3 เดือน ก็เป็นกรณีที่คดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกิน 5 ปีเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า พยานบุคคลของโจทก์ที่นำสืบขัดแย้งกับพยานวัตถุและ พยานโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยส่งมอบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 1 เม็ด ราคา 120บาท ให้แก่สายลับไปโดยสายลับยังไม่ได้ชำระราคาเมทแอมเฟตามีนแก่จำเลยเจ้าพนักงานตำรวจก็จับกุมจำเลยเป็นฎีกาที่จำเลยโต้แย้งคัดค้านการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ในข้อที่ว่าจำเลยได้รับชำระราคาค่าเมทแอมเฟตามีนแล้วหรือยัง เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยฎีกาว่า การกระทำของจำเลยเป็นเพียงความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนหรือไม่ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ข้อที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ขอให้ลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสี่ เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาล เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงอีกเช่นกัน การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนลักษณะของการกระทำต่างกัน เป็นการกระทำต่างขั้นตอนกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละอย่างต่างหากจากกันได้ ทั้งนี้ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4ไม่ได้ นิยามความหมายของคำว่า จำหน่าย ให้มีความหมายรวมถึงการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายด้วย ดังเช่นที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518 มาตรา 4 ซึ่งแสดงว่า พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มุ่งประสงค์จะลงโทษการมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษทั้งสองกรณี
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 2 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยก็มีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายกระทงหนึ่งแล้ว เมื่อจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 1 เม็ด จำเลยก็มีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอีกกระทงหนึ่ง
ข้อที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ขอให้ลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสี่ เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาล เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงอีกเช่นกัน การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนลักษณะของการกระทำต่างกัน เป็นการกระทำต่างขั้นตอนกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละอย่างต่างหากจากกันได้ ทั้งนี้ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4ไม่ได้ นิยามความหมายของคำว่า จำหน่าย ให้มีความหมายรวมถึงการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายด้วย ดังเช่นที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518 มาตรา 4 ซึ่งแสดงว่า พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มุ่งประสงค์จะลงโทษการมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษทั้งสองกรณี
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 2 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยก็มีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายกระทงหนึ่งแล้ว เมื่อจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 1 เม็ด จำเลยก็มีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอีกกระทงหนึ่ง