พบผลลัพธ์ทั้งหมด 359 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4288/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย: พยานหลักฐานไม่เพียงพอ ศาลแก้เป็นครอบครองเพื่อเสพ
จำเลยครอบครองยาเสพติดให้โทษของกลางซึ่งบรรจุอยู่ในหลอดพลาสติก จำนวน32 หลอด ซึ่งลักษณะของการบรรจุเป็นการสะดวกแก่การจำหน่าย จะสันนิษฐานในทางที่เป็นผลร้ายแก่จำเลยว่า จำเลยเป็นผู้แบ่งเมทแอมเฟตามีนของกลางบรรจุในหลอดพลาสติกเพื่อเตรียมจำหน่ายให้แก่ผู้อื่นโดยไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุนไม่ได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยผลิตเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ด้วยการแบ่งบรรจุในหลอดพลาสติกผนึกหัวท้าย แล้วมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 ความผิดตามฟ้องย่อมรวมถึงการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 67อยู่ด้วย ถือได้ว่าความผิดตามฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในข้อหาซึ่งมีอัตราโทษเบากว่าตามที่พิจารณาได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสุดท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4288/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเพื่อเสพ vs. จำหน่าย: ศาลฎีกาแก้เป็นครอบครองเพื่อเสพ ลดโทษ
++ เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ
++ จำเลยฎีกา
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 179 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
++ จำเลยฎีกา
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 179 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4239-4240/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการสอบสวนนอกสถานที่และการชันสูตรพลิกศพ: ขอบเขตและข้อจำกัดตามกฎหมาย
ตามคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวนนอกจากจะขอรับตัวผู้ต้องหาไปควบคุมไว้ยังที่ทำการของกองปราบปรามเพื่อให้พยานชี้ตัวแล้ว พนักงานสอบสวนได้อ้างเหตุที่ต้องขออนุญาตฝากขังด้วยว่า การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น ต้องสอบสวนพยานเพิ่มเติมอีก 15 ปาก พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจกระทำการอื่นใดอันจำเป็นเพื่อให้การสอบสวนเสร็จสิ้นได้ มิได้จำกัดเพียงให้พยานชี้ตัวผู้ต้องหาเพียงอย่างเดียวเท่านั้นพนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจนำตัวผู้ต้องหาออกนอกพื้นที่ที่ทำการของกองปราบปรามเพื่อตรวจค้นตามหมายค้นได้
คำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้หน่วยนิติเวช ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาล ร. และให้ พ. ตรวจพิสูจน์ศพผู้ตายเพื่ออ้างเป็นพยานหลักฐานของผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 นั้นก็คือการชันสูตรพลิกศพนั่นเองซึ่งตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ถือว่าการชันสูตรพลิกศพเป็นการสอบสวนความผิดอาญาอย่างหนึ่ง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติผู้มีหน้าที่ทำการชันสูตรพลิกศพและได้ให้อำนาจผู้ทำการชันสูตรพลิกศพทำการผ่าศพแล้วแยกธาตุส่วนใดหรือจะให้ส่งทั้งศพ หรือบางส่วน ไปยังแพทย์หรือพนักงานแยกธาตุของรัฐบาลก็ได้ และยังให้อำนาจผู้ชันสูตรพลิกศพจัดให้ขุดศพขึ้นเพื่อตรวจดูได้กำหนดวิธีการที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติไว้ โดยเฉพาะในภาค 2ลักษณะ 2 หมวด 2 แล้วตามมาตรา 150,151 และ 153 จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 มาอนุโลมบังคับหาได้ไม่ ดังนี้ เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการชันสูตรพลิกศพผู้ตายเสร็จแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะดำเนินการตามคำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้ชันสูตรพลิกศพผู้ตายได้อีก
คำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้หน่วยนิติเวช ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาล ร. และให้ พ. ตรวจพิสูจน์ศพผู้ตายเพื่ออ้างเป็นพยานหลักฐานของผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 นั้นก็คือการชันสูตรพลิกศพนั่นเองซึ่งตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ถือว่าการชันสูตรพลิกศพเป็นการสอบสวนความผิดอาญาอย่างหนึ่ง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติผู้มีหน้าที่ทำการชันสูตรพลิกศพและได้ให้อำนาจผู้ทำการชันสูตรพลิกศพทำการผ่าศพแล้วแยกธาตุส่วนใดหรือจะให้ส่งทั้งศพ หรือบางส่วน ไปยังแพทย์หรือพนักงานแยกธาตุของรัฐบาลก็ได้ และยังให้อำนาจผู้ชันสูตรพลิกศพจัดให้ขุดศพขึ้นเพื่อตรวจดูได้กำหนดวิธีการที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติไว้ โดยเฉพาะในภาค 2ลักษณะ 2 หมวด 2 แล้วตามมาตรา 150,151 และ 153 จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 มาอนุโลมบังคับหาได้ไม่ ดังนี้ เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการชันสูตรพลิกศพผู้ตายเสร็จแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะดำเนินการตามคำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้ชันสูตรพลิกศพผู้ตายได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4239-4240/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนนอกสถานที่และการชันสูตรพลิกศพ: ผู้ต้องหามีสิทธิขอชันสูตรซ้ำหรือไม่
ตามคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวน นอกจากจะขอรับตัวผู้ต้องหาไปควบคุมไว้ยังที่ทำการของกองปราบปรามเพื่อให้พยานชี้ตัวแล้วพนักงานสอบสวนได้อ้างเหตุด้วยว่า การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น ต้องสอบสวนพยานเพิ่มเติมอีก 15 ปาก พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจกระทำการอื่นใดอันจำเป็นเพื่อให้การสอบสวนเสร็จสิ้นได้ มิได้จำกัดเพียงให้พยานชี้ตัวผู้ต้องหาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจนำตัวผู้ต้องหาออกนอกพื้นที่ที่ทำการของกองปราบปรามเพื่อตรวจค้นตามหมายค้นได้
คำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้หน่วยนิติเวช ภาควิชาพยาธิวิทยาคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาล ร. และให้ พ. ตรวจพิสูจน์ศพผู้ตายเพื่ออ้างเป็นพยานหลักฐานของผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 นั้น ก็คือการชันสูตรพลิกศพนั่นเอง ซึ่งตามบทบัญญัติ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาถือว่าการชันสูตรพลิกศพเป็นการสอบสวนความผิดอาญาอย่างหนึ่ง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติผู้มีหน้าที่ทำการชันสูตรพลิกศพและได้ให้อำนาจผู้ทำการชันสูตรพลิกศพทำการผ่าศพแล้วแยกธาตุส่วนใดหรือจะให้ส่งทั้งศพ หรือบางส่วน ไปยังแพทย์หรือพนักงานแยกธาตุของรัฐบาลก็ได้ และยังให้อำนาจผู้ชันสูตรพลิกศพจัดให้ขุดศพขึ้นเพื่อตรวจดูได้กำหนดวิธีการที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติไว้โดยเฉพาะในภาค 2 ลักษณะ 2 หมวด 2 แล้วตามมาตรา 150,151 และ 153 จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 มาอนุโลมบังคับไม่ได้ เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการชันสูตรพลิกศพผู้ตายเสร็จแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะดำเนินการตามคำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้ชันสูตรพลิกศพผู้ตายได้อีก
คำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้หน่วยนิติเวช ภาควิชาพยาธิวิทยาคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาล ร. และให้ พ. ตรวจพิสูจน์ศพผู้ตายเพื่ออ้างเป็นพยานหลักฐานของผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 นั้น ก็คือการชันสูตรพลิกศพนั่นเอง ซึ่งตามบทบัญญัติ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาถือว่าการชันสูตรพลิกศพเป็นการสอบสวนความผิดอาญาอย่างหนึ่ง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติผู้มีหน้าที่ทำการชันสูตรพลิกศพและได้ให้อำนาจผู้ทำการชันสูตรพลิกศพทำการผ่าศพแล้วแยกธาตุส่วนใดหรือจะให้ส่งทั้งศพ หรือบางส่วน ไปยังแพทย์หรือพนักงานแยกธาตุของรัฐบาลก็ได้ และยังให้อำนาจผู้ชันสูตรพลิกศพจัดให้ขุดศพขึ้นเพื่อตรวจดูได้กำหนดวิธีการที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติไว้โดยเฉพาะในภาค 2 ลักษณะ 2 หมวด 2 แล้วตามมาตรา 150,151 และ 153 จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 มาอนุโลมบังคับไม่ได้ เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการชันสูตรพลิกศพผู้ตายเสร็จแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะดำเนินการตามคำร้องของผู้ต้องหาที่ขอให้ชันสูตรพลิกศพผู้ตายได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4239-4240/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนนอกพื้นที่ & การชันสูตรพลิกศพ: พนักงานสอบสวนมีอำนาจกว้างขวางในการสอบสวนคดีอาญา
แม้การที่พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหาออกนอกพื้นที่ที่ทำการของกองปราบปรามเพื่อตรวจค้นตามหมายค้นจะเป็นการนอกเหนือจากคำร้องขอฝากขังที่ระบุว่าขอรับตัวผู้ต้องหาไปควบคุมยังที่ทำการของกองปราบปรามเพื่อให้พยานชี้ตัว แต่ก็ยังได้อ้างเหตุที่ต้องขออนุญาตฝากขังด้วยว่า การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น ต้องสอบสวนพยานเพิ่มเติมอีก 15 ปาก ดังนั้น พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนพยานหรือกระทำการอื่นใดอันจำเป็นเพื่อให้การสอบสวนเสร็จสิ้นได้ มิได้จำกัดเพียงให้พยานชี้ตัวผู้ต้องหาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการชันสูตรพลิกศพผู้ตายเสร็จแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่ผู้ต้องหาจะร้องขอให้แพทย์ในหน่วยนิติเวชของโรงพยาบาลรามาธิบดีตรวจพิสูจน์ศพ เพื่อใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานของผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 อีกได้เพราะการชันสูตรพลิกศพเป็นการสอบสวนความผิดอาญาอย่างหนึ่งและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 150 ได้ระบุผู้มีหน้าที่ทำการชันสูตรพลิกศพไว้แล้วคือ พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่กับสาธารณสุขจังหวัด หรือแพทย์ประจำสถานีอนามัยหรือแพทย์ประจำโรงพยาบาลถ้าบุคคลดังกล่าวไม่มีหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ใช้เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขประจำท้องที่หรือแพทย์ประจำตำบลนอกจากนี้มาตรา 151 ได้ให้อำนาจผู้ทำการชันสูตรพลิกศพทำการผ่าศพแล้วแยกธาตุส่วนใดหรือจะให้ส่งทั้งศพหรือบางส่วนไปยังแพทย์หรือพนักงานแยกธาตุของรัฐบาลก็ได้ และมาตรา 153 ยังให้อำนาจผู้ชันสูตรพลิกศพจัดให้ขุดศพขึ้นเพื่อตรวจดูได้ ซึ่งเป็นวิธีการที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา บัญญัติไว้โดยเฉพาะในภาค 2 ลักษณะ 2 หมวด 2 แล้วจึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 101 มาอนุโลมบังคับหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4147/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวน, การครอบครองยาเสพติด, และอำนาจศาลในการลงโทษตามความผิดที่เบากว่า
ในชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาแก่จำเลยว่ามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยก็ให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของ น.ที่นำมาฝากจำเลยไว้ คำให้การดังกล่าวพนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นในวันเดียวกันกับที่จำเลยถูกจับกุม ตามพฤติการณ์เชื่อได้ว่าจำเลยให้การต่อพนักงานสอบสวนด้วยความสัตย์จริง โดยไม่ทันมีเวลาคิดไตร่ตรองหาลู่ทางแก้ตัวให้พ้นผิดจึงใช้เป็นหลักฐานยันจำเลยในชั้นพิจารณาของศาลได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 134
ตามคำเบิกความของพยานโจทก์ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีพฤติการณ์ในการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ ตรงกันข้ามกลับมีใจความตรงกับคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ซึ่งระบุว่า จำเลยให้การรับต่อพนักงานสอบสวนว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของ น.ที่นำไปฝากจำเลยไว้ เมื่อ น.อยากเสพเวลาใดก็จะไปเอาจากจำเลยมาเสพครั้งละ 1 ซองบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลย เป็นพยานเอกสารที่โจทก์อ้างส่งต่อศาลเพื่อสนับสนุนคำพยานบุคคลของโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยปรุงแต่งเรื่องราวขึ้นเพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริง จึงต้องรับฟังว่าจำเลยให้การในชั้นสอบสวนไปตามความสัตย์จริงดังกล่าวแล้ว พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังได้ว่าจำเลยเพียงแต่รับฝากเมทแอมเฟตามีนของกลางจาก น. เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบถึงพฤติการณ์แวดล้อมกรณีว่าจำเลยครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ โดยมีเจตนาเพื่อขาย จ่ายแจก แลกเปลี่ยน หรือให้บุคคลหนี่งบุคคลใด จึงไม่อาจสันนิษฐานในทางเป็นผลร้ายแก่จำเลยว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวนมากเกินความจำเป็นที่จำเลยมีไว้เพื่อเสพเองแสดงว่าจำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายโดยไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน จึงไม่ชอบ
ปัญหาที่ว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามฟ้องหรือไม่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 ความผิดตามฟ้องของโจทก์จึงรวมถึงการมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 67 อยู่ด้วยถือได้ว่าความผิดตามฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว ซึ่งมีระวางโทษเบากว่าตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสุดท้าย
ตามคำเบิกความของพยานโจทก์ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีพฤติการณ์ในการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ ตรงกันข้ามกลับมีใจความตรงกับคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ซึ่งระบุว่า จำเลยให้การรับต่อพนักงานสอบสวนว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของ น.ที่นำไปฝากจำเลยไว้ เมื่อ น.อยากเสพเวลาใดก็จะไปเอาจากจำเลยมาเสพครั้งละ 1 ซองบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลย เป็นพยานเอกสารที่โจทก์อ้างส่งต่อศาลเพื่อสนับสนุนคำพยานบุคคลของโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยปรุงแต่งเรื่องราวขึ้นเพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริง จึงต้องรับฟังว่าจำเลยให้การในชั้นสอบสวนไปตามความสัตย์จริงดังกล่าวแล้ว พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังได้ว่าจำเลยเพียงแต่รับฝากเมทแอมเฟตามีนของกลางจาก น. เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบถึงพฤติการณ์แวดล้อมกรณีว่าจำเลยครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ โดยมีเจตนาเพื่อขาย จ่ายแจก แลกเปลี่ยน หรือให้บุคคลหนี่งบุคคลใด จึงไม่อาจสันนิษฐานในทางเป็นผลร้ายแก่จำเลยว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวนมากเกินความจำเป็นที่จำเลยมีไว้เพื่อเสพเองแสดงว่าจำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายโดยไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน จึงไม่ชอบ
ปัญหาที่ว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามฟ้องหรือไม่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 ความผิดตามฟ้องของโจทก์จึงรวมถึงการมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 67 อยู่ด้วยถือได้ว่าความผิดตามฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว ซึ่งมีระวางโทษเบากว่าตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสุดท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4147/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย: หลักฐานไม่ชัดเจน ศาลแก้เป็นครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
ในชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาแก่จำเลยว่ามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยก็ให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของ น. ที่นำมาฝากจำเลยไว้ คำให้การดังกล่าวพนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นในวันเดียวกันกับที่จำเลยถูกจับกุม ตามพฤติการณ์เชื่อได้ว่าจำเลยให้การต่อพนักงานสอบสวนด้วยความสัตย์จริง โดยไม่ทันมีเวลาคิดไตร่ตรองหาลู่ทางแก้ตัวให้พ้นผิดจึงใช้เป็นหลักฐานยันจำเลยในชั้นพิจารณาของศาลได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134
ตามคำเบิกความของพยานโจทก์ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีพฤติการณ์ในการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ ตรงกันข้ามกลับมีใจความตรงกับคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ซึ่งระบุว่า จำเลยให้การรับต่อพนักงานสอบสวนว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของ น. ที่นำไปฝากจำเลยไว้ เมื่อ น. อยากเสพเวลาใดก็จะไปเอาจากจำเลยมาเสพครั้งละ 1 ซองบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลย เป็นพยานเอกสารที่โจทก์อ้างส่งต่อศาลเพื่อสนับสนุนคำพยานบุคคลของโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยปรุงแต่งเรื่องราวขึ้นเพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริง จึงต้องรับฟังว่าจำเลยให้การในชั้นสอบสวนไปตามความสัตย์จริงดังกล่าวแล้ว พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังได้ว่าจำเลยเพียงแต่รับฝากเมทแอมเฟตามีนของกลางจาก น. เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบถึงพฤติการณ์แวดล้อมกรณีว่าจำเลยครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ โดยมีเจตนาเพื่อขาย จ่ายแจก แลกเปลี่ยน หรือให้บุคคลหนึ่งบุคคลใด จึงไม่อาจสันนิษฐานในทางเป็นผลร้ายแก่จำเลยว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวนมากเกินความจำเป็นที่จำเลยมีไว้เพื่อเสพเองแสดงว่าจำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายโดยไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน จึงไม่ชอบ
ปัญหาที่ว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 ความผิดตามฟ้องของโจทก์จึงรวมถึงการมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 67 อยู่ด้วยถือได้ว่าความผิดตามฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว ซึ่งมีระวางโทษเบากว่าตามที่พิจารณาได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสุดท้าย
ตามคำเบิกความของพยานโจทก์ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีพฤติการณ์ในการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ ตรงกันข้ามกลับมีใจความตรงกับคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ซึ่งระบุว่า จำเลยให้การรับต่อพนักงานสอบสวนว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของ น. ที่นำไปฝากจำเลยไว้ เมื่อ น. อยากเสพเวลาใดก็จะไปเอาจากจำเลยมาเสพครั้งละ 1 ซองบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลย เป็นพยานเอกสารที่โจทก์อ้างส่งต่อศาลเพื่อสนับสนุนคำพยานบุคคลของโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยปรุงแต่งเรื่องราวขึ้นเพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริง จึงต้องรับฟังว่าจำเลยให้การในชั้นสอบสวนไปตามความสัตย์จริงดังกล่าวแล้ว พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังได้ว่าจำเลยเพียงแต่รับฝากเมทแอมเฟตามีนของกลางจาก น. เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบถึงพฤติการณ์แวดล้อมกรณีว่าจำเลยครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ โดยมีเจตนาเพื่อขาย จ่ายแจก แลกเปลี่ยน หรือให้บุคคลหนึ่งบุคคลใด จึงไม่อาจสันนิษฐานในทางเป็นผลร้ายแก่จำเลยว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวนมากเกินความจำเป็นที่จำเลยมีไว้เพื่อเสพเองแสดงว่าจำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายโดยไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน จึงไม่ชอบ
ปัญหาที่ว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 ความผิดตามฟ้องของโจทก์จึงรวมถึงการมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 67 อยู่ด้วยถือได้ว่าความผิดตามฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว ซึ่งมีระวางโทษเบากว่าตามที่พิจารณาได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสุดท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4141/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเสนอขายที่ดินไม่ผูกพันตามกฎหมาย ไม่จำเป็นต้องทำสัญญาเป็นหนังสือ
เมื่อเอกสารหมาย จ.1 ไม่ใช่สัญญาซื้อขาย สัญญาจะขายหรือคำมั่นในการขาย แต่เป็นเพียงข้อเสนอขายที่ดินเพียงฝ่ายเดียว ยังไม่มีการตกลงกันในเรื่องราคาอันเป็นสาระสำคัญของการซื้อขาย โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติจะต้องเสนอราคาที่ดินมาก่อน หากจำเลยไม่พอใจราคาที่เสนอมาจำเลยมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่ขายที่ดินดังกล่าวได้ จึงไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะฟ้องร้องได้ ฉะนั้นการที่จำเลยตั้งโจทก์เป็นตัวแทนเสนอขายที่ดินของจำเลย จึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 798
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4133/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรมธรรม์ประกันภัยไม่สิ้นผลแม้โอนสิทธิเช่าซื้อรถยนต์, การฟ้องต้องอาศัยเหตุตามที่กล่าวอ้าง
กรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า กรมธรรม์ประกันภัยสิ้นผลบังคับเมื่อผู้เอาประกันภัยโอนรถยนต์ให้บุคคลอื่น จำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยรถยนต์กับจำเลยที่ 3 เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์จากบริษัท ง. ผู้ให้เช่าซื้อ บริษัทดังกล่าวจึงเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ การที่จำเลยที่ 1 เพียงโอนสิทธิการเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์แก่ ส.กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จึงยังคงเป็นของบริษัทง. ผู้ให้เช่าซื้อ กรณีมิใช่เป็นการที่ผู้เอาประกันภัยโอนรถยนต์ที่เอาประกันภัยให้บุคคลอื่น กรมธรรม์ประกันภัย จึงไม่สิ้นผลบังคับ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้กับจำเลยที่ 3 ส.ผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุเป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยส. เป็นหุ้นส่วนประกอบการค้าร่วมกับจำเลยที่ 1 ส. และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองและใช้รถยนต์ และ ส. เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของ ส. และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยแต่คำฟ้องมิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดเพราะเหตุที่ ส. ขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยโดยความยินยอมของจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัย คำฟ้องของโจทก์จึงอ้างเหตุที่จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดในเหตุละเมิดด้วยเท่านั้น ดังนี้เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์แล้ว จำเลยที่ 3 ก็ย่อมไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของจำเลยที่ 1ผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดแก่โจทก์ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชอบแต่อย่างใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกายืนโทษจำเลยคดีหลีกเลี่ยงการตรวจเลือกทหาร โดยศาลฎีกาเห็นว่าการรับสารภาพของจำเลยมีน้ำหนัก และไม่มีเหตุให้แก้ไขคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 27,45 จำเลยให้การรับสารภาพว่า กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง โดยมิได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวอ้างว่าพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนจำเลยในความผิดฐานอื่น มิใช่ข้อหาความผิดที่โจทก์ฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง และกรณีไม่มีปัญหามาสู่การวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าพนักงานสอบสวนมิได้สอบสวนจำเลยในข้อหาที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยซึ่งจำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ก็ตามแต่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้จำเลยจะแนบสำเนาเอกสารบันทึกคำให้การของผู้กล่าวหา คำให้การของผู้ต้องหา รวมทั้งสำเนาหนังสือของสำนักงานเขตที่แจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานไม่ไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอท้องที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของจำเลย อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 25 และ 44มากับคำฟ้องฎีกา แต่ข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวไม่เพียงพอให้วินิจฉัยว่า พนักงานสอบสวนมิได้ทำการสอบสวนจำเลยในความผิดที่โจทก์ฟ้อง ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่าพนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ. 2497 มาตรา 27,45 จึงฟังไม่ขึ้น โจทก์ฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต่อศาลแขวง จำเลยให้การรับสารภาพผิดต่อศาลชั้นต้น โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อศาลว่าจำเลยมิได้กระทำผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามฟ้องหรือมีเหตุอื่นตามกฎหมายที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดและลงโทษจำเลยจึงชอบแล้ว กรณีไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์หรือพิพากษาแก้เป็นลงโทษจำเลยในความผิดฐานอื่นนอกเหนือไปจากคำฟ้องได้