คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อำนวย เต้พันธ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 359 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5202/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืมเงิน: การลงนามในนามบริษัท และการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญา
ข้อความของสัญญาระบุไว้ชัดแจ้งว่า หนังสือสัญญากู้ยืมเงินฉบับนี้ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผู้กู้ ส่วนโจทก์เป็นฝ่ายผู้ให้กู้ อีกทั้งมีข้อความระบุย้ำอีกว่า สัญญากู้ยืมเงินฉบับนี้ทำในนามของจำเลยที่ 1แสดงให้เห็นเจตนารมณ์อันชัดแจ้งของคู่สัญญาว่ามุ่งเน้นให้จำเลยที่ 1 เท่านั้นที่เป็นคู่สัญญากับโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ลงชื่อในสัญญาก็เป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล โดยจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลยที่ 1หาใช่จำเลยที่ 2 กระทำในฐานะส่วนตัวไม่ แม้มิได้ประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1ไว้ จำเลยที่ 2 ก็ไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญากู้ยืมเงิน การที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกู้ยืมเงินโจทก์ด้วยถือเป็นเรื่องนอกเหนือจากข้อความในสัญญากู้ยืมเงิน เป็นการนำสืบเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบุคคล ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5202/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืมเงิน: เจตนารมณ์ของคู่สัญญาและขอบเขตความรับผิดของกรรมการผู้จัดการ
ข้อความของสัญญาระบุไว้ชัดแจ้งว่า หนังสือสัญญากู้ยืมเงินฉบับนี้ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผู้กู้ ส่วนโจทก์เป็นฝ่ายผู้ให้กู้อีกทั้งมีข้อความระบุย้ำอีกว่า สัญญากู้ยืมเงินฉบับนี้ทำในนามของจำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นเจตนารมณ์อันชัดแจ้งของคู่สัญญาว่ามุ่งเน้นให้จำเลยที่ 1 เท่านั้นที่เป็นคู่สัญญากับโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ลงชื่อในสัญญาก็เป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล โดยจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลยที่ 1 หาใช่จำเลยที่ 2 กระทำในฐานะส่วนตัวไม่ แม้มิได้ประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1 ไว้ จำเลยที่ 2 ก็ไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินการที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกู้ยืมเงินโจทก์ด้วยถือเป็นเรื่องนอกเหนือจากข้อความในสัญญากู้ยืมเงิน เป็นการนำสืบเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบุคคลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5132/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุมจากหนี้ไม่ชัดเจน-ดอกเบี้ยไม่ขาดอายุความ ยึดหลักหนี้รายเดียวกัน
โจทก์บรรยายฟ้องระบุหนี้เงินต้นและหนี้ดอกเบี้ยตามสัญญากู้ 2 ฉบับรวมกันมา และเอกสารท้ายฟ้องก็ไม่ได้แยกหนี้ตามสัญญากู้แต่ละฉบับออกจากกัน จำเลยที่ 5 ผู้ค้ำประกันสัญญากู้ฉบับเดียวย่อมไม่ทราบว่าหนี้ที่ตนต้องรับผิดมีเพียงใด ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 5 จึงเคลือบคลุม
การที่โจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินบัญชีเงินฝากกระแสรายวันโดยใช้เช็คเมื่อใด เป็นเงินเท่าใด มีการชำระเงินเข้าบัญชีเมื่อใด คิดดอกเบี้ยในอัตราใด ทั้งมิได้แนบบัญชีกระแสรายวันมาท้ายฟ้องด้วยนั้น เป็นเพียงรายละเอียดซึ่งโจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ไม่เป็นข้อที่ทำให้ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม
หนี้เงินต้นกับหนี้ดอกเบี้ยตามสัญญาฉบับเดียวกันถือเป็นหนี้รายเดียวกัน หากมีการฟ้องร้องก็ต้องฟ้องรวมกันมา ไม่อาจแยกเป็นหนี้เงินต้นคดีหนึ่งและหนี้ดอกเบี้ยอีกคดีหนึ่ง เมื่อลูกหนี้ยังชำระหนี้อยู่แม้จะระบุว่าเป็นการชำระหนี้เงินต้นก็ตาม หากเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้และไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด ไม่ได้บอกกล่าวเลิกสัญญาให้จำเลยชำระหนี้ โจทก์ยังไม่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องในหนี้ดังกล่าวได้ อายุความในหนี้ดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นหนี้เงินต้นหรือหนี้ดอกเบี้ยจึงยังไม่เริ่มนับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5132/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความดอกเบี้ย, การฟ้องเคลือบคลุม, และการหักล้างหนี้: ศาลฎีกาตัดสินเรื่องดอกเบี้ยไม่ขาดอายุความหากมีการชำระเงินต้น
โจทก์บรรยายฟ้องระบุหนี้เงินต้นและหนี้ดอกเบี้ยตามสัญญากู้ 2 ฉบับรวมกันมาและเอกสารท้ายฟ้องก็ไม่ได้แยกหนี้ตามสัญญากู้แต่ละฉบับออกจากกัน จำเลยที่ 5 ผู้ค้ำประกันสัญญากู้ฉบับเดียวย่อมไม่ทราบว่าหนี้ที่ตนต้องรับผิดมีเพียงใด ฟ้องโจทก์ สำหรับจำเลยที่ 5 จึงเคลือบคลุม โจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินบัญชีเงินฝากกระแสรายวันโดยใช้เช็คเมื่อใด เป็นเงินเท่าใด มีการชำระเงินเข้าบัญชีเมื่อใด คิดดอกเบี้ยในอัตราใดและมิได้แนบบัญชีกระแสรายวันท้ายฟ้องมาด้วย เพียงบรรยายว่ายอดหนี้ถึงวันสิ้นสุดบัญชีจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เพียงใด ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม เป็นเพียงรายละเอียดซึ่งโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ หนี้เงินต้นกับหนี้ดอกเบี้ยตามสัญญาฉบับเดียวกันถือเป็นหนี้รายเดียวกัน หากมีการฟ้องร้องก็ต้องฟ้องรวมกันมา ไม่อาจแยกเป็นหนี้เงินต้นคดีหนึ่งและหนี้ดอกเบี้ยอีกคดีหนึ่งการที่ลูกหนี้ชำระหนี้โดยระบุว่าเป็นการชำระเงินต้นย่อมมีผลให้สิทธิเรียกร้องในหนี้ดอกเบี้ยยังไม่เริ่มนับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 ดอกเบี้ยตามที่โจทก์ฟ้องจึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4711/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและการเข้าข่ายความผิดต่อเสรีภาพ: อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงาน, เหตุสมควร, และเจตนา
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 309 วรรคหนึ่ง และมาตรา 310 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับจึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ แต่ตามอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและโจทก์มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 193 ตรี และคดีไม่มีการอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อหาดังกล่าวให้จึงเป็นการมิชอบ ต้องถือว่าความผิดต่อเสรีภาพตามฟ้องของโจทก์ เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์ฎีกาในข้อหาดังกล่าวด้วย ศาลฎีกาก็ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในปัญหาดังกล่าวอีกต่อไป
จำเลยที่ 1 และที่ 2 พาจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจดับเพลิงไปจับกุมโจทก์ที่บ้านพักของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของบ้าน โดยกล่าวหาว่าโจทก์กระทำความผิดอาญา และแจ้งว่าได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาแก่ผู้นั้นตามระเบียบแล้ว จำเลยที่ 3 จึงมีอำนาจจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับทั้งจำเลยที่ 3 ได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขอให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ไปดำเนินคดีในข้อหาความผิดดังกล่าว กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(4),81(1) และมาตรา 92(5) ที่ให้อำนาจจำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ในบ้านพักของโจทก์ โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับได้ ไม่เป็นความผิดต่อเสรีภาพ
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ มีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 จะมีหน้าที่ในการบรรเทาสาธารณภัยก็ไม่ทำให้อำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่ตามกฎหมายสูญสิ้นไป จำเลยที่ 3 ยังคงมีอำนาจอยู่โดยบริบูรณ์ในฐานะเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้มีอำนาจหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(16) การที่จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาก่อนไม่มีผลกระทบกระทั่งต่ออำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่แล้วตามกฎหมาย
โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกกล่าวหาว่า แจ้งความเท็จ ต่อเจ้าพนักงานโจทก์จึงตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาซึ่งพนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายเรียกหรือจับกุมโจทก์ไปดำเนินคดีได้ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เสียหายในความผิดที่โจทก์ถูกกล่าวหาพาจำเลยที่ 3 ไปจับกุมโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะมีเจตนาเร่งรัดเพื่อให้มีการสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์อย่างรวดเร็ว ก็ยังไม่เป็นเหตุผลเพียงพอให้ฟังว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ หลังจากที่จำเลยที่ 3 ควบคุมตัวโจทก์ไปส่งให้พนักงานสอบสวน โจทก์ก็ได้รับอนุญาตจากพนักงานสอบสวนให้ประกันตัวไปในวันเดียวกัน พฤติการณ์แห่งคดียังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 เข้าไปในบ้านของโจทก์เพื่อชี้ให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์เป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควรไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4711/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและการบุกรุก: เจ้าพนักงานมีอำนาจจับกุมโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ไม่ได้ขออนุญาตผู้บังคับบัญชาก่อน
ความผิดต่อเสรีภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคหนึ่ง,310 วรรคหนึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ เว้นแต่จะมีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยตามมาตรา 193 ตรีแต่ตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่อ้างเหตุว่า จำเลยทั้งสามมีเจตนาไม่สุจริต อาศัยข้อกฎหมายเป็นเครื่องกำบังร่วมกันจับกุมโจทก์เพื่อกลั่นแกล้ง ข่มขู่ให้โจทก์เกรงกลัวไม่กล้าไปเบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีอาญาที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ถูกฟ้องในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของบริษัท ย. เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 193 ตรีอุทธรณ์ของโจทก์ในข้อหาความผิดต่อเสรีภาพจึงต้องห้ามตามกฎหมายการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อหาดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์ฎีกาในข้อหาดังกล่าวด้วย ศาลฎีกาก็ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในความผิดต่อเสรีภาพต่อไป ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(4),81(1), 92(5) มีความหมายโดยสรุปว่าเจ้าพนักงานตำรวจจะเข้าไปจับกุมบุคคลหนึ่งบุคคลใดในที่รโหฐานได้ต่อเมื่อมีหมายจับกุมบุคคลผู้นั้นและมีหมายค้นที่รโหฐานนั้นด้วย เว้นแต่ในกรณีที่มีผู้ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมบุคคลผู้เป็นเจ้าของบ้าน โดยกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญาและแจ้งว่าได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาแก่ผู้นั้นตามระเบียบแล้วเจ้าพนักงานตำรวจจึงจะมีอำนาจจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขอให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ในข้อหาแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานโดยแจ้งว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตามระเบียบแล้ว กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(4),81(1),92(5) ที่ให้อำนาจจำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ในบ้านพักของโจทก์ได้ โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับ จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 จะมีหน้าที่ในการบรรเทาสาธารณภัยก็ไม่ทำให้อำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่ตามกฎหมายสูญสิ้นไปแต่ประการใดจำเลยที่ 3 ยังคงมีอำนาจอยู่โดยบริบูรณ์ในฐานะเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้มีอำนาจหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(16) การที่จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาก่อนไม่มีผลกระทบต่ออำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่แล้วตามกฎหมาย ดังนั้นการที่จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก และการที่จำเลยที่ 1 เข้าไปในบ้านของโจทก์เพื่อชี้ให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ก็เป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4410/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตให้สอดเป็นคู่ความเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความ อุทธรณ์ได้ภายในกำหนดเวลา
ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) คำร้องดังกล่าวเป็นคำฟ้อง ซึ่งถือเป็นคำคู่ความ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง มีผลเป็นการไม่รับ คำร้องสอด คำสั่งศาลชั้นต้นจึงเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตาม มาตรา 227 และไม่ถือเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ผู้ร้องสอด ย่อมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่ วันมีคำสั่งเป็นต้นไปตามมาตรา 229

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4410/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องสอดเป็นคำฟ้อง: สิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำคู่ความ
ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) คำร้องดังกล่าวเป็นคำฟ้อง ซึ่งถือเป็นคำคู่ความ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง มีผลเป็นการไม่รับคำร้องสอด คำสั่งศาลชั้นต้นจึงเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตาม มาตรา 227 และไม่ถือเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ผู้ร้องสอดย่อมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันมีคำสั่งเป็นต้นไปตามมาตรา 229

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4380/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดข่มขืนใจฯ ตามมาตรา 309 และการไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามฟ้อง การอุทธรณ์นอกเหนือจากคำฟ้อง
บันทึกที่มีข้อความว่าโจทก์ไม่ได้รู้เห็นข้อเท็จจริงในการซื้อขายที่ดินไม่เป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ เพราะไม่ใช่หลักฐานที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงแห่งสิทธิ จึงไม่เป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9) โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยข่มขืนใจโจทก์ให้ทำลายสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง ศ.กับส. ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสอง แม้โจทก์อุทธรณ์ว่า การกระทำของจำเลยมีมูลความผิดตามมาตรา 309 วรรคสองแต่เมื่อโจทก์มิได้บรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดแห่งการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิดอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 309 วรรคสอง มาในฟ้องกรณีไม่อาจลงโทษตามมาตรา 309 วรรคสองได้ เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง อุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหาดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่นอกเหนือไปจากคำฟ้อง ไม่เป็นข้อที่ได้ยกกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ ต้องถือว่าคดีของโจทก์ถึงที่สุดแล้วตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา แม้ผู้พิพากษาซึ่งนั่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาจะอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่มีอำนาจวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4380/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบธุรกิจซื้อขายเงินตราต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต และการรอการลงโทษสำหรับลูกจ้าง
เมื่อศาลชั้นต้นอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยไม่ต้องการทนายความและให้การรับสารภาพ อีกทั้งโจทก์จำเลยไม่ติดใจสืบพยาน ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังตามคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยทั้งหกร่วมกันประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินตราต่างประเทศซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยรับซื้อขายเงินตราต่างประเทศและเป็นตัวแทนซื้อเงินสกุลปอนด์เยนมาร์กและดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ให้แก่ประชาชน ดังนั้น ฎีกาของจำเลยทั้งหกที่ว่า การกระทำของจำเลยมีลักษณะเป็นการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอันมีลักษณะเดียวกับการเล่นหุ้นของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยผลกำไรขาดทุนถือเอาการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมิได้ถือครองเงินตราต่างประเทศ ไม่ได้เป็นการซื้อขายเงินตราต่างประเทศและมิใช่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศแต่อย่างใด ทั้งการที่บริษัท อ. ประกาศรับสมัครพนักงานจำเลยที่ 3 เชื่อโดยสุจริตว่าบริษัทดังกล่าวประกอบกิจการโดยชอบด้วยกฎหมายจึงไปสมัครงาน และบริษัทได้อบรมจำเลยที่ 3 ก่อน จำเลยที่ 3 ทำงานเพียง 2 เดือนก็ถูกจับกุมโดยไม่ทราบว่าการกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นความผิด และอ้างว่าพนักงานสอบสวนจูงใจให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับสารภาพโดยบอกว่าเมื่อรับสารภาพแล้วศาลจะลงโทษปรับเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยทั้งหกเป็นเพียงลูกจ้างของบริษัท อ. ในตำแหน่งพนักงานการตลาดทำหน้าที่เกี่ยวกับการหาลูกค้าเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าได้มีการดำเนินคดีแก่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทดังกล่าวหรือจำเลยทั้งหกได้ร่วมกับผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทดังกล่าวกระทำความผิดแต่ประการใด ประกอบกับจำเลยทั้งหกไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน จึงสมควรให้โอกาสจำเลยทั้งหกกลับตัวเป็นพลเมืองดี โดยรอการลงโทษและคุมความประพฤติของจำเลยทั้งหกไว้ ซึ่งน่าจะเป็นผลดีแก่สังคมส่วนรวมยิ่งกว่าลงโทษจำคุกไปเสียที่เดียว
of 36